Cause - Effect ในวงจรนิวโรน


เหตุการณ์ที่เรียกว่า "สาเหตุ - และผล" หรือ Cause - Effect  นั้น กล่าวเป็นข้อความได้ว่า

"ถ้าเกิดเหตุการณ์หนึ่งขึ้นแล้วจะเกิดอีกเหตุการณ์หนึ่งตามมาเสมอๆ โดยที่เหตุการณ์แรกเราสามารถควบคุมได้" 

สมองของเราเป็นวัตถุ  ประกอบด้วยเซล์นับล้านๆเซลล์  แต่ละเซลล์ก็มีชีวิตและมีกิจกรรมของตัวเอง  ผลของกิจกรรมของแต่ละเซลล์จะเกิดมีกระแสไฟฟ้า  เมื่อมีสูงถึงระดับหนึ่งมันจะกระตุ้นให้เซลล์ที่สัมผัส(Synapses)กับมันมีกิจจกรรมและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นด้วยเสมอๆ  ดังนี้ก็เรียกว่า "เซลล์แรกเป็น สาเหตุ ของเซลล์หลัง" 

Relation among the neuron circuit system.

เมื่อพิจารณา วงจรนิวโรน จากรูปเชิงสมมติฐานข้างบนนี้  จะเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างวงจรนิวโรน  ก็มีลักษณะเป็นสาเหตุ - และผล  กล่าวคือ  "เมื่อเกิดวงจรนิวโรน A ก็จะเกิดวงจรนิวโรน B ตามมาเสมอๆ"  และ "เมื่อเกิดวงจรนิวโรน C ก็จะเกิดวงจรนิวโรน B ตามมาเสมอๆ" ซึ่งเป็นลักษณะของสาเหตุ - และผล เช่นเดียวกัน

ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า  ความสัมพันธ์ระหว่างนิวโรนกันนิวโรน  และระหว่างวงจรนิวโรนกับวงจรนิวโรน ในสมองของเรา  มีความสัมพันธ์เชิง "สาเหตุ - และผล" เหมือนกัน  นี่เป็นเรื่องของวัตถุ

ในเรื่องของ "ความรู้สึก"  จะเป็น "ความรู้สึกสัมผัส"  หรือ "ความรู้สึกรับรู้" หรือ "ความรู้สึกคิด" ฯลฯ  ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ต่างก็เป็น "ผล"จากกิจกรรมนิวโรนหรือกลุ่มนิวโรน(โปรดดูบันทึกครั้งก่อนๆ)  ก็จะ "มีลักษณะของสาเหตุ - และผล"ด้วย

หมายเลขบันทึก: 165769เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2008 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ไม่มีรูป

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว

 

เข้ามาเยี่ยม และคุยเล่นๆ... 

ไม่เข้าใจ และไม่เคยรู้เรื่องนิวโรน (เพิ่งรู้จักศัพท์นี้จากบันทึกอาจารย์) แต่สนใจในการนำหลักเหตุผลมาอธิบายของอาจารย์...

ตามตัวอย่างที่อาจารย์ยกมา...

  • A และ C เป็นสาเหตุของ B
  • (หรือ...)
  • เงื่อนไขของ A และ C เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ของ B

เข้าใจทำนองนี้ ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่... 

...........

อนึ่ง ตามสมมติฐานเบื้องต้นที่อาจารย์ยกมาว่า...

  • "ถ้าเกิดเหตุการณ์หนึ่งขึ้นแล้วจะเกิดอีกเหตุการณ์หนึ่งตามมาเสมอๆ"



น่าจะตรงกับข้อแรกว่า...

  •  C1>E1       C1>E1

นั่นคือ เงื่อนไขที่เหมือนกัน จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่เหมือนกัน

นั่นก็คือ ถ้าเงื่อนไขต่างกัน จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ต่างกันตามนัยข้อสองว่า...

  •     C1>E1       C2>E2

และเป็นไปได้หรือไม่ว่า เงื่อนไขที่ต่างกัน อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่เหมือนกันตามนัยข้อสามว่า...

  •    C1>E1       C2>E1

และหรือ เป็นไปได้หรือไม่ว่า เงื่อนไขที่เหมือนกัน อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ต่างกันตามนัยข้อสี่ว่า...

  •   C1>E1        C1>E2     

หมายเหตุ C = เงื่อนไข .... E = เหตุการณ์

 

อาตมาสนใจเรื่องหลักสาเหตุมานานพอสมควร แต่ไม่ค่อยมีโอกาสจะคุยกับใคร เฉพาะประเด็นความเห็นนี้มาจาก หลักสาเหตุ ๒. 

เจริญพร 

นมัสการพระคุณเจ้า

"A ทำให้เกิด B ตามมาเสมอๆ",  "A จึงเป็นสาเหตุของ B",  และ " C ทำให้เกิด B ตามมาเสมอๆ", (ในกรณีที่ A ไม่เกิด) , "C จึงเป็นสาเหตุของ B ",

A --> B, &  C --> B, เหมือนกันในแง่ของ "สาเหตุและผล"  ไม่ได้หมายความว่า  B = B

ภาพประกอบข้างบนนี้ผมเอามาจากภาพที่เคยเสนอเป็นตัวอย่างเรื่องอื่น ซึ่งมี A และ C ต่างก็กระทำต่อ B ในเวลาเดียวกัน  ในที่นี้ต้องถือว่า A - B, C - B เกิดคนละคราวกันครับ

อนึ่ง ในกรณี C - E,  ข้างบนนี้ ถ้าให้

C1 = ยุงธรรมดา,  C2 = ยุงก้นปล่อง,  E1 =  คัน, E2 = ป่วย แล้ว จะได้ว่า

(๑) ถ้า C1 - E1เสมอๆ,หรือ  C2 - E1เสมอๆ, แล้ว C1UC2 - E1

(๒) ถ้า C1(ฝนตก) - E1(เปียก)เสมอๆ,  หรือ C1(ฝนตก) - E2(กางร่ม)เสมอๆ, แล้ว  C1 - E1UE2

ขอให้สังเกตว่า  "เสมอๆ"  Imply Probability,

สิ่งที่ท่านเห็นและถามนั้น  เป็นเรื่องลึกซึ้งมากครับ  ผมขอขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขออนุญาตเรียนถามว่า...

สาเหตุและผล

 แล้วเรา ต้องพิจารณา  Rationality, Reasonableness ร่วมด้วยไหมคะ

ไม่มีรูป

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

 

เข้ามาคุยลับสมองกับอาจารย์อีกครั้ง...

C1 = ยุงธรรมดา,  C2 = ยุงก้นปล่อง,  E1 =  คัน, E2 = ป่วย

ตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาก็พอเข้าใจว่า

  • ยุงธรรมดากัดแล้วจะทำให้คัน     ( C1 -E1  )
  • ยุงก้นปล่องกัดแล้วจะทำให้ป่วย  ( C2 - E2 )

แต่ประเด็นว่า...

(๑) ถ้า C1 - E1เสมอๆ,หรือ  C2 - E1เสมอๆ, แล้ว C1UC2 - E1

แปลความว่า ยุงธรรมดาทำให้คัน ยุงก้นปล่องทำให้คัน.. ยุงธรรมดาและยุงก้นปล่องก็ทำให้คัน ...

ถ้าแปลอย่างนี้ รู้สึกว่าขัดๆ ยังไงไม่รู้

(สงสัยว่าอาจารย์จะพิมพ์ผิด หรือวางยาไว้ .....)

...........

ส่วนข้อ (๒) ไม่สงสัย เพราะน่าจะแปลว่า ถ้าฝนตกก็จะเปียกและจะกางร่ม ( C1 - E1UE2 )

เจริญพร 

สวัสดีครับ คุณ Sasinanda

"สาเหตุและผล" มีความหมายเดียวกันกับ Cause - Effect ที่ผมใช้อยู่ครับ ส่วนอีกคำหนึงคือ "เหตุผล" นั้นตรงกับภาษากลางว่า Reasoning และถ้าเก่ากว่าหน่อย(พวกนักปรัชญาใช้กันมาก)ก็เป็น Rational  ซึ่งก็เป็นเรื่องของเหตุผลเหมือนกัน

"สาเหตุและผล" โดย Semantic ทั่วไป จัดอยู่ในกลุ่มของเหตุผล แต่

"สาเหตุและผล" เป็น "ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์สอง่ฝ่าย  โดยที่ "ฝ่ายแรกเกิดแล้ว ฝ่ายหลังจะเกิดตามด้วย" และ "เสมอๆ" (กรณีProbability) หรือ "ทุกครั้ง" (กรณีDeterministic)  ไม่ค่อยเกี่ยวกับ "กระบวนความคิด" ครับ 

ส่วนคำ "เหตุผล" นั้นเป็น "รูปแบบของกระบวนการคิด"  ซึ่งเป็นความเร้นลับที่นัก Logic เขาค้นพบ  คือ พบว่า  ประโยคที่เราเปล่งออกมานั้นที่แท้มีลักษณะของ "เหตุผล"ซ่อนอยู่  เช่น เราพูดว่า

"ยุงเยอะจัง --  อ้อ มันหน้าฝนนี่นา"

ประพจน์ที่อยู่เบื้องหลังคงเป็นว่า

"น้ำเน่า ทำให้ยุงชุม"

"หน้านี้ฝนตกชุก มีน้ำขัง และเน่า"

"ดังนั้น  ยุงจึงชุม"

แต่เวลาพูด เรามักจะจะละเอาไว้

การที่เรื่องเป็นดังนี้จึงทำให้นักปรัชญาบางคนสรุปว่า "มนุษย์ได้ความสามารถด้านคิดเหตุผลมาแต่เกิด"  และ "นิยามมนุษย์"ว่า "คือสัตว์เหตุผล"  ซึ่งหลายคนเชื่อ  และหลงไหล ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดนี้ก็มี  เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากครับ  อาจจะเป็น เพราะว่า "เราสอนให้ลูกหลานของเรามีค่านิยมแบบท่องจำกันโดยไม่ต้องคิด"ก็ได้

รู้สึกดีใจที่ท่านเข้ามาเยี่ยม และสนทนาด้วยครับ 

ถ้าส่วนใหญ่เราชอบคิดตามกรอบที่เป็นแบบแผน   จนไม่สามารถที่จะหาทางเลือกหรือแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

ทำอย่างไรเราจึงจะหลุดจากวงจรนี้ได้ละคะ 

ในเมื่อ มันก็จะเป็นความเสี่ยงชนิดนึง

หรือเราจะอนุญาตให้มีความเสี่ยงได้ไม่เกินสัก 10%

เพราะ ถ้าเสี่ยงไป มักได้ผล ที่ไม่ดีตามคิดค่ะ

พระคุณเจ้า

C1 U C2 --->E1

U =  "C1 และ C2,"    หรือ     "C1 หรือ C2"

C1 และ C2 ---->E1,

C1 ---->E1,

C2 ---->E1

ครับ

ที่คุณ Sasinanda กล่าวนั้น มีประเด็นสองประเด็น คือ (๑) เราจะหลุดจากวงจร........  (๒) เรื่องของความเสี่ยง

(๑) หลุดจากวงจร  คงหมายถึง หลุดจาก "กรอบ" เก่าๆ  เรื่องนี้  ถ้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมแล้ว  เราควรอย่างยิ่งที่จะอยู่ในกรอบ "ของสังคมของเรา"  แต่ถ้าเกี่ยวกับ "ความคิดด้านปัญญา" แล้ว  เรา"ต้อง"  ทะลุกรอบแหละครับ จึงจะดี  เหตุผลคือ "เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์โผล่ออกมาจากที่ซ่อน"  เช่น

ครูให้เราท่องจำว่า " 2x1=2, 2x2=4, .... "  และเราคิดว่า "ถูกแล้ว, จริงอย่างที่สุดแล้ว, แก้ไขไม่ได้, ต้องจำไว้"  เราก็"ไม่มีโอกาส"พบของใหม่ด้วยตัวเองเลย !!!

แต่ถ้าเด็ก ๑๐ ปี คนหนึ่งบอกครู่ว่า " 2x1=10" (คิดทะลุกรอบ, ไม่ตามหลังผู้ใหญ่, เขาหัวล้านนอกครู, เขาไม่สนใจต่อการอาบน้ำร้อนมาก่อนของครู, ฯลฯ)  เมื่อ ๘๐ ปีมาแล้ว !!! 

แล้ว  เด็กอายุ ๑๐ ปีของเราคนนี้ก็เป็น "อัจฉริยะ"แล้วครับ เพราะนั่นมัน Modern Mathematics คือเลขฐาน ๒ ที่เราเรียนกันในปัจจุบัน !!!

ในกรณีนี้ ควรทะลุกรอบ ครับ 

(๒) กรณีความเสี่ยงนั้น  พวกที่ ค้นคว้าทางบุคลิกภาพเขาพบว่า  มันเป็นกระสวนพฤติกรรมของคนบางพวกครับ  คือ  คนพวกหนึ่ง "ชอบเสี่ยง" คนพวกนี้จะตัดสินใจโผงผางโครมคราม คนกลุ่มนี้จะพบมากในกลุ่ม "นักธุรกิจ"  อีกพวกหนึ่งเป็นพวก "ช้าๆได้พร้าเล่มงาม"  พวกนี้จะพบในกลุ่มข้าราชการ, นักกีฬากอล์ฟ, ไม่ชอบเสี่ยง ฯลฯ 

ถ้าถามว่าอย่างไหนดีกว่า  ต้องแล้วแต่โอกาส  ถ้าไฟกำลังไหม้บ้าน  เราจะช้าๆได้พร้าเล่มงามไม่ได้,  แต่ถ้าจะเจาะบ่อน้ำมัน ก็ช้าๆได้พร้าเล่มงามจะเหมาะกว่า ฯลฯ

เรื่องเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยนั้น  ท่านว่า"ถ้าเสี่ยงมากย่อมได้กำไรงามกว่าเสี่ยงน้อยหรือไม่เสี่ยง หรือไม่ก็เจ้งไปเลย " ครับ

นานๆคุยเรื่องนี้ที ก็สนุกดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท