ประชุมงานรายได้วันที่สองขอรับ


ดีใจมากครับที่ในการประชุมครั้งนี้ทุกคนได้เห็นความสำคัญของระบบ IT อยากปรบมือให้พี่โอ๋มากๆ ที่กล้าพูดปัญหาของโปรแกรมบริษัทตัวเอง (แอบปรบมือในใจ อิอิ)

จริงๆ เนื้อหาเต็มเปี่ยมมากเพราะโดนหลายเรื่อง แต่ที่ผมนั่งเก็บในหัวได้ก็เรื่องที่ผมสนใจเท่านั้นแหละ ก็คือ ส่วนที่เป็น IT

ซึ่งผมก็ดีใจมากครับที่ในการประชุมครั้งนี้
ทุกคนได้เห็นความสำคัญของระบบ IT  อยากปรบมือให้พี่โอ๋มากๆ ที่กล้าพูดปัญหาของโปรแกรมบริษัทตัวเอง
(แอบปรบมือในใจ อิอิ)


เนื่องจากเมื่อวานนี้คนที่ได้มาดูว่าตอนที่คนมาตรวจงานรายได้รพ.นั้นเขาใช้ IT กันอย่างหนักแค่ไหน ผมเจอไปคำถามเดียวต้องนั่งดึงรายงานหลายฉบับเลย แล้วค่อยนำข้อมูลมารวมกันวิเคราะห์ต่ออีกที

พูดไปก็คงไม่เห็นภาพครับแต่ไม่อยากลงรายละเอียดเดี๋ยวจะเครียดกันป่าวๆ (คนเขียนนี่แหละเครียด) ซึ่งในการบริหารงานทั้งหมดในที่ประชุมนี้ผมมองว่า IT จะเป็นตัวช่วยอย่างมากในการบริหารงานขั้นต่อๆ ไปหลังจากที่ผ่าน....

ขั้นแรกคือ การลงข้อมูลกันอย่างถูกต้องแล้ว ตรงนี้ที่ประชุมโดยเฉพาะหมอชยนันท์ได้เน้นว่าเราขาดคนที่มีความสามารถในการลงข้อมูลเรื่อง Code ที่ถูกต้องและเหมาะสมมากเพราะงานนี้ละเอียดอ่อนต่อการเบิกเงินตามโรค

ขั้นที่สอง คือ การตรวจสอบข้อมูลเพราะเราไม่มั่นใจในการใส่ข้อมูลจากขั้นแรกอีกทีหนึ่ง

ขั้นที่สาม คือ การรวบรวมข้อมูลจากที่ผ่านการตรวจสอบแล้วอีกทีหนึ่ง

ขั้นที่สี่ คือ นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์แยกตามเงื่อนไขที่ผู้บริหารต้องการล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์,ช่วงเวลา,ชนิดของการรักษา,ประเภทของยาหรือเวชภัณฑ์ต่างๆ,มูลค่าในแต่ละด้าน

ขั้นที่ห้า คือ ผู้บริหารนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ (ที่ทำมาอย่างแสนสาหัสเพราะต้องผ่านการทำตรวจสอบใหม่ตั้งแต่ขั้นแรกซ้ำถ้าผิดพลาด อ๊ากซ์ๆๆ) แล้วมาดูเปรียบเทียบจะเป็นระหว่างในแต่ละช่วงเวลา,
แต่ละสถานพยาบาลหรือค่ากลางมาตรฐานของเราหรือประเทศก็ว่าไป (ถ้าหามาได้นะ)
แล้วดึงส่วนที่เป็นปัญหาแล้วหรือมีแนวโน้มออกมาถกหาทางแก้ไขต่อไป

ทั้งห้าขั้นที่กล่าวมาเป็นการให้ผู้บริหารได้เห็นภาพโดยรวมขององค์กรอย่างแท้จริง
ซึ่งถ้าใช้คนผมไม่แน่ใจว่าต้องใช้คนเท่าไหร่ในการทำงาน รวมทั้งกองเอกสารกระดาษหรือแฟ้มที่มากมายที่จะพูนขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวัน (ย้ำจริงๆ ว่าแต่ละวันเลยครับ) และทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากมายตรงนี้ ซึ่งผมเจอมาแล้วก้บการทำข้อมูลยาคนไข้ใน ซึ่งผมสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้

  • เอกสารต้องมีที่เก็บ รวมทั้งมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะในการเก็บด้วย ไม่ให้กระดาษขาด ถูกแมลงกัดแทะหรือเปียกจนหมึกจาง อ่านไม่ออก
  • ต้องมีการใส่กระดาษในแฟ้ม เรียงลำดับแฟ้ม อัพเดตสม่ำเสมอ การเก็บข้อมูลจะยากขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณเอกสารที่เพิ่มขึ้นทุกวัน
  • เวลาใช้ข้อมูลต้องลุยไปหา การดึงข้อมูลไปใช้จะยากลำบากตามกาลเวลาที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
  • ต้องมีการขยายพื้นที่ในการเก็บ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้เก็บต่อไปเรื่อยๆ เพราะเอกสารจะเพิ่มขึ้นทุกวัน
  • ข้อมูลแต่ละหน่วยถ้าเชื่อมโยงหรือต้องใช้ร่วมกันต้องโยกกองเอกสารไปมาระหว่างหน่วยงาน เช่นหน่วยงานลงข้อมูลและหน่วยตรวจสอบข้อมูลจนอาจต้องเพิ่มหน่วยตามหาเอกสารที่อาจหายไปอีกหน่วย
  • คนที่ต้องดูแลอาจต้องเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ถ้ากองข้อมูลมากขึ้นจนคนเดิมดูไม่ไหว
  • จากข้อข้างต้นถ้าทำงานไม่ทันจนต้องทำลวกๆ ..ไม่มีเวลาตรวจทาน จนกลายเป็นความเสียหาย ซึ่งคนทำงานก็กลายเป็นแพะไป (ขยันทำจนเผลอทำผิดก็โดน ทำละเอียดจนทำไม่ทันก็โดน ดังนั้นอย่าทำเลยดีที่สุดเพราะคนไม่ทำงานเลยย่อมไม่ผิด เหอๆ)

มูลค่าความเสียหายอาจดูไม่มากนัก แต่ถ้ามองในภาพรวมละครับ องค์กรที่ไม่สามารถบริหารงานได้อย่างถูกต้อง (ก็ข้อมูลรพ.มาก็ไม่พอ, ไม่เห็นภาพใหญ่ เห็นแต่จุดเล็กๆ ของตนเองหรือหนักกว่านั้นถ้าได้ข้อมูลมาผิดๆ) ก็จะบริหารตามแค่ที่ตัวเองเข้าใจ แน่นอนว่าโอกาสบริหารถูกนั้นก็ริบหรี่โดยไม่เกี่ยวว่า
ผู้บริหารเก่งหรือไม่เก่งแต่อย่างใดเลย

เช่น ถ้าหากว่าข้อมูลแรกสุด คือ องค์กรขาดทุนหรือกำไรก็ไม่แน่ชัดแล้ว...

ผู้บริหารเข้าใจเองว่า กำไรอยู่!! (ทั้งๆ ที่ขาดทุนใกล้เจ๊งมิเจ๊งแหล่แล้ว)
ก็บริหารงานแบบเดิมไป ไม่วิตกอะไร บอกลูกน้องให้ทำงานสบายๆ ใครจะขยายงานอะไรเต็มที่ เรากำไรอยู่ตั้งเยอะ ลูกน้องที่ดีก็เชื่อครับทำตามนายบอก ขยันทำโครงการเป็นดอกเห็ด
จนถึงวันที่เจ้าหนี้มาตามทวงเงินบอกว่า คุณเป็นหนี้จะล้มละลายแล้วนะ เหอๆ เราจะทำไงละขอรับ

ในทางกลับกันถ้าผู้บริหารเข้าใจว่าขาดทุนอยู่ ก็จำกัดงบทุกอย่าง อะไรก็อย่าเบิก งานไม่ต้องขยาย คนไม่ต้องเอาเพิ่มแถมจะลดคน ลดหน่วยงานด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่กำไรอยู่ องค์กรนั้นก็จะหยุดนิ่งแทนที่จะก้าวหน้าแข่งกับคนอื่นๆ ทัน แล้วกำไรก็หดอัตโนมัตเพราะเราเสียลูกค้าไป องค์กรก็ตกอันดับเองเพราะมัวแต่มานั่งบริหารเงินให้ค่าใช้จ่ายลดลง..

นี่แค่ข้อเดียวครับ ใครคิดต่อยอดได้จากการรับข้อมูลผิดช่วยต่อทีครับเพราะผมต้องเข้าเวรแล้ว
ยังไม่ได้เขียนส่วนที่งานเภสัชรับผิดชอบเพิ่มเลย เวลาไวเหมือนโกห้าบวกหนึ่ง


ขอให้สถาบันเราจงเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

ตามกรรมดีที่หลายๆ ท่านพยายามทำไว้ด้วยเถิดขอรับ เพี้ยง..

(กรรมไม่ดีก็อย่าไล่ตามทันนักเลยนะขอรับ)

 

 

หมายเลขบันทึก: 170902เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2008 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เหอะๆสรุปว่าเราขาดทุนหรือว่าได้กำไรอยู่ล่ะตอนนี้...

สวัสดีค่ะ

- แวะมาติดตามงานอาจารย์อยู่นะค่ะ

น่ายินดีนะค่ะ ที่มีการบริหารข้อมูลด้วยข้อเท็จจริง แต่ดูปัญหาและอุปสรรคแต่ละหน่วยงานช่างมากโข หากใช้ IT มากกว่า IM  บางที่ อุปกรณ์เล็กน้อยแต่ทำไมสามารถบริหารงานระบบสารสนเทศได้ดีจัง แต่บางที่ก็มีอุปกรณ์มากโข แต่ทำไมไม่เห็นได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร สงสัยต้องทบทวนกระบวนการอีกรอบ

- ขอบคุณนะค่ะ

1. seangja
เมื่อ ศ. 14 มี.ค. 2551 @ 20:29
575259 [ลบ]
เหอะๆสรุปว่าเราขาดทุนหรือว่าได้กำไรอยู่ล่ะตอนนี้...
_______________________________

เอาเป็นว่ารายได้เราเท่าเดิม แต่รายจ่าย....นะขอรับ
ถ้าต้องการทราบละเอียด...เจอกันหลังไมค์ดีกว่าขอรับ หุๆ

2. เพชรน้อย
เมื่อ ศ. 14 มี.ค. 2551 @ 21:00
575289 [ลบ]

สวัสดีค่ะ

- แวะมาติดตามงานอาจารย์อยู่นะค่ะ

น่ายินดีนะค่ะ ที่มีการบริหารข้อมูลด้วยข้อเท็จจริง แต่ดูปัญหาและอุปสรรคแต่ละหน่วยงานช่างมากโข หากใช้ IT มากกว่า IM  บางที่ อุปกรณ์เล็กน้อยแต่ทำไมสามารถบริหารงานระบบสารสนเทศได้ดีจัง แต่บางที่ก็มีอุปกรณ์มากโข แต่ทำไมไม่เห็นได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร สงสัยต้องทบทวนกระบวนการอีกรอบ

- ขอบคุณนะค่ะ

_______________________________

สวัสดีอาจารย์เช่นกันครับ
เป็นข้อคิดเห็นที่ดีขอรับ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่พี่ว่า เป็นข้อหนักใจสำหรับคนรวมข้อมูลซึ่งนับวันจะเก็บซับซ้อนไปเรื่อยๆ
เช่น ข้อมูลเรื่องยาเดิมจากเก็บว่าใช้ยายอดรวมเท่าไหร่แล้ว จะกลายเป็นหารายละเอียดว่าใช้ยาอย่างสมเหตุผลหรือไม่ ซึ่งก็ต้องดูข้อมูลในระเบียนคนไข้ร่วมกับประวัติการจ่ายยาร่วมกันไปด้วย หรือแม้แต่ที่เพิ่งเจอมาคือ ปริมาณการจ่ายยาในแต่ละครั้งสอดคล้องกับที่คนไข้ใช้จริงหรือไม่ เช่น หากคนไข้กินยาในโรคประจำวันละเม็ด ปีหนึ่งควรได้ไม่เกิน 365 เม็ดหากได้น้อยกว่ามากๆ หรือมากกว่ามากๆ เป็นเพราะอะไร

ซึ่งอุปกรณ์สำคัญมากก็จริงเปรียบเหมือนมีร่างกาย
แต่ขาดระบบในการสั่งการหรือตัวโปรแกรมไป ร่างกายก็ทำงานไม่ถูกขอรับ
อย่างที่กล่าวข้างต้น ปัจจุบันและอนาคตเราต้องใช้สมองคิดซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

และที่พี่ว่าที่ๆ มีอุปกรณ์น้อยแต่หากมีการรวมข้อมูลให้ดึงง่าย คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลหรือรายงานออกมาค่อนข้างตรงกับงานอยู่แล้ว งานก็เดินได้ดีขอรับ เปรียบเหมือนคนที่เคลื่อนไหวได้ดีแม้ตัวจะเล็ก ย่อมดีกว่าคนตัวใหญ่แต่เดินเก้งก้าง

(ไม่รวมปัญหาเรื่องที่คนจริงนะขอรับ หุๆ)

ตามมาชมอีกรอบค่ะ

- สงสัยงานนี้คงต้องมีนวตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นที่ห้องยาแน่นอน

รอชมนะค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท