คำสัมภาษณ์ : เกลือสินเธาว์จากบ่อเกลือพันปี


บ่อเกลือพันปี ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

         หลังจากหายเหน็ดเหนี่อยจากการเก็บข้อมูลภูมิปัญญา จังหวัดพิษณุโลก นานพอสมควร ว่างจากการจัดทำข้อมูลที่ลงเก็บ เรื่องราว จากบันทึกที่ผ่านมาแล้ว  อยาก ไปเก็บข้อมูลบ่อ เกลือสินเธาว์ ที่บ่อเกลือพันปี

จากนั้นผู้เขียนได้พบและสัมภาษณ์  คุณป้า หย่อน จันทร์ทุน อายุ 67 ปี อยู่ที่หมู่ 1 ต.บ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก  ถึงวิธีการทำเกลือ ของที่นี่ เริ่มจาก

เรื่องของวัสดุ / อุปกรณ์             1. น้ำเกลือจากบ่อพันปี 2.เปลือกไม้สะแข่

                           อุปกรณ์การต้ม 1. กะทะ ใบบัว 2.พาย สำหรับคน 3.บากสำหรับใส่เกลือ  สานมาจากไม้ไผ่

                  จากการสัมภาษณ์ ได้วิเคราะห็ข้อมูล ดังนี้ค่ะ

             วิธีการ / การบริหารจัดการ :  ก็คือชาวบ้านจะไปตักน้ำเกลือจาก บ่อเดียวกัน คือที่บ่อพันปี น้ำเกลือจะมีให้ตักได้ตลอดปี พอเพียงสำหรับ คนในหมู่บ้าน โดยชาวบ้านจะปฏิบัติตน ด้วยความเคารพ ไม่ใส่หมวก รองเท้า ไปบริเวณบ่อเกลือพันปี เพราะมีความเชื่อว่า เป็นบ่อที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ท่านเป็นผู้ทำการขุดบ่อเกลือนี้ การตักน้ำ จะใช้กระถางโพงน้ำใส่กระถางหรือปีบ หาบ น้ำเกลือไปต้มในกะทะใบบัว ใส่เปลือกไม้สะแข่ ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไม้มะเขี้ย เพื่อให้เกลือจับตัวเป็นก้อน   ใช้เวลา ในก่รเคี่ยวให้เหือดแห้ง 6-7 ชั่วโมง  เจ้าหน้าที่ สถานีอนามัย จะนำสารไอโอดีน ใส่ เกลือให้   เพื่อให้ได้เกลือที่มีสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลังจากเหลือใช้ในครัวเรือนแล้ว   ชาวบ้านจะใส่ถุง  จำหน่ายริมข้างถนนให้กับคนเดินทาง ผ่านเส้นทางนี้ ด้วยราคา ถุงละ 20 บาท

                การถ่ายทอดความรู้  : เกิดจาก การถ่ายทอดความรู้ จากปู่-ย่า ตา-ยาย ถึง ลูกหลานด้วย วิธีการทำให้ดู  สาธิต บรรยาย ให้ความรู้ ด้านภูมิปัญญาการทำเกลือ   เป็นประโยชน์ในครัวเรือนและประกอบอาชีพ 

                  ซึ่งก่อนหน้านี้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด  ได้เข้ามาพัฒนาสถานที่ที่บ่อเกลือพันปี  ดำเนินการส่งเสริมที่นี่  ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก  ขณะนี้ได้ดำเนินโครงการพัฒนา ฯ สำเร็จลุล่วงไปแล้ว

            คุณค่า :  บ้านบ่อเกลือพันปีชาวบ้านที่นี่ยึดวิถีการดำรงชีวิตแบบดังเดิมของชุมชน เช่น การกิน การอยู่ การใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนการดูแลรักษาบ่อเกลือพันปีของชาวบ้านบ่อโพธิ์ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชาวบ้านในหมู่บ้านจะไม่ขุดบ่อเกลือหลายบ่อ แต่มีเพียงแค่บ่อเดียว และช่วยกันดูแลรักษา แต่ละครัวเรือนจะนำน้ำเกลือในบ่อไปต้มเพื่อเก็บไว้รับประทานส่วนที่เหลือจะนำไปขาย ชาวบ้านที่นี่จะใช้วิธีการตัก และหาบน้ำเหมือนสมัยก่อน ซึ่งไม่ใช้เครื่องสูบน้ำสูบน้ำเกลือขึ้นมา เนื่องจากวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่นี่จะใช้ชีวิตแบบพอเพียง ปัจจุบันยังเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เกิดหลักสูตรท้องถิ่น การทำเกลือสินเธาว์จากบ่อเกลือพันปี เป็นแหล่งการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่ควรศึกษา คงคุณค่าให้เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นตนเอง หวงแหน ทรัพยากรของชุมชน

                 และก่อนหน้า นี้ ผู้เขียนได้ศึกษาวิจัย เรื่องบ่อเกลือ ที่นี่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์  พบว่าบ่อเกลือที่บ้านบ่อโพธิ์แห่งนี้ ไม่มีสารตะกั่ว สารหนู ทองแดง และปรอท เจือปน  นับว่าปลอดภัยในการบริโภคแน่นอน

      จากการศึกษาข้อมูลนี้แล้ว ผู้เขียน ยังอยากเห็น ต้นไม้ที่ขื่อว่า  ไม้มะเขี่ย หรือ ไม้สะแข่ ในผลการวิจัย หรือผู้อ่านท่านใดมีความรู้ ไม้สะแข่ ช่วยบอกผู้เขียน เป็นวิทยาทานให้ผู้เขียนด้วย จะเป็นพระคุณ อย่างยิ่งทีเดียว

 

หมายเลขบันทึก: 164508เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2008 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • ดีจังเลยค่ะ ที่พิษณุโลกมีแหล่งธรรมชาติ ดีๆ และมีการอนุรักษ์ สืบค้น และสืบทอดภูมิปัญญาในการอาศัยบ่อเกลือนี้เพื่อดำรงชีวิต
  • เมื่ออ่านแล้วทำให้้คิดว่า สมัยก่อนนี้ความพอเพียงไม่ต้องสร้างขึ้นเลยเพราะทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น ถ้ามีแหล่งทรัพยากรก็รู้จักใช้เพื่อดำรงชีวิต ไม่ต้องซื้อไม่ต้องแย่งค่อยๆ ใช้ มีก็แบ่งปัน เป็นสังคมที่น่ารักที่สุด
  • อ่านแล้วสงสัยจังค่ะว่า ทำไมพี่ณาถึงสนใจไปหาข้อมูลบ่อเกลือล่ะคะ เผื่อว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง เพราะงานหลักสูตรท้องถิ่นที่เหมี่ยวศึกษาอยู่มีโรงเรียนบ่อโพธิ์เค้าทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง บ่อเกลือพันปี ในเชิงท่องเที่ยวค่ะ เผื่อจะมีข้อมูลที่เราช่วยกันเติมเต็มได้บ้าง

สวัสดีครับ

  • สนใจเกลือสินเธาว์ อยู่พอดีครับ
  • เคยไปนครไทย ผ่านบ่อเกลือพันปี แต่ไม่ได้แวะ
  • ถ้าจะไปคงต้องอ่านงานวิจัยชิ้นนี้ก่อนแน่ๆ เลย
  • ขอบคุณครับ
  • 1. เด็กอยากรู้ น้องเหมี่ยว คะ พี่ยังมีสัญญากับ วช. เก็บรวมรวมภูมิปัญญา จ.พิษณุโลก พัฒนาฐานข้อมูล เป็นมัลติมีเดีย 
  • ดีมากเลยนะจ้ะ   หลักสูตรท้องถิ่น เพิ่ม เติม ถ้าน้องเหมี่ยวจะกรุณาจะช่วยเติมเต็ม กับ สำนักหอสมุด พี่จะยินดี อย่างมาก ขอบคุณอย่างยิ่งนะจ้ะ
  • 2. คุณ ธ.วั ช ชั ย ผ่านไป บ่อโพธิ์  ลองแวะเข้าไปชมนะคะ มีทางรถยนต์ เข้าถึงที่บ่อเกลือ  ยังมีการแสดงอุปกรณ์ใช้กับการทำเกลือ และห้องน้ำให้บริการอีกด้วย 


สวัสดีค่ะ

ป้าแดงว่าป้าแดง เคยไปที่นี่นะคะ แต่นานมากแล้วละค่ะ

ขอบคุณมากเลยที่นำข้อมูลมาให้อ่านค่ะ

  • เพิ่งเคยเห็น
  • เคยเห็นแต่นาเกลือ
  • แบบนี้คนแถวนั้นไม่เค็มแย่หรือครับ
  • อิอิอิ
  • ในชุมชน ในท้องถิ่นมีเรื่องน่าศึกษามากเลยนะครับ
  • แต่ว่าไม่ค่อยมีใครเก็บรวบรวม
  • ดีใจที่ได้ข้อมูลจากพี่นิดครับ
  •  pa_daeng  ป้าแดง ขา ขอบคุณ ป้าแดงมาก มาเยี่ยมเยียน ด้วยความยินดี  ค้า
  •  ขจิต ฝอยทอง ที่นี่ใช้วิธีการต้มให้เหือดแห้ง ก็ ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ทีเดียว ค่ะ  น้องขจิต
  • คนที่นี่ใจดีมาก ไม่เค้มเหมือน น้ำเกลือหรอก   3 ถุง 50 บาทเองจ้ะ
  • ค่ะ ยังมี อีกมากที่น่าศึกษาทีเดียวค่ะ หลักสูตรท้องถิ่น พิษณุโลก ลงไปทำแหล่งการเรียนรู้ของที่นี่ แล้วนะจ้ะ
  • ค่ะ ด้วยความยินดีจ้า

ผมคนนครไทยครับดีใจในบ้านเกิดครับ

สวัสดีครับคุณนิด

ข้อมูลเยี่ยมครับ ขออนุญาตเก็บเข้าคลังความรู้ เอาไว้กลั่นเป็นเรื่องราวของ "เกลือ"ให้น้องออตลงในหนังสือทำมือ (ติดค้างเขามาสองปีแล้ว)
ที่นครไทมีบ่อพันปี ที่มหาสารคามมีบ่อพันขัน ครับ
ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาRDI มข. (ของคนข้างกายพี่บางทราย) เคยทำวิจัยและตีพิมพ์เรื่อง "เกลืออีสาน....)ออกมาเล่มหนึ่งครับ เข้าใจว่าจะมีข้อมูลเรื่องไม้ที่ว่านี้ครับ  

ขอบคุณทุกท่าน ทุกความรู้ นะคะ

อยากทราบว่า หาซื้อได้จากที่ไหนหรอค่ะ พอดีว่าอยู่ในเมืองนะค่ะ แต่อยากได้ ไม่ทราบว่า มาขายแถว ๆ ในเมืองหรือเปล่าค่ะ อย่างไรช่วยรบกวนตอบกลับทางเมลล์ หน่อยได้หรือเปล่าค่ะ ขอบคุณค่ะ

คุณ som เมลล์ ใช้ชื่อไรคะ หาซื้อในเมือง สุวรรณา ยังไม่ทราบทีร้านใหนมี ไว้สุวรรณา ไปสืบเสาะมาบอก คุณsom ละกัน ติดไว้ก่อนนะคะ

บ้านผมเองครับ

บ่อเกลือพันปี

รักบ้านบ่อโพธิ์ ที่สุดค่ะ บ้านเกิดหนูเอง บ่อเกลือพันปี

มุก เด็กบ่อโพธิ์

สวัสดีค่ะน้องมุก ยินดีด้วยนะคะ

บ่อโพธิ์นี่ดีจังเลยนะ ควรอนุรักษ์กันไว้นะค่ะ ขอให้ชาวบ้านรวยทุกคนน๊าจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท