สุขภาพคนยุโรปกับคนอเมริกัน(อเมริกา) แบบไหนเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตันน้อยกว่า


 

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนอเมริกันเป็นประเทศอภิมหาอำนาจในโลก ส่งนักบินอวกาศไปเดินเล่นบนดวงจันทร์ได้ก่อนชาติอื่นๆ

วันนี้มีข่าวว่า ในท่ามกลางความเข้มแข็งนั้น... กลับปรากฏความอ่อนแอแฝงเร้นอยู่ ราวกับเรื่องหยินและหยางในปรัชญาเต๋าทีเดียว

...

ท่านอาจารย์มอริชิโอ อะเวนดาโน และคณะ แห่งศูนย์การแพทย์อีราสมุส รอทเทอร์แดม เนเธอร์แลนด์ทำการศึกษาข้อมูลจากคนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวอเมริกา(อเมริกัน)มากกว่า 13,000 คน ชาวยุโรปมากกว่า 30,000 คน

...

ผลการศึกษาพบว่า คนยุโรปมีสุขภาพเฉลี่ยดีกว่าคนอเมริกันในหลายๆ ด้าน เนื่องจากการเข้าถึงบริการสุขภาพดีกว่า อนามัยหรือการใช้ชีวิตดีกว่า เช่น อ้วนน้อยกว่า ฯลฯ และมีอาหารดีกว่า เช่น กินผักผลไม้มากกว่า ฯลฯ

คนอเมริกันเป็นโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคอ้วนมากกว่าคนยุโรป โดยเฉพาะคนยุโรปตอนกลาง เช่น เยอรมนี ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ มีสัดส่วนคนอ้วนน้อยกว่าคนอเมริกัน

...

คนอเมริกันที่ยากจนมีแนวโน้มจะหาผักผลไม้มากินได้ยากกว่าคนที่มีฐานะดี นอกจากนั้นสังคมยังส่งผลทำให้สุขภาพต่างกันด้วย เช่น คนสเปนจะรวยหรือจนก็ยังหาซื้อผักมากินได้ ต่างกันคนอเมริกันยากจนที่ไม่ค่อยมีโอกาสกินผัก ฯลฯ (หมายถึงผักแพง)

อาจารย์อะเวนดาโนกล่าวว่า คุณหมออเมริกันก็มีมุมมองที่ต่างจากคุณหมอยุโรป

...

คุณหมออเมริกาชอบใช้ยาเป็นเครื่องแก้ปัญหา ('medicalise')... เอะอะอะไรก็สั่งยาไว้ก่อน

ส่วนคุณหมอยุโรปจะใช้ยาน้อยกว่า ทว่า... ให้ข้อมูลข่าวสาร ให้การศึกษา ให้คำแนะนำคนไข้มากกว่า เพื่อให้คนไข้เปลี่ยนวิถีชีวิต (ไลฟ์สไตล์ / lifestyle) เช่น ให้ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ กินผักผลไม้มากหน่อย เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง เปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังผสมรำ (โฮลวีท) ระวังอย่าให้อ้วนมากเกิน ฯลฯ ทำให้สุขภาพคนยุโรปมีแนวโน้มจะดีกว่าไปด้วย

...

เมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงในการเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตกันแล้ว คนอเมริกันมีความเสี่ยงสูงกว่าคนยุโรปดังต่อไปนี้

คนอเมริกันเพศ (เมื่อเทียบกับคนยุโรป) ร้อยละ (%)
ชาย 61%
หญิง 200%

...

เรื่องนี้สอนเราให้รู้ว่า ยาไม่ได้เป็นเครื่องแก้ปัญหาสุขภาพได้เสมอไป... การใส่ใจสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคมีส่วนสำคัญมากกว่าที่คิดทีเดียว

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                 

  • Thank Reuters > Julie Steenhuysen. Eric Walsh ed. > Stroke risk higher in U.S. than Europe: study > [ Click ] > Feb.22, 2008. / Am. Stroke Asso. International Stroke Conf.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 25 กุมภาพันธ์ 2551.
หมายเลขบันทึก: 167524เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท