บทสนทนาว่าด้วย Information Literacy


วานผู้รู้ช่วยแนะ

เมื่อวันพุธที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา  บรรณารักษ์หลายๆ คนของเรามีโอกาสแลกเปลี่ยนกันความคิดเห็นเรื่อง กับนักศึกษาปริญญาเอก  จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นอาจารย์คนไทยและกำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ  Information Literacy เน้นไปที่    นักศึกษา และเก็บข้อมูลภาคสนามแบบสนทนากลุ่ม ซึ่งเราไม่ค่อยจะเห็น  ประเด็นที่คุยกันเริ่มตั้งแต่ความหมาย วิธีการและทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิด  Information Literacy  ในวงสนทนาสรุปว่า การจะวัดว่าการรู้สารสนเทศของใครมีแค่ไหนเป็นเรื่องที่วัดยาก                 

ในฐานะบรรณารักษ์สิ่งที่ได้ทำ กำลังทำและต้องทำต่อไปคือบอกวิธีการ เทคนิคเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการหรือ        กักตุนไว้ในคลังสมองของตัวเอง  ความเห็นต่อไปคือต้องเริ่มจากตั้งแต่ครอบครัว ตัวเอง ครู ไล่ขึ้นมาเรื่อยๆ  สิ่งที่สำคัญคือการ     ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนรู้ที่ได้จากการสั่งสมของคำสอนและประสบการณ์  ซึ่งบางครั้งอาจมีการบังคับให้เรียนรู้เช่น  บังคับให้อ่าน  หรือในต่างประเทศจะมีการกำหนดว่าคณะนี้ปี 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4 และบัณฑิตที่จบออกไปควรจะรู้อะไรบ้าง

ประเด็นต่อมาคือห้องสมุดจะมีบทบาทอย่างไร คำตอบคือห้องสมุดมีหน้าที่ในการแนะนำวิธีการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้    ซึ่งห้องสมุดก็มี KPI ตัวนี้วัดอยู่ว่าเราต้องทำอะไรบ้าง   ก็พยายามหาทั้งวิธีการจัดกิจกรรมทั้งลด แลก แจกแถม ทั้งกำลังภายในและกำลังภายนอก  แต่การที่จะให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ หรือใฝ่เรียนรู้  ต้องช่วยกันทุกฝ่าย สิ่งที่พูดถึงกันมากคือสังคม      เปลี่ยนไป ทำให้มนุษย์รุ่นใหม่ชอบสิ่งที่ได้มาง่ายๆ ไม่อดทน ชีวิตฝากไว้กับอินเทอร์เน็ตหรือวิกิซึ่งไม่ผิด  เหมือนกับคนที่นิยมรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  แต่สารอาหารน้อยไปไหม?  ตามด้วยความเห็นต่อวิชาการใช้ห้องสมุดที่สมัยก่อนเรียนตั้งแต่ปี 1 จำนวน 3 หน่วยกิต  ก็หายไป หรือไปรวมกับวิชาอื่น  หรือกลายเป็นวิชาเลือก  ซึ่งก็เข้าใจว่าผู้รับผิดชอบต่างมีเหตุผล  แต่ในมุมของบรรณารักษ์มีความเห็นความเป็นไปของพฤติกรรมการแสวงหาสารนิเทศของนักศึกษาที่กว่าจะรู้ว่าต้องค้นอย่างไร ใช้อย่างไรก็เมื่อต้องเรียนวิชาวิจัยหรือวิชาที่ต้องทำสารนิพนธ์ หรือต้องเตรียมเอกสารการสอน ซึ่งหมายความว่าอยู่ปี 4  จึงเข้าข่าย กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว                           

เช้านี้ (วันศุกร์ที่ 7) ได้อ่านบทความของ รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม เรื่องคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 2 เล่ม เวียดนาม  60 เล่ม สิงคโปร์ 50 เล่ม ใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันที่ 13 มีนาคม 2551 หน้า 38 มีส่วนหนึ่งบอกว่า ในฐานะที่ผมอยู่ในสถาบันการศึกษา  ได้เฝ้าสังเกตการอ่านเพื่อประกอบการเรียนวิชาต่างๆ และการค้นคว้าเพื่อการทำรายงานในวิชาต่างๆ เช่นกัน เพื่อประกอบการเขียนรายงาน สิ่งที่พบก็คือนิสิต นักศึกษาอ่านหนังสือน้อยลง ยิ่งการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท ปริญญาเอกในโครงการพิเศษทั้งหลาย นักศึกษายิ่งจะไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เพียงคอยรับจากอาจารย์ป้อนอย่างเดียว โดยไม่ต้อง     พูดถึงการค้นคว้าเพื่อการอ่านหนังสือ เพื่อเป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมและการทำรายงาน ที่สำคัญต้องบังคับให้อ่านจึงจะมีการอ่าน แม้ว่าบังคับให้อ่านก็แล้วก็ยังทำได้ไม่ดีนัก แม้แต่ในวงการศึกษา ระดับการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ยังต้องบังคับให้อ่านกัน ซึ่งโดยข้อเท็จจริงนักศึกษาระดับนี้จะต้องแสวงหาการเรียนรู้ การอ่านด้วยตนเองให้มากๆ แต่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แล้วเราจะไปหวังอะไรที่จะให้เด็กและเยาวชนหรือประชาชนทั่วไปอ่านหนังสือให้มากกว่าปีละ 2 เล่ม"                                              

อ่านจบแล้วก็อึ้ง ตอนนี้ชักอยากจะรู้ว่านักศึกษาของเราอ่านหนังสือปีละกี่เล่ม  ส่วนจะมีกระบวนการอย่างไรยังนึกไม่ออก วานท่านผู้รู้ช่วยแนะด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 169510เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2008 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท