ซีโอซี คือ อะไร จีเอพี คือ อะไร


ซีโอซี คือ อะไร จีเอพี คือ อะไร

ซีโอซี คือ อะไร
     
      ระบบโค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct) หรือ ซีโอซี (CoC) หมายถึง การจัดระบบการจัดการ
สิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลอย่างยั่งยืนตลอดสายการผลิตจากฟาร์มถึงโรงงานแปรรูป

เพื่อพัฒนาให้ได้กุ้งคุณภาพมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
กุ้งคุณภาพมีลักษณะ 3 ประการ คือ
          
      1. กุ้งที่ได้จากการผลิตอย่างมีมาตรฐาน
      2. กุ้งที่มีคุณภาพและความปลอดภัย
      3. กุ้งที่ผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ใครบ้างที่ได้รับโอกาสเข้าร่วมโครงการ ซีโอซี


       ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้เข้าร่วมโครงการ ซีโอซี
          1. ผู้ประกอบการเพาะและเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
          2. ผู้ซื้อ - ผู้ขายกุ้งทะเล
          3. ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปกุ้งทะเล

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ ซีโอซี

      1. เมื่อท่านได้รับโอกาสให้เข้าร่วมโครงการควรปฏิบัติดังนี้
               1.1 สมัครเข้าร่วมโครงการและปฏิบัติตามแนวทางของโครงการ ซีโอซี
               1.2 ยื่นข้อเสนอขอรับการตรวจสอบต่อกรมประมง
      2. เมื่อท่านยื่นความจำนงเป็นสมาชิกซีโอซีแล้ว กรมประมงจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบมาตรฐานซีโอซี
         ออกไปตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของซีโอซี
      3. ผลการตรวจสอบคือ ผ่านและไม่ผ่าน
               3.1 ถ้าไม่ผ่านการตรวจสอบ : ท่านควรปรับปรุงส่วนบกพร่องและกลับมาขอรับการตรวจสอบใหม่
               3.2 ถ้าผ่านการตรวจสอบ : ท่านจะได้รับใบรับรองฟาร์มกุ้งมาตรฐาน ซีโอซี
                   หรือใบรับรองผู้จัดจำหน่ายมาตรฐาน ซีโอซี หรือใบรับรองโรงงานแปรรูปมาตรฐาน ซีโอซี

เป็นสมาชิกซีโอซีแล้วจะได้อะไร

      1. สามารถขายกุ้งได้ราคาสูงขึ้น
      2. อุตสาหกรรมกุ้งมีเสถียรภาพ มีความมั่นคง
      3. ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
      4. ลดการโจมตีจากองค์กรสิ่งแวดล้อม หรือ เอ็นจีโอ (NGOs)


เกณฑ์มาตรฐาน ซีโอซี สำหรับโรงเพาะฟักและฟาร์มเลี้ยง

การก้าวสู่มาตรฐาน ซีโอซี มีข้อปฏิบัติ 11 ประการ

1. การเลือกสถานที่
    - เป็นพื้นที่ถูกต้องตามกฎหมายและอยู่นอกเขตป่าชายเลน
    - พื้นที่ตั้งใกล้แหล่งปัจจัยการผลิตและอยู่ห่างจากแหล่งมลพิษ
2. การจัดการ การเลี้ยงทั่วไป
    - วางผังฟาร์มตามหลักวิชาการ
    - วางแผนการเลี้ยงที่ดีเพื่อการจัดการที่ถูกต้อง
3. ความหนาแน่นการปล่อยกุ้ง
    - พิจารณาความเหมาะสมของคุณภาพ อายุ
      และความหนาแน่นของลูกกุ้งที่ปล่อย
    - พิจารณาศักยภาพกำลังการผลิตของบ่อกุ้ง
4. อาหารและการให้อาหาร
    - เลือกอาหารกุ้งที่มีคุณภาพดีและให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม
    - จัดเก็บอาหารกุ้งให้ถูกสุขลักษณะ
5. การจัดการสุขภาพกุ้ง
   - ตรวจสุขภาพกุ้งควบคู่กับการตรวจคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงอยู่เป็นประจำ
   - ควรป้องกันการเกิดโรค โดยเน้นการจัดการการเลี้ยง
6. ยาและสารเคมี
   - งดใช้ยาและสารเคมีต้องห้ามตามที่กรมประมงประกาศ 16 ชนิด
   - ควรป้องกันการเกิดโรค โดนเน้นการจัดการการเลี้ยง
7. น้ำทิ้งและตะกอน
   - มีระบบบำบัดน้ำหมุนเวียนน้ำใช้ภายในฟาร์ม
   - จัดให้มีที่เก็บตะกอนเลนภายในฟาร์ม
8. การจับกุ้งและการขนส่ง
   - วางแผนการจัดระบบขนส่งอย่างรวดเร็วโดยเน้นการรักษาความสดและ
     ความสะอาด
   - มีการตรวจสารปฏิชีวนะตกค้างในตัวกุ้งก่อนการจับและ
     มีใบกำกับการจำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำ(FMD)
     หรือใบกำกับการจำหน่ายพันธุ์สัตว์น้ำ (MD)
9. ความรับผิดชอบทางสังคม
    - ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างประหยัดและส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน
    - จัดจ้างแรงงานในพื้นที่ เพื่อช่วยลดปัญหาการว่างงาน
10. การรวมกลุ่มและการฝึกอบรม
    - มีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ
    - เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล
11. ระบบการเก็บข้อมูล
    - ควรบันทึกข้อมูลด้านการเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ (ตามรายละเอียด CoC)

การผลิตกุ้งทะเลมาตรฐาน จีเอพี (GAP/Good Aquaculture Practice)

จีเอพี คือ อะไร


           การผลิตกุ้งทะเลให้มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้ถูกสุขลักษณะที่ดีของฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
ป้องกันการใช้ยา และสารเคมีในการเลี้ยงไม่ให้มีสารตกค้างในเนื้อกุ้ง

การตรวจสอบมาตรฐาน จีเอพี แบ่งเป็น 2 หัวข้อ


       1. สุขอนามัยฟาร์ม (พิจารณาตามหัวข้อ 1-7)
       2. การตรวจสอบสารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง
           ยาต้านจุลชีพในกลุ่มต่อไปนี้

            - เตรตร้าซัยคลิน (Tetracyclin)
              ออกซี่เตตร้าซัยคลิน (Oxytetracycline)
            - ออกโซลินิก แอซิด (Oxolinic acid)
            - ซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamide)
            - คลอแรมฟินิคอล (Chloramphenical)
            - ไนโตรฟูแรนส์ (Nitrofurans)
            - ฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)
            - นอฟลอกซาซิน (Norfloxacin)

ขั้นตอนการขอใบรับรองการผลิตกุ้งทะเลมาตรฐาน จีเอพี (GAP)

      1. เกษตรกรต้องเป็นสมาชิกหน่วยตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบสัตว์น้ำของกรมประมง
      2. กรอกแบบคำขอให้ออกใบรับรองการผลิตกุ้งทะเลมาตรฐาน จีเอพี (GAP) กับหน่วยงานของกรมประมง
      3. เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสุขอนามัยฟาร์ม และตรวจสารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง
      4. ถ้าผ่านการประเมินตามแบบการประเมินของกรมประมงจะได้รับใบรับรองมาตรฐาน จีเอพี (GAP)
         จากกรมประมงเป็นเวลา 1 ปี

         หลังจากที่การประเมินสุขอนามัยฟาร์มผ่านเกณฑ์มาตรฐานจีเอพี(GAP)และตรวจไม่พบ
สารปฏิชีวนะตกค้างในปริมาณที่กรมประมงกำหนด กรมประมงจะออกใบรับรองการผลิตกุ้งทะเลตามมาตรฐาน
จีเอพี (GAP) ให้กับเกษตรกร โดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีปรมกระมงที่อยู่ในพื้นที่

เป็นสมาชิก จีเอพี จะได้อะไร

    - ทำให้ผลผลิตกุ้งเป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อ
    - ทำให้สภาพแวดล้อมภายในฟาร์มดีขึ้น ถูกสุขลักษณะ
    - ช่วยให้เกษตรกรมีการจัดการเพาะเลี้ยงกุ้งได้อย่างเป็นระบบ

เกณฑ์มาตรฐาน จีเอพี (GAP)

1. การเลือกสถานที่
            1.1 มีการคมนาคมสะดวก และอยู่ในที่น้ำท่วมไม่ถึง
            1.2 อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีคุณภาพดี และไม่อยู่ในอิทธิพลของแหล่งกำเนิดมลภาวะ
            1.3 เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องขึ้นทะเบียนฟาร์ม
                และเป็นสมาชิกหน่วยตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบสัตว์น้ำกับกรมประมง
2. การจัดการการเลี้ยงทั่วไป
            2.1 อุปกรณ์และโรงเรือนต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดี
            2.2 มีการวางผังฟาร์มเลี้ยงที่ถูกต้องตามหลักการเลี้ยงกุ้งทะเล
            2.3 มีการเตรียมน้ำ ดินและตะกอนเลนก่อนการเลี้ยงกุ้งอย่างเหมาะสม
            2.4 มีการปล่อยกุ้งที่มีคุณภาพดี ความหนาแน่นและอายุที่เหมาะสม
            2.5 มีการติดตั้งเครื่องเพิ่มอากาศอย่างเหมาะสมและมีการจัดการรักษาคุณภาพน้ำและดินที่ดี
3. อาหาร การให้อาหาร และปัจจัยการผลิตกุ้งทะเล
            3.1 เลือกใช้อาหารกุ้งที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ
            3.2 เก็บอาหารกุ้งไว้ในที่ร่ม เย็นและไม่ชื้นแฉะ
            3.3 มีวิธีการจัดการให้อาหารที่มีประสิทธิภาพ ให้อาหารสดในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
            3.4 ปัจจัยการผลิตที่ใช้เสริมสร้างความแข็งแรงของกุ้งและ/หรือรักษาคุณภาพน้ำ
                จะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4. การจัดการสุขภาพ และการแก้ไขปัญหาโรคกุ้ง
            4.1 ตรวจคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงอยู่เป็นประจำ
            4.2 มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคกุ้งที่มีประสิทธิภาพ
            4.3 เมื่อต้องการรักษาโรคกุ้งควรใช้ยาปฏิชีวนะที่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
                และขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ
5. สุขอนามัยฟาร์ม
            5.1 มีการทิ้งและกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลจากฟาร์มอย่างถูกวิธี
            5.2 เก็บรักษาปัจจัยการผลิต วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ
                ในลักษณะที่ดีไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค
            5.3 มีห้องสุขาที่ถูกต้องตามหลักอนามัย
            5.4 น้ำที่ใช้เลี้ยงกุ้งมีปริมาณแบคทีเรีย (Total coliform และ Feacal coliform) ไม่เกินค่าที่กำหนดไว้
6. การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการขนส่ง
            6.1 เกษตรกรต้องวางแผนการจับและจำหน่าย โดยเน้นการรักษาความสด และความสะอาด
            6.2 มีรายงานผลการสุ่มตรวจยาปฏิชีวนะตกค้างในผลผลิตกุ้ง และมีใบกำกับการจำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำ
                (FMD) หรือใบกำกับการจำหน่ายพันธุ์สัตว์น้ำ (MD)
7. การจดบันทึกข้อมูล
            มีบันทึกการจัดการเลี้ยง การให้อาหาร การใช้ยาและสารเคมีที่ถูกต้องสม่ำเสมอ มีความทันสมัย

ขั้นตอนการสมัครมาตรฐาน CoC

ขั้นตอนการสมัครมาตรฐาน GAP
ที่มาhttp://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/CoC.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16590เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2006 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท