งานเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพ


ฟ.ฟัน


งานเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพ

               "การเฝ้าระวัง หมายถึง การติดตาม สังเกตการเกิดและการกระจายของโรค มีขั้นตอนประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลรวมทั้งการรายงานหรือแจ้งข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคจากข้อมูลที่ได้วิเคราะห์และประเมินผลดังกล่าวเพื่อดำเนินการต่อไปในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ               การเฝ้าระวังทันตสุขภาพ เป็นการติดตามการเกิดโรคในช่องปาก เพื่อให้สามารถตรวจพบโรคหรือความผิดปกติตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก สามารถป้องกันหรือควบคุมได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่โรคจะลุกลามจนยากที่จะแก้ไขได้ การเฝ้าระวังทันตสุขภาพ มีประโยชน์ คือ                1) ทำให้ตรวจพบปัญหาทันตสุขภาพได้ทันที อันจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชน               2) ทำให้มีกระบวนการแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขอย่างจริงจังและเป็นระบบ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากการเฝ้าระวังทันตสุขภาพ ในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะลงมือปฏิบัติงาน รวมทั้งใช้ในการประเมินผลงานได้                3) ทำให้ทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาวะทันตสุขภาพของประชาชน มีข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนการส่งเสริม ป้องกันและรักษาโรคในชุมชน รวมทั้งการวางแผนทางการพัฒนาบุคลากร                4) ช่วยกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัว ทราบถึงความจำเป็นในการดูแลทันตสุขภาพของตนทั้งในด้านการป้องกันและรักษา ทำให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุข3. ระบบการเฝ้าระวังทันตสุขภาพ                ขั้นตอนของการเฝ้าระวังโรคโดยทั่วไป มีองค์ประกอบดังนี้                1) การรวบรวมข้อมูล (collection of Data) โดยการสังเกต ซับถาม ตรวจสอบและบันทึก               2) การเรียบเรียง (Consolidation) เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาจัดให้เป็นหมวดหมู่ ให้เห็นลักษณะของตัวแปรต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น                3) การแปลผล (Interpretation) เป็นการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลตามประเด็นต่างๆ เพื่อแสดงลักษณะของประชากรและลักษณะการกระจายของโรคตามตัวแปรต่างๆ                4) การกระจายข่าวสาร (Dissemination) เป็นการรายงานผลไปให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ต่อไป                การเฝ้าระวังทันตสุขภาพ อาศัยหลักการเดียวกับการเฝ้าระวังโรคอื่นๆ แต่การดำเนินงานมิได้สิ้นสุดที่การกระจายข่าวสาร แต่ยังรวมไปถึงการแก้ไขปัญหาที่วิเคราะห์แล้วอีกด้วย โดยมีการจัดลำดับการแก้ไขปัญหาก่อนหลังตามความรุนแรงและเร่งด่วนของปัญหา และมีการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาออกเป็นระดับต่างๆ ตั้งแต่น้อยไปหามาก คือระดับที่ครอบครัวทำได้ ระดับที่ชุมชนทำได้ และระดับที่ต้องส่งต่อไปยังทันตบุคลากร ระบบการเฝ้าระวังทันตสุขภาพ ควรเป็นระบบง่ายๆ ที่จะให้ชุมชนค้นหาปัญหาและแก้ไขได้เองในขั้นต้นแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ                3.1 ระดับบุคคล (Individual Level)               เป็นการเฝ้าระวังทันตสุขภาพของแต่ละบุคคลด้วยตนเอง ได้แก่ การแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร การใช้ฟลูออไรด์ การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และการตรวจฟันตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รู้สภาพในช่องปาก ซึ่งถ้ามีความผิดปกติเล็กน้อยจะได้ทำการแก้ไขด้วยตนเอง กรณีไม่สามารถแก้ไขได้เองก็จะได้ไปรับการรักษาจากทันตบุคลากร                3.2 ระดับชุมชน (Community Level)                การเฝ้าระวังทันตสุขภาพในระดับชุมชน เริ่มตั้งแต่การสำรวจทันตสุขภาพ เพื่อจะได้ข้อมูลของชุมชนมาจัดหมวดหมู่ตามลักษณะของตัวแปร เช่น อายุ เพศ เป็นต้น แล้วนำมาวิเคราะห์ แปลผลให้เห็นลักษณะของชุมชน ลักษณะการกระจายของโรค แล้วแจ้งข้อมูลให้องค์กรชุมชนทราบและส่งให้ผู้บริหารระดับต่างๆ ให้วางแผนแก้ไขปัญหาตามสาเหตุที่พบและความยากง่ายของปัญหา สุดท้ายควรมีการประเมิลผลโดยการตรวจทันตสุขภาพซ้ำ เพื่อดูว่าทันตสุขภาพของชุมชนดีขึ้นหรือไม่ 4. การเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กประถมศึกษา               การเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา เป็นงานที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) กระทรวงศึกษาธิการ และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันดำเนินงานในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพที่ดี ลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อการศึกษาเล่าเรียน และส่งเสริมให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต                4.1 การจัดระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา               การเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการตรวจหากลุ่มนักเรียนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่อปงาก และหาวิธีป้องกันและควบคุมให้ทันท่วงที กิจกรรมหลักในโรงเรียน ประกอบด้วย               1) การตรวจสุขภาพในช่องปากนักเรียนโดยครูคณะทำงาน เพื่อหาปัญหาตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพ               2) จัดให้มีการสอนทันตสุขศึกษา และการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน                3) ดำเนินงานทันตกรรมป้องกันโดยการใช้สารฟลูออไรด็ในพื้นที่ที่มีปริมาณฟลูออไรด็ในน้ำต่ำ               4) ให้บริการทันตกรรมบำบัดเบื้องต้น การส่งต่อตามระบบ ให้การบำบัดรักษาอย่างเป็นระบบ                ในการตรวจตามระบบเฝ้าระหวัง ครูคณะทำงานจะเป็นผู้ตรวจช่องปากของเด็กตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ เพื่อคัดแยกเด็กออกเป็นกลุ่มๆ แล้วให้การดูแลเด็กตามลักษณะปัญหาภายในช่องปากที่เด็กมีอยู่ ถ้าพบปัญหามากเกินกว่าที่ครูจะแก้ไขได้เอง ก็ส่งต่อให้ทันตบุคลากรเป็นผู้แก้ไขต่อไประบบเฝ้าระวัง               4.2 โรคและสภาวะในช่องปากจะต้องเฝ้าระวัง               1) อนามัยช่องปาก ได้แก่ ความสะอาดในช่องปากของเด็ก การมีช่องปากสกปรกเป็นสาเหตุของการเกิดโรคทั้งโรคเหงือก และโรคฟันผุ ปัญหาเรื่องอนามัยในช่องปากไม่ดี สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ โดยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี                2) โรคฟันผุ เป็นโรคที่มีความชุกสูงในกลุ่มเด็กนักเรียน และก่อให้เกิดความเจ็บปวดรุนแรงเป็นสาเหตุสำคัญของการขาดเรียนในเด็ก ถึงแม้ว่าปัญหาเรื่องโรคฟันผุเมื่อเกิดขึ้นแล้วครูหรือชุมชนจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เองต้องมีการรักษาพยาบาลแต่การเฝ้าระวังโรคนี้จะมีผลทำให้ชุมชนรู้ปัญหาและแสวงหาบริการได้ทันท่วงที

กิจกรรมเฝ้าระวังในอำเภอบ่อเกลือ

                      การตรวจเฝ้าระวังทางทันตสาธารณสุข เป็นการติดตามการเกิดโรคในช่องปากเพื่อให้สามารถตรวจพบโรคหรือความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม  สามารถป้องกันหรือควบคุมได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่โรคจะลุกลามจนยากที่จะแก้ไข ซึ่งงานเฝ้าระวังทางทันตสาธารณสุขเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ที่มุ่งเน้นให้ชุมชนหรือโรงเรียนพึ่งตนเองได้ ทั้งในด้านการค้นหาปัญหาด้วยดัชนีง่ายๆ  การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ                การตรวจเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพ ทำให้ครูหรือผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการสาธารณสุขได้ทราบถึงปัญหาที่รีบด่วนสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อนำไปประกอบการ เตรียมตัววางแผนหรือแก้ไข หรือปรับปรุงตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของโรคที่มีปัญหาหรือถ้าเป็นปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้าจะได้ทำการป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

                งานเฝ้าระวังทางทันตสาธารณสุขในโรงเรียนระดับประถมของอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เป็นงานที่ครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งพบว่ามีปัญหาในการตรวจคือครูผู้ตรวจไม่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจและยังขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการตรวจในช่องปากของนักเรียน ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของข้อมูลที่ได้หรือขาดข้อมูลของการตรวจเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพในโรงเรียนไป ทางฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลบ่อเกลือได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจเฝ้าระวังของครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษาขึ้นเพื่อให้การตรวจเฝ้าระวังในโรงเรียนประถมศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

- กิจกรรม
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของครูในงานตรวจเฝ้าระวังของนักเรียนประถมศึกษา

วัตถุประสงค์

 
1.       เพื่อให้ครูในโรงเรียนประถมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทันตสุขศึกษาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
2.       เพื่อให้ครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสามารถตรวจสุขภาพช่องปากในงานเฝ้าระวังในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง

ภาพกิจกรรม

โรงเรียนบ้านนาคอก (สาขานาบง)
หมายเลขบันทึก: 163960เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประโยชน์ของกานเฝ้าระวังทันตสุขภาพมีอะไรบ้างค่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท