การบริหารจัดการกองทุน ต่อ


บริหารคน บริหารทุน บริหารธุรกิจ

      จากประสบการณ์การทำงานของ อ.จำนงค์ แรกพินิจ สรุปได้ว่าการบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชน ไม่ว่าจะเป็น กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ หรือธนาคารหมู่บ้าน และกลุ่มต่าง ๆ ที่ทำเกี่ยวกับการเงินชุมชน มีหลักการบริหารจัดการมีอยู่ 3 ข้อ เป็นหลักการณ์ที่ไม่มีอยู่ในหลักตำรา คือ

      1.  การบริหารจัดการคน เป็นเรื่องที่มีปัญหาที่สุดของประธาน และคณะกรรมการ ถ้าจัดการเรื่องคนได้ เรื่องเงินก็ไม่มีปัญหา

      2.  การบริหารจัดการทุน ทุนก็มีหลายอย่าง แต่ทุนที่เราสัมผัสกันอยู่ในกองทุนก็คือทุนที่เป็นเงินตรา

      3.   การบริหารธุรกิจ / และกิจกรรมที่ทำ

    องค์กรการเงินชุมชนจะต้องทำและข้าไปบริหารจัดการ ประเด็นใหญ่ และสำคัญที่สุดก็คือ การบริหารจัดการคน คนที่อยู่ในกลุ่มจะมีอยู่ 2 จำพวก ก็คือ

      1.  กรรมการ ตัวแทนที่สมาชิกเลือกขึ้นมาให้ทำหน้าที่แทนเขา

      2.  สมาชิก

       และถ้าถามกรรมการว่าสมาชิกเป็นอย่างไรบ้าง กรรมการก็จะตอบว่า สมาชิกไม่ทำตามระเบียบวินัยของกองทุน และถ้าถามสมาชิกว่ากรรมการเป็นอย่างไรบ้าง กรรมการก็จะตอบว่า กรรมการไม่ทุ่มเทในการทำงาน

       ปัญหาส่วนมากไม่ได้เกิดจากสมาชิก เพราะว่าถ้าสมาชิกโกง ถึงจะโกงอย่างไรกลุ่มก็ไม่มีทางล้ม แต่ถ้ากรรมการโกงถึงแม้จะเป็น 50 สตางค์ กลุ่มสามารถล้มได้ เพราะหมดความเชื่อถือ จริง ๆ และกรรมการต้องทำการเลือกสรรมาเป็นพิเศษ เพื่อให้มาทำหน้าที่ตรงนี้ ส่วนมากจะยึดถือ 3 ภูมิ

       1.    ภูมิรู้ คือ ความรู้

      2.    ภูมิธรรม คือ ความมีคุณธรรมมีศีลธรรม

      3.   ภูมิฐาน คือ ความเป็นอยู่ เป็นหลักเป็นแหล่ง เป็นคนที่เชื่อถือได้

เพราะฉะนั้นถ้ามีสามสิ่งนี้ก็จะเป็นที่ยอมรับ ถ้าจะเลือกใครขึ้นมาเป็นกรรมการจะต้องมี 3 ภูมิ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และสมาชิกส่วนมากก็มักจะยึดติดอยู่กับตัวกรรมการ และประธาน  ในตัวกรรมการเราจะให้รางวัลกรรมการอย่างไร มีอยู่ 3 ส่วน คือ

     1.  ระบบค่าตอบแทนที่ชัดเจน

     2. ระบบบำนาญ ทุ่มเททำงานให้กับกลุ่มมาตลอด เมื่ออายุถึงวันที่ควรหยุดทำงานก็ควรได้บำนาญเป็นสิ่งตอบแทน

     3. ระบบสวัสดิการ

    ทั้ง 3 เรื่องนี้มีการทำกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบค่าตอบแทนต้องวางให้ชัดเจน เพราะว่าถ้ากลุ่มเราโตขึ้น ค่าตอบแทนก็จะเพิ่มขึ้นด้วย และระบบค่าตอบแทนให้ตามงานที่ทำ ไม่ใช่ให้ตามตำแหน่ง มีผลดีอยู่ 3 ประการ คือ

    1.  กลุ่มก็จะเห็นว่า ถ้าทำงานทุ่มเทพัฒนากลุ่มให้เติบโตไปข้างหน้า เขาก็จะได้รับค่าตอบแทน

    2.  ค่าตอบแทน ทำให้คนมีความมั่นใจในการทำงาน ไม่ใช่มาทำงานเพราะความอยากได้ หรือถ้าไม่อยากได้ ก็ให้เซ็นรับ และบริจาค

     3. เป็นแรงจูงใจให้คนหนุ่มคนสาว เข้ามาอยู่ในกลุ่ม

     4.  ก่อให้เกิดความยุติธรรม คนที่ทำงานให้กลุ่มมากก็ต้องได้รับค่าตอบแทนมาก ตามวามเป็นจริง

        การวางระบบสำหรับกรรมการ การสร้างแรงจูงใจ ไม่จำเป็นต้องเอาเงินเป็นตัวล่อ แต่ระบบค่าตอบแทน บำเหน็จ สวัสดิการ อาจจะไม่เป็นในรูปตัวเงินก็ได้ อาจจะใช้สิ่งอื่นในการเป็นสิ่งจูงใจแทน แต่ที่ อ.จำนงค์ ยกตัวอย่างคือ การให้เงินเป็นสิ่งตอบแทน ก็เพราะว่า เราทำเรื่ององค์กรการเงิน สิ่งที่เรามีอยู่ตอนนี้ก็คือเงิน เราอาจจะใช้เงินเหล่านี้มาจูงใจให้คณะกรรมการ และสมาชิก มีความรู้ความสามารถทำงานให้กับกลุ่ม กรรมการและสมาชิกจะได้ไม่แตกแถว และสามารถที่จะพากลุ่มเดินไปข้างหน้าได้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17115เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท