สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

โทษประหารชีวิต ยกเลิกได้แล้วจริงหรือ?


สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) คัดค้านและต่อต้านโทษประหารชีวิตอย่างแข็งขันโดยถือว่าโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเสรีภาพเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่าโทษหารชีวิตไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดใด ทั้งสิ้นไม่ว่าโดยหลักการหรือธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อใช้เป็ยบทลงโทษ

              กฏหมายและศีลธรรม ศักดิ์ศรีและเสรีภาพ มักไปกันไม่ค่อยได้กับโทษประหารชีวิตจริงหรือ คนในสังคมบังคลาเทศ สิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศมุสลิมหลายประเทศ  มีบทลงโทษที่ร้ายแรงกับผู้ที่กระทำผิดโดยเฉพาะโทษประหารชีวิต โดยเฉพาะโทษ ฆ่า ฆ่าข่มขืน ยาเสพติด โทษเหล่านี้มักลงเอยด้วยการประหารชีวิต หลายคนบอกว่าโทษประหารชีวิตเหมาะสม แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน คือให้ตายตกไปตามกัน กับโทษเหล่านี้จึงสาสม ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นหลักการสูงสุดและเป็นบรรทัดฐานสำคัญของการจัดการการปกครองของแต่ละสังคม  โทษประหารชีวิตขัดแย้งโดยตรงต่อหลักการดังกล่าวในทุกกรณีและเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความยุติธรรม เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คือพื้นฐานของความยุติธรรม อาชญากรต้องได้รับโทษเมื่อประพฤติละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายโดยมีสติสัมปชัญญะ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเด็กและบุคคลวิกลจริตจึงไม่ควรต้องรับผิดชอบต่อการกระทำผิดทางอาญาตามกระบวนการยุคิธรรม ซึ่งโทษประหารชีวิตขัดต่อความมีเสรีภาพของมนุษย์  ทั้งนี้เมื่อบุคคลต้องโทษและถูกประหารชีวิตต้องถือว่าเป็นการกระทำผิดโดยมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ทำให้บุคคลผู้ต้องโทษประหารชีวิตสูยเสียเสรีภาพความเป็นมนุษย์ เนื่องจากโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถนำชีวิตกลับคืนมาได้ในขณะที่คำจำกัดความเสรีภาพของมนุษย์ที่แท้จริงคือ การยอมรับและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่ได้ ในบทบัญญัติของศาสนาหลายศาสนาพูดถึงเรื่องการให้อภัย ให้ปรังปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน แต่หากไม่ไหวแล้วกระทำผิดซ้ำซากก็ต้องจัดการ ข้อที่ถกเถียงกันคือโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถนำชีวิตกลับคืนมาได้ ยังขัดต่อความคิดที่ว่า อาชญากรสามารถกลับตัว กลับใจมีชีวิตใหม่ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั่นเอง มีเหตุผลที่ว่าโทษประหารชีวิตไม่ได้แก้ปัญหาอะไรให้ดีขึ้นเลย    บางคนอาจบอกว่ากฏหมายอ่อนแอ สิทธิเสรีภาพใช้ไม่ได้กับคนชั่วคนถ่อย หลายคนบอกว่าประเทศที่มีโทษร้ายแรงแบบประหารชีวิตนี่ถ่อย ต่ำ ทราม แต่อีกหลายประเทศคนก็บอกว่าต้องมีอะไรสักอย่างที่จะจัดการกับคนเหล่านี้ที่สาสม หรือสร้างนิคมให้คนพวกนี้อยู่ ใช้ฉีดยาประหารสิไม่น่าเกียด ไม่ทารุณ ไม่โหดร้าย ไปนั่งดูเขาตายอย่างสงบ สาสมใจ เหตุผลที่บอกว่า โทษประหารชีวิตช่วยปกป้องสังคมให้ปลอดจากอาชญากรรมไม่เป็นไปตามนั้น และโทษประหารชีวิตไม่มีผลทำให้เกิดอาชญากรรมขึ้นอีก ในหลายประเทศมีการศึกษาวิจัยว่าไม่เป็นไปตามนั้น   แล้วท่านละคิดอย่างไรสำหรับสังคมไทย ซึ่งเป็นสังคมวัฒนธรรมพุทธ ที่ผู้คนมีจิตเมตตา สงสาร เห็นใจ แม้แต่พระมหากษัตริย์ไทย(พระผู้ให้แสงสว่างแก่ทุกชีวิตไทย)พระองค์ยังทรงให้อภัยโทษนักโทษประหารทั่วทั้งประเทศในหลายโอกาส

 

คำสำคัญ (Tags): #โทษประหารชีวิต
หมายเลขบันทึก: 166510เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท