ชมอย่างไรให้ซึ้งใจ


พวกเรามีความหลากหลาย เราจะมาช่วยกันพัฒนาเด็กของเราด้วยกัน

วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๕๑

ครูอาสาจำนวน ๑๘ คน มาเข้าอบรมกับวิทยากรสองท่าน คือ
อาจารย์ศศิธร ไพธีกุล และ คุณเกียรติยง ประวีณวรกุล

การมาพบกันในวันนี้ เพื่อจะช่วยให้เราสื่อสารกับเด็กได้เข้าใจกันมากขึ้น เด็กฟังและพูดกับครูมากขึ้น พูดง่ายๆ คือ เทคนิคการจัดการกับพฤติกรรมเด็กนั่นเอง
รูปแบบที่ใช้จะเป็นการปฏิบัติมากกว่าเชิงบรรยาย

เริ่มด้วยวิทยากรให้คณะครูเข้าแถว หลายรูปแบบทีเดียว

เริ่มจากเรียงตามความสูง

ต่อมาก็ตามระยะทางจากบ้านใกล้ไกล
เข้าแถวเสร็จแล้ววิทยากรถามเล่นๆ ว่าใครมาก่อน ๘.๑๕ บ้าง ปรากฎว่าฝั่งบ้านไกลยกมือมากกว่า

ต่อไปก็ตามอายุ เริ่มที่อายุ ๒๓ ปี ไปจบที่....(ไม่บอกดีกว่านะ)

ต่อไปก็ตามจำนวนลูก ปรากฏว่าก็อยู่ที่เดิมนั่นแหละ (ครูแนน และ แม่ต้น อยู่ท้ายแถว...ขอระบุซะหน่อย)

ต่อไปก็จัดกลุ่มตามสาขาที่เรียนจบมา
จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ การศึกษาปฐมวัย
ศิลปศึกษา สังคมและมานุษยวิทยา (สิ่งแวดล้อม)
แสดงว่าในที่นี้มีความหลากหลายจากสาขาวิชาที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรุ้กันได้

ต่อไปก็แบ่งตามคุณลักษณะเด่นในตัวเอง
ได้มา ๕ กลุ่ม
- หน้าตาดี มีฐานะ การศึกษาดี จริงใจ
- สวยใจดี รักเด็ก
- ผมเด้ง
- หมวย สวย ตี๋
- มีไฝ

เมื่อถามถึงความคาดหวังของผู้มาอบรมเสร็จแล้ว วิทยากรได้ให้ความมั่นใจว่าจะได้เทคนิคกลับไปแน่ ขอเพียงทำตามกติกาแค่ไม่กี่ข้อดังนี้

กติกา
อยู่กับการอบรมได้ตลอด
-มาครบทุกครั้ง
-อยู่ได้ครบเวลา
-มาให้ทัน
-มาให้พร้อม ตัดสิ่งรบกวน ขอให้ไม่รับโทรศัพท์ช่วงนี้

ห้องอบรมนี้ ถือเป็นพื้นที่ปลอดภัย
ขอให้ทุกคนรับปากว่าจะไม่นำเรื่องของคนอื่นไปพูดต่อ บางที่เราพูดปัญหาของเด็ก พูดถึงพ่อแม่เขา หรือความกังวลของเรา ขอให้รักษาและเก็บไว้ที่นี่ เราจะไม่บันทึกเสียง หรือ ภาพใดๆ

กล้าแสดง จริงจัง
พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ฝึกฝน ให้นึกถึงเหตุการณ์ตรงนั้นจริงๆ คิดว่าเด็กเป็นอยู่อย่างนั้นจริงๆ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปใช้ได้จริง

กิจกรรมต่างๆ ก็เริ่มดำเนินไปจนถึงเที่ยงวัน

เคล็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้จากการอบรมวันนี้

ชมอย่างไรให้ซึ้งใจ

๑. การชมต้องบอกพฤติกรรมด้วย ว่าทำอะไรถึงได้รับคำชม พฤติกรรมนั้นจะได้เกิดซ้ำอีกได้

๒. บอกคววมรู้สึก ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นทำให้เรารู้สึกอย่างไร เด็กวัยนี้ ต้องการความเห็นและความชื่นชมของผู้ใหญ่ สิ่งนี้จะมีผลกระทบกับเขามาก

๓. บอกคุณลักษณะ ว่าสิ่งที่เขาทำนั้น เข้าได้กับคุณลักษณะของอะไร เช่น มีน้ำใจ กล้าหาญ ฯ

การชมต้องพูดให้เต็มเสียง ให้ชัดเจน ให้เชื่อว่าเราตั้งใจพูดอย่างนั้นจริงๆ
เด็กชอบคนที่พูดแล้วไม่หลบตา เด็กเล็กไม่ชอบอะไรยาวๆ แต่ถ้าสั้นไปเขาก็จะไม่เข้าใจ
เด็กอยากเป็นที่หนึ่งในใจครู ครูต้องมองหน้า สบตา และมีการสัมผัสที่เหมาะสม


การชมให้ถึงใจ

- มีอารมณ์ขัน คาดไม่ถึง ทำแบบนี้ครูก็ชมอยู่อย่างนี้ สู้ชมแบบที่คิดไม่ถึงว่าครูจะมามุขนี้ไม่ได้

- ชมกับบุคคลที่ ๓ ให้เด็กได้ยิน เช่น ครูชมให้แม่ฟังว่าวันนี้ลูกดีอย่างไร ต่อหน้าเด็ก

- ใช้การชมที่หลากหลาย อย่าใช้มุขเดิม คำพูดซ้ำๆ เดิมๆ

- ใช้สีหน้า น้ำเสียง แววตา สัมผัส ระยะห่าง-ใกล้ ให้พอเหมาะ

- ไม่ชมพร่ำเพรื่อ อะไรที่อยู่ตัวแล้ว หรือการทำดีที่ต่ำกว่าวัย ไม่ต้องชมแล้ว

เคล็ดเก็บตก
สิ่งสำคัญในการพัฒนาทั้ง IQ และ EQ คือ การสังเกต
ถ้าพบว่าเด็กใช้การสังเกต ไม่ว่าจะเป็นสังเกตสิ่งของหรือความรู้สึกของคนอื่น ต้องชมทันที

หมายเลขบันทึก: 165804เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2008 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท