คนเล่าเรื่อง-ภาคผนวก-(ก)2 พฤษภาคม 51


ทีมวิจัยของเรา ส่วนหนึ่งคือ “ผู้ใกล้ชิดเจ้าของปัญหา” คนหนึ่งคือ ลูกสาวที่บอกเล่าความทรงจำในการพยายามต่อสู้กับความเจ็บป่วยของพ่อในทุกวิถีทาง อีกคนคือ “แม่บุญธรรม” ที่กังวลใจต่ออนาคตของลูกชายตัวน้อยที่ยังไร้สัญชาติและร่างกายไม่แข็งแรงนัก อีกส่วนคือ “นักสิทธิมนุษยชนที่ทำงานเพื่อคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ” ที่มีทั้งนักพัฒนาที่เป็นอดีตคนไร้สัญชาติ จนกระทั่งผันตัวแทนมาช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบชะตากรรมร่วมกัน ไปจนถึงนักพัฒนาเอกชน และนักวิชาการที่ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์จากการสัมผัสแง่มุมชีวิต และองค์ความรู้ที่ก่อเกิดระหว่างการทำงาน

-ภาคผนวก-(ก)

คนเล่าเรื่อง

ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว   

          อยู่ในสายงานพัฒนามาตั้งแต่เรียนจบ เรียนด้านคณิตศาสตร์ แต่สนใจงานด้านการขีดเขียน และกลุ่มชาติพันธุ์ มีโอกาสในการทำงานด้านสื่อในช่วงระยะเวลาหนึ่งในหนังสือพิมพ์กระแสหลัก และสื่อทางเลือก www.prachatai.com

          กลับเข้าสู่การเป็น นักพัฒนาเอกชน อีกครั้ง ปัจจุบันคือ ผู้ประสานงานโครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ(Stateless Watch)  และอีกเวทีในการเรียนรู้ในบทบาทอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ ระหว่างการทำงานและเรียนรู้ประเด็นเรื่องคนไร้รัฐไร้สัญชาติ พร้อมกับทำงานขีดเขียนตามโอกาสชีวิตอำนวย

 

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

เกี่ยวพันกับงานด้านสถานะบุคคลตั้งแต่บทบาทเมื่อครั้งเป็นนักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ โดยเตรียมวิทยานิพนธ์เรื่อง สิทธิในการได้รับเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลของคนไร้รัฐในรัฐไทย

ปัจจุบัน เป็นนักกฎหมาย ที่ร่วมก่อตั้งโครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (Stateless Watch)  กับอีกบทบาทคืออนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวพันกับคนไร้รัฐไร้สัญชาติในหลายกรณี

 

บุญ พงษ์มา /ใสแดง แก้วธรรม

จากอดีตคนไร้สัญชาติแห่งแม่อายที่อยู่กับกองกระเทียมตากแห้ง สู่ หมอความตีนเปล่า ทั้งสองเป็นกำลังหลักแห่งคลีนิคกฎหมายแม่อาย  ที่ก่อตั้งขึ้นราว 1 ปีที่ผ่านมา ที่ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านแม่อายที่ถูกถอนชื่ออกจาก ท.ร.14 จำนวน 1,243 คน ไปจนถึงลูกของคนกลุ่มดังกล่าว รวมทั้งชาวบ้านคนอื่นๆที่ประสบปัญหาก็มาขอคำแนะนำและขอความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

วันนี้พี่บุญ และพี่ใสแดง ซึ่งไม่ได้เรียนจบกฎหมาย  ไม่ได้มีการศึกษาสูงในระบบการศึกษา แต่จากประสบการณ์ในชีวิต ความพยายามและความทุ่มเทที่ผ่านมาได้ทำให้พวกเขาเป็นที่พึ่งหนึ่งของชาวบ้านแม่อายได้อย่างน่าชื่นชม

 

มึดา นาวานาถ

          จากตัวแทนเด็กไร้สัญชาติแห่งอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน หลายคนมักจะเห็นเธอผ่านเวทีต่างๆในการถ่ายทอดความรู้สึกและบอกเล่าเรื่องราว ตลอดจนส่งเสียงบอกเล่าความต้องการของเด็กไร้สัญชาติให้ผู้ใหญ่ในสังคมได้รับรู้

          วันนี้ มึดา คือ นักศึกษาไร้สัญชาติ ชั้นปีที่ 2 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ พร้อมคำสัญญาให้กับผู้ใหญ่ใจดีของเธอว่า ต่อไปนี้ หนูจะไม่ร้องไห้อีกแล้ว หนูจะเข้มแข็ง จะตั้งใจเรียนและศึกษาให้สำเร็จคณะนิติศาสตร์ เพื่อนำความรู้ไปช่วยเหลือเด็กไร้สัญชาติที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมดค่ะ

 

วันดี สันติวุฒิเมธี

          จากนักเขียนสารคดีในเมืองหลวง ผู้หญิงตัวเล็กๆได้เดินทางขึ้นเหนือไปสร้างสรรค์วารสารเล่มน้อย ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างความเข้าใจในประเทศพม่า ในชื่อ สาละวินโพสต์ หรือ www.salaweennews.org  เพื่อเปิดพื้นที่สื่อทางเลือกสู่สังคม

          วันนี้เธอคือแม่บุญธรรมของ เด็กน้อยชาวพม่า ที่ถูกทอดทิ้งไว้ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระหว่างการเดินทางไปติดตามเรื่องราวของผู้คนจากฟากฝั่งพม่า

 

จุฑิมาศ สุกใส

          นักศึกษาปริญญาโท สาขาสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ทำงานขีดเขียนร่วมกับมูลนิธิสื่อสาธารณะ และ สำนักข่าวชาวบ้าน  www.thaipeoplepress.com  

เธอบอกว่าชื่นชอบงานวิจัยกว่างานใดๆ อีกบทบาทจึงเป็น นักวิจัยอิสระ โดยเป็นนักวิจัย โครงการวิจัยเพื่อเพื่อสำรวจสถานการณ์การดำเนินการของโรงพยาบาลเพื่อการเข้าถึงสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพทางเลือกสำหรับคนไร้รัฐ ภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐในประเทศไทย http://gotoknow.org/blog/health4stateless-a2/toc

 

พัฒนพันธ์ บูระพันธ์

นักศึกษาปริญญาโท ที่สนใจเรื่อง “แรงงานข้ามชาติ” จึงศึกษาเรียนรู้โดยเป็นอาสาสมัครโครงการ Laws Awareness and Legal Aid for Burrmese Migrant Workers ภายใต้องค์กรคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า(กรพ.)

 

พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ

          ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์ www.prachatai.com  กับบทบาทในการสื่อสารเรื่องราวของคนชายขอบต่อสังคม

 

 

ปราโมทย์   แสนสวาสดิ์

          นักพัฒนาเอกชนแห่งมูลนิธิกระจกเงา กับบทบาทการให้ความช่วยเหลือและเป็นสื่อกลางในการสื่อสารเรื่องราวของชาวเล เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสังคม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #รายงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 168549เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อย่าลืมเขียนถึงชลฤทัยด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท