ความงามกับภาษา


ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความงามที่สามารถสัมผัสได้ด้วยการฟัง

ความงามกับภาษา

ความงาม  คือ คุณสมบัติที่ทำให้  ผู้ได้เห็น  ได้ยิน  ได้สัมผัสเกิดความชื่นชมยินดี  ติดตรึงใจ เช่นความงามของธรรมชาติต่างๆ  ความงามของศิลปกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น งานจิตรกรรม  งานประติมากรรม  ส่วนงานวรรณกรรม คืองานที่กวีสร้างสรรค์ขึ้นโดยเลือกใช้ถ้อยคำที่ไพเราะเรียบเรียงเป็นบทร้อยแก้วหรือร้อยกรอง  ซึ่งสามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการและอารมณ์คล้อยตาม

หลักในการสร้างสรรค์วรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรอง

มี 3 ประการ

1. การสรรคำ คือ การเลือกคำให้เหมาะแก่บริบท  เนื้อเรื่อง ใช้โวหารในวรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว  และร้อยกรองใช้คำ และสำนวนต่างๆ ในการเรียงร้อยได้อย่างประณีตงดงามตรงตามที่ต้องการทั้งความหมาย  แความเหมาะสมในเนื้อหาสาระ

2. การเรียบเรียงคำ คือ การนำคำที่เลือกสรรแล้วมาเรียบเรียงกันอย่างไพเราะสละสลวย  ถูกต้องตามหลักโครงสร้างของภาษา เช่น บทร้อยกรองก้ต้องถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ชนิดนั้น

3. การใช้โวหาร  คือ การเรียบเรียงข้อความ  โดยใช้ภาษาพุดและภาษาเขียนให้แปลกไปจากการใช้ปกติ ก่อให้เกิดอารมณ์ร่วมหรือคล้อยตาม  เห็นภาพพจน์โดยใช้สำนวนภาษา  อุปมาในการเปรียบเทียบ  ทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 164515เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2008 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สัตย์-สัจ-สัต-สัตว์นั้น ใดหรือ
สัตย์ซื่อความจริงคือ สัจแท้
สัตสัทน่านับถือ สัตต์สื่อ เจ๊ดนา
สัดนี่เหมาะสัตว์แล้ สัสส์ข้าว สัชฌ์เงิน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท