จดหมายข่าว โครงการจัดระดับความเหมาะสมสื่อ PROJRCT ME E-NEWS (5)


 

Game Friendly Visit   NO  5:  สถานการณ์ด้านเกมคอมพิวเตอร์ของไทยจากประธานสภาอุตสาหกรรมซอฟแวร์เกม

วันนี้วันดี วันตรุษจีน ที่พุธที่ 12 ก.พ. น้องอี๋ ได้แนะนำให้เพื่อน ชาว ME ทุกท่านรู้จักกับคุณเพิ่มบุญ เอี่ยมสุภาษิต ประธานสภาอุตสาหกรรมซอฟแวร์เกมแห่งประเทศไทย (TGA) ที่อาคาร เล้า เปียง หงวน ชั้น 16 ถ. วิภาวดี เพื่อเข้าพบและรับฟังสถานการณ์ของซอฟแวร์เกมในบ้านเรา และ แนวความคิดของการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์อีกด้วย

เริ่มต้นคุณเพิ่มบุญ ขอทบทวนความเข้าใจว่า เคยทราบว่ามีการทำเรื่อง Rating game เป็น พรบ.แล้วเหรอหรือยัง?

 เพราะเคยเข้าไปมีส่วนร่วม ตอนนี้จัดโดยธรรมศาสตร์   อ.อิทธิพล

 

สิ่งคุณเพิ่มบุญตั้งคำถามสำหรับการวิจัยคือ... เกมในอุตสาหกรรมนั้นคืออะไร?  - ช่วงอายุจัดแบบไหน? ควรใช้อะไรเป็นหลักการและเกณฑ์

- Rating จะ สัมฤทธิ์ผลอย่างไร?  สิ่งที่ต้องสำเร็จคือ ?

- กรรมการและคณะกรรมการทำงานอย่างไร?

-  Rating มี ผลกับอุตสาหกรรมเกมอย่างไร?  CERO

- นิยาม  เกม คือ   Software เกม ซึ่งครอบคลุมว่ามากกว่าแค่เพียงเกมคอมพิวเตอร์เท่านั้น

แบ่งออกเป็น

1)       PC Game               

2)       Online Game

3)       Console Game

4)       Arcade Game

5)       Mobile Game

6)       Handheld Game

- ทัศนคติเกี่ยวกับ เกมในประเทศไทยยังคงมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องของเด็ก ดังนั้นทำให้เกม ใน บทบาท  Entertainment for adult เลยไม่ได้เปิดช่องทำเท่าควร ส่งผลต่อการขาดการสนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจัง

 

สถานการณ์เกมในบ้านเรา

-          เรื่องความสร้างสรรค์ ต้นน้ำ แห่งการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นของคนไทยเองในอุตสาหกรรมเกมนี้ยังมีมูลค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเกมที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น มูลค่ารวมเกม...5700 แต่ว่า..มีเกมไทยแค่ 450 ล้านบาท ข้อมูลรายละเอียดให้ไปตามดูที่ Voice paper ของ Sipa 

-          trend game : ที่น่าสนใจ คือ คนไทยชอบพนัน  เกมมีแนวโน้มที่จะมีเรืองการพนันเข้าเกี่ยวข้องได้มากขึ้น  เหมที่มีเนื้อหา เรื่องคุณธรรม ความดี สาระความรู้  อาจจะต้องมีผู้สนับสนุนมิเช่นนั้นไม่สามารถอยู่รอดได้จริง  โดยในปัจจุบันผู้พัฒนาเกมในไทยก็ได้ดิ้นรนหาแหล่งทุน  การทำการตลาดและจัดจำหน่ายด้วยตัวเอง

-          คนไทยนิยมในเกมต่างประเทศ ด้วยค่านิยมที่ว่าของต่างชาติคุณภาพดีกว่า  ทั้งที่ในปัจจุบัน เนื้อหา เทคโนโลยี และ ความสร้างสรรค์ของคนไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าต่างชาติเลย  ดังนั้น เจ้าของบริษัทนำเข้าเกมจึงนิยมที่จะเลือกเกมที่ได้รับความนิยมอยู่แล้วมาเพื่อง่ายต่อการทำการตลาด

-          คนเล่นเกม คนไทยเป็นกลุ่มคนเล่นเกมที่มีความเบื่อง่าย ดังนั้นเกมที่เข้ามาในเมืองไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อดึงดูดใจคนเล่นเกมทั้งหน้าเก่า  และ หน้าใหม่อีกด้วย

-       ปัญหาที่ตามมาก็คือ  เมื่อไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์เนื้อหาเอง และไม่ได้เป็นผู้เขีบนโปรแกรมเกมเองในประเทศก็อยู่ในบษนะจำต้องยอมรับเรตติ้งที่มาจากหน้ากล่องของเขา  และไม่สามารถจัดการปรับปรุงโปรแกรมเพื่อป้องกันความปลอดภัยในระดับบุคคลของผู้เล่นเกมในไทยได้ คือคุมของคนอื่นคงเป็นไปได้ยาก  แต่พัฒนาของไทยขึ้นมาเองเลยก็ลำบากมากเช่นกัน  แต่น่าจะเป็นทางออกที่ดีกับประเทศชาติมากกว่า

-          นอกจากนั้นสถานการณ์ด้านปัญหาเกี่ยวเด็กกับเกมคอมพิวเตอร์  เด็กติดเกมตามร้านเกม โดยนำเสนอ วิธีจัดการด้วยเทคโนโลยี  การแสกนนิ้ว finger print / การติดตั้งกล้องวงจรปิด

-          การส่งเสริมอุตสาหกรรมเกม อย่างจริงจังและ เป็นระบบมากขึ้น  การลงทุนจากภาครัฐด้วยความเข้าใจเรื่องของอุตสาหกรรมซอฟแวร์เกมทั้งระบบ  เสนอว่า อาจจะมีการจัดตั้งองค์กรทุนเพื่อสนับสนุนโครงการของภาคเอกชน สนับสนุนในการเปิดเวทีสู่ตลาดโลก เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 167007เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอารูปการเยี่ยมมาดูกันด้วยก็ดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท