โจทย์วิจัยทางสิ่งแวดล้อม


ออกแบบวิจัยอย่างไรดี

การสร้างโจทย์วิจัยและกรอบวิจัย

                สิ่งสำคัญที่สุดโดยเฉพาะปรัชญาทางสิ่งแวดล้อม ที่ยังคงเป็นอมตะตลอดกาล คือ ให้นึกถึง เริ่มต้นดี สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ซึ่งในการทำโครงร่างวิจัย แม้จะมีการใช้สถิติที่ดีเพียงใด  แต่ในเมื่อโจทย์วิจัยไม่คม (ไม่โดน) ก็จะล้มเหลวได้ เพราะฉะนั้น อะไรที่จะเรียกว่าวิจัย ก็ต้องค้นหาหาคำตอบจากคำถามของตนเองที่ตั้งไว้  หรือฝึกตั้งโจทย์ให้เป็น โดยตีโจทย์ให้แตกแล้วบีบประเด็นให้คมชัด (ไม่ควรตั้งโจทย์)จากตัวสถิติเป็นตัวนำ)

                ปัจจุบันแนวโน้มโจทย์วิจัยและกรอบวิจัย  ควรมี 3 องค์ประกอบ คือ

1.)    ขั้นเริ่มต้นต้องชี้ปัญหาวิจัยก่อน

2.)    ตัวแปรหลักที่ศึกษาควรเป็นการวิเคราะห์หลายตัวแปร (Multi-factor) 

3.)    ค้นหาเหตุการณ์ หรือแนวโน้มหรือกระแสวิจัย (research  event)  หาทฤษฏีมาทดสอบก็ได้ว่าปัจจุบันยังใช้ได้อยู่หรือไม่

ปัญหาที่พบของการสอบวัดคุณสมบัติหรือสอบวัดความเข้าใจของนิสิตปริญญาเอกและ

ปริญญาโท  ตามลำดับ นั้นมีหลายสาเหตุ

1)      ปัญหาวิจัยไม่เคลียร์ ( Research  Question/Main Idea/Main Outcome) หรือเรื่องต้อง

ใหม่และท้าทาย  สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้

2)   ค้นหาประเด็นสำคัญยังไม่ได้  หรือจับประเด็นมาร่วมกันแก้ปัญหาไม่ได้ (Co-variable or  Research Question) ดังนั้น หัวข้อที่มีต้องมีความสำคัญ  ผ่านการทบทวนวรรณกรรม Hot topic  ไม่ล้าหลัง  มีแหล่งทุนเหมาะกับพื้นฐานตัวเอง แม้กระทั่ง Topic area หรือตรวจสอบ

ช่องว่างต่าง ๆ (Gab) 

3)   โจทย์วิจัยบางทีเป็นคำบอกเล่าจากคำถามวิจัยเกินไป ต้องตัวแปร (Variable) ที่เป็นกุญแจสำคัญ (Key words) เพื่อจะนำสู่การพัฒนาโครงร่างวิจัย ที่มีจุดขาย และสร้างวัตถุประสงค์ที่จะวัดได้ต่อไป

4)      ปัญหาวิจัยยังไม่ค่อยตรงจุดที่ท้าทายของสังคม หรือไม่มีความใหม่ขั้นตอนการสร้างโจทย์วิจัย

ขั้นตอนการสร้างโจทย์วิจัย

1)      ต้องมีคำใหญ่ ๆ หลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นการพัฒนาตนเองให้ทันสมัย (Update ตนเอง )

2)      เขียนปัญหาโดยตั้งคำถามวิจัยหลักทั่ว ๆ ไป และรองลงมาเขียนให้เฉพาะเจาะจง ต่อไป

3)      สร้างตัวแปรให้วัดได้  โดยการระดมสมองหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ดังนั้นโดยสรุปแล้ว การสร้างโจทย์วิจัยต้องเริ่มจากปัญหาที่มีอยู่ในธรรมชาติไปค้นมาอธิบาย โดยการวิจัยซึ่งต้องสร้างตัวแปรไปรวบรวมมาวิเคราะห์ แล้วเผยแพร่ ต่อไป

 

การออกแบบการวิจัย

                ประเด็นแรกต้องพิจารณาประเภทการวิจัย ได้แก่ ตามชนิดข้อมูลตามการกระทำกับตัวอย่าง

ตามเวลา ตามการเก็บข้อมูล เป็นต้น

                การวิจัยอาจเป็นเชิงปริมาณ ที่มีทดสอบสมมุติฐานโดยวิธีการหาสถิติเข้ามาช่วยพรรณนา

ความสัมพันธ์ ความแตกต่างหรือการทำนาย บางครั้งจำเป็นต้องเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ส่วนใหญ่

มักจะต่อยอดเชิงปริมาณที่มีคำถามว่า ทำไม หรือคาดว่าเป็นเพราะอะไร หรืออาจวิจัยเพื่อผสมกัน

ก็ได้

ขั้นตอนการออกแบบการวิจัย         

-          สิ่งที่อยากรู้ ( ทำปัญหาวิจัยให้ชัด เช่น อยากทราบว่าการมีส่วนร่วมจัดการขยะชาน

เมือง และตัวเมือง เป็นต้น)

-          ปรับคำถามให้แคบลง (เริ่มจากคำถามกว้าง ๆ ก่อนแล้วไปทบทวนวรรณกรรม และ

ทฤษฏี)          

-          นำคำถามวิจัยไปเก็บข้อมูล (ต้องตีโจทย์ให้แตก) ปัญหาที่พบหรือไม่เข้าใจขั้นตอนชัด

-          เป็นเหตุการณ์ธรรมชาติ  (จับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากชีวิตประจำวัน)

-          เอาทฤษฏีมาอธิบายปรากฏการณ์ (ปัจจัยไหนสำคัญที่สุด จากหลายปัจจัย)

ดังนั้น  การสร้างทฤษฏีใหม่ในปัจจุบันจะรวมปรากฏต่าง  ๆ เข้าด้วยกัน

หมายเลขบันทึก: 170394เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2008 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท