ทิปดีดี สำหรับการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งทางวิชาการ


          เมื่อวานนี้ 27 กพ. 51 ตั้งแต่เช้า ณ ห้อง SC 1-311 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  งานการเจ้าหน้าที่ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี นำโดยท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รศ.ดร.สุพักตร์  พ่วงบางโพธิ์  ได้จัดอบรมความรู้เชิงปฎิบัติการเกี่ยวกับการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ให้กับคณาจารย์ของ มน.  ดิฉันเข้าร่วมฟังด้วยค่ะ  เพราะชื่อเรื่องน่าสนใจมาก และที่สำคัญ อดีตท่านอธิการบดี มน. ศ.ดร.สุจินต์  จินายน  แฟนในดวงใจของดิฉันเป็นวิทยากรเอก เสียด้วย  ทำให้ดิฉันพลาดไม่ได้...

          ไม่ต้องห่วงค่ะ  ท่านที่ติดธุระ ภารกิจสำคัญ  ดิฉันเก็บเรื่องดีดีมาฝากด้วย...แหม  ก็จดเสียแทบจะทุกคำทีเดียว...เพราะเป็นเรื่องที่เราๆท่านๆ (คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย)ควรใส่ใจทั้งน้าน...

          ผู้ที่เข้าร่วมการอบรม จะได้รับแจกเอกสาร ประกาศ กพอ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐  ซึงนับว่า update สุดๆ แล้วนะคะ  ต้องไปหามาเป็นคัมภีร์ประจำกายไว้  หากท่านยังไต่ไม่ถึงบันไดขั้นสุดท้ายของวิชาชีพอาจารย์ (ศาสตราจารย์งัย !!)

          แถมด้วย ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการสอนและเอกสารที่ใช้ประเมินการสอน  เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ท้ายเล่มอีกด้วย  นับว่าครบสมบูรณ์ทีเดียว  ต้องขอขอบคุณท่านรองสุพักตร์แทนคณาจารย์ทุกท่าน ที่ใส่ใจ ไวต่อเหตุการณ์เสมอ

          เอาละค่ะ  Note ย่อๆ แต่ไม่สั้น ที่ดิฉันจดมาจาก Lecture ท่าน อ.สุจินต์  พอสรุปเป็นข้อๆ อาจไม่ปะติดปะต่อ ได้ ดังนี้

1 ultimate goal  ของอาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัย คือ ต้องจบ ป.เอก ต้องเป็นศาสตราจารย์
2 สำหรับผู้ที่ต้องการขอ ผศ. หรือ รศ. จะขอวิธีพิเศษ ก็ได้ อยากให้ขอกันมากๆ สนับสนุนเต็มที่ หากมั่นใจว่าท่านมีผลงานอยู่ในระดับดีมาก  ยกเว้น ศ. พิเศษ จะยากหน่อย 
3 อยากให้คณบดีเข้ามาฟังกันเยอะๆ  เพราะจะได้ทราบว่า การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในคณะต้องการะบบ management ที่ดี 
 4

คณะควรทำ profile ของคณาจารย์  ให้รู้ว่า

  • เขาเข้ามาเมื่อไหร่?   จบเมื่อไหร่?  เป้าหมายเข้าสู่ตำแน่งทางวิชาการ.  เมื่อไหร่    จะจบ  ...ป.เอก... เมื่อไหร่?
  • ต้องมี supportive manager อาจจะเป็นบุคลากรภายใน หรือภายนอก ก็ได้   เช่น ช่วยดู proposal  ขอทุนวิจัย  ช่วย review  ช่วยตรวจแก้
 5

 การบริหารงานบุคคลต้องชัดเจน  ตั้งแต่

  • มี criteria ในการ recruitment
  • ต้อง assignment ว่าให้มาสอนอะไร  ทำอะไร
  • ต้องให้ commitment ว่า ภารกิจหลักแต่ละประเภทให้ น้ำหนักอย่างไร เช่น  35   35  20  10
  • ต้อง conversion จากข้อ 3 ให้เป็นแนวปฏิบัติ เช่น เทียบเท่ากี่หน่วยกิต  กี่ชั่วโมง
  • ต้อง Assessment  ตาม assignment
  • ดู accomplishment ว่า fullfill ไหม  ถ้าทำได้ดีกว่า ก็ต้องมี reward system
 6 งานวิจัยต้องมียุทธศาสตร์  ต้องแบ่งเป็น area ให้ match กับนโยบายของชาติ  eg.  Food+ agrculture  มีคณะวิชาที่มา involve กี่คณะบ้าง  แต่ละคณะทำด้านใด  เพื่อจะได้ทำเป็นโครงการชุด 
 7 สำหรับ ผศ.  ผลงานทางวิชาการ  ต้องประกอบด้วย  ผลงานวิจัย /ผลงานลักษณะอื่น และ ตำรา / หนังสือ / บทความทางวิชาการ ที่ดี
 8 สำหรับ รศ. ผลงานทางวิชาการ  ต้องประกอบด้วย  ผลงานวิจัย /ผลงานลักษณะอื่น  และ ตำรา /หนังสือ ที่ดี
 9

สำหรับ ศ.  มี 2 วิธี

  • ผลงานทางวิชาการ  ต้องประกอบด้วย  ผลงานวิจัย /ผลงานลักษณะอื่น ที่ดีมาก และ ตำรา/หนังสือ ที่ดีมาก
  • ผลงานทางวิชาการ  ต้องประกอบด้วย 
    • ผลงานวิจัย ดีเด่น  หรือ
    • ผลงานลักษณะอื่น ดีเด่น หรือ
    • ตำรา/หนังสือ ที่ดีเด่น
 10 ตำรา  หมายถึงเนื้อหาต้องมีความลึก  สมบูรณ์ในเนื้อหาสาระ  มีความทันสมัย  มีงานของตัวเองแฝงอยู่ พยายามเขียนให้แคบ เจาะให้ลึก
11 หนังสือ เช่น คู่มือปฏิบัติ  เนื้อหากว้าง แต่มีบูรณาการในตัวเอง เช่นพวก pocket book
12

งานวิจัย  (proposal theme)  หลักสำคัญต้องตอบคำถาม 4 ข้อ

  • Why : อาจมี review ด้วย
  • What : ค้นอะไร  หาอะไร  (objective)
  • How : methodology ที่จะตอบ what
  • Outcome : ที่ตอบ what  สังเคราะห์ออกมาให้ได้ knowledge / pattern / hypothesis    อาจเพิ่ม  what next , recommmendation
  • อย่าให้เป็นเพียง observation ,  ปะยุกต์ใช้ไม่ได้
13 งานวิจัยต้องมีการ publication อาจารย์แนะว่าอยากให้รวมวารสารเป็น cluster  ใหญ่ๆ 
14

อยากให้มหาวิทยาลัยมีสำนักพิมพ์  ไม่ใช่โรงพิมพ์ เพราะโรงพิมพ์ลงทุนสูงและเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว ควรทำเป็นแบบ outsource  เพื่อให้ผลงานของอาจารย์ที่ผ่านสำนักพิมพ์  มีชื่อของมหาวิทยาลัย มี logo ของมหาวิทยาลัย  และมีระบบ peer  review  เพื่อช่วยดูเรื่องคุณภาพ  เมื่อมีปรากฎ isbn ชื่อ  peer (ที่ outstanding) เมื่ออาจารย์ส่งหนังสือ หรือตำราดังกล่าวไปขอกำหนดตำแหน่ง  reviewer ก็แทบไม่ต้องตรวจ  เพราะเท่ากับได้ตรวจมาแล้ว  แต่ต้องตั้งเป็นกองทุน  เพื่อให้มีค่าตอบแทนสำหรับ peer 

15

ต้องมีการ review journals ภายในมหาวิทยาลัยให้ได้ standard  และให้ สกอ.รับรอง  เพื่อให้อาจารย์ได้ตีพิมพ์ในวารสารที่มี IP

16 proceeding  ที่จริงก็ส่งได้  แต่ควรเป็นแบบที่มี peer ตั้งแต่แรก  (ไม่ใช่แบบโกย paper ) ถ้าไม่มีคุณภาพ จะทำให้เสียประโยชน์ เพราะจะเอาไปตีพิมพ์ซ้ำที่อื่นไม่ได้  เสียเวลาด้วย
17 อาจารย์แนะว่า  ผลงานทางสังคมศาสตร์  ควรใช้เป็นหนังสือ จะง่ายกว่าตำรา
18 ด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ส่วนมากจะเกี่ยวกับ เรื่องการ sharing ผลงาน  ควรตกลงกันแต่แรกที่จะทำงานวิจัย  ให้คนทำงานวิจยหลักเป็นชื่อแรก  ให้ corresponding author เป็นชื่อท้ายสุด
19 ที่ควรแล้ว  ควรใส่รายละเอียดว่า แต่ละคนที่ร่วมทำผลงานมีส่วนในการ contribute อะไร  ที่กระทำกันอยู่โดยมากใส่แต่ % ที่แต่ละคนทำ 
20  จริงๆ แล้ว ควรมีระบบ record ผลการประเมินไว้ด้วย เช่น ผลงานวิจัยที่ทำ 4 คน  คนที่ 2 นำไปขอกำหนดตำแหน่งก่อน  แล้วได้ผลประเมินดีมาก  เมื่อคนที่ 1  3  4  นำไปขอคราวต่อๆ ไป  reviewer ก็จะได้ไม่ต้องประเมินกันอีก  ต้องให้ผลประเมินดีมากเช่นกัน  เป็นต้น
21 อาจารย์ท่านใดที่จบ ป.เอกแล้ว ต้องกระตุ้นให้ ขอ ผศ.ภายใน 2 - 3 ปี
22 ข้อสำคัญอยู่ที่คุณภาพของผลงาน  ถ้าขอ ผศ. ที่จริง ผลงานวิจัยที่ทำเองไม่น้อยกว่า 50% สัก 1 เรื่อง ที่มีคุณภาพดีก็พอ ไม่ต้องเอาผลงานเล็กๆ น้อยๆ ที่สะเปะสะปะมาใส่ให้มากนัก
23 การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ  เป็นการบ่งบอกให้สังคมรู้ว่าเราเชี่ยวชาญอะไร  พยายามทำผลงานอย่างมี consistency  อย่ากะโดดไปทำเรื่องที่แตกต่างกันมากนัก  ทำให้จัดกลุ่มงานวิจัยก็ยาก  และต่อไปจะได้รวมเขียนเป็นตำราได้
24 การสอนหลายแบบ team teaching  คนเดียวสอนหลายวิชา  แต่วิชาละ 1 - 2  topic  ไม่มีปัญหา  สามารถเอามารวมกันได้ ให้ได้ไม่น้อยกว่า 3  เครดิต (45 ชั่วโมง lecture)
 25 ใช้ power point ก็ได้  แต่ไม่ใช่มีไม่กี่หน้า  ต้องมีให่ครบสมบูรณ์ 
26 การประเมินการสอนล่วงหน้าก็ทำได้ เผื่ออนาคตที่ไม่แน่นอน (ได้เป็นคณบดี ไม่มีชั่วดมงสอนเสียแล้ว ในปีที่ขอ)
27 บางคนถามว่า ก็ต้องสอนอยู่แต่วิชาเดียวตลอด  ชื่อวิชาที่ทำเป็นเอกสารคำสอน / ตำรา ใช้ชื่อเดิมได้หรือไม่ ?  คือ จากเดิมที่ใช้ขอ ผศ.  จะนำมาใช้ขอ รศ. อีกได้ไหม??   ตอบว่าได้  แต่ต้องมีการพัฒนาไปจากเดิม  ต้องปรับปรุงให้ชัดเจน  เพราะฉะนั้น  ตอนขอ ผศ. ก็ไม่ต้องทำตำราสมบูรณ์นัก  เพราะจะปรับปรุงได้ยาก  เก็บไว้ตอนขอ รศ.บ้างก็ได้
28 พอได้ รศ 2 ปีแล้ว  ก็ขอ ศ. ได้    แต่ไม่แนะนำให้ขอแบบพิเศษ  เพราะการ define ว่า ดีเด่น  เป็นเรื่องยาก
29  ถ้าเราแน่ใจว่า reviewer อ่านไม่ดี  เราสามารถอุธรณ์ได้  ส่วนใหญ่ 100% จะรับการอุธรณ์  แต่ที่สำคัญ ต้องอุธรณ์ในเนื้อหาสาระทางวิชาการเท่านั้น  (ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว)  ปกติก็จะให้กรรมการชุดเดิมกลับไปอ่านอีกที  ถ้ายังไม่ ok  เราก็สามรถอุธรณ์ครั้งที่ 2 ได้  อาจมีการตั้งกรรมการอ่านผลงานใหม่
30 เอกสารแนบท้ายการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ  ถ้าส่งไปแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้  เพราะฉะนั้นต้องตกลงกันให้ดีเสียก่อน
31 กรณีวิทยานิพนธ์นิสิต contributor =50% ชื่อแรก  อาจารย์ที่ปรึกษา corresponding autor =50%
32 การประเมินผลการสอน เป็นเรื่องที่ดำเนินการโดยคณะ  ขอให้คณะ fair    อาจให้อาจารย์ในกลุ่มสาขาเดียวกันประเมิน  หรืออาจให้นิสิตประเมิน ด้วยก็ได้
33

เอกสารประกอบการสอน  ก็คือ course syllabus ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่ต้องบอกนิสิตล่วงหน้าดังนี้

  • why : ทำไมต้องเรียนวิชานี้
  • what :  มีเรื่องอะไรที่ต้องเรียนบ้าง
  • how to learn : บรรยาย  ปฏิบัติ  กลุ่มย่อย tutorial  trip ฯลฯ
  • assessment : formative  or/ and  summative ควีรบกเด็ก  เป็นแบบอัตนัย หรือเป็นแบบปรนัย  เป็นต้น
34

ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น คืออะร?  ส่วนใหญ่หมายถึง

  • สิ่งประดิษฐ์
  • การจดอนุสิทธิบัตร  สิทธิบัตร
  • นวัตกรรม

บอกด้วยว่าเผยแพร่ไปยังที่ไหนบ้าง? อย่างไร?

35 การกำหนดสาขาวิชาที่จะขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ  ควรระบุให้ชัดเจน  (กพอ. กำลังจะกำหนดสาขา  และอนุสาขาอยู๋ ขอดูเอกสารจาก สกอ.)  ต้องวางแผนแต่แรกว่าจะเชี่ยวชาญอะไร  เพราะเวลาขอ ผศ.  รศ.  ศ.  จะได้สัมพันธ์กัน  ไม่อย่างนั้นจะต้องกลายเป็นขอวิธีพิเศษ

 

 

 

 

         

         

 

หมายเลขบันทึก: 168068เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

ขอขอบคุณ อาจารย์มาก ๆ  ครับ ที่แจ้งข่าวสารดี ๆ อย่างนี้

ติดตามอ่าน blog ของอาจารย์ตลอด ทำให้ไม่ตกข่าวครับ

 

 

 

หุ..หุ  ขอบคุ้ณ... ขอบคุณ เช่นกัน ค่ะ อาจารย์วศิน ที่ติดตาม

P  แล้วจะสรรหาสิ่งดีดีมาฝากอีกนะคะ  : )

ดร.อรรถไกร พันธุ์ภักดี

ติดตามด้วยคนครับ  (หัวหน้าภาคบริหาร คณะบริหารธุรกิจ ม.นเรศวร)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท