กระบวนกร หัดขับ(เคลื่อน) (Knowledge Facilitator) (4)


 

หลังจากได้ทำกิจกรรมอุ่นเครื่อง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  วิทยากรได้เริ่มดำเนินการกิจกรรมต่อไปคือ ความคาดหวังของผู้เข้ารับการอบรม  กิจกรรมนี้วิทยากรได้แจกแผ่นกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  และให้ผู้เข้าร่วมการอบรมทุกคนเขียนความคาดหวังของตนเองต่อการฝึกอบรมลงไปในแผ่นกระดาษ โดยให้เขียนตามแนวนอนด้วยปากกามาร์กเกอร์ด้วยตัวหนังสือใหญ่ ๆ ในกระดาษ 1 แผ่นให้มีความคิดเพียง 1 ความคิด โดยเขียนให้ชัดเจน และหลีกเลี่ยงสำนวนที่ไม่กระจ่าง ที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด และไม่ต้องเขียนชื่อตัวเองลงไป  ถ้าใครอยากเขียนมากกว่า 1 ความคิดสามารถขอกระดาษเพิ่มเติมได้  หลังจากนั้นส่งคืนให้วิทยากร  และวิทยากรจะนำไปปักบนกระดานโดยแยกตามกลุ่มเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน

 

ความคาดหวังที่ได้จากผู้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้แบ่งออกเป็น  6  หัวข้อย่อย  สรุปได้ดังนี้

ความรู้

-         ความรู้ด้าน KM

-         ความรู้ใหม่

-         ความรู้เพิ่มเติม

-         รู้จัก KM มากขึ้น

-         เพิ่มความรู้

-         ได้ความรู้พัฒนางานให้มีประสบการณ์

-         ได้เรียนรู้สิ่งแปลก ๆ (สงสัยวิทยากรแปลก....ฮา ๆ ๆ )

-         เรียนรู้เพิ่มเติม

-         บทบาทของ Facilitator

-         บทบาทของการเป็นคุณลิขิต

-         ผู้นำ/ผู้ตามที่ดี

-         การเป็นผู้ประสานงาน

-         การเป็นผู้ฟัง

-         กระวนการทำงานในการเป็นทีมวิทยากร

 

การพัฒนาตนเอง

-         การพัฒนาตนเอง

-         พัฒนา

-         ลปรร.ปรับแนวคิด

 

ประสบการณ์

-         ประสบการใหม่ ๆ ผ่อนคลายความเครียด

 

พบเพื่อนใหม่

-         เพื่อน

-         หาเพื่อนใหม่

-         ได้เพื่อใหม่

-         เพื่อนใหม่

 

เทคนิค

-         เทคนิคการอบรมล

 

อื่น ๆ

-         สนุก

-         กานนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ

-         เปิดโลกคลายเครียด

-         ผ่อนคลาย

-         ไม่น่าเบื่อ

-         ได้ความสุขพบสิ่งใหม่

-         สนุกสนาน

-         ความเพลิดเพลิน

-         ความสุข

-         ความรัก

 

จากการทำกิจกรรมนี้  เป็นการให้ทราบถึงความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม และเพื่อปรับความคาดหวังของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนกับเนื้อหาของการอบรม โดยให้ข้อคิดว่าแต่ละเรื่องทำได้มากน้อยเพียงใด ตลอดจนการเขียนความคาดหวังไว้เป็นตัวอักษรเพื่อเปรียบเทียบว่าหลังอบรมแล้วเราได้อะไรมากน้อยเพียงใด

 

 

จากกิจกรรมดังการตัวผู้เขียนเองได้เรียนรู้วิธีการนำเข้าสู่กิจกรรมของวิทยากรได้เรียนรู้กระบวนการนำว่าควรทำอย่างไร  การควบคุมกิจกรรมระหว่างการดำเนินการ  ตลอดจนกระบวนการจูนความคิดของผู้เข้ารับการอบรมให้เห็นว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้เข้าร่วมอบรมคาดหวังไว้นั้น  สิ่งไหนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร  และสิ่งไหนที่พวกเราต่างมี เพียงแต่ว่าเราจะดึงกระบวนการที่วิทยากรได้นำ  และถ่ายทอดสิ่งที่มีอยู่ในตัวเราออกมา  เพื่อแชร์ประสบการณ์ และนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้/คาดว่า ร่วมกัน

ขออนุญาตไปออกกำลังกายต่อ พรุ่งนี้มาเล่าต่อนะจ๊ะ

สุขภาพดีไม่มีขาย  อยากได้ต้องสรรสร้างเองค่ะ

แข็งแรง ๆ ๆ ๆนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 169067เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2008 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

ตอนนี้ผมกำลังสนใจเรื่องของกระบวนการนำของกระบวนกร อยากนำไปใช้ในองค์กรบ้าง รอพี่มาเล่าต่อตอนต่อไปครับ อิอิ

  • เริ่มด้วยเจ้าเป็นไผ๋
  • ตามด้วยมาทำไม ?  จะทำอะไรกัน ?  ทั้งกระบวนกรและผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า  มาอบรมแล้วจะได้อะไร  ไม่ได้อะไร  เพราะอะไร  เช่นอยากได้เพื่อนใหม่แต่ไม่เปิดใจก็ไม่ได้  ได้เพื่อนไม่ได้เพื่อนอยู่ที่ตัวเอง ฯ    เวลาอบรมจะได้ไม่มีปัญหา  อิอิ
  • นักการอิ่ม ( กระบวนกร ) ก็เขียน  น้าอึ่งอ๊อบ ( นักเรียน -ลิงอนุบาล )  ก็เขียน   อ่านดูแล้ว  นักเรียนเขียนดีกว่า  อ่านแล้วเข้าใจกว่า  ( นักการอิ่มอย่าน้อยใจ  แล้วเลิกเขียนล่ะ )  อิอิอิอิ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท