บทคัดย่อ


บทคัดย่อการใช้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ

 บทคัดย่อ

 ชื่อเรื่อง    รายงานผลการนิเทศเพื่อพัฒนาการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ 
                พอเพียงในโรงเรียนแกนนำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1

ผู้ศึกษา    นางทับทิม   ปานคะเชนทร์   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ

                   การดำเนินงานการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการนิเทศเพื่อพัฒนาการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1  มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อพัฒนาผู้บริหาร  ครูผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนแกนนำมีความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์           เขต 1   3)  เพื่อศึกษาปัญหาความต้องการ การดำเนินงานการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต1 และ  4) เพื่อศึกษาวิธีการและขั้นตอนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์  เขต 1 และเผยแพร่ไปยังสถานศึกษาอื่น

                 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้มาโดยสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนแกนนำที่สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 จำนวน 143  คน  สื่อและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คู่มือแนวการพัฒนาการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ คู่มือการนิเทศติดตามผลเพื่อพัฒนาการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประชุมเชิงปฏิบัติการ  แบบนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน และแบบสัมภาษณ์วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงานการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ  กระบวนการนิเทศแบบพาทำ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Windows Version 11.0  แล้วนำเสนอแบบตารางแสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าร้อยละและบรรยาย

 ผลการศึกษาพบว่า

                  1.  ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียน           แกนนำการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1           มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการพัฒนาการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

                  2.  ผลการนิเทศติดตามการดำเนินงานการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต1  โดยภาพรวมพบว่ามีการปฏิบัติ          อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า  ด้านการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษามีการปฏิบัติสูงสุด ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมีการปฏิบัติต่ำสุด          

                  3.  ผลการนิเทศติดตามปัญหาการดำเนินงานการพัฒนาการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 โดยภาพรวม พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาปัญหาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษามีปัญหาสูงสุด   ด้านการจัดระบบบริหารจัดการของสถานศึกษามีปัญหาต่ำสุด
                  4. วิธีการและขั้นตอนการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนแกนนำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 โดยภาพรวมพบว่าโรงเรียนแกนนำทั้ง 13 โรงเรียนได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในงานโรงเรียนทั้ง 5 ด้าน คือ การจัดระบบบริหารจัดการสถานศึกษา  การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม กิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน และการนิเทศติดตามและประเมินผล          การจัดการศึกษา  โรงเรียนมีวิธีการและขั้นตอนดำเนินงานดังนี้
                       4.1  ขั้นเตรียมการ  1) การประชุมชี้แจงนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 แนวการนำหลักปรัชญามาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน   2) แต่งตั้งมอบหมายบุคลากรรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  3)  นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบรรจุไว้ในวิสัยทัศน์ของโรงเรียน 4) จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีและแผนกลยุทธ์และมีโครงการเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้  5) สนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการประชุมสัมมนาเพื่อพัฒนางานเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในงานที่โรงเรียนมอบหมายและพัฒนางานของตนเอง                          
                      4.2 ขั้นดำเนินการ  1) ผู้บริหาร  ครู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนร่วมกันบริหารจัดการและร่วมบริหารงบประมาณ  2) ศึกษาเอกสาร และวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง  3) นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้และบูรณาการเข้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการได้  เช่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีและกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม  4) จัดทำแผนจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  5) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เช่น การเข้าค่ายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  การเลี้ยงปลา  การประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ การจักสานด้วยไม้ไผ่  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการทำปุ๋ยอินทรีย์  การทอผ้า  การปลูกพืชสมุนไพร ฯลฯ   6)การแสวงหาความรู้ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่นการจัดนิทรรศการจัดประกวดในรูปแบบต่าง ๆ การหาความรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี   7)การเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

                        4.3  ผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค   ผลการดำเนินงาน 1) มีการวัดผลและประเมินผลโดยประเมินผลจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนได้แก่ ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกันตนเอง เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม  2) มีการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ปัญหาอุปสรรค 1)งบประมาณในการดำเนินการมีจำนวนจำกัด    2) บุคลากรที่ปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอ  3)บริเวณโรงเรียนมีพื้นที่จำกัดสำหรับทำงานเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ  4) การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร  5) บุคลากรในสถานศึกษาบางแห่งยังไม่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปบูรณาการเข้าในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบ  6) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยังขาดทักษะกระบวนการคิดการวิเคราะห์และสังเคราะห์   7) ขาดแคลนน้ำในบางท้องถิ่นสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น การเลี้ยงปลา  การเพาะเห็ด การปลูกพืชสมุนไพร ฯลฯ

            โดยสรุป การดำเนินงานการพัฒนาการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแกนนำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1  ให้เกิดประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในการพัฒนานั้นจะต้องดำเนินการนิเทศอย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบและวิธีการ  พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนสู่กระบวนการเรียนการสอนอย่างจริงจัง จึงจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 167188เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2008 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอชื่นชมกับความมุ่งมั่นพยายามในการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
  • อยากทราบว่า หลักเศรษฐิกจพอเพียง พอนำเข้ามาปรับใช้ในการจัดการศึกษาในระดับโรงเรียนเป็นอย่างไร
  • นิยามความหมายคืออะไร ขอคำชี้แนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท