กิจกรรมบำบัดในห้องเรียน


ผมกำลังจะมีโอกาสบรรยายปฏิบัติการแก่นักกิจกรรมบำบัด ครูการศึกษาพิเศษ และผู้ปกครองเด็กพิเศษ ณ รร. มีชื่อแห่งหนึ่ง อาทิตย์หน้า...

หลังจากที่ผมเคยบันทึก SI ระบาด....บทบาทนักกิจกรรมบำบัดเริ่มเปลี่ยนแปลงอีกเล็กน้อย แต่ยังไม่มีปรากฎการณ์ใดๆ ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาของเด็กพิเศษ ที่ "สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงความสามารถทางการเรียนและจิตสังคมอย่างเป็นนามธรรมและมีหลักการ"

ผมพยายามพูดคุยกับอาจารย์กิจกรรมบำบัดมหิดล ที่ฝึกฝนตนเองจนเชี่ยวชาญในเด็กพิเศษ แต่อาจารย์ทั้งหลายก็ยังตอบผมไม่ชัดเจนถึงการนำแนวคิดกิจกรรมบำบัดมาใช้ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ส่วนใหญ่ประเมินองค์ประกอบของพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว การใช้มือ การรับรู้ การเรียนรู้ ความสนใจ พฤติกรรม หากพบปัญหาก็ออกแบบสื่อการรักษาที่เน้นแก้ไขปัญหา โดยบอกไม่ได้ว่า เมื่อไรปัญหาเหล่านั้นจะแก้ไขได้หรือเด็กสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยเป้าหมายอย่างไรทางกิจกรรมบำบัด

ทุกอย่างเป็นความรู้สึกในแต่ละวันว่าเด็กทำกิจกรรมบำบัดแล้วดีขึ้น เช่น สนใจฟังคำสั่งมากขึ้น พ่อแม่ก็พามาที่คลินิกทุกๆอาทิตย์ ทำกิจกรรมบำบัดแยกองค์ประกอบจน "ไม่เน้นการฝึกทักษะชีวิตที่เด็กสนใจหรือให้ความสำคัญ" เราจะรู้หรือไม่ว่า เด็กสนใจฟังคำสั่งแล้วจะช่วยให้เขาฟังคำสั่งเพื่อดำเนินชีวิตด้านใดอย่างไรกัน แล้วเป้าประสงค์ของการฝึกจนสิ้นสุดโปรแกรมทางคลินิกคืออะไร จริงอยู่ที่เด็กมีพัฒนาการการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตลอดช่วงวัย แต่เราต้อง "พัฒนาที่ตัวเด็กให้รู้จักดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเองให้มากที่สุด" นักกิจกรรมบำบัดหรือผู้ปกครองไม่ได้อยู่กับเขาตลอดเวลาของการดำเนินชีวิต

ผมบอกตรงๆ ว่าได้เรียนแนวคิดและรูปแบบทางกิจกรรมบำบัดในโรงเรียน ตอนเรียนเฉพาะทางที่ออสเตรเลีย แต่ไม่ได้สนใจที่จะศึกษาวิจัยเชิงลึกในเรื่องดังกล่าว

แต่แล้ว ผมลืมนึกไปว่า ระบบการทำงานแบบสหวิชาชีพ ในไทย ยังมีข้อจำกัดในหลายปัจจัย เช่น แต่ละวิชาชีพไม่เปิดใจให้กว้างสุดๆ ทำให้เกิดอุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และไม่สามารถดึงศักยภาพของแต่ละวิชาชีพมาช่วยเด็กพิเศษแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม

หากนักกิจกรรมบำบัดในโรงเรียนและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกันสร้างแนวคิดและระบบการจัดการที่ดี...เด็กพิเศษหลายๆคนคงมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของเขาได้อย่างรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

แนะนำให้คลิกอ่านระบบของออสเตรเลียที่ http://www.learninglinks.org.au

และผมขอสรุปบทบาทนักกิจกรรมบำบัดในโรงเรียน แบบคัดลอกมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เหตุที่ไม่อยากให้แปลเพราะศัพท์เทคนิคบางคำอาจสื่อเป็นภาษาไทยได้ไม่ชัดเจน ผมจึงขอ acknowledge OTNOW (May/June 2002) โดย CAOT PUBLICATIONS ACE

 How occupational therapy makes a difference in the school system: A summary of the literature

  • Occupational therapists (OT) are trained to assess and treat occupational performance concerned with a person's ability to perform self-care, productive and leisure activities.
  • In the school system OT plays a role of improving the student's performance of tasks and activities important for successful school functioning, and ensuring the student's skills and abilities that have been reaching to the his/her expectations in the school settings
  • Direct intervention or collaborative intervention with special educators and parents includes motor coordination, visual-motor coordination, visual perceptual skills supporting school performance, new effective teaching and/or parenting strategies, in-hand manipulation and handwriting legibility.

นั่นคือหากมีปัญหาที่แยกองค์ประกอบมากกว่านี้ ต้องส่งต่อไปที่นักกิจกรรมบำบัดในระบบคลินิก และระบบที่ผมจะนำไปบรรยาย ณ รร. รุ่งอรุณ วันที่ 28 ก.พ. นี้ คือ "เทคนิคการประเมินและปรับสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้วยโมเดลนิเวศวิทยา" หากมีสิ่งที่น่าสนใจ...ผมคงนำมาถ่ายทอดในบันทึกครั้งต่อไปครับ

            

หมายเลขบันทึก: 166512เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • อยากจะค้านอาจารย์เรื่องนี้ค่ะ
  • แต่ละวิชาชีพไม่เปิดใจให้กว้างสุดๆ ทำให้เกิดอุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และไม่สามารถดึงศักยภาพของแต่ละวิชาชีพมาช่วยเด็กพิเศษแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม
  • ไม่ใช่ไม่เปิดกว้าง
  • แต่ส่วนใหญ่สหวิชาชีพถูกฝึกมาให้เชื่อว่าเมื่อวัดความสำเร็จของตนเองที่ตนเอง
  • ทำได้ ทำถูกต้องในระดับของหลักวิชาการ 
  • แล้ว ผู้ได้รับการบำบัดจะได้ดีด้วย
  • ไม่ได้ถูกสอนให้วัดความสำเร็จในระดับของชีวิต
  • การวัดถึงระดับชีวิต จะเป็นอย่างที่อาจารย์ว่า คือ ความสามารถในการยังชีพได้ของเด็กด้วยตัวเอง
  • การณ์ที่ปรากฎจึงหาใช่เพราะ "ไม่เปิดใจให้กว้างสุดๆไม่"  หากแต่ไม่ได้รับการฝึกฝนให้ตระหนักคิดอีกมุมต่างหาก 

ขอบคุณครับคุณหมอเจ๊

ผมอาจพบปะบางท่านที่ไม่เปิดใจ เลยต้องขออภัยที่เขียนแรงไปครับ ยินดีรับคำค้านและเห็นด้วยกับคุณหมอเจ๊ในประเด็นของ "การไม่ได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะการวัดถึงระดับชีวิต" เห็นได้จากวิชาชีพกิจกรรมบำบัด เราไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างสมบูรณ์ตามแก่นแท้ของหลักสูตรครับ ขณะนี้สถาบันการผลิตพยายามปรับปรุงอยู่ครับ

 

สวัสดีค่ะดร.ป๊อป การที่อาจารย์มีมุมมองที่ขยายพรมแดน มองอย่างแตกต่างจากแนวที่ทุกคนในกระแสหลักทำต่อๆกันมา เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้มองเห็นความจำเป็นและความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้คนไข้และครอบครัวของเขาได้รับประโยชน์สูงสุด

การคิดถึงวิชาการในสาขาใดก็ตามในแนวทางของระบบนิเวศวิทยาจะทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ของทุกสิ่งในสังคม และเหตุปัจจัยที่จะทำให้งานบรรลุผลสำเร็จได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน จะรออ่านที่อาจารย์เล่าการไปบรรยายค่ะ

ขอให้อาจารย์มีกำลังใจที่เข้มแข็งต่อไปนะคะ

ขอบคุณมากครับ อ. ยุวนุช สำหรับกำลังใจและความคิดเห็นที่มีคุณค่ายิ่ง

 

  • มีคำกล่าวว่า ถ้าเกษตรกรไม่มีการไถหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์ดีๆและทะนุบำรุงให้งอกงามเป็นต้นกล้าที่ดีและแข็งแรง ก็จะไม่ได้พืชยืนต้นที่ดี
  • คนเป็นอาจารย์ก็เปรียบเสมือนเกษตรกรที่กล่าวถึงนี้แหละค่ะ
  • ช่วยกันนะค่ะ 
  • เพื่อให้โลกนี้ยังงดงามสำหรับคนที่ด้อยโอกาส
  • ให้กำลังใจค่ะ
  • สู้ๆๆค่ะ
  • อย่าเก็บลูกท้อไว้กับตัวค่ะ กินมันซะหรือไม่ก็ทิ้งไปให้มันไปเน่าที่อื่นเถอะค่ะ  ตัวเราจะได้สบาย

เห็นด้วยกับหมอเจ๊ครับ เพราะการที่อาจารย์ป็อบแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนแค่คนเดียวไม่ได้หมายความถึงการปิดกั้นของวิชาชีพนั้นนะครับ

และการที่คนๆนั้นพูดออกไปก็อาจจะมีเหตุผลส่วนตัวที่อาจารย์เองอาจจะไม่เข้าใจในมุมองของเค้าและคิดว่าเค้าปิดกั้น

ส่วนคำที่ว่า"ทุกอย่างเป็นความรู้สึกในแต่ละวันว่าเด็กทำกิจกรรมบำบัดแล้วดีขึ้น" ถ้าผมเองเป็นผู้ร่วมงานของอาจารย์ป็อบผมคงรูสึกแย่มากๆ ซึ่งปัจจุบันผมเป็นผอโรงพยาบาลแห่งหนึ่งมีลูกน้องมากและการที่จะให้งานดำเนินไปได้ดีนั้นคือการที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันทุกวันนี้ก็มีแต่ลูกน้องที่รักผมอย่าถือว่าสอนเลยนะครับแค่ยกตัวอย่าง

และมุมมองที่อาจารย์พูดถืงเป็นเรื่องดีมากแต่มันดูเป็นidealมาก คนๆคนนึงจะประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตนั้นมันมีองค์ประกอบหลายอย่าง สิ่งที่สหวิชาชีพที่ทำในโรงพยาบาล หรือในคลินิกก็เป็นหนทางในการรักษาประเภทหนึ่งเท่านั้นที่เน้นการรักษาเป็นหลัก

คงเป็นไปไม่ได้ผู้ปฎิบัติการทางคลินิกจะสามารถทำได้ทุกบทบาท

ดังนั้นถึงได้มี หมอผ่าตัด หมอFamily Medicine หมอจิตวิทยา คนๆเดียวไม่สามารถทำได้สำเร็จหรอกนะครับ

ดังนั้นวิชาชีพอาจารย์อาจจะต้องผลิตกิจกรรมบำบัดในบทบาทอื่นที่จะช่วยนักกิจกรรมบำบัดในคลินิกเพื่อต่อยอดครับ

  • แวะเข้ามาอ่านค่ะ
  • เป็นครูในวงการการศึกษาพิเศษ ประเภท บกพร่องทางการได้ยิน

ผมขอบคุณคุณหมอเจ๊และคุณหมอยศ สำหรับกำลังใจและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานแบบสหวิชาชีพครับ ผมจะพยายามเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆ ในการบริหารจัดการและพัฒนาหน่วยงานต่อไปครับ

ขอบคุณคุณณัฐยาที่แวะเข้ามาอ่านและทักทายครับ

ชอบอ่านและติดตามประเด็นต่าง ๆ ที่อาจารย์ป๊อบได้ตั้งกระทู้ขึ้นมา ได้แนวความคิดใหม่ ๆเกี่ยวกับงานกิจกรรมบำบัดเพิ่มมากขึ้น

ขอบคุณมากครับคุณก้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท