ดร.กฤษฎา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

การจัดการสินเชื่อ


มาตรการ 30 %

วันนี้จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรี  เรื่องหนึ่งที่อยู่ในวาระคือมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท

ในการแก้ปัญหาค่าเงินบาทในปี  2550  ด้วยการไม่เอาเงินเย็น  (COOL  MONEY)  คือเงินกู้ยืมของรัฐวิสาหกิจ  เงินลงทุนของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์  และเงินออมของประชาชนไปสู้  แต่ใช้วิธีไล่เงินร้อน  (HOT  MONEY)  ออกไปด้วยมาตรการ  30 %  จากกำไรในส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราภาษีจากกำไรของนิติบุคคล  ถือเป็นนวัตกรรมทางการเงินใช่หรือไม่  ทุนสำรองไม่ขาดทุนจนบักโกรกเหมือน  10  ปีก่อนจริงหรือ  และการที่ไม่ต้องมีคนรับผิดชอบเหมือนคุณเริงชัย  เพียงคนเดียวนั้น  ดีต่อการบริหารงานของธนาคารแห่งประเทศไทย  ถือเป็นสิ่งที่ดำเนินงานมาถูกทางแล้วหรือ  รวมถึงการใช้มาตรการนี้ไม่ทำให้พ่อค้าส่งออกปิดโรงงานได้จริงหรือ    

หมายเลขบันทึก: 164795เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

(ต่อค่ะ)

3.2 พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์อย่างบูรณาการ ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาด้านโลจิสติกส์อย่างจริงจัง

3.3 พัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยเชื่อมโยงการขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง เช่น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโลจิสติกส์

3.4 พัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้มีความสมบูรณ์ และรถไฟชานเมืองให้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสาธารณะอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว ในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งขยายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนไปยังเมืองหลักในภูมิภาค

3.5 พัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเส้นทางที่มีปริมาณการขนส่งหนาแน่น และพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงฐานการผลิตในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ปรับปรุงบูรณะทาง รวมทั้งพัฒนาการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และลดต้นทุนการขนส่ง

3.6 พัฒนาโครงข่ายทางหลวงสายประธาน สายหลัก และโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ให้เชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาคและเส้นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะโครงข่ายรถไฟ รวมทั้งการปรับปรุงทางหลวงและมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งสินค้า

3.7 พัฒนากิจการพาณิชยนาวี และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ โดยเฉพาะการพัฒนาการให้บริการของท่าเรือแหลมฉบังให้มีมาตรฐานเป็นท่าเรือที่ทันสมัยระดับโลก พัฒนาการขนส่งชายฝั่ง และการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำให้มากขึ้น

3.8 พัฒนาและขยายความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานหลักในภูมิภาค ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศได้อย่างเพียงพอในอนาคต พัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน และธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของเอเชีย

3.9 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องด้านการขนส่ง เช่น การต่อเรือ การต่อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า โดยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งด้านการผลิตและการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

3.10 เร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการขนาดใหญ่อย่างจริงจัง ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ และการกำกับดูแลการพัฒนาและการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และมีการแข่งขันที่เป็นธรรม

3.11 พัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคและเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ แนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน และโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย รวมทั้งปรับปรุงระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งสินค้าข้ามแดนในพื้นที่บริเวณชายแดนที่สำคัญ คือ ด่านหนองคาย แม่สอด มุกดาหาร สระแก้ว ด่านสิงขร และช่องเม็ก เป็นต้น

4. นโยบายพลังงาน

4.1 พัฒนาพลังงานให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยจัดหาพลังงานให้เพียงพอ มีเสถียรภาพ ด้วยการเร่งสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานประเภทต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และ เร่งให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในระดับรัฐบาลเพื่อร่วมพัฒนาแหล่งพลังงาน วางแผนพัฒนาไฟฟ้าให้มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการจัดหา ความผันผวนทางด้านราคา และลดต้นทุน การผลิต ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กและโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า

4.2 ดำเนินการให้นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ โดยสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวมวล เช่น แก๊สโซฮอล์ (อี 10 อี 20 และอี 85) ไบโอดีเซล ขยะ และมูลสัตว์ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดภาวะมลพิษ และเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรโดยสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชน หมู่บ้าน ภายใต้มาตรการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งให้มากขึ้น โดยขยายระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

4.3 กำกับดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมีเสถียรภาพ และเป็นธรรมต่อประชาชน โดยกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงที่เหมาะสม และเอื้อต่อการพัฒนาพืชพลังงาน รวมทั้งสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุด และบริหารจัดการผ่านกลไกตลาดและกองทุนน้ำมัน เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด และส่งเสริมการแข่งขันและการลงทุนในธุรกิจพลังงาน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัย

4.4 ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน ทั้งในภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม บริการ และขนส่ง โดยรณรงค์ให้เกิดวินัยและสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน และสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และมาตรการสนับสนุนให้ครัวเรือนลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด รวมทั้งการวิจัยพัฒนาและกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการขนส่งระบบราง เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถชะลอการลงทุนด้านการจัดหาพลังงานของประเทศ

4.5 ส่งเสริมการจัดหาและการใช้พลังงานที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดโครงการกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

5. นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5.1 พัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างทั่วถึงและสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ รวมทั้งพัฒนาบริการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อรองรับความต้องการของภาคธุรกิจ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการให้บริการภาครัฐ บริการศึกษา บริการสาธารณสุข และโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

5.2 พัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค

นโยบายการเงิน รัฐบาลอดีตนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นโยบายทางการเงินที่ใช้สำหรับควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจในระบบเศรษฐกิจของประเทศมีดังนี้

1. การซื้อขายหลักทรัพย์ ธนาคารจะต้องกระทำโดยเปิดเผย คือ มีการบอกกล่าวให้ประชาชนทั่วไปทราบ ซึ่งการซื้อขายหลักทรัพย์โดยธนาคารกลางนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณเงินที่หมุน เวียนอยู่ในประเทศ กล่าวคือ ถ้าธนาคารกลางนำหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ออกขายให้ประชาชน การที่ประชาชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล นั่นก็คือปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะลดน้อยลงมีผลทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงิน สูงขึ้น ในทาง ตรงกันข้าม เช่น ในกรณีที่เกิดภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบมีน้อย การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายการเงิน คือ การที่ธนาคารกลางรับซื้อหลักทรัพย์คืนจากเอกชน ปริมาณเงินค่าหลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางจ่ายให้กับเอกชน ก็จะดำเนินการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ซึ่งผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง

2. การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตาม กฎหมาย อัตราเงินสำรองในกฎหมายในที่นี้หมายถึง อัตราเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการ ดำเนินธุรกิจ โดยจะต้องนำเงินสำรองนี้ไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยตามอัตราที่กฎหมาย กำหนด เมื่อธนาคารกลางต้องการจะเพิ่มปริมาณเงินระบบเศรษฐกิจก็ใช้นโยบายการเงินโดย เปลี่ยนแปลงอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการให้ปริมาณเงินในระบบลดลงเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ธนาคารกลางก็จะกำหนดเพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย นั่นก็คือ ธนาคารพาณิชย์ จะมีปริมาณเงินที่จะปล่อยให้เอกชนกู้ได้ลดลง มีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในมือเอกชนน้อยลงและผลของอัตราดอกเบี้ยที่ เพิ่มขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด ตั๋วสัญญาใช้เงินหรืออัตราดอกเบี้ยธนาคารกลาง อัตรารับช่วงซื้อลดนี้หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากผู้นำตั๋วสัญญามาใช้ เงินมาขาย เมื่อธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินลง จะทำให้มีเอกชนต้องการจะกู้เงินมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้โดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินจากเอกชนทั่วไป และนำมาขายช่วงลดให้กับธนาคารกลางอีกทีหนึ่ง มีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในตลาดก็จะมีแนวโน้มลง ถ้าธนาคารต้องการให้เกิดผลตรงกันข้ามก็จะใช้วิธีเพิ่มอัตรา (ดอกเบี้ย) รับ ช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินแทน ในทำนองเดียวกัน การที่ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการกู้เงินเพื่อมาปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชน ทั่วไปมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงในที่สุด ผลที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับการเปลี่ยน แปลงในอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของนโยบายการเงินดังกล่าวแล้ว ต่อไปเมื่อธนาคารกลางมีการใช้นโยบายการเงินอย่างไรเราก็จะสามารถทราบภาวะความเป็นไปของระบบการเงินภายในประเทศได้ และสามารถจะนำความรู้มาใช้เพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจเพื่อ ลดอัตราเสี่ยงลงได้

บทบาทของนโยบายการคลัง

บทบาทของนโยบายการคลังมีที่โดดเด่นมี 3 ประการ คือ

1. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้น เมื่อใดที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาขึ้น รัฐบาลก็จะเข้ามาแก้ไขโดยการใช้นโยบายการคลังและการเงินตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในประเทศ ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่มี ประสิทธิภาพ และการออมเงินของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังโดยการเก็บภาษีเพิ่ม เช่นภาษีเงินได้ และภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และต่อระดับราคาสินค้า

2. การจัดสรรทรัพยากรของประเทศ (Allocation of Resource)

เนื่องจากทรัพยากรหรือปัจจัยในการผลิตของ ประเทศมีจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการหรือบทบาทในการจัดสรร แบ่งปันทรัพยากรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการ ของประชาชน สินค้าและบริการนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

- สินค้าและบริการสาธารณูปโภค คือ สินค้าที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะอุปโภคบริโภคได้ เป็นสินค้าบริการสาธารณะ สินค้าประเภทนี้มักจะผลิตหรือดำเนินการโดยรัฐ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ น้ำประปา การรถไฟ เป็นต้น หรือเป็นธุรกิจประเภทที่มีผลทางสังคมโดยส่วนรวม เช่น การสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น โดยรัฐอาจจะทำเองหรือส่งเสริมให้เอกชนทำโดยให้การอุดหนุน (Subsidize) ก็ได้

- สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ส่วนใหญ่จะผลิตโดยผู้ประกอบการเอกชนทั่วไป ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า รถ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. การกระจายรายได้

จุดมุ่งหมายในการกระจายรายได้ของรัฐบาลก็คือ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะประชาชนในสังคมยังมีโอกาสและความสามารถไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงใช้นโยบายการคลัง โดยการเก็บภาษีจากประชาชนทั่วไปที่มีความสามารถเสียภาษี และกระจายรายได้ไปให้กับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กจรจัด และคนสูงอายุ ตัวอย่างเช่น จัดสร้างที่พักพิงสำหรับเด็กร่อนเร่จรจัด คนสูงอายุ จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนพิการฟรีหรือในอัตราต่ำ จัดตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น

http://kamonthipvar.exteen.com/20090817/entry

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท