รายงานการวิจัยการจัดการศึกษาเปรียบเทียบ 6 ประเทศ การศึกษาไทยไร้น้ำยา


สกศ.เผยวิจัยการจัดการศึกษาของ 6 ประเทศ เปรียบเทียบกับประเทศไทย พบไทยยังจัดการศึกษาแบบไร้จุดหมาย เรียนแค่ให้จบ ผู้นำประเทศไม่สนใจการศึกษาเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดนโยบายการศึกษาที่ไร้น้ำยา

ผมไม่ได้แปลกใจกับผลการวิจัยของ ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ที่เสนอได้ตรงประเด็นที่สุดแล้ว
โดยให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับวงการศึกษาและผู้บริหารทั้งหลายใน 5 ประเด็นคือ

 1.หาคนเก่งมาสู่วิชาชีพครู
2.จัดสรรงบไปยังโรงเรียนต่างจังหวัดมากกว่าโรงเรียนในเมืองและ กทม.
3.ต้องปรับวิธีคิดในการสร้างบุคลากร
4.ต้องปลูกฝังให้คนรับผิดชอบสูงขึ้น
5.สอนให้คนรู้สึกรับผิดชอบอย่างจริงจัง และอดทน

ผมขอเพิ่มอีกซักประเด็นที่สำคัญที่สุดตอนนี้  และควรเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับ
แนวคิด 5 ประการข้างบน  ก็คือ การจัดสรรอัตราครู ให้เพียงพอ
เพราะทุกอย่างที่กล่าวมา 5 ประเด็นเป็นไปไม่ได้เลย  เพราะครูขาดแคลนอย่างหนัก
ไม่ใช่เพราะหาคนเป็นครูไม่ได้   แต่เป็นเพราะไม่มีอัตราบรรจุ
ครูก็เลยกลายเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง ไม่มีเกียรติ เพราะเป็นลูกจ้างชั่วคราว

ผมขอแค่นี้เพราะถ้าไม่มีครู    เรื่องอื่น ๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง

ลองอ่านรายละเอียดผลการวิจัยการหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

แฉ!ต้นตอนโยบายกศ.ไร้น้ำยา เหตุไทยจัดกศ.แบบไร้จุดหมาย-เรียนแค่จบ
 
คมชัดลึก   วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551  

สกศ.เผยวิจัยการจัดการศึกษาของ 6 ประเทศ เปรียบเทียบกับประเทศไทย พบไทยยังจัดการศึกษาแบบไร้จุดหมาย เรียนแค่ให้จบ ผู้นำประเทศไม่สนใจการศึกษาเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดนโยบายการศึกษาที่ไร้น้ำยา

ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เสนอรายงานการวิจัย เรื่องแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยสู่สากล : จากการเปรียบเทียบ 6 ประเทศ คือ จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลี ฟินแลนด์ และเยอรมนี ที่โรงแรมปริ๊นพาเลซ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า พบว่า 6 ประเทศตั้งเป้าหมายจัดการศึกษาชัดเจน ส่วนใหญ่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์  แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองดี ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมสูง มีความรับผิดชอบ แต่การจัดการศึกษาของไทยยังแกว่งไม่รู้ว่าจะไปทิศทางใด และไม่มีการตั้งเป้าหมาย

 "ทั้ง 6 ประเทศเน้นให้ความสำคัญกับครูอย่างมาก มีทุนการศึกษาเพื่อดึงคนเก่งมาเรียนครู แต่ไทยไม่ได้ทำเช่นนี้ แม้มีหลักสูตรครู 5 ปี ก็แก้ปัญหาไม่ได้   การศึกษาทั้ง 6 ประเทศมีคุณภาพเพราะผู้นำประเทศเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างแท้จริง มองว่าการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ เพราะคนเก่งจะผลิตคนให้เก่งได้ แต่ผู้นำบ้านเรายังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างเด่นชัด คนที่มานั่งบริหารส่วนใหญ่เก่งการเมืองแต่ไม่ได้เน้นด้านการศึกษา" ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว

 ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า หากกระทรวงศึกษาธิการบริหารโดยยึดตามนโยบายรัฐบาลแล้ว พอครบ 4 ปีแล้วจะไม่ได้อะไรขึ้นมา เพราะว่านโยบายการศึกษาของรัฐบาลนี้เป็นเชิงการเมืองมากกว่ามุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา นโยบายส่วนใหญ่เน้นประชานิยม คนในพรรคพลังประชาชนยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาและให้เวลากับการจัดทำนโยบายด้านการศึกษา ส่วนใหญ่นำโครงการเก่าสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เช่น เรียนฟรี 1 อำเภอ 1 ทุน ซึ่งเมื่อเด็กเรียนจบจะไม่กลับไปทำงานในท้องถิ่น การฟื้นทุนกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ทำให้มหาวิทยาลัยรับเด็กมากขึ้นแต่ขาดคุณภาพ แต่เรียนจบแล้วหางานทำไม่ได้

 ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลควรขยายการศึกษาให้ทั่วถึงและพัฒนาโรงเรียนในชนบทจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จึงน่าจะทุ่มงบไปยังโรงเรียนต่างจังหวัด ภายใน 5 ปีจะเห็นคุณภาพการศึกษาดีขึ้น จะสรุปผลวิจัยเสนอที่ประชุมสภาการศึกษา (สกศ.) ซึ่งมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน 5 ประเด็น คือ 1.หาคนเก่งมาสู่วิชาชีพครู จัดสรรงบไปยังโรงเรียนต่างจังหวัดมากกว่าโรงเรียนในเมืองและ กทม. 3.ต้องปรับวิธีคิดในการสร้างบุคลากร 4.ต้องปลูกฝังให้คนรับผิดชอบสูงขึ้น 5.สอนให้คนรู้สึกรับผิดชอบอย่างจริงจัง และอดทน

 

หมายเลขบันทึก: 166582เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 00:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ครูอ้อย  เห็นด้วยกับ  .....

 

  • 1.หาคนเก่งมาสู่วิชาชีพครู
  • 2.จัดสรรงบไปยังโรงเรียนต่างจังหวัดมากกว่าโรงเรียนในเมืองและ กทม.
  • 3.ต้องปรับวิธีคิดในการสร้างบุคลากร
  • 4.ต้องปลูกฝังให้คนรับผิดชอบสูงขึ้น
  • 5.สอนให้คนรู้สึกรับผิดชอบอย่างจริงจัง และอดทน

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

      เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ โดยเฉพาะการจัดสรรอัตราครู ให้เพียงพอ

     

สวัสดีค่ะ

ขอเสนอแนะอีกสักข้อนะคะ หาวิธีจัดการกับบุคลากรที่ด้อยคุณภาพและไร้คุณธรรม เพื่อจะได้กำจัดจุดอ่อนของวงการศึกษาเราเสียบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท