1. ความเป็นมาของโครงการย่อยชุดที่ 4 (D): โครงการประเมินความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศต่อรัฐไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองสิทธิในสุขภาพหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ 2. ระเบียบวิธีวิจัย · เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย · วิธีการศึกษาวิจัย · ผลที่คาดว่าจะได้จากการศึกษาวิจัย 3. แนวคิดพื้นฐานที่ปรากฏในการศึกษาวิจัย · “สิทธิในสุขภาพ” และ “สิทธิในหลักประกันสุขภาพ” · “ประชาคมระหว่างประเทศ” กับ “ความคาดหวัง” · ตารางแสดงประเด็นแห่งสิทธิและผู้ทรงสิทธิในพื้นที่ของการศึกษาวิจัย · “รัฐไทย” กับ “ความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศในสิทธิในสุขภาพและสิทธิในหลักประกันสุขภาพ” 4. ข้อค้นพบในการศึกษาวิจัย · ข้อค้นพบที่ 1: “แนวคิดและหลักการ ในการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิในสุขภาพ ในกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ” · ข้อค้นพบที่ 2: “การดำเนินการของรัฐไทย ในการดำเนินการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิในสุขภาพ ตามกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ” · ข้อค้นพบที่ 3: “การดำเนินการของรัฐภาคี ในการดำเนินการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิในสุขภาพ ตามกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ” · ข้อค้นพบที่ 4: “ความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศต่อรัฐไทย ในการดำเนินการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิในสุขภาพ ตามกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ” 5. บทสรุป 6. บรรณานุกรม 7. ภาคผนวก · บทบัญญัติตามกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ว่าด้วยการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิในสุขภาพ
เตือนคะ
ข้าพเจ้าก็พยายามเล่นคำอีกแล้วพี่ด๋าว.. ไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดความไม่เข้าใจรึเปล่า..
เตือนพยายามนึกอยู่นานว่าจะใช้คำอะไรแทน "โจทย์วิจัย" ก็เลยนึกไปว่า (ไม่รู้ว่านึกถูกไหม) โจทย์วิจัยก็ คือ ประเด็นที่เป็นปัญหาที่งานวิจัยต้องหาคำตอบให้ได้ ก็เลยตั้งเป็น บทที่ 3 ว่าด้วย "ปัญหาที่ทำให้เกิดงานวิจัย" ซึ่งก็คือ การไปดูว่าอะไรบ้าง คือ ความคาดหวังฯ อะไรทำนองเนี่ยค่ะ ได้ไหมอ่ะคะ มันจะแหกคอกเกินไปไหมจ๊ะ
ส่วนเรื่องคำว่า "ความคาดหวัง" เตือนตั้งใจจะไปอธิบายในบทที่ 3 นี่แหละค่ะ ว่าความคาดหวัง คือ อะไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรเป็นความคาดหวัง
แล้วก็ขอบคุณนะคะที่เตือนเรื่องว่าต้องอธิบายคำว่า "สิทธิในหลักประกันสุขภาพ" ด้วย เกือบลืมแน่ะ