ได้อะไรกับเกมส์การจัดการน้ำ(ชลประทาน)


เกมส์การจัดการน้ำ ฝึกกระบวนการคิด และวางแผนในการทำงานของตนเอง ซึ่งอาจเป็นการจัดการความรู้อย่างไม่รู้ตัว...

......เพิ่งผ่านมาสดๆร้อนๆหลังจากที่เล่นเกมส์ การจัดการน้ำ (ชลประทาน)วันนี้..27 ก.ค.48

ซึ่งแบ่งกลุ่มกันต่างๆดังนี้

กลุ่ม1 (แฉก) พี่อ้อม + ...

กลุ่ม2 (แฉก) พี่อ้อ+ พี่น้ำ

กลุ่ม3 (แฉก) พี่แอน+พี่เก๋

กลุ่ม4(แฉก) พี่เพชร+....(ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มเกษตรกร / ผู้เล่นเกม)

ส่วนผมตอนแรกก็นั่งอยู่กับพี่อ้อม แต่ถูกจับไปเป็นชลประทาน(คนเดียว).....เลยอดเล่นเกมส์ต้องมานั่งแจกน้ำให้เกษตรกร (โดนมุดปักนิ้วไปหลายทีครับ...)

.....พอเริ่มเล่นเกมส์ทุกคนก็ต่างคิดคำนวนหาเหตุ และผลในการปลูก ข้าว ข้าวโพด และถั่ว ซึ่งจำนวน 4 แปลงที่ทางผู้จัดทำเกมส์ เตรียมมาให้แบ่งเป็น แปลงนาที่มีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันโดยใช้ค่า 0.6 , 0.7 , 0.8 และ 0.9 รวม 4 แปลงซึ่งแปลงไหนที่มีค่ามากที่สุด หมายถึงแปลงที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินมากที่สุด ในของเรื่องการอุ้มน้ำ ฯลฯ

ซึ่งเป็นโจทย์ที่ให้เกษตรกรคิดวางแผนต่อไปว่า ควรจะนำพืชชนิดใด (ข้าว ข้าวโพด ถั่ว) ลงแปลงไหน (0.6 , 0.7 , 0.8 , 0.9)เพื่อให้ได้รับผลผลิตที่เต็มที่ และสามารถจัดสรรน้ำที่ชลประทานจะจ่ายน้ำให้ได้อย่างลงตัวต่อไป

"ผู้จัดบอกว่าเล่นเกมส์กับกลุ่มผู้ใหญ่แล้วคิดมาก เพราะผู้ใหญ่คิดไปถึงผลผลิตแล้ว ทั้งๆที่ยังไม่ได้เริ่มเล่นเกมส์เลยด้วยซ้ำ"

เกมแรกที่เล่นมีข้อสังเกตุของผู้จัดว่า กลุ่ม 1 กับ กลุ่ม 2 ใช้พืชปลูกลงแปลงนาเหมือนกันทุกอย่าง แต่การขอน้ำจากชลประทานต่างกันลิบลับ (กลุ่ม 2 ขอมากกว่า กลุ่ม 1) ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรนั้นต้องดูตอนท้ายว่าเป็นอย่างไร....

หลังจากที่ชลประทานตกลงว่าจ่ายน้ำเท่ากันหมดทั้ง 4 กลุ่ม ...ปรากฏว่า กลุ่ม1 ต้องมาขอซื้อน้ำจากกลุ่ม 2  ซึ่งแปลงนาของตนเองไม่มีน้ำเพียงพอต่อการปลูกข้าว (นาข้าวล่มไปในที่สุด) 555...

ในแง่ของชาวนา (ผู้เล่นเกมส์) ผมว่าได้ความรู้ในเรื่องการจัดเตรียมพืช เพื่อจะนำลงแปลงที่เหมาะสม เพราะต้องคิดคำนวนให้ดีว่าพืชใดใช้น้ำมาก พืชใดใช้น้ำน้อย และควรจับลงแปลงไหน เช่น ข้าวเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ส่วนใหญ่ก็ควรจับลงแปลง 0.9 ซึ่งเป็นค่าสมรรถณะที่ดิน ที่ถือว่าสูงที่สุดใน 4 แปลง นั่นหมายความว่าอุ้มน้ำได้ดี และสามารถรองรับพืชที่ต้องการน้ำมากๆอย่างข้าวได้

ในแง่ของชลประทาน ก็ต้องคำนวนว่าจำนวนน้ำที่ทั้ง 4 กลุ่มขอด้วย ซึ่งต้องมีจำนวนไม่เกินปริมาณน้ำที่ชลประทานมีอยู่ เช่น ชลประทานมีน้ำอยู่ 100,000 ลบ.ม. แต่ทั้ง 4 กลุ่มขอน้ำรวมกันอยู่ที่ประมาณ 50,000 ลบ.ม. ก็ควรจ่ายน้ำให้เกษตรกรจำนวนเท่าๆกัน หรือแต่ละกลุ่มมีความต้องการน้ำที่ต่างกัน แต่เฉลี่ยกันแล้วไม่เกินที่กำหนดไว้ ก็อาจจะลดหลั่นจำนวนน้ำให้กับเกษตรกรที่มีความจำเป็นในการใช้น้ำต่างกันไปก็ได้ (มาน้อยต่างกัน อันนนี้ขึ้นอยู่กัยจรรยาบรรณของชลประทาน) ซึ่งมีความจำเป็นต้องกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนเพื่อสำรองน้ำไว้ในยามแห้งแล้งด้วยนั่นเอง..

พ่อค้า ก็มีความสำคัญในการกำหนดราคาซื้อสินค้าเกษตรกรแต่ละอย่าง ซึ่งต้องดูปัจจัยหลายอย่าง ทั้งในช่วงฤดูกาล หรือ ช่วงสินค้าล้นตลาด หรือแม้กระทั่งสินค้าไม่ได้มาตรฐาน เกณฑ์ในการกำหนดราคาของพ่อค้าก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้สินค้าเกษตรกรแต่ละอย่างนั้น ได้กำไร หรือ ขาดทุน หักต้นทุนแล้วปีๆหนึ่งลงทุนเท่าไร เหลือเงินเท่าไร..ฯลฯ

หากเกมส์นี้ได้มีการแลกบทบาทกันเล่นทุกคนก็จะรู้ว่าบทบาทของแต่ละฝ่ายมีข้อจำกัดเรื่องใดบ้าง เช่น เกษตรกรควรมีการวางแผนมากขึ้นหรือไม่ในการทำการเกษตร

ชลประทานควรมีการจัดสรรน้ำในระดับใดจึงจะเอื้อต่อเกษตรกร และไม่กระทบต่อปัญหาขาดแคลนน้ำในอนาคต

พ่อค้าควรพิจารณาอะไรบ้างในการกำหนดราคารับซื้อสินค้าของเกษตรกร

....ซึ่งนั่นหมายความถึงการรับรู้บทบาทของแต่ละฝ่าย และจะนำมาซึ่งการวางแผนในการทำงานของตนเองได้เป็นขั้นตอนเป็นระบบมากขึ้น โยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรก็จะได้การวางแผนการทำเกษตร (การเตรียมแปลงนาที่ดี) เพื่อให้ได้รับน้ำได้เพียงพอต่อการทำการเกษตรของตนเองด้วย

....ถ้าถามผมว่าเป็นการจัดการความรู้หรือไม่ // ผมตอบว่าเป็นนะครับ เพราะ เกมส์นี้สร้างขึ้นมาก็เพื่อให้เกษตรกรตระหนักในการเตรียมแปลงนาให้พร้อม เพื่อเลือกชนิดของพืชที่จะลงแปลงนานั้นๆ และเพื่อขอจำนวนน้ำจากชลประทานในแต่ละแปลงได้อย่างเหมาะสม (ขอมากไปน้ำก็เหลือทิ้ง ขอน้อยไปผลผลิตก็ได้น้อย หรืออาจจะไม่ได้เลย) ซึ่งกระบวนการคิด และวางแผนการทำงานของตน อาจจะเป็นการจัดการความรู้อย่างไม่รู้ตัว...

ผมสะท้อนออกมาในความเข้าใจของผมในแง่ของชลประทานนะครับ หากผู้ใดที่ต้องการสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับเกมส์นี้ในแง่เกษตรกร หรือในแง่อื่นๆ ก็ร่วมสะท้อนได้ครับ บางทีผมอาจะเข้าใจอะไรผิดพลาด ก็ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ว่าเห็นสมควรนำเข้างานมหกรรมหรือไม่ต่อไปครับ...

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1693เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2005 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท