"ความฝัน" ต่างกับ "โครงการ" อย่างไร


ทำโครงการ ต้องมีการเปลียนแปลง และต้องเป็นการทำสิ่งที่ไม่ใช่งานปกติที่ทำอยู่

เมื่อวันศุกร์ที่ ๑ ก.พ. ที่ผ่านมานี้
ครูเต่าได้เป็นเจ้าภาพจัดอบรมเรื่อง "การเขียนโครงการ" ขึ้น
ที่ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น ๔ อาคารประถมปลาย

เป้าหมาย : เขียนโครงการง่ายและสนุกกว่าที่คิด

“ความฝัน” กับ “โครงการ” ต่างกันอย่างไร
เป็นคำถามแรกที่แม่ต้นถาม
คณะครูช่วยกันตอบ สรุปว่า การเขียนโครงการ คือ การเขียนความฝันให้เป็นความจริง โดยบอกได้ว่าใครจะทำอะไร เห็นผลอย่างไรที่ “วัด” ได้

ทำไมต้องทำโครงการ
ต้องเอาให้ชัดว่า “จะทำไปทำไม” ปักธงหลักไว้ แล้วค่อยมีธงย่อยๆ ตามมาทีหลัง
เช่น จะสร้างบ้านเพื่อ “ขาย” หรือ สร้างเพื่อ “อยู่”ถ้าจะสร้างเพื่อขาย แต่ขายไม่ได้ หรือ สร้างเพื่ออยู่ แต่อยู่แล้วไม่สบาย
ก็ไม่นับว่าประสบความสำเร็จ

การทำงานต้องคิดว่า จะเกิดผลอะไร ที่จะต้องวัดผลนั้นได้ ต้องคิดให้โยงกันทั้งหมด

 ตัวอย่างโครงการ “ส่งนักเรียนแข่งขันรักบี้”
วันเสาร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
สถานที่
โรงเรียนบางกอกพัฒนา

คิดก่อนเขียน
การเขียนโครงการเป็นเรื่องของการทำให้เข้าใจ และได้รับการอนุมัติ

เรามักจะนึกว่า “เราจะทำอะไร” แต่มักลืมว่า “เราจะได้อะไร”

เรามักสับสน “ขั้นตอน” กับ “กิจกรรม”
ต้องคิด “กิจกรรม” ให้ตอบโจทย์เป้าหมาย

และสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือ ใครทำอะไร
เราจะทำงานเป็นทีม เราจะไม่ปล่อยให้ใครไปเผชิญชะตากรรมคนเดียว

เริ่มด้วยการคิดให้เชื่อมโยง ยังไม่ต้องห่วงเรื่องการเขียน
Chart ที่เห็น อาจดูไม่เป็นระเบียบ เป็นการพยายามเชื่อมโยงความคิดทั้งหมดให้เห็นภาพรวม


ลงมือเขียนโครงการ

กำหนดเป้าหมายใหญ่ – ย่อย
o สร้างกิจกรรมให้ตอบโจทย์เป้าหมายข้างบน
o คิดกิจกรรมเป็นก้อนใหญ่ก่อนแล้วค่อยลงส่วนย่อย
o มีหัวหน้า ผู้ช่วย ทีมงาน
o เชื่อมโยงปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
- งบประมาณ
- อุปกรณ์
- ยานพาหนะ
- ฯลฯ

การทำโครงการ “ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง”
การทำโครงการ “ต้องทำให้พิเศษกว่าปกติ”

เราจะรู้ว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ได้ผลเป็นอย่างไร ด้วยการประเมินและวัดผล 

ประเมินผล เพื่อให้รู้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ก่อน ต้องรู้ว่าครูเป็นอย่างไร นักเรียนเป็นอย่างไร ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นอย่างไร

ระหว่าง
- กระบวนการทำงาน ราบรื่นดีไหม
- คน ที่เกี่ยวข้องยังมีความสุขอยู่ดีไหม ถ้าทำแล้วทุกข์ต้องรีบปรับ
- ทรัพยากร ใช้ไปเป็นอย่างไร ไม่ใช่ทำไปไม่เท่าไรงบหมด ของหมดแล้ว อย่างนี้ใช้ไม่ได้

หลังเสร็จโครงการ
- ประเมินทันที
- ประเมินเป็นระยะ เพื่อดูผลต่อเนื่อง

จบการอบรมครั้งที่ ๑

หัวข้อการอบรมครั้งต่อไป

การวางลำดับขั้นตอนและวิธีการทำงาน
o การเขียนผังการทำงาน (Flowchart)
o การลงตารางเวลา (Time Schedule)

การนำเสนอและการประชาสัมพันธ์โครงการ
o การจับและนำเสนอประเด็นสำคัญ
o การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น เช่น การทำโปสเตอร์เองแบบง่ายๆ การเขียนคำเชิญชวนให้น่าสนใจ การประกาศทางกระดานข่าว ฯลฯ 

การทำโครงการ “ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง”
การทำโครงการ “ต้องทำให้พิเศษกว่าปกติ”

เราจะรู้ว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ได้ผลเป็นอย่างไร ด้วยการประเมินและวัดผล

ประเมินผล เพื่อให้รู้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ก่อน ต้องรู้ว่าครูเป็นอย่างไร นักเรียนเป็นอย่างไร ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นอย่างไร

ระหว่าง
- กระบวนการทำงาน ราบรื่นดีไหม
- คน ที่เกี่ยวข้องยังมีความสุขอยู่ดีไหม ถ้าทำแล้วทุกข์ต้องรีบปรับ
- ทรัพยากร ใช้ไปเป็นอย่างไร ไม่ใช่ทำไปไม่เท่าไรงบหมด ของหมดแล้ว อย่างนี้ใช้ไม่ได้

หลังเสร็จโครงการ
- ประเมินทันที
- ประเมินเป็นระยะ เพื่อดูผลต่อเนื่อง

จบการอบรมครั้งที่ ๑

หมายเลขบันทึก: 165508เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 05:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เข้าใจแล้วค่ะ  โครงการที่ดี  ต้องเริ่มต้นจากการคิด
  • และจบด้วยการประเมินค่ะ..

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท