จัดการความรู้ 5 ตัวอย่าง(แก้จนเมืองนคร)


การเรียนรู้จนเกิดความตระหนักถึงกับคิดจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมๆที่พึ่งพาภายนอกมากเกินไปนั้น เกิดจากการเรียนรู้โดยตรงจากบัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน การเปลี่ยนจากพึ่งพามาเป็นพึ่งตนเอง เปลี่ยนจากขอมาเป็นให้ พัฒนาตนเองให้มีสัจจะในเรื่องง่ายๆโดยการทำอย่างต่อเนื่องเป็นกุศโลบายสำคัญของสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาท การโฆษณาเบียร์ช้างเพื่อให้เป็นคนไทยเจียดเงินเข้ากระเป๋าเสี่ยเจริญ เขามีความรู้ว่าทำอย่างไรให้คนดื่มเบียร์ช้างและทำได้จริงๆด้วย พลังการทำงานที่หลุดพ้นจากตัวตนจะมีพลังที่ยิ่งใหญ่มาก เมื่อหลุดพ้นจากกรอบตัวตนก็จะเกิดปิติและความสุข จัดการกับความรู้ข้อสุดท้าย "ทำงานอย่างสนุกและเป็นสุขขณะทำงาน"ก็จะทำงานกันด้วยความสุขทุกๆคน

เมื่อวานขณะนั่งฟังวิทยากรพูดถึงแบบสำรวจและการวิเคราะห์ในเวทีกศน. มีคนสงสัยว่าการจัดการความรู้คืออะไร อยากให้หาผู้รู้มานิยามให้ชัดเจนตรงกัน

ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเคยบอกว่าจัดการความรู้ก็เหมือนเรื่องเต๋า เรื่องเซ็น
อ่านครั้งเดียวมาพูด จะพูดผิด ต้องอ่านหลายๆเที่ยวและเรียนรู้จากธรรมชาติ

ผมเห็นว่าการเคลื่อนงานของเครือข่ายยมนาและปกครองจังหวัดเรื่องแผนชีวิตชุมชนโดยใช้แบบสำรวจรายครัวเรือนคือการจัดการความรู้ เพราะค้นพบว่าการเรียนรู้จนเกิดความตระหนักถึงกับคิดจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมๆที่พึ่งพาภายนอกมากเกินไปนั้น เกิดจากการเรียนรู้โดยตรงจากบัญชี   รับ-จ่ายครัวเรือน ดังนั้นผลลัพท์ของเรื่องดังกล่าวคือ แผนชีวิตชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง
จึงออกแบบให้คนทำเรียนรู้โดยการลงมือบันทึกด้วยตัวเองมากที่สุด
แต่ส่วนใหญ่ก็ทราบกันดีว่า เพราะคนเรากลัวการเปลี่ยนแปลงและมักจะหลอกตนเองเพื่อให้นรก  เป็นของคนอื่น(ศัพท์ของอัลแบร์ กามูร์)จึงขาดสัจจะในการบันทึกความจริงทั้งหมดซึ่งจะปอกเปลือกตนเอง(เรื่องราโชมอนของคุโรซาว่าแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่ง แม้ตายไปเป็นผีก็ยังบอกไม่หมด-โกหก)สรุปคือการจัดการความรู้เพื่อการปลดปล่อยเป็นศาสตร์ที่เข้ามาคาบเกี่ยวกับการปลดปล่อยตนเองเพื่อการหลุดพ้นของพุทธศาสนาที่พูดถึงปริยัธ ปฏิบัติและปฏิเวช (อ.ประพนธ์จึงชอบเขียนถึงกระบี่อยู่ที่ใจและไม่มีกระบี่ไม่มีใจ)ที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง

ยังมีการจัดการความรู้เพื่อการครอบงำพึ่งพาด้วยเช่นกัน เช่นการโฆษณาเบียร์ช้างเพื่อให้เป็นคนไทยเจียดเงินเข้ากระเป๋าเสี่ยเจริญ เขามีความรู้ว่าทำอย่างไรให้คนดื่มเบียร์ช้างและทำได้จริงๆด้วย

เพราะจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ จึงใช้ได้ทั้ง2ด้าน แล้วแต่ทิฐิของผู้ใช้

นอกจากกระบวนการแผนชีวิตครัวเรือน/ชุมชนแล้ว ผมคิดว่ากระบวนการสัจจะลดรายจ่ายวันละ    1บาทก็เป็นเครื่องมือเรียนรู้เพื่อการปลดปล่อยตนเองที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน การเปลี่ยนจากพึ่งพามาเป็นพึ่งตนเอง เปลี่ยนจากขอมาเป็นให้ พัฒนาตนเองให้มีสัจจะในเรื่องง่ายๆโดยการทำอย่างต่อเนื่องเป็นกุศโลบายสำคัญของครูชบ ยอดแก้ว
ผมตั้งความหวังในใจว่า เป้าหมาย25,600คนจำนวน400หมู่บ้านจะเข้าร่วมขบวนสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาท ซึ่งนอกจากเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง(พฤติกรรม)ทั้งทางวัตถุและจิตใจอย่างง่ายแล้ว ยังเกิดผลงอกเงยเป็นเงินสวัสดิการวันละ 25,600 บาทอีกด้วย
นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการจัดการกับความรู้ที่มีอยู่ แต่หากไม่ทำก็เป็นเพียงความรู้ที่นอนนิ่งอยู่บนหิ้งเท่านั้น

ผมชื่นใจมากที่ไปในหลายเวทีของภาคีหน่วยงานร่วมในโครงการนี้ซึ่งพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า    เราทำโครงการนี้เพื่อจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อการเรียนรู้ น่าอยู่ ยั่งยืนของลูกหลานชาวนครศรีธรรมราช นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการจัดการกับความรู้ เพราะพลังการทำงานที่หลุดพ้นจาก   ตัวตนจะมีพลังที่ยิ่งใหญ่มาก เมื่อหลุดพ้นจากกรอบตัวตนก็จะเกิดปิติและความสุข

สมตามคำกลอนของท่านอ.พุทธทาสที่ว่า"ทำงานอย่างสนุกและเป็นสุขขณะทำงาน"

ถ้าเราจัดการกับความรู้ข้อสุดท้ายนี้ได้ก็ทำงานกันด้วยความสุขทุกๆคนครับ

หมายเลขบันทึก: 17122เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท