ตลอดระยะกว่า 3 สัปดาห์ในความพยายามที่จะเรียนรู้ทำความรู้จักเพื่อเอาชนะเจ้าโรคร้าย STROKE: โรคหลอดเลือดสมอง (หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก) ที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว ผมอยากถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้เท่าที่มี เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างต่อท่านที่สนใจไม่มากก็น้อย โดยจะพยายามนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ ทั้งในส่วนที่วิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำแนะนำที่ดี กำลังใจที่ดีที่ได้จากมหามิตรใน G2K โดยจะพยายามปรับปรุงองค์ความรู้ของบันทึกนี้ ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีหลายอย่างที่ผมยังไม่ได้เรียนรู้ และยังต้องเรียนรู้เพื่อนำมาใช้รักษาคนใกล้ตัวต่อไป โดยในเบื้องต้นอาจจะไม่เป็นระบบมากนักและจะปรับปรุงให้ดีขึ้นตามแต่โอกาสจะอำนวยต่อไปครับ
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสาม รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง เป็นโรคที่ทำให้คนไทยและคนทั่วโลกเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ
- โรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) เป็นสาเหตุหลักของอัมพาต
- จุดอ่อนของวัยหนุ่ม วัยสาว และวัยกลางคน คือ เชื่อมั่นในสุขภาพของตนเองมากเกินไป ทำให้ประมาทไม่สนใจที่จะเรียนรู้และดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างนัก พอธรรมชาติของเส้นทางชีวิตลิขิตให้มาพบกับโรคร้าย บางทีเพราะไม่มีประสบการณ์และขาดการเรียนรู้ อาจทำให้ไม่ทราบว่าเป็นอะไร รักษาไม่ทันท่วงทีได้
- ถ้าสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเกิน 4 ชั่วโมง สมองส่วนนั้นจะตายไป
- ถ้าเป็นโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน ถ้าวินิจฉัยและรักษาทันภายใน 3-6 ชั่วโมง จะเป็นการดีและเสียหายน้อยที่สุด
- การวินิจฉัยโรคสมองจะทราบผลแน่ชัดได้จะต้องทำการ CT Scan หรือ MRI ดู โดย CT Scan จะเหมาะสมกับการตรวจกรณีเส้นเลือดสมองแตก ส่วน MRI จะเหมาะกับกรณีเส้นเลือดสมองอุดตัน ทั้งนี้ทั้งนั้นผมเข้าใจว่า MRI ปลอดภัยและให้ผลละเอียดกว่า และราคาแพงกว่าด้วย
- จากสถิติประเทศไทยเกี่ยวกับโรคเส้นเลือดสมอง พบว่า 70% เกิดจากเส้นเลือดสมองอุดตัน 30% เกิดจากเส้นเลือดสมองแตก และประมาณ 1 ใน 3 รักษาหาย อีก 1 ใน 3 พิการ และอีก 1 ใน 3 ตาย
- ในยุค ICT หรือ Knowledge is power การสืบค้นข้อมูลโดย Google และ bLog อย่างเช่น G2K จะช่วยให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้ดีมากเหลือเกิน แต่ด้วยข้อจำกัดบางอย่างอาจสร้างปัญหาได้ เช่น ที่โรงพยาบาลไม่มีอินเทอร์เน็ต หรือ ในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตายเราต้องทำอย่างอื่นจนไม่มีเวลามาใช้ Internet เป็นต้น
- ในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตาย "สติ" เป็นสิ่งสำคัญมากทั้งคนป่วยเองและผู้ที่จะคอยช่วยเหลือ เพราะจะเป็นช่วงที่เหนื่อยกายเหนื่อยใจมาก ยกตัวอย่าง ตอนที่คนป่วยต้องอยู่ในห้องผู้ป่วยรวมเพื่อสังเกตุอาการนั้น ด้วยความเป็นห่วงเราต้องนอนเฝ้าไข้ในห้องรวม ซึ่งจะมีผู้ป่วยอาการหนักกำลังจะตายร้องอย่างโหยหวลตลอดคืน ถ้าเราไม่ได้ศึกษาธรรมะ หรือฝึกจิตมา คงจะแย่เอามาก ๆ
- ย้ำว่า "การตัดสินใจ" ของผู้ป่วยและญาติมีผลต่อการรักษามาก การตัดสินใจที่ดีต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลา การปรึกษาคุณหมอ ญาติสนิท มิตรสหาย และผู้รู้บน Internet สำคัญอย่างยิ่ง รวมไปถึงการหาโอกาสเข้าร้านหนังสือหาหนังสือที่เกี่ยวข้องมาอ่าน แต่ทั้งนี้ทุกอย่างอยู่บนเงื่อนไขของการทันเวลา แต่ส่วนใหญ่แล้ว Key word จะค่อย ๆ เผยตัวออกมา เช่น เริ่มแลกเราจะค้นคำว่า "ตั้งครรภ์" "ขาอ่อนแรง" "อัมพฤกษ์ อัมพาต" คือตามอาการที่เห็น ต่อมาด้วยความไม่รู้ เมื่อคุณหมอวินิจฉัย เราจะได้ศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา เช่น "STROKE" "โรคหลอดเลือดสมอง" "CT Scan" ต่อมาเราจะเริ่มรู้ว่า จะต้องทำการสแกนสมอง และด้วยฐานความรู้เดิม หรือคำอธิบายจากคุณหมอว่า CT Scan อาจมีผลต่อ ลูกในครรภ์ ตอนนี้ความยากและความละเอียดอ่อนของการตัดสินใจจะเข้ามาเพราะสายสัมพันธ์และความคาดหวังต่าง ๆ นานา ว่า เราจะทำ CT Scan เลยหรือจะรอดูอาการก่อน เราต้องการข้อมูล Case ที่คล้าย ๆ กัน และระหว่างนั้นด้วยการ Search ข้อมูลบนเน็ต ถามผู้รู้ อ่านหนังสือ และดูจากอาการของผู้ป่วย เริ่มมั่นใจว่า น่าจะเป็นเส้นเลือดอุดตัน และได้ข้อมูลใหม่ว่า MRI ปลอดภัยกว่า CT Scan เพราะโดยหลักการทำงานแล้วไม่ใช้รังสีใด ๆ เราจึงตัดสินใจ MRI เป็นต้น
คำสำคัญ (Tags)#stroke#โรคหลอดเลือดสมอง#อัมพาต
หมายเลขบันทึก: 168743, เขียน: 02 Mar 2008 @ 23:37 (), แก้ไข: 17 Jan 2014 @ 13:22 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ดอกไม้: 1, ความเห็น: 37, อ่าน: คลิก
อัมพาตครึ่งซีก ( Hemiplagia ) / โรคหลอดเลือดสมอง
( Stroke / Cerebrovascular accident. CVA )
สาเหตุ อาจแบ่งเป็น 3 ประการใหญ่ๆ คือ
1. หลอดเลือดสมองตีบตัน ( Thrombotic stroke ) จากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ
2. ภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดสมอง (Embolic stroke )
3. หลอดเลือดสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง (Hemorrhage stroke)
ที่มา : Luckmann's Core Principle and Practice of Medical-Surgical
Nursing.1996.p 312
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการตีบ อุดตัน หรือมีการแตกของหลอดเลือดแดงทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด
ไปยังสมอง ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นถูกทำลาย เรียก Infarct (ขาดเลือดไปเลี้ยง)
Diagram คลิก !
อาการ
มีอาการแขนขาซีกหนึ่งอ่อนแรงลงทันที พบ อาการอัมพาต คลิก! ขณะตื่นนอน ชา
ตามแขนขา ตามัว เห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้ พูดอ้อแอ้ ปากเบี้ยว กลืนไม่ได้
การวินิจฉัย
1. การซักประวัติ/ตรวจร่างกาย นอกจากพบอาการอัมพาต คลิก ของแขนขาซีกหนึ่งแล้ว
อาจมี อาการปากเบี้ยว พูดไม่ได้ ซึม ความดันโลหิตสูง รีเฟล็กซ์ของข้อ ( Tendon
reflex ) ไวกว่าปกติ
2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hb , Hct , Electrolyte , Cholesterol , Coagulation ,
bleeding time , Urinalysis
3. การตรวจพิเศษ CT-scan , MRI ,Angiography , ECG , Lumbar puncture
การรักษา
1.การรักษาด้วยยา คลิก !
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด
ที่มา : Luckmann's Core Principle and Practice of Medical-Surgical
Nursing.1996.p 329