คำกล่าวนำในการประชุมวิชาการครั้งที่ ๑๗


KM ที่ดี ในหน่วยราชการ ควรมีลักษณะอย่างน้อย ๗ ประการ
คำกล่าวนำในการประชุมวิชาการครั้งที่ ๑๗
           ในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ ๑๗ ในวันพรุ่งนี้ (๒๘ กค. ๔๘)  ผมจะกล่าวนำ ดังต่อไปนี้

 

“KM ในหน่วยราชการ ที่ถือว่าเป็น KM ที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.       เป็น “KM ของแท้” คือ เป็น KM ที่ทำเพื่อหนุนเสริม หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายของหน่วยราชการ    ไม่ใช่เป็น KM ที่ทำเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการทำ KM      หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง อยู่ในสภาพที่ ถือ KM เป็นเครื่องมือ  ไม่ใช่เป้าหมาย
2.       เป็น KM ที่ฝังอยู่เป็น “เนื้อใน” (km inside) ของงาน    คือใช้ KM ในการดำเนินการงานประจำจนกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน    พนักงานรู้สึกว่า KM เป็นเครื่องมือช่วยให้ปฏิบัติงานเกิดผลสำเร็จได้ง่ายหรือสะดวกขึ้น    เป็นผลดีต่อทั้งงาน และต่อพนักงาน    ไม่ใช่ KM ทำให้เกิดงานเพิ่มขึ้น  หรือก่อความยุ่งยากมากขึ้น
3.       มีคณะกรรมการ หรือคณะทำงาน KM ขององค์กร/หน่วยงาน    มีแผนยุทธศาสตร์ของ KM   มีการจัดสรรทรัพยากร   และมีการติดตามประเมินผล KM
4.       มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ปฏิบัติในงานประจำ ทั้งที่เป็นแบบ F2F  และ B2B
5.       มีการบันทึก “ขุมความรู้” และจัดหมวดหมู่เป็น “แก่นความรู้”   ไว้ให้พนักงานได้เข้าถึงได้โดยสะดวก   และมีการนำไปใช้และ update สม่ำเสมอ
6.       ช่วยดึงศักยภาพที่แฝงเร้นของพนักงานออกมา    ทำให้พนักงานเกิดความตระหนักในความรู้ความสามารถที่สั่งสมมาจากการทำงาน (tacit knowledge)     สามารถกำหนดตัวพนักงานที่เป็น “ผู้มีความสามารถเฉพาะด้านระดับ ๔ -๕ ดาว”    นำมาใช้พัฒนางาน และต่อยอดความรู้    เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานที่สูงขึ้น  และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติของพนักงาน   เกิดการพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรเรียนรู้ และพนักงานเป็นบุคคลเรียนรู้    รวมทั้งทำให้พนักงานเกิดความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน
7.       ช่วยให้พนักงานมองภาพการทำงานด้วยความคิดกระบวนระบบ (Systems Thinking)    ตระหนักว่าหากจะให้ได้ผลสัมฤทธิ์ของงาน (ของหน่วยงาน) ในระดับสูง จะต้องมี “แก่นความรู้” (เพื่อการปฏิบัติ) หลายด้าน     และในขณะหนึ่งๆ หน่วยงานมีทั้ง “แก่นความรู้” ส่วนที่มีความเข้มแข็ง และส่วนที่ยังอ่อนแอ     แต่ไม่ว่าใน “แก่นความรู้” ที่อยู่ในระดับใด จะต้องมีการพัฒนาผ่านการเรียนรู้ร่วมกันโดยการพัฒนางานอยู่ตลอดเวลา

 

           ในการนำเสนอของทั้ง ๖ หน่วยงาน อาจช่วยตีความเพื่อเน้นว่า การดำเนินการ KM ในหน่วยงานของท่านท่านมีองค์ประกอบของ ๗ ประเด็นที่กล่าวมาหรือไม่ อย่างไร    หรือมีองค์ประกอบสำคัญ ที่ ๘, ๙ เพิ่มขึ้นอีก    หรือ อ. ประพนธ์อาจมีประเด็นสำคัญของ KM ในหน่วยราชการเพิ่มจากที่ผมกล่าวไปแล้ว”
วิจารณ์ พานิช
๒๗ กค. ๔๘
หมายเลขบันทึก: 1702เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2005 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 03:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท