R2R : วันประชุม... R2R สวรส. : 2. R2R บูรณาการร่วมกับ EC เริ่มต้นเล่าที่ "ศิริราช"


วันประชุม... R2R สวรส. : 2. R2R บูรณาการร่วมกับ EC เริ่มต้นเล่าที่ "ศิริราช"

28 กุมภาพันธ์ 2551

 

....

เมื่อที่ประชุมได้มีการพูดถึง EC หรือ Ethic Committee หรือคณะกรรมการจริยธรรมในการวิจัย

อาจารย์หมออัครินทร์ -------> ผู้อำนวยการโครงการ R2R ศิริราช ได้เล่าให้ฟังว่า...

 

ที่ศิริราชนั้นได้พยายามเชื่อมโยง EC กับ การทำ R2R ให้ไปได้ด้วยกัน เสมือนว่า EC นั้นต่างช่วย protect การทำวิจัย R2R ไปในตัว ซึ่ง EC และ R2R นั้นเป็นคณะกรรมการคนละทีมกัน แต่ทำงานประสานกัน

 

ที่ศิริราชใช้...พี่เลี้ยงค่อนข้างเยอะ

มีกระบวนการนำทีมวิจัยที่ success มาพูด มาเล่าสู่กันฟัง

และมีกิจกรรมไปเยี่ยมเยือน ที่อาจารย์หมออัครินทร์ท่าน...เรียกว่า "โครงการสายสัมพันธ์สานสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง" (ไม่แน่ใจว่าเรียกถูกหรือเปล่านะคะ เพราะแม้นั่งอยู่ใกล้ๆ ท่านแต่ก็ได้ยินไม่ค่อยถนัดค่ะ ^__^..

 

อาจารย์หมอวิจารณ์...เสริมว่า ------> EC ควรเป็นตัวช่วยในการทำ R2R ซึ่ง EC จะต้องเข้าใจ มีความรู้ความเข้าใจการทำ R2R อย่าไปยึดเรื่องกฏ ระเบียบ เพราะ "คนร่าง ก็คือพวกเราเอง ขอให้เอาประโยชน์ที่เกิดเป็นตัวตั้ง" ... "ควรเป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดความราบรื่น ในการทำทางด้านสติปัญญา"

 

และกระบวนการที่ศิริราชทำ อ.หมออัครินทร์เล่าว่าเป็นการ "combine R2R + EC"

 

อาจารย์หมอสมเกียรติเสริมว่า "คณะกรรมการวิจัย และคณะกรรมพิจารณาจริยธรรมในการวิจัย อาจเป็นคนละชุดกัน" และ "ข้อกำหนดของ EC แต่ละแห่ง กำหนดขึ้นมาเองได้ในการจะพิจารณา..."

 

อาจารย์หมอวิจารณ์ท่าน...ให้แนวคิดว่า "กรณีที่งานวิจัยที่เราไม่แน่ใจ EC ควรพิจารณาอนุมัติให้ทำวิจัยได้แต่ต้องมีเงื่อนไข"... "และนักวิจัยควรความเคารพในการตัดสินใจของ EC ในแต่ละที่ที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูล"

 

.............

ประเด็นหนึ่งที่ อ.หมอกิตตินันท์ ------> ให้ข้อคิดว่า... "ในการ train การทำวิจัยนั้น พอเสร็จการทำวิจัย...ก็จบ" ... น้อยมากที่จะเกิดความต่อเนื่อง ที่สำคัญควรสร้างให้เกิด node และการเสริมการให้กำลังใจ เพราะหากสร้างแรงเสริมจากภายนอกอย่างเดียวนั้นมักไม่สำเร็จ"

 

และอาจารย์หมอวิจารณ์ : สวรส. จะไม่เกิดผลลัพธ์อะไรมากนักหากว่าไม่มีแรงจาก "ภายใน" ต้องมีแชมป์เปี้ยนเป็นคนผลักดัน มีคน Hyper ไปขับเคลื่อน -----> complex system และท่านยังเน้นว่า "หากไม่เกิดแรงข้างในก็จะไม่ค่อยเกิดอะไรมากนัก"

...แล้วท่านก็ยกกรณีของโรงพยาบาลหล่มสัก ซึ่งในที่ประชุมมีพี่ลำภาส เป็นตัวแทน "โรงพยาบาลหล่มสักเป็นตัวอย่างของการทำประโยชน์ที่เกิดความคุ้มค่าอย่างมหาศาล เพราะเป็นการทำ R2R ทั้งอำเภอ ด้วยโจทย์ที่ว่า -----> ทำอย่างไร จำนวนคนที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลจึงจะน้อยลง เพราะนั่นเป็นการสะท้อนให้เห็นการไม่ป่วย" ... "ลักษณะของหล่มสัก เรียกได้ว่า D2R -----> Development to Research" ... "หากนำข้อมูลของหล่มสักมาเขียน paper วิจัยจะเป็นงาน R2R ที่ยิ่งใหญ่มาก"

 

...........................................

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 168289เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท