ชุดที่ 7


บัตรคำสั่ง

บัตรคำสั่ง

 

ศูนย์ที่  7 เรื่องการตอบสนองต่อสิ่งเร้า  และผลเสียของการทำลายพืช

สาระที่  1          สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต  ( ว 1.1 )

                  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

 

นักเรียนอ่านบัตรคำสั่ง  และปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

 

          1.   เลือกประธานและเลขานุการกลุ่มเพื่อทำหน้าที่บริการและดำเนินกิจกรรม

2.   ทำแบบทดสอบก่อนเรียน  และตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

3.   จับคู่คนเก่งกับคนอ่อนช่วยกันอ่านบัตรเนื้อหาให้ละเอียด

4.   ร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นในเนื้อหา

5.   จดบันทึกสาระสำคัญ  เพื่อไว้อ่านต่อไป

6.   อ่านบัตรคำถามอย่างละเอียดถี่ถ้วน  แล้วตอบคำถามในแบบฝึกปฏิบัติ

       ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

 7.  ทำแบบทดสอบหลังเรียน  พร้อมตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย

 8.   เสร็จแล้วเก็บอุปกรณ์ทุกชิ้นใส่ซองให้เรียบร้อย  ยกเว้นกระดาษคำตอบ 

        หรือแบบฝึกปฏิบัติ

 9.   เตรียมไปเรียนศูนย์ต่อไป

 

 

 

 

 

แบบทดสอบก่อนเรียน

ศูนย์ที่  7 เรื่องการตอบสนองต่อสิ่งเร้า  และผลเสียของการทำลายพืช

สาระที่  1          สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต  ( ว 1.1 )

                  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

 

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.  ลำต้นของพืชเจริญเข้าหาสิ่งใด

      ก.  น้ำ

      ข.  แสงแดด

      ค.  แร่ธาตุ

      ง.  ทั้ง  น้ำ  และแร่ธาตุ

4.  ถ้าสัมผัสต้นผักกระเฉด  จะเกิดอะไรขึ้น

     ก.  ผักกระเฉดหุบใบ

     ข.  ต้นผักกระเฉดสลัดใบ

     ค.  ต้นผักกระเฉดดีดตัวสูงขึ้น

     ง.  ต้นผักกระเฉดจะกางใบออก 

2.  ใบของต้นไมยราบ  จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าเมื่อใด

      ก.  เมื่อถูกสัมผัส

      ข.  เมื่อแสงแดดจัด

      ค.  เมื่อแมลงบินผ่าน

      ง.  เมื่ออากาศมืดครึ้ม

5.  เสียงดนตรีมีผลต่อพืชอย่างไร

      ก.  ทำให้พืชเหี่ยวเฉา

      ข.  ทำให้พืชเป็นโรค

      ค.  ทำให้พืชไม่เป็นโรค

      ง.  ทำให้พืชเจริญงอกงาม

3.  ใบของพืชชนิดใดที่เปลี่ยนมาเป็นกับดักแมลง

      ก.  บัว

      ข.  พริกไทย

      ค.  ผักกระเฉด

      ง.  หม้อข้าวหม้อแกงลิง

 

6.  สัตว์ชนิดใดมีการตอบสนองต่อสัมผัสคล้าต้นไมยราบ

      ก.  ตะขาบ

      ข.  หนอน

      ค.  กิ้งกือ

      ง.  กิ้งก่า

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บัตรคำสั่ง
หมายเลขบันทึก: 170370เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2008 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แบบทดสอบหลังเรียน

ศูนย์ที่  6 เรื่องวัฏจักรชีวิตพืชดอก  และประโยชน์ของพืช

สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต  ( ว 1.1 )

                  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

 

              คำชี้แจง   นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 

 

1.  ส่วนของพืชที่แตกอกจากเมล็ดแล้วยื่นขึ้นสู่อากาศ  คืออะไร

      ก.  ราก

      ข.  ใบ

      ค.  ดอก

      ง.  ผล

4. เรานำใบพืชชนิดใดบ้างมาทำเป็นอาหาร

     ก.  คะน้า  ตำลึง  ผักกาด

     ข.  ถั่ว  ข้าวโพด  น้อยหน่า

     ค.  เผือก  มะม่วง  มะละกอ

     ง.  อ้อย  ข้าวโพด  กะหล่ำปลี

 

2.  ภายในเมล็ดมีสิ่งใดอยู่บ้าง

      ก.  ใบ   กลีบเลี้ยง

      ข.  ราก  กลีบดอก

      ค.  ต้นอ่อน  ใบเลี้ยง

      ง.  ลำต้น  ใบที่ใช้ทำอาหาร

5.  เมล็ดพืชชนิดใดนิยมใช้เป็นอาหาร

     ก.  ถั่ว  อ้อย  เผือก

     ข.  ข้าว  ถั่ว  ข้าวโพด

     ค.  ข้าว  มะนาว  น้อยหน่า

     ง.  ข้าวโพด  ตำลึง  มะละกอ

3.  พืชชนิดใดสามารถนำมาทำยารักษาโรคได้ 

      ก.  ยาง  ไม้สัก

      ข.  ฝ้าย   ผักบุ้ง

      ค.  หัวมัน  มะเขือเทศ

      ง.  ขี้เหล็ก  ว่านหางจระเข้ 

6.  ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของพืช

      ก.  ทำแก้ว

      ข.  ทำเครื่องเรือน

      ค.  ทำเครื่องนุ่งห่ม

      ง.  ทำยารักษาโรค

 

แบบทดสอบหลังเรียน ศูนย์ที่  6  ( ต่อ )

 

7.  ส่วนใดของเมล็ดที่งอกมาก่อน

     ก.  ราก

     ข.  ผล

     ค.  ก้าน

     ง.  ใบ 

9.  การงอกของเมล็ดอาศัยสิ่งใดเป็นสำคัญ

     ก.  ดิน

     ข.   ความร้อน

     ค.  ปุ๋ย

     ง.  ความชื้น

8.  พืชที่ใช้ทำสีผสมอาหารได้คือข้อใด

      ก.  ใบฝรั่ง

      ข.  แตงกวา

      ค.  ใบเตย

      ง.  แก้วมังกร

 

10.  พืชช่วยป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร

       ก.  พืชช่วยคายน้ำ

       ข.  พืชช่วยซับน้ำให้แห้ง

       ค.  รากพืชช่วยดูดซับน้ำไว้

       ง.  พืชช่วยพัดพาน้ำไปตกที่อื่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บัตรเนื้อหา

 

ศูนย์ที่  6 เรื่องวัฏจักรชีวิตพืชดอก  และประโยชน์ของพืช

สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต  ( ว 1.1 )

                  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

 

                                       วัฏจักรชีวิตของพืชดอก

 

          พืชจะต้องแพร่กระจายผลและเมล็ดไปตามที่ต่าง ๆ  ให้มากที่สุด  โดยอาศัย

สัตว์ต่าง ๆ ช่วยในการแพร่พันธุ์  และสัตว์ก็ได้สิ่งตอบแทนคืออาหารจากพืชในรูปผลไม้  ซึ่งในผลไม้มีเมล็ดอยู่ด้วย  เมื่อสัตว์คาบผลไม้ไปกินไกล ๆ แล้วถ่ายมูลออกมา

เมล็ดที่ไม่ย่อยก็กระจายไปตามที่ต่าง ๆ  เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะงอกเป็นต้นใหม่

          กระแสลมก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยแพร่พันธุ์  พืชต้องสร้างเมล็ดขนาดเล็กและ

เบา  และมีอวัยวะสำหรับอุ้มลม  เช่น  นุ่น  ประดู่  ยาง  เป็นต้น  เมล็ดพืชเหล่านี้สามารถปลิวตามกระแสลมไปยังที่ไกล ๆ  ได้

          พืชบางชนิดอาศัยกระแสน้ำ

                      จึงต้องสร้างผลให้ลอยน้ำได้ 

                      เช่น  มะพร้าว 

 

          นอกจากนี้พืชบางชนิด  เมื่อมีผลหรือฝักที่แก่จัดจะแตกออกจากกัน  และมีแรงดีด  หรือแรงผลักให้เมล็ดกระเด็นไปไกล ๆ  ได้

          เมื่อนำเมล็ดพืชไปปลูกในที่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  ก็จะมีการเจริญเติบโตไปตามขั้นตอน  กล่าวคือ  เมล็ดจะค่อย ๆ  งอกรากออกมา  ต่อจากนั้นจะค่อย ๆ 

บัตรเนื้อหา  ( ต่อ )

        เจริญเติบโตเป็นต้นพืชต้นเล็ก ๆ  เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มที่จะออกดอก  เมื่อดอกได้

        รับการผสมพันธุ์ก็จะเกิดผล  ในผลของพืชจะมีเมล็ดอยู่ข้างใน  เมื่อนำผลหรือเมล็ดไป

        ปลูกจะสามารถงอกเป็นต้นพืชใหม่อีก  การเปลี่ยนแปลงของพืชเช่นนี้  เรียกว่า

      วัฏจักรชีวิตของพืชดอก  เช่นวัฏจักรชีวิตของมะพร้าว  วัฏจักรชีวิตของมะเขือ 

        วัฏจักรชีวิตของข้าวโพด  เป็นต้น

                 พืชต้นใหม่จะเจริญขึ้นมาจากเมล็ดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชต้นเดิม  สำหรับ

        พืชดอกส่วนใหญ่ จะเจริญมาจากเมล็ด  ภายในเมล็ดจะมี  ต้นอ่อน  และอาหาร

        สำหรับเลี้ยงต้นอ่อน  ซึ่งเรียกว่า  ใบเลี้ยง

               เมื่อเมล็ดไปตกในที่ที่มีสภาพแวดล้อม  เช่น  ความชื้น  อากาศ  อุณหภูมิ  ที่

        เหมาะสมก็จะงอกออกมา  โดยมีน้ำ  หรือความชื้นเป็นตัวช่วยให้เปลือกอ่อนนิ่มพอที่

        จะให้รากและส่วนอื่น ๆ  ออกมาได้   ส่วนของราก ออกมาก่อน  จากนั้นก็จะมี ใบ

       ปรากฏขึ้น อาหารที่สะสมอยู่ในเมล็ด  จะถูกนำมาใช้ในการเจริญเติบโตของรากและ

         ต้นอ่อน รากก็จะพุ่งลงล่าง  เพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุ  เมื่ออาหารที่สะสมหมด  พืชก็

         เจริญเติบโตพอที่จะสร้างอาหารเองได้ ทำให้ต้นเจริญเติบโต  และยื่นส่วนยอดขึ้นสู่

         ด้านบน  โดยอาศัยปัจจัยต่าง ๆ  ทำให้พืชมีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ  แล้วเจริญเติบ

         โตเป็นพืชชนิดนั้น

                    ขั้นตอนการเจริญเติบโตของพืช  มีดังนี้

1.      ระยะที่รากแตกออกจากเมล็ดก่อนลงสู่ดิน

2.      ระยะที่ลำต้นงอกออกจากเมล็ดขึ้นสู่อากาศ

3.      ระยะที่เป็นต้นอ่อน  และแตกใบ

4.      ระยะที่โตเต็มที่  พร้อมที่จะออกดอก

5.      ระยะที่ออกดอก  ออกผล  โดยภายในผลมีเมล็ด

 

บัตรเนื้อหา  ( ต่อ )

      

 

 

 

 

 

 

                        ที่มา  หนังสือคุณภาพแม็ค   กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  ชั้น ป. 4 หน้า  52

 

 

 

 

 

 

 

                                    

 

                        ที่มา  สื่อการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์  สมบูรณ์แบบ  ชั้น ป. 4  หน้า  84

         

 

 

 

 

                       

                 ที่มา  หนังสือคุณภาพแม็ค   กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  ชั้น ป. 4 หน้า  55

บัตรเนื้อหา  ( ต่อ )

        

 

 

 

 

 

                                  ภาพแสดงการเจริญเติบโตของเมล็ด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท