ทันที่ที่ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๙ ทำให้นึกถึงกระบวนการในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นกลาง เพื่อให้ประชาชน (เจ้าของประเทศ) ได้ตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศ หรือกำกับดูแลการทำงานของรัฐบาลในทางที่ถูกที่ควรตามครรลองประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นกฎหมายแม่บท
สิ่งที่พรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านได้แสดงท่าทีเรื่องเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ ควรให้ความสนใจทุกๆประเด็น
โดยเพาะอย่างยิ่งประเด็นเกี่ยวกับ การเป็นสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า ๙๐
วันก็ดี หรือประเด็นการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีก็ดี
ควรที่จะมีเหตุผลสนับสนุนอย่างแน่นหนา
ไม่ว่าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลหรือพรรคร่วมฝ่ายค้านก็ตามที่กำลังดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในเวลานี้
ขอได้พึงรำลึกอยู่เสมอว่า
"ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนต้องมาก่อนผลประโยชน์ของพรรค
พวก เพื่อนพ้อง และวงศาคณาญาติ"
ผมขอเรียกร้องให้ผู้นำทางการเมืองและพรรคการเมืองทุกพรรคให้สัตยาบันร่วมกันว่า
"จะแก้ไขรัฐธรรมนูญบนพื้นฐานของความต้องการของประชาชนในชาติเป็นสำคัญ"
ฉะนั้นแนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูล
ความรู้ที่จะนำไปสู่พี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าควรเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกๆฝ่าย
อย่างน้อยที่สุดควรจะต้อง
"ติดอาวุธทางปัญญาให้กับประชาชน"
โดยใช้แนวทางการจัดการความรู้ KM ในทุกๆชุมชน และร่วมกันสร้าง
"สังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน"ต่อไป
ไม่มีความเห็น