ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ

 

ระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างไร

โดย ครูแมว(ลานสกา)

 

             สิ่งจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ต่อการวางระบบการประกันคุณภาพภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาก็คือการวางระบบสารสนเทศในสถานศึกษาที่ชัดเจน  เป็นปัจจุบัน สามารถเทียบเคียง อดีต และเห็นแนวโน้มในอนาคตได้ชัดเจน  และทุกคนในโรงเรียนมีส่วนรับผิดชอบ  หากสถานศึกษา เริ่มต้นที่การจัดทำระบบสารสนเทศได้อย่างดียิ่งแล้ว กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ก็ถือว่าก้าวไปเกินครึ่งแล้ว จะพัฒนาขั้นตอนใดต่อไปก็ทำได้ง่ายขึ้น

         ในปัจจุบันข้อมูลสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และการนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพสำหรับการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการบริหารสถานศึกษา เนื่องเพราะข้อมูลที่ผ่านการประเมินผลและการตรวจสอบแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องนั้น ๆ

              ภารกิจของสถานศึกษาซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาตามหลักการกระจายอำนาจ ตามมาตรา 39  แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กฎหมายว่าด้วยการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกฏกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550 ได้แบ่งขอบข่ายงานของสถานศึกษา ออกเป็น4 ด้าน ซึ่งได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป

        ซึ่งในการบริหารจัดการของแต่ละฝ่ายงานย่อมต้องการการดำเนินการจัดระบบการบริหารและสารสนเทศให้เป็นระบบ เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ซึ่งการจัดระบบการบริหารและสารสนเทศนั้น ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมบริบททุกด้านเพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของของสถานศึกษา (http:/gotoknow.org/blog/bonnyman/137058)

               จากความสำคัญของข้อมูลและระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการในสถานศึกษานั้น อาจแบ่งออกเป็น 4 ระบบคือ 

1)ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

2)ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

3)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ 

4)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

  ซึ่งจะนำเสนอแต่ละระบบสารสนเทศ ดังนี้ 

1)ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา

1.1 ข้อมูลสภาพชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

1.2  ข้อมูลทรัพยากรและงบประมาณ

1.3  ข้อมูลบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร

1.4  ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน/ เกียรติยศชื่อเสียง หรือโครงการดีเด่นของสถานศึกษา

1.5  ข้อมูลแผนยุทธศาสตร์/ธรรมนูญโรงเรียน วิสัยทัศน์/เป้าประสงค์

1.6ข้อมูลประชากรในพื้นที่บริการ อาชีพ รายได้ ศาสนา ระดับการศึกษา และความต้องการ         ของชุมชน

1.7  ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง สังกัด เนื้อที่ ระดับการศึกษาที่เปิดสอน

1.8 ปริมาณนักเรียนโดยรวม และจำแนกตามระดับการศึกษา/ชั้นเรียน อัตราส่วนนักเรียนต่อครู  อัตราส่วนนักเรียนต่อห้องเรียน   สถิติการมาเรียน   การลาออกกลางคัน  การจบหลักสูตร อัตราการเรียนต่อ

2)ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน

        2.1  ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล

2.2 ข้อมูลสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่จำเป็นตามหลักสูตร

        2.3  ข้อมูลนักเรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

       2.4  ข้อมูลนักเรียนด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์

       2.5 ข้อมูลนักเรียนด้านทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง                

3)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ

                3.1 โครงสร้างของหลักสูตร

                 3.2 ข้อมูลครูที่สอนตรงตามวุฒิ/ความถนัด

                3.3  ข้อมูลครูที่ได้รับรางวัล หรือมีผลงานดีเด่น

                3.3  ข้อมูลครูที่มีสถิติการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

                3.4  ข้อมูลครูที่มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

                3.5  ข้อมูลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                3.6  ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น

          4.7  ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำ/จัดหาสื่อที่เหมาะสมกับผู้เรียน

4)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

                4.1  ข้อมูลการจัดองค์กรโครงสร้างการบริหารงานอย่างเป็นระบบ

                4.2  ข้อมูลการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา

                4.3   ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

                4.4  ข้อมูลผู้บริหารได้รับรางวัลหรือมีผลงานดีเด่น

                4.5  ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆในชุมชน หรือ นอกชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

                 

ตัวอย่างการจัดระบบสารสนเทศของสถานศึกษา

1   การกำหนดรหัส การกำหนดรหัสเพื่อเตรียมการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา จะต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นที่คณะผู้จัดทำระบบสารสนเทศทุกระดับ นับตั้งแต่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานระดับกระทรวงจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจ ตลอดจนปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน คือ การกำหนดรหัสเกี่ยวกับการจัดระบบสารสนเทศ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ดังนี้

ระดับข้อมูลที่เกี่ยวกับหน่วยงาน

0 แทน   กลุ่มประสบการณ์ก่อนประถมศึกษา

1แทน   ช่วงชั้นที่1  ประถมศึกษาปีที่ 1 -3

2แทน   ช่วงชั้นที่ 2  ประถมศึกษาปีที่ 4 - 6

 

 

 

 

(ตัวอย่าง)  รหัสหน่วยงาน                                   คำอธิบาย

                                                        สดมภ์ 1       01   หมายถึง  สำนักงาน

                                                       สดมภ์ 2       12 หมายถึง  เขตพื้นที่การศึกษา

                                                       สดมภ์3         015 หมายถึง  สถานศึกษา

             2.รหัสชั้นเรียน การกำหนดรหัสสาระการเรียนรู้ตามระดับช่วงชั้น

0 แทน   กลุ่มประสบการณ์ก่อนประถมศึกษา

1แทน   ช่วงชั้นที่1  ประถมศึกษาปีที่ 1 -3

2แทน   ช่วงชั้นที่ 2  ประถมศึกษาปีที่ 4 - 6

     

 

         3  รหัสกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อการจัดเก็บและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้สัมพันธ์กับระดับช่วงชั้นเรียน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

รหัส

1ระดับช่วงชั้นที่ 1

      1.1    ภาษาไทย

      1.2    คณิตศาสตร์

      1.3    วิทยาศาสตร์

      1.4    สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

      1.5    สุขศึกษาและพลศึกษา

      1.6    ศิลป

      1.7    การงานอาชีพและเทคโนโลยี

      1.8    ภาษาต่างประเทศ

100

101

102

103

104

105

106

107

108

2.  ระดับช่วงชั้นที่ 2

      2.1    ภาษาไทย

      2.2    คณิตศาสตร์

      2.3    วิทยาศาสตร์

      2.4    สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

      2.5    สุขศึกษาและพลศึกษา

      2.6    ศิลป

      2.7    การงานอาชีพและเทคโนโลยี

      2.8    ภาษาต่างประเทศ

200

201

202

203

204

205

206

207

208

 

         3.   รหัสกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้

ประเภทกิจกรรม

รหัส

1.   กลุ่มสาระภาษาไทย

      1.1     กิจกรรม...........(ชื่อ)

      1.2     กิจกรรม...........(ชื่อ)

                            ฯลฯ

ท.100

ท.101

ท.102

ฯลฯ

 

          

        การกำหนดข้อมูลสารสนเทศมีความละเอียดและความคล่องตัวในการสืบค้นมากน้อยประการใด ขึ้นอยู่กับความรอบคอบในการออกแบบ ปัจจุบันข้อมูลสารสนเทศเพื่อการสืบค้นมักจะนิยมทำในสื่อสิ่งพิมพ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์

         นอกจากตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 แล้ว การจัดระบบสารสนเทศยังจะต้องออกแบบในเรื่องอื่นๆ   ซึ่งยังมีอีกมากมายหลายเรื่องและหลายระดับความละเอียดอ่อน เช่น การบริหารการจัดการแนะแนว การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เป็นต้น การพัฒนาข้อมูลสารสนเทศ เป็นงานที่ไม่รู้จบ จะต้องปฏิบัติเพิ่มเติมสาระให้ทันสมัยอยู่เสมอ และมีความต่อเนื่องจึงจะเกิดประสิทธิภาพ อีกทั้งความประณีต จูงใจ สะดวก รวดเร็ว ชัดเจน ยืดหยุ่น และทันต่อเหตุการณ์  ซึ่งรายงานสารสนเทศเหล่านี้ต้องการข้อมูลในส่วนทั้งเป็น อดีต  ข้อมูลปัจจุบัน  และข้อมูล(ที่คาดหวัง) ข้อมูลในอนาคต  ซึ่งต้องการนำไปใช้เพื่อการวางแผน  การกำหนดกลยุทธ์ กำหนดเป้าหมาย  เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยที่สุด

.....................

 

.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                            

 

 

 

 

 

 

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ระบบ
หมายเลขบันทึก: 168122เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท