ไอเสียรถ ไม่ค่อยดีกับสุขภาพสมอง


สมองส่วนนอก (cerebral cortex) มีการตอบสนองแบบเดียวกับสถานการณ์ที่สมองพบความเครียดตั้งแต่ 30 นาที

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า ควันหรือไอเสียจากรถทำให้เกิดมลภาวะในอากาศ โดยเฉพาะควันรถดีเซล เช่น รถบรรทุก รถกระบะ รถเมล์ ฯลฯ วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า ควันไอเสียรถส่งผลกระทบถึงสมองมาฝากพวกเราครับ

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ฝุ่นควันขนาดจิ๋ว หรือขนาดนาโน (nanoparticles / very small soot) สามารถซึมผ่านเยื่อบุจมูก และผ่านไปติดในสมองได้เป็นบางส่วน

...

ท่านอาจารย์พอล บอร์ม และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยซุด (Zuyd) เนเธอร์แลนด์ ทำการศึกษาในอาสาสมัคร 10 คน

ท่านให้อาสาสมัครเข้าไปอยู่ในห้องที่มีไอเสียจากรถดีเซล รมควันนาน 1 ชั่วโมง และตรวจคลื่นสมอง (EEG) ไปด้วย

...

ผลการศึกษาพบว่า สมองส่วนนอก (cerebral cortex) มีการตอบสนองแบบเดียวกับสถานการณ์ที่สมองพบความเครียดตั้งแต่ 30 นาที

อาจารย์บอร์มกล่าวว่า การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม ซึ่งบ่งชี้ไปว่า การได้รับไอเสียในระดับดังต่อไปนี้มีผลกระทบต่อสมองได้แก่

  • ถนนที่มีรถยนต์คับคั่ง
  • โรงรถ

...

เรียนเสนอให้พวกเราที่ใช้รถดีเซลหันมาดูแล ใส่ใจสภาพรถของท่านให้มีสภาพดี และควรลดการอุ่นเครื่อง (warm up) คราวละนานๆ

ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่แนะนำให้อุ่นเครื่อง 15 วินาที และออกรถช้าๆ ไม่เร่งในช่วงแรก วิธีนี้มีส่วนช่วยลดไอเสียจากเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ได้ดีกว่าการอุ่นเครื่องคราวละนานๆ

...

ผู้เขียนมีประสบการณ์ไปตรวจสภาพรถยนต์คันเก่า ซึ่งเป็นโตโยต้าโคโรลล่า 16 วาล์ว ซึ่งใช้ได้ดีมากมานานกว่า 16 ปี โดยเฉพาะศูนย์บริการโตโยต้าลำพูนนั้น บริการในระดับดีเยี่ยมทีเดียว ใช้ได้จนมีผู้กล่าวว่า ใช้รถวาล์วละ 1 ปี

เมื่อนำไปตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถยนต์แห่งหนึ่งในลำปางพบว่า รถกระบะคันหนึ่งพ่นควันดำได้คล้ายปลาหมึกก็ยังตรวจสภาพ "ผ่านตลอด" เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ควรแก้ไขกันต่อไป

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                   

  • Thank Reuters > Ben Hirschler. Jon Boyle ed. > Diesel fumes can affect your brain, scientists say. > [ Click ] > March 10, 2008. / J Particle and Fibre Toxicology > [ Click ]
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 10 มีนาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 170368เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2008 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท