ประสบการณ์ ( แนะนำ ) การเดินทางและแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนช่วงเทศกาล


สบาย สบาย ผ่อนคลาย วันพักผ่อน

  ประสบการณ์ ( แนะนำ ) ขับรถขึ้นเขา  ทะเลหมอก และ แหล่งท่องเที่ยว

   ช่วงรอยต่อระหว่าง ปี 50 -  ปี 51   เป็นวันหยุดยาวได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่(  พ่อ แม่ ของภรรยา )ที่ อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์   โดยปกติทุกครั้งที่มาเที่ยว ด้วยบรรยากาศที่บ้านเป็นสถานที่น่าอยู่มักจะพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ไม่เคยออกไปเที่ยวที่ใหน แต่สำหรับปีนี้พิเศษกว่าทุกปี เพราะมีเพื่อนรุ่นน้องไปเที่ยวด้วย จึงนั่งคุยกันและวางโปรแกรมการเดินทางและท่องเที่ยว   ตั้งโปรเจ็คนี้ว่า    "  หลบเมืองให้ไกลไปสูด กลิ่น ไอ ธรรมชาติบนเขาค้อ "    

 

     ประสบการณ์ ( แบ่งปัน ) 1  ขับรถขึ้นเขา  

               ถึงจะมีประสบการณ์ในการขับรถขึ้นเขามาหลายต่อหลายครั้ง และทางขึ้น "เขาค้อ"   ก็ไม่ชันเท่าใหร่  แต่เพื่อความไม่ประมาท " ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมร่างกาย   เตรียมรถ  "  ให้พร้อม  เพราะอุบัติเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ถ้าเราประมาท  จึงขอนำเสนอเทคนิคการขับรถ ( เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งบางท่านอาจทราบแล้ว ) มาฝากกันครับ.......

 

 

          " ขับขึ้นเขา "      

                    ขึ้นและลงเขาใช้เกียร์ต่ำเท่านั้น  

          " ขับขึ้นเขา "     

                   ขณะขับขึ้นเนินเขา จงมั่นใจในตัวท่านเองและรถของท่านเอง ถ้าขึ้นทางชันมาก ห้ามถอนคันเร่ง   แต่ถ้าเครื่องจะดับ ให้รีบเปลี่ยนเกียร์ให้ต่ำกว่าที่ขับอยู๋และเร่งเครื่องขึ้นทันที  อย่าให้เครื่องดับเหยียบคันเร่งไว้ตลอดเวลา

          " ขับขึ้นเขา "    

            ธรรมชาติของสันเขาและรูปแบบการสร้างถนน  เมื่อมีลงเนินเขา ให้เราสันณิษฐานไว้เลยว่าข้างหน้าต้องมีขึ้นเนินอีกแน่ ๆ เพราะฉะนั้นเมื่อไกล้ถึงจุดต่ำสุดของเนินให้เร่งเครื่องเพื่อส่งแรงขึ้นเนินข้างหน้า.. อย่าลืม..

         " ขับขึ้นเขา "    

          ธรรมชาติของสันเขาและรูปแบบการสร้างถนน  ( อีกนั่นแหละ) ขณะที่ขับขึ้นไก้ล ๆ จุดสูงสุดของเนินแต่ละเนิน  จงตั้งใจ ระวัง และรอบคอบ เพราะส่วนใหญ่ จะเป็นทางโค้งหรือเลี้ยว บางจุดเป็นโค้งหักศอก หรือ ไกล้เคียงกับ ยู เทอร์น  ก็มี   ให้บอกตัวเองเสมอว่ากำลังจะมีรถสวนมาขณะเข้าโค้ง    เพราะฉะนั้น  "ห้ามขับรถออกนอกเลนส์ตัวเองเด็ดขาด "

        "  ขับลงเขา "    

         บางคนคิดว่าการขับรถลงเขานั้นขับง่ายกว่าการขับขึ้น   "แค่ปลดเกียร์ว่าง ปล่อยให้รถไหลลงเอง แล้วใช้เบรคช่วยอย่างเดียวก็ได้แล้ว " เป็นความคิดที่ผิดถนัด ประมาทอย่างยิ่ง และ  อันตรายอย่างมาก   เพราะถ้าทำอย่างนั้นท่านจะเอารถไม่อยู่ แรงเฉื่อยจากตัวรถ  แรงส่งจากเนินเขา  ใช้เบรคอย่างเดียวท่านจะควบคุมรถไม่ได้  เบรครถของท่านอาจใหม้  และอาจส่งผลเสียที่ท่านไม่อยากให้เกิดตามมาก็ได้     ควรขับลงโดยใช้เกียร์ต่ำ เพื่อให้แรงทดจากรอบเครื่องยนต์ของเกียร์ที่ใช้ฉุดไม่ให้รถ มีความเร็วมากเกินไปและใช้เบรคร่วมด้วย จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมรถ และ ปลอดภัยกว่าอย่างมาก

 

      ประสบการณ์ (  แบ่งปัน )  2    

ทะเลหมอกบนยอด  "เขาค้อ"

         เมื่อขึ้นมาถึงยอดเขา  มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย  ผู้เขียนตระเวณไปเที่ยวและแวะสักการะสิ่งศักสิทธิ์ไปเรื่อย ๆ     จนบ่ายแก่ ๆ จึงเริ่มขับตระเวณหาจุดกางเต็นที่เหมาะสมและสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้ชัดที่สุด    หาอยู่นานในที่สุดก็ได้ที่ที่ต้องการ จัดแจงกางเต็น ตามตำแหน่งที่ต้องการ  หวังอย่างยิ่งว่าพรุ่งนี้ได้ดูทะเลหมอกสมใจอยากแน่ ๆ  แต่มีเหตุการณ์บางอย่างก็ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลง  เช้ามาไม่มีทะเลหมอกมีแต่สายลมกับแสงอาทิตย์

          การดูทะเลทะเลหมอก  ( น่าจะเป็นเหมือนกันทุกที่นะ )  ถ้าไม่อยากผิดหวังให้เตรียมใจไว้ว่า  " อาจจะไม่มีทะเลหมอกก็ได้ "    ขึ้นอยู๋กับสภาพอากาศด้วย สภาพอากาศที่เป็นจุดสังเกต   นิดเดียว    ถ้าช่วงหัวค่ำมีลมแรงพรุ่งนี้เช้าอาจจะไม่มีหมอก แต่ก็ไม่แน่เสมอไป ต้องสังเกตช่วงหลังจาก 24  นาฬิกา  เป็นต้นไป ขณะที่นอนอยู่ถ้ามีเสียงลมพัด ลมตีผ้าต็น คุณ...ทำใจได้เลย  100 เปอร์เซ็นต์ ตอนเช้าไม่มีหมอกแน่ ๆ เพราะลมพัดเอาไปหมดแล้ว

          แต่ก็ไม่ผิดหวังทั้งหมด ตื่นแต่เช้า ดูพระอาทิตย์ขึ้น เห็นแสงสีทองเรือง ๆ ส่องขึ้นมาจากขอบฟ้า สัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่กำลังจะเข้ามา ลมที่พัดมาเอื่อย  ๆ  เย็นสบาย  ได้สูดอากาศบริสุทธิ์อย่างเต็มปอด   อืม  ๆ   ๆ    ก็ไม่เลวนักหรอกสำหรับการมาพักผ่อนในครั้งนี้

 

ประสบการณ์( แนะนำ )

แหล่งท่องเที่ยวช่วงขากลับ เริ่มจาก อ. วิเชียรบุรี ถึง

  กทม.

        บางคนพักผ่อนและสังรรค์อยู่ที่บ้าน จนวินาทีสุดท้าย ถ้าญาติไม่ไล่ให้กลับก็ไม่กลับ   บางคนถึงขนาดถูกแบกขึ้นรถเพื่อส่งกลับ   แต่ถ้าอยากผ่อนคลายจริงๆ ลองหาเวลาสักครึ่งวันเพื่อเดินทางล่วงหน้า และแวะสถานที่ท่องเที่ยวสัก 2 - 3 แห่ง ก่อนถึง กทม. ผู้เขียนเชื่อเลยว่า  การพักผ่อนของท่านจะมีค่าและจะเป็นแรงสริมชั้นดีที่จะช่วยให้ชีวิตการทำงานของท่านมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง

         ถ้าท่านเดินทางตามถนนเส้นหลักจาก อ. วิเชียรบุรี มุ่งสู่ กทม. ลองแวะสถานที่จะแนะนำต่อไปนี้แล้วท่านจะติด ใจ

 

        *   สามแยกวิเชียรบุรี  (จุดขายไก่ย่างวิเชียรอันเลื่องลือ...แวะกินก่อนก็ได้ ) ให้เลี้ยวซ้ายเข้าประมาณ 10 กม.  ตัว อ.วิเชียรบุรี   สักการะ  "ศาลสมเด็จพระนเรศวร"  เพื่อเป็นศิริมงคลกับชีวิต

 

        *   ออกจากศาลไม่ต้องย้อนมาถนนเส้นหลักให้วิ่งไปด้านหลังศาล เป็นถนนขนานกับถนนเส้นหลัก ไป อ.ศรีเทพประมาณ 25 ก.ม.   " อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ "  ชื่นชมกับโบราณสถานอันสวยงาม   สถานที่แห่งนี้ควรนั่งรถรางชมอุทยาน แค่คนละ 10 บาทเท่านั้น  ท่านจะได้ความรู้อย่างเต็มที่จากไกด์นำเที่ยว ได้สัมผัสทุกส่วนของอุทยาน ใช้เวลาประฒษณ 45 นาที  ถ้าเดินเที่ยวเองท่านจะไม่ได้ความรู้และเที่ยวไม่ทั่วถึง จะเสียเวลาเปล่า ๆ 

 

       *   ออกจากอุทยาน  ขับรถเข้าถนนเส้นหลัก เจอป้าย " เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" เลี้ยวซ้ายประมาณ 25- 30  ก.ม.  แวะเดินดูปลาและให้อาหารปลาน้ำจืด  เดินรับบรรยากาศของธรรมชาติ จากแหล่งน้ำ  หรือจะนั่งรถราง ชมแนวสันเขื่อนก็ได้บรรยากาศดี ๆ อีกแบบ   ขับรถออกจากเขื่อนแวะชื้อของฝาก  ปลาน้ำจืด ( ปลาช่อนแดดเดียว ตัวใหญ่เป็นของฝากหรือทานเอง     ..ทอดเองร้อน  ๆ  ทานกับข้าวสวยร้อน ๆ อร่อยมาก .....  ลองแล้ว..ขอแนะนำ ) 

 

      *  ออกจากของฝากข้างทาง เจอกับร้านอาหาร ( ปลาน้ำจืดจากเขื่อน) มากมายจะแวะทานก่อนก็ได้    ถัดมาเรื่อย ๆ แวะถ่ายรูปกับบรรยากาศแสนสวยงาม  ทุ่งทานตะวันบานสะพรั่ง  ทั้ง 2 ข้างทาง ( แล้วแต่ว่าจะเจอไร่ใหนดอกกำลังบาน ในช่วงใหน )    15 บาทสำหรับการเดินเที่นวในไร่และถ่ายรูปเก็บบรรยากาศและความรู้สึกดี ๆ ในวันพักผ่อน

 

        บรรยากาศดี ๆ ความรู้สึกดี ๆ ผ่อนคลาย สบายใจ ให้รางวัลกับชีวิตในวันพักผ่อนของตัวเอง ก่อนที่จะมา ตรากตรำทำงานหาเลี้ยงปากท้องต่อไป

...ถ้าผ่านถนนเส้นนี้อย่าลืมนะครับแล้วท่านจะติดใจไม่รู้ลืม ...

        

หมายเลขบันทึก: 164801เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท