สวนสุนันทา MPA รุ่น 4


                 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้รับเชิญสอนวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์แก่นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตร ...
มีต่อ
นางสาวสถิภรณ์ คำพานิช
ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                                                                                โดย นางสาวสถิภรณ์  คำพานิช นักศึกษา รป.ม.รุ่นที่ 4                               หน่วยงานของภาครัฐ  ได้แก่ กระทรวง  ทบวง  กรม   หรือหน่วยงานภาคเอกชน  ได้แก่  สถาบันทางการเงิน  สถาบันทางการศึกษา  ธนาคารพาณิชย์  บริษัท  ห้างร้านต่างๆ  ย่อมต้องมีการจัดองค์การให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน  โดยการจัดองค์การนั้นจะเป็นในรูปแบบทางการ และไม่เป็นทางการ ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ เช่น ผู้บริหาร ขนาดและโครงสร้างองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและปัจจัยภายนอก  เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร                                ในเรื่องนี้ผู้ศึกษา มีความเห็นว่าสามารถ แบ่งออกเป็น 2 มิติใหญ่ๆ  ดังนี้                                1) มิติที่ 1   ระดับประเทศ                                                    รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบาย  และออกข้อกฎหมายต่างๆ ให้มีผลบังคับใช้กับคนในประเทศ  ดังเช่น  กรมสรรพากร มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี เพื่อเป็นรายได้ของแผ่น  ในการนำเงินดังกล่าวไปบริหารจัดการประเทศ  ได้แก่  ด้านการศึกษา  ด้านสวัสดิการ ด้านสาธารณสุขรวมถึงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก  เช่น โครงการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน  ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้เอง  เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ จำเป็นต้องให้ภาคเอกชน เข้าร่วมดำเนินการ                                 2) มิติที่ 2  ระดับหน่วยงาน                                                    กรมราชทัณฑ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมผู้ต้องขังไม่ให้หลบหนี  และการแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี  เมื่อพ้นโทษแล้วสามารถกลับไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข   ในการบริการจัดการเรือนจำและทัณฑสถานนั้น  เป็นการดำเนินงานภายใต้ข้อกฎหมายหลายฉบับ  ดังเช่น                                                   1)  ด้านการลงทุน   ในการก่อสร้างเรือนจำและทัณฑสถาน  นั้น ต้องมีการประกวดราคา  ซึ่งผู้เข้ามาดำเนินการก็จะเป็นหน่วยงานของภาคเอกชน                                                    2)  ด้านอาหาร   ในการจัดซื้ออาหารผู้ต้องขัง ก็ต้องมีการตกลงราคา หรือประกวดราคา ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับวงเงินตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535                                                   3) ด้านการเงิน   เรือนจำและทัณฑสถาน  ต้องนำเงินสด  ที่ได้มาจากเงินฝากผู้ต้องขัง  เงินที่ได้จากการขายสินค้า  โดยนำเข้าฝากกับธนาคารพาณิชย์ ตามหนังสือสั่งการกระทรวงการคลังกำหนด                                                    4) ด้านการบริหาร  สำนักงาน ก.พ.ร.ร่วมกับบริษัท TRIS  ในการติดตามตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนราชการ  โดยการว่าจ้างบริษัท TRIS จะเข้ามาตรวจสอบผลงานที่กรมราชทัณฑ์  และส่วนราชการอื่นๆ                                                    5) ด้านการฝึกอาชีพ  กรมราชทัณฑ์ สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมา   ลงทุนภายในเรือนจำ  เช่น ผู้ประกอบการนำพลอยมาให้ผู้ต้องขังเจียระไนภายในเรือนจำ  ทั้งนี้  เป็นการเซ็นสัญญาจ้างระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน                                                   6) ด้านการศึกษาอบรม  กรมราชทัณฑ์ ว่าจ้างบุคลากรจ้างหน่วยงานภายนอกมาสอนหนังสือให้กับเจ้าหน้าที่ และผู้ต้องขัง
นางสาวสถิภรณ์ คำพานิช (ตัวแทนกลุ่มที่ 4)
รายงานสรุปบทสัมภาษณ์ท่านอาจารย์พารณ   อิศรเสนา ณ อยุธยา

ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ผู้ร่วมดำเนินการ ประกอบด้วย

1. นางสาวสถิภรณ์   คำพานิช

2. นางสาวอรทัย    บุณยรัตพันธ์

                                3. นางจารุวรรณ ต้นไชย                                4. นางสาวภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน                                5. นางสาวพิมพ์ลดา  โต๊ะเพิ่มพูน                                6. นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์                                7. นางสาวจุไรรัตน์ เปลี่ยขำ                                8. นายสรสิช  ตรีเนตร                                 จากบทสัมภาษณ์ดังกล่าว ทำให้นักศึกษากลุ่มที่ 4 ได้รับทราบว่า  การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น ต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับ   ให้เกียรติทางด้านความคิดเห็นของผู้ร่วมงานทุกคน     สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการทำงาน  การตัดสินใจ  ตลอดจนมีการอบรม พัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ให้ทันต่อยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา  เช่น  การนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการการทำงาน  รวมตลอดถึง  การที่ผู้บริหารระดับสูงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในการทำงาน                                ดังนั้น  เมื่อพิจารณาแล้วสามารถแบ่งหลักแนวคิดของท่านอาจารย์พารณ ฯ  ได้ออกเป็น  3  ด้าน  ดังนี้                                1) ด้านบุคคล                                    1.1 ให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับผู้บริหาร หรือระดับปฏิบัติงาน                                    1.2 ให้บุคลากรทุกคนมีความยึดมั่นในอุดมการณ์ขององค์กร                                      1.3 สนับสนุนให้บุคลากรทุกคน มีความเชื่อมั่นในการทำงาน  และสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคคลภายนอกได้รับทราบด้วย                                    1.4  บุคลากรต้องมีความรักสามัคคี และจงรักภักดีต่อองค์กร                                    1.5  การลงทุนกับคนเป็นเรื่องสำคัญ  เพราะคนต้องมีการเพิ่มความรู้ เพิ่มทักษะ และประสบการณ์การทำงาน จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นบุคคลกรที่มีคุณภาพ  ส่วนการลงทุนในด้านวัสดุอุปกรณ์  เมื่อเวลาผ่านไปจะเสื่อมคุณค่าลง                                2) ด้านการบริหาร                                    2.1 ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน  เพื่อให้การบริหารทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาผู้บริหาร ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ ทั้งในด้านคุณธรรม และจริยธรรม  รวมถึง ในเรื่องของการทำงาน                                    2.2 ต้องมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน   เช่น  คอมพิวเตอร์                                    2.3 ต้องให้บุคลากรยึดมั่นในวัฒธรรมองค์กรในเรื่องของ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเรื่องความโปร่งใสในการทำงานด้วย                                3)  ด้านองค์กร                                     3.1  ในการบริหารงานองค์กรขนาดใหญ่  สิ่งที่สำคัญคือ การติดต่อสื่อสารต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน  เมื่อองค์กรขนาดใหญ่มีสายการบังคับบัญชาที่ยาว จำเป็นยากยิ่งที่ต้องลดสายการบังคับชาลงในสั้น  และต้องมีการมอบอำนาจให้กับบุคคลที่พิจารณาแล้วว่าสามารถทำงานให้กับองค์กรได้                              3.2 องค์กรที่ดีต้องเป็นแบบแนวราบ  เพื่อสะดวกในการบริหารงานและการติดต่อสื่อสาร   ซึ่งจะตรงกันข้ามกับองค์กรแบบแนวดิ่ง                                3.3  การสร้างคนในองค์กรจะต้องสร้างทั้งระบบ มิใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กร
ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา หลังปูเต๊ะ
ความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนนับวันจะมีความจำเป็นที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นทุกขณะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์(Globalization) ที่ต้องมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง  ทั้งจากหน่วยงาน  องค์กร  ภาครัฐ  และเอกชน  ทั้งในระดับประเทศ  และต่างประเทศ  ซึ่งความเชื่อมโยงดังกล่าว  ยิ่งมีความเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์มีการปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงมากเท่าใด  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะได้รับก็จะมากมายมหาศาลเป็นเงาตามตัว  คงต้องยอมรับความจริงที่ว่า  ในปัจจุบันการบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐยังนับว่าด้อย  และยังเป็นรองภาคเอกชนอยู่มากอาทิเช่น  โรงเรียน  วิทยาลัยเป็นต้น  ซึ่งถ้าหากภาครัฐยอมเลือกที่จะใช้นโยบายและระบบการบริหารของภาคเอกชนเข้ามาบูรนาการบ้างก็จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด  และผลลัพธ์ก็จะตกกับประชาชน  และประเทศชาติบ้านเมืองในที่สุด  ขอยกตัวอย่างเช่นการเอ็กปอร์ต  อิมปอร์ต การส่งออก  นำเข้า  หากมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในระบบของศุลกากรให้ดีขึ้นและรัดกุม  สะดวกและรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในอดีตก็จะทำให้ภาคการส่งออกของเราดีขึ้น  ผู้นำเข้าและส่งออกได้รับความสะดวกไม่ต้องอาศัยโบรคเกอร์หรือคนกลางทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นและผลประโยชน์ที่ได้รับก็จะตกกับประเทศชาติบ้านเมืองอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่าที่เป็นมาในอดีต  ซึ่งนั่นหมายถึงเมื่อภาคเอกชนไปไม่ถึงดวงดาวหรือไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควรก็ย่อมส่งผลถึงประเทศชาติ  และประชาชนในที่สุด                ราชการควรทำองค์กรของตนเองให้เหมือนกับภาคเอกชน คือมีความคล่องตัว  ลดทอนสายงาน  หน้าที่ ความรับผิดชอบ  และการตัดสินใจให้แคบลง  และคัดสรรบุคลากรที่มีประสิทธิภาพสูง  แม้จะมีเงินเดือนสูง  แต่ก็คุ้มค่าได้งาน  ไม่ล้าหลังหรือล่าช้า  เรียกว่ายอมเสียเงินจ้างคนดีๆสักคนสองคนดีกว่าจ้างควายสิบตัวที่โง่เขลา                ราชการควรทำตัวให้เหมือนนักบริหารชั้นยอดของภาคเอกชน  ซึ่งได้รับการยอมรับ  ไม่ใช่ผูกติดอยู่กับระบบเจ้าขุนมูลนาย  หรือคลั่งไคล้ในตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ระบบ ซี ซึ่งมิอาจจะล่วงล้ำกันได้  อาทิเช่น  ระบบของผู้ว่าราชการในอดีตซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตนเอง ให้เสมือนผู้จัดการหรือนักบริหารระดับมืออาชีพ  มากกว่าที่จะพยายามทำตัวเป็นเจ้าเมือง  เจ้านายที่ใครๆต่างต้องเข้ามากราบกราน  และมิอาจที่จะแสดงความคิดเห็นหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  แต่ควรจะกระจายอำนาจไปให้ทั่วถึง  โดยเฉพาะการบริหารงานแบบแนวนอนที่ต้องเข้าถึงประชาชน  ซื้อใจผู้คนด้วยพระคุณมิใช่พระเดช                 ระบบราชการในอดีตส่วนใหญ่ปูนบำเหน็จรางวัลโดยอาศัยเครื่องมือวัดจากระยะเวลาของการทำงาน  ระบบอุปถัมภ์  มากกว่าจะวัดกันที่ผลงาน  ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลของเนื้องานที่ออกมาอันมีผลมาจากระบบ หรือวิธีคิดแบบเดิมๆซึ่งตั้งแต่ก้าวแรกของการเข้ามาทำงานก็หนีไม่พ้นระบบอุปถัมภ์อันเปรียบเสมือนวัฒนธรรมดั้งเดิมของระบบราชการไทยนั่นเอง  จริงอยู่แม้ระบบราชการเมื่อมิอาจจะบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้วองค์กรภาครัฐจะไม่เจ๊งทันตาเหมือนภาคเอกชนแต่แม้วันนี้ยังไม่เจ๊งวันข้างหน้าก็ต้องเจ๊งอยู่ดี หากไม่กู้สถานการณ์ด้วยการส่งเสริมความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  หรือมิเช่นนั้นก็ต้องหาวิธีเชิญออกหรือไล่ออกแล้วนำผู้มีความรู้ความสามารถอย่างจริงจังเข้ามาแทน                ระบบราชการจริงอยู่แม้จะไม่มุ่งเน้นที่ผลกำไรเหมือนภาคเอกชน  แต่ระบบราชการก็ต้องมุ่งเน้นที่ความผาสุกของประชาชนซึ่งนับเป็นผลกำไรและความเลอเลิศของทางราชการ  โดยทั้งหลายทั้งปวงควรมีการจัดสรรการทำงาน  ระบบงานที่ดี  มีสวัสดิการ  การประกันสังคมเป็นเลิศผู้บริหารควรมีความตั้งใจ  จริงใจ  รักที่จะทำงาน  รักองค์กร  รักในเสถียรภาพความมั่นคงของประเทศชาติบ้านเมืองมากกว่าสิ่งอื่นใด  ไม่มุ่งเน้นที่จะกอบโกยแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง  ครอบครัว  หรือพวกพ้อง  แม้กฎหมายจะมีช่องโหว่ให้ทำได้ก็ตามขณะเดียวกันภาคเอกชนควรที่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมด้วยเช่นกัน  เสมือนดังเช่นภาครัฐที่วางกฎระเบียบเอาไว้อย่างรัดกุม  อาทิการที่ต้องจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย โดยมิอาจจะหลบเลี่ยงได้อย่างภาคเอกชนที่กำลังฮือฮากันอยู่ดังเช่นทุกวันนี้  หรือผลกำไรที่ภาคเอกชนได้รับก็ควรนำมาแบ่งปันให้กับสังคมอย่างเป็นรูปธรรมในอัตราส่วนที่ควรจะเป็น  แต่จะอย่างไรก็ตามแม้ความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสององค์กรคือทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีการปรับเปลี่ยนหรือบูรนาการกันอย่างไรก็ตาม  จรรยาบรรณของนักบริหารตลอดจนบุคคลากรจะต้องยึดมั่นในเรื่องคุณธรรม  ศีลธรรม  จริยธรรม  ความยุติธรรม  เที่ยงธรรมอย่างเคร่งคัด  อันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าและเสถียรภาพอันนำมาซึ่งความสุขอย่างแท้จริง

ความเห็นของนักศึกษา

 

เปรียบเทียบระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน

 

1.       เอกชนมีความคล่องตัวกว่าราชการ

 

2.       ทั้งภาครัฐและเอกชนมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น การสรรหาบุคลากร  การรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ ฯลฯ

 

3.       เป้าหมายของราชการและเอกชนต่างกันเอกชนเน้นกำไร แต่ราชการไม่เน้นกำไร

  

4.       ทั้งรัฐและเอกชนต้องคำนึงถึงการวางแผนยุทธศาสตร์ให้ไปสู่เป้าหมาย

 

 

5.       ทั้งรัฐและเอกชนคำนึงถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชน แต่ทำกันคนละรูปแบบ

 
ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา หลังปูเต๊ะ (ตัวแทนกลุ่มที่ 1)
1. พระนิธิสิทธิ์                     นอขุนทด2. ดาโต๊ะ  อิหม่ามพัฒนา  หลังปูเต๊ะ3. ด.ต. ณรงค์                        พึ่งพานิช4. พ.ต.หญิงประไพศรี        บุญรอด5. นางนพมาศ                      แก้วแหยม6. นางสาวสุภานุช              นุพงค์7. นางสาวดนิตา                  มูลละออง8. นางดวงตา                        ม่วงเกตุยา9. นายอรุณ                           สุขสมบูรณ์วัฒนา                 สาระสำคัญที่ได้จาการชมวีดีโอสัมภาษณ์คุณพารณ อิศรเสนา  ณ อยุธยา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้  เหนือสิ่งอื่นใด  ในเรื่องของการบริหารองค์กร  จำเป็นต้องยึดมั่นในความศรัทธา  เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทุกๆ คนในองค์กรทั้งจากผู้บริหารที่อยู่ในระดับสูง และระดับล่าง  โดยมีความรัก ความผูกพัน  ความจงรักภักดี  ความสามัคคี  เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความมั่นคงและการสร้างสรรค์ของงาน ผู้บริหารต้องมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในความรู้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา  และการตัดสินใจของเขาได้ในระดับหนึ่ง  ถึงแม้ว่ากลุ่มคนระดับล่างจะมีมาตรฐานดังกล่าวที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งใจ  ก็สามารถฝึกอบรมให้ความรู้และทำให้เขานำพรสวรรค์ในตัวของเขาออกมาทุ่มเทให้กับองค์กรได้  คนไม่เหมือนเครื่องจักรซึ่งเครื่องจักรนั้นนานวันไปมีแต่จะด้อยคุณค่า  ด้อยประสิทธิภาพ  แต่คนยิ่งนานวันไปยิ่งสร้างสรรค์ความรู้ความสามารถและประสบการณ์  ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนา  ทางด้านเทคโนโลยีให้ควบคู่กันไปด้วย  เพื่อให้ก้าวทันกับการแข่งขันของธุรกิจ  ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก  ซึ่งถ้าหากระบบของการบริหารจัดการได้ดี   แม้ว่าองค์กรนั้นจะยิ่งใหญ่สักเพียงใด   ก็สามารถที่จะบริหารได้โดยง่าย  ใช้ระบบทรัพยากรบุคคลให้น้อย  แต่ประสิทธิภาพในขณะเดียวกันก็จัดระบบงานให้ตัดทอนสั้นลง   โดยอาศัยการกระจายอำนาจและการตัดสินใจให้ทั่วถึง  โดยไม่ต้องรอฟังการตัดสินใจแต่หัวหน้าระดับผู้บริหารแต่เพียงผู้เดียว  และทีสำคัญการยึดมั่นในกฎระเบียบ  วินัยนั้น  ทุกคนควรจะยึดถืออย่างเคร่งครัด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ระดับผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา  ระบบของการบริหารก็ควรมุ่งเน้นคุณธรรมเที่ยงธรรม  จริยธรรม และทำให้ทุกคนในองค์กรมีความรักในองค์กร เช่น  มีเงินกองทุนประกันสังคม  ค่ารักษาพยาบาล  ค่าเล่าเรียนบุตร ไม่ว่าจะตำแหน่งอะไรก็เบิกได้ตามสิทธิ เป็นต้น
นางสาวศศินี โพธิ์ทอง
โดย นางสาวศศินี  โพธิ์ทอง รหัส 50038010030 เลขที่ 29 นักศึกษา รปม. รุ่นที่ 4  ข้อ 1 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร            1. เป็นองค์กรที่นำคนจำนวนหนึ่งมาอยู่ร่วมกันในสถานที่หนึ่งๆ ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อทำบางสิ่งบางอย่างที่มีจุดหมายเดียวกัน                2. เป็นการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของคนในองค์กร เพราะองค์กรต้องมีบุคลากรเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน สามารถกำหนดได้ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ถึงแม้จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็ตาม คนก็ยังต้องเข้ามาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ ด้วยเช่นกัน 3. ต้องการให้บุคลากรมีความสามารถ มีการพัฒนาในสายงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้องค์กร               ประสบความสำเร็จ ดังนั้นในแต่ละองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็ต้องมีการฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับ เพื่อให้การทำงานขององค์กรมีการประสานไปในแนวทางเดียวกัน  ดังนั้นการดำเนินงาน ในทุกขั้นตอนจึงต้องอาศัยบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ4. มีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่นภาครัฐ มีการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของรัฐบาลภาคเอกชน มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ5. ภาครัฐมีเป้าหมาย คือ ต้องการให้ประชาชนมีความอยู่ดี มีสุข เพราะประชาชนเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้แก่ภาครัฐ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องได้รับสิ่งตอบแทนที่คุ้มค่า (ประชาชนเป็นลูกค้าของภาครัฐ) , ภาคเอกชนมีเป้าหมาย คือ ต้องการให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานที่ดีที่สุด ดังนั้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็ต้องการให้ลูกค้าได้รับสิ่งตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดเหมือนกัน6. มีการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนของคนในองค์กร ได้แก่ ค่าจ้าง เงินรางวัล ประกาศเกียรติคุณต่างๆ  การได้รับการยอมรับในองค์กร เป็นต้น
พ.ม. วิทยา นางวงค์ รปม. รุ่น ๔ (ม.สวนสุนันทา)

หัวข้อ ภาครัฐและภาคเอกชน เชื่อมโยงกันอย่างไร ฯ

 ความเชื่อมโยงกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนนั้น แน่นอนว่า ทั้งสององค์กรนี้ย่อมแยกจากกันไม่ได้  ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อันเนื่องมาจากที่ รัฐบาลกับภาคเอกชน ในเวลาที่จะกำหนดนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจ  ก็ต้องร่วมมือกันกับภาคเอกชนหรือผู้มีความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ ในการกำหนดนโยบาย การกำหนดราคาสินค้า การตรึงราคาสินค้า การจดทะเบียนขึ้นทะเบียนต่าง ๆ การนำเข้า การส่งออกทั้งภายในและภายนอกประเทศ ฯลฯ  ในเรื่องเหล่านี้ทั้งหมดภาคเอกชนก็ต้องอาศัยภาครัฐทั้งนั้น ฯ
    เช่น ในเรื่องของการกำหนดราคาสินค้านั้น เอกชนไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ ราคาสินค้าจะถูกหรือแพงขนาดไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล หากรัฐบาลไม่อนุมัติ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลแล้ว ก็ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ ดังในเรื่องของราคาน้ำมันพืช ราคาสินค้าเครื่องอุปโภค ผู้ผลิตจะไม่สามารถขึ้นราคาตามความพึงพอใจของตนได้ รัฐบาลจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดราคาให้เป็นไปตามความเป็นจริง ทั้งนี้ที่รัฐเข้ามาควบคุมดูแลนี้ก็เพราะคำนึงถึงส่วนรวมเป็นหลัก คือ ประชาชนส่วนใหญ่ โดยที่รัฐจะไม่ทำให้กระทบทั้ง  ๒  ฝ่าย  คือ ฝ่ายผู้ผลิตเองก็ต้องจำหน่ายออกในราคาที่เป็นกลาง ไม่เอารัดเอาเปรียบประชาชน โดยการควบคุมของภาครัฐ  เพราะถ้าราคาสินค้าแพงเกินไป ประชาชนก็จะลดกำลังการซื้อลง ทำให้สินค้าขายไม่ออก เมื่อขายไม่ออก ผู้ผลิตก็จะอยู่ได้ยาก ถ้าถูกเกินไปละ ก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน ฉะนั้นในส่วนนี้เอง รัฐจึงต้องเข้ามาดูแลในเรื่องของราคาสินค้า ถ้าแพงเกินไป ก็ต้องตรึงราคาไว้ ให้พอเหมาะพอควร กับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ฯ
    การจดทะเบียนบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ก็เช่นกัน เอกชนจะดำเนินการเองไม่ได้ ต้องติดต่อทำการจดทะเบียนผ่านหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานราชการ การทำธุรกรรมต่าง ๆ ก็ต้องผ่านหน่วยงานราชการทั้งสิ้น ฯ  การนำเข้าหรือการส่งออกสินค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศก็ต้องผ่านหน่วยงานราชการ คือ กรมศุลกากร ต้องเสียภาษีระวางให้กับศุลกากร เป็นต้น ฯ
    หรือในเรื่องที่ภาคเอกชน เช่น เบียร์ช้าง จะทำการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภูมิภาคต่าง ๆ ก็จะร่วมมือกับภาครัฐ คือ หน่วยทหาร หรือ หน่วยงานราชการต่าง ๆ ในการดำเนินการเข้าไปช่วยเหลือ  หรือ แม้แต่ ไทยรัฐเอง จะสร้างโรงเรียนให้กับอำเภอใดอำเภอหนึ่ง ก็ต้องติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐเช่นกัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดสร้างแล้วมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเข้ามาควบคุมดูแล ฯ  รวมแล้ว   ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ) เพราะภาครัฐเองก็มีรายได้หลักจากภาษีที่เก็บจากภาคเอกชนทั้งรายใหญ่และรายย่อย และ ภาษีจากประชาชนด้วย ภาคเอกชนก็ต้องอาศัยภาครัฐ เช่นในการกู้ยืมเพื่อการลงทุนบ้างบางครั้งคราว  และ การกำหนดนโยบายการนำเข้าและส่งออก การกำหนดอัตราภาษี ต่าง ๆ เป็นต้น  ล้วนต้องอาศัยภาครัฐทั้งสิ้น  (รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เรา (ทั้งคู่) ตาย) ฯ
               คำติเตือนแม้ขื่นขม ยังดีกว่าคำชื่นชมที่มีพิษ ฝากพี่ ๆ เพื่อน ๆ รปม รุ่น ๔ ด้วยนะ มีอะไรผิดพลาดก็ติชมกันได้ ไม่ว่ากัน ฯ ขอเจริญพร

ระวังครูมะปรางเปรี้ยวถือไม้เรียวมานะครับ  เพราะเขาให้ไปใช้ใน Learner ครับ
ส.ท. สราวุธ ดอกไม้จีน
ส.ท. สราวุธ ดอกไม้จีน รหัส 50038010017 เลขที่ 17 นักศึกษา รปม. รุ่นที่ 4ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร1.       ภาครัฐมีความมั่นคงมากกว่าเอกชน2.       ภาคเอกชนมีความเท่าเทียมมากกว่าภาครัฐแต่ภาครัฐจะแบ่งตามลำดับตำแหน่ง3.       ภาคเอกชนเน้นผลกำไรเป็นหลัก ภาครัฐจะเน้นภาษี4.       ภาคเอกชนต้องมีลูกค้า ภาครัฐต้องมีประชาชน5.       ภาคเอกชนตัดสินใจได้รวดเร็วและคล่องตัวกว่าภาครัฐ6.       ภาครัฐยังมีความเชื่อแบบเจ้าขุนมูลนายแต่ภาคเอกชนไม่มี7.       ภาครัฐและเอกชนมีความเป็นเลิศคล้ายกัน มนุษย์เป็นตัวผลักดันให้เป็นเลิศ

8.       ภาครัฐและเอกชนมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน

 

น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4
น.ส.พิมพ์ลดา   โต๊ะเพิ่มพูน  รหัส 50038010009  เลขที่  9  นักศึกษา รปม.รุ่น4 แนวคิดภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

1.  ในการประกอบกิจการภาคเอกชนมีเป้าหมายเพื่อผลกำไร ต้องการตอบสนองต่อ

       ความต้องการอันหลากหลายในกลุ่มผลประโยชน์   แต่ในภาครัฐ มิได้มุ่งหวังผล

       กำไร แต่มีเป้าหมายคือการให้ความเสมอภาคของการให้บริการประชาชนส่วน

       รวม    ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องมีกระบวนการในการดำเนินงาน ไม่ว่า

       จะเป็นการวางแผนงาน  การปฏิบัติงาน   การบริหารทรัพยากรมนุษย์    การ

       จัดสรรงบประมาณ     การควบคุม    ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้       มีอยู่ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน

2.   ภาครัฐ มีการจัดสรรงบประมาณในหน่วยงานต่าง ๆ   เพื่อจัดทำโครงการในการ

       ลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ เช่น การทำรถไฟฟ้า   ถนน   สะพาน   ก็ต้องมีการ

       ประมูลเพื่อสรรหาบริษัทเอกชนมาดำเนินการ ซึ่งในขั้นตอนการดำเนินการก็ต้อง

        มีเอกชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องใน การดำเนินการตามโครงการ

                                ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ ปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานองค์กร

        มากขึ้น โดยการลดงานบางส่วนที่ไม่จำเป็นลง  เช่น การทำความสะอาด   

        งานดูแลด้านโภชนาการ  ซึ่งในอดีตจะมีนักการภารโรง แต่ปัจจุบันจะเป็นในรูป

        แบบการทำสัญญากับบริษัททำความสะอาด   บริษัทที่เกี่ยวกับโภชนการ  ของ

        ภาคเอกชน  ให้เข้ามาดูแลเฉพาะงานทำความสะอาด และ งานโภชนาการใน

        หน่วยงานของภาครัฐ                                  จากที่กล่าวมาถือได้ว่าในหน่วยงานภาครัฐมีความเชื่อมโยงในด้านเงื่อนไข แต่มีเป้าหมายที่ไม่เหมือนกัน
พระศุภสิน ศักศรีวัน รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

      ณ เวลาก่อนเกิดเหตุ 08:45 น. สายฝน (มิใช่นางสาวสายฝน เพื่อนร่วมชั้นเรียนแต่ประการใด) ได้โปรยปรายลงมา วันนี้เหมือนฟ้าจะรู้และบอกเป็นนัยว่า การเรียนรู้แบบธรรมดา แบบเรียนเพื่อใบปริญญาจักไม่บังเกิดขึ้นแล้ว ในช่วงเวลาเดือนแห่งความรักตลอดเดือนนี้ เมื่อข้าพเจ้าได้ถึงห้องเรียนและมองเข้าไป เห็นบรรยากาศ (Environment) ซึ่งแตกต่างจากวันเดิม ๆ วิชาที่เคยเรียนผ่านมา ณ ช่วงเวลานั้นการทักทายและสนทนาพูดล้อต่อกระซิกและดำเนินไปด้วยความสนุกสนาน
      ณ ช่วงเวลาเกิดเหตุ..09:15 น. เมื่อร่างของบุรุษผู้หนึ่งได้ปรากฏต่อสายตา เสียงภายในห้องได้เงียบลงสนิท บรรยากาศเริ่มตึงเครียด ด้วยวาทะที่ชวนให้หนาวซึ่งก็หนาวอยู่แล้วจากบรรยากาศภายนอก ภายในก็มีแอร์ และบุรุษผู้จุดไฟน้ำแข็ง ณ ช่วงเวลานี้เลยมีพลังของความหนาวยกกำลัง 3 แต่ด้วยลีลาและวาทะที่คอยกระตุ้นกระทุ้งอย่างออกรสออกชาดภายในเวลาอันไม่มากบรรยาศก็เริ่มอบอวลด้วยความร้อนแรง ไม่ได้ขี้เกียจเว้ยย!! แต่ไม่มีเวลา..เป็นวาทะที่ดูคล้ายปัดความรับผิดชอบ แต่ถ้าใช้รอยหยักของสมองวิเคราะห์และหยั่งลึก จะทำให้เราคิดขบวาทะนั่นออก โป๊ะเช๊ะ!! อ้อ..นั่นก็เพราะภารกิจความทุ่มเทแน่วแน่มุ่งมั่น เพื่อพัฒนาคนสู่ความเป็นเลิศ  "ผู้สร้างคันเบ็ด" เพื่อมอบเบ็ดนั้นให้กับคนใช้ตกปลา (ซึ่งก็คือลูกศิษย์)
      จากสมองที่ไม่ค่อยได้ทำงานต้องกลับแน่นขนัดอึ้งด้วยงาน และการบริหารกับตัวเอง กับ 3 งานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม รายงานเดี่ยวที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งข้าพเจ้าและเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้รับมอบมาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ เพื่อเป็นมนุษย์ที่ โป๊ะเชะ!! และไม่งั่งและเปลี่ยนทัศนคติจากบ้าใบปริญญา มาบ้างคลั่งปัญญา ก็คือ..
      ภารกิจที่ 1 mission one : ฉายเดี่ยว (Solo)..“การเปรียบเทียบภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร?” ..
      หากจะมองความเหมือน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะมีลักษณะเหมือนกันคือ
      • มีรูปแบบเป็นลักษณะหน่วยงาน หรือองค์กร ซึ่งภายในองค์กรก็ต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการพัฒนาองค์กร และจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ทรัพยากรที่ต้องพัฒนาให้มีคุณภาพมากที่สุดก็คือทรัพยากรมนุษย์ เมื่อทรัพยากรมนุษย์มีคุณภาพดีเลิศ นั่นก็หมายถึงการนำทรัพยากรอย่างอื่นมาใช้ย่อมมีประสิทธิภาพตามไปด้วย
      • มีผู้บังคับบัญชา ผู้นำ หรือผู้บริหาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณภาพของผู้นำจะมีความเป็นเลิศ อย่างไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับทัศนวิสัย การตัดสินใจที่เด็ดขาดแม่นยำ และการมีจริยธรรมคุณธรรมด้วย เพื่อเป็นสารถีนำพาองค์กรไปสู่จุดหมายที่เป็นเลิศ (อีกแล้วครับท่าน)
      • มีระบบการคัดสรร เลือกสรร การลงโทษ การให้รางวัล มีกฏระเบียบหรือข้อบัญญัติ ซึ่งเป็นกลไกที่จะนำพาบุคคลเข้าสู่องค์กร แต่ดูเหมือนว่า ระบบราชการจะได้บุคคลที่เป็นกากกะทิ มากกว่าหัวกระทิ ซึ่งแตกต่างจากเอกชน คำถามตามมา เพราะอะไร? อาจจะเป็นเพราะการบริหารจัดการ การให้รางวัล การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship) การมีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึกรักองค์กรหวงแหนองค์กร
      • มีกฎระเบียบหรือข้อบัญญัติ เพื่อควบคุมเพื่อพัฒนาให้ไปในทิศทางที่เป็นเลิศ ไม่ใช่เป็นเลิศทางที่ไม่สร้างสรรค์ เป็นเลิศในด้านคอรัปชั่น หากแต่ความเป็นเลิศนั้นต้องเป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์ มีประโยชน์ และกอปรด้วยคุณธรรมจริยธรรม
      • มีกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการ การวางแผน เพื่อให้เพื่อนำบุคคลมาใช้อย่างเกิดประสิทธิภาพ แต่ดูเหมือนว่ากลยุทธ์ในภาครัฐจะมีไว้ในหนังสือหรือรูปแบบลายลักษณ์อักษรมากกว่าที่จะนำมาปฏิบัติจริงและเห็นผลได้ดีเมื่อเทียบกับภาคเอกชน
      • มีผู้บริโภค ภาคเอกชนก็คือลูกค้า ภาครัฐก็คือประชาชน
      ในมุมมองของข้าพเจ้า ภาครัฐและเอกชนเป็นโครงสร้างหรือเป็นอวัยวะที่ต้องพึ่งพากันเพื่อทำให้ร่างกายคือประเทศชาติมีความสมบูรณ์ ภาครัฐเป็นส่วน มหภาค (macro) ส่วนภาคเอกชนเป็นส่วนย่อย (micro) แต่นั่นก็เพื่อจุดประสงค์ร่วมก็คือ “ความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค” ซึ่งอยู่ในรูปแบบของกำไร กำไรของเอกชนอาจจะเป็นกำไรในรูปของเม็ดเงิน ดุลการค้า หรือหุ้นต่าง ๆ จากการผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการถูกตาถูกใจของลูกค้า ทั้งรูปลักษณ์ คุณภาพ และราคา ส่วนกำไรของภาครัฐบาลจะเป็นในรูปแบบกำไรของความอยู่ดีกินดี การมีความสุข อันได้รับจากการบริหารงานที่ดีของรัฐ ถ้ารัฐมีการบริหารคือทำอะไรให้รวดเร็ว มีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยแม่นยำ ทุกระดับชั้นมีส่วนร่วมและหวงแหนในองค์กร มีความยุติธรรม สะอาดโปร่งใส มีการตั้งเป้าหมายไว้ให้สูง และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งวัดจากความพอใจของประชน เช่น การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ ถ้าพนักงาน มีการบริหารที่รวดเร็ว ทำงานด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นมิตร ผู้รับบริหารหรือประชาชนก็มีความคิดเชิงบวกและมีความสุขที่จะเข้าหาและติดต่อกับราชการ นี่แหละคือกำไรจากความสุข
      ...นี่คงเป็นแนวคิดตามสมองที่ยังงั่ง!! อยู่มากของข้าพเจ้า ซึ่งยังเป็นเพียงผู้ตกปลาที่ยังขาดเบ็ดดี ๆ สักคัน หรือหลาย ๆ คัน จากคนสร้างคันเบ็ด นามว่า ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์.. เจริญพร...

นางสาวนงนุช บัวขำ รหัส 50038010012

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

                ข้าพเจ้าคิดว่า ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องการความเป็นเลิศเหมือนกัน แต่เป้าหมายในการดำเนินงานไม่เหมือนกัน คือ ภาครัฐเน้นการให้บริการประชาชนเพื่อให้ประชาชนพึงพอใจมากที่สุดส่วนภาคเอกชนเน้นหรือหวังผลกำไรและให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้ามากที่สุด สิ่งที่ต้องกระทำเหมือนกันภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีโครงสร้างองค์การ สายการบังคับบัญชา การคัดเลือก จัดสรร ผลตอบแทน ฯลฯ เป็นต้น เพื่อความเป็นระเบียบในการปฏิบัติงาน แต่หน่วยงานภาครัฐมีกฎเกณฑ์ ระเบียบในการปฏิบัติงานมากจนบุคลากรไม่กล้าตัดสินใจในการทำงาน เนื่องจากผู้บังคับบัญชามิได้รับผิดชอบร่วมด้วย ผิดกับภาคเอกชนกฎระเบียบน้อย จึงทำงานได้คล่องตัว จึงทำให้บุคลากรภาคเอกชนมีความกล้าตัดสินใจมากกว่านั่นเอง

                สิ่งสำคัญคือการพัฒนาบุคลากร  หน่วยงานภาครัฐไม่นิยมส่งบุคลากรในหน่วยงานไปฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เนื่องจากไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน แต่ภาคเอกชนจะสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานไปฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เนื่องจากภาคเอกชนคิดว่าเมื่อบุคลากรเหล่านั้นไปแล้วเขาจะนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานที่ตนเองปฏิบัติอยู่

                จะเห็นได้ว่า เมื่อเราบอกว่าภาครัฐการทำงานเป็นอย่างไร จะมองเห็นว่า ล้าหลัง ล่าช้า ไม่ทันสมัย ทำงานแบบเดิมๆ คิดแบบเดิมๆ แต่ถ้าเราบอกว่าเอกชนทำงานเป็นอย่างไร เราก็จะมองต่างกัน คือ เอกชนทำงานรวดเร็ว เทคโนโลยี

ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เกิดความคล่องตัว

                ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็มีระบบการปฏิบัติงานที่ดีอยู่ในตัวระบบ ต้องทำงานควบคู่กันไปหรือทำงานสนับสนุนกัน ยกตัวอย่าง เช่น ภาครัฐบาลเป็นผู้ออกกฎระเบียบ ภาคเอกชนเป็นผู้ใช้กฎระเบียบ เป็นต้นจะขาดหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่ได้ประเทศชาติคงไม่เจริญก้าวหน้า ภาคเอกชนต้องเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนต่อภาครัฐ โดยหลักสำคัญคือ การสร้างความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างจุดเด่น และแก้ไขจุดอ่อน พัฒนาขีดความสามารถในการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน  เพื่อประเทศชาติและประชาชนในประเทศ

ณรงค์  พึ่งพานิชภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                ภาครัฐ เป็นระบบงานที่อิงกฎระเบียบ ทำให้การบริหารการจัดการล่าช้า ส่วน ภาคเอกชน เป็นระบบงานที่เน้นถึงผลกำไร ความสะดวกรวดเร็ว และการลดต้นทุน                ในยุดโลกาภิวัตน์ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงในทุกด้านทั้ง ภาครัฐและเอกชน จะต้องก้าวไปพร้อม ๆ กัน เพราะ ภาครัฐเป็นระบบใหญ่ มีบุคลากรหลายแขนง การบริหารการจัดการ ด้านต่าง ๆ ถ้าให้ภาครัฐ ลงมือปฎิบัติก็จะทำให้ระบบงานไม่เดินหน้า เท่าที่ควรจึงต้องอาศัยภาคเอกชน เช่น โครงการสร้างรถไฟฟ้าฯ เนื่องจาก ภาครัฐเป็นเจ้าของโครงการ ในความเป็นจริง ภาครัฐก็มีความสามารถที่จะทำให้โครงการสำเร็จได้ แต่เนื่องจาก ภารกิจในงานของภาครัฐซึ่งมีมากทำให้การเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชนจึงเกิดขึ้น                 ในปัจจุบันความเจริญในด้านเทคโนโลยี ก้าวหน้าไปมาก และอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำข้าวยาก น้ำมันแพง ภาครัฐและเอกชน ต้องคำนึงถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชน เป็นหลัก และโครงการทุกโครงการ ทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน ต้องให้ความสำคัญกับประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้รับฟัง และออกความคิดเห็น บ้างครั้งถ้าภาคเอกชน มองแต่ผลกำไร ก็จะทำให้ประชาชนเดือดร้อน                 ภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นในเรื่อง ความกินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นที่ตั้ง และต่อเนื่อง ไม่ว่า เศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี ภาครัฐและภาคเอกชนต้องบูรณาการซึ่งกันและกันเพื่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมและประเทศชาติ
จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์
ภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ?           การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและเอกชนของไทยที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ  ด้านเศรษฐกิจ ในการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจและธุรกิจไทย รัฐจะต้องกำหนดนโยบาย ให้คอบคลุมทุกประบวนการ การดำเนินการธุรกิจทั้งหมดของเอกชน ตั้งแต่ การลงทุน การผลิต จนไปถึงการตลาด ซึ่งนโยบายและกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันการดำเนินการทางธุรกิจของเอกชน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทางภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกัน กำหนดแนวทางที่สอดคล้องกันในทุกกระบวนการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน                ความเชื่อมโยงของภาครัฐและเอกชน จะต้องกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ร่วมกันของทุกหน่วย งานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน    เพื่อ นำนโยบายและแผนปฏิบัติการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและธุรกิจไทย ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ที่สำคัญการปรับเปลี่ยนทัศนคติการทำงานของหน่วยงานภาครัฐจากผู้ควบคุม ไปสู่การอำนวยความสะดวกและการลดกฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการปรับปรุงกลไกลเชื่อมโยงในการทำงาน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้มีความสอดคล้องประสานกันมากขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องพร้อมที่จะ ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและธุรกิจไทยอย่างเต็มที่ และเอกชนเองจะต้องมีแนวความคิด ประเด็นความต้องการ รวมถึงแนวทางแก้ปัญหา อุปสรรคต่างๆ มาให้ภาครัฐทราบถึงปัญหา เพื่อจะได้กำหนดทิศทางในการส่งเสริมสนับสนุนร่วมกัน  ในการประสานงานและทำงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชน ได้ทำงานร่วมกันเพื่อที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนของประเทศมีความอยู่ดี กินดี ต่อไป
สุภานุช นุพงค์ รหัส 50038010022 เลขที่ 22 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา
เรียน อาจารย์  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  คณะอาจารย์ และเพื่อนๆ ชาว Blog  MPA 4  สวนสุนันทา  ทุกท่าน                ในยุคโลกาภิวัตน์  สภาพการณ์ต่างๆ ได้บีบบังคับให้ภาครัฐและภาคเอกชนต้องทำงานอย่างประสานงานร่วมมือกันอย่างมากขึ้นเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศโดยรวมให้สูงขึ้นการร่วมมือกันนี้ทำให้เกิดการถ่ายโอน  เทคนิคและวิธีการบริหารจัดการ  ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้เกิดการดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้  การที่ภาครัฐและเอกชนต้องทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทำให้เกิดความจำเป็นในการต้องลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากการติดต่อประสานงานกันให้เหลือน้อยที่สุด  แต่อุปสรรคสำคัญในเรื่องของการลดต้นทุนนี้ก็คือมาตรการควบคุม(ตามระเบียบกฎเกณฑ์)  ของภาครัฐและการใช้ดุลยพินิจ อย่างไม่แน่นอนและไม่ชัดเจน ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  เป็นอีกปัญหาที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมกันแก้ไข (เพราะการใช้ดุลยพินิจอาจทำให้ ภาคเอกชนบางรายเกิดความได้เปรียบกันและส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม)                ผู้นำของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องอาศัย เทคนิคและวิธีการบริหารจัดการ ต่างๆ มากมายเพื่อให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง(ที่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว) และที่สำคัญที่สุดก็คือผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลงควรต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่นั้นเพียงพอที่จะดำเนินการจนบรรลุผลสำเร็จด้วย ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ความไว้วางใจกันของภาครัฐและภาคเอกชนการบริหารจัดการแบบยืดหยุ่น การประสานงานแบบเชื่อมข้ามสายงาน  การว่าจ้างงานบุคคลที่สามดำเนินการเป็นต้น                แนวโน้มของ การจัดการภาครัฐ ในอนาคตจึงมุ่งไปสู่ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  และการใช้  บุคคลที่สาม  ในการดำเนินการต่างๆ แทนภาครัฐเพิ่มมากขึ้นทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องอาศัย แนวความคิดและวิธีการบริหารจัดการของภาคธุรกิจเอกชน มาใช้มากขึ้นทุกที  การบริหารจัดการแบบภาคเอกชนทำให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐต้องมีความเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพมากขึ้น พร้อมๆ กับการต้องเป็น มืออาชีพ มากขึ้นด้วย (Higher – quality  Professional)                แต่โดยที่การบริหารในภาครัฐราชการจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ มากมาย (ซึ่งต่างจากการบริหารของภาคเอกชน) และอยู่ภายใต้หลักการปกครองแบบ นิติรัฐ  ด้วย จึงทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของการปกครองเข้มงวดเคร่งครัดมายึดหลักการผ่อนปรนภายใต้ ธรรมาภิบาล หรือ การกำกับดูแลที่ดี  มากขึ้น                ปัญหาในปัจจุบัน จึงอยู่ที่การเร่งสร้างองค์กรเครือข่ายของภาครัฐและภาคเอกชนที่อาศัยหลักการของ ธรรมาภิบาล ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของหลักแห่งศีลธรรมจรรยาที่ดีงาม.
น.ส.หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงาน  จากการบ้านที่ได้โจทย์ว่า   ภาครัฐและภาค เอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร       ดิฉันมีความคิดเห็นดังนี้ ภาครัฐเป็นหน่วยงานที่ประกอบ ด้วย กระทรวง  ทบวง  กรม  องค์การบริหารส่วนจังหวัด   องค์การบริหารส่วนตำบล   องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น     ซึ่งมีหน้าที่    ให้บริการประชาชน  บำรุงสุขให้ประชาชน   อยู่ดีกินดี     มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง โดยอาศัยการดูแลร่างกายที่อยู่อาศัย ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการศึกษา ให้มีอาชีพดูแลครอบครัว    ในส่วนของภาคเอกชนเป็นองค์กรที่มุ่งแสวงหาผลกำไร   เป็นหลัก ในส่วนของภาคเอกชนที่มีความเชื่อมโยงกันนั้น    คือการที่ภาค   เอกชน เข้ามารวมดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ ตัวอย่างเช่น   การรับจ้าง  การจัดทำโครงการเสนอ  การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมทั้งการขนส่ง     การผลิตสินค้าต่างๆ   การจ้างแรงงาน     การก่อสร้าง  การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ    ภาครัฐยังสนับสนุนให้ภาคเอกชนจัดทำโครงการที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพแข่งกับต่างประเทศได้มากขึ้น ขอยกตัวอย่าง เช่น กรมทางหลวง ภาครัฐได้มีนโยบายการสร้างถนน ปรับปรุงถนนให้มี ประสิทธิภาพ  ซึ่งภาครัฐมีเจ้าหน้าที่และเครื่องมือเครื่องจักรไม่เพียงพอในการทำงาน เพื่อให้โครง การที่กำหนดดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว   จึงต้องให้ภาคเอกชนที่มีการทำงานที่คล่องตัวกว่า ภาครัฐ ภาครัฐจึงเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาเสนอราคาและแนวทางการดำเนินการรวม ทั้งวัสดุ อุปกรณ์ในการก่อสร้างเพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีความคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นการช่วยเหลือประชาชนให้มีงานทำและสร้างท้องถิ่นให้เจริญ รวมทั้งได้ถนนหนทางที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อเสริมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ทางคือประชาชน                ดังนั้น   ภาครัฐก็ต้องดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ   ใช้เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐโดยคำนึงถึง ความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ    รวมทั้งงบประมาณที่จะต้องใช้ไปให้คุ้มค่ากับสภาพความเป็นจริงในส่วนของภาคเอกชนเป็นการประกอบธุรกิจที่หวังผลกำไรโดยการรับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานที่มีวงเงินน้อยหรือมากก็ตาม ซึ่งต้องขอความร่วมมือภาครัฐเกี่ยวกับภาครัฐเกี่ยวกับเรื่องข้อบังคับ ระเบียบ ขั้นตอนการดำเนินการ และภาครัฐ     ก็ต้องอาศัยภาคเอกชนเข้ามาช่วยจัดทำโครงการต่างๆตามที่ภาครัฐขอความร่วมมือ    ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกันไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ด้านการเงิน ด้านกฎหมาย และด้านสิ่งแวดล้อม
ดวงตา ม่วงเกตุยา รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา
เรียน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และ  MPA 4  สวนสุนันทา  ทุกท่าน   ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร?
                ภาครัฐเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ของการพัฒนา แต่ก็ไม่ใช่พลังเดียวการพัฒนาคนที่ยั่งยืนส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ การสร้างงาน ให้มีรายได้พอเพียงที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิต ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ตระหนักดีว่าภาคเอกชนเป็นแหล่งสำคัญของโอกาสการจ้างงานในระบบการผลิตกระแสโลกทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในวิถีดำเนินการของอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่าง ๆ ในประเทศที่กำลังพัฒนากิจการเอกชนต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริม ให้โปร่งใสและสามารถแข่งขันได้มากขึ้นในตลาดระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตที่เป็นธรรม ความเท่าเทียมกันทางเพศการรักษาสิ่งแวดล้อม การขยายตัวของภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมที่รับผิดชอบและมีประสิทธิผลในการค้าระหว่างประเทศ ไม่สามารถบรรลุผลได้โดยอาศัยตลาดเพียงอย่างเดียว รัฐสามารถเกื้อหนุนการพัฒนาภาคเอกชนในแนวทางที่ยั่งยืนได้โดย :

*
สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพ
*
รักษาตลาดแข่งขัน
*
สร้างความมั่นใจว่าคนยากจนโดยเฉพาะสตรีสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวก
*
ดูแลเอาใจใส่กิจการที่สร้างงานและสร้างโอกาสมากที่สุด
*
ดึงดูดการลงทุนและความช่วยเหลือในการส่งผ่านความรู้และเทคโนโลยีไปยังกลุ่มคนยากจน
*
บังคับใช้หลักนิติธรรม
*
สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
*
ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น4
ภาครัฐบาลและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                กล่าวคือ ในการเชื่อมโยงกันคงต้องกล่าวถึงตั้งแต่ โครงสร้างของระบบองค์กรที่มีตำแหน่งและสายงานการบังคับบัญชาที่คล้ายคลึงกัน แต่ของหน่วยงานภาครัฐจะมีสายการบังคับบัญชาที่ยาวกว่าเท่านั้น เหตุนี้จึงทำให้องค์กรของเอกชนมีความคล่องตัวกว่า นอกจากนี้จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของภาคเอกชน พนักงานในองค์กรต้องทำให้ถึงและทำให้ได้ตามเป้าหมายเพื่อความอยู่รอดขององค์กรก็เหมือนการอยู่รอดของเขา โดยมองไปที่ลูกค้า ส่วนภาคราชการส่วนใหญ่จะไม่ค่อยปฏิบัติตาม หรือทำกันแบบล่าช้าตามสายงาน เพราะพนักงานคิดว่าไม่มีการไล่ออกเหมือนอย่างเอกชน และได้ผลตอบแทนน้อย ทำให้ไม่ต้องง้อผู้มารับการบริการเพราะคิดว่าประชาชนต้องมาติดต่อเขาเลยทำตัวเหนือกว่า  จนปัจจุบันภาคราชการมีการพัฒนาลดขั้นตอนการทำงาน มีการตรวจสอบการทำงาน ประเมินผลงานของข้าราชการให้เทียบเคียงกับภาคเอกชน ให้มีการไปดูงาน มีการฝึกอบรม เป็นต้น เพราะองค์กรเอกชนต้องพึ่งองค์กรภาครัฐหลายอย่าง เพราะถ้าบางอย่างราชการทำเรื่องเสร็จช้า หรือดำเนินงานตามขั้นตอนล่าช้าจะส่งผลกระทบระบบงานของภาคเอกชน อาจจะต้องเสียโอกาสทางธุรกิจไป เช่น การดำเนินนโยบายทางเศษฐกิจของรัฐ จะมีผลต่อธุรกิจนำเข้าและธุรกิจส่งออก ถ้านโยบายของรัฐมีมาตรการที่เข้มงวดและระบบการตรวจสอบที่หลายขั้นตอนโดยพนักงานอาจไม่มีความเชี่ยวชาญ ก็จะทำให้สินค้าอาจส่งไม่ทันกำหนดเป็นต้น ภาคเอกชนก็จะเกิดปัญหาและเสียหายทางธุรกิจ

ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่าทั้งสองภาคทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีความเกี่ยวโยงกัน ให้ภาคเอกชนพัฒนาองค์กรให้ดีเพียงใด แต่ภาครัฐยังเป็นระบบแบบเก่า ก็ทำให้ธุรกิจดำเนินไปไม่ได้ด้วยดี  ถึงเป้าหมายของภาครัฐและเอกชนจะแตกต่างกัน แต่ถ้าการทำงานของภาครัฐปรับตัวมีการทำงานที่รวดเร็ว ลดขั้นตอน สมกับเป็นข้าราชการที่เข้มแข็งก็จะส่งผลให้หน่วยงานที่เข้ามาติดต่อสามารถไปดำเนินงานทางธุรกิจต่อได้เร็วขึ้น ประเทศก็จะมีการพัฒนาที่มากขึ้น

             ภาครัฐและภาคเอกชนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?

                  ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย  ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  จะเป็นลักษณะแบบน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า   หากรัฐบาลอยู่ไม่ได้ ภาคเอกชนก็อาจทำให้กิจการมีผลกำไรลดลง  กล่าวคือภาครัฐเป็นผู้กำหนดนโยบาย ออกกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมถึงการจัดเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ   ภาครัฐจัดหาตลาดส่งสินค้าออกไปต่างประเทศและภายในประเทศ   เช่นปัญหาเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ชะลอตัวลงเนื่องจากปัญหาซับไพร์ ทำให้กำลังซื้อสินค้าจากต่างประเทศลดลง ซ่งเป็นปัญหาด้านการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศไทยยังต้องพึ่งการส่งสินค้าออก  และอเมริกาเป็นตลาดที่สำคัญและใหญ่ที่สุด  ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง  ทำให้เกิดปัญหากับผู้ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ   ภาครัฐจะต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกเหล่านั้นโดยการหามาตรการไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป และควรหาตลาดส่งออก โดยหาตลาดทางยุโรป หรือ ตะวันออกกลาง หรือประเทศที่มีกำลังเงินซื้อมาก เพื่อจะได้นำเงินเข้ามาภายในประเทศ และรัฐควรจัดเก็บภาษีในอัตราที่เหมาะสมเพื่อนำมาบริหารและพัฒนาประเทศต่อไป

น.ส.ญานิสา  เวชโช   รหัส50038010013

         ในปัจจุบันระบบราชการส่วนใหญ่เป็นระบบอุปถัมภ์ ให้ความสนใจในความเป็นพวกพ้อง  มากกว่าที่จะสนใจในเรื่องของผลงาน เป็นระบบเช้าชาม-เย็นชาม ไม่ต้องกระเสือกกระสนดิ้นรน เพราะความเป็นราชการ ยังไงก็ไม่ตกงาน จึงไม่มีความจำเป็นต้องใฝ่รู้อะไรมากมายนัก แตกต่างกับ เอกชน ที่ให้ความสนใจในเนื้องาน มุ่งเน้นการแข่งขัน พัฒนาความรู้ ความสามารถของคนในองค์กร เพื่อให้องค์กรอยู่รอด    ถึงแม้ว่า ระบบราชการ จะเป็นระบบที่มั่นคง ไม่มีวันที่จะล้มเหลว แต่ถ้าคนในราชการยังทำงานกันแบบเดิมๆ ไม่มีการพัฒนายอมรับสิ่งใหม่ๆ เหมือนเอกชน สักวันหนึ่ง ราชการก็ต้องล้มเหลวเช่นเดียวกัน

       ความเชื่อมโยงของภาครัฐและเอกชน สิ่งที่จะต้องทำมากที่สุด     มิใช่เพียงแต่แสวงหาผลกำไร แต่คือ การแข่งขัน แข่งขันให้หน่วยงาน หรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถทำให้ระบบการทำงาน          มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล เพราะราชการ คือ งานให้บริการประชาชน จึงควรจะคิดว่า ทำอย่างไรที่จะให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจ เมื่อมาใช้บริการ

โดย น.ส. มัลลิกา  โสดวิลัย รหัส 50038010018 เลขที่ 18 รปม. รุ่นที่ 4  หัวข้อ ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร?คำว่า หน่วยงานของรัฐ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่                 ส่วนราชการ  หมายถึง หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการให้บริการสาธารณะทางปกครองเป็นภารกิจหลัก โดยไม่มุ่งผลกำไร และใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับหน่วยงานภาคเอกชนนั้น หมายถึง สถานประกอบการที่ดำเนินการโดยเอกชนโดยมุ่งผลกำไร แต่การดำเนินงานทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน มีเป้าหมายเช่นเดียวกัน คือ ความเป็นเลิศขององค์กร ซึ่งความเป็นเลิศขององค์กรนั้น ภาครัฐ หมายถึง ประเทศชาติ และความอยู่ดีกินดีของประชาชน ส่วนภาคเอกชน หมายถึง ผลกำไร ความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในองค์กร โดยมีความสุข    ในการทำงาน มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี มีความมั่นคงในอาชีพการงาน มีสวัสดิการที่ดีรองรับ เป็นต้น                 ในการนี้ การที่ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไรนั้น ดิฉันขอยกตัวอย่างด้านการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาหนึ่งของภาครัฐ ที่ผลิตบัณฑิตออกสู่ตลาดแรงงาน     ซึ่งการเรียนการสอนนักศึกษานั้น มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ก่อนที่นักศึกษาจะจบหลักสูตรออกสู่ตลาดแรงงาน  หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นหลักสูตรหนึ่ง ของภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม          ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ก่อนจบการศึกษา เพื่อเสริมสร้างเพิ่มทักษะและประสบการณ์ในงาน             ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพให้แก่นักศึกษา ซึ่งถือว่าการเรียนการสอนเป็นแบบบูรณาการโดยการเชื่อมโยง         ทั้งภาครัฐและภาคเอชนมีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อออกสู่ตลาดแรงงาน โดยมหาวิทยาลัย เป็นผู้สอนทางด้านทฤษฎี โรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้เสริมสร้างทางด้านทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษาก่อนจบหลักสูตรออกไปรับใช้สังคม ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จะเห็นได้ว่า แม้แต่การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพคนหนึ่งนั้น ต้องอาศัยความเชื่อมโยง               ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับหน่วยงานที่ขอรับบริการบัณฑิต เมื่อหน่วยงานที่ขอรับบริการเกิดความพึงพอใจในบัณฑิต ผลสัมฤทธิ์ก็จะสะท้อนกลับมายังมหาวิทยาลัยมหิดล นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศ ในด้านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าการเชื่อมโยงของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนนั้น เป็นเหมือนวัฏจักรนั่นเอง
นาย ฉลอง บ่มทองหลาง รหัส 50038020010
สวัสดี ครับท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะ  จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์วันแรก ( 3 ก.พ.2551 )  ชั่วโมงแรกความเครียดเริ่มถามหา ทัศนะคติที่มีต่ออาจารย์ โดยรับฟังจากคนอื่นว่าอาจารย์เป็นบุคคลที่เก่งในเรื่องบริหารทรัพย์ยากรมนุษย์ เคยได้ยินจากสื่อต่างๆ มาบ้าง  คือได้ยินชื่อแล้วอยากที่จะเรียนในเรื่องของการบริหารทรัพยากรมนุษย์   ตอนนี้เริ่มเข้าใจว่านี่แหละสิ่งที่ผมต้องการ จากนั้นความเครียดที่มี เริ่มลดน้อยลง จากที่ผมรับราชการ เลยทำให้รู้ว่า ภาครัฐและภาคเอกชน ความเชื่อมโยงกันหลายด้าน  ภายในหน่วยงานราชการจะบริหารองค์กรของตนอย่างเดียวมันทำได้ แต่ผลงานหรือความสำเร็จมันมีน้อย อันเนื่องจากหน่วยงานราชการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ปัญหาต่างๆที่เกิดกับหน่วยงานราชการและภายในองค์กร มันจำเป็นที่ต้องเอาภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวเสริม  เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน  ราชการจึงจำเป็นที่ต้องอาศัยหน่วยงานของเอกชน เพื่อให้เกิดความแข่งขันระหว่างราชการกับเอกชนอย่างแท้จริง เช่นการค้าระหว่างประเทศ การลงทุน การติดต่อประสานงานโดยที่รัฐต้องสร้างจุดยืนให้ตรงกันในการเจรจาการค้า  เพื่อไม่ให้เอกชนได้รับผลกระทบ                การพัฒนาประเทศ เช่นเดียวกันรัฐที่จะต้องอาศัยภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวเสริม เช่นการลงทุน การค้า ภาคเอกชนหรือหน่วยงานสมาคมใดจะประกอบกิจการใด ต้องให้หน่วยงานเอกชนเข้ามาสนับสนุนในโครงการต่างๆของรัฐ เช่น โครงการต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร การสร้างทางด่วนหรือการติดตั้งกล้องวงจรปิดรอบกรุงเทพมหานครโดยกรุงเทพมหานคร ต้องอาศัยหน่วยงานของภาคเอกชนเข้ามาจัดการประมูลทำในโครงการ  ซึ่งเท่าว่า เอกชนเป็นลูกค้าของภาครัฐ  จึงมีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน การทำงานในหน่วยงานของราชการบ้างครั้งทำให้เกิดความล้าช้า  ซึ่งต้องให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการอันเนื่องมาจาก งบประมาณ ของทางราชการมีน้อยมีข้อจำกัดต้องใช้หน่วยงานของเอกชนเข้ามาดำเนินการโดยการทำสัญญาในเรื่องของผลประโยชน์   ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า ภาครัฐกับภาคเอกชน มีความต้องเชื่อมโยง ต่อกันทุกด้าน เกือบจะทุกเรื่องที่รัฐต้องให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ เข้ามาดูแล ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การท่องเที่ยว การกีฬา การเกษตร จากเรื่องเล็กน้อยระดับชุมชนหมู่บ้าน ขึ้นสู่เรื่องใหญ่ระดับประเทศ เอกชนเข้ามาสนับสนุนหน่วยงานภาคทั้งหมด  ภาครัฐเพียงคอยกำกับดูอยู่ด้านนอกเท่านั้น ..

 

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028

ภาครัฐบาลและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร               

        องค์กรไทยจะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ องค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชน ถ้ามองว่าประเทศคือองค์กรขนาดใหญ่ เป็นมุมมองที่มาจากภายนอกประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ดังนั้นองค์กรภาครัฐเปรียบเสมือนสายงานสนับสนุน (Staff Function) โดยสนับสนุนให้องค์กรภาคเอกชนสามารถผลิตสินค้าและบริหารให้กับประเทศ ถ้ามองภาพขยายในระดับเวทีโลก ประเทศก็เป็นองค์กรชนิดหนึ่ง ที่ต้องมีการบริหารจัดการที่มุ่งเป้าหมายทั้งเหมือนและแตกต่างจากภาคเอกชน ที่เหมือนกัน คือ เมื่อประเทศขายสินค้าไปยังตลาดโลกย่อมหวังผลกำไร ไม่อยากเสียเปรียบทางการค้า แต่ที่แตกต่างกันคือการใช้อำนาจรัฐเหนือองค์กรภาคเอกชนภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศและองค์กรภาครัฐจะมีขอบข่ายของการบริหารจัดการกว้างขวางกว่าเอกชน

        ที่ผ่านมาการบริหารองค์กรภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากวัฒนธรรมการทำงานที่ยังไม่เชื่อมั่นในความสามารถของเจ้าหน้าที่ใหม่หรือข้าราชการชั้นผู้น้อย องค์กรภาครัฐถือเป็นปัจจัยหนึ่งของสภาพแวดล้อมขององค์กรภาคเอกชน และมีอิทธิพลต่อการบริหารภาคเอกชนค่อนข้างมาก ดังนั้น การศึกษาองค์กรภาครัฐ จึงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้ "ผู้นำ" ภาคเอกชนได้รับรู้ปัญหาและอุปสรรค เมื่อรับรู้ว่าเป็นปัญหามีอุปสรรคก็สามารถที่ปรับสภานภาพองค์กรของตนเองเพื่อสร้างโอกาสในการดำเนินกิจการของตนเองได้ มูลเหตุแห่งความล่าช้าขององค์กรภาครัฐ กล่าวคือ พื้นฐานความรู้ความเข้าใจของคนในองค์กร ยังยึดความถูกต้องของกระบวนการและระเบียบกฎหมายเป็นเป้าหมายหลัก ค่านิยมการทำงานของข้าราชการต่างยึดหน้าที่ หวงงานไม่อยากให้คนอื่นทำของให้มีปริมาณงานมากๆ จะได้งานประมาณมาก ขาดความคิดเชิงบูรณาการในการบริหารงาน ชอบคิดแยกส่วนหรือใช้กรอบพื้นฐานความรู้เฉพาะด้านอธิบายความหมายทั้งหมด ทัศนคติของคนต่ออาชีพราชการ มีความคิดว่า ราชการเป็นงานที่มั่นคง ความดีไม่มีความชั่วไม่ปรากฎ อยู่ได้จนเกษียณ ขาดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง เมื่อไม่พัฒนาตนเองทำให้ไม่กล้าที่รับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช้ามาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของตนเอง

        องค์กรภาคเอกชน ดังที่ทราบเป้าหมายขององค์กรภาคเอกชนคือแสวงหากำไรและให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ตกอยู่เฉพาะคนเฉพาะกลุ่ม ซึ่งต่างกับองค์กรภาครัฐที่มิได้แสวงหากำไร แต่มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นส่วนรวม วัตถุประสงค์ขององค์กรภาครัฐนี้ ถ้าพิจารณาภายในของเขตของรัฐ แต่ถ้าขยายภาพออกไปนอกประเทศไทย ประเทศจึงมีฐานะเป็นองค์กรหนึ่งในสังคมนานาชาติ ถ้าภาครัฐของไทยค้าขายกับภาครัฐประเทศอื่น ก็ต้องแสวงหากำไร ทัศนคติของคนหรือพนักงานต่ออาชีพงานเอกชนถือว่าเป็นงานที่ท้าทาย ความมั่นคงในอาชีพนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของคน หาใช่องค์กรไม่ ซึ่งต่างกับคนรับราชการ กล่าวคือ จะเอาความมั่นคงในอาชีพของตนฝากไว้กับความมั่นคงขององค์กร ทัศนคติเช่นนี้ ส่งผลให้คนในภาคเอกชนกระตือรือร้น ขวนขวายหาความรู้มากกว่าคนในภาครัฐ

        ผู้เขียนเห็นว่า...ทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนจะประสบผลสำเร็จได้ สิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาอันดับแรก คือ "ทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นผู้นำ" ควรจะต้องมีความรู้ในศาสตร์นี้เกี่ยวข้อง มีประสบการณ์และทักษะทางการบริหาร พนักงานมีความใฝ่รู้ในเทคโนโลยีและเทคนิคการบริหารใหม่ๆ กระตือรือร้นพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา และต้องทำให้คนในองค์กรยอมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติวิสัย ผู้นำต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนสำหรับตัดสินใจ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ทรัพยากรมนุษย์คือทุนที่สำคัญขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะทำอะไร จะพัฒนาอะไร จะสร้างองค์กร จะสร้างสังคม ชุมชนหรือครอบครัว หากมีการ "ลงทุน" กับทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจังแล้ว เชื่อว่าในวันข้างหน้าจะมีความคุ้มค่าและยั่งยืนอย่างแน่นอน

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                 ผู้ศึกษามีแนวคิดว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันโดยทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มีระบบการบริหารจัดการที่มีการวางแผนการทำงาน     มีบุคลากรซึ่งถือว่าคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องให้การพัฒนาเพิ่มศักยภาพการทำงาน   ภาครัฐมีการบริหารจัดการที่ไม่มีต้นทุนไม่หวังกำไรแต่เป็นการให้บริการแก่ประชาชน  เอกชนหรือภาครัฐด้วยกัน  ส่วนภาคเอกชนมีการบริหารจัดการที่หวังกำไร แต่การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนต้องอาศัยการบริหารจัดการของภาครัฐเพื่อให้การดำเนินงานของภาคเอกชนดำเนินงานต่อไป   ซึ่งทั้ง 2  ฝ่ายควรคำนึงถึงผู้บริโภคหรือผู้รับบริการ ในการบริหารงานภาคเอกชนขึ้นอยู่กับผู้บริหารสูงสุด (CEO)  เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจมีความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ   ภาครัฐผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจสูงสุดเช่นกันแต่มีขั้นตอนการเสนองานมากการทำงานไม่คล่องตัวต้องลดขั้นตอนการทำงานลง    และต่างก็เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ภาครัฐต้องอาศัยภาคเอกชนในการดำเนินงานที่ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้เองเช่นการก่อสร้างสำนักงาน    ส่วนภาคเอกชนในการดำเนินธุรกิจจะต้องพึงภาครัฐในเรื่องการให้คำรับรองการเสียภาษีการติดต่อประสานงานการทำโครงการต่าง ๆ ต้องอาศัยบุคลากรจากภาครัฐ จะเห็นว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีจุดมุ่งหวังที่จะทำประโยชน์ให้สังคมและ ประชาชนเหมือนกัน
ภาครัฐและภาคเอกชนมีการจัดวางทิศทางองค์กรที่แตกต่างกันในเรื่องการกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร หน่วยงานราชการจะกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ในลักษณะที่กว้างและยืดหยุ่น สามารถขยายหน่วยงานได้ในอนาคต และฝ่ายการเมืองมักจะใช้อิทธิพลในการปรับภารกิจและเป้าประสงค์ไปตามนโยบายของนักการเมืองที่ได้เป็นผู้บริหารในรัฐบาล โดยมิได้คำนึงถึงแผนพัฒนาประเทศระยะยาว การกำหนดกลยุทธ์ การวางแผนของหน่วยงานราชการถูกกดดันโดยอิทธิพลทางการเมืองและสังคมค่อนข้างมาก ในขณะที่การวางแผนของภาคธุรกิจถูกกดดันโดยอิทธิพลทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีมากกว่า การปฏิบัติตามกลยุทธ์ มีความแตกต่างในเรื่องพฤติกรรมของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ลูกจ้างในภาคเอกชนมีแรงจูงใจชัดเจนของค่าตอบแทนจากการทำงาน ซึ่งสร้างความภักดีต่อองค์กรค่อนข้างสูง  ข้าราชการมีความตระหนักในการเป็นลูกจ้างรัฐบาลค่อนข้างน้อย  มองตนเองอยู่ในกลุ่มวิชาชีพอิสระมากกว่า  ค่าตอบแทนจากการทำงานมาจากการยึดถือกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติที่สลับซับซ้อนมากกว่าได้มาจากประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การควบคุมเชิงกลยุทธ์  เมื่อหน่วยงานราชการกำหนดภารกิจและเป้าหมายไว้หลากหลายและคลุมเครือ ทำให้การควบคุมทำได้ยากลำบากวัฒนธรรมขององค์กรมีผลอย่างยิ่งต่อกระบวนการดำเนินงานในองค์กรนั้น ส่งผลถึงความสามารถขององค์กรในการดำเนินกลยุทธ์  หน้าที่ประการหนึ่งขององค์กรและผู้บริหาร คือ การทำให้บุคลากรภายในองค์กรมุ่งไปสู่การคิดถึงสิ่งที่ดีที่สุดต่อองค์กรในอนาคต มุ่งไปสู่เป้าหมายและภารกิจขององค์กร ผู้บริหารภาครัฐจะต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทัดเทียมกับภาคเอกชน ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งโครงสร้าง ที่มีอยู่เราจะเน้นเรื่องของความรวดเร็ว ความเที่ยงตรง และความมีประสิทธิภาพ บุคลากรทุกคนต้องมี Job Description สิ่งเหล่านี้จะต้องทำให้เจ้าหน้าที่เข้าใจ เจ้าหน้าที่ของเราทุกคนต้องมี Job Description ถ้ามี Job Description ครบ ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานเราจะรู้ว่างานแต่ละงานมีผู้รับผิดชอบหรือยัง และจะรู้ว่ามีงานบางงานมีความซ้ำซ้อนกันไหม งานอะไรที่ขาดยังไม่มีคนทำ เพราะฉะนั้นจาก Job Description จะทำให้จัดบุคลากรได้เหมาะสม เป็นเรื่องที่จะช่วยว่ามีงานครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน  การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ ในฐานะที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ต้องดูแลบุคลากรสายสนับสนุนว่าจะทำอย่างไรให้บุคลากรของเราทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเรื่องของการดูแล การบริหาร  การพัฒนาบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะต้องเน้นว่าให้ผู้ที่ทำงานกับเราได้รับการพัฒนา ในแต่ละปีต้องทำแผนพัฒนาบุคลากร ทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ของเราทุกคนมีการพัฒนาตนเอง ทำให้ระบบงานของตนเองมีความก้าวหน้า มีความรวดเร็วโดยตลอด ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ขององค์การคือ ทุกคนจะต้องขวนขวายหาความรู้ และในขณะเดียวกันการอบรม การสัมมนาของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยในเรื่องของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ให้พนักงานทุกคนรู้และเข้าใจองค์การแห่งการเรียนรู้  ถ้าภาครัฐทำได้อย่างนี้ ไม่นานก็จะทัดเทียมกับภาคเอกชน
น.ส.อรทัย บุญยรัตพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4
นางสาวอรทัย  บุณยรัตพันธ์  เลขที่ 5                                          ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                      ปัจจุบันภาครัฐมีนโยบายในการบริหารพัฒนาหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ , ด้านสังคม , ด้านการศึกษา , ด้านสิ่งแวดล้อม ฯ ลฯ นโยบายเมกกะโปรเจ็กต์ เป็นนโยบายที่ภาครัฐได้วางแผน ซึ่งต้องประสานงานกับภาคเอกชนในการร่วมงานและดำเนินการ จึงจะประสบผลสำเร็จ เช่น การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของภาครัฐก็คือ ข้าราชการที่จะต้องประสานงานกับองค์กรเอกชน  เพื่อเปิดให้มีการแข่งขันราคารับเหมา หรือเปิดซองประมูลถ้าผู้รับผิดชอบของภาครัฐมีความเป็นธรรม  มีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ก็จะทำให้องค์กรเอกชนที่มารับเหมา มีประสิทธิภาพ ในการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับภาครัฐและประเทศชาติ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าข้าราชการในภาครัฐฮั้วกับผู้รับเหมาภาคเอกชนก็จะก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น รันเวย์เกิดร้าวก่อนกำหนดหรือเครื่องสแกน CTX ที่มีการกล่าวหาผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ คอรัปชั่น สรุปการบริหารทรัพย์กรมนุษย์ในภาครัฐและภาคเอกชน ต้องคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กร เช่น  ภาครัฐต้องคำนึงถึงประเทศชาติเป็นหลัก ข้าราชการที่ดีต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความโปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้ ส่วนภาคเอกชนต้องคำนึงเป้าหมายคือคุณภาพและประสิทธิภาพขององค์กร  เมื่อองค์กรมีกำไรในบางครั้งก็อาจจะตอบแทนให้กับสังคม เช่น จัดตั้งมูลนิธิต่างๆ ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส
น.ส.จารุวรรณ ตันไชย นักศึกษา รปม.รุ่น 4
นางสาวจารุวรรณ  ตันไชย  เลขที่  15 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ในปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก สังเกตได้ว่า กิจการต่างๆ ของภาครัฐส่วนใหญ่นั้น ล้วนมีเอกชนเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า ไปรษณีย์ รถร่วมบริการ องค์การเหล่านี้นับได้ว่า เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถ้าภาครัฐดำเนินการเอง อาจเกิดการล่าช้าและขาดทุน จึงต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการแทน เพื่อความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และอยู่ในการควบคุมดูแลของภาครัฐ  เพื่อให้อยู่ในกรอบหรือกฎระเบียบที่กำหนดไว้ ในหลายองค์กรของภาครัฐก็เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่า ได้มีการแข่งขันหรือประมูล เพื่อให้บริษัทเอกชนภายนอกเข้ามาทำงานในหลายส่วน เช่น บริษัททำความสะอาด (CARE CLEAN) บริษัทรักษาความปลอดภัย หน่วยงานเหล่านี้จะช่วยภาครัฐได้ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นการลดขั้นตอนในการทำงานของภาครัฐให้กระชับขึ้น จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนมีการเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น เพื่อร่วมงานกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ (Objective) ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ อาจเพื่อการพัฒนาขององค์กรหรือประเทศ
น.ส.ภัทรจิตรา เขียวมีส่วน นักศึกษา รปม.รุ่น 4
นางสาวภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  เลขที่  10                                                                                                                                     ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร สิ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่มองว่าระบบราชการนั้นไม่ดีและไม่ทันสมัยนั้น ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภาครัฐเหมือนกัน  ไม่อยากจะยอมรับเลยว่า บางส่วนก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ภาครัฐยังไม่มีการจัดการหรือการบริหารคนหรือการใช้คนให้ถูกต้องกับงานหรือหน่วยงานเท่าที่ควร การบริหารคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในด้านความรู้ ความสามารถและทักษะในด้านต่างๆ หรือการออกไปดูงานในส่วนของภาคเอกชน และสิ่งที่เห็นว่าดี หรือสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับหน่วยงานของตนได้นั้น ก็ควรนำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญก็คือ การเปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กร ได้เข้ามารับรู้ถึงปัญหาและมีส่วนในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนตระหนักว่า ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และองค์กรก็เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคน-       ทัศนคติและพฤติกรรมบางอย่างของคนที่ทำงานในส่วนราชการ ก็คือ ข้อผิดพลาดในการทำงาน ในส่วนของภาคราชการ ถึงจะทำงานผิดพลาดก็ไม่โดนไล่ออก แต่ในขณะที่ภาคเอกชน การทำงานทุกอย่างต้องเป็นระบบขั้นตอนถูกต้อง เพราะถ้าหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ถึงจะน้อยก็จะส่งผลกระทบถึงองค์กรได้อย่างมากทีเดียว ทำให้พวกเขามีความกระตือรือร้นในการทำงาน และเห็นถึงความสำคัญของงานที่ตนทำ และผลงานที่ทำ คอยแต่ทำงานตามที่หัวหน้าสั่ง ถ้าหัวหน้าไม่สั่งก็ไม่ทำ ผลที่ตามมาก็คือ ขาดความใส่ใจในงาน ไม่รักความก้าวหน้า และสุดท้ายก็จะกลายเป็นคนเฉื่อยชาในที่สุด-       ความล่าช้าในการให้บริการกับประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาระหน้าที่ของภาครัฐ ที่เข้าไปควบคุมดูแล แต่สิ่งที่ประชาชนได้รับ คือ ความไม่สะดวก ความล่าช้า และความไม่รู้ในการปฏิบัติตามที่หน่วยงานแต่ละที่ได้วางกฎระเบียบไว้  ซึ่งถือเป็นข้อบกพร่องของหน่วยงานรัฐอย่างหนึ่งเหมือนกัน  สิ่งที่จะเข้ามาแก้ไขได้ก็คือ การนำอุปกรณ์ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการให้บริการ ซึ่งภาคเอกชนจะช่วยได้มากทีเดียวในเรื่องนี้  ความทันสมัย  ความรวดเร็ว  ความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้รับบริการเป็นสิ่งที่เอกชนคำนึงถึงอย่างมาก  ซึ่งเป็นจุดที่ภาครัฐปล่อยปะละเลย หรือแทบจะไม่คำนึงถึงเลย ภาครัฐจะต้องเอาเยี่ยงอย่างภาคเอกชนอย่างมากทีเดียว  นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการขอรับบริการผ่านการสื่อสารต่างๆ เพื่อให้ประชาชนรับทราบก่อนเดินทางมาติดต่อรับบริการ  รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความถึงเห็น และร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงานราชการ เพื่อให้การบริการทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความโปร่งใส  เป็นธรรม  และสามารถตรวจสอบในทุกขั้นตอนได้-       ทุนและอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่ภาคเอกชนมีความรู้และมีกำลังเงินในการจัดซื้อ ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้ภาครัฐทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือการจัดส่งบุคลากรที่มีความรู้ในทักษะต่างเข้ามาแนะนำในเรื่องนั้น 
นางสมจิตร ส่องสว่าง

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

    ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยี ด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ

  -  ด้านการพัฒนาบุคลากร ภาครัฐจัดทำโครงการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร โดยเรียนเชิญตัวแทนจากบริษัทเอกชนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานมาเป็นวิทยากร และอาจจะพาผู้เข้าอบรมไปดูงานที่บริษัทเอกชน

  -ด้านการบริหารการจัดการ ภาครัฐ ยกตัวอย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบภารกิจผลผลิตของเกษตรกร ถ้าที่ไหนมีผลผลิตมาก ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภค เช่น ในปี 2550 ลองกองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาห้างเทสโก้โลตัส ห้างแม็คโคร ห้างบิ๊กซี ต้องเข้าไปรับซื้อผลผลิตผ่านสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ นำไปจำหน่ายในห้าง

  -ด้านเทคโนโลยี ภาครัฐไม่มีความชำนาญและประสบการณ์ จำเป็นต้องร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น รถไฟฟ้า

  -ด้านโลจิสติกส์ ภาครัฐ ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศ

  ส่วนใหญ่จะเห้นว่าภาครัฐจะป็นผู้กำหนดนโยบาย และวางแผนงาน ภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการให้แผนงานของรัฐบรรลุเป้าหมาย โดยมีคนเข้ามาเป็นตัวจักรในการขับเคลื่อนในแต่ละด้าน โดยจะมีการใช้แรงงานคน ทำให้ประชาชนมีรายได้ นำมาใช้จ่าย เอกชนก็มีรายได้ และเอกชนก็มีผลกำไร เอกชนต้องเสียภาษีให้ภาครัฐ ภาครัฐนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศ และเอกชนยังสนับสนุนตอบแทนภาครัฐโดยการบริจาคผ่านองค์กรการกุศล ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า ฯลฯ

  ภาครัฐกับภาคเอกชนเหมือนกัน

  1.  มีองค์กร
  2.  มีคนทำงานในองค์กร
  3.  มีผู้บริหาร
  4.  มีเงินทุน
  5.  มีวัสดุอุปกรณ์

  ภาครัฐกับภาคเอกชนต่างกัน

                ภาครัฐ                                                  ภาคเอกชน

  1.  มีกฎระเบียบมาก                                   1.  มีความคล่องตัว
  2.  ขาดความคล่องตัว                               2.  ผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจ
                                                                          สายบังคับบัญชาสั้น
  3.  มีสายบังคับบัญชายาวมาก                   3.  ใช้ระบบความรู้ ความ    
                                                                          สามารถในการพิจารณา 
                                                                          ความดีความชอบ
  4.  ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการ
        พิจารณาความดีความชอบ                   4.  คำนึงถึงผลกำไรเป็นหลัก

  5.  ไม่มีผลกำไรขาดทุนเป็นแรงจูงใจ         5.  คำนึงลูกค้าเป็นหลัก

  6.  คำนึงการอยู่ดีกินดีของประชาชน
       และความมั่นคงของประเทศชาติ
       

นาย.ธนิก กัมพูศิริพันธุ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4
เรียน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และ  MPA 4 สวนสุนันทา ทุกท่าน   ภาครัฐและภาคเอกชนมีความ  กล่าวได้ว่าภาครัฐหรือหน่วยงานของรัฐสามรถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และส่วนราชการที่เป็นหน่อยงานใหม่ ส่วนราชการทำหน้าที่ด้านการให้บริการให้แก่ประชาชนและสาธารณะ ทางการปกครอง โดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร ส่วนการดำเนินงานนั้น จะใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับ ภาคเอกชน คือ องค์กรที่แสวงหาผลกำไรเพื่อองค์กร และ พนักงานภายในองค์กร เพื่อความอยู่ดีมีสุข นั่นเองส่วนเรื่องของที่ว่าภาครัฐและเอกชนนั้นเชื่อมโยงกันอย่างไรนั้น  กล่าวคือระบบงานของภาครัฐ มีขั้นตอนระเบียบแบบแผ่นที่ยุ่งยากกฎที่รัดกุม ทุกอย่างต้องมีขั้นตอนเสมอ ทำให้ระบบราชการในการทำงานนั้นมีความล่าช้า ส่วนระบบการทำงานของภาคเอกชนนั้น จะไม่ค่อยมีกฎระเบียบตายตัวมากนัก และยัง มีความรวดเร็วในการทำงาน ส่วนในการเชื่อมโยงกันนั้น จะขอยกกรณีศึกษา  เรื่องของการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสู่ในประเทศ คือ ภาคอกชนนั้นนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนสู่ประเทศไทย โดยผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่ามาครบหรือไม่สินค้าถูกต้องหรือเปล่าในระดับ นึง เพื่อสร้างความสะดวกสบายแก่เอกชน ส่วนเอกชนก็จะนำสินค้าที่ได้ไปขาย ให้แก่ประชาชน และนำผลกำไรที่ได้มาหักจ่ายภาษี เพื่อให้รัฐ มีเงินในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานได้อย่งเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประชาชนและองค์กรภาคเอกชนนั้นเอง
นางสาวลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่น 4
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันทั้งด้านเศรษฐกิจ  การเมือง  และสังคม   มรดกทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของคนในชาติช่วยเพิ่มคุณค่าทางสังคมและช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเช่น โครงการ OTOP  และการท่องเที่ยว โดยให้ความสำคัญกับ culture Capital  เป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์เพราะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากคนเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วเราจะไม่สามารถอยู่รอด และแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน ไม่สามารถทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นได้ระบบของราชการไทยรัฐยังไม่ให้โอกาสเท่าเทียมกับหน่วยงานเอกชน มีสายการบังคับบัญชามาก กฎระเบียบขั้นตอนมากทำให้เกิดความล่าช้าขาดความคล่องตัวในการบริหารงาน ผิดพลาดซ้ำ หลายครั้ง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มีระบบเล่นพรรคเล่นพวก ระบบนายทุนทำให้ระบบราชการเติบโตช้ามากในด้านการเกษตรมีระบบนายทุนเข้ามามีอิทธิพลมีพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแสวงหาผลประโยชน์จากประชาชนเป้าหมายคือคอรัปชั่นและผลประโยชน์ของพรรคพวกตนเองทกอย่างล้วนมีอิทธิพลต่อภาครัฐการบริหารงานภาครัฐหวังผลประชาชนอยู่ดีมีสุขถือเป็นกำไร  ส่วนภาคเอกชนหวังผลกำไรจากการประกอบการ แต่รัฐต้องอาศัยภาคเอกชนทุกอย่างจะเจริญก้าวหน้าตามยุคโลกาภิวัตน์ เช่นกรมทางหลวงในด้านเทคโนโลยี เครื่องมือใหม่ๆที่ทันสมัยที่นำเข้ามาจากต่างชาติต้องอาศัยภาคเอกชนในการพัฒนางาน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างคุณค่าของทุกองค์กรที่จะนำพาประเทศชาติเจริยรุ่งเรืองทันต่อเหตุการณ์ เช่นโทรศัพท์  ภาคเอกชนหวังผลประโยชน์มากทให้มีผลกระทบต่อภาครัฐในยุคโลกาภิวัตน์นี้ ความรู้และปัญญา คือำนาจโดยอาศัยทฤษฏี 8 K’s ประเภท Intellectual Capital  สามารถในการคิดเป็นวิเคราะห์เป็น สามารถนำความรู้ไปสู่มูลค่าเพิ่มได้ เช่นการค้ากับต่างประเทศเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ( 7 กุมภาพันธ์  )  ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกจงดลบันดาลให้ท่านประสพแต่ความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรง ค่ะ
โดย  นางวีรยาพร  อาลัยพร  รหัส  50038010036  เลขที่ 36  รปม. รุ่น 4 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                                ในปัจจุบันนี้โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย  ทั้งในด้านการสื่อสาร การเชื่อมโยงติดต่อกัน จากที่กว้างห่างไกลกันใช้เวลาติดต่อสื่อสารกันเป็นวัน ๆ ก็กลับทำให้เล็กเข้ามาหากันติดต่อกันได้ง่ายขึ้น  โดยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย สื่อสารกันได้รวดเร็วฉับไวขึ้นก็เปรียบเสมียนกับภาครัฐและภาคเอกชนที่ต้องมีความเชื่อมโยงกันในด้านต่าง ๆ เพราะภาครัฐและภาคเอชนมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในจุดหมายเดียวกัน อยากให้องค์กรของตัวเองเข็มแข็งและมีประสิทธิภาพ มีบุคลากรที่ดี มีคุณธรรม  มีจริยธรรม  มีความภักดีต่อองค์กร มีการบริหารการจัดการที่ดี มีการเลือกสรร และธำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน ซึ่งทั้งภาคเอกชนและภาครัฐต่างก็มีเป้าหมายไม่เหมือนกัน กล่าวคือภาคเอกชนมีเป้าหมายเพื่อหวังผลทางกำไรที่เป็นตัวเงิน แต่ภาครัฐไม่ได้หวังผลกำไรที่เป็นตัวเงิน แต่เป็นกำไรที่มองไม่เห็น นั่นคือความอยู่ดีกินดีของประชาชน   ซึ่งนั่นก็คือการบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน   ดิฉันจะขอยกตัวอย่างในเรื่องการเชื่อมโยงกันของภาครัฐและภาคเอกชน ในองค์กรของดิฉันเอง  คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์  เป็นหน่วยงานราชการหน่วยงานหนึ่งในภาครัฐ  กล่าวคือปัจจุบันนี้ได้มีการจัดซื้อจัดจ้าง ในเรื่องของการจ้างเหมารถยนต์ของทางราชการ      ซึ่งเมื่อสมัยก่อนนี้ได้มีการจ้างลูกจ้างประจำให้ทำหน้าที่พนักงานขับรถยนต์ของทางราชการ  แต่เนื่องจากระบบราชการมีสายการบังคับบัญชาที่ยาว ในแต่ละครั้งจะขอใช้รถยนต์ราชการแต่ละทีต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ทำให้ล่าช้าในการตัดสินใจ เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ   ผู้บริหารของกรมฯ จึงได้ตัดสินใจจัดซื้อจัดจ้างกับบริษัทในภาคเอกชน   ในรูปแบบของการให้เช่าทั้งตัวรถยนต์และระบบการบริการของพนักงานขับรถยนต์ที่ดี  ทำให้กรมฯ ได้ประหยัดงบประมาณในด้านการดูแลบำรุงรักษา  และสามารถนำบุคลากรที่มีอยู่ของกรมฯ ไปพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน  เมื่อบุคลากรของกรมฯ มีประสิทธิภาพก็สามารถที่จะนำพาองค์กรของตนให้บรรลุเป้าหมายได้  อีกทั้งงบประมาณที่ประหยัดก็กลับคืนเข้าสู่งบของประเทศชาติ และรัฐบาล (ภาครัฐ) สามารถนำงบที่มีอยู่ไปใช้เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดีขึ้น  ส่วนบริษัทในภาคเอกชนที่มารับเหมากับกรมฯ  ก็นำพาบุคลากรของบริษัทที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มาให้บริการกับกรมฯ เพื่อทำให้กรมฯ คือภาครัฐ  เกิดความพึงพอใจสูงสุด  เมื่อกรมฯ คือภาครัฐเกิดความพึงพอใจสูงสุดแล้ว ก็สามารถที่จะเป็นคู่ค้ากันได้ตลอดไป  ทำให้บริษัทได้รับผลกำไรอย่างต่อเนื่อง  บุคลากรในบริษัทก็ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น สวัสดิการที่ดีขึ้น  ได้รับผลตอบแทนพิเศษเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน  ทำให้ไม่อยากไปทำงานที่อื่น บริษัทก็สามาถรักษาบุคลากรที่ดีมีคุณภาพขององค์กรไว้ได้  ส่วนภาครัฐก็คือกรมฯ ของดิฉัน สามารถที่จะประหยัดงบประมาณในการดูแลและบำรุงรักษาในเรื่องของยวดยานพาหนะ    และบุคลากรที่มีอยู่ก็สามารถไปพัฒนาศักยภาพในการทำงานในด้านอื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารของกรมฯ มีการบริหารจัดการที่ดี  มองเห็นประโยชน์สูงสุดขององค์กรที่จะได้รับ และความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์คือบุคลากรของกรมฯ นั่นเอง  ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ในการทำงานให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนที่จะมาขอรับการบริการจากองค์กร  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการเชื่อมโยงกันอยู่เสมอในทุก ๆ ด้าน  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์
ความรับผิดชอบที่ต้องถูกตรวจสอบ (Accountability)ความรับผิดชอบที่ต้องถูกตรวจสอบ เป็นส่วนที่ทำให้ภาครัฐกับภาคเอกชนต่างกันมาก ในภาคเอกชน Accountability จะชัดเจน และไม่มีปัญหา เช่น ถ้าเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะรับผิดชอบต่อเจ้าของหน่วยงาน รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ถ้าไม่สามารถบริหารได้ตามที่ตกลงกันไว้ เช่น ทำกำไร หรือขยายงานไม่ได้ตามที่กำหนด จะต้องออกจากตำแหน่งส่วนภาครัฐ Accountability จะไม่ชัดเจน เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องมี Accountability อย่างไร ส.ส. มีความรับผิดชอบโดยมีใครเป็นผู้ตรวจสอบ ใครควบคุม ซึ่ง ส.ส. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร เนื่องจากปัจจุบัน ภาวการณ์แข่งขันในตลาดโลกมีการแข่งขันกันมากขึ้นฉะนั้นนักธุรกิจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จะต้องมีการมองในภาพรวมของรัฐบาลว่ามีเสถียรภาพมั่นคงแค่ไหน เพราะรัฐบาลจะเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศและในประเทศให้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายของรัฐบาล , ด้านกฎหมายการค้าจะต้องเอื้ออำนวยต่อภาคเอกชน รวมทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้า ตัวอย่างเช่น รัฐบาลลงนามการค้าเสรีระหว่างประเทศ , ลดภาษีการนำเข้าและส่งออก นอกจากนี้ หากจะมองกันให้ชัดเจนแล้ว ในระบบของการแข่งขันในโลกเศรษฐกิจปัจจุบัน พบว่า ผู้ที่มีเงินทุนในการผลิตสินค้าสูง มักจะเป็นได้ประโยชน์มากกว่าแหล่งทุนขนาดกลางและขนาดย่อม เนื่องจากสามารถแข่งขันได้อย่างหลากรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตาม ในระบบการแข่งขันในตลาดเศรษฐกิจนั้น ๆ มิได้มีเพียงเฉพาะนายทุนหรือเอกชนที่มีทุนสูงเท่านั้น ที่เป็นผู้กำหนดทิศทางเศรษฐกิจ หรือ สามารถควบคุมกลไกราคาได้ แต่ภาครัฐ นั้น เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การแข่งขันในตลาดมีความสุจริตหรือเท่าเทียมกัน ซึ่งการควบคุมของภาครัฐในลักษณะเช่นนี้ ทำให้ราคาสินค้า(โดยเฉพาะสินค้าเพื่อการบริโภค) มีราคาไม่สูงเกินความเป็นจริง และอยู่ในภาวะที่ทำให้ทุกคนในสังคมสามารถจับจ่ายซื้อหามาใช้อุปโภคบริโภคได้ ซึ่งการดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ ย่อมทำให้ราษฎรมีความพึงพอใจ และสังคมในภาพรวมมีความสงบสุข รัฐจึงสามารถดำรงมั่นคงของตนได้ และในส่วนของภาคเอกชนเช่นกัน ที่มีความจำเป็นต้องให้รัฐเข้าไปดำเนินการหรือส่งเสริมในหลายธุรกิจ เนื่องจาก ภาคเอกชนไม่มีความรู้ความชำนาญ หรือช่องทางกฎหมาย ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจนั้น เช่น ภาษีต่าง ๆ ทั้งนี้ ในหลายกรณี จะพบว่า ภาครัฐได้เข้าไปสนับสนุนในส่งเสริมการผลิตสินค้าในบางรายการ เพื่อให้สินค้านั้นๆ หรือ ผู้ประกอบการ สามารถต่อสู้ในตลาดแข่งขันได้ หรือรัฐเข้าไปดำเนินการแทรกแซงราคา เช่น การแทรกแซงราคายาง หรือ การรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตร เป็นต้น ดังนั้น เมื่อจะกล่าวถึง ความเชื่อมโยงของรัฐและเอกชน จึงเป็นความสัมพันธ์ที่มีทั้งด้านบวกและลบ แต่อย่างไร ความสัมพันธ์ดังกล่าว ต้องอยู่บนฐานของความสมดุลของสังคม และความต้องการของผู้ที่อยู่ในสังคมแห่งนั้น

 

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

ทั้งสององค์กรจะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมีโครงสร้างขององค์กรที่คล้ายกันและต้องการบุคคลากรที่มีคุณภาพมีความรู้ความสามารถเหมือนกันเพื่อที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จแต่ภาครัฐมีสายการบังคับบัญชามากดังนั้นจึงส่งผลให้การทำงานของภาครัฐไม่ประสบความสำเร็จ และทำงานได้ล่าช้ามาก และผลงานออกมาไม่ค่อยมีคุณภาพ ดังนั้นจึงทำให้การบริหารจัดการของภาคเอกชนมีความรวดเร็วและคล่องตัวกว่า และมีมาตราฐานมากกว่าเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ว่าจะต้องทำอะไรก็จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้มากกว่าเพราะองค์กรเอกชนต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อที่จะให้ตัวเองอยู่รอดได้และมุ่งหวังแต่ผลกำไร แต่ภาครัฐไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรแต่มีเป้าหมายคือ การให้ความเสมอภาคและการให้บริหารต่อประชาชน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชนมีโครงสร้างมีการบริหารจัดการที่เหมือนกัน ต้องการบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาอยู่ในองค์กร โดยผ่านการคัดเลือก มีการวางแผนงานและปฏิบัติงาน การควบคุมงาน การฝึกอบรม การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นภาครัฐและภาคเอกชนต่างก็ต้องการได้รับผลตอบแทนมีการแสวงหาผลประโยชน์ ต้องการให้คนนับถือ ต้องการได้รับการยกย่องจากคนในองค์กร ส่วนภาคเอกชนก็ต้องการหวังผลกำไรเช่นกัน

นางสาวดนิตา มูลละออง
นางสาวดนิตา  มูลละอองหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ 4มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร1.       เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น การนำเข้า การส่งออก-  ภาคเอกชนต้องพึ่งระบบราชการ คือ กฎ ระเบียบ-  ภาครัฐต้องพึ่งเอกชนในแง่ระบบเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจดี เงินหมุนเวียนมาก ประชาชนมีมาตรฐาน       ชีวิตที่ดี เพราะรัฐจะต้องเป็นผู้ดูแลประชาชน2.       ภาครัฐและภาคเอกชนมีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน-  ภาคเอกชนบริหารไม่ดีองค์กรอยู่ไม่ได้ เพราะมุ่งหวังกำไร-  ภาครัฐบริหารไม่ดีองค์กรอยู่ได้ เพราะมีเงินงบประมาณ และภาษีจากประชาชน3.       ภาคเอกชนมีความคล่องตัวสูง รัฐบาลมีความคล่องตัวน้อย-  ภาคเอกชนในการตัดสินใจรวดเร็ว สายการบังคับบัญชาสั้น เพราะถ้าตัดสินใจช้าจะทำให้เอกชนเกิด   ความเสียหาย-  ภาครัฐ การตัดสินใจช้า สายการบังคับบัญชายาว เพราะการตัดสินใจแต่ละครั้งจะต้องอยู่ที่    ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเพียงระดับเดียว-  ภาครัฐจะต้องอาศัยภาคเอกชนในระบบการทำงาน คือ การว่าจ้างภาคเอกชนในการสอนงานหรือการ    วางระบบในการทำงาน และสายการบังคับบัญชาสั้นลง ให้ทันต่อเหตุการณ์4.       ภาครัฐและภาคเอกชนมีการสรรหาบุคลากรเหมือนกัน มีวิธีการที่เหมือนกันแต่ต่างกันตรงกันดังนี้-  ภาคเอกชนในการสรรหาบุคลากร ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อัตราค่าตอบแทนสูง -  ภาครัฐบาลในการสรรหาบุคลากร ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเช่นกัน อัตราค่าตอบแทนต่ำ ทำให้    บุคลากรผู้เชี่ยวชาญส่วนมากอยู่ในองค์กรเอกชน5.       ภาครัฐและภาคเอกชนมีเป้าหมายที่เหมือนกันแต่วัตถุประสงค์แตกต่างกัน-  ภาคเอกชน เป้าหมายใหญ่อยู่ที่ประชาชน แต่มุ่งหวังกำไรสูงสุด-  ภาครัฐ เป้าหมายใหญ่อยู่ที่ประชาชน แต่ไม่ได้มุ่งหวังกำไร มุ่งหวังให้ประชาชนมีมาตรฐานชีวิตที่ดี       6.    ภาครัฐสร้างรายได้ให้แก่ภาคเอกชน  ส่วนภาคเอกชนผลิตสินค้าและบริการให้แก่ภาครัฐ เช่น              -  ภาคเอกชนเป็นผู้ได้รับการมอบหมายจากภาครัฐในการสร้างถนน เพราะเป็นผู้ชำนาญในด้านการ   ผลิต และมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก -  ภาครัฐเป็นผู้ว่าจ้างภาคเอกชนให้ผลิตสินค้าและบริการแทน เนื่องจากมีงบประมาณแต่ไม่สามารถ    ผลิตสินค้าและบริการเองได้6.       ภาครัฐได้รับมอบอำนาจจากประชาชนให้ดำเนินงาน เนื่องจากประชาชนเป็นผู้เสียภาษี        ภาคเอกชนดำเนินการเอง
นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว
นางสาวขนิษฐา  พลับแก้ว                รหัสนักศึกษา 50038010040            รปม.รุ่น 4 คำถาม   ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกัน  คือ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการ การนำเทคโนโลยีมาใช้เหมือนกัน  โดยภาครัฐมีความสามารถที่จะทำให้โครงการสำเร็จได้จะต้องอาศัยภาคเอกชนช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ทางรัฐบาลได้ส่งเสริมให้คนไทยและคนต่างชาติหันมาท่องเที่ยวในประเทศไทย  โดยทาง ททท.ได้ร่วมกับสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สนท.)  สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) จัดรายการนำเที่ยวในเส้นเดียวกัน  พร้อม ๆ กับการจับจ่ายสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลยังท้องถิ่นโดยตรง  เป็นการช่วยเหลือนักลงทุนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในธุรกิจท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าของที่ระลึกให้สามารถยืนหยัดอยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย ดังนั้น การทำงานของภาครัฐจะสำเร็จไม่ได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนหลาย ๆ แห่ง  และผลลัพธ์ของการที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาบุคลากรในการให้บริการโดยวิธีการพัฒนาที่หลากหลาย  เพื่อให้เกิดความพึงพอใจจากผู้รับบริการ เพื่อส่งผลให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั่วโลก  
นางสาวภัทรพร จึงทวีสูตร
นางสาว-ภัทรพร  จึงทวีสูตร รหัส  50038010035    นักศึกษา  รปม. รุ่นที่ 4แนวคิดภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ในปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชนต่างมีความเชื่อมโยงกันในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาบุคลากร  พัฒนาองค์กร  ด้านเทคโนโลยี ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์  ด้านการแข่งขันทางการค้า ล้วนต้องมีความเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบันการบริหารองค์กรของภาครัฐนับว่ายังไม่สามารถสู้ภาคเอกชนได้ ตัวอย่างเช่น ด้านการแข่งขันทางการค้า โดยใช้ ระบบโลจิสติกส์  คือ กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า เพื่อให้การบริโภคตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงต้องเชื่อมโยงภาครัฐกับเอกชน   ในปัจจุบันการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางการค้า จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารสินค้าการคลัง  การสั่งซื้อ  การบริหารข้อมูล  การบริหารการคลัง  การดูแลสินค้า ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กระทรวงพาณิชย์  กระทรวงคมนาคม  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร และท่าเรือแห่งประเทศไทย ต้องเข้ามาเชื่อมโยงด้วยจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการค้า และจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้าระหว่างประเทศไทยให้เติบโตขึ้นด้วยด้านการพัฒนาบุคลากรและการทำงานของภาครัฐมีการทำงานที่ล่าช้าและเทคโนโลยีไม่ทันสมัยมากเท่ากับภาคเอกชน ในการพัฒนาบุคลากรภาคเอกชนจะมีการสนับสนุนให้บุคลากรไปสัมมนา ฝึกอบรมหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำความรู้มาปรับใช้กับงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ความสามารถของคนในองค์กรเพื่อให้องค์กรอยู่รอด แต่ภาครัฐไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าไรนัก รัฐบาลมีระบบอุปถัมภ์ บุคลากรที่มาทำงานจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรสรุปได้ว่าในภาคเอกชนมีเป้าหมายในการประกอบกิจการเพื่อหวังผลกำไร และต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน แต่ในภาครัฐไม่ได้หวังผลกำไร แต่มีเป้าหมายเพื่อให้ความเสมอภาคต่อการใช้บริการต่อประชาชนมีเป้าหมายที่ต่างกันแต่ต้องมีความเชื่อมโยงกันจึงจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี
นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ
โดย นางสาวกมลทิพย์  สัตบุษ  รหัส  50038010042  ภาครัฐและภาคเอกชนเชื่อมโยงกันอย่างไรผู้ศึกษามีแนวคิดว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ภาครัฐทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และออกข้อกฎหมายต่าง ๆ และภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการนโยบายของรัฐ ตัวอย่างเช่น ภาครัฐออกกฎหมายในเรื่องการเสียภาษี โดยภาคเอกชนเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งภาครัฐก็จะนำเอาภาษีมาพัฒนาประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจของไทย เมื่อประเทศมีการพัฒนาที่ดีก็จะเอื้อให้ภาคเอกชนได้รับประโยชน์แน่นอนและประกอบธุรกิจเจริญก้าวหน้าต่อไป เนื่องจากมีศักยภาพมีโครงสร้างพื้นฐาน มีระบบการบริหารจัดการที่ไม่เสียเปรียบใคร ดังนั้นเมื่อมีการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ประโยชน์ โดยทั้งสองฝ่ายจะมีการบริหารจัดการคนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในองค์กรให้มีการขับเคลื่อนในการปฏิบัติงาน และการดำเนินงานของภาครัฐและของภาคเอกชน มีเป้าหมายเช่นเดียวกัน คือ ความเป็นเลิศขององค์กร ภาครัฐ จะคำนึงถึงความอยู่ดีกินดีของประชาชน ส่วนภาคเอกชน จะคำนึงถึง ผลกำไรจากลูกค้า รัฐจำเป็นที่ต้องเอาภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวเสริม  เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน เช่น บริษัททำความสะอาด  การสร้างรถไฟฟ้า  ถนน  สะพาน  เป็นต้น ซึ่งภาครัฐและเอกชนจะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและเชื่อมโยงกันตลอดเวลา
วีราวัลย์ จันทร์ปลา
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรผู้ศึกษาคิดว่าที่ผ่านมาระบบราชการไทยมีปัญหามากมายคือ  ขาดความชัดเจนต่อเนื่องในทางนโยบายและไม่มีผู้รับผิดชอบหรือการปฏิบัติอย่างแท้จริง  ทำให้ระบบราชการดำเนินไปแบบค่อยเป็นค่อยไป  ไม่ครบวงจร เกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อย   ขีดความสามารถที่ถดถอยลง   เกิดความซ้ำซ้อน  ขาดบูรณาการ  ความล่าช้า  ไม่มีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  โครงสร้าง  บทบาทและขนาดของภาคราชการที่ไม่เหมาะสม  การทุจริตประพฤติมิชอบ   ปัจจุบันภาครัฐมีการปรับปรุงการทำงาน โดยการยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)  และรูปแบบการบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New  Public Management) มีความทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพบ้านเมือง  และตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centered)  นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริการประชาชน   โอนงานให้ภาคเอกชนมาดำเนินการแทน ลดภารกิจราชการโดยการซื้อบริการจากเอกชนเป็นการเพิ่มการจ้างงานในภาคเอกชน  เช่น ใช้บริการรถเช่าแทนการซื้อรถ   การทำความสะอาด และการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ เป็นต้น  นอกจากนี้ภาครัฐต้องมีการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นหัวใจหลักขององค์กรให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามระบบงานใหม่  โดยการส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรม  ดูงานทั้งในและต่างประเทศ  มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน    มีการตรวจสอบการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ   ให้รางวัลสำหรับผู้ที่มีผลงานเพื่อกระตุ้นการพัฒนาตนเองและพัฒนาระบบงาน    และการบริการประชาชนซึ่งเป็นงานหลักของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพเหมือนหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งมีความเป็นผู้นำทางด้านการให้บริการลูกค้าและมีระบบการบริหารธุรกิจเป็นที่ยอมรับ  นอกจากนี้ภาครัฐมีนโยบายและงบประมาณเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยเหลือภาคเอกชนในการดำเนินธุรกิจ      เมื่อภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อภาพพจน์ของประเทศเป็นไปในทิศทางบวกจะเกิดการลงทุนจากภายในและภายนอกประเทศมาลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศดี  และประชาชนจะมีความเป็นอยู่ดีตามไปด้วย
น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ รปม.รุ่น4
ภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                หน่วยงานภาครัฐหรือที่เรียกว่าระบบราชการนั้นมีความสำคัญต่อความมั่นคงและความเจริญของประเทศเพราะระบบราชการเป็นกลไกสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการบริหารประเทศและการกำกับดูแลสร้างความเป็นธรรมในสังคมดังนั้น หากมองสังคม คือการที่กลุ่มคนคนหนึ่งไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดเพศ มารวมกันอยู่เป็นกลุ่มมีการสืบทอดต่อกันไปเรื่อยๆ มีสถาบัน มีวัฒนธรรม และมีเอกลักษณ์ของตนเอง โดยมีเป้าหมายคือการมีชีวิตอย่างสงบสุขนั้น การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สังคมต้องกำหนดกฎเกณฑ์ กติกาต่างๆ ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อแบ่งหน้าที่กันทำตามความเหมาะสมและปฏิบัติหน้าที่ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระบบสังคม หรือ ประเทศ ก็จะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันและยั่งยืนต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นเหตุให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐจึงต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน ขณะเดียวกันการปฏิบัติหน้าที่ของภาคเอกชนก็ต้องมีความสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานภาครัฐเช่นเดียวกัน เช่น ภาคเอกชนจะต้องการจะเปิดโรงงานน้ำตาลในจังหวัดกาญจนบุรี ภาคเอกชนจะต้องดำเนินให้ถูกต้องตามภารกิจของหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวกับการจะเป็นโรงงานดังกล่าวคือ ต้องขอใบอนุญาตในการเปิดโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม แต่ก็ต้องไม่ขัดข้องกับระเบียบกฎหมายทางด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องให้บริการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นธรรม และตามความต้องการของภาคเอกชนเช่นกันดังนั้นทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะร่วมกันสร้างความสงบสุขให้กับคนในสังคมและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศปัจจัยความสำเร็จปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือ ทั้งสองหน่วยงานจะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกันไปในทิศทางเดียวกัน หรือต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และที่สำคัญจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดเพื่อสร้างความสมดุลในการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน 
นายสุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014
นาย สุรัชต์ ชวนชื่น  รหัส 50038010014ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อกันอย่างไร -               ภาครัฐ มีการบริหารจัดการในแนวทางบริการสาธารณะและเพื่อประชาชนอยู่ดีกินดีความสุข, การรักษาอาณาเขต, เพื่อความมั่นคงของกองทัพและการใช้กฎหมายรักษาอธิปไตย ภาครัฐมีรายได้จากภาษีอากรจากภาคเอกชน มาบริหารจัดการประเทศไทยโดยรวม-         ส่วนภาเอกชน มีความคิดในการบริหารจัดการเพื่อหวังผลกำไรจากการประกอบการธุรกิจ และเป็นผู้เสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆให้แก่รัฐ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศให้รุ่งเรือง และบางส่วนนำกลับสู่ภาคประชาชนในรูปแบบนิยมหรือด้านสาธารณูปโภคสาธารณูการ โดยอาศัยหลักการพึ่งพาและเพื่อการอยู่รอดภายในประเทศเป็นต้น       ภาครัฐมีการใช้กลยุทธ์ ( Strategy ) ในการบริหารประเทศแบบธรรมาภิบาล แทนการบริหารแบบดั้งเดิม        ( Paradigm ) เช่น1.     มีการปฏิรูปบทบาทหน้าที่ โครงสร้าง และกระบวนการทำงานของหน่วยงานมีกลไกในการบริหารแบบใหม่2.            เปลี่ยนทัศนคติ วิธีการทำงาน รวดเร็ว คำนึงถึงผู้รับบิการ3.            ใช้ทุนมนุษย์ ( Human capital )  คือ สรรหาคนที่มีความรู้ความสามารถ (คนเก่ง) ตลอดจนทักษะ        ( Skills ) และความชำนาญเข้ามาทำงานในองค์กรเพื่อสร้างผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ( Quality )                  ส่วนภาคเอกชนก็ใช้กลยุทธ์แบธรรมาภิบาล  (goal governance ) คือ 1.            กำหนดความดปร่งใสและเป็นธรรมต่อลูกค้า2.            รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น3.            มีระบบติตามและตรวจสอบ4.            มีมาตรฐาน การให้บริการ                   สิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชน มีความคิดเชื่อมโยงเหมือนกันคือการกำหนดตัววัดที่มนุษย์ ในเชิงบริหารจัดการ ( Human capital management resourced  ) เช่น-         ด้านการสรรหา คัดเลือกคน-         ค่าตอบแทนและสวัสดิการ-         ด้านการดำรงรักษา คน ไว้กับองค์กร

-         มีการพัฒนา คนในองค์กรอยู่เสมอ

และที่สำคัญ ของภาครัฐและภาคเอกชน คือ การรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและของนายจ้าง
คำถาม  :    ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรคำตอบ  :   โดย นางบังอร  ภูมิวัฒน์   เลขที่  31  (รหัส  5577  5519  1005  1352)                                 จากการอ่านหนังสือหลายเล่ม  สรุปได้ว่า  ในองค์กรทั้งภาครัฐ  และภาคเอกชน  มีความเชื่อมโยงกันในหลายด้าน  และปัจจัยสำคัญในการบริหารงานขององค์กร คือ คน  ดังนั้น  ในการที่จะองค์กร บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ได้ต้องอาศัยการจัดการที่ดี  โดยต้องมีการวางระบบงานให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน  จนทำให้คนในองค์กรนั้น ๆ  เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน   จึงจะพูดได้ว่า หน่วยงานหรือองค์กรนั้น  ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการ                                ในส่วนของความเชื่อมโยงแสดงได้ดังนี้
จำแนกตามโครงสร้าง ภาครัฐ ภาคเอกชน
1.  องค์กร กระทรวง/กรม-         นโยบาย-         วิสัยทัศน์-         พันธกิจ-         กลยุทธ์ บริษัท-         เป้าหมาย(รวมถึงรายรับ กำไร ส่วนแบ่งตลาด)-         โอกาส-         คุณภาพชีวิต
2. ส่วนงาน ข้าราชการ-         จัดทำแผน/กิจกรรม-         ปฏิบัติตามระเบียบ/กฎเกณฑ์-         การประสานงานที่ดีตามขั้นตอน-         ลดขั้นตอนการทำงานให้เกิดความเร็วโดยใช้เทคโนโลยี-         ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากร-         ผลิตสินค้าใหม่ตามแผน เน้นคุณภาพของสินค้า-         เน้นความรวดเร็วและบริการที่ดี-         ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น-         ราคาต่ำ (ลดต้นทุน)
3. ผู้รับบริการ ประชาชน-         การกินดีอยู่ดี-         รายได้ต่อครัวเรือน-         มีการจ้างงานมากขึ้น-         ความพอใจ ลูกค้า-       สินค้าที่มีคุณภาพ-         ความพอใจ
 
นาย สุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014
นาย สุรัชต์ ชวนชื่น  รหัส 50038010014           ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อกันอย่างไร-               ภาครัฐ มีการบริหารจัดการในแนวทางบริการสาธารณะและเพื่อประชาชนอยู่ดีกินดีความสุข, การรักษาอาณาเขต, เพื่อความมั่นคงของกองทัพและการใช้กฎหมายรักษาอธิปไตย ภาครัฐมีรายได้จากภาษีอากรจากภาคเอกชน มาบริหารจัดการประเทศไทยโดยรวม-         ส่วนภาเอกชน มีความคิดในการบริหารจัดการเพื่อหวังผลกำไรจากการประกอบการธุรกิจ และเป็นผู้เสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆให้แก่รัฐ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศให้รุ่งเรือง และบางส่วนนำกลับสู่ภาคประชาชนในรูปแบบนิยมหรือด้านสาธารณูปโภคสาธารณูการ โดยอาศัยหลักการพึ่งพาและเพื่อการอยู่รอดภายในประเทศเป็นต้น ภาครัฐมีการใช้กลยุทธ์ ( Strategy ) ในการบริหารประเทศแบบธรรมาภิบาล แทนการบริหารแบบดั้งเดิม ( Paradigm ) เช่น1.     มีการปฏิรูปบทบาทหน้าที่ โครงสร้าง และกระบวนการทำงานของหน่วยงานมีกลไกในการบริหารแบบใหม่2.            เปลี่ยนทัศนคติ วิธีการทำงาน รวดเร็ว คำนึงถึงผู้รับบิการ3.            ใช้ทุนมนุษย์ ( Human capital )  คือ สรรหาคนที่มีความรู้ความสามารถ (คนเก่ง) ตลอดจนทักษะ ( Skills ) และความชำนาญเข้ามาทำงานในองค์กรเพื่อสร้างผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ( Quality ) 
  ส่วนภาคเอกชนก็ใช้กลยุทธ์แบธรรมาภิบาล  (goal governance ) คือ 1.            กำหนดความดปร่งใสและเป็นธรรมต่อลูกค้า2.            รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น3.            มีระบบติตามและตรวจสอบ

4.            มีมาตรฐาน การให้บริการ

    สิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชน มีความคิดเชื่อมโยงเหมือนกันคือการกำหนดตัววัดที่มนุษย์ เชิงบริหารจัดการ ( Human capital management resourced  ) เช่น-         ด้านการสรรหา คัดเลือกคน-         ค่าตอบแทนและสวัสดิการ-         ด้านการดำรงรักษา คน ไว้กับองค์กร-         มีการพัฒนา คนในองค์กรอยู่เสมอ และที่สำคัญ ของภาครัฐและภาคเอกชน คือ การรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและของนายจ้าง
พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด

เรียน   ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  และเพื่อนๆ MPA รุ่นที่ 4  ทุกท่าน

               ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร    

               ผู้ศึกษามีแนวคิดว่า  ความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน  ต้องเกื้อกูลกัน  โดยภาครัฐต้องทบทวนบทบาทและปรับปรุงจากเดิมเป็นผู้ปฎิบัติและควบคุม มาเป็น ผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก และ/หรือให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชน  โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  สามารถตรวจสอบได้  สร้างความโปร่งใส  ภาครัฐต้องปรับโครงสร้างของระบบเล็กลง  ลักษณะการทำงานเป็นแบบทีมงาน มีทักษะที่หลากหลาย การทำงานที่เน้นประสานความร่วมมือ(เหมือนภาคเอกชน)แทนการออกคำสั่ง  ภาครัฐต้องมีวิสัยทัศน์ที่สร้างพลังใจร่วมกับบุคลากร  และทำให้ทุกคนเชื่อมั่นศรัทธาซึ่งกันและกัน  บุคลากรมีความมุ่งมั่นเอาใจใส่ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ พัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า  และนำพาไปสู่ความเป็นเลิศดังเช่นภาคเอกชน  การพัฒนาขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานของภาครัฐให้อยู่ในระดับสูง ฉะนั้น ผู้บริหารทุกระดับควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีมีความพร้อมและยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้บริหารฯ ต้องมีทัศนคติแบบ "ฉันทำได้"   กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรค   มีความอดทน  อดกลั้นต่อความยากลำบาก และฟันฝ่าต่ออุปสรรคนั้นจนประสบความสำเร็จ    ดังสุภาษิตคำพังเพยที่กล่าวว่า  "ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น"   อย่างรก็ตาม  การพัฒนาระบบราชการทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน

นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ รหัส 50038010041
                 ก่อนที่จะตอบการบ้านท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่ท่านเสียสละเวลาอันมีค่าของท่าน มาสอนให้พวกเรา รปม.รุ่น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ไม่เคยคิดมาก่อนเลยค่ะ ว่าจะได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับชาติเช่นท่านอาจารย์  ที่ท่านมีทั้งความรู้ความสามารถ ความเก่งกาจ และวาทะอันเฉียบคมขนาดนี้  ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ใคร ๆ จะได้มีโอกาสดี ๆ และได้สัมผัสกับอาจารย์อย่างใกล้ชิดเช่นนี้  และยิ่งรู้สึกยินดีที่ท่านอาจารย์มีความต้องใจจริงที่จะทำให้พวกเราที่เคยบ้าปริญญา  หันกลับมาบ้าปัญญา บ้าความรู้ กันอย่างบ้าคลั่ง  การที่ท่านอาจารย์มาสอนทำให้พวกเราได้พัฒนาสมอง โดยเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ  ให้สมองอันน้อยนิดได้ถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์  แต่มิใช่เฉพาะแค่สมองที่ต้องทำงานหนักนะคะ  หัวใจก็เช่นกัน รู้สึกว่าจะเต้นรุนแรงกว่าปกติ  ปั่นปวนพอกันทั้งสมองและหัวใจ ด้วยความเกรงในความรู้ความสามารถที่แผ่กระจายอยู่รายรอบท่านอาจารย์  แต่ในความคิดส่วนตัวกลับคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ เพราะสมองอันมีรอยหยักคล้ายสไลเดอร์สวนสยาม คราวนี้จะได้พัฒนารอยหยักให้มีมากขึ้นจากการเรียนในรูปแบบของท่านอาจารย์                 จากงานชิ้นแรก (งานเดี่ยว) ที่ท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้แสดงความคิดเห็นในเรื่อง ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร  นั้น ในความคิดของข้าพเจ้าคิดว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันหลายส่วน  ทั้งองค์กรภาครัฐบาลและเอกชน ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือการที่จะบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ  มีประสิทธิภาพ  ไม่เพียงแต่องค์กรเองที่จะประสบความสำเร็จ  อาจยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศก็เป็นได้  ซึ่งองค์ประกอบหลักในการบริหารจัดการที่ดี หนีไม่พ้นในเรื่องการบริหารคน (man) เงิน (money)  วิธีการ (method) และวัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือ (material/machine)  ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างให้ความสำคัญเรื่องการบริหารคนเป็นหลัก  เนื่องจากคนเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ หากได้รับการพัฒนาและการบริหารที่ดี  แต่ก็เป็นองค์ประกอบที่ควบคุมได้ยากเช่นกัน ถ้าไม่มีการบริหารหรือแรงจูงใจที่เหมาะสม  การบริหารงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จและประสิทธิภาพที่ดีจะเห็นได้ชัดในองค์กรภาคเอกชน  ที่มีการบริหารงานที่มุ่งเน้นความสำเร็จและผลกำไร  หากองค์กรไม่สามารถดำเนินกิจการให้สำเร็จได้ นั่นก็หมายถึงความล้มเหลวขององค์กร  และอาจส่งผลให้องค์กรนั้น ๆ ต้องปิดตัวลงก็เป็นได้  องค์กรภาคเอกชนหลายหน่วยงานจึงได้นำแนวคิดและทฤษฎีการบริหารใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาองค์กรอย่างหลากหลาย ทั้งในด้านของการพัฒนาระบบการทำงาน เครื่องมือ เครื่องจักร การควบคุมคุณภาพ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ  ซึ่งองค์กรภาครัฐในปัจจุบัน  ก็ดำเนินงานโดยมุ่งเน้นผลกำไรเช่นกัน  แต่เป็นกำไรทางความสุขและความพึงพอใจที่ผู้รับบริการหรือประชาชนได้รับจากหน่วยงานรัฐ เช่น ความอยู่ดีกินดี  มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และมีความสุข  แต่เนื่องจากการดำเนินการบางเรื่องที่ภาครัฐไม่สามารถดำเนินงานได้เอง  ภาครัฐก็จะต้องอาศัยภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการแทน  และในทางกลับกัน ภาคเอกชนเองก็ต้องดำเนินการภายใต้กรอบนโยบาย และกฎหมายที่ภาครัฐเป็นผู้กำหนด    ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลของเอกชนที่เน้นการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นอย่างดี เอาใจใส่ดูแล  มีระบบการทำงานที่รวดเร็ว คล่องตัว บุคลากรให้บริการด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส อัธยาศัยดีและเอาใจใส่กับลูกค้าด้วยใจ (service mind) ซึ่งองค์กรต้องมีการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรเป็นอย่างดี   สำหรับโรงพยาบาลของรัฐในปัจจุบันก็เช่นกัน  หลายแห่งเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการให้บริการดังกล่าว จึงนำทฤษฎีการบริหารแนวใหม่มาใช้ฝึกอบรมให้กับบุคลากร เพื่อให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจสูงสุด  และเพื่อให้เกิดความคล่องตัว งานบางส่วนก็จ้างหน่วยงานเอกชนเข้ามาดำเนินการ เช่น การทำความสะอาด  เป็นต้น     ดังที่ข้าพเจ้ากล่าวมาข้างต้น อาจพอที่จะทำให้เห็นว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ  สิ่งที่ข้าพเจ้าแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้  เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยจากสมองไร้รอยหยัก อาจไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่  แต่หากได้รับการพัฒนา และกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา จากท่านอาจารย์ที่ชื่อว่า ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และทีมงานแล้ว  สมองน้อย ๆ ไร้รอยหยักนี้ ก็น่าจะมีรอยหยักมากขึ้นได้ค่ะ 
นางสาว วรางคณา ศิริหงษ์ทอง
นางสาววรางคณา   ศิริหงษ์ทอง  รหัส  50038010043  ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรข้าพเจ้ามีแนวคิดว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร  โดยทั้งสองฝ่ายจะมีการบริหารจัดการคนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในองค์กรให้สามารถดำเนินงานเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร ถึงแม้ว่าภาครัฐจะไม่มุ่งเน้นที่ผลกำไรเหมือนภาคเอกชน  แต่ภาครัฐก็ต้องคำนึงถึงความอยู่ดี มีสุข ของประชาชนซึ่งนับเป็นผลกำไรถ้าภาครัฐไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ถึงองค์กรภาครัฐจะไม่เจ๊งในทันทีเหมือนภาคเอกชนแต่ในระยะยาวก็ต้องเจ๊งอยู่ดี ถึงภาครัฐมีเป้าหมายเป็นภาพใหญ่  เอกชนมีเป้าหมายอยู่ที่ผลกำไรแต่ก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยภาครัฐยังมีความเกี่ยวข้องกับเอกชนในด้านการค้า คือ ภาครัฐทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และออกข้อกฎหมายต่าง ๆ และภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการนโยบายของรัฐและภาคเอกชนยังเป็นหน่วยงานที่มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ เช่น การรับจ้างจากภาครัฐให้ทำงานบางประเภทที่ต้องการความรวดเร็วและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอีกด้วย
น.ส. จุไรรัตน์ เปลี่ยนขำ
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                ภาครัฐหรือภาครัฐบาลมีนโยบายในการบริหารแผ่นดินในด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม นอกจากนี้ภาครัฐมีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ ของประเทศ  ส่วนภาคเอกชนมีการบริหารงานครอบคลุมระบบเศรษฐกิจของประเทศ  นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในการพัฒนาศักยภาพต่าง ๆ อาทิเช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านฝีมือแรงงาน นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในเรื่องเทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารงานองค์กร ด้วยจุดเด่นของทั้งสองประการนี้ ทำให้ภาครัฐต้องหันมามองและกลับมาพัฒนาการบริหารงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับภาคเอกชน โดยความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนที่เห็นได้ชัดเช่น องค์กรรัฐวิสาหกิจ  อีกประการหนึ่งที่อาจเห็นได้ในปัจจุบันคือเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ภาครัฐต้องยื่นมือเข้ามาช่วยภาคเอกชน ในเรื่องการชะลอราคาน้ำมันหรือการปรับลดราคาน้ำมัน ทั้งนี้เพื่อมิให้ภาคเอกชนเกิดผลกระทบที่อาจส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศนอกจากนี้การที่ภาครัฐมีนโยบายในการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการค้าขายทั้งภายในและภายนอกประเทศ  การพัฒนาผลผลิต การส่งเสริมโครงการวิจัยต่าง ๆ นั้น หากการส่งเสริมทางการเกษตรนี้ไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนที่ช่วยผลักดันทางการค้า ประเทศไทยคงไม่ประสบความสำเร็จในด้านการส่งออก และนอกจากนี้ปัจจุบันค่าเงินบาทที่แข็งตัวได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศ ทำให้ภาคเอกชนเกิดความเสียหายด้านการค้า ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพยุงค่าเงินบาลเพื่อมิให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศต้องชะงักตามระบบเศรษฐกิจโลกที่เกิดการชะลอตัว เป็นต้น........................................................

 

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ (ตัวแทนกลุ่มที่ 3)
รายชื่อสมาชิก กลุ่มที่  31.  นางสาวกมลทิพย์           สัตบุษ                    2.  นางสาวพรทิพย์             เรืองปราชญ์3.  นางสาวขนิษฐา              พลับแก้ว               4.  นางสาววรางคณา          ศิริหงษ์ทอง5.  นางวีลาวัลย์                     จันทร์ปลา             6.  นายบุญชู                         ทองฝาก7.  นายโสภณ                       สังข์แป้น               8.  นางสาวสายใจ                โฉมสุข9.  จ.ส.ต.พงศกร                  ไพเราะ                  10.  ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์           มณีโชติ11.  นายชัยรัตน์                   พัฒนทอง              12.  จ.ส.ต.บัญชา  วิริยะพันธ์สรุปสาระสำคัญจากการชมวีดีโอสัมภาษณ์ คุณพารณ  อิศรเสนา    อยุธยา                  การจะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาได้ นั้น จะต้องมาจากหลักความเชื่อ หรือความศรัทธา ในเรื่องที่เราจะทำเสียก่อน อย่างเรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เราต้องเชื่อมั่นในคุณค่าของคน งานทั้งหลายทั้งปวงเมื่อดูให้ดีแล้วจะสำเร็จได้ด้วยคน คนจึงเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร เรื่องการบริหารงานบุคคลเป็นหัวใจขององค์กรแท้ ๆ ถ้าบุคลากรขององค์กรไม่มีความสามารถหรือความจงรักภักดีโอกาสที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จเป็นไปได้ยาก หากมองด้านเศรษฐศาสตร์ คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร ยิ่งกว่าเครื่องจักร ยิ่งกาลเวลาผ่านไปคุณค่าของเครื่องจักรก็จะด้อยลง ในขณะที่คนจะมีคุณภาพเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เมื่อมีการแข่งขันกันมากขึ้นเราจะมองเรื่อง คน เฉพาะ คนใน ไม่ได้ต้องมองคนออกเป็น ๒ ประเภท คือ คนภายในองค์กร และคนภายนอกองค์กร ซึ่งหมายถึง ลูกค้า ด้วย รวมถึงการสร้างคนในองค์กร ต้องสร้างทั้งหมดตั้งแต่คนงานเช่น การฝึกอบรม  ถ้าองค์กรใหญ่ขึ้นก็จะมีปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร จะทำให้ระบบการตัดสินใจค่อนข้างยาว จะต้องทำให้สั้นลงด้วยการกระจายอำนาจเพื่อให้เกิดความคล่องตัว แต่ต้องแน่ใจด้วยว่าเมื่อมอบอำนาจแล้วเขาผู้นั้นทำได้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องยึดมั่นด้านคุณธรรม รวมถึงการเตรียมคนให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยต้องฝึกทักษาคนเพื่อมารองรับกับเทคโนโลยี และสร้างความผูกพันในองค์กร ต้องมีสวัสดิการที่ดี  มีระบบประกันการว่างงาน ระบบประกันสังคม  และการได้รับความเป็นธรรม ซึ่งจะต้องดูแลคนตั้งแต่วันแรกที่เขาเข้ามาทำงาน จนกระทั่งวันที่เขาเกษียณอายุ เป็นต้น
นายชัยรัตน์ พัดทอง รปม. รุ่น 4

ภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ?
     หากจะมองความเหมือนก็จะมองไปถึงภาระกิจของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนระบบซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชน จะเข้ามาเกี่ยวข้องกันมากที่สุดเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะมาเกี่ยวข้องทางด้านการเมือง และสังคม แต่นั่นก็เป็นตัวแปรอย่างหนึ่งที่จะเป็นตัวเชื่อมของระบบเศรษฐกิจ ไปสู่ความแปรเปลี่ยนเสื่อมถอย หรือพัฒนาของภาคใหญ่ ๆ ในระดับชาติได้ และสิ่งที่เอกชน และภาครัฐมีสิ่งคล้าย ๆ กัน ก็คือ รูปแบบองค์กร การบริหารจัดการ มีงบประมาณ การฝึกฝนอบรม ซึ่งในกิจกรรมบางอย่าง รัฐอาจจะบริหารได้ดีกว่าเอกชน แต่มีส่วนน้อยมาก เอกชนเป็นองค์กรระดับจุลภาค มีสายงานการบังคับบัญชาน้อย ทำให้เกิดการคล่องตัว เกี่ยวกับบุคลากรก็มีเกณฑ์มาตรฐานวัดประสิทธิภาพของการทำงาน มีการให้ออก เป็นต้น แต่ราชการเอกลักษณ์อย่างหนึ่งก็คือ ความมั่นคง แต่ภาครัฐ หรือราชการเองก็เริ่มนำวิธีการของเอกชนมาใช้ในการบริหารจัดการ จะเห็นได้ว่า การบรรจุเข้ารับราชการในทุกวันนี้ ไม่นิยมบรรจุแบบตลอดชีพ จะมีการจ้างแบบลูกจ้างชั่วคราว หรือรายปี
      ราชการหรือภาครัฐเป็นองค์กรที่ใหญ่ มีสายการบังคับบัญชาซับซ้อน และมีวัฒนธรรมองค์กรที่หยั่งยากลึก ยากที่จะแก้ไข คือระบบเจ้าขุนมูลนาย ติดอยู่กับความคิดว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเหนือประชาชน ทั้งที่จุดประสงค์ของการกำเนิดราชการก็เพื่อให้มารับใช้ประชาชน มีระบบอุปถัมภ์ซึ่งมองในแง่หนึ่งก็อาจจะดี คือการติดต่อประสานงาน ความมีน้ำใจ ตามสังคมไทย เอื้อเฟื้อต่อกัน แต่มันก็เป็นบ่อเกิดของการคอรัปชั่น เล่นพรรคพวก ถึงจุดนี้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงบทเพลงบทเพลงหนึ่ง ที่ว่า "เช้าชามเย็นชามสองขั้นปี แต่คนขยันทำงานดี ไม่มี ๆ ไม่มองมา อย่างนี้เมื่อไหร่บ้านเมืองไทย เจริญก้าวไกลทัดเทียมทัน นานาประเทศดังคำขวัญ ที่เขียนเอาไว้สวยดี" นั่นแสดงถึงการอ่อน หรือจุดอ่อน จุดบอดของวงราชการ ที่เล่นพรรคพวก และผู้นำขาดความยุติธรรม ความโปร่งใสในการบริหาร ถ้าแก้ไขสิ่งเหล่านี้ในราชการได้ สังคมไทยจะเป็นสังคมที่น่าอยู่ และพัฒนาไปได้เร็วอย่านี้
      สิ่งที่พึงเล็งเห็นในการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน ก็คือ ตัวทรัพยกรอย่างหนึ่งที่เรียกว่า มนุษย์ (Human) ซึงจะเป็นตัวแปรต่อการนำพาองค์กร ไปในทิศทางที่เสื่อมหรือเจริญ หลายประเทศให้ความสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นเวียดนาม ซึ่งดูเหมือนว่าทุกวันนี้ เขาจะพัฒนาแซงหน้าไทยไปแล้ว นั่นเพราะคนของเขามีคุณภาพ หากประเทศไทยเรายังเป็นแบบที่เป็นอยู่ บางที่อาจจะเป็นประเทศที่ล้าหลัง แม้กระทั่งประเทศลาววว..

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

       -  ภาครัฐเป็นผู้บริหารประเทศ  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนอยู่ดี  กินดี  มีความสุข  ส่วนภาคเอกชนเปรียบเสมือนประชาชนของประเทศ  ซึ่งมีเป้าหมายในการมุ่งบริหารจัดการให้กิจการของตนมีผลกำไรมากที่สุด  แต่ในปัจจุบันภาคเอกชนหันมาให้ผลตอบแทนคืนประโยชน์สู่สังคมด้วย

       -  งบประมาณในการบริหารประเทศได้มาจากภาษีของภาคประชาชน / ภาคเอกชน  โดยถือเป็นหน้าที่

       -  ภาครัฐเป็นผู้ดูแล  ควบคุม  การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก  สาธารณูปโภคต่างๆ   ในขณะที่ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการสร้างเพราะมีความเชี่ยวชาญ  ความชำนาญเฉพาะด้าน  จึงทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าภาครัฐ  เช่น  การก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ

       -  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหาร  ภาคเอกชนจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ปัจจุบันภาครัฐหันออกมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี  มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เช่น  Internet

        -  ผลตอบแทน  สวัสดิการ  มีผลต่อทรัพยากรบุคคล  โดยที่ภาคเอกชนให้ผลตอบแทนที่สูง  จึงส่งผลให้บุคลากรที่มีความสามารถไปอยู่กับภาคเอกชนมาก  จึงทำให้ภาครัฐขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ

        -  โครงสร้างการบริหารจัดการ  ภาครัฐมีโครงสร้างที่เป็นแนวราบ  การดำเนินการตัดสินใจสั่งการเป็นไปได้ช้า  แตกต่างจากภาคเอกชนเป็นแนวตั้ง  ปัจจุบันภาครัฐได้หันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น  จึงเกิดการกระจายอำนาจสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐในส่วนของการบริการประชาชน  ก็มีความเป็นจุดบริการ One  Stop  Service  มากขึ้น 

         -  นโยบายการบริหารประเทศ  ส่งผลต่อภาคเอกชนโดยตรง  เช่น  นโยบายการเงิน  การคลัง  เพิ่มภาษี  ลดภาษี  ล้วนส่งผลไปยังผลประกอบการและความเป็นอยู่ของประชากร

นายบุญชู ทองฝาก รปม.รุ่น 4 สาขาการปกครองท้องถิ่น

ภาครัฐและภาคเอกชนมีการเชื่อมโยงกันอย่างไร
  - ภาครัฐในที่นี้จะหมายถึงรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารประเทศ  โดยมีหน้าที่ที่จะทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุข นั่นก็คือเป้าหมายสูงสุด
  - ส่วนภาคเอกชนที่หน่วยเล็กที่สุดคือประชาชนแต่ละบุคคลไล่เรียงลำดับขั้นไปเป็นหน่วยงานที่ใหญ่ๆขึ้นไป ได้แก่ ห้างร้าน บริษัท ต่างๆ เรื่อยๆขึ้นไป จากที่มีสมาชิก 1 คนเป็นร้อยหรือเป็นพันๆคนขึ้นไป
  - ภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีความเชื่อมโยงกันหรือมีความสัมพันธ์กันนั่นเองเพื่อที่จะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในสังคมจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้ , รัฐเป็นผู้บริหารให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขมีงานทำมีรายได้ ขายสินค้าไปต่างประเทศได้ มีรายได้อย่างสมบูรณ์  รัฐก็สามารถเก็บภาษีจากประชาชนได้อย่างทั่วถึง  รัฐมีการส่งเสริมให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนมากขึ้น ประชาชนก็จะมีงานทำมากขึ้น มีรายได้ต่อบุคคลหรือต่อบริษัทต่อหน่วยงานนั้นๆมากขึ้น รัฐก็มีการเก็บรายได้มากขึ้นตามลำดับสามารถนำเงินมาบริหารประเทศได้มากขึ้นทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
  - ในทางตรงกันข้ามถ้าภาครัฐและภาคเอกชนเดินกันคนละทางไฉนเลยรัฐจะเก็บรายได้จากภาคเอกชนได้นั่นก็คือประเทศชาติคงจะล่มสลายทางระบบเศรษฐกิจแน่นอน

น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5

                                                              สมาชิกกลุ่ม 5 

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. นงนุช บัวขำ                         50038010012

3.       น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร              50038010035

4.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

5.       น.ส. ญานิสา เวชโช                      50038010013

6.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ          50038010023

7.       นาง กัณจนา งามน้อย                 50038020006

8.       น.ส วิวิตรา จุลกรานต์                50038010028

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง            50038010008 

                  จากการชมบทสัมภาษณ์ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา    กลุ่ม 5 ขอสรุปสาระสำคัญดังนี้  เริ่มจาก การที่คุณพารณ ใช้ปรัชญาและอุดมการณ์ในการที่นำคนมาใช้ในธุรกิจ คือ การทำสิ่งใดให้ดี ต้องมีความเชื่อ ความศรัทธาขึ้นก่อน ต้องเชื่อมั่นในคุณค่าของคน ผู้ใหญ่ต้องให้ความสำคัญเรื่องคน คนจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์การ  เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นเกิดคน คนมาช่วยแก้ปัญหา มาช่วยเสนองานต่างๆ และมีทั้งคนที่สร้างปัญหา และถ้าเราบริการคนดีแล้วก็พาองค์กรก้าวหน้า                    มอเตอร์ไซค์นานไปมันเสื่อมค่าลง แต่คนที่อยู่กับเรามีค่าเพิ่มขึ้นทุกปีๆ”          คำพูดนี้ก็หมายถึง คน เพราะถ้ามีการฝึกอบรมบุคลากรในองค์กรอยู่เสมอ ทั้งด้านวิชาการและด้านความรู้ต่างๆแล้วดังนั้นคุณค่าของคนหรือบุคลากรในองค์กรก็จะเพิ่มขึ้นเพราะโลกปัจจุบัน โลกแคบลงเพราะมีการโทรคมนาคม การกีดกันการค้าจึงเป็นไปไม่ได้  การทำงานให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัย ก็หนีไม่พ้นคน ที่ต้องพัฒนาคนและฝึกทักษะให้รับกับเทคโนโลยีต่างๆ คุณพารณ ได้ให้ความสำคัญกับคนโดยมองคนเป็น 2 ประเภท คือ   1. คนภายในองค์กร   2. คนภายนอกองค์ คือ ลูกค้า ผู้ใช้บริการหรือสินค้า เพื่อให้ลูกค้าพอใจในการบริการหรือสินค้าของเรา     โดยหลักการที่คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่ในองค์กรนั้น  คุณพารณ ยังใช้อุดมการณ์    ตั้งมั่นในความเป็นธรรม    เป็นจรรยาบรรณในการบริหารองค์และของพนักงานในการทำงาน ทั้งนี้   ผู้ใหญ่ในองค์กรต้องประพฤติปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย เพื่อผลที่มีค่าในระยะยาวต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความเชื่อถือต่างๆ การมององค์กรและบุคลากรในภาพลักษณ์ที่ดี ดังคำพูดที่ว่า ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  และในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องมีวิธีกลไกสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรกับองค์กร คุณพารณ ให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มเดินเข้ามาอยู่ในองค์กร ดูแลระหว่างอยู่ในองค์กร โดยต้องมีสวัสดิการ มีการปกครองที่ดี ให้มีการพิสูจน์ตัวเอง ในการโยกย้ายเลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน มีส่วนร่วมในการบริหารองค์กร และจนถึงเกษียณไปต้องให้ผลประโยชน์ให้เค้าดำรงชีพต่อไป และที่สำคัญ การทำให้บุคคลากรผูกพันกับองค์กรนั้นต้องเกิดจากผู้บังคับบัญชาให้ความใกล้ชิดสนิทสนมกับลูกน้อง รักลูกน้อง ลูกน้องจะรักเรา                                                        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคุณพารณให้ความสำคัญกับ ”คน ที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุดในองค์กรเพราะคนที่ดี, เก่ง, มีคุณธรรม,รักองค์กร จะเป็นพลังพาให้องค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จ

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์
นางสาวจุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031  เลขที่ 31 นักศึกษารปม. รุ่น 4 ข้อ 1 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรภาครัฐ เป็นองค์กรที่เป็นหน่วยงานของรัฐมีวัตถุประสงค์หลักคือการจัดทำบริการสาธารณะต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนภาคเอกชนมีวัตถุประสงค์หลักคือการทำกำไรสูงสุดแต่บางครั้งภาคเอกชนก็มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการเพิ่มมากขึ้น ในการผลิตสินค้าและบริการ ทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจได้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่สังคม ทำให้คนมีงานทำเกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนมีรายได้ คนสามารถซื้อสินค้าได้มากขึ้น เงินก็เกิดการหนุมเวียนในระบบเศรษฐกิจ เศรษฐกิจก็จะดี รวมถึงคุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้น รัฐบาลมีโอกาสเก็บภาษีอากรได้มากขึ้นจากภาคเอกชน และประชาชนที่เสียภาษีให้แก่ภาครัฐ รัฐบาลก็จะนำเงินไปทำนุบำรุงประเทศได้มาก ประชาชน และสังคมก็จะเจริญก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง                ภาครัฐ มีหน้าที่กำหนดนโยบายของรัฐ   ออกกฎหมายต่างๆ กำหนดกฎระเบียบ  ข้อบังคับ ต่างๆ ที่รัฐบาลเป็นคนกำหนดขึ้นมา ภาคเอกชนมีหน้าที่ที่จะต้องนำนโยบายที่รัฐกำหนดไปสู่การปฎิบัติให้ถูกต้อง สมบรูณ์ ครบถ้วน  เช่นการจดทะเบียนให้การจัดตั้งบริษัทขึ้นก็ต้องไปจดทะเบียนกับภาครัฐและให้ทำงานต่างๆบ้างครั้งก็ต้องไปทำกับภาครัฐเพื่อถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อบริษัทมีรายได้มีกำไรก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีให้แก่ภาครัฐ                ภาครัฐ นั้นเข้าเกี่ยวข้องกับภาคเอกชน เช่น ในการกำหนดราคาสินค้า การควบคุมราคาสินค้าจะต้องไม่แพงเกินไปแล้วทำให้ประชาชนผู้บริโภคนั้นได้รับเดือดร้อน มีการปรับราคาสินค้าขึ้น เช่น กระทรวงพลังงานอนุมัติให้ปรับราคาก๊าซหุ้งต้ม 3 บาทต่อถัง   และโรงบรรจุจะขอปรับราคาที่จะหน่ายให้กับผู้ค้าก๊าซอีก 3 บาทต่อกก.ขนาดถัง 15 กก.โดยผู้ประกอบการอ้างว่า ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ค่าแรงเพิ่มขึ้น บางครั้งภาคเอกชนก็ขายสินค้าในราคาแพงสูงขึ้นหรือขายเกินราคา ปรับราคาขายกันเองทำให้ประชาชนต้องซื้อสินค้าในราคาที่แพงกว่าปกติ ทำให้ประชาชนเดืดร้อน ดังนั้นภาครัฐมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบราคาสินค้า และตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ประกอบการธุรกิจ ไม่ให้เอารัดเอาเปรียบประชาชน ไม่โฆษณาชวนเชื่อเกินเหตุ หรือไม่ปะปนสินค้า หรือโกงน้ำหนักของสินค้า ภาคเอกชนจะต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ด้วยการขายสินค้าที่มีคุณภาพ การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนบางครั้งทั้งสององค์การจะต้องให้ความร่วมมือกันมีการติดต่อประสานงานกัน เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมงานเวทีการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ และงานแสดงซื้อขายสินค้าบริการด้านท่องเที่ยวร่วมกับภาคเอกชน โดยจะนำภาคเอกชน ประกอบด้วยโรงแรม บริษัทนำเที่ยว  เพื่อเป็นการนำเสนอสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของปรเทศไทย พร้อมกับจัดทำหนังสือรวบรวมสถานที่ของประเทศไทย เพื่อกระตุ้นตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น จะทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้ง มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนเตรียมดำเนินการจำนวนมาก เช่น ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย , รถไฟรางคู่ ระบบขนส่งมวลชน และภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลดีแรงงานภาคก่อสร้างส่วนแรงงานภาคการผลิตจะได้รับผลดีจากการลงทุนภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการอนุมัติจากบีโอไอภาครัฐอาจมอบหมายงานให้เอกชนเข้ามาลงทุนจะดีกว่า ถ้ารัฐลงทุนบริหารจัดการเองก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากจะต้องใช้เงินลงทุนสูง  เพราะงบประมาณมีจำกัด เช่น การก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ. สตูลในเรื่องการบริหารคนในองค์กรทั้งภาครัฐกับภาคเอกชนก็คล้ายคลึงกัน ทั้งภาครัฐกับภาคเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญในเรื่อการบริหารคนในองค์กรโดยเฉพาะการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานในองค์กรความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลในการบริหารจัดการภายในองค์กรนั้นๆ ควรใช้คนให้ตรงกับลักษณะของงาน   
นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๑๓๘๑๐๐๑๙

       การที่จะทำให้การบริการด้วยบัตร Smart Card ก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  ระบบฐานข้อมูลบุคคลนี้จะมีฐานะเป็นระบบฐานหลัก  Core engine และศูนย์กลางหรือ HUB  ในการเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก ร่วมกัน  โดยมีหน่วยของรัฐเข้ามารับผิดชอบ  ในการขับเคลื่อนการใช้งานบัตรให้เกิดความคุ้มค่า  และให้ประโยชน์สูงสุด

        เมื่อเริ่มนำเอาปัญหาความต้องการของประชาชนสู่ระบบการลงทะเบียนเพื่อแยกแยะ  วิเคราะห์ และกำหนดวิธีในการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและตรงความต้องการของประชาชน  เป็นการนำเครือข่ายการเชื่อมโยง และเครื่องมือนี้มาใช้งานทำให้รัฐบาลได้เข้าถึงความต้องการและทราบปัญหาของประชาชนได้โดยตรงและเร็วมากขึ้น ทำให้รัฐบาลรับรู้ข้อมูลประชาชนและมีระบบฐานข้อมูลบุคคลของประเทศทุกปัญหาของประชาชนที่รัฐต้องการอยากรู้ ถือว่าเป็นการบริหารงานและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

         บัตร Smart Card  สะท้อนสิ่งที่โลกยุคใหม่เรียกว่า Speech คือ

ความรวดเร็วในการแข่งขัน  และเข้าถึงข้อมูลของบุคคลของผู้ให้บริการรวมถึงหน่วยงานรัฐบาลที่จะจัดสรรงบประมาณ ปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริการไปถึงมือประชาชน ต่อไปนี้ประชาชนจะไม่ต้องพะวงกับการหอบเอกสารหลักฐานไปแสดงหรือพิสูจน์ยืนยันตัวเอง  ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องกังวลกับการที่จะถูกแอบอ้างชื่อของตัวเองไปใช้ในทางมิชอบ ผิดกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคนอื่น  การเชื่อมโยงเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์มากมาย  เช่น  รัฐบาลประหยัดงบประมาณ เรื่องของข้อมูลบุคคล  เอกชนหรือประชาชนก็สะดวกสบายในการติดต่อราชการถือบัตรประชาชนใบเดียวก็สามารถติดต่องานราชการได้และประสบผลสำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าประชาชนจะไปทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ต้องใช้เอกสารอะไรเลย มีบัตรประชาชนใบเดียวก็ใช้ได้แล้ว และยังมีอีกหลายหน่วยงานที่สามารถนำบัตรประชาชนไปติดต่องานได้เลย

            ดังนั้นบัตรสมาร์ทการ์ด  จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการปฏิรูประบบราชการ  โดยการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริการแก่ประชาชน  เพื่อให้ส่วนราชการพัฒนาระบบบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ

ถามว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร
      ตราบใดที่ประเทศยังต้องมีการพัฒนาประเทศและทำการค้าระหว่างประเทศความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและเอกชนยังคงต้องมีความเชื่อมโยงกันตลอดเวลาไม่ว่าในด้านไดก็ตามถ้ารัฐยังต้องอาศัยภาษีจากภาคเอกชนมาบริหารประเทศและพัฒนาประเทศอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินเดือนของข้าราชการ ภาคเอกชนเองก็ต้องอาศัยภาครัฐเป็นตัวแปรในการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศเพื่อแสดงถึงความเชื่อมั่นโดยมีภาครัฐคอยให้ความช่วยเหลือด้านความได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้า ส่วนภายในประเทศภาครัฐเองก็คอยกำกับดูแลภาคเอกชนในการพัฒนาความเจริญเติบโตด้านสาธราณะประโยชน์โดยเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาประมูลโครงการต่าง เช่นโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ,โครงการรถไฟฟ้า,เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ประชาชนทั่วไปในยุกโลกาภิวัฒน์ จะเห็นได้ว่าที่ว่ามาทั้งหมดภาครัฐและภาคเอกชนเป็นหลักทั้งนั้น ประเทศชาติจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อเศษฐกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกันเมื่อผู้นำของประเทศสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่จะมาลงทุนในประเทศ ๆ ก็จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยภาคธุรกิจที่มีเอกชนเป็นผู้บริหารโดยมีภาครัฐเป็นผู้กำกับและมอบนโยบาย ประชากรก็จะมีงานทำมากขึ้นรัฐก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสียงบประมาณมาค่อยช่วยเหลือประชากรที่ว่างงานอีกต่อไป    ภาคเกษตรกรชาวไร่ชาวนาเปรียบเหมือนกับภาคเอกชนขนาดเล็กที่รัฐคอยให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงการหาตลาดตลอดจนประกันราคาให้กับเกษตกร การค้าภายในและภายนอกแม้นแต่ค่าของเงิน  รัฐเองก็จะต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ค่าของเงินอ่อนหรือแข็งเกินไปหากรัฐไม่เข้าไปกำกับดูแลก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในสภาวเศษฐกิจถดถอย
      สรุป  ได้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันตลอดเวลาและไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ โดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันก็คือภาครัฐต้องการผลประโยชน์โดยส่วนรวมมากกว่าแต่ไม่ต้องการแสวงหาผลกำไรตรงกันข้ามภาคเอกชนต้องการแสวงหาผลกำไรมากกว่าผลประโยชน์โดยรวม

    ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร..

      ภาครัฐและภาคเอกชนมีความสัมพันธ์เกื่อกูลกันโดยตลอดทุกยุกทุกสมัย ภาครัฐมีภาระหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย  ออกกฎหมาย กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติโดยมีข้าราชการประจำเป็นผู้ควบคุมกฎเกณฑ์ต่างๆนั้นโดยมีเป้าหมายคือการทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุข ส่วนภาคเอกชนคือกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคลที่ประกอบธุรกิจโดยมีเป้าหมายคือผลกำไร

         การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนจำเป็นต้องมีทิศทางและกลไกทางด้านกฏระเบียบที่ทางฝ่ายภาครัฐเป็นผู้ที่กำหนด  มิฉะนั้นแล้วจะเกิดความแตกแยกเอารัดเอาเปรียบในเชิงธุรกิจ ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำสุดท้ายไม่สามารถควบคุมได้อันจะทำให้เกิดความเสียหายให้กับประเทศชาติ ภาคเอกชนเมื่อดำเนินธุรกิจมีผลกำไรจากการประกอบการ ภาครัฐก็กำหนดให้มีการปันผลในรูปของเงินภาษีคืนกลับมาสู่ภาครัฐ เป็นทุนในการบริหารจัดการประเทศให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีมีสุข และขณะเดียวกันเมื่อภาคเอกชนมีปัญหาในการประกอบการธุระกิจ เช่นในสภาวะค่าเงินบาทแข็งตัวส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกเสียหาย ภาครัฐก็เข้าไปมีส่วนร่วมในการพยุงค่าเงินบาทเพื่อมิให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศต้องชงักงันตามสภาวะของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันลดความสูญเสียให้กับภาคเอกชน

ภาครัฐมีในที่นี้ คือ กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆมีภาระหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย  ออกกฎหมาย กฎระเบียบ โดยมีเป้าหมายคือการทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุข

ส่วนภาคเอกชนคือกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลดำเนินกิจกรรมในรูปองค์กรธุรกิจโดยมีเป้าหมายคือผลกำไร

สิ่งที่ภาครัฐกับเอกชนมีความเชื่อมโยงกันตามความเข้าใจของข้าพเจ้า คือ ทังภาครัฐและเอกชนนั้นดำเนินกิจกรรมในรูปขององค์กร มีการบริหารจัดการที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายกัน และกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้านั้นคือประชาชน ภาครัฐนั้นให้บริการประชาชนโดยไม่มุ่งเน้นหากำไรส่วนเอกชนนั้นแสวงหากำไรกับประชาชนซึ่งภาคเอกชนนั้นต้องแสวงหากำไรเพื่อความอยู่รอดของตนแต่หน่วยงานภาครัฐนั้นเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีกฎระเบียบต่างๆนานา เยอะมากซึ่งประกอบกับการบริหารจัดการแบบเก่าๆทำให้เป็นอุปสรรคในการให้บริการ ทำให้เกิดความล่าช้ามาก ซึ่งแตกต่างกับภาคเอกชนซึ่งมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากกว่าทำให้เกิดความคล่องตัวสูงและมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้าและการบริการของตนเองมากที่สุด และแน่นอนต้องแลกกับค่าตอบแทนกับการให้บริการนั้นๆ

ปัจจุบันภาครัฐกับเอกชนนั้นมีความเชื่อมโยงกัน ในด้านของการให้บริการประชาชนมาก เพราะโครงการต่างๆที่ภาครัฐต้องการจัดสร้างให้บริการประชาชน เช่น โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายต่างๆ หากจะรอให้รัฐดำเนินการ คงใช้เวลาเนิ่นนานมาก ดังนั้น เอกชนซึ่งมี ทุน มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากกว่า มีความคล่องตัวสูง จึงเข้ามามีส่วนร่วมกับการให้บริการประชาชน ในการประมูลโครงการต่างๆของทางภาครัฐ เพื่อให้กิจการต่างๆของทางภาครัฐขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด

สิ่งที่ทำภาคเอกชนมีประสิทธิภาพมากกว่าภาครัฐ คือ คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ที่ภาคเอกชนมีมากกว่า เพราะภาคเอกชนมีการแข่งขันกันสูงทำให้มีการพัฒนาศักยภาพอยู่ตลอดเวลา ส่วนภาครัฐยังขาดความเอาใจใส่ในทรัพยากรมนุษย์ซึ่ง ภาครัฐต้องเร่งเพิ่มศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ให้คุ้มค่ากับเงินภาษีที่เอกชนต้องเสียให้กับภาครัฐ ทั้งนี้เพื่อความเจริญของประเทศชาติ

 

        

  กลุ่มที่ 2 (กลุ่มคนจับปลา : Fisherman Party)                1. พระศุภสิน  ศักศรีวัน                2. พระมหาวิทยา  นางวงศ์                3. นางสาวนลินี  โลพิศ                4. นางสาวศศินี  โพธิทอง                5. ส.ท.สราวุธ  ดอกไม้จีน                6. นายสุรัชต์  ชวนชื่น                7. นายธนิก  กัมพูศิริพันธ์                8. นายสุรภัทร  ปานทอง                9. นายกิติพัฒน์  ตันตสุรฤกษ์ภารกิจที่ 2 (Mission Two) : บทสัมภาษณ์ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา              มีคนกล่าวว่า "กองทัพต้องเดินด้วยท้อง" ทำให้คิดไปว่า ถ้าเราจะเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับเรื่องอาหาร จะสามารถเปรียบเทียบได้หรือไม่ โป๊ะเชะ!!..แล้วข้อความหนึ่งก็ผุดขึ้นในสมอง " อาหารที่ดีมีคุณภาพมีประโยชน์ต่อร่างกาย..ฉันใด บุคคลที่ดีมีคุณภาพย่อมมีประโยชน์ต่อองค์กร..ฉันนั้น" หลังจากทุกคนในชั้นเรียนเติมพลังด้วยอาหารกล่องมื้อเที่ยงเรียบร้อยแล้ว ต่างพากันรีบกลับไปนั่งประจำที่เพื่อรอขึ้นเขียง เพราะใกล้เวลาภาพอันระทึกและมีผลต่อคะแนนกำลังจะปรากฎต่อสายตาทุกคนในไม่ช้า..              ผู้ดำเนินรายการ  : ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                ผู้ร่วมรายการ      : คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา (อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.ปูนซีเมนต์ไทย)                ผู้มีส่วนร่วม        : นักศึกษามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์      -----------------------------------------------------------------------------------------------------เนื้อหาของบทสัมภาษณ์ พอสรุปได้ดังนี้ :1. ปรัชญาและอุดมการณ์การทำงานของท่านมีแนวทางอย่างไร?     ตอบ การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีได้ต้องมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ คือ              - ความเชื่อ และความศรัทธาเชื่อมั่นต่อคน ว่าคนเป็นสมบัติอันทรงคุณค่าขององค์กร- คนไม่จำเป็นต้องจบมาจากสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง หรือสายงานที่ตรงก็สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้- ในทางเศรษฐศาสตร์ คน คือ ทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง ยิ่งนานยิ่งสั่งสมประสบการณ์ และเพิ่มคุณค่าซึ่งต่างจากวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ  ถ้ามีการอบรม ฝึกทักษะในทุกด้านทั้งด้านวิชาการ การปกครอง ความรู้ใหม่ ๆ มากขึ้น                *วาทะ วัสดุอุปกรณ์ใช้แล้วยิ่งนานยิ่งค่าลด แต่คนนับวันยิ่งมีค่า2. ในฐานะที่เป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางอย่างไรที่จะนำไทยไปสู่ตลาดแห่งการแข่งขันระดับโลก ?    ตอบ   - เราต้องมี Vision หรือมโนทัศน์มองไปข้างหน้าให้ยาว เล็งเห็นความสำคัญ                - ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสาร                 - การประกอบธุรกิจจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า คนต้องมีความรู้ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี                - เห็นความสำคัญของคน 2 กลุ่ม คือ                   1. กลุ่มคนภายในองค์กร ซึ่งเป็นคนขับเคลื่อนองค์กร ต้องดูแลเอาใจใส่                   2. กลุ่มคนนอกองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการอยู่รอดขององค์กรซึ่งก็คือลูกค้า ซึ่งต้องแข่งขันกันทั้งทางด้านรูปลักษณ์ การบริหาร เพื่อให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ถ้าผลิตสินค้าออกมาไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้า บริษัทก็อยู่ไม่ได้

                * วาทะ การประกอบธุรกิจไม่ควรคำนึงถึงแต่กำไรอย่างเดียว ควรคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
 3. ขนาดธุรกิจที่ขยายตัวขึ้นจะกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือไม่?

          ตอบ   ปัญหาที่สำคัญของการเพิ่มขนาดขององค์กร คือการติดต่อสื่อสาร ระบบการตัดสินใจ ซึ่งจะต้องมีการกระจายอำนาจสู่บริษัทลูกให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว แต่ต้องมั่นใจในตัวบุคคลที่มอบอำนาจให้ว่าใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง โดยการใช้ธรรมะเข้ามาเป็นองค์ประกอบ                 * วาทะ ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม4. ท่านมีคุณธรรมในการบริหารงานภายในบริษัทอย่างไร?    ตอบ คุณธรรมนั้นเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของบริษัทมาตลอด 80 ปีจนมีการเขียนเป็นจรรยาบรรณพนักงานของเครือซีเมนต์ไทยให้พนักงานปฏิบัติ โดยผู้ใหญ่จะต้องปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่มีการคอรัปชั่น มีจรรยาบรรแม้แต่กับคู่แข่งทางธุรกิจก็ต้องมีจริยธรรม ซึ่งข้อนี้เป็นอุดมการณ์ของบริษัทข้อที่ 1.ว่าต้อง ตั้งมั่นในความเป็นธรรม ซึ่งนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ และเป็นผลดีในการสร้างความเคารพและเชื่อถือในระยะยาว                * วาทะ องค์กรใหญ่ขึ้นใช่ว่าจะบริหารยาก ถ้าว่าหากมีการปรับและพัฒนาเสมอ5. ท่านมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันในการรักษาคนไว้ในองค์กร ?    ตอบ   - สร้างความผูกพันหรือความรักแก่พนักงานทุกระดับด้วยการดูแลพวกเขาตั้งแต่วันแรกที่เดินเข้ามา ระหว่างที่อยู่กับเรา จนกระทั่งเขาออกไป ให้ความเป็นธรรม และให้โอกาสเขาในการพัฒนาตัวเอง ให้เขามีส่วนร่วมในการบริหารบริษัทและมีสวัสดิการเมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งหน้าที่                - ผู้บังคับบัญชาต้องมีความเข้าใจและรักลูกน้อง                - เยี่ยมเยียนสารทุกข์สุกดิบ ถามไถ่ด้วยความห่วงใย                *วาทะ ถ้าผู้บังคับบัญชารักลูกน้อง ลูกน้องก็จะรักเรา6. การนำเทคโนโลยีมาใช้จะมีผลต่อการลดการเลิกจ้างหรือไม่ ?    ตอบ   การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเรื่องที่หนีไม่พ้น บริษัทหรือองค์กรที่ดีต้องมองเห็นและต้องเตรียมรับกับภาวะที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้าน  การเตรียมบุคคลเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการพัฒนาคนให้มีการตื่นตัวมากขึ้น  รัฐเองก็ต้องมีมาตรการในการรองรับปัญหาร่วมกันคือมีการประกันสังคม ประกันการว่างงาน เป็นต้น                ท้ายสุด นักศึกษาก็ถามถึงแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คุณพารณ ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งในสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคนหนึ่ง ได้เล็งเห็นและได้มีการบัญญัติการพัฒนาองค์กรและพัฒนาเทคโนโลยี โดยต้องมีรัฐเป็นตัวนำ และได้บัญญัติไว้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7
พระศุภสิน ศักศรีวัน ตัวแทนกลุ่ม 2

กลุ่มที่ 2 (กลุ่มคนจับปลา : Fisherman Party)

                1. พระศุภสิน  ศักศรีวัน

                2. พระมหาวิทยา  นางวงศ์

                3. นางสาวนลินี  โลพิศ

                4. นางสาวศศินี  โพธิทอง

                5. ส.ท.สราวุธ  ดอกไม้จีน

                6. นายสุรัชต์  ชวนชื่น

                7. นายธนิก  กัมพูศิริพันธ์

                8. นายสุรภัทร  ปานทอง

                9. นายกิติพัฒน์  ตันตสุรฤกษ์

ภารกิจที่ 2 (Mission Two) : บทสัมภาษณ์ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา

              มีคนกล่าวว่า "กองทัพต้องเดินด้วยท้อง" ทำให้คิดไปว่า ถ้าเราจะเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับเรื่องอาหาร จะสามารถเปรียบเทียบได้หรือไม่ โป๊ะเชะ!!..แล้วข้อความหนึ่งก็ผุดขึ้นในสมอง " อาหารที่ดีมีคุณภาพมีประโยชน์ต่อร่างกาย..ฉันใด บุคคลที่ดีมีคุณภาพย่อมมีประโยชน์ต่อองค์กร..ฉันนั้น" หลังจากทุกคนในชั้นเรียนเติมพลังด้วยอาหารกล่องมื้อเที่ยงเรียบร้อยแล้ว ต่างพากันรีบกลับไปนั่งประจำที่เพื่อรอขึ้นเขียง เพราะใกล้เวลาภาพอันระทึกและมีผลต่อคะแนนกำลังจะปรากฎต่อสายตาทุกคนในไม่ช้า..

   ผู้ดำเนินรายการ  : ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

   ผู้ร่วมรายการ      : คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา (อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.ปูนซีเมนต์ไทย)

   ผู้มีส่วนร่วม         : นักศึกษามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์     

-------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาของบทสัมภาษณ์ พอสรุปได้ดังนี้ :

1. ปรัชญาและอุดมการณ์การทำงานของท่านมีแนวทางอย่างไร?

     ตอบ การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีได้ต้องมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ คือ

              - ความเชื่อ และความศรัทธาเชื่อมั่นต่อคน ว่าคนเป็นสมบัติอันทรงคุณค่าขององค์กร

- คนไม่จำเป็นต้องจบมาจากสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง หรือสายงานที่ตรงก็สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้

- ในทางเศรษฐศาสตร์ คน คือ ทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง ยิ่งนานยิ่งสั่งสมประสบการณ์ และเพิ่มคุณค่าซึ่งต่างจากวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ  ถ้ามีการอบรม ฝึกทักษะในทุกด้านทั้งด้านวิชาการ การปกครอง ความรู้ใหม่ ๆ มากขึ้น

 *วาทะ “วัสดุอุปกรณ์ใช้แล้วยิ่งนานยิ่งค่าลด แต่คนนับวันยิ่งมีค่า”

2. ในฐานะที่เป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางอย่างไรที่จะนำไทยไปสู่ตลาดแห่งการแข่งขันระดับโลก ?

    ตอบ   - เราต้องมี Vision หรือมโนทัศน์มองไปข้างหน้าให้ยาว เล็งเห็นความสำคัญ

                - ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสาร

                - การประกอบธุรกิจจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า คนต้องมีความรู้ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี

                - เห็นความสำคัญของคน 2 กลุ่ม คือ

                   1. กลุ่มคนภายในองค์กร ซึ่งเป็นคนขับเคลื่อนองค์กร ต้องดูแลเอาใจใส่

                   2. กลุ่มคนนอกองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการอยู่รอดขององค์กรซึ่งก็คือลูกค้า ซึ่งต้องแข่งขันกันทั้งทางด้านรูปลักษณ์ การบริหาร เพื่อให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ถ้าผลิตสินค้าออกมาไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้า บริษัทก็อยู่ไม่ได้

 * วาทะ “การประกอบธุรกิจไม่ควรคำนึงถึงแต่กำไรอย่างเดียว ควรคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
 
3. ขนาดธุรกิจที่ขยายตัวขึ้นจะกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือไม่?

          ตอบ   ปัญหาที่สำคัญของการเพิ่มขนาดขององค์กร คือการติดต่อสื่อสาร ระบบการตัดสินใจ ซึ่งจะต้องมีการกระจายอำนาจสู่บริษัทลูกให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว แต่ต้องมั่นใจในตัวบุคคลที่มอบอำนาจให้ว่าใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง โดยการใช้ธรรมะเข้ามาเป็นองค์ประกอบ 

 * วาทะ “ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม”

4. ท่านมีคุณธรรมในการบริหารงานภายในบริษัทอย่างไร?

    ตอบ คุณธรรมนั้นเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของบริษัทมาตลอด 80 ปีจนมีการเขียนเป็นจรรยาบรรณพนักงานของเครือซีเมนต์ไทยให้พนักงานปฏิบัติ โดยผู้ใหญ่จะต้องปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่มีการคอรัปชั่น มีจรรยาบรรแม้แต่กับคู่แข่งทางธุรกิจก็ต้องมีจริยธรรม ซึ่งข้อนี้เป็นอุดมการณ์ของบริษัทข้อที่ 1.ว่าต้อง “ตั้งมั่นในความเป็นธรรม” ซึ่งนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ และเป็นผลดีในการสร้างความเคารพและเชื่อถือในระยะยาว

  * วาทะ “องค์กรใหญ่ขึ้นใช่ว่าจะบริหารยาก ถ้าว่าหากมีการปรับและพัฒนาเสมอ

5. ท่านมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันในการรักษาคนไว้ในองค์กร ?

    ตอบ   - สร้างความผูกพันหรือความรักแก่พนักงานทุกระดับด้วยการดูแลพวกเขาตั้งแต่วันแรกที่เดินเข้ามา ระหว่างที่อยู่กับเรา จนกระทั่งเขาออกไป ให้ความเป็นธรรม และให้โอกาสเขาในการพัฒนาตัวเอง ให้เขามีส่วนร่วมในการบริหารบริษัทและมีสวัสดิการเมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งหน้าที่

                - ผู้บังคับบัญชาต้องมีความเข้าใจและรักลูกน้อง

                - เยี่ยมเยียนสารทุกข์สุกดิบ ถามไถ่ด้วยความห่วงใย

  *วาทะ “ถ้าผู้บังคับบัญชารักลูกน้อง ลูกน้องก็จะรักเรา

6. การนำเทคโนโลยีมาใช้จะมีผลต่อการลดการเลิกจ้างหรือไม่ ?

    ตอบ   การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเรื่องที่หนีไม่พ้น บริษัทหรือองค์กรที่ดีต้องมองเห็นและต้องเตรียมรับกับภาวะที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้าน  การเตรียมบุคคลเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการพัฒนาคนให้มีการตื่นตัวมากขึ้น  รัฐเองก็ต้องมีมาตรการในการรองรับปัญหาร่วมกันคือมีการประกันสังคม ประกันการว่างงาน เป็นต้น

                ท้ายสุด นักศึกษาก็ถามถึงแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คุณพารณ ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งในสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคนหนึ่ง ได้เล็งเห็นและได้มีการบัญญัติการพัฒนาองค์กรและพัฒนาเทคโนโลยี โดยต้องมีรัฐเป็นตัวนำ และได้บัญญัติไว้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7

มะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

  • ภาครัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายการบริหารประเทศและกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อใช้ในการกำกับดูแลการดำเนินกิจการของภาคเอกชนให้เป็นไปด้วยความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ ในขณะที่บางกิจการที่รัฐดำเนินการก็เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนหรือถือหุ้นมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สังคมโดยรวมมีความมั่นคงสงบสุข โดยประชาชนได้รับการดูแลคุ้มครองความปลอดภัย และความมั่นคงให้มีคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์มาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด ส่วนภาคเอกชนเปรียบเสมือนประชาชนของประเทศที่มีเป้าหมายในกิจการของตนคือ แสวงหาผลกำไรสูงสุด ในปัจจุบันภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญสังคม ด้วยการตอบแทนสังคมโดยการคืนประโยชน์สู่สังคม

 

  • โดยปกติภาครัฐจะลงทุนในกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในขณะที่ภาคเอกชนมักมุ่งดำเนินกิจการที่เน้นความชำนาญเฉพาะทางเน้นประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นโครงสร้างการบริหารงานของรัฐบาลจึงเป็นโครงสร้างแนวตั้งที่มีขนาดใหญ่ ซับซ้อน เน้นสายงานบังคับบัญชา จึงทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความล่าช้า  แตกต่างจากภาคเอกชนที่มีโครงสร้างแนวราบหรือแนวนอน  ปัจจุบันภาครัฐให้ความสำคัญกับการปรับเปรี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการมากขึ้น เช่น การบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธ์, การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ,การมีค่าตอบแทนพิเศษ(โบนัส) เพื่อจูงใจการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันสองไหล และทำให้สายงานบังคับบัญชาสั้นลง เน้นการกระจายอำนาจการบริหาร

 

  • ผลตอบแทนและสัสดิการมีผลกระทบต่อทรัพยากรบุคคล  เนื่องจากภาคเอกชนให้ผลตอบแทนที่สูง จึงทำให้เกิดปัญหาสมองไหลโดยบุคลากรที่มีความสามารถไปทำงานกับภาคเอกชน ทำให้บุคลากรของภาครัฐขาดคุณภาพ
นางสมจิตร ส่องสว่าง รปม.รุ่น4 เลขที่ 38
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยี  ด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ                -  ด้านการพัฒนาบุคลากร ภาครัฐจัดทำโครงการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร โดยเรียนเชิญตัวแทนจากบริษัทเอกชนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานมาเป็นวิทยากร และอาจจะพาผู้เข้าอบรมไปดูงานที่บริษัทเอกชน                -  ด้านการบริหารการจัดการ  ภาครัฐ  ยกตัวอย่าง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบภารกิจผลผลิตของเกษตรกร ถ้าที่ไหนมีผลผลิตมาก  ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภค  เช่น ในปี 2550  ลองกองใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีปัญหา  ห้างเทสโก้โลตัส  ห้างแม็คโคร  ห้างบิ๊กซี  ต้องเข้าไปรับซื้อผลผลิตผ่านสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่  นำไปจำหน่ายในห้าง                -  ด้านเทคโนโลยี  ภาครัฐ  ไม่มีความชำนาญและประสบการณ์  จำเป็นต้องร่วมมือกับภาคเอกชน  เช่น รถไฟฟ้า                -  ด้านโลจิสติกส์  ภาครัฐ  ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศฯลฯ                ส่วนใหญ่จะเห็นว่าภาครัฐจะเป็นผู้ผู้กำหนดนโยบาย  และวางแผนงาน  ภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการให้แผนงานของรัฐบาลบรรลุเป้าหมาย โดยมีคนเข้ามาเป็นตัวจักรในการขับเคลื่อนในแต่ละด้าน  โดยจะมีการใช้แรงงานคน  ทำให้ประชาชนมีรายได้  นำมาใช้จ่าย  เอกชนก็มีรายได้  และเอกชนก็มีผลกำไร  เอกชนต้องเสียภาษีให้ภาครัฐ  ภาครัฐนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศ  และเอกชนยังสนับสนุนตอบแทนภาครัฐโดยการบริจาคผ่านองค์กรการกุศล  ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม  เช่นการปลูกป่า ฯลฯ                ภาครัฐกับภาคเอกชนเหมือนกัน1.       มีองค์กร2.       มีคนทำงานในองค์กร3.       มีผู้บริหาร4.       มีเงินทุน5.       มีวัสดุอุปกรณ์ภาครัฐกับภาคเอกชนต่างกันภาครัฐ                                                 ภาคเอกชน        1.  มีกฎระเบียบมาก                                     1.  มีความคล่องตัว        2.  ขาดความคล่องตัว                                   2.  ผู้บริหารมีอำนาจตัดใจ
       
3.  มีสายบังคับบัญชายาวมาก                     3.  มีสายบังคับบัญชาสั้น        4.  ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการ                         4.  ใช้ระบบความรู้ ความสามารถ    
              พิจารณาความดีความชอบ
                          ในการพิจารณาความดีความชอบ
         5.  ไม่มีผลกำไรขาดทุนเป็นแรงจูงใจ       5.  คำนึงถึงผลกำไรเป็นหลัก
         6.   คำนึงถึงการอยู่ดีกินดี                            6.  คำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก
               
 ของประชาชนและ
               
ความมั่นคงของประเทศชาติ

 

นางสมจิตร ส่องสว่าง รปม.รุ่น 4 เลขที่ 38 (แก้ไข)

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร           

     ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยี  ด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ            

    -  ด้านการพัฒนาบุคลากร ภาครัฐจัดทำโครงการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร โดยเรียนเชิญตัวแทนจากบริษัทเอกชนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานมาเป็นวิทยากร และอาจจะพาผู้เข้าอบรมไปดูงานที่บริษัทเอกชน          

      -  ด้านการบริหารการจัดการ  ภาครัฐ  ยกตัวอย่าง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบภารกิจผลผลิตของเกษตรกร ถ้าที่ไหนมีผลผลิตมาก  ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภค  เช่น ในปี 2550  ลองกองใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีปัญหา  ห้างเทสโก้โลตัส  ห้างแม็คโคร  ห้างบิ๊กซี  ต้องเข้าไปรับซื้อผลผลิตผ่านสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่  นำไปจำหน่ายในห้าง          

      -  ด้านเทคโนโลยี  ภาครัฐ  ไม่มีความชำนาญและประสบการณ์  จำเป็นต้องร่วมมือกับภาคเอกชน  เช่น รถไฟฟ้า            

    -  ด้านโลจิสติกส์  ภาครัฐ  ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศฯลฯ               

         ส่วนใหญ่จะเห็นว่าภาครัฐจะเป็นผู้ผู้กำหนดนโยบาย  และวางแผนงาน  ภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการให้แผนงานของรัฐบาลบรรลุเป้าหมาย โดยมีคนเข้ามาเป็นตัวจักรในการขับเคลื่อนในแต่ละด้าน  โดยจะมีการใช้แรงงานคน  ทำให้ประชาชนมีรายได้  นำมาใช้จ่าย  เอกชนก็มีรายได้  และเอกชนก็มีผลกำไร  เอกชนต้องเสียภาษีให้ภาครัฐ  ภาครัฐนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศ  และเอกชนยังสนับสนุนตอบแทนภาครัฐโดยการบริจาคผ่านองค์กรการกุศล  ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม  เช่นการปลูกป่า ฯลฯ            

    ภาครัฐกับภาคเอกชนเหมือนกัน1.       มีองค์กร2.       มีคนทำงานในองค์กร3.       มีผู้บริหาร4.       มีเงินทุน5.       มีวัสดุอุปกรณ์ภาครัฐกับภาคเอกชนต่างกัน

ภาครัฐ    1.  มีกฎระเบียบมาก   2.  ขาดความคล่องตัว   3.  มีสายบังคับบัญชายาวมาก     4.  ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการพิจารณาความดีความชอบ                      
5.  ไม่มีผลกำไรขาดทุนเป็นแรงจูงใจ 
  6.   คำนึงถึงการอยู่ดีกินดีของประชาชน             และความมั่นคงของประเทศชาติ    

 ภาคเอกชน   1.  มีความคล่องตัว   2.  ผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจ  3.  มีสายบังคับบัญชาสั้น    4.  ใช้ระบบความรู้ ความสามารถในการพิจารณาความดีความชอบ 5.  คำนึงถึงผลกำไรเป็นหลัก   6.  คำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก       และความมั่นคงของประเทศชาติ  

พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเกี่ยวโยงกันอย่างไร
พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4

ภาครัฐ/ภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดเหนือกว่าสิ่งอื่นใด  เพราะทรัพยากรมนุษย์สามารถเป็นได้ทั้งผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้ทำลายทรัพยากรอื่นๆ และโดยที่ทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญดังนี้ ทรัพยากรมนุษย์จึงต้องมีการพัฒนา

           พนังานของภาครัฐต้องรู้จักหน้าที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบมีวินัยในตนเองทำงานอย่างคุ่มค้ากับเงินเดือนที่ได้รับไม่ใช่เช้าชามเย็นชามสักแต่ว่าทำงานไปวันๆเท่านั้น ควรมีการไปดูงานต่างประเทศ มีการสัมนาทางวิชาการ เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆแก่พนักงานของรัฐ ส่วนองค์กรของภาครัฐต้องลดขั้นตอนสายงานให้น้อยลงเป็นเหตุให้งานล่าช้าเสียเวลาและมีการกระจายอำนาจไปยังส่วนอื่นๆเพื่อให้เกิดความคล่องตัวว่องไวรวดเร็วยิ่งกว่านี้ องค์กรของภาครัฐต้องมีการแข่งขันเหมือนภาคเอกชนเพื่อเกิดการพัฒนางานใหม่ๆขึ้นมาเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริหารจัดการอย่างคุ้มค่าประหยัด

       พนักงานและองค์กรของภาคเอกชนอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวอย่าหลบเลี่ยงหนีภาษี อย่าหาโอกาสจากช่องโว่กฎหมาย เพราะภาษีนำมาพัฒนาประเทศ และเสียสละช่วยเหลือสังคมร่วมมือร่วมใจกับภาครัฐเพื่อให้ประชาชนผู้ยากไร้ผุ้ประสบอุทกภัย ได้อยู่ดีกินดีมีสุขเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

     จะเห็นได้ว่าทั้งสององค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้เกิดการพัฒนางานนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ

สุขสันต์วันเกิด ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ๗  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๑

 ในวาระครบรอบวันคล้ายวันเกิด  อาจารย์ จีระ   เวียนมาบรรจบอีกครั้ง หนูขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกจงดลบันดาลให้  อาจารย์ของหนูประสบแต่ความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนา ร่ำรวยเงินทอง มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เป็นที่รักของลูกศิษย์ทุกคน นะคะ

อนงค์ วีลาวัลย์ วรางคณา ขนิษฐา พรทิพย์ กมลทิพย์ และนักศึกษา รปม.รุ่น 4 มร.สส.

ในวาระครบรอบวันคล้ายวันเกิดท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551  นี้  พวกเรา นักศึกษา รปม. รุ่น 4  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ขอให้ท่านอาจารย์มีสุขภาพ พลานมัยที่แข็งแรง สมบูรณ์  เป็นร่มไทรร่มใหญ่ ที่แผ่กิ่งก้านความรู้ไปสู่บรรดาลูกศิษย์ตลอดกาลนาน  นะค๊ะ 

สุขสันต์วันเกิดค่ะอาจารย์ พวกเรากลุ่ม 5 ขออวยพรให้อาจารย์ มีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีแรงกายแรงใจในการทำงาน เพื่อชาตินะคะ

รักอาจารย์ค่ะ

 

ทำอะไรกันครับนี่  เขียนกันแบบไม่บันยะบันยังเลย
น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5
                          สมาชิกกลุ่ม 5 1.       น.ส. หทัยพัชร์  จุลเจริญ             500380100012.       น.ส. นงนุช  บัวขำ                       500380100123.       น.ส. ภัทรพร  จึงทวีสูตร             500380100354.       น.ส. สายฝน  ด้วงทอง                500380100115.       น.ส. ญานิสา  เวชโช                     500380100136.       น.ส. อมเรศวร์  พฤฒปภพ         500380100237.       นาง กัณจนา  งามน้อย                500380200068.       น.ส วิวิตรา  จุลกรานต์               500380100289.       นาย ฉลอง  บ่มทองหลาง          50038010008 เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ จากการบ้านที่ได้รับมอบหมายสำหรับงานกลุ่มชิ้นที่ 2 คือ อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้และหนังสือสองพลังความคิดชีวิตและงาน และให้แสดงความคิดเห็นนั้น ได้รับการเรียนรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่การวางแผนงาน การคัดเลือกและสรรหาคน วิธีการพัฒนาคน การสร้างแรงจูงใจ รวมไปถึงความผูกพันและเชื่อมโยงระหว่างพนักงานและองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อนำพาองค์กรและประเทศไปสู่ความสำเร็จ   กลุ่ม 5 แสดงความคิดเห็นดังนี้  หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ แสดงให้เราเห็นว่า คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร  ในการทำงานเราจะเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพันกับองค์กร และในการพัฒนาบุคลากรเป็นลงทุนของบริษัทที่ไม่ใช่ต้นทุน แต่คนเป็นทรัพยากรสำคัญสูงสุดที่ต้องมีการเอาใจดูแลและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้ คือ การทำงานต้องทำงานเป็นทีม ย่อมทำให้พนักงานเกิดความรักและเกิดสามัคคีร่วมกัน และยังส่งผลให้เกิดสำนึกความเป็นเจ้าขององค์กร ด้วยเพราะความเหน็ดเหนื่อยในการทำงานเพื่อองค์กรนั้นเอง  นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ยังส่งผลให้พนักงานมีความรู้สึกรับผิดชอบการกระทำหรือข้อกำหนดใด ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรนั้นด้วยนอกจากนี้  ในองค์กรต้องเน้นหรือให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ทุกคนเป็นผู้ที่มีทักษะ และมีความสามารถในงานที่ตนปฏิบัติแล้ว องค์กรต้องส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรเป็นผู้ที่มีคุณธรรม และจริยธรรม อันหมายถึง ต้องเป็นผู้ที่ เป็นคนเก่ง และเป็นคนดี ควบคู่กันไป  ทั้งนี้ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัย ผู้นำ ที่มี วิสัยทัศน์กว้างไกล อีกทั้ง ยังต้องมีความสามารถในการสื่อสารความคิดหรือความประสงค์สู่พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีในส่วนของผู้นำนั้น จำเป็นต้องมีความเชื่อมั่นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่า สามารถที่จะฝึกฝนหรืออบรม ให้สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้งทักษะขึ้นมาได้  ทั้งนี้ การฝึกฝนหรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แม้จะได้ผลค่อนข้างช้า แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับองค์กร และการพัฒนาดังกล่าวนั้น ต้องอาศัยความต่อเนื่อง และจำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์กรในทุกระดับ ทุกส่วนงาน จะเพิกเฉยหรือให้ความสนใจในการพัฒนาส่วนงานหนึ่งส่วนงานใดมิได้ ซึ่งการพัฒนาบุคลากรในองค์กร มิได้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า แต่เป็นการลงทุนที่เห็นผลได้ในระยะยาว และสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร  อีกทั้ง การพัฒนาบุคลากรยังสร้างความจงรักภักดีให้แก่องค์กร เนื่องจากการพัฒนาองค์กรนั้น ย่อมเป็นการพัฒนาตัวของพนักงานด้วย เมื่อเกิดความเชื่อเช่นนั้น ย่อมส่งผลให้พนักงานขององค์กร เกิดความเชื่อมั่นและปฏิบัติงานโดยความมุ่งมั่น และเต็มที่กับงาน อันจะส่งผลต่อผลสำเร็จต่อองค์กรในที่สุด หนังสือ “2 พลังความคิดชีวิตและงาน 2 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ฯ นับเป็นหนังสือที่สามารถถ่ายทอดแนวทางและแนวคิดทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไว้อย่างแท้จริง  เนื่องจากบุคลากรที่ถ่ายทอดความรู้ และความคิดที่ประกอบเข้าเป็นหนังสือนั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ และผ่านประสบการณ์ ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาอย่างโชกโชนหลักคิดที่เฉียบแหลมของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  ชี้ให้เห็นว่า สำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความสุขไปพร้อมกัน ด้วยการใช้หลักคิด คือ 8 H’s อีกหลักคิดหนึ่ง ที่ทำให้เราท่านเกิดปัญญาในการบริหารทรัพยากร คือ หลัก 8 K’s ของท่าน ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์ นั้นเองหลักการทั้งสอง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กร หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน ได้ในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งนี้  เราสามารถจำแนกเป็นส่วน ๆ เพื่อใช้ง่ายและชัดเจนแก่การเข้าใจคือ1. heritage รากฐานของชีวิต และ   Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน ในส่วนนี้ ทำให้เราตระหนักว่า มนุษย์เรานั้น ต้องระลึกและมีความภาคภูมิใจในการเป็นตัวเอง และต้องเข้าใจในรากเหง้าของตนเอง  ที่กล่าวเช่นนั้น เนื่องจาก การเข้าใจที่มาของตนเอง และรู้จักตนเองนั้น จะทำให้เราเข้าใจ สิ่งที่เรามี และเราเป็น ฉะนั้น การจะทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมใด ๆ ในองค์กร หรือชีวิตประจำวัน ย่อมทำให้เราไม่ประมาท และทำอะไรอยู่ด้วยความพอเพียง มีความสมดุล2.  Head สมอง และ Intellectual Capital  ทุนทางปัญญา  นั้น แสดงให้เราเห็นว่า ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากที่ต้องบริหารมนุษย์ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในศาสตร์หรือเรื่องนั้น ๆ  เราต้องฝึกฝนให้บุคลากรเหล่านั้น เกิดทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ นั้นหมายถึง นอกจากมีความรู้แล้ว ยังต้องคิดเป็น และตกผลึกกับความคิดเหล่านั้น (คิดได้ วิเคราะห์ได้ ต้องมีคุณธรรมด้วย)3. Hand มืออาชีพ และ Talent Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ  ในการทำงานนั้น เราทุกคนมักต้องการความสำเร็จในงานนั้น ๆ แต่หลักการนี้ ทำให้เราต้องตระหนักว่า การทำงานนั้น ต้องอาศัยตนเองเป็นที่ตั้งในการทำงาน การใช้ประโยชน์จากความสะดวก ง่ายดายของเพื่อนร่วมงาน หรือเทคโนโลยีนั้น บางครั้ง ทำให้เราขาดความละเอียดอ่อน และความใส่ใจในเนื้องาน อีกทั้ง การที่เราสามารถทำงานในขั้นที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และฝึกฝนจนกระทั่งเป็นขั้นที่ยุ่งยาก สิ่งเหล่านั้น จะเป็นประสบการณ์และสร้างความเป็นมืออาชีพในงานที่ท่านปฏิบัติ เกิดความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ ซึ่งในส่วนนี้มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศและที่สำคัญมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรที่ทุกวันนี้กำลังถูกท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน4. Heart จิตใจที่ดี และ Ethical Capital ในสังคมปัจจุบัน การคิดหรือมีทัศนคติในเชิงบวก เป็นสิ่งสำคัญยิ่งทั้งการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวัน ที่กล่าวเช่นนี้ ในปัจจุบันมีความรู้ แต่ปราศจากความคิดหรือทัศนคติในเชิง ดังนั้น การมองอะไรจึงไม่มีความสุข ฉะนั้น การมองในเชิงบวก ที่ควบคู่กับความมีคุณธรรมและจริยธรรม ประกอบกันจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ ประเทศชาติ จะพัฒนาได้อย่างไร หากปราศจากผู้มีความรู้ และคุณธรรม5. Health การมีสุขภาพที่ดี คนเราแม้มีสมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ แต่หากร่างกาย หรือสุขภาพไม่ดี มีความบกพร่อง สิ่งต่างๆ ทั้งสมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ ย่อมไม่มีความหมายใด ๆ หลักคิดข้อนี้ ของคุณหญิงทิพาวดี แสดงให้เราเห็นว่า สุขภาพ มีความสำคัญมาก เนื่องจากสุขภาพเป็นสิ่งที่ทำให้ ยังมี และมีความสามารถ ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ หากสุขภาพไม่ดี หรือไม่มีลมหายใจ สิ่งต่าง ๆ ย่อมไม่มีความหมาย ทั้งนี้ หลักการข้อนี้ เป็นหลักการข้อเดียวที่อาจารย์ทั้งสองท่านมีความคิดแตกต่างกัน สำหรับท่าน ดร.จีระนั้น มองว่า Digital Capital มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ในปัจจุบันมาก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบันนั้น ล้วนสนับสนุนการทำงานในระบบดิจิตอล ฉะนั้นการเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีนั้น เป็นทักษะหนึ่งที่ทรัพยากรมนุษย์ ยุคปัจจุบันมีความจำเป็น6. Home บ้านและครอบครัว และ Human Capital ทุนมนุษย์  มนุษย์จะมีคุณภาพย่อมมาจากครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมที่ดี และเหมาะสม นอกจากนี้ ยังต้องกระบวนการให้เขาเหล่านั้น ได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาอย่างมีระบบเป็นขั้นตอน อีกทั้ง บ้านและครอบครัว ยังเป็นเสมือนแหล่งเพาะบ่มความคิด และทัศนคติ ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการ7. Happiness ความสุข และ Happiness Capital แสดงให้เห็นว่า คนเราทุกคน ย่อมต้องทำงานและดำรงชีวิตในประจำวัน ทำในสิ่งที่ตนเองรัก และปฏิบัติงานโดยมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบ  ฉะนั้น ความสุขนั้น จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และความสุขนั้น ต้องเป็นความสุขที่ไม่เบียดเบียนใคร คือ เป็นความสุขที่เกิดจากทั้งกายและใจของตนเอง8. Harmony  ความปรองดองสมานฉันท์  และ Social Capital มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่ จึงมีประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมาย เป็นตัวกำกับเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีความปรองดอง สามัคคี ฉะนั้น ในการทำงานเช่นเดียวกัน เราทุกคนต้องการมิตรในการทำงานมากกว่าศัตรู และร่วมกันทำงาน โดยมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังต้องรู้จักวัฒนธรรมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสามารถรักษาความเป็นอัตลักษณ์ของตนในสังคมได้
นางวีรยาพร อาลัยพร (ตัวแทนกลุ่ม 6)
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด (7   กุมภาพันธ์  2551  )  ของอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์    ในนามของนักศึกษา รปม.รุ่น 4  กลุ่ม 6  ขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย  และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้ท่านอาจารย์และทุกท่านในครอบครัวจงประสพแต่ความสุขความเจริญ สุขภาพร่างกาย แข็งแรงสมบูรณ์  เป็นที่รักของลูกศิษย์ทุกคนค่ะ                                และขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านอาจารย์  ศ.ดร. จีระ      หงส์ลดารมภ์ ได้นำคณะมาสอน   รปม. รุ่น 4  รู้สึกภาคภูมิใจ และคุยให้ผู้อื่นฟังได้  ที่เป็นลูกศิษย์อาจารย์ระดับชาติ

 

นางวีรยาพร อาลัยพร (ตัวแทนกลุ่ม 6)
รายงานสรุปการสัมภาษณ์ของ  ท่านพารณ  อิสรเสนา  ณ อยุธยา  กับ  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์   โดย  นักศึกษา  รปม. รุ่น 4   กลุ่ม  6  มีรายนามดังนี้                       1.  นางอนงค์      มะลิวรรณ์              รหัสประจำตัว      50038010019                         2.   นางสาวมัลลิกา    โสดวิลัย         รหัสประจำตัว      50038010018                       3.  นางบังอร    ภูมิวัฒน์                     รหัสประจำตัว      50038010032                       4.  นาง สมจิตร    ส่องสว่าง              รหัสประจำตัว      50038010038                       5.  นาง วีรยาพร    อาลัยพร               รหัสประจำตัว      50038010036                       6.  นางสาวลาวัลย์    ลิ้มนิยม            รหัสประจำตัว     50038010044                       7.  นางสาวมะลิวัลย์    โพธิ์สวัสดิ์    รหัสประจำตัว     50038010020 จากการที่ได้ฟังบทสัมภาษณ์ของ  ท่านพารณ  อิสรเสนา ณ อยุธยา  กับ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์    สรุปเนื้อหาสาระสำคัญได้ดังนี้  คือ                                การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จได้ด้วยดีจะต้องมาจากความเชื่อและความศรัทธาเชื่อมั่นในคุณค่าของคนว่า มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณค่ามากต่อองค์กร  การบริหารงานบุคคลจึงมีความสำคัญมากต่อองค์กร  ถ้ามองทางด้านเศรษฐศาสตร์แล้วคนมีค่ามากที่สุดขององค์กร ยิ่งกว่าสมบัติอื่นใด  ถ้าเป็นสิ่งของมีแต่ของจะลดลงและเสื่อมราคาลงอยู่ตลอดเวลา  แต่คนกลับมีค่าเพิ่มมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะคนจะได้รับการพัฒนาฝึกฝนหาความรู้อยู่ตลอดเวลา โดยองค์กรจะต้องเห็นความสำคัญและส่งบุคลากรขององค์กรได้เข้ารับการพัฒนาฝึกฝนอบรมอยู่เสมอ ๆ  เพื่อรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะนำเข้ามาใช้ในองค์กร                                 นอกจากนี้การบริหารงานบุคคลในองค์กรต้องมีจริยธรรม  คุณธรรมในการบริหาร เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีสืบต่อกันไป  ถ้าเชื่อในศาสนาพุทธแล้ว  ก็จะกล่าวได้ว่า  ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  และองค์กรจะต้องคำนึงการทำงานเป็นทีม และการสร้างเครือข่ายระหว่างกันภายในองค์กร โดยให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ กับบุคคลภายใน และบุคคลภายนอก (โดยภายในหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ของผู้บริหารกับผู้ใต้บังคับบัญชา  ส่วนภายนอก  หมายถึง ผู้รับบริการหรือลูกค้า  ตลอดจนการให้สวัสดิการที่ดีต่อบุคลากรภายในองค์กร โดยการดูแลตั้งแต่แรกเข้าบรรจุ จนกระทั่งพ้นสภาพการเป็นพนักงานในองค์กร เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับบุคลากรขององค์กร เพื่อทำให้บุคลากรในองค์กรรู้สึกว่าตนเองได้รับการดูแลอย่างดี  ก็จะเกิดความรู้สึกผูกพันกับองค์กร และเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร เพื่อรักษาคนเก่ง คนดีภายในองค์กรไว้                                  ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  คน  เป็นทรัพยากรและสมบัติอันมีค่าขององค์กร เพราะสามารถที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และผลสำเร็จตามเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้                               
พระศุภสิน ศักศรีวัน ตัวแทนกลุ่ม 2

กลุ่มที่ 2 (กลุ่มคนจับปลา : Fisherman Party)

                1. พระศุภสิน  ศักศรีวัน

                2. พระมหาวิทยา  นางวงศ์

                3. นางสาวนลินี  โลพิศ

                4. นางสาวศศินี  โพธิทอง

                5. ส.ท.สราวุธ  ดอกไม้จีน

                6. นายสุรัชต์  ชวนชื่น

                7. นายธนิก  กัมพูศิริพันธ์

                8. นายสุรภัทร  ปานทอง

                9. นายกิติพัฒน์  ตันตสุรฤกษ์
------------------------------------------------------------------

...ผ่านวันผ่านกาลเวลา..           เพียรศึกษาเริ่มสะสม
ผ่านร้อนผ่านหนาว..ทุกข์ตรม   จีระ หงส์ลดารมภ์ยืนหยัดมา
ก้าวสู่แนวหน้าสังคม                สั่งสมคุณค่าให้คน
พบพาน GURU พารณ           จวบจนก่อเกิดแหล่งที่มา...


หนังสือ.. “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”
      “หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” เป็นบทพิสูจน์และการันตีแสดงให้เห็นถึงปณิธานของ 2 บุรุษผู้แม้ว่าจะต่างกันด้วยวัยวุฒิ แต่เดินทางสายเดียวแห่งอุดมการณ์ เป็นไปแนวทางเดียวกัน คือการมุ่งเรื่องคน ซึ่งทั้ง 2 ท่าน มีความเชื่อเหมือนกันว่า  “คนคือทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร” จึงทำให้ทั้ง 2  ท่านใช้ความพยายามในช่วงหลายทศวรรษในอันที่จะพัฒนาคน ควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิต เพราะทั้งสองต่างเชื่อว่า “หากคนในประเทศมีความรู้ ความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีวิตจนติดเป็นนิสัยแล้ว ประเทศของเราก็จะสามารถยืนหยัดและสามารถแข่งขันในสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างแน่นอน..” สิ่งที่ต้องเล็งเห็นในการพัฒนาคน ในสังคมไทยสิ่งที่ขาดอยู่ในตอนนี้ คือ บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและคุณธรรม ในการช่วยชี้แนะให้คนเป็นทรัพยากรที่พัฒนา เป็นมนุษย์ที่รู้วิธีการที่จะเป็นคนเก่ง คนดี และคนที่มีความสุข สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข และมีศักยภาพได้
      คุณพารณ ฯ ในสภาพส่วนตัว เป็นผู้ปฏิบัติตนเรียบง่าย ใส่เสื้อคอพระราชทานสีตุ่น ๆ ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส บุคลิกภาพที่เป็นมิตรกับทุกคน มีระเบียบในตัวเอง ประพฤติเป็นที่น่าเชื่อถือเป็นที่รักของลูกน้อง ซึ่งถือว่า เป็นบุคคลที่รู้จักการ “ครองตน”  ให้ความสำคัญและความรักความเมตตาดูแลห่วงใยผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างใกล้ชิดทำให้เกิดความรัก และความเชื่อถือ จงรักภักดีจากลูกน้องเสมือนคนในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่สามารถ “ครองคน” ทำงานสายเอกชนนาน ถึง 33 ปี เป็นทรัพยากรที่บริษัท อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้ “ครองงาน” เป็นเวลานาน
      มีคำกล่าวว่า  การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุนของบริษัท ซึ่งมิใช่ต้นทุนและเป็นผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร ดังนั้นคนจึงเป็นตัวแปรต่อการอยู่รอด นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า เราดูแลเอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพ โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้อย่างจริงจังและเป็นระบบหรือไม่
อาจารย์จีระ ได้เสนอทฤษฏีไว้หลายทฤษฎี ทั้งทฤษฎี 4 L’s (Learning methodology, Learning environment, Learning opportunity, Learning community) ทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และยังเป็นหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและมีความโปร่งใส ก้าวไปสู่การรู้จักทำงานเป็นทีม อันจะเพิ่มศักยภาพของงานและลดข้อผิดพลาด หากบุคคลภายในทีมมีความสามารถ มีศักยภาพ และมีการปรับตัว มาถึงตอนนี้ทำให้ข้าพเจ้าฉุกคิดขึ้นมาว่า การที่อาจารย์มอบภาระงานให้ทำเป็นกลุ่มนี้ที่จริงแล้วสามารถมอบให้เป็นงานเดี่ยวก็ย่อมทำได้ แต่ทำไม? นั่นอาจจะเป็นการสอนแบบผสมผสานและการใช้จำลองสภาพแวดล้อมเป็นกุศโลบายในการที่จะฝึกคนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักหน้าที่ของตน โดยสมมติกลุ่มเป็นองค์กร ๆ หนึ่งที่ให้เรามีส่วนร่วมในการพัฒนา มีส่วนร่วม และความสำนึกในหน้าที่ของตนต่อกลุ่ม
      จากการเสวนาแนวทางพัฒนาทั้ง 2 ท่านเล็งเห็นการพัฒนาเพื่อหาแนวทางอย่างไรที่จะพัฒนาคุณค่าของคน โดยคุณพารณ  ได้กล่าวถึงและแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับ Global Citizen ว่า เราต้องสร้างเด็กไทยให้มีความพร้อมกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงของโลก ต้องให้มีความคล่องแคล่วในเรื่องภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการต่อรองและติดต่อสื่อสารกับต่างชาติ การนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยอาจารย์จีระ ได้เพิ่มเติมเรื่องการเสริมคุณธรรมและจริยธรรมลงไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก มีความรู้มีความสามารถ แต่ขาดคุณธรรมและจริยธรรมก็คงมีคุณภาพไม่ครบสมบูรณ์ตามสังคมต้องการ (ขาดคุณธรรมจริยธรรม ประเทศชาติก็เจ๊ง สิพี่ ๆๆๆๆ...)
      ความมุ่งหวังทั้ง 2 ท่านที่จุพัฒนาคนที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญขององค์กร ทั้ง 2 ท่านได้สร้างเครื่อข่ายมนุษย์ จากการให้ความสำคัญกับคนทุกระดับทำให้ทั้งสองท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง อีกทั้งมีนิสัยคล้ายกันคือ การไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ไม่ใส่เกียร์ว่างให้ตัวเอง และยังได้นำความรู้จากการเรียนรู้มาถ่ายทอดให้กับผู้อื่น เช่นการวางระบบการศึกษาแนวใหม่ ให้เยาวชนรู้จักใช้สมอง วิเคราะห์เป็น และกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกที่ควร มีความเชื่อมั่นและทะเยอทะยานในสิ่งที่ควร ดังสโลแกนที่ว่า “ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึง”
      จากการได้ศึกษาและอ่านแนวความคิดของท่านทั้ง 2 ทำให้เกิดมุมมอง และสาระเกี่ยวกับ GOAL ..
G : Good คือต้องมีความรู้สึกดีกับงาน ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ฉันทะ” คือต้องมีความชอบและรัก ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และสิ่งที่ขาดไม่ได้นอกจากรู้ดีกับงาน ต้องมีความรู้สึกดีและรักตัวเอง มีความเชื่อมั่นใจตัวเอง
O : Opportunity ต้องวิ่งหาโอกาส  และสร้างโอกาสให้กับตัวเองในการแสดงความสามารถ
A : Alert ต้องมีการเตรียมพร้อมเสมอ มีการตื่นตัวเสมอที่จะทำงาน และพร้อมที่จะปรับตัว เมื่อองค์การมีการเปลี่ยนแปลง
L : Learning มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวคือบทเรียน คือการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ให้เหมาะตามโอกาส
ทำให้เข้าใจว่า..
      - คน เป็นทรัพยากรซึ่งต้องมีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถและกอปรด้วยคุณธรรมจริยธรรม
      - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร และคนก็คือมูลค่าเพิ่ม มิใช่ทุน
      - รู้อะไรให้รู้จริง และสามารถนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้จริง
      - การมองทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากระดับมหภาค (Macro) ไปสู่หน่วยเล็กขององค์กร (Micro)
      - การทำงานต้องรู้จักช่วยกัน มีการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

2 พลังความคิดชีวิตและงาน
     ผู้นำทางด้านทรัพยากรมนุษย์ คือ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ทั้งสองท่านต่างก็มีแนวความคิดที่เหมือนกัน ซึ่งจะมี 2 ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ ทั้ง 2 ท่าน คิดว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดขององค์กรมาจาก คน องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอยู่ที่คนไม่ใช่เทคโนโลยี การมีวิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้า การจะเป็นผู้นำนั้นต้องให้ลูกน้องได้เห็นความเป็นตัวของเราเอง เราเกิดมาเป็นคนทุกคนจะต่างกันที่ ฐานะ ความรวย ความจน หรือโอกาสต่างๆ ที่ไม่เท่าเทียมกัน แต่เราจงภูมิใจในความเป็นตัวของเราเอง รู้จักความพอเพียง และรู้จักการเอื้อเฟื้อต่อคนอื่น  คุณหญิงกล่าวว่ามนุษย์ทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองในการนำความรู้ที่มีมาคิดเพิ่ม รู้จักใช้สติปัญญา รู้ว่าคิดอะไรและกำลังทำอะไร และการสอนของเมืองไทยนั้นไม่ได้สอนให้เด็กคิด ไม่ได้ฝึกให้เด็กตั้งคำถาม ดังนั้นประเทศไทยจึงยังไม่ก้าวหน้า เพราะไม่ได้สอนให้เด็กฝึกคิดเด็กจึงคิดไม่เป็น แต่คุณหญิงท่านโชคดีมากที่ได้ไปเรียนที่ต่างประเทศซึ่งท่านได้ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ที่นั้นเป็นสังคมของการเรียนรู้ ท่านก็ได้มีโอกาสแสดงความคิด ได้โชว์ความสามารถ ผิดถูกก็ไม่มีใครดูถูก ท่านก็เลยมีความมั่นใจในตัวเองมาก ทำให้ท่านมั่นใจว่าสมองของคนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก อาจจะด้อยก็เพียงแค่ภาษาเท่านั้น แต่สมองอาจจะดีกว่า ท่านพยายามสอนให้คนคิดเป็นและพยายามคิดด้วยตัวเอง จะเน้นการพัฒนาความรู้และทัศนคติ เราต้องรู้จริงก่อนจึงจะเสนอแนะได้ ส่วนด้าน ศ.ดร. จิระ ได้ให้ความสำคัญไว้ 3 เรื่อง คือ ความรู้ ความชำนาญ ความสามารถ ส่วนทางด้านคุณหญิงกล่าวไว้ว่าทรัพยากรมนุษย์นั้นสามารถเพิ่มมูลค่า และพัฒนาได้ตลอดเวลาไม่มีจบสิ้น เพราะเป็นเรื่องความรู้ ความคิด ทักษะ ความสามารถ แต่ไม่ใช่จะมีความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความคิดและวิเคราะห์เป็นด้วย จึงจะได้เกิดปัญญา ศ.ดร. จิระ ได้อธิบาย ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็นวิเคราะห์เป็น และการนำไปสู่มูลค่า ท่านได้สังเกตว่าคนที่จบปริญญามีพื้นฐานการศึกษาที่ดี แต่คนที่มีการศึกษาที่ไม่สูงก็สามารถมีทุนทางปัญญาได้ ถ้ารู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนคุณหญิงกล่าวว่า คนเราต้องแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะการที่เราจะเป็นผู้นำนั้น ต้องรู้มาก รู้กว้างและรู้ลึกกว่าคนอื่น การที่องค์กรมีบุคลากรที่มีความรู้ และมีสติปัญญาดี และมีความชำนาญ และมีความสามารถ ก็จะทำให้องค์กรมีผลงานที่ดี องค์กรก็จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประเทศชาติเจริญได้อย่างยั่งยืน ส่วน ศ.ดร. จิระ กล่าวถึงทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ เป็นทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ บุคคลจะมีความสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ คนที่มีทุนมนุษย์ดีย่อมส่งผลต่อการเรียนรู้ตั้งแต่ ครอบครัว โรงเรียน สถานอุดมศึกษา สถานประกอบการ และสังคม ทุนทางความรู้ยังส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ ต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชนหากได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ และ ศ.ดร. จิระ ได้กล่าวไว้ว่าแต่ละองค์กรถ้าขาดคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว ก็ยากที่จะพัฒนา ซึ่งเหมือนที่คุณหญิงได้เน้นถึงเรื่องจิตใจนั้นน่าจะมีความหมายครอบคลุมทั้งในระดับผู้นำและการบริหารจัดการองค์กร คุณหญิงยังกล่าวอีกว่า คนเราต้องมีจิตใจ เมตตา กรุณา มีความอ่อนโยน จะทำให้มีบุคลิกที่ดี คือ มีความสุภาพอ่อนโยน  ถ้าในการเป็นผู้นำ ต้องใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในเชิงพุทธศาสนา คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราที่สำคัญที่สุดในการวัดการเป็นผู้นำที่แท้จริง คือ มีจิตใจที่กล้าหาญ คือ กล้านำ กล้าตัดสินใจ กล้าเสี่ยง และจะต้องกล้าที่จะยอมรับความล้มเหลว และจะต้องกล้าที่จะรับผิดชอบทั้งดีและร้าย..

โดย  นักศึกษา  รปม. รุ่น 4   (กลุ่ม  6 ) มีรายนามดังนี้1.  นางอนงค์      มะลิวรรณ์           รหัสประจำตัว     50038010019  2.   นางสาวมัลลิกา    โสดวิลัย       รหัสประจำตัว     500380100183.  นางบังอร    ภูมิวัฒน์                 รหัสประจำตัว     500380100324.  นาง สมจิตร    ส่องสว่าง            รหัสประจำตัว     500380100385.  นาง วีรยาพร    อาลัยพร            รหัสประจำตัว     500380100366.  นางสาวลาวัลย์    ลิ้มนิยม           รหัสประจำตัว     500380100447.  นางสาวมะลิวัลย์    โพธิ์สวัสดิ์    รหัสประจำตัว     50038010020 จากการที่ได้อ่านหนังสือทั้งสองเล่มของท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  นักศึกษา รปม.  รุ่น  4  (กลุ่ม  6)  สรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญได้ดังนี้  คือเล่มที่  1  พลังความคิดชีวิตและงาน  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  โดยคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  และ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์                                เนื้อหาในหนังสือ เป็นช่องทางที่สำคัญในการเผยแพร่ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อสังคม โดยมีบุคคลตัวอย่างที่ทรงคุณค่า  เป็นผู้นำทางความคิด  ผู้บุกเบิกและปฏิบัติ ทำให้ผผู้อ่านได้รับสาระครบถ้วน ชวนติดตามเนื้อหา  ทราบถึงการพัฒนามนุษย์  โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ พร้อมทั้งกลยุทธในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร  จาก แรงจูงใจ ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ  จุดประกายความคิดใหม่ ๆ เหมือนพลุไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ  ทำงานเอาจริงเอาจังโดยใช้วิธีบูรณาการ  ความคิด และความสามารถของผู้ร่วมงาน  งานที่ยากเป็นงานง่ายสองคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย ที่ดำรงอยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์  สร้างความยั่งยืน เน้นพึ่งพาตัวเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บนรากฐานทางวัฒนธรรม และภูมิสังคมที่แข็งแกร่ง มีคุณธรรม จริยธรรม ที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับ แต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญได้อย่างไร้ขีดจำกัดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน โดยระบบราชการ จะทำงานชักช้า อุ้ยอ้าย ระเบียบขั้นตอนมากไม่ได้ จะต้องนำมาปรับปรุง ลดขั้นตอน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานโดยใช้ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8 H’ s”  และ  8 K’ s”  ซึ่งผู้อ่านเกิดความคิดที่ว่า  คนเรานั้นเกิดมาต้องมีทุนมนุษย์ เพราะว่าคนจะทำอะไร ไม่ว่า การกิน การเดิน การนั่ง การนอน และการทำงาน ล้วนต้องใช้ทุนมนุษย์ทั้งสิ้นแต่จะใช้สมบูรณ์แบบทุกด้านนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อให้การปฏิบัติการในด้านต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ขึ้น อย่างน้อยเราต้องพัฒนาสิ่งที่ตนเองชอบที่จะทำเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านนั้น ๆ ซึ่งมองให้เห็นว่า คนเราต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยิ่งโลกเราทุกวันนี้ในยุคโลกาภิวัฒน์ ยิ่งต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ดังบทสนทนาของทั้ง  2  ท่านที่ได้กล่าวถึงทุนมนุษย์ไว้อย่างดีเยี่ยม  โดยแยกแต่ละทุนดังนี้ ทุนที่ 1  ได้กล่าวถึงทุนมรดกวัฒนธรรม  (Heritage)  ซึ่งเป็นทุนรากฐานของชีวิต เพราะทุนมรดกวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมให้ถูกต้อง แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีหรือเรียกว่า โลกยุคไอที หรือโลกไร้พรมแดน ทำให้เกิดความไหลบ่าของวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในประเทศอย่างรวดเร็ว ที่เราไม่สามารถสกัดกั้นและกลั่นกรองได้ แต่การที่เรามีทุนทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งได้ช่วยเพิ่มคุณค่าของสังคมและยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างดียิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรมของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่ว่า Culture Capital เป็นองค์ประกอบหลักของทฤษฎี 8K’s  คือทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainabillity Capital)  เพราะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากคนเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้ว จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน ทุนที่ 2  ได้กล่าวถึงทุนสมอง (Head)  การมีความคิด มีความรู้แล้วต้องมีสติเพราะคนเราทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองในการนำความรู้ที่มีมาคิดเพิ่ม ต้องรู้จักไตร่ตรองก่อนเพื่อชั่งน้ำหนักให้เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เพราะทุนทางปัญญาจะทวีเพิ่มขึ้น เมื่อคนเราได้มีโอกาสเรียนรู้และมีประสบการณ์ที่ดี  ทุนที่ 3  คือ มืออาชีพ (Hand)  ความเป็นมืออาชีพนั้น เป็นความสามารถในงานที่เราทำได้ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร แต่คนเรามีพื้นฐานที่แตกต่างกัน จึงต้องนำความรู้ ทักษะ และทัศนคติไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดเป็นทุนทางความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎี 8K’s  คือทุนความรู้ (Telented Capital) ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้  ทุนที่ 4  คือ เป็นคนจิตใจที่ดี (Heart)  เป็นทุนที่มีทัศนคติในเชิงบวก คือมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital)  หากคนเรามีความพื้นฐานดี มีทุนความรู้ ทุนทางปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้ดีเท่าที่ควร  ดังนั้นเราจึงควรปลุกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่เบื้องต้น ทุนที่ 5  คือสุขภาพ (Health)  ตรงกับ ทฤษฎี 8K’s  คือต้นทุนพื้นฐานทางสุขภาพที่ดี คนเรานั้นถือว่าสุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต  เพราะถ้าคนเราจะทำอะไรในหลาย ๆ อย่างในชีวิตนั้น แต่ถ้าหมดสิ้นลมหายใจหรือไม่มีชีวิตจะทำอะไรไม่ได้เลย สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์จีงเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับคนเราทุกคน ซึ่งสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นเอง

 ทุนที่ 6  คือ บ้านและครอบครัว (Home)  การที่คนเรามีครอบครัวที่อบอุ่น เป็นพื้นฐานที่สำคัญ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เท่ากับมีเครือข่ายที่จะดูแลกันและกันได้ สอดคล้องกับ ทฤษฎี 8K’s  คือ  ทุนมนุษย์  (Human Capital)  เพราะทุนมนุษย์ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดามารดา  ทุนที่ 7  คือ  การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข (Happiness)  โดยการแบ่งปัน เมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ทุกคนมีความสุข  8K’s   คือทุนแห่งความสุข (Happiness  Capital)  ว่า หากมนุษย์มีทุนทางความรู้ มีทุนทางปัญา และมีทุนทางจริยธรรมแล้ว  ย่อมเป็นพื้นฐานที่จะมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์  เพราะมีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาที่จะประสบความสำเร็จแล้วยังมีความดีงามที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือทรัพยากรส่วนกลาง  คนที่มีทุนแห่งความสุขนี้นอกจากจะมีความสุขด้วยตัวเองแล้ว ยังปรารถนาให้คนอื่นหรือสังคมโดยรวมมีความสุขด้วยกัน เพราะเรามีสติปัญญารู้ว่าความสุขต้องแบ่งปัน สุขคนเดียวหรือสุขกลุ่มเดียวจะอยู่ได้ไม่นาน  ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามจะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทุนที่  8  คือ ความปรองดองสมานฉันท์  (Harmony)  คือทุกคนทุกระดับใช้หลักสัปปุริสธรรม คือ  รู้เหตุ  รู้ผล  รู้ตน  

รู้ประมาณ  รู้กาล  รู้ชุมชน  และรู้บุคคล สอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางสังคม (Social Capital)  คนเรานั้น ถ้ามีแต่ทุนทางสังคมเพียงอย่างเดียว คงไม่ประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่รู้จักวิธีบริหารเครือข่ายการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับคนอื่น            ดังนั้น  สรุปได้ว่า  มนุษย์เรานั้นจะขาดทุนใดทุนหนึ่งไม่ได้ เพราะจะทำให้ขาดความสมดุลในชีวิต เพราะคนเราจะเก่งทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียว คงอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ไม่ได้หรืออยู่ได้ก็อย่างยากลำบาก เพราะทุกอย่างต้องเดินไปพร้อมกัน จะมีมากมีน้อยแต่ขอให้มีทุนมนุษย์ทั้ง 8 ทุน เดินไปพร้อมกัน จะทำให้การดำเนินชีวิตมีความสุขทั้งหน้าที่การงานและความสุขทางกายและใจนั้นเอง 

 เล่มที่  2   ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค  ซึ่งสรุปได้ว่า                                ความเชื่อ  ความศรัทธา และความมุ่งมั่นในเรื่องต่าง ๆ ของ ท่านพารณ  อิศรเสนา  ณ  อยุธยา  และ  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  จากประวัติการทำงานของทั้ง  2 ท่าน จะให้ความสำคัญกับ คน “  เพราะถือว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร  สมควรให้การดูแลและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในที่สุดทั้ง  2  ท่าน  ก็ทุ่มเทการทำงานให้กับสังคมในด้านการศึกษา ให้เด็กไทยได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาการศึกษาในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้และสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ที่สำคัญการเรียนรู้จะต้องเรียนรู้อย่างสนุก นำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์  ดังแนวคิดของ  2  แชมป์ กัน ทฤษฎี  4  L’s  มูลเหตุแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ท่านพารณ  ได้จารึกไว้ กับ ปูนซีเมนต์ไทย  โดยท่านเป็นต้นแบบที่ดี  4  เรื่อง  ดังนี้  (1)  คนเก่ง- คนดี  พบว่า  เก่ง  4  ดี  4  คือ  เก่ง  4  ได้แก่  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน         ดี  4  ได้แก่  ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม  ซึ่งทั้งหมดต้องมีการประเมิน เรียกว่า  Capability สำหรับคนเก่ง  และ Acceptability  สำหรับคนดี  คนเก่งฝึกอบรมได้  แต่คนดีต้องสร้างสมด้วยตนเอง  (2)  ความเชื่อในคุณค่าของคน  เชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร  (3)  การดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด  เชื่อว่าคนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียวแต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย (4)   การทำงานเป็นทีม  เชื่อว่า  สองหัวดีกว่าหัวเดียว  คือจัดให้มีระบบคณะกรรมการ ดูแลคนให้ทำงานเป็นทีม  เพื่อให้เกิดจิตสำนึกเป็นเจ้าของบริษัทด้วยกัน การนำ  HR  มาใช้อย่างชาญฉลาด  เช่น  องค์กรปูน เมื่อเกิดวิกฤต  ปี  40-41  บริษัทฟื้นตัวได้เพราะพื้นฐานเรื่อง  คน   แน่นมาก  จึงเลือกที่จะใช้วิธีใดกับใคร  คนไหนดีมีคุณค่าควรเก็บไว้  คนที่มีคุณค่าน้อยก็ปล่อยไปอย่างเหมาะสม  โดยการจ่ายค่าตอบแทนให้เขาพอใจ  ดังนั้น  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้จารึกไว้ บนรายทางว่า มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ  เกิดมาจากแนวคิดว่า  ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ จะดีได้ถ้าคนในประเทศไว้เนื้อเชื่อใจกัน  การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์จึงจำเป็นอย่างยิ่ง  ท่านจึงพัฒนาระบบความคิดไปข้างหน้างอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้อุปสรรคที่ผ่านมาเป็นโอกาส เป็นบทเรียนในการแก้ไขสู่ความก้าวหน้า  และการมีส่วนร่วมระหว่างคนในสังคม  ประกอบกับท่านอาจารย์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  และที่สำคัญท่านอาจารย์มีเครือข่ายสัมพันธ์ (NetworK)  ทั้งในและนอกประเทศ จึงทำให้งานยากกลายเป็นงานง่าย ซึ่งแนวคิดการบริหาร Network  ได้พูดไว้ในทฤษฎี  8K’s  คือ  Social Capital  แปลว่า ทุนทางสังคม คือทุนที่มนุษย์มีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งคุณสุชาญ  โภคิน  กล่าวคำว่า  พันธุ์แท้   น่าจะมีลักษณะคือพันธ์แท้มี   2  ชนิด คือ  พันธุ์แท้ที่พัฒนา   กับ  พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา   ทั้งนี้จุดตัดสินอยู่ที่  ของแท้จะต้องอยู่คงทน  มี  imaginative หรือความคิดริเริ่มใหม่ ๆ อยู่เรื่อย  หรือถ้าเป็นสินค้ามีนวัตกรรมหรือ innovation  อยู่ตลอดเวลา  คำว่า  พันธุ์แท้  คือเราไม่หยุดและ  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ก็ไม่หยุด  คุณสุชาญ  ยังพูดถึงทฤษฎี  3  วงกลม  ของอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ว่า วงกลม  ที่  1   เรื่อง  Contest  หรือ  บริบท  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้ระบบ  IT  มากขึ้น วงกลมที่  2  เรื่อง  ภาวะผู้นำ  นวัตกรรม  การบริหารเวลา  คือ ดูว่าทรัพยากรมนุษย์จะต้องมี  Competencies  อย่างไร  วงกลมที่  3  เป็นหลักที่ดี  คนเราจะสำเร็จในงานได้ต้องมองว่างานทุกอย่างเป็นงานที่ท้าทายเป็นการใช้หลัก PM (Personnel Management)  ดังนั้น  คุณสุชาญ  จึงมองว่า

ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  กับคุณพารณ  คล้ายกันตรงที่  หัวถึงฟ้า  ขาติดดิน  ถือเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่แท้จริง  ซึ่งทำให้เห็นว่า  ทั้ง ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และ 

คุณพารณ  อิศรเสนา  ณ อยุธยามีเป้าหมายเดียวกัน  นั่นคือการมุ่งมั่นในเรื่องทรัพยากรมนุษย์  ยิ่งย้อนกลับไปฟังเขาพูดอีกครั้งยิ่งชวนให้คิดว่า  ยังมีอะไรอีกบ้างที่สื่อถึงความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ อย่างในนิยามของการเป็น คนพันธุ์แท้   ของท่านพารณ  กับ ศ.ดร. จีระ  ซึ่งบางส่วนจาก ประกายความคลึงคล้ายเท่าที่จะวิเคราะห์ได้ระหว่างคนคู่นี้  คือ  1. เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ

2.  หยัดอยู่มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความอย่างยั่งยืน 3. จากความยั่งยืนสู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม 4. มีบุคลิกลักษณะแบบ  “ Global Man “  ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์ 5.  มีความเป็นผู้ใหญ่  พร้อมจะเป็น  ผู้ให้   ทั้ง  ความรู้   และ  ความรัก แก่คนใกล้ชิด 6. มีความสุขกับการเป็น  ผู้ให้ ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ  กล่อง หรือ  การเชิดชูเกียรติจากใคร

ซึ่งจากบทสนทนาของทั้ง  2  ท่านสามารถสรุปได้ว่า  คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร  คุณค่าของคนต้องมีคุณภาพ  มีคุณธรรม  ความจงรักภักดี  และมีความสามรถ  จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  การบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องสำคัญเท่ากับการเงิน  คนจะมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น  ถ้าองค์กรนั้นมีการฝึกอบรมด้านวิชาการ

ด้านปกครอง  และความรู้ใหม่ๆ   และประสบการณ์ที่ทำงานมานาน  เมื่อการแข่งขันมากขึ้นต้องมองคนเป็น  2  ประเภท  คนภายในองค์กร  และคนภายนอกองค์กร 

ผู้บริหารต้องมี  Vision มองไปข้างหน้ายาว ๆ จะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่  เครื่องจักร  เครื่องมือ เข้ามาก็สามารถที่จะเรียนรู้เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพ  อีกทั้งผู้บริหารจะต้องมีภาวะผู้นำ  อีกทั้งยังต้องมีความสามารถในการสื่อสารความคิดหรือ

ความประสงค์สู่พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีในส่วนของผู้นำนั้น จำเป็นต้องมีความเชื่อมั่นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่า สามารถที่จะฝึกฝนหรืออบรม ให้สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้งทักษะขึ้นมาได้  เพื่อให้พนักงานได้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น และถ้าขนาดธุรกิจใหญ่ ๆ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ลำบากขึ้น  ต้องใช้การกระจายอำนาจมอบอำนาจให้พนักงานระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว  การสร้างคนในองค์กรต้องสร้างทุกระดับ  ตั้งแต่

คนงานในโรงงาน ให้มีการฝึกอบรมโดยตลอด  การทำงานที่มีคุณธรรม

เป็นจรรยาบรรณของพนักงาน เป็นการจรรโลงคุณค่าของสังคมไทยสืบทอดกันไป  เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน  และผู้บริหารจะต้องประพฤติปฏิบัติตัวให้เป็นไปตามนั้นด้วย  การทำงานอย่างมีคุณธรรม ช่วยเราในระยะยาว ได้รับความเชื่อถือยกย่อง อีกทั้งยังต้องสรรหาคนดี คนเก่ง พร้อมทั้งรักษาไว้กับองค์การให้ได้  กลวิธีการสร้างความผูกพันในองค์กร และการรักษาคนเอาไว้จะต้องสร้างความผูกพันและความรักองค์กร ต้องดูแลพนักงานตั้งแต่วันที่เขาเข้ามาทำงานจนถึงวันที่เขาออกไปก็ให้ประโยชน์ตามสมควร  ต้องมีสวัสดิการที่ดี  มีการปกครองที่ดี ให้ความเป็นธรรมมีส่วนร่วมในการบริหาร ทำงานเป็นทีม ให้ความใกล้ชิดสนิทสนม มีอะไรพูดจาปรึกษากันได้ ทำเช่นนี้ทุกระดับองค์กร ให้ความสำคัญกับพนักงาน ให้ความรัก

ความศรัทธา สามารถแก้ปัญหาสมองไหลได้  ผู้บริหารออกไปเยี่ยม ทานข้าวกับลูกน้อง และคนในระดับอื่น ๆ ก็ทำตาม ทำให้คนในองค์กรแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  ทำให้

ไม่อยากออกไปจากองค์กรนี้  ทั้งนี้องค์กรจะต้องให้ความเชื่อมั่นในการบริหารงานของบุคคลในระดับต่าง ๆ เพื่อทำให้เห็นว่าเขามีส่วนร่วมและมีความสามรถที่นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางเป้าหมายไว้   
นางวีรยาพร อาลัยพร (ตัวแทนกลุ่ม 6)
โดย  นักศึกษา  รปม. รุ่น 4   (กลุ่ม  6 ) มีรายนามดังนี้1.  นางอนงค์      มะลิวรรณ์           รหัสประจำตัว     50038010019  2.   นางสาวมัลลิกา    โสดวิลัย       รหัสประจำตัว     500380100183.  นางบังอร    ภูมิวัฒน์                 รหัสประจำตัว     500380100324.  นาง สมจิตร    ส่องสว่าง            รหัสประจำตัว     500380100385.  นาง วีรยาพร    อาลัยพร            รหัสประจำตัว     500380100366.  นางสาวลาวัลย์    ลิ้มนิยม           รหัสประจำตัว     500380100447.  นางสาวมะลิวัลย์    โพธิ์สวัสดิ์    รหัสประจำตัว     50038010020

  

จากการที่ได้อ่านหนังสือทั้งสองเล่มของท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  นักศึกษา รปม.  รุ่น  4  (กลุ่ม  6)  สรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญได้ดังนี้  คือ  เล่มที่  1  พลังความคิดชีวิตและงาน  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  โดยคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  และ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์                                เนื้อหาในหนังสือ เป็นช่องทางที่สำคัญในการเผยแพร่ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อสังคม โดยมีบุคคลตัวอย่างที่ทรงคุณค่า  เป็นผู้นำทางความคิด  ผู้บุกเบิกและปฏิบัติ ทำให้ผผู้อ่านได้รับสาระครบถ้วน ชวนติดตามเนื้อหา  ทราบถึงการพัฒนามนุษย์  โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ พร้อมทั้งกลยุทธในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร  จาก แรงจูงใจ ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ  จุดประกายความคิดใหม่ ๆ เหมือนพลุไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ  ทำงานเอาจริงเอาจัง  โดยใช้วิธีบูรณาการ  ความคิด และความสามารถของผู้ร่วมงาน  งานที่ยากเป็นงานง่ายสองคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย ที่ดำรงอยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์  สร้างความยั่งยืน เน้นพึ่งพาตัวเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บนรากฐานทางวัฒนธรรม และภูมิสังคมที่แข็งแกร่ง มีคุณธรรม จริยธรรม ที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับ แต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญได้อย่างไร้ขีดจำกัดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน โดยระบบราชการ จะทำงานชักช้า อุ้ยอ้าย ระเบียบขั้นตอนมากไม่ได้ จะต้องนำมาปรับปรุง ลดขั้นตอน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานโดยใช้ทฤษฎีทุนมนุษย์  8 H’ s”  และ  8 K’ s”  ซึ่งผู้อ่านเกิดความคิดที่ว่า  คนเรานั้นเกิดมาต้องมีทุนมนุษย์ เพราะว่าคนจะทำอะไร ไม่ว่า การกิน การเดิน การนั่ง การนอน และการทำงาน ล้วนต้องใช้ทุนมนุษย์ทั้งสิ้นแต่จะใช้สมบูรณ์แบบทุกด้านนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อให้การปฏิบัติการในด้านต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ขึ้น อย่างน้อยเราต้องพัฒนาสิ่งที่ตนเองชอบที่จะทำเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านนั้น ๆ ซึ่งมองให้เห็นว่า คนเราต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยิ่งโลกเราทุกวันนี้ในยุคโลกาภิวัฒน์ ยิ่งต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ดังบทสนทนาของทั้ง  2  ท่านที่ได้กล่าวถึงทุนมนุษย์ไว้อย่างดีเยี่ยม  โดยแยกแต่ละทุนดังนี้ทุนที่ 1  ได้กล่าวถึงทุนมรดกวัฒนธรรม  (Heritage)  ซึ่งเป็นทุนรากฐานของชีวิต เพราะทุนมรดกวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมให้ถูกต้อง แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีหรือเรียกว่า โลกยุคไอที หรือโลกไร้พรมแดน ทำให้เกิดความไหลบ่าของวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในประเทศอย่างรวดเร็ว ที่เราไม่สามารถสกัดกั้นและกลั่นกรองได้ แต่การที่เรามีทุนทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งได้ช่วยเพิ่มคุณค่าของสังคมและยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างดียิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรมของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่ว่า Culture Capital เป็นองค์ประกอบหลักของทฤษฎี 8K’s  คือทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainabillity Capital)  เพราะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากคนเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้ว จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน ทุนที่ 2  ได้กล่าวถึงทุนสมอง (Head)  การมีความคิด มีความรู้แล้วต้องมีสติเพราะคนเราทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองในการนำความรู้ที่มีมาคิดเพิ่ม ต้องรู้จักไตร่ตรองก่อนเพื่อชั่งน้ำหนักให้เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เพราะทุนทางปัญญาจะทวีเพิ่มขึ้น เมื่อคนเราได้มีโอกาสเรียนรู้และมีประสบการณ์ที่ดี ทุนที่ 3  คือ มืออาชีพ (Hand)  ความเป็นมืออาชีพนั้น เป็นความสามารถในงานที่เราทำได้ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร แต่คนเรามีพื้นฐานที่แตกต่างกัน จึงต้องนำความรู้ ทักษะ และทัศนคติไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดเป็นทุนทางความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎี 8K’s  คือทุนความรู้ (Telented Capital)ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้ ทุนที่ 4  คือ เป็นคนจิตใจที่ดี (Heart)  เป็นทุนที่มีทัศนคติในเชิงบวก คือมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital)  หากคนเรามีความพื้นฐานดี มีทุนความรู้ ทุนทางปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้ดีเท่าที่ควร  ดังนั้นเราจึงควรปลุกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่เบื้องต้น ทุนที่ 5  คือสุขภาพ (Health)  ตรงกับ ทฤษฎี 8K’s  คือต้นทุนพื้นฐานทางสุขภาพที่ดี คนเรานั้นถือว่าสุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต  เพราะถ้าคนเราจะทำอะไรในหลาย ๆ อย่างในชีวิตนั้น แต่ถ้าหมดสิ้นลมหายใจหรือไม่มีชีวิตจะทำอะไรไม่ได้เลย สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์จีงเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับคนเราทุกคน ซึ่งสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นเอง ทุนที่ 6  คือ บ้านและครอบครัว (Home)  การที่คนเรามีครอบครัวที่อบอุ่น เป็นพื้นฐานที่สำคัญ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เท่ากับมีเครือข่ายที่จะดูแลกันและกันได้ สอดคล้องกับ ทฤษฎี 8K’s  คือทุนมนุษย์  (Human Capital)  เพราะทุนมนุษย์ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดามารดา ทุนที่ 7  คือ  การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข (Happiness)  โดยการแบ่งปัน เมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ทุกคนมีความสุข  8K’s   คือทุนแห่งความสุข (Happiness  Capital)  ว่า หากมนุษย์มีทุนทางความรู้ มีทุนทางปัญา และมีทุนทางจริยธรรมแล้ว  ย่อมเป็นพื้นฐานที่จะมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์  เพราะมีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาที่จะประสบความสำเร็จแล้วยังมีความดีงามที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือทรัพยากรส่วนกลาง  คนที่มีทุนแห่งความสุขนี้นอกจากจะมีความสุขด้วยตัวเองแล้ว ยังปรารถนาให้คนอื่นหรือสังคมโดยรวมมีความสุขด้วยกัน เพราะเรามีสติปัญญารู้ว่าความสุขต้องแบ่งปัน สุขคนเดียวหรือสุขกลุ่มเดียวจะอยู่ได้ไม่นาน  ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามจะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทุนที่  8  คือ ความปรองดองสมานฉันท์  (Harmony)  คือทุกคนทุกระดับใช้หลักสัปปุริสธรรม คือ รู้เหตุ  รู้ผล  รู้ตน  รู้ประมาณ  รู้กาล  รู้ชุมชน  และรู้บุคคล สอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางสังคม (Social Capital)  คนเรานั้น ถ้ามีแต่ทุนทางสังคมเพียงอย่างเดียว คงไม่ประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่รู้จักวิธีบริหารเครือข่ายการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับคนอื่น ๆ

                                ดังนั้น  สรุปได้ว่า  มนุษย์เรานั้นจะขาดทุนใดทุนหนึ่งไม่ได้ เพราะจะทำให้ขาดความสมดุลในชีวิต เพราะคนเราจะเก่งทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียว คงอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ไม่ได้หรืออยู่ได้ก็อย่างยากลำบาก เพราะทุกอย่างต้องเดินไปพร้อมกัน จะมีมากมีน้อยแต่ขอให้มีทุนมนุษย์ทั้ง 8 ทุน เดินไปพร้อมกัน จะทำให้การดำเนินชีวิตมีความสุขทั้งหน้าที่การงานและความสุขทางกายและใจนั้นเอง

  เล่มที่  2   ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค  ซึ่งสรุปได้ว่า                                ความเชื่อ  ความศรัทธา และความมุ่งมั่นในเรื่องต่าง ๆ ของ ท่านพารณ  อิศรเสนา  ณ  อยุธยา และ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  จากประวัติการทำงานของทั้ง  2 ท่าน จะให้ความสำคัญกับ คน เพราะถือว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร  สมควรให้การดูแลและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในที่สุดทั้ง  2  ท่าน  ก็ทุ่มเทการทำงานให้กับสังคมในด้านการศึกษา ให้เด็กไทยได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาการศึกษาในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้และสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ที่สำคัญการเรียนรู้จะต้องเรียนรู้อย่างสนุก นำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์  ดังแนวคิดของ  2  แชมป์ กัน ทฤษฎี  4  L’s  มูลเหตุแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ท่านพารณ  ได้จารึกไว้ กับ ปูนซีเมนต์ไทย  โดยท่านเป็นต้นแบบที่ดี  4  เรื่อง  ดังนี้  (1)  คนเก่ง- คนดี  พบว่า  เก่ง  4  ดี  4  คือ  เก่ง  4  ได้แก่  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน         ดี  4  ได้แก่  ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม   ซึ่งทั้งหมดต้องมีการประเมิน เรียกว่า  Capability สำหรับคนเก่ง  และ Acceptability  สำหรับคนดี  คนเก่งฝึกอบรมได้  แต่คนดีต้องสร้างสมด้วยตนเอง (2)  ความเชื่อในคุณค่าของคน  เชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร  (3)  การดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด  เชื่อว่าคนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียวแต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย (4)  การทำงานเป็นทีม  เชื่อว่า  สองหัวดีกว่าหัวเดียว  คือจัดให้มีระบบคณะกรรมการ ดูแลคนให้ทำงานเป็นทีม  เพื่อให้เกิดจิตสำนึกเป็นเจ้าของบริษัทด้วยกัน การนำ  HR  มาใช้อย่างชาญฉลาด  เช่น  องค์กรปูน เมื่อเกิดวิกฤต  ปี  40-41  บริษัทฟื้นตัวได้เพราะพื้นฐานเรื่อง  คน   แน่นมาก  จึงเลือกที่จะใช้วิธีใดกับใคร  คนไหนดีมีคุณค่าควรเก็บไว้  คนที่มีคุณค่าน้อยก็ปล่อยไปอย่างเหมาะสม  โดยการจ่ายค่าตอบแทนให้เขาพอใจ  ดังนั้น  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้จารึกไว้ บนรายทางว่า มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ  เกิดมาจากแนวคิดว่า  ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ จะดีได้ถ้าคนในประเทศไว้เนื้อเชื่อใจกัน  การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์จึงจำเป็นอย่างยิ่ง  ท่านจึงพัฒนาระบบความคิดไปข้างหน้างอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้อุปสรรคที่ผ่านมาเป็นโอกาส เป็นบทเรียนในการแก้ไขสู่ความก้าวหน้า  และการมีส่วนร่วมระหว่างคนในสังคม  ประกอบกับท่านอาจารย์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  และที่สำคัญท่านอาจารย์มีเครือข่ายสัมพันธ์ (NetworK)  ทั้งในและนอกประเทศ จึงทำให้งานยากกลายเป็นงานง่าย ซึ่งแนวคิดการบริหาร Network  ได้พูดไว้ในทฤษฎี  8K’s  คือ  Social Capital  แปลว่า ทุนทางสังคม คือทุนที่มนุษย์มีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งคุณสุชาญ  โภคิน  กล่าวคำว่า  พันธุ์แท้   น่าจะมีลักษณะคือพันธ์แท้มี   2  ชนิด คือ  พันธุ์แท้ที่พัฒนา   กับ  พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา   ทั้งนี้จุดตัดสินอยู่ที่  ของแท้จะต้องอยู่คงทน  มี  imaginative หรือความคิดริเริ่มใหม่ ๆ อยู่เรื่อย  หรือถ้าเป็นสินค้ามีนวัตกรรมหรือ innovation  อยู่ตลอดเวลา  คำว่า  พันธุ์แท้  คือเราไม่หยุดและ  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ก็ไม่หยุด  คุณสุชาญ  ยังพูดถึงทฤษฎี  3  วงกลม  ของอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ว่า  วงกลม  ที่  1   เรื่อง  Contest  หรือ  บริบท  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้ระบบ  IT  มากขึ้น วงกลมที่  2  เรื่อง  ภาวะผู้นำ  นวัตกรรม  การบริหารเวลา  คือ ดูว่าทรัพยากรมนุษย์จะต้องมี  Competencies  อย่างไร  วงกลมที่  3  เป็นหลักที่ดี  คนเราจะสำเร็จในงานได้ต้องมองว่างานทุกอย่างเป็นงานที่ท้าทายเป็นการใช้หลัก PM (Personnel Management)  ดังนั้น  คุณสุชาญ  จึงมองว่า ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  กับคุณพารณ  คล้ายกันตรงที่  หัวถึงฟ้า  ขาติดดิน  ถือเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่แท้จริง

                                ซึ่งทำให้เห็นว่า  ทั้ง ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และ  คุณพารณ  อิศรเสนา  ณ อยุธยามีเป้าหมายเดียวกัน  นั่นคือการมุ่งมั่นในเรื่องทรัพยากรมนุษย์  ยิ่งย้อนกลับไปฟังเขาพูดอีกครั้งยิ่งชวนให้คิดว่า  ยังมีอะไรอีกบ้างที่สื่อถึงความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ อย่างในนิยามของการเป็น คนพันธุ์แท้   ของท่านพารณ  กับ ศ.ดร. จีระ  ซึ่งบางส่วนจาก ประกายความคลึงคล้ายเท่าที่จะวิเคราะห์ได้ระหว่างคนคู่นี้  คือ

1. เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ  2. หยัดอยู่  มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความอย่างยั่งยืน  3. จากความยั่งยืน  สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม 4.  มีบุคลิกลักษณะแบบ  “ Global Man “  ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์  5.  มีความเป็นผู้ใหญ่  พร้อมจะเป็น  ผู้ให้   ทั้ง  ความรู้   และ

  ความรัก แก่คนใกล้ชิด  6. มีความสุขกับการเป็น  ผู้ให้ ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ  กล่อง “  หรือ  การเชิดชูเกียรติจากใคร  ซึ่งจากบทสนทนาของทั้ง  2  ท่านสามารถสรุปได้ว่า 

                                คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร  คุณค่าของคนต้อง

มีคุณภาพ  มีคุณธรรม  ความจงรักภักดี  และมีความสามรถ  จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  การบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องสำคัญเท่ากับการเงิน  คนจะมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น  ถ้าองค์กรนั้นมีการฝึกอบรมด้านวิชาการ ด้านปกครอง  และความรู้ใหม่ๆ   และประสบการณ์ที่ทำงานมานาน  เมื่อการแข่งขันมากขึ้นต้องมองคนเป็น  2  ประเภท  คนภายในองค์กร  และคนภายนอกองค์กร  ผู้บริหารต้องมี  Vision มองไปข้างหน้ายาว ๆ จะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่  เครื่องจักร  เครื่องมือ เข้ามาก็สามารถที่จะเรียนรู้เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพ  อีกทั้งผู้บริหารจะต้องมีภาวะผู้นำ  อีกทั้งยังต้องมีความสามารถในการสื่อสารความคิดหรือความประสงค์สู่พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีในส่วนของผู้นำนั้น จำเป็นต้องมีความเชื่อมั่นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่า สามารถที่จะฝึกฝนหรืออบรม ให้สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้งทักษะขึ้นมาได้  เพื่อให้พนักงานได้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น และถ้าขนาดธุรกิจใหญ่ ๆ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ลำบากขึ้น  ต้องใช้การกระจายอำนาจมอบอำนาจให้พนักงานระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว  การสร้างคนในองค์กรต้องสร้างทุกระดับ  ตั้งแต่คนงานในโรงงาน ให้มีการฝึกอบรมโดยตลอด  การทำงานที่มีคุณธรรม เป็นจรรยาบรรณของพนักงาน เป็นการจรรโลงคุณค่าของสังคมไทยสืบทอดกันไป  เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน  และผู้บริหารจะต้องประพฤติปฏิบัติตัวให้เป็นไปตามนั้นด้วย  การทำงานอย่างมีคุณธรรม ช่วยเราในระยะยาว ได้รับความเชื่อถือยกย่อง อีกทั้งยังต้องสรรหาคนดี คนเก่ง พร้อมทั้งรักษาไว้กับองค์การให้ได้  กลวิธีการสร้างความผูกพันในองค์กร และการรักษาคนเอาไว้จะต้องสร้างความผูกพันและความรักองค์กร ต้องดูแลพนักงานตั้งแต่วันที่เขาเข้ามาทำงานจนถึงวันที่เขาออกไปก็ให้ประโยชน์ตามสมควร  ต้องมีสวัสดิการที่ดี  มีการปกครองที่ดี ให้ความเป็นธรรมมีส่วนร่วมในการบริหาร ทำงานเป็นทีม ให้ความใกล้ชิดสนิทสนม มีอะไรพูดจาปรึกษากันได้ ทำเช่นนี้ทุกระดับองค์กร ให้ความสำคัญกับพนักงาน ให้ความรัก ความศรัทธา สามารถแก้ปัญหาสมองไหลได้  ผู้บริหารออกไปเยี่ยม ทานข้าวกับลูกน้อง และคนในระดับอื่น ๆ ก็ทำตาม ทำให้คนในองค์กรแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  ทำให้ไม่อยากออกไปจากองค์กรนี้  ทั้งนี้องค์กรจะต้องให้ความเชื่อมั่นในการบริหารงานของบุคคลในระดับต่าง ๆ เพื่อทำให้เห็นว่าเขามีส่วนร่วมและมีความสามรถที่นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางเป้าหมายไว้   
ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา หลังปูเต๊ะ (ตัวแทนกลุ่มที่ 1)

 กลุ่มที่ 1

1. พระนิธิสิทธิ์                    นอขุนทด   

2. ดาโต๊ะ  อิหม่ามพัฒนา    หลังปูเต๊ะ   

3. ด.ต. ณรงค์                      พึ่งพานิช  

4. พ.ต.หญิงประไพศรี        บุญรอด5. นางนพมาศ                     แก้วแหยม   6. นางสาวสุภานุช              นุพงค์   7. นางสาวดนิตา                 มูลละออง   8. นางดวงตา                       ม่วงเกตุยา   9. นายอรุณ                          สุขสมบูรณ์วัฒนา                     ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 1 .ทางชีวิต  สองแชมป์  ทั้งสอง  มีความเห็นว่า คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร และ เป็นคนไทยกลุ่มแรกที่เริ่มลงมือปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง                ทั้งสองมีความมุ่งมั่นในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้มงวดเรื่องต้นทุน พยายามทำทุกอย่างอย่างมีคุณภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความกล้าทำจะทำงานแหวกวงล้อมเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายให้สำเร็จการขาดบารมีจึงไม่ใช่ปัญหาที่ต้องเผชิญ    2.พารณฯ ช้างใหญ่  ธงชัยปูน  เป็นคนที่ชนะใจลูกน้องเพราะวิธีการทำงานในแบบฉบับของท่าน ทำให้ลูกน้องเกิดแรงจูงใจ  เป็นต้นแบบ 4 เรื่อง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                1. 1. คนเก่ง-คนดี คนเก่ง- ไดแก่ เก่งงาน,เก่งคน,เก่งคิด,เก่งเรียนคนดี-ได้แก่ ประพฤติดี ,มีน้ำใจ,ใฝ่ความรู้.คู่คุณธรรม2 .คุณค่าของคน เชื่อว่า คนเป็นทรัพยากรที่คุณค่ามากที่สุด3 .ดูแลทุกข์สุขของพนักงานอย่างใกล้ชิด มีความเชื่อว่า คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย4.การทำงานเป็นทีม                มีความเชื่อว่า สองหัวดีกว่าหัวเดียว ชอบให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมและ พยายามสร้างองค์กรให้มีบรรยากาศของครอบครัว มองทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เฉพาะคนที่ทำงาน แต่จะมององค์กรโดยรวม โดยจะใช้นโยบายการดึงคนเป็นพวก3.จีระ จารึกไว้ บนรายทาง  เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์คนแรก โดยได้รับการเสนอชื่อจาก ดร.โฆษิตฯเพราะท่านมีความสามารถในภาวะผู้นำและการบริหารและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เอาจริงจัง มิใช้เอาแต่พูด แต่จะต้องให้พอใจด้วยถึงจะทำ ถ้าไม่พอใจจะไม่ทำ คนแบบนี้ดีถ้าเขาจะทำงาน เขาจะทำของเขาเองจนสำเร็จ เราไม่ต้องไปจี้ เพียงแต่ต้องรู้จักที่จะปฏิสัมพันธ์กับท่าน อีกประการ ท่านเป็นคนที่มาจากตระกูลที่ดีจิตใจ และพฤติกรรมจึงงดงาม ท่านเป็นคนรักอิสระมากแต่ก็เป็นคนสุภาพมากนับว่าเป็นคนดีคนหนึ่งที่วางใจได้ด้านวิชาการ-  เป็นนักวิชาการที่ติดดิน คือเป็นอาจารย์ที่ลงมาคลุกวงใน ลงมาคลุกกับภาคปฏิบัติ ท่านจึงเป็นผู้ทำหน้าที่ทางวิชาการอย่างสมบูรณ์ คือมีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อย่างลึกซึ้งถึงแก่นด้านการบริหารจัดการ- เป็นคนใจกว้าง เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดย จะรับฟังความคิดเห็นของทุกคนทุกด้าน แม้ว่าข้อคิดเห็นนั้นจะเป็นความเห็นในเชิงลบที่รุนแรง  ก็จะรับ ฟังและนำมาพิจารณาด้วยความเต็มใจและโดยเปิดเผยท่านจะใช้วิธีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งได้ใช้วิธีนี้มาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - เป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  เป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของประเทศไทย4. ปรัชญาที่ปลายนวม  อาจารย์ทั้ง  2 ท่าน ได้สรุปถึง  ปรัชญาสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่ซึ้งมาก โดยต้องทำทั้งระบบครบวงจร  มีทั้งทางเศรษฐศาสตร์  จิตวิทยา การบริหารการจัดการและกลยุทธ์ซึ่งทุกอย่างต้องสอดคล้องกันจะเน้นด้านหนึ่ง ด้านใดไม่ได้     ปลายทางของคุณภาพของทรัพย์กรมนุษย์ในระดับ  จุลภาค  ย่อมส่งผล ต่อความได้เปรียบในระดับมหาภาค  ถ้าเราสามารถ เรียนรู้ที่จะมีทักษะ  ความเชี่ยวชาญในการจัดการกับคนแล้วย่อมสามารถที่จะ ดึงเอาศักยภาพของพวกเขาออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับองค์กรได้ แล้วทุกคน  จะมีความภูมิใจ  ที่ได้มีส่วนร่วม ในการบริหารองค์กรของพวกเขา แต่สิ่งสำคัญในบทนี้ได้ เน้นถึง การเป็น คนเก่ง ต้องควบคู่กับการเป็นคนดี ด้วย5. ความเชื่อ ศรัทธา และหลักการ  เน้นเรื่องการบริหารคน  ซึ่งถือเป็นหัวใจของการบริหาร ไม่ควรจะจำกัดอยู่กับบทบาทเดิมๆ  อาทิเช่น  โครงสร้างเงินเดือน การรับสมัครบุคลากร การประเมินผล สวัสดิการ  ประกันสังคม เท่านั้น แต่ต้องเน้นเรื่องความเชื่อมั่นศรัทธาในระบบการเรียนรู้มากกว่า รูปแบบเดิม

6. บันไดแห่ง ความเป็นเลิศ  ทรัพยากรมนุษย์  เป็นตัวแปรสำคัญ เท่าๆ กับตัวแปรอื่นๆ  เช่นทรัพยากรมนุษย์  เทคโนโลยี  หรือทรัพยากรด้านการเงิน  สิ่งหนึ่งที่ทำให้  HR ประสบความสำเร็จ  ก็คือควรจัดให้มีการ ฝึกอบรม อย่างสม่ำเสมอซึ่งจะเกิดผลลัพธ์ในระยะยาว  การบริหารองค์กรควรทำให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าเป็นเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัว เดียวกัน

7 . ให้ความรักถึงจะภักดี  ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ เป็นอุปสรรคต่อการสร้างจงรักภักดี   ซึ่งทั้ง  2  ท่านมีความคิดเห็นตรงกันว่าในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ว่าการรักษาทรัพยากร(มนุษย์)ให้อยู่ในองค์กรตลอดไปจะต้องสร้างความผูกพันต่อองค์กร  มีความพอใจกับงาน การยอมรับ การขึ้นสู่ตำแหน่ง  เมื่อรวมกันแล้วทำให้คน ๆ นั้นมีความสุขกับการทำงานที่อยู่ตรงนั้น  ดังนั้นจะเห็นว่าสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมาต้องใช้เวลาในการสร้าง  ผู้ที่มีบทบาทในกระบวนการสร้างความจงรักภักดีสิ่งสำคัญจะต้องมีความเข้าใจถึงคุณค่าของมนุษย์เสียก่อนจึงจะทำงานด้านอย่างประสบผลสำเร็จในการสร้างความจงรักภักดี   ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ทำธุรกิจแบบครอบครัวหรือบริษัทต่าง ๆ  ต้องมีบรรยากาศองค์กรแบบองค์กรที่มีชีวิต  คือต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ตลอดไป บริษัทไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินอย่างเดียวขึ้นอยู่กับความสมดุลของมนุษย์ที่อยู่กันด้วยความรัก การให้เกียรติซึ่งกันและกัน  การถามสารทุกข์สุกดิบของครอบครัว  เป็นการสร้างความไว้วางใจอาจเกิดประโยชน์ของความจงรักษาภักดี  การจะรักษาบุคลากรเอาไว้ให้อยู่กับองค์กรได้นั้นผู้นำจะต้องสร้างความผูกพันในองค์กรให้เกิดขึ้นต้องทำให้บุคลากรเกิดความรักในองค์กร8.  มหัศจรรย์แรงจูงใจ สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กรคือคน  ในปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่แท้จริงว่าทรัพยากรมนุษย์ชนิดใหม่ที่เป็นคนงานที่มีความรู้หรือ knowledge worker  ไม่ใช่เป็นคนงานแบบไหน ก็ได้ เพราะขณะนี้ทุกองค์กรกำลังทำสงครามกับความสามารถ  จะเห็นว่ากลยุทธ์สำคัญที่ผู้นำองค์กรต้องตระหนัก คือการมีส่วนร่วมในองค์กรการทำงานที่ท้ายการได้ทำงานเป็นทีมการให้รางวัลพิเศษ การเพิ่มพูนความรู้วัฒนธรรมองค์กร การประเมินผลอย่างโปร่งใส การได้รับความยกย่องในผลสำเร็จของงานความเป็นธรรมในการบริหารปกครองของผู้นำสภาพแวดล้อมการทำงานการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม     แม้กลยุทธ์ค่าจ้างจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดแต่นโยบายเรื่องการกำหนดค่าจ้างไม่ใช่นโยบายที่ตั้งขึ้นโดยอิสระแต่เป็นการเกี่ยวข้องกันและเชื่อมโยงกับนโยบายด้าน HR  และนโยบายโดยรวมขององค์กร  จะทำอย่างไรสร้างแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลจริงกับการทำงานบนความเปลี่ยนแปลง  แรงจูงใจจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องเข้าใจ  เพราะคนเก่งบางคนไม่ต้องการแค่เงินมากไปกว่าการได้ทำงานที่ท้าทาย  แรงจูงใจย่อมมีอิทธิพลต่อคนในบทบาทที่ขับเคลื่อนมนุษย์สู่ความเป็นเลิศ   หลังวิกฤติองค์กรในประเทศไทย  มีการเปลี่ยนแปลงด้านแรงจูงใจมากขึ้น  โดยเน้น เรื่องการสร้างให้คนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้มากขึ้นและการประเมินคุณภาพตามความสามารถ9. สานสร้าง Global  Citizen  จะกล่าวได้ว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญแต่การนำเทคโนโลยีมาใช้ไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญแต่เป็นเพียงเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อนำไปสู้กระบวนความคิดที่เป็นระบบอย่างยั่งยืน  ภายใต้สถานการณ์ที่อยู่ปัจจุบันการจัดการด้านการศึกษาไม่ได้เป็นไปตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ศ.ดร.จีระแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงครู นักเรียน ผู้ปกครอง  ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องช่วยเป็นกำลังสำคัญที่จะผลักดันให้โครงการปฏิรูปการศึกษาเดินหน้าต่อไป  ความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน  ผู้บริหาร ผู้ปกครอง   เข้ามามีส่วนร่วมจะเห็นว่าการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงถือเป็นปรัชญาทางศาสนาพุทธที่แท้จริง เพราะถ้าเด็กได้ปฏิบัติแล้วซึมซับเข้าไปในจิตใจจะทำให้มีการเรียนจากของจริงจากประสบการจริง10.ปลายทางไทย สู่ชัยชนะ เป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิตหรือProductivityให้กับประเทศไทยมากว่า 20 ปี โดยให้การสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง                มีจุดแข็งคือ มีความเป็นผู้นำในการที่จะสามารถจูงใจให้ผู้คนยอมรับเอาความคิดขบวนการเพิ่มผลผลิตไปใช้ไม่เช่นนั้นย่อมไม่มีวันสำเร็จ สิ่งนี้ถือเป็นบารมีเฉพาะบุคคล11.บทบันทึก พารณ-จีระให้น้ำหนักชีวิตไปทางการสร้างคนตามแนวคิด”Constructionism”ไม่ว่าจะเป็นที่ดรุณสิกขาลัยหรือบ้านสันกำแพงและอีกหลาย ๆ แห่งซึ่งเปรียบเสมือนห้องทดลองชีวิตที่เขาปรารถนาจะสัมผัส ใฝ่ฝันจะจับต้อง ถึงรูปธรรมของคำว่า”Global Citizen”มากกว่าการซึมซับในแง่ของนิยาม.....ความหมาย   และมุ่งมาตร กับการสร้างอาณาจักรแห่งการเรียนรู้ขึ้นอย่างไม่ยึดติด                 ทั้งสองมุ่งมั่นสร้างคนก่อนสร้างงานโดยเน้นการมีความคิดริเริ่มและมีส่วนร่วม12.ส่งท้าย.....คนพันธุ์แท้   มีบางส่วน คล้ายคลึง คือ  1.เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์ อย่างบังเอิญ   2.หยัดอยู่ มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความมุ่งมั่นอย่างยั่งยืน  3.จากความ ยั่งยืน สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม  4.มีบุคลิกลักษณะแบบ “Global Man” ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์ คือ การมีวงจรชีวิตที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติอยู่เนืองนิตย์ และประสบความสำเร็จ ทั้งในเชิงเป้าหมายงานและการยอมรับ ความน่าเชื่อถือจากคู่กรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย  5.มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็น ผู้ให้ ทั้ง ความรู้และความรักแก่คนใกล้ชิด  6.มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับกล่องหรือ การเชิดชูเกียรติจากใคร                  คนพันธ์แท้ มันไม่มีเหตุผลอะไรมากไปกว่า ถ้าตะลุยเรียนรู้   ความคิดสองปราชญ์ทรัพยากรมนุษย์คู่นี้เพื่อสร้างชาติไทยให้แกร่ง พร้อมยืนหยัดอยู่บนโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมีชัยชนะ13.  จีระพบ  Guru   Dr. Hammer  เป็นผู้นำเรื่องแนวคิดและยังมีความคิดกว้างไกล ที่อยากเห็นประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ท่านมักจะเลือกแต่สิ่งที่สำคัญและมีคุณค่าต่อความเป็นจริงในโลกทำให้ค้นพบแนวความคิดจากการศึกษาและวิเคราะห์จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ตรงประเด็น กับสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว2 พลังความคิดชีวิตและงาน บทที่  1  Heritage (มรดก)รากฐานของชีวิต  &  Sustainable  Capital ทุนแห่งความยั่งยืน  มรดกทางวัฒนธรรมคือลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้าราชการทุกคนควร ปรับบทบาทการดำเนินงานในเชิงรุกและสื่อสาร 2 ทาง ให้ใกล้ชิด เข้าถึงสังคม ชุมชนและประชาชนมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดความรัก  ความภาคภูมิใจในแก่นสาระและคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย  เพราะยุคโลกาภิวัตน์ ประชาชนคนไทย มีทุนทางวัฒนธรรมที่แข้งแกร่ง ได้ช่วยเพิ่มคุณค่าทั้งทางสังคม และยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ Sustainability  Capital หรือทุนแห่งความยั่งยืน เป็นทุนที่สำคัญของทรัพย์ยากรมนุษย์ในยุค โลกาภิวัฒน์ ให้มีศักยภาพและมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่องจนมีนิสัยใฝ่รู้ไปตลอดชีวิตและพร้อมปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อมารวมตัวร่วมคิด ร่วมทำในกิจกรรมต่างๆ นำความรู้ที่ตนเองมีอยู่มาแลกเปลี่ยน เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นบทที่ 2 Head สมอง (คิดเป็นคิดดี) &  Intellectual  Capital  ทุนทางปัญญา      ทุนทางปัญญา เช่นความรู้ ความสัมพันธ์กับลูกค้า และความชำนาญ กลายเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากต่อความแข็งแกร่งและความสำเร็จของธุรกิจ   การดำเนินงานทุกๆ  ธุรกิจนั้นต้องมีการใช้สมอง การมีความคิด มีความรู้แล้วยังต้องมีสติเมื่อคิดเป็นแล้วต้องคิดดีอีกด้วย เรียกว่ามีสมองที่รู้จักวิเคราะห์ใช้เหตุผล  ทำให้เกิดปัญญา ทรัพยากรมนุษย์นั้นสามารถเพิ่มมูลค่าและพัฒนาไปได้ตลอดเวลาไม่มีจบสิ้น   ทุนทางปัญญาคือการนำศักยภาพภายในบุคคลมาพัฒนาและส่งเสริม ด้วยความคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเมืองไทยก็มีความคิด แต่เป็นความคิดฟุ้งซ่านขาดระบบ ดังนั้นเราต้องเริ่มสอนตั้งแต่เด็กให้คิดเป็น โดยสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สอนให้คิดเป็นภาพ เพื่อสรุปเรื่องไว้ในสมองได้   สร้างหลักการที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์   ให้เกิดการเรียนรู้ขณะปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างเป็นทีมผสมผสานศาสตร์แขนงต่างๆ ร่วมกันแบบองค์ร่วม ตลอดจนพัฒนาจิตสำนึกและใช้ประโยชน์จากจิตใต้สำนึกบทที่  3  Hand  ทำงานด้วยฝีมือตนเอง  & Talent  Capital ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ  จะมีประโยชน์อะไรถ้ามีความรู้อย่างเดียว แต่ไม่นำความรู้นั้นไปลงมือทำ มันก็ไม่แสดงผล    ในการทำงานทุกประเภท ควรเน้นที่การลงมือทำด้วยตนเอง ความเป็นมืออาชีพนั้น  คือคุณสามารถ ทำงานที่คุณทำได้  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร ก็เท่ากับว่าคุณประสบความสำเร็จในส่วนนั้นแล้ว การพัฒนาพนักงาน จะเน้นเรื่องของทักษะความชำนาญ ในงานที่รับผิดชอบ  เพื่อช่วยให้ปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บนพื้นฐานว่า มีทุนความรู้ โดยเฉพาะความรู้โดยนัย ที่ซ่อนอยู่ในความคิด ค่านิยมของเขา การคัดเลือกพนักงาน จึงสนใจพิจารณาทุนทางความรู้ (knowledge capital) ที่อยู่ในสมองของผู้สมัครว่า มีความรู้ตรงกับที่องค์กรต้องการหรือไม่ ส่วนการพัฒนาพนักงาน จะเน้นไปที่การให้ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ตลอดจนการเพิ่มทักษะ ในการแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้พนักงานสามารถเพิ่มพูดความรู้ ได้ด้วยตนเองบทที่  4  Heart  จิตใจที่ดี  & Ethical  Capital ทุนทางจริยธรรม   สุขภาพ ที่มุ่งให้คนมีร่างกายแข็งแรงสามารถดูแลตนเองได้ ด้านจิตใจ ให้เป็นคนที่มีจิตใจดี มีน้ำใจ เอื้ออาทร เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความเสียสละ มีจิตสำนึกสาธารณะ และรักชาติ ฯลฯ และการเสริมสร้างความสุขในการทำงานเป็นสิ่งจำเป็นเพราะนอกจากจะทำให้ชีวิตมีความสุขแล้ว ยังทำให้ผลงานออกมาดี มีประสิทธิภาพ เป็นที่น่าพอใจ ส่งผลให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและทำให้หน่วยงานเจริญก้าวหน้าไปด้วยเช่นกัน เมื่อมีความสุขกับการทำงานแล้วเราควรที่จะมีทุนทางจริยธรรมก็คือบุคลากรที่มีความรู้ดี  สติปัญญาดี  จะสร้างให้เกิดทุนทางจริยธรรมได้ หากทรัพยากรมนุษย์ที่มีทั้งทุนมนุษย์ คือ พื้นฐานดี มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรมก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้เท่าที่ควร  ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง   บทที่  5 Health  สุขภาพพลานามัย & Digital  Capital ทุนทางเทคโนโลยี สารสนเทศ การทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ  หรือการทำงานโดยไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อยหากทำอยู่เป็นระยะเวลานาน  ก็ย่อมส่งผลต่อสุขภาพให้อ่อนแอลงอย่างแน่นอนมนุษย์ควรจะทำงานมากน้อยแค่ไหน จึงจะเหมาะสม และทำให้มีสุขภาพที่ดีมนุษย์เราทำงานเพื่ออะไร เพื่อให้ได้เงินมาจับจ่ายใช้สอยตามที่ต้องการเท่านั้นหรือ หรือทำงานเพื่อตนเองและช่วยเหลือสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เราควรจะได้ทำงาน ในสภาพบรรยากาศที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะ  เพื่อเราจะได้มีร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีจงระลึกเสมอว่า หากเราทำให้ภาวะสิ่งแวดล้อมต้องแปรเปลี่ยนไป  จะมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อมวลมนุษย์  เราควรทำงานอย่างมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ถูกเบียดเบียน ข่มเหง รังแก จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  ให้เกียรติและยกย่องเพื่อนร่วมงานเสมอกัน  ไม่ว่าหน้าที่ตำแหน่งงานจะต่างกันก็ตามเราควรจะใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สนองความต้องการของมนุษย์อย่างไร จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด  โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่น้อยที่สุด  และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ด้วยบทที่  6  Home บ้านและครอบครัว & Human  Capital ทุนมนุษย์ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษา ทุนที่ได้มาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดา มารดาทุนมนุษย์มาดี  เมื่อเข้าสู่ระบบการเรียนการสอน  เข้าสู่สังคมหรือองค์กร  ก็จะสามารถต่อยอดทุนมนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง สังคม องค์กรและประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ทุนมนุษย์จึงเป็นรากฐานที่สำคัญ ที่จะมีผลต่อการพัฒนาทุนด้านอื่นของมนุษย์ทุนมนุษย์  (Human  Capital)  นั้นจัดเป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งและเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน  (Intangible  Asset)  ซึ่งตามปกติแล้วไม่สามารถวัดเทียบเป็นมูลค่าทางธุรกิจได้  แต่ในที่สุดแล้ว  สามารถที่  จะแปลงสภาพให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถวัดเทียบมูลค่าออกมาได้  และยังสามารถทำให้มีสภาพคล่องได้อีกต่างหาก  ดังนั้นจุดเริ่มต้นของทุนมนุษย์คือบ้านและครอบครัวพื้นฐานที่สำคัญมากของทุกๆ คน สถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่นสามารถช่วยลดปัญหาทุกอย่างลงไปได้ วัฒนธรรมไทยนั้นชีวิตเป็นพหูพจน์ไม่ใช่เอกพจน์ คือเป็นครอบครัวใหญ่ ไม่ใช้ครอบครัวเดี่ยว  ซึ่งถ้าพึ่งพากันได้ในครอบครัวก็จะไม่เป็นภาระกับสังคมประเทศชาติโดยรวมบทที่  7  Happiness  การดำเนินชีวิตอย่างมีชีวิต & Happiness  Capital  ทุนแห่งความสุข  นิยามความสุขในชีวิตของผู้คนอาจจะแตกต่างกัน การมีเงินมากไม่ใช่ความสุขในชีวิตของผู้คนอย่างแท้จริง จริงอยู่เงินช่วยทำให้คนเรามีอำนาจในการใช้สอยมากขึ้น ชีวิตอาจจะสะดวกสบายขึ้น ได้รับการยอมรับจากสังคม แต่ก็ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความสุขแบบนี้ไม่ยั่งยืน การได้ทำในสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะทำสิ่งเหล่านั้นเมื่อไหร่ ทุกครั้งที่ได้ทำสิ่งเหล่านั้นต่างมีความสุข นั่นต่างหากที่เป็นความสุขแท้จริงของผู้คนในการทำงาน
น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ตัวแทนกลุ่ม 4
 น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์  เลขที่  5น.ส.สถิภรณ์  คำพานิช  เลขที่  8น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  เลขที่  15น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  เลขที่  10น.ส.พิมพ์ลดา  โต๊ะเพิ่มพูน  เลขที่  9นายสรสิช   ตรีเนตร  เลขที่   24น.ส.จุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์  เลขที่  31น.ส.จุไรรัตน์   เปลี่ยนขำ  เลขที่  48 กลุ่มที่  4 หนังสือเล่มที่  1   ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ จะนำมาใช้พัฒนาตนเอง องค์กร และประเทศชาติอย่างไรพัฒนาองค์กร -จะต้องเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มมุ่งมั่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์-คนคือผลกำไรที่แท้จริงขององค์กรองค์กรจะควรดุแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพ โดยการพัฒนาอย่างจริงจัง เป็นระบบ-องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและคนดี คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร เรื่องคุณภาพของคนกับการเพิ่มผลผลิตล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จซึ่งกันและกัน การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคนองค์กรควรจะดูแลคนอย่างดีงานจะสำเร็จได้ด้วยคน องค์กรควรมีแผนการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ-องค์กรที่มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง จะเกิดความเสียหายและผิดพลาดน้อย และมีประโยชน์ต่อองค์กร-การเพิ่มผลผลิตจะประสบความสำเร็จ ก็คือ ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร-แต่ละองค์กรควรปรับวิธีการบริหารองค์กรให้เหมาะสมของแต่ละองค์กร เช่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การนำกิจรรม 5ส ระบบข้อเสนอแนะ กิจกรรมคิวซีซี มากำหนดเป็นนโยบาย-การบริหารองค์กร ควรให้ความสำคัญกับเรื่องคนเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท เพราะคนไม่ใช่เครื่องจักร  หัวหน้างาน ควรเปิดโอกาสในลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือทุกคนถือเหมือนกับคนในสมาชิกในครอบครัวเดียวกันควรสร้างให้เกิดความเคยชินจนกลายเป็นวัฒนธรรมในองค์กรส่วนผู้บริหารองค์กรต้องทำหน้าที่ทั้งเป็นผู้ฝึกสอนและพี่เลี้ยงให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา-องค์กรควรมีการวางระบบเรื่องการพัฒนาบุคลากร ภายใต้แนวคิดการพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุนไม่ใช่เป็นต้นทุน ต้องเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรของเราอยู่ตลอดเวลา เช่น การให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานบริหารทุกระดับชั้น -ผู้บริหารไม่ควรยึดติดกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด บางครั้งอาจไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้-ผู้บริหารองค์กรว่าทำอะไรก็ต้องมีความเชื่อว่าสิ่งนี้ดี เมื่อทำตามความเชื่อผลจึงออกว่าดี-การทำงานที่ดี คือการทำงานที่เอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกัน  คนแต่ละคนก็มีความสามารถที่แตกต่างกันออกไปถ้าเอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกันก้จะเป็นผลดีต่อองค์กร  -องค์กรควรกระตุ้นให้คนในองค์กรให้ความรักความทุ่มเทต่อองค์กรอย่างเต็มที่ ผู้บริหารควรดูแลเอาใจใส่พนักงาน โดยการแวะไปเยี่ยมพนักงานทุกระดับชั้นให้กำลังใจ สอบถามความคิดเห็นของพนักงานทุกระดับจะทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กรอยาทำงานกับองค์กรไปเป็นระยะเวลานานๆการพัฒนาตนเองจะต้องเป็นที่แสวงหา ใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ สอนให้เรารู้จักการคิดวิเคราะห์เป็น มีความคิดที่สร้างสรรค์ มีการคิดนอกกรอบ รู้จักการอดทนคนอื่นได้เก่งจะเป็นคนที่มีความสุขรู้จักการทำงานถือว่าเป็นการพักผ่อนไปในตัวไม่ควรคิดว่าเป็นภาระ และคิดอยู่เสมอว่าการทำงานคือความสุข การทำงาน พนักงานควรรักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด และกาตรงต่อเวลานัดเวลานี้ควรไปทันเวลาตามที่กำหนดเพราะการมีวินัยเป็นพื้นฐานของความสำเร็จอย่างหนึ่ง จะมีความขยันหมั่นเพียร ใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา เวลาที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมก็ควรตั้งใจฟังและเก็บเกี่ยวสิ่งที่ผู้บรรยายบอกให้มากที่สุด แล้วนำมาพัฒนาตนเองอยู่เสมอบุคคลจะต้องครองตนเป็นคนเก่งและเป็นคนดี มีความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆต้องใช้คอมพวเตอร์ ระบบสารสนเทศให้เป็น เรื่องภาวะผู้นำ  การบริหารเวลา ควรมีแรงบันดาลใจในการทำงาน คนเราต้องอาศัยความรู้ความสามารถไปพร้อมๆกัน และมีทักษะต่างๆจนจะทำให้คนมีศักยภาพมากขึ้น ควรมีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรการทำงานต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้การพัฒนาประเทศชาติ-เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจให้กับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนว่าการเพิ่มผลผลิตให้กับทรัพยากรมนุษย์ คือ กุญแจสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของทุกกิจการในเมืองไทย อาจ ทำให้ภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์มากยิ่งขึ้นจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป-การส่งเสริมการศึกษา เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเพราะเด็กไทยเป็นสมบัติทีมีค่าของประเทศการขยายฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ให้กว้างขวางกว่าเดิมและทั่วถึงกัน จะทำให้เด็กได้รับการศึกษาเล่าเรียน เรียนจบก็เป็นกำลังสำคัญที่จะพัฒนาประเทศชาติสืบไป

-การเป็นสื่อให้สังคมได้รับรู้ในการความสำคัญกับคนการมองคนให้เป็นประโยชน์ การวางแผนเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์เป็นเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขันทรัพยากรมนุษย์คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาวไม่ใช่ต้นทุนอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในเรื่องคน

  

หนังสือเรื่องที่ 2    :    2 พลังความคิดชีวิตและงาน

                                                                                                               

                                จากบทความทุกตัวอักษรในหนังสือฉบับนี้  เป็นหนังสือที่ดีมากๆ ที่สื่อสารให้

ลูกศิษย์รู้ว่า ท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์  กำลังบริหารจัดการความรู้ (KM: Knowledge Management)  ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์   โดยสาระสำคัญในหนังสือเล่มนี้เป็นการผ่องถ่ายความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารบุคคลอย่างแท้จริงของทั้ง 2 ท่าน ระหว่าง   คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ซึ่งทั้ง 2 ท่าน เป็นผู้รู้จริง  และทำจริงโดยผ่านประสบการณ์การทำงานมาแล้วอย่างโชกโชน  ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกัน  ซึ่งประสบการณ์ของทั้ง 2 ท่าน  บ่งบอกให้รู้ว่าเป็นมืออาชีพในการบริหารบุคคลอย่างแท้จริง ก็เพราะว่ามีเครื่องมือที่พิสูจน์ได้ในเรื่องนี้ก็คือ   บุคคลทั้ง 2 มีทฤษฎีเป็นของตนเอง  ดังเช่นทฤษฎี 8 H’s  ของคุณหญิงทิพาวดี  (Heritage , Head ,Hand , Heart , Health  , Home , Happiness  and Harmony) และทฤษฎี 8 K’s  (K-Kapital)  ของท่านอาจารย์จีระ (Sustainable Capital , Intellectual Capital ,Talent Capital ,Ethical Capital  , Digital Capital , Human Capital , Happiness Capital and Social Capital)                                พวกเรากลุ่มที่ 4  ได้นำทฤษฎีของคุณหญิงทิพาวรรณ ฯ  และท่านอาจารย์จีระ มาประชุมกลุ่ม และทำการวิเคราะห์และประมวลผลในภาพรวม  จะได้ทฤษฎี 1  + 1  เท่ากับผลลัพธ์ ที่ได้อย่างสุดยอดของหลักการและแนวคิดของการบริหารบุคคล  รายละเอียดดังที่ปรากฏ                                1. ทฤษฎีที่ 1  (Heritage)  +  (Sustainable Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  วัฒนธรรม  คือ รากเหง้าของเรา  เพราะรากเหง้าของทุกๆคน จะมีการสะสมความรู้ภูมิปัญญา มีการหล่อหลอมรวมเป็นชาติพันธุ์         มีจารีตประเพณี และมีวัฒนธรรม                                                2)  การทำงานที่ดีนั้น ต้องรู้ว่าภารกิจหลักของหน่วยงานทำอะไรและต้องทำงานแบบเชิงรุก  มีการทำงานแบบเป็นทีม  มีการสร้างเครือข่ายในการทำงานทั้งในระดับหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน และระดับประเทศ                                                3) ก่อนที่จะทำงานอะไรต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า มีความรู้ ความสามารถเพียงพอหรือไม่   พร้อมทั้งจุดเด่น   จุดด้อยของตนเองให้เจอ  และนำไปปรับปรุงและพัฒนาในส่วนที่พร่องไป  ในส่วนที่เป็นจุดเด่นก็ต้องกล้าคิดที่สร้างงานเพื่อส่วนร่วม                                                4) ในการทำงานที่ดี  ต้องทำแล้วมีความสุข  ทั้งด้านการทำงานและชีวิตครอบครัว  จึงถือว่าสมบูรณ์                                                5)  ถ้าหากคนเราไม่รู้จักพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะไม่สามารถอยู่รอดได้  และแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้                                  2. ทฤษฎีที่ 2  (Head) + (Intellectual Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  คนเราเมื่อมีความรู้ มีความคิด มีการวิเคราะห์ และมีสติ  ก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                                2)  คนเราต้องรู้จักเพิ่มพูนคุณค่าให้กับตัวเอง  โดยการเพิ่มพูนความรู้        ถ้าเป็นไปได้ควรอ่านหนังสือประเภทใดก็ได้  มีการสนทนากับผู้อื่น  มีการสร้างเครือข่าย  มีการท่อง Internet เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เติมเป็นอาหารสมอง4)  การเป็นผู้นำ  ต้องรู้จักทำงาน รู้จักสอนคนอื่น  โดยมีหลักการสอน คือต้องให้พวกเขาคิดเป็น   และคิดได้ด้วยตัวเอง                                                5) การเป็นผู้นำ ต้องรู้มาก รู้กว้าง และรู้ลึกกว่าคนอื่น                                  3. ทฤษฎีที่ 3 (Hand) +  (Talent Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  คนเราต้องมีทุนทางความรู้  ทักษะ และมีทัศนคติที่ดี                                                2) คนเราต้องลงมือทำด้วยตัวเอง  เพื่อให้เกิดความรู้ ทักษะ และมีทัศนคติที่ดีต่องาน จะทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ                                                3) ทุนทางความรู้ มีผลอย่างใหญ่หลวง ต่อหน่วยงาน ต่อประเทศชาติ                                                4)  ผู้นำที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ เพื่อจะนำพาองค์กรให้อยู่รอดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน                                4. ทฤษฎีที่ 4 (Heart) + (Ethical Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  ไม่มีทฤษฎีใดเป็นทฤษฎีสำเร็จรูปและสามารถใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะปัจจุบันโลกเราเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนเป็นโลกไร้พรมแดน                                                2)   ในการบริหารบุคคล ผู้นำต้องมีจิตใจยุติธรรม มีคุณธรรม และจริยธรรม                                                3)   เทคนิคของความเป็นผู้นำที่แท้จริง คือ จิตใจที่กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ กล้าเสี่ยง และกล้ารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้ตัดสินใจลงไป                                                4)  คนเราต้องมีความรู้ดี สติปัญญา  จะทำให้คนคนนั้นมีจิตใจที่ดีมีคุณธรรม และจริยธรรม                                5) ทฤษฎีที่ 5 (Health) + (Digital Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  คนเรานั้น จะทำงานให้ได้ดีนั้น ต้องมีสุขภาพที่ดี  ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ  จึงจะพร้อมสำหรับการเรียนรู้                                                2)  คนเราเมื่อทำงานในบางครั้งมีทั้งความเครียด และความขัดแย้ง  ต้องรู้จักวิธีการขจัดสิ่งเหล่านั้น  ด้วยการมีสติ                                                3) คนเราเมื่อมีความรู้  มีปัญญา  ย่อมสนใจข้อมูลข่าวสาร  แต่ทั้งนี้ ก็ต้องมีสุขภาพกายที่ดี และจิตใจที่ดีด้วย                                 6) ทฤษฎีที่ 6    (Home) + (Human Capital)   จะเท่ากับ                                                1) ครอบครัว  เป็นโมเดลสำคัญ ของทุกคน  นับตั้งแต่ การอบรมเลี้ยงดู   การฝึกระเบียบวินัยต่างๆ  ตลอดจนการให้ได้รับการศึกษา                                                2) ครอบครัว เป็นสิ่งที่สำคัญกับทุกๆ คน เพราะเป็นผู้สนับสนุน  ผู้ให้กำลังใจ                                7)  ทฤษฎีที่ 7 (Happiness) + (Happiness Capital)  จะเท่ากับ                                                1) การที่คนเราจะมีความสุขได้ ต้องมีทัศนคติที่ดีคิดในเชิงบวก  สิ่งที่ตามมาจะเกิดผลแต่ในสิ่งที่ดีๆ  เช่น  เรื่องงาน  เรื่องส่วนตัว  และเรื่องอื่นๆทั่วๆไป                                                2)  คนเราต้องรู้จักรักงาน ไม่ดูถูกงานที่ตนเองทำ  และต้องใส่ใจในสิ่งที่ทำและจะมีความสุขเมื่องานสำเร็จ                                8)  ทฤษฎีที่ 8 (Hamony) + (Social Capital) จะเท่ากับ                                                1) คนที่ทำงานเก่ง มิใช่ทำงานเพียงลำพังคนเดียว  หากแต่จะต้องรู้จักทำงานเป็นทีม   จากเป็นทีมก็ขยายไปเป็นเครื่อข่าย  จากเครื่อข่ายระดับหน่วยงาน ก็ไปเป็นระดับองค์กร จากระดับองค์กรก็ไปเป็นระดับประเ ทศ  จากระดับประเทศก็ไปเป็นระดับโลก    จึงจะถือได้ว่าเป็นความสมานฉันท์  และจะเกิดความภาคภูมิในสิ่งที่ทำก็จะสามารถยืนอยู่ในสังคมได้อย่างสมเกียรติ                                                2)  คนเราต้องกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และกล้าเผชิญกับความจริงในสิ่งที่ทำ   สิ่งที่ได้รับตอบแทนกลับมา คือ ความร่วมมือที่ดี  เพราะทุกคนมีใจใฝ่สันติเป็นทุน                                                3) คนเราต้องมีความมั่นใจในความรู้  มีปัญญา และจริยธรรม และมีการวางตัวที่เหมาะสม ก็จะเป็นที่ยอมนับถือของสังคม                                บทสรุปโดยรวมของหนังสือเล่มนี้  พวกเราสามารถนำไปใช้เป็นหลักการหรือแนวคิด ในการนำไปใช้ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต ได้เป็นอย่างดี  นับว่าเป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้อ่านและนำไปใช้โยชน์ได้จริงๆ   สิ่งที่พวกเราหวังไว้ในวันหน้า  คือ วันหนึ่งพวกเราจะมีทฤษฎีเป็นของตนเอง  ตามต้นแบบที่ดีอย่างท่านอาจารย์จีระที่เป็นผู้นำทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์                -------------------------------------                               
พรทิพย์ เรืองปราชญ์ (ตัวแทนกลุ่ม 3)
รายชื่อสมาชิก กลุ่มที่  31.  นางสาวกมลทิพย์         สัตบุษ                2.  นางสาวพรทิพย์       เรืองปราชญ์3.  นางสาวขนิษฐา           พลับแก้ว             4.  นางสาววรางคณา     ศิริหงษ์ทอง5.  นางวีลาวัลย์                จันทร์ปลา           6.  นายบุญชู               ทองฝาก7.  นายโสภณ                  สังข์แป้น            8.  นางสาวสายใจ         โฉมสุข9.  จ.ส.ต.พงศกร              ไพเราะ              10.  ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์     มณีโชติ11.  นายชัยรัตน์              พัฒนทอง           12.  จ.ส.ต.บัญชา          วิริยะพันธ์          

เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และเพื่อน ๆ MPA 4  มร.สส.  ทุกท่าน  จากงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย  ให้แสดงความคิดเห็นจากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  และสองพลังความคิด ชีวิตและงาน นั้น  กลุ่มที่ 3  ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้  หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  โดยผู้ศึกษาได้อ่านแล้วเห็นความคล้ายกันของชีวิต 2 คน คือ   คุณพารณ    อิศรเสนา  ณ อยุธยา  และ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  โดยมีเป้าหมาย เดียวกัน นั่นคือ การมุ่งมั่นในเรื่องคน  HR – Human Resources หรือ ทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร เปรียบได้กับ จักรยานยนต์นานไปคุณค่าก็มีแต่เสื่อมลง  แต่คนถ้าได้รับการอบรม พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า  คุณค่าก็เพิ่มมากขึ้น แต่ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลพัฒนาคุณค่าก็จะเสื่อมลงได้  เหนือสิ่งอื่นใดองค์กรทุกองค์กรควรมีการดูแล  คน  เป็นอย่างดี เพราะคนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานจะสำเร็จได้ด้วยคน  ผู้บริหารควรต้องดูแลลูกน้องตั้งแต่เขาเดินเข้ามาทำงานกับบริษัท  เขาควรได้รับการฝึกอบรมเอาใจใส่ดูแลจนกระทั่งวันที่เขาเกษียณอายุออกไป  เพราะเชื่อว่า องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี  นั่นคือที่มาของความคิดที่ว่า  คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร   ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จก็คือ  ความจงรักภักดี   ซึ่งถือเป็นประเด็นใหญ่ที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรด้านการพัฒนาคน การที่เราจะให้ผู้บริหารมาเห็นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยคำพูดนั้นมันไม่ถูกต้อง แต่เราจะต้องสร้างหรือทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในตัวมนุษย์ให้เขาเห็นเสียก่อน  หลักการบริหารจะเน้นความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท เวลาจะทำอะไรต้องมี ความเชื่อ ก่อน จึงทำ จะไม่ทำตามที่เขาว่ากัน หรือทำตามกันมาหรือทำเพราะกระแสสังคม  เมื่อทำตามความเชื่อผลจึงออกมาดี ถ้าพูดถึงเรื่อง คน ต้องเป็นต้นแบบใน  4  เรื่องนี้  1. เรื่องของ  คนเก่ง คนดี  เชื่อว่า คนที่สามารถทำองค์กรให้ประสบความสำเร็จจะต้องทั้งเก่ง ทั้งดี คือ เก่ง 4  ดี 4  เก่ง  4  ได้แก่  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน  และดี  4  ได้แก่  ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม  2.  ความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคน  คนทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร  3.  ดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วยการจ่ายค่าจ้างอย่างดีแล้ว สวัสดิการดีอยู่แล้ว แค่นี้คิดว่าไม่พอ มันต้องมี น้ำใจ  4.  การทำงานเป็นทีม  สองหัวดีกว่าหัวเดียว

 

จากการสนทนาระหว่าง ท่านพารณ อิศรเสนา และ ท่านอาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์    ช่วงคัมภีร์คนพันธุ์แท้  ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   ตั้งแต่เรื่องปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่า    คน    ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร   การพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นเรื่องการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานบริหารงานโดยเน้นคนเป็นสำคัญต้องมีวิสัยทัศน์ในการวางแผนมีการพัฒนาคนทุกระดับตั้งแต่ผู้นำจนถึงผู้ปฏิบัติงานสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้คนต้องได้รับแรงจูงใจในการทำงานไม่เพียงแต่ค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียวและจะต้องมีสุขภาพทั้งกายและใจที่ดี  มีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต้องสร้างคนให้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องภาษาอังกฤษ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ  เข้ามาผสมผสานในการทำงาน ที่สำคัญขององค์กรสามารถนำความรู้จากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ไปเป็นแนวทางสร้างสรรค์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนเท่า  ๆ กัน  และจะต้องให้เขาได้มีโอกาสได้รับการพัฒนาด้าน ทักษะ ความรู้ ความสามารถตลอดเวลา  เพื่อให้เขาได้มีประสบการณ์ มีความรู้ ความชำนาญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังคำกล่าวที่ว่า คน คือทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญขององค์กรตลอดจนต้องดูแลให้เขาได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่เขาควรจะได้รับเพื่อแรงจูงใจในการทำงาน และเพื่อรักษาสภาพให้เขาอยู่กับองค์กรไปนาน ๆ เมื่อคนมีคุณภาพมีศักยภาพดีก็จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรจะเกิดขึ้นได้ล้วนอยู่ที่คน การรักษาคนในองค์กรจะต้องสร้างความผูกพันหรือสร้างความรักบริษัทให้เขา  ต้องให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอันมาก  จากการอ่านทำให้ผู้อ่านเห็นภาพเข้าใจได้ดีง่ายต่อการปฏิบัติ 

 คุณสมบัติ  3  ประการที่จะเป็น   Global  citizen  ของไทยที่จะก้าวไปสู่ระดับสากล  ได้แก่ 1.   ความคล่องแคล่ว  ในภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ2.  เทคโนโลยี

3.  คุณธรรม

 การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  คือ  ปรัชญาศาสนาพุทธ  เพราะถ้าเด็กปฏิบัติแล้วจะซึมซับเข้าไปในตัวของเขา  จะทำให้เขารู้จริงและติดตัวเขาไปอีกนาน  เมื่อมนุษย์พันธุ์  Global  จะสามารถผลิตประชากรทันการแข่งขันระดับโลก  เพราะเด็กมีความสามารถในทางด้านภาษาและเทคโนโลยี    การสร้างการเรียนรู้ในสังคมระดับ  Micro  ตั้งแต่คนด้อยโอกาสไปจนถึงชั้นผู้นำทางความคิดของชาติ   เพื่อขยายไปสู่  Macro  ในที่สุด  ผู้นำจึงต้องกำหนดวิสัยทัศน์ที่จะต้องสร้าง  Competitive  Advantage  of  Thailand  ขึ้นให้ได้  ถ้าคนไทยมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้และเรียนรู้ตลอดชีวิต  เราก็จะสามารถสู้กับคนทั้งโลกได้ 2  พลังความคิด ชีวิตและงาน 

            หนังสือ 2 พลังความคิด ชีวิตและงาน   เป็นหนังสือแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ได้แนวคิดจากการสนทนาของผู้นำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 2 ท่าน  ท่านแรกคือ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  สุภาพสตรีที่มีความแน่วแน่ในการพัฒนาคน ท่านให้ความสำคัญกับคนมาโดยตลอดว่า คน  เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว และอีกท่านหนึ่ง คือ  ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลาดรมภ์  คนถือธงนำ  ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเป็นผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติ โดยใช้การบูรณาการความคิดและความสามารถของคนอย่างได้ผลและยั่งยืน

 

            ทั้งสองท่านมีแนวคิดในการบริหารคนที่สอดคล้องกันหลายประเด็น  ซึ่งเป็นแนวคิดที่กลั่นมาจากความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่สั่งสมมานาน  จนสร้างเป็นทฤษฎีที่เป็นหลักและวิธีการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์  นั่นคือ  ทฤษฎี  8 H’s  ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  และทฤษฎี 8 K’s ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ซึ่งสองทฤษฎีนี้ มีทั้งความเหมือนและความต่าง  เข้าใจง่ายแต่มีความหมายที่ลึกซึ้ง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

 

            ทฤษฎี 8 H’s  ของคุณหญิงทิพาวดี  ท่านให้ความสำคัญกับ H แรกคือ Heritage  ที่หมายถึงรากเหง้า มรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานชีวิตของคนทุก ๆ คน  ที่จะทำให้เรารู้จักตัวเองและสร้างค่านิยมที่ถูกต้อง  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีเพิ่มค่าทุนมนุษย์ 8 K’s  ของท่าน ศ.ดร.จีระ  ในหัวข้อ Sustainable Capital  ซึ่งหมายถึงทุนแห่งความยั่งยืน  ในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ที่มี Culture Capital หรือทุนทางวัฒนธรรม เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ไม่หลงไปตามกระแสโลกจนขาดความเป็นตัวตนที่แท้จริงได้  H ที่สอง  ได้แก่ Head  ซึ่งหมายถึงการใช้สมอง การมีความรู้ความคิดที่ดี มีสติ รู้จักวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล รู้จักใช้สมองเพื่อนำความรู้ที่มีมาคิดเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง  สอดคล้องกับ Intellectual Capital หรือทุนทางปัญญาของท่าน ศ.ดร.จีระ  ซึ่งไม่ว่าคนจะมีการศึกษาในระดับใดก็สามารถมีทุนทางปัญญาได้ หากรู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องและนำมาปรับประยุกต์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง และ  ใช้ปัญญากับความจริง   H ต่อไปคือ Hand หรือความเป็นมืออาชีพที่เน้นการลงมือทำด้วยตนเอง ต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น ๆ  เช่นเดียวกับทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ หรือ Talent Capital   ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน  และต้องได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ  สำหรับ  Heart  ซึ่งหมายถึง  จิตใจที่ดีนั้น สอดคล้องกับ Ethical Capital หรือทุนทางจริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในขณะนี้ เนื่องจากประเทศชาติต้องการคนดี  แต่มิใช่ดีอย่างเดียว  แต่จะต้องเป็น คนเก่งที่ดี  อีกด้วย  สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากจิตใจ ซึ่งไม่มีขอบเขตกำหนด กล่าวคือต้องมีจิตใจที่ดี และมีทัศนคติในเชิงบวก มีจิตใจกล้าหาญ กล้านำ กล้าตัดสินใจ กล้าเสี่ยง กล้ายอมรับความล้มเหลว รวมทั้งกล้ารับผิดชอบทั้งดีและร้ายด้วย   ในส่วนของ Home หรือ บ้านและครอบครัว  ซึ่งรวมถึง ผู้ให้กำเนิด และองค์กรด้วย ซึ่งหากมีครอบครัวที่ดี และเข้มแข็งแล้วจะช่วยลดปัญหาทุกอย่างลงไปได้  ซึ่งสอดคล้องกับ Human Capital หรือทุนมนุษย์ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ให้ความสำคัญในเรื่องทุนมนุษย์เป็นอันดับแรก ซึ่งมีความหมายคลอบคลุมทุนขั้นพื้นฐานตั้งแต่การเลี้ยงดู การศึกษา และสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งหากมีทุนมนุษย์ที่ดีก็จะสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศหรือองค์กรได้  H ต่อไป  ได้แก่  Happiness หรือ การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  สอดคล้องกับ Happiness Capital  ที่หมายถึงทุนแห่งความสุข  ทั้ง 2 ทฤษฎีต่างให้ความสำคัญกับความสุขของคนเช่นเดียวกัน  กล่าวคือการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขโดยไม่เบียดเบียนใคร และความสุขที่เกิดขึ้นในใจนั้น ยั่งยืนกว่าความสุขภายนอก  คนที่มีความสุขเมื่อทำสิ่งใดก็มักจะประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่ไม่มีความสุข และนอกจากจะมีความสุขด้วยตัวเองแล้ว  ยังพร้อมที่จะแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่นหรือสังคมรอบข้างมีความสุขด้วย  สำหรับ H ต่อไป  คือ Harmony หรือ ความปรองดองสมานฉันท์  ที่สร้างความกลมเกลียว ประนีประนอม สันติ  การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีศิลปะในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดในหมู่ผู้ใต้บังคับบัญชา  ในสภาพปัจจุบันที่มีการขัดแย้งสูง  ความปรองดองเท่านั้นที่จะทำให้ทุกสิ่งเป็นไปด้วยดี  เช่นเดียวกับ Social Capital  หรือ ทุนทางสังคม  ซึ่งหมายถึงการวางตัวที่เหมาะสมกับหน้าที่และบทบาทของตัวเองต่อสังคม เพื่อให้เกิดการยอมรับ  คนที่มีทุนทางสังคมที่ดี ก็จะสร้างประโยชน์กับงานและสังคมโดยรวมได้

             ถึงแม้ว่าทฤษฎี 8 H’s และ ทฤษฎี 8 K’s  จะมีความสอดคล้องกันอยู่มาก  แต่ก็มีอยู่ข้อหนึ่งที่มีความแตกต่างกัน คือ Health ของคุณหญิงทิพาวดี ที่หมายถึง สุขภาพพลานมัย นั้น สุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์มีความสำคัญมาก ซึ่งต้องประกอบด้วย 2 สิ่ง คือ สุขภาพกายและสุขภาพจิต จึงควรต้องดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ และสำหรับทฤษฎีทุนข้อสุดท้ายของ ศ.ดร.จีระ ได้แก่ Digital Capital หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่เชื่อมโยงกับโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างมาก กล่าวคือ คนที่มีความรู้ มีปัญญา จะต้องรู้ทันสถานการณ์โลก และให้ความสนใจกับ IT เพื่อสามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาประเทศได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารเทศ
ด.ต.ณรงค์ พึ่งพานิชการทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กรเรื่องของตำรวจวิสัยทัศน์กว้างไกล หลากหลายรอบรู้ข่าวสาร บริหารสุขภาพกาย-จิต อาทรคุณภาพชีวิตและครอบครัว ให้ถ้วนทั่วในองค์กร/หน่วยงาน ผสมงานผสานใจสู่ชุมชนและสังคมจากกลอนข้างตน ตำรวจ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเอง อย่างรอบด้านและกว้างไกล                กระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประชาคมโลก จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ กระตุ้นให้กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเข้มข้นยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสประชาธิปใตย สู่ค่านิยมและปรัชญา  การปกครองของปวงชน โดยปวงชน เพื่อปวงชน ในกระแสนี้จะเน้นเสรีภาพทางการเมือง ลดอำนาจของศูนย์รวมและสนับสนุนการกระจายอำนาจ และกระบวนการตัดสินใจสู่ท้องถิ่นให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมและมี่บทบาทในการพัฒนาทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบ ประชารัฐ ประชาสังคม และประชาคมท้องถิ่น จากแนวทางเดิมคือ รัฐชาติ ที่เน้นกลไกรัฐในการแก้ปัญหาและพัฒนา ซึ่งการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เดิม คือ เป็นหน้าที่ของตำรวจเท่านั้น กลับเปลี่ยนเป็นกระแสที่ตำรวจและประชาชนทำงานร่วมกันเป็นรูปแบบของประชาชนสังคมในที่สุด โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบวิธีทำงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีที่สุด รวดเร็ว ถูกต้อง เป็นประโยชน์กลยุทธ ที่จะให้บรรลุเป้าหมายคือ ปรับลดบทบาทของรัฐจากที่เป็นผู้ดำเนินมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ กำกับดูแลรักษากติกา วางแผน และประสานงาน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนดำเนินการแทนในกิจการที่รัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเอง และระดมพลัง ประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมและร่วมมือในกิจกรรมสาธารณะ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ประชาชน หรือคำตอบอยู่ที่ประชาชนหรือคำตอบอยู่ที่ชุมชน             ด.ต.ณรงค์  พึ่งพานิชการผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโดอย่างยั่งยืนเรื่องของตำรวจ                เนื่องจากกระผมเป็นข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยบทบาทหน้าที่หลักจึงเป็นฝ่ายปฏิบัติงานมากกว่าเป็นผู้ว่างนโยบาย และงานที่กระผมทำ รับผิดชอบคือถวายอารักขาและรักษาขบวน เสด็จฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์  เป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการอารักขาและรักษาความปลอดภัย พระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ บทบาทอาจจะไม่มากแต่ความรับผิดชอบยิ่งใหญ่ เพราะเป็นงานระดับชาติ และเกี่ยวกับความมั่นคง ของประเทศกระผมมีความภูมใจในหน้าที่การงานที่ทำ ส่วนใหญ่จะเป็นงาน ปิดทองหลังพระอย่างแท้จริงเพราะเป็นงานหน้าเดี่ยวไม่มีผลประโยชน์อื่นมาเกี่ยวข้อง เพราะเราเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากรับราชการมาประมาณ 20 ปี เริ่มทำงานครั้งแรกก็ได้รับใช้พระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ มาโดยตลอด โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประหยัดสุดประโยชน์สูงสุด เป็นแบบอย่างให้กับรุ่นน้อง พัฒนาตัวเอง ด้วยการเรียนรู้ประสบการณ์ จากรุ่นพี่ รุ่นต่อรุ่นสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน
Akira : บทความของอาจารย์เป็นประโยชน์ พันธมิตร ภูมิใจเสนอ..
3 ประการรับมือกับภาวะอารมณ์
การทำงานในยุคปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยี อุปกรณ์ และเครื่องจักรเข้ามาใช้แทนมนุษย์มากขึ้น ถึงแม้เทคโนโลยี อุปกรณ์และเครื่องจักรเหล่านั้นจะสามารถผลิตผลงานได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าฝีมือมนุษย์ แต่เราก็คงนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาแทนที่ไม่ได้เสียทั้งหมด เพราะงานในหลายๆ ด้าน ยังคงต้องอาศัยกลไกการทำงานและความสามารถของสมองมนุษย์ที่สามารถทำงานได้ซับซ้อนและสามารถพลิกแพลงได้มากกว่า สิ่งที่ทำให้มนุษย์ทำงานได้ซับซ้อนหลากหลายและมีชีวิตชีวามากกว่าเทคโนโลยี อุปกรณ์และเครื่องจักร คือ มนุษย์มีระบบความคิดที่มีความยืดหยุ่น และมีอารมณ์ความรู้สึก

พจนารถ ซีบังเกิด Senior Faculty & Executive Coach APMGroup จึงบอกวิธีบริหารอารมณ์ เพื่อที่จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อารมณ์สร้างปัญหา

 

อารมณ์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่เราคาดการณ์รูปแบบได้ยาก และมักแปรปรวนไปตามสิ่งที่เข้ามากระทบจิตใจ หากขาดการตระหนักรู้และไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ให้เหมาะสมก็ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อสภาพจิตใจตนเองและสัมพันธภาพกับผู้อื่นด้วย อันจะส่งผลเสียในการทำงานร่วมกันภายในองค์กรได้

ปัญหาที่สร้างความยุ่งยาก ลำบากใจในการทำงาน มักมาจากผู้ร่วมงานมากกว่าตัวงานจริงๆ โดยเฉพาะในโลกของการทำงานปัจจุบันที่ความสัมพันธ์แบบเครือข่ายได้รับการยอมรับว่าเป็นทุนชนิดหนึ่งที่วงการธุรกิจให้ความสำคัญ การที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก ต้องติดต่อประสานงาน ประสานความร่วมมือเพื่อให้แต่ละฝ่ายขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมาย ความหงุดหงิด ขัดแย้ง ไม่พอใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ

หากไม่มีวิธีจัดการที่เหมาะสม เรื่องเล็กก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ เปรียบเสมือนน้ำผึ้งหยดเดียว เป็นปัญหา เป็นความทุกข์ใจ และยังอาจมีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการที่จะทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น หากบุคลากรส่วนมากขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ เพราะการจัดการกับอารมณ์เป็นเรื่องที่ฝึกฝนกันได้ เพียงแต่เราต้องเปิดใจ ตั้งใจ และเห็นประโยชน์ที่จะทำเท่านั้นเอง

อุ่นเครื่องวิธีจัดการ

คนที่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนได้ดีจะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว มีความยืดหยุ่นได้ ผ่อนปรนอารมณ์ของตัวเองได้ดี ควบคุมอารมณ์ได้ โดยเฉพาะในยามโกรธ ในยามเศร้า หมดหวังในชีวิต หรือในยามกลัว คนปกติจะมีความโกรธ ความกลัว และมีความเศร้ากันได้ทั้งนั้น แต่คนที่มีพื้นฐานอารมณ์และจิตใจไม่เข้มแข็งอยู่แล้ว จะโกรธมาก กลัวมาก เศร้ามาก และใช้เวลานานกว่าอารมณ์เหล่านั้นจะจางไป

หากสภาวะอารมณ์เป็นเช่นนี้จะทำให้เสียพลังงานที่สร้างสรรค์ และเสียเวลามากไปกับอารมณ์ที่ไม่เป็นผลดีเหล่านั้น ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งศักยภาพในการทำงานก็ลดลงด้วย แต่สำหรับคนที่สามารถควบคุมอารมณ์เหล่านี้ได้ดีจะทำให้ไม่เสียพลังงานและเวลาไปกับอารมณ์ที่ไม่ปรารถนาเหล่านั้น

การจัดการกับอารมณ์หรือการควบคุมอารมณ์ไม่ได้หมายความถึงการกดอารมณ์ของตนเองไว้ แต่หมายถึงการแสดงออกซึ่งอารมณ์นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และไม่ปล่อยให้หลุดหรือควบคุมไม่ได้ ตัวอย่างเช่น หากเราโกรธโดยไม่มีห้วงเวลาแห่งการยั้งคิด ไม่ได้ตระหนักในเหตุและผล และเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธของตนเองได้ก็จะแสดงอาการโมโหด้วยทีท่าที่รุนแรงออกนอกหน้า แต่สำหรับผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะมีวิธีที่จะจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกตนเองได้และไม่ปล่อยให้ความโกรธ ความเบื่อ หรือความเศร้าโศกมาชักนำพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของตนเอง

เทคนิคการจัดการกับอารมณ์

1.ตระหนักรู้ภาวะอารมณ์ตนเอง

คนที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดีจะต้องเริ่มจากการตระหนักรู้ถึงภาวะอารมณ์ของตนเองในแต่ละช่วงขณะก่อน เช่น เมื่อเพื่อนร่วมงานไม่ยอมส่งข้อมูลให้ตามกำหนด ภาวะในขณะนั้นเรารู้สึกโกรธก็ต้องรู้ตัวเองว่ากำลังโกรธอยู่ การตระหนักรู้ในภาวะอารมณ์ของตนเองจะช่วยให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้มากกว่าที่จะให้อารมณ์มาเป็นตัวควบคุม เพราะหากเราไม่รู้ตัวว่าเราโกรธ โดยปล่อยให้อารมณ์มาเป็นตัวควบคุมก็อาจจะทำให้เราแสดงออกซึ่งอารมณ์โกรธที่รุนแรงหรือไม่เหมาะสมได้

2.จัดการที่ความคิด

เวลาที่เรามีอารมณ์ สังเกตว่าเราคิดอะไร เราเปลี่ยนความคิดได้ไหม ฝึกใช้อารมณ์ส่งเสริมความคิด ให้อารมณ์ช่วยปรับแต่งและปรุงความคิดให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์ ฝึกคิดในด้านบวกเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ในการทำงาน มองโลกในแง่มุมที่สวยงาม รื่นรมย์ มองหาข้อดีในงานที่ทำ ชื่นชมด้านดีของเพื่อนร่วมงาน เพื่อลดอคติและความเครียดในจิตใจ ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น

3.จัดการที่การกระทำ

จัดการได้โดยฝึกฝนที่จะควบคุมการกระทำของตนเองไม่ให้ทำตามอารมณ์โดยขาดการยั้งคิด เพราะถ้าเอาแต่ทำตามอารมณ์จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ผู้ที่สามารถอดกลั้นได้ ควบคุมอารมณ์ได้ คือ ผู้ที่รู้ว่าอารมณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว และไม่ทำตามอารมณ์แต่ทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วหาวิธีแสดงออกอย่างเหมาะสม เช่น เมื่อเพื่อนร่วมงานส่งงานช้าจนทำให้เราโกรธ เราก็รู้ตัวว่าเราโกรธและโกรธเพราะอะไร แต่ก็ต้องคิดหน้าคิดหลังว่าควรแสดงความโกรธนั้นออกมาหรือไม่ อย่างไร

เมื่อเราพิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้ว เราก็คงคิดได้ว่าไม่ควรโมโหฉุนเฉียว ควรรอให้อารมณ์เย็นลงก่อน แล้วค่อยมาพูดกับเพื่อนคนนั้นอย่างใจเย็นและพูดด้วยเหตุผล เป็นต้น การควบคุมอารมณ์นั้นต้องสามารถควบคุมได้ทั้งทางด้านบวกและด้านลบ เพราะเมื่อเรามีอารมณ์ดีใจปลื้มปีติ เราอาจแสดงอาการหรือพฤติกรรมที่เกินเลย และไม่เหมาะสมออกมาได้เช่นกัน

โดยสรุปแล้ว ความสำเร็จในการทำงานในโลกปัจจุบันนี้ "ความเก่งในงาน" อย่างเดียวไม่เพียงพอแล้ว เราอาจเคยได้ยินผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่านพูดว่าการที่จะเติบโตไปข้างหน้าได้ ต้องมี "ความเก่งคน" ด้วย บทความนี้ต้องการเน้นย้ำว่า ยิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นเท่าใด "ความเก่งคน" ยิ่งต้องทวีสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะจะมีผู้ที่เก่งงานทำงานให้เรามากมายอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องบริหารให้เขาเหล่านั้นทำงานด้วยความเต็มใจเต็มศักยภาพ

ถึงแม้เราจะไม่ได้ทำงานเป็นผู้บังคับบัญชาใครเลยก็ตาม "ความเก่งคน" ก็ไม่สามารถจะละเลยไปได้ เพราะการรู้จักบริหารอารมณ์ของตนอย่างชาญฉลาดและรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐของมนุษย์ และเป็น "ความเก่งคน" ที่สามารถนำมาใช้กับคนรอบด้านทั้งในที่ทำงาน ในครอบครัว และกับสังคม

หากการบริหารอารมณ์ของตนเองได้รับการพัฒนาไปจนแข็งแกร่งแล้ว เราจะสามารถต่อยอดไปเป็นความสามารถในการบริหารอารมณ์คนอื่นได้ด้วย ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติพิเศษที่เป็นทุนติดตัวส่งเสริมอาชีพการงาน และชีวิตส่วนตัวไปอีกนานเท่านาน 





แหล่งที่มา http://www.posttoday.com/

พระศุภสิน ศักศรีวัน

   ..ถ้าจะบอกว่า ใจ (Heart ) คือบ่อเกิดแห่งพลังและนำมาซึ่งผลกระทบ (effect) ต่าง ๆ คุณจะเชื่อไหม..
      สำหรับข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นความจริงทีเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งความสุขและทุกข์ การประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนเกิดจากใจเป็นตัวกำหนดทิศทาง เฉกเช่นวันนี้ (เสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551) การเรียนรู้ที่สนุกสนานกับอาจารย์ที่มีภาวะด้านอารมณ์ที่บ่มเพราะและฝึกหัดมาอย่างดี ทำให้เกิด “ฉันทะ” และความศรัทธาต่อตัวอาจารย์ ทำให้อยากเรียนและเกิดความสนุกสนานกับการเรียน ภาพแรกที่เจอคือผู้หญิงคนหนึ่ง แต่งตัวสบาย ๆ เหมาะสมซึ่งไม่รู้หรอกว่าเป็นใครมาจากไหน รู้แต่ว่าเป็นอาจารย์ที่จะสอนในวันนี้ เพราะยังปรึกษากู (google) เข้ามาทักทายและถามสารทุกข์สุกดิบ คิดในใจ “อืม..ดูดีนะ อายุคงไม่เกิน 35” ทำให้เกิดความอบอุ่นและเป็นกันเอง ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นก็จะอิงให้เห็นว่าสัมพันธ์กับใจ ทำให้เรามีพลังต่อการเรียนรู้ ทำใจและสมองให้เปรียบเสมือนแก้วเปล่าที่พร้อมจะรองรับน้ำ และเป็นประเด็นที่จะนำมาสู่การตอบคำถามในงานที่ได้รับมอบหมายของ กุญแจ 8 ดอก ที่เป็นตัวเปิดเข้าไปสู่การสร้างความผูกพันกับองค์กรเพื่อการเจริญเติบโตและยั่งยืน ซึ่งกุญแจที่ข้าพเจ้าเลือกก็คือ กุญแจดอกที่ 1 การสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ (Trust and integrity) ซึ่งข้าพเจ้ามองว่าการกระทำใด ๆ ให้สมบูรณ์และดีได้มันต้องเกิดออกมาจากใจ
      การที่จะสร้างศรัทธาและความซื่อสัตย์ให้เกิดกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ต้องเข้าใจ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าขอยกเอาคุณสมบัติและหลักธรรมทางพุทธศาสนา แยกเป็นประเด็นข้อ ๆ ดังนี้
      ก. ต้องเป็นผู้ใหญ่ หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาบางคนอาจมีอายุน้อยแต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่โดยตำแหน่ง ดังนั้นต้องมีคุณธรรมของผู้ใหญ่ 4 ประการ คือ
         1. มีความรัก (เมตตา) ปรารถนาจะให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับประโยชน์และประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน
         2. มีความสงสาร (กรุณา) ปรารถนาจะให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ใฝ่ใจในการกำจัดทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ผู้ใต้บังคับอยู่ตลอดเวลา
         3. มีความเบิกบานยินดี (มุทิตา) เมื่อผู้ใกล้ชิดหรือลูกน้องอยู่ดีมีสุขหรือเจริญก้าวหน้า ก็พลอยยินดีเบิกบานใจ พร้อมที่จะส่งเสริมให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น
         4. มีใจเป็นกลาง (อุเบกขา) มองเหตุการณ์และปรากฏการณ์ทุกอย่างตามความเป็นจริง มีจิตใจเที่ยงตรงมั่นคง เมื่อมีคดีที่จะต้องวินิจฉัยก็วินิจฉัยตามหลักการ เหตุผล และเที่ยงธรรม
      ข. ปราศจากความลำเอียง เป็นคนซื่อตรง ไม่หวั่นไหว เอนเอียงด้วยการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความลำเอียง เรียกว่า อคติ มี 4 ประการดังนี้
         1. ลำเอียงเพราะชอบ (ฉันทาคติ) เช่น คนที่ตอนชอบหรือรักกระทำผิด ก็ไม่ลงโทษตามโทษานุโทษ
         2. ลำเอียงเพราะชัง (โทสาคติ) เช่น คนที่ตนเกลียดกระทำถูกก็ไม่พอใจ ถ้าทำผิดก็ซ้ำเติม
         3. ลำเอียงเพราะเขลา (โมหาคติ) เช่น คนทำผิดมาฟ้องบอกว่าคนอื่นเป็นผู้กระทำผิด ยังไม่ทันสอบสวนก็เชื่อตามฟ้องอย่างไร้เหตุผล ลงโทษคนถูกฟ้อง คนผิดเลยกลายเป็นถูก คนถูกกลายเป็นคนผิด
         4. ลำเอียงเพราะกลัว เช่น กลัวอิทธิพล กลัวถูกตำหนิ กลัวถูกย้าย กลัวไปเสียทุกอย่าง จนไม่กล้าทำอะไร
      ค. มีราชธรรม คือมีคุณธรรมของพระราชา แต่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีหน้าที่ในการบริหาร เรียกว่า ราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรม มีอยู่ 10 ข้อคือ
         1. ให้ปัน (ทานํ) คือให้ทั้งวัตถุและคำแนะนำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เอาใจใส่การบริการ อำนวยความสะดวกสบาย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนประสบภัยพิบัติต่างๆ
         2. ประพฤติดีงาม (สีลํ) คือรักษากายวาจาให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมและกฎหมาย รักษาเกียรติภูมิของตน ไม่ประพฤติตนเป็นที่ดูถูกดูแคลนของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
         3. เสียสละ (ปริจฺจาคํ) คือเสียสละความสุขสำราญตลอดจนกระทั่งชีวิตของตนเอง เพื่อประโยชน์ของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
         4. ซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือปฏิบัติภาระหน้าที่ด้วยความซื่อตรง ไร้มายา จริงใจ ไม่หลอกลวงเล่นลิ้นกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
         5. อ่อนโยน (มทฺทวํ) คือมีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่ง หยาบคาย มีความสง่างามที่เกิดจากท่วงทีสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ไม่ถือตัว
         6. เพียรเผากิเลส (ตปํ) คือพยายามเผาผลาญตัณหามิให้เข้ามาครอบงำจิต ไม่หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญและการปรนเปรอ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มุ่งมั่นแต่จะทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์
         7.ไม่วู่วามโกรธง่าย (อกฺโกธํ) คือไม่เกรี้ยวกราด เจ้าอารมณ์ ไม่กระทำการใด ๆ ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ แต่จะทำด้วยจิตอันสุขุม เยือกเย็น รอบคอบ
         8. ไม่เบียดเบียน (อวิหึสา) คือไม่หลงอำนาจเที่ยวบีบคั้นเอารัดเอาเปรียบลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษ หรือยัดเยียดข้อหาให้แก่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความอาฆาตเกลียดชัง
         9. มานะอดทน (ขนฺติ) คืออดทนต่อการงาน ถึงจะลำบากตรากตรำเพียงใดก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกเยาะเย้ยด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถางเพียงใดก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ละทิ้งหน้าที่ที่รับผิดชอบ
         10. ไม่คลาดธรรม (อวิโรธนํ) คือประพฤติตนยึดมั่นในธรรมทั้งในด้านความยุติธรรมก็ดี และในด้านนิติธรรมคือระเบียบแบบแผนก็ดี ตลอดจนธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียงเพราะถ้อยคำของผู้อื่น หรือด้วยอามิสสินจ้างใด ๆ
      ถ้าทำได้ดังนี้ ก็จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ ศรัทธา ให้เกิดขึ้นและจะเป็น กุญแจดอกหนึ่งจาก 8 ดอก ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนได้
-----------------------------------------
ค้นหา Vision และ Mission
      ในหัวข้อนี้ภูมิใจเสนอ..บริษัท เอ็มวี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด

      บริษัท เอ็มวี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 โดยเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ เป็นบริษัทฯที่ผลิต ผลไม้ในน้ำเชื่อมเข้มข้น สำหรับใช้ในโยเกิร์ต โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการผลิตผลไม้เชื่อมมานานกว่า 20 ปี 
      โดยในปัจจุบันบริษัท เอ็มวี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด มีนโยบายที่ต้องการขยายฐานธุรกิจต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้า จากการแปรรูปผัก ผลไม้สดที่ยิ่งใหญ่ภายใน 3 ปี

Vision
      เป็นผู้ผลิตผลไม้แปรรูปที่สามารถ สนองตอบความต้องการของตลาดทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

Mission

      • พัฒนาการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
      • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อตราสินค้า
      • ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของตลาดอย่างแพร่หลาย
      • สร้างความมั่นใจ ในด้านการบริการหลังการขายให้กับลูกค้า
      • มีพันธมิตรทางด้านการตลาดที่มั่นคงและเข้มแข็ง

รายงานเสนอ อ. พจนารถ  ซีบังเกิด (อาจารย์ผู้เป็นขวัญใจของ รปม.รุ่น ๔)

แนะนำเกี่ยวกับเรา ภาระกิจหลักขององค์กรคือการแสวงหาและจัดสรรวัตถุดิบประเภท เคมีภัณฑ์, ส่วนผสมด้านอาหารและโลหะ มีค่าสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ต่าง  ๆ  มากมาย ด้วยความรับผิดชอบ และการสร้างคุณค่าเพิ่มแก่ลูกค้า ภายใต้จิตสำนึกที่มุ่งเน้นในเรื่อง คุณความดี, คุณภาพ และสังคม
                บริษัท อินเตอร์กู๊ดส์ จำกัด เป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงในระดับผู้นำในธุรกิจ
การจัดหาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์, เคมีภัณฑ์อาหาร และโลหะมีค่า สำหรับโรงงาน
อุตสาหกรรมต่างๆ
ในปี พ..2532, บริษัท อินเตอร์กู๊ดส์ จำกัด ได้ถูกจัดตั้งขึ้น พร้อมกับการวาง นโยบายเพื่อเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ เราเริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกจากการจัดหา เคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมการเคลือบ และเติบโตขึ้นทุกปีโดยมีทีมงานที่ มีคุณภาพ ในปัจจุบัน บริษัทได้ขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ อีกกว่า 20 อุตสาหกรรม
                ด้วยทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัท , ประสบความสำเร็จตลอดมา ทีมงานที่ดีเป็นที่ยอมรับของคู่ค้าภายใต้คุณธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม นำมาสู่ความมั่นคงและก้าวหน้าขององค์กร คู่ค้า บุคลากรและสังคม ซึ่งถือเป็นปรัชญาในการบริหารที่สำคัญขององค์กร
                กลยุทธในการจัดการบริหาร ต่างๆ ขององค์กรช่วยให้องค์กรสามารถรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และยังคงเป็นองค์กรระดับผู้นำตลอดมา บริษัทฯ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (ISO) 9001 – 2000 และมีแผนงานในการวางเป้าหมายการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไปสู่ระบบ มาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ซึ่งประยุกต์จากโปรแกรมคุณภาพ แห่งชาติของ Baldrige เพื่อสร้างสรรค์ทีมงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นICL‘s Vision
วิสัยทัศน์องค์กร
(Corporate Vision)
                เราจะเป็นผู้นำระดับประเทศในการให้บริหารที่ดีเลิศในการจัดจำหน่าย สินค้า และบริการที่มีคุณภาพเพื่อพันธมิตรทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆภาระกิจองค์กร (Corporate Mission)                การเป็นผู้นำระดับประเทศในการให้บริการที่ดีเลิศกับลูกค้า ต้องเกิดจากการให้ความสำคัญกับลูกค้า โดยการเน้นการสร้างความแตกต่าง เพื่อเพิ่มคุณค่าการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ให้เกิดขึ้นในภาระกิจหลักดังต่อไปนี้1.       จำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อการอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพมี นวัตกรรม และหลากหลายด้วยความรับผิดชอบ 2.       สร้างความประทับใจในการให้บริการที่จริงใจ รวดเร็ว และถูกต้อง 3.       ปฏิบัติงานภายใต้ระบบงานที่มีมาตรฐาน และทันสมัย 4.       เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนาให้ล้ำหน้าตลอดเวลา 5.       มีบุคลากรที่ดีเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคู่ค้าภายใต้คุณธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งจะนำมาสู่ความมั่นคง ยั่งยืน และก้าวหน้าขององค์กร คู่ค้า บุคลากร และสังคม Value
ค่านิยมขององค์กร

แนวความคิดและการทำงานอันจะนำไปสู่ผลประกอบการที่เป็นเลิศ และสร้างสรรความสุข ให้บังเกิดขึ้นภายในองค์กรคุณความดี
เริ่มต้นที่หัวใจของพนักงานทุกคน ซึ่งร่วมกันสรรสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่น เพราะเราเชื่อว่าคุณความดีจะนำสิ่งดีมาสู่องค์กรและคู่ค้าคุณภาพ
คุณภาพขององค์กร กำเนิดมาจากคุณภาพของพนักงาน และคุณภาพของงานตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดกระบวนการ คุณภาพก่อให้เกิดความคิดริเริ่ม, คุณภาพก่อให้เกิดผลิตผลคุณภาพ นำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้สังคม
                สังคมในองค์กรและสังคมภายนอก เป็นสิ่งที่องค์กรตระหนักถึงความรับผิดชอบอันจะมีต่อชุมชนทุกชุมชน ที่อยู่ร่วมกัน มีความสงบสุขร่วมกัน อนุรักษ์และดูแลสิ่งแวดล้อม และดำรงค์ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคมร่วมกันค่านิยมร่วม (Shared Value)1.       มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตาม 6 ดี และ 12 คำ ·       มุ่งมั่นที่จะเป็นคนดี คิดดี พูดดี ทำดี (Good People) ·       มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบงานให้ดีและทันสมัย (Good System : Fast, Flat, Flexible) ·       มุ่งมั่นที่จะรักษาและปฏิบัติตามระเบียบวินัยขององค์กร (Good Discipline) ·       มุ่งมั่นที่จะศึกษาหาความรู้ นำความรู้มาใช้และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดี (Good Knowledge Management) ·       มุ่งมั่นที่จะสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีและทำงานเป็นทีม (Good Relationship) ·       มุ่งมั่นที่จะรักษาผลประโยชน์และสร้างผลตอบแทนที่ดี ให้กับองค์กร คู่ค้า บุคลากร และสังคม (Good Benefit) ·       มุ่งมั่นในการปฏิบัติตาม 12 คำ : ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน สดใส มีวินัย ใจเป็นธรรม มีน้ำใจ ให้อภัย เข้าใจงาน กตัญญู รู้คุณค่าในคนและตนเอง 2.       มุ่งเน้นอนาคตด้วยนวัตกรรม (Innovation) 3.       มุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี แด่คู่ค้าและเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ (Service Mind) 4.       มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ และการสร้างคุณค่าเพิ่ม (Result & Value Added Oriented) 5.       มุ่งมั่นที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอันดีของประเทศ และมีส่วนช่วยเหลือสังคม (Social Responsibility) Management System
ระบบการบริหารจัดการ
·       พื้นฐานของการบริหาร คือ การกระจายอำนาจหน้าที่ ·       พื้นฐานของการกระจายอำนาจหน้าที่ คือ ความไว้วางใจและระบบงานที่ดี ·       เราเริ่มรูปแบบการบริหารจัดการจากวงจรคุณภาพ (PDCA) และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถ, ทักษะการทำงาน และศีลธรรม จึงสามารถกล่าวได้ว่า บุคลากรในองค์กรทุกคนเป็นบุคลากรที่มีค่าที่จะนำพาองค์กรไป สู่ความสำเร็จCommitment
คำมั่นสัญญา1.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรแห่งความสุข เป็นองค์กรที่น่าอยู่โดยมีบุคลากรที่เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความเป็นอยู่ที่ดี 2.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าคบหาสมาคม ในด้านการดำเนินกิจกรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ 3.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่านับถือ ในด้านการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม 4.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าสนใจในด้านการเรียนรู้ , การพัฒนาและปรับตัวตลอดเวลา 5.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าประทับใจในด้านคุณธรรม ในทุกด้าน เป็นหัวใจสำคัญในการนำไปสู่
ความมั่นคง ยั่งยืน และก้าวหน้า นั่นคือ ความดี คุณภาพ และสังคมICL & Community
องค์กร และสังคม


ICL มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่ดีของสังคม โดยการเริ่มต้นจากการเสนอสินค้า และบริการที่ดี มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมถึงการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ, กฎหมาย และคำนึงถึงความปลอดภัยในด้านสุขภาพของบุคลากร และสังคม บริษัทฯ ยังคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการนำไป ใช้ประโยชน์อย่าง มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าที่สุด
                ในส่วนของคลังสินค้าของบริษัท ยังคงไว้ซึ่งการรักษากฎระเบียบตาม มาตรฐานขององค์การอาหาร และยาในการดูแลสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ อาหาร
                นอกจากนี้ผู้บริหารองค์กรยังได้มีการสนับสนุน และจัดตั้งกองทุนการกุศล เพื่อเด็กและเยาวชน และกองทุนเพื่อการช่วยเหลือสังคมในทุก ๆ ปี
ICL as your partner
เราเสมือนเพื่อนคู่คิดของคุณ  1.       ก่อกำเนิดอย่างมั่นคงและมีชื่อเสียงมายาวนานในระดับประเทศ 2.       จัดสรรช่องทางทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ได้อย่างลงตัว 3.       มีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี และมีทีมการจัดการที่มีคุณภาพ 4.       ระบบการจัดการที่ดี 5.       เป็นระดับมืออาชีพ ·       เป็นคนรุ่นใหม่ ขยันขันแข็ง ·       มีพื้นฐานความรู้ดี ·       เป็นองค์กรขนาดกลางที่มีการบริหารงานที่ยืดหยุ่นได้ ·       เป็นองค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้ การพัฒนา และการเปลี่ยนแปลง ·       ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9001–2000 ·       มุ่งสู่ระบบคุณภาพแห่งชาติ (Baldrige National Quality Program) ·       มีการบริหารด้านสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) 6.       มี Supplier ที่มั่นคง, สินค้าหลากหลาย สำหรับให้บริการลูกค้าในทุกอุตสาหกรรม 7.       มีฐานะการเงินที่มั่นคง ตรวจสอบได้ ในความไว้วางใจของผู้ถือหุ้นและองค์กร 8.       มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง 9.       เป็นองค์กรที่พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง 10.    มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  
พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม. รุ่น ๔ สวนสุนันทา

งานเสนอ อ. พจนารถ  ซีบังเกิด  

แนะนำเกี่ยวกับเรา                                                                                                                                                                                                ภาระกิจหลักขององค์กรคือการแสวงหาและจัดสรรวัตถุดิบประเภท เคมีภัณฑ์, ส่วนผสมด้านอาหารและโลหะ มีค่าสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ มากมาย ด้วยความรับผิดชอบ และการสร้างคุณค่าเพิ่มแก่ลูกค้า ภายใต้จิตสำนึกที่มุ่งเน้นในเรื่อง คุณความดี, คุณภาพ และสังคม
                บริษัท อินเตอร์กู๊ดส์ จำกัด เป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงในระดับผู้นำในธุรกิจ
การจัดหาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์, เคมีภัณฑ์อาหาร และโลหะมีค่า สำหรับโรงงาน
อุตสาหกรรมต่างๆ
ในปี พ..2532, บริษัท อินเตอร์กู๊ดส์ จำกัด ได้ถูกจัดตั้งขึ้น พร้อมกับการวาง นโยบายเพื่อเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ เราเริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกจากการจัดหา เคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมการเคลือบ และเติบโตขึ้นทุกปีโดยมีทีมงานที่ มีคุณภาพ ในปัจจุบัน บริษัทได้ขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ อีกกว่า 20 อุตสาหกรรม
                ด้วยทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัท , ประสบความสำเร็จตลอดมา ทีมงานที่ดีเป็นที่ยอมรับของคู่ค้าภายใต้คุณธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม นำมาสู่ความมั่นคงและก้าวหน้าขององค์กร คู่ค้า บุคลากรและสังคม ซึ่งถือเป็นปรัชญาในการบริหารที่สำคัญขององค์กร
                กลยุทธในการจัดการบริหาร ต่างๆ ขององค์กรช่วยให้องค์กรสามารถรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และยังคงเป็นองค์กรระดับผู้นำตลอดมา บริษัทฯ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (ISO) 9001 – 2000 และมีแผนงานในการวางเป้าหมายการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไปสู่ระบบ มาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ซึ่งประยุกต์จากโปรแกรมคุณภาพ แห่งชาติของ Baldrige เพื่อสร้างสรรค์ทีมงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นICL‘s Vision
วิสัยทัศน์องค์กร (Corporate Vision)
                เราจะเป็นผู้นำระดับประเทศในการให้บริหารที่ดีเลิศในการจัดจำหน่าย สินค้า และบริการที่มีคุณภาพเพื่อพันธมิตรทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆภาระกิจองค์กร (Corporate Mission)                การเป็นผู้นำระดับประเทศในการให้บริการที่ดีเลิศกับลูกค้า ต้องเกิดจากการให้ความสำคัญกับลูกค้า โดยการเน้นการสร้างความแตกต่าง เพื่อเพิ่มคุณค่าการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ให้เกิดขึ้นในภาระกิจหลักดังต่อไปนี้1.        จำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อการอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพมี นวัตกรรม และหลากหลายด้วยความรับผิดชอบ 2.        สร้างความประทับใจในการให้บริการที่จริงใจ รวดเร็ว และถูกต้อง 3.        ปฏิบัติงานภายใต้ระบบงานที่มีมาตรฐาน และทันสมัย 4.        เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนาให้ล้ำหน้าตลอดเวลา 5.        มีบุคลากรที่ดีเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคู่ค้าภายใต้คุณธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งจะนำมาสู่ความมั่นคง ยั่งยืน และก้าวหน้าขององค์กร คู่ค้า บุคลากร และสังคม Value
ค่านิยมขององค์กร

แนวความคิดและการทำงานอันจะนำไปสู่ผลประกอบการที่เป็นเลิศ และสร้างสรรความสุข ให้บังเกิดขึ้นภายในองค์กรคุณความดี
เริ่มต้นที่หัวใจของพนักงานทุกคน ซึ่งร่วมกันสรรสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่น เพราะเราเชื่อว่าคุณความดีจะนำสิ่งดีมาสู่องค์กรและคู่ค้าคุณภาพ
คุณภาพขององค์กร กำเนิดมาจากคุณภาพของพนักงาน และคุณภาพของงานตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดกระบวนการ คุณภาพก่อให้เกิดความคิดริเริ่ม, คุณภาพก่อให้เกิดผลิตผลคุณภาพ นำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้สังคม
                สังคมในองค์กรและสังคมภายนอก เป็นสิ่งที่องค์กรตระหนักถึงความรับผิดชอบอันจะมีต่อชุมชนทุกชุมชน ที่อยู่ร่วมกัน มีความสงบสุขร่วมกัน อนุรักษ์และดูแลสิ่งแวดล้อม และดำรงค์ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคมร่วมกันค่านิยมร่วม (Shared Value)1.        มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตาม 6 ดี และ 12 คำ ·        มุ่งมั่นที่จะเป็นคนดี คิดดี พูดดี ทำดี (Good People) ·        มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบงานให้ดีและทันสมัย (Good System : Fast, Flat, Flexible) ·        มุ่งมั่นที่จะรักษาและปฏิบัติตามระเบียบวินัยขององค์กร (Good Discipline) ·        มุ่งมั่นที่จะศึกษาหาความรู้ นำความรู้มาใช้และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดี (Good Knowledge Management) ·        มุ่งมั่นที่จะสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีและทำงานเป็นทีม (Good Relationship) ·        มุ่งมั่นที่จะรักษาผลประโยชน์และสร้างผลตอบแทนที่ดี ให้กับองค์กร คู่ค้า บุคลากร และสังคม (Good Benefit) ·        มุ่งมั่นในการปฏิบัติตาม 12 คำ : ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน สดใส มีวินัย ใจเป็นธรรม มีน้ำใจ ให้อภัย เข้าใจงาน กตัญญู รู้คุณค่าในคนและตนเอง 2.        มุ่งเน้นอนาคตด้วยนวัตกรรม (Innovation) 3.        มุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี แด่คู่ค้าและเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ (Service Mind) 4.        มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ และการสร้างคุณค่าเพิ่ม (Result & Value Added Oriented) 5.        มุ่งมั่นที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอันดีของประเทศ และมีส่วนช่วยเหลือสังคม (Social Responsibility) Management System
ระบบการบริหารจัดการ
·        พื้นฐานของการบริหาร คือ การกระจายอำนาจหน้าที่ ·        พื้นฐานของการกระจายอำนาจหน้าที่ คือ ความไว้วางใจและระบบงานที่ดี ·        เราเริ่มรูปแบบการบริหารจัดการจากวงจรคุณภาพ (PDCA) และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถ, ทักษะการทำงาน และศีลธรรม จึงสามารถกล่าวได้ว่า บุคลากรในองค์กรทุกคนเป็นบุคลากรที่มีค่าที่จะนำพาองค์กรไป สู่ความสำเร็จCommitment
คำมั่นสัญญา
1.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรแห่งความสุข เป็นองค์กรที่น่าอยู่โดยมีบุคลากรที่เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความเป็นอยู่ที่ดี 2.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าคบหาสมาคม ในด้านการดำเนินกิจกรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ 3.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่านับถือ ในด้านการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม 4.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าสนใจในด้านการเรียนรู้ , การพัฒนาและปรับตัวตลอดเวลา 5.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าประทับใจในด้านคุณธรรม ในทุกด้าน เป็นหัวใจสำคัญในการนำไปสู่
ความมั่นคง ยั่งยืน และก้าวหน้า นั่นคือ ความดี คุณภาพ และสังคม
ICL & Community
องค์กร และสังคม

ICL มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่ดีของสังคม โดยการเริ่มต้นจากการเสนอสินค้า และบริการที่ดี มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมถึงการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ, กฎหมาย และคำนึงถึงความปลอดภัยในด้านสุขภาพของบุคลากร และสังคม บริษัทฯ ยังคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการนำไป ใช้ประโยชน์อย่าง มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าที่สุด
                ในส่วนของคลังสินค้าของบริษัท ยังคงไว้ซึ่งการรักษากฎระเบียบตาม มาตรฐานขององค์การอาหาร และยาในการดูแลสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ อาหาร
                นอกจากนี้ผู้บริหารองค์กรยังได้มีการสนับสนุน และจัดตั้งกองทุนการกุศล เพื่อเด็กและเยาวชน และกองทุนเพื่อการช่วยเหลือสังคมในทุก ๆ ปี
ICL as your partner
เราเสมือนเพื่อนคู่คิดของคุณ
1.        ก่อกำเนิดอย่างมั่นคงและมีชื่อเสียงมายาวนานในระดับประเทศ 2.        จัดสรรช่องทางทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ได้อย่างลงตัว 3.        มีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี และมีทีมการจัดการที่มีคุณภาพ 4.        ระบบการจัดการที่ดี 5.        เป็นระดับมืออาชีพ ·        เป็นคนรุ่นใหม่ ขยันขันแข็ง ·        มีพื้นฐานความรู้ดี ·        เป็นองค์กรขนาดกลางที่มีการบริหารงานที่ยืดหยุ่นได้ ·        เป็นองค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้ การพัฒนา และการเปลี่ยนแปลง ·        ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9001–2000 ·        มุ่งสู่ระบบคุณภาพแห่งชาติ (Baldrige National Quality Program) ·        มีการบริหารด้านสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) 6.        มี Supplier ที่มั่นคง, สินค้าหลากหลาย สำหรับให้บริการลูกค้าในทุกอุตสาหกรรม 7.        มีฐานะการเงินที่มั่นคง ตรวจสอบได้ ในความไว้วางใจของผู้ถือหุ้นและองค์กร 8.        มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง 9.        เป็นองค์กรที่พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง 10.     มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           

ด้วยความปรารถนาดี จาก (หมอก) รหัส 50038020003 จากแนวคิดของ อ. จีระ จึงได้มีการแสดงความคิดเห็นและได้แบ่งปํนข้อมูลแก่เพื่อน ๆ พี่ ๆ ขอบคุณครับฯ
 คำสามคำที่น่าสนใจที่อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ เขียนไว้ในหนึ่งหนังสือ คัมภีร์ "หัวบริหาร" ยอดตน ยอดบริหาร ภาคพิศดาร ที่น่าสนใจ คือ
      1. วิสัยทัศน์ แปลว่า "การมองเห็นภายในขอบเขตที่เป็นอยู่"
       2. ทัศนวิสัย แปลว่า "ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่า"
       3. จินตทัศน์ แปลว่า "การคิดด้วยการสร้างภาพให้เกิดขึ้น(ภาพที่มองไกลสู่อนาคตโดยไม่มีขอบเขตขวางกั้น)
       จากคำสามคำนี้ จึงน่าสนใจที่จะต้องให้ความใส่ใจให้มาก หากจะต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ขององค์กร เพราะหากเรายังคงยึด อยู่กับความเป็นเดิมๆ กรอบเดิมๆ วิสัยทัศน์ของเราก็คงจะเป็นแบบแคบๆ ไม่กว้างไกล สู่อนาคต ขาดความเป็นสากล หรือบาง ครั้งอาจจะสากลมากจนลืมความเป็นท้องถิ่น (localization) หรือภูมิปัญญา (wisdom)
       หากท่านที่สนใจว่าแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ต่างๆ เขาเขียนวิสัยทัศน์(Vision statement) ออกว่าอย่างไร สามารถเข้าไปสืบค้นได้จาก web site ของหน่วยงานนั้น ๆ โดยเข้าไปที่
http://www.google.com แล้วใส่คำ ชื่อหน่วยงานที่ต้องการค้นหา

ตัวอย่างวิสัยทัศน์ขององค์กรต่างๆ

วิสัยทัศน์ ปตท.
เป็นบริษัทพลังงานของไทย ที่ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันครบวงจร และธุรกิจปิโตรเคมีที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่อง มุ่งไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization) และเป็นผู้นำในภูมิภาค ด้วยความรับผิดชอบ เป็นธรรม และให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมต่อผู้มีส่วนได้เสีย

วิสัยทัศน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เป็นคณะพยาบาลศาสตร์ขนาดกลางที่ผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาศาสตร์ที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานสากลในทุกระดับปริญญา มีความเป็นเลิศทางการจัดการศึกษาพยาบาลบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีความรักและความผูกพันกับคณาจารย์และสถาบัน อย่างเป็นเอกลักษณ์ สร้างองค์ความรู้ด้วยการวิจัย เน้นงานวิจัยการพยาบาลทางคลินิกที่มีคุณภาพและการวิจัยที่พัฒนาศักยภาพ
ในการดูแลตนเองของชุมชน โดยมีการผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีทางการพยาบาลให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเอง และทำนุบำรุงวัฒนธรรมอันดีงาม

วิสัยทัศน์ ธนาคารกรุงไทย
เป็นสถาบันการเงินชั้นนำในประเทศที่ได้รับความเชื่อมั่นในการให้บริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยมาตรฐานคุณภาพที่เป็นที่พึงพอใจสูงสุด ของลูกค้าเคียงคู่เศรษฐกิจไทย

วิสัยทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
" ภายในปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะเป็นองค์กรหลักของประเทศและได้รับความเชื่อถือจากสังคมในการปกป้องคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยดำเนินการให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีคุณภาพและปลอดภัย และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม

วิสัยทัศน์ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
เป็นโรงพยาบาลคุณภาพ ด้านบริการ วิชาการ ในระดับแนวหน้า ที่ประชาชนยอมรับและบุคลากรภาคภูมิใจ ในการปฏิบัติงาน

วิสัยทัศน์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เป็นผู้นำพัฒนาวิชาการ สานสัมพันธ์เครือข่ายรวมภาคี เสริมศักดิ์ศรีสร้างพลังภูมิปัญญา ให้ก้าวไกลรุดหน้าเทียมสากล เพื่อคนไทยทุกคนสุขภาพดี

วิสัยทัศน์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เป็นองค์กรหลักทางด้านการวิจัยและพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขในการเสริมสร้าง สุขภาพที่ดีแก่ประชาชน และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้กำกับดูแลมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งของภาครัฐและเอกชนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

วิสัยทัศน์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีมาตรฐานการศึกษา การวิจัยและการบริการ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

 

จากวิสัยทัศน์ ของหน่วยงานต่างๆ ที่ผู้เขียนนำมาให้ศึกษาเป็นตัวอย่างหากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า แต่ละวิสัยทัศน์นั้น สะท้อนความ เป็นองค์กร สะท้อนวัฒนธรรม องค์กร รวมทั้งมิติอื่นๆ ขององค์กรนั้นๆ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เป็นการสะท้อนวิสัยทัศน์ ของคนในองค์กรนั้นๆ นั่นเอง ดังนั้น ก่อนจะได้มาซึ่งวิสัยทัศน์ ขององค์กร แต่ละปัจเจกคนฝนองค์กรก็จะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ต้องมี Personal Vision ก่อน แล้วนำ Vision มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกิดการ Shared Vision เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมขององค์กร

       ผู้อ่านลองไปทบทวนวิสัยทัศน์ของตัวท่านเองว่าเป็นอย่างไร สำหรับผู้เขียนแล้ว ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ส่วนตัวไว้ว่า

"ประเทศชาติ ประชาชน ประชาคม ประชาสรรณ์ ประกันชีวิต"

โดยความหมายแต่ละคำคือ
     ประเทศชาติ : เป็นความตั้งใจที่ปรารถนาจะเป็นประเทศชาติ เจริญบนฐานของภูมิปัญญาไทย วิญญาณไทย หัวใจสากล โดยที่ทุกคนต้องเท่าเทียม
     ประชาชน : ผู้เขียนต้องการเป็นประชาชนคุณภาพ ต้องการทำงานให้กับพี่น้องประชาชน ในฐานะของ นักการเมือง ภาคประชาชน ทำกระบวนการการเมืองภาคประชาชน เมื่อมีโอกาส
     ประชาคม : งานหลักที่ผู้เขียนถนัดและต้องการให้เกิดขึ้น ในชุมชนต่างๆ คือ ประชาคม เช่น ประชาคม ผู้รักสุขภาพ ประชาคม คนออกกำลังกาย
     ประกันชีวิต : อาชีพที่สร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวไทย คืออาชีพ ตัวแทนประกันชีวิต
       แล้วท่านผู้อ่านหละ วิสัยทัศน์ท่านว่าอย่างไร จงเขียนมันออกมาในกระดาษ ติดไว้ที่โต๊ะทำงาน แล้วลงมือทำ ตามพันธกิจท่มีอยู่เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมที่น่าอยู่

หมายเหตุ : บทความฉบับนี้ยินดีให้นำไปเผยแพร่ หากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ กับมวลมนุษยชาติ
power by [email protected]

โดยรหัส 50038020003 รปม. รุ่น ๔

เสนออาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

บริษัท เซิร์ฟเวอร์ทูเดย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ จึงไม่เพียงรักษาคุณภาพสินค้าและ บริการให้เป็นที่พึงพอใจแก่ลูกค้าทุกกลุ่ม แต่ยังผสมผสานความแข็งแกร่งของเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตควบคู่กันไป พร้อมก้าวไปสู่เป้าหมายร่วมกันกับลูกค้าในอนาคต พร้อมที่จะเป็นผู้นำในการให้บริการโฮสติ้งและอินเตอร์เน็ตโซลูชั่นอย่างแท้จริง

วิสัยทัศน์องค์กร
บริษัทเวปโฮสติ้งที่ให้บริการดีที่สุดในประเทศไทย

ภารกิจ
มุ่งให้บริการลูกค้าด้วยสินค้า บริการทางด้านเวปโฮสติ้ง และอินเตอร์เน็ตโซลูชั่นให้ดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ และเป็นไปตามความประสงค์สูงสุด

เกียรติประวัติองค์กร

- หนึ่งในสิบสุดยอดเวปไซด์ "SME ยอดเยี่ยม ด้านการพัฒนาธุรกิจ" Web Award 2005
จากสมาคมผู้ดูแลเวปไทย
- DirectI Thailand Top#1 Reseller ผู้แทนจำหน่ายโดเมนยอดจำหน่ายสูงสุดในประเทศไทย ในปี 2006
ภายใต้ระบบ DirectI จาก Directi Group.

แนวโน้มการเติบโตและสภาวะการแข่งขันธุรกิจเวปโฮสติ้ง

สภาวะการแข่งขันของธุรกิจเวปโฮสติ้งในปี 2549 มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยผู้ประกอบการรายใหม่จำนวนมากเข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ โดยเฉพาะผู้ให้บริการประเภทบุคคล ส่งผลให้รายได้รวมของธุรกิจบริการเวปโฮสติ้งของบริษัทเติบโตไม่มาก ด้วยเหตุที่คู่แข่งขันของบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการบุคคลทำให้ไม่ต้องแบกต้นทุนสูงมากนัก ทำให้มีศักยภาพในการกำหนดราคาได้ดีกว่า ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคากับผู้ประกอบการรายใหม่ๆ บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นรักษา "คุณภาพการให้บริการ" ให้เป็นที่พึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ โดยเจาะกลุ่มลูกค้าภาคธุรกิจและลูกค้าองค์กรเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับคุณภาพการให้บริการ ประสิทธิภาพของเครือข่ายและความต่อเนื่องในการใช้งานมากกว่าปัจจัยทางด้านราคา

สำหรับปี 2550 บริษัทฯ จะเน้นทำการตลาดในกลุ่มผู้ใช้ภาคธุรกิจมากขึ้น โดยรักษาจุดยืนของการบริการที่มีคุณภาพ อันเนื่องจากบริษัทฯ เป็นองค์กรที่มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปทำให้มีความคล่องตัวในการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจอินเตอร์เน็ตในหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วยทีมบุคคลากรที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจในความต้องการใช้งาน และปัญหาของผู้ใช้งานเป็นอย่างดี ด้วยแนวทางการตลาดดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้บริษัทฯ มีความพร้อมที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในธุรกิจอินเตอร์เน็ตได้อย่างมั่นคง

ข้อมูลทั่วไปของบริษัท เซิร์ฟเวอร์ทูเดย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ลักษณะการประกอบธุรกิจ
ให้บริการจดชื่อโดเมน บริการเวปโฮสติ้ง ให้เช่าเซิร์ฟเวอร์ ดูแลติดตั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และบริการที่เกี่ยวข้องกับระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งภายในและต่างประเทศ

สำนักงานใหญ่
เลขที่ 67/134 หมู่ที่ 2 ซอยเทียนทรัพย์ ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150

ศูนย์กลางข้อมูล (Internet Data Center)
- CAT IDC อาคาร กสท. ชั้น 13 ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพมหานคร
- USA IDC INFOMART Telecom hotel near downtown Dallas.
- The NAC, AtlantaNAP, and BlueSquare Datacenters.

เลขทะเบียนการค้า 0107554821651
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 3380118853
เลขทะเบียนพานิชย์อิเล็คทรอนิกส์
0107514831885

โทรศัพท์ 0-2875-9900, 0-2875-7174-6, 0-2875-9537
โทรสาร 0-2875-7170
โฮมเพจ
www.servertoday.com
อีเมล์ [email protected]

ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท (อยู่ในระหว่างดำเนินการเพิ่มทุนเป็น 5 ล้านบาท)
ทุนชำระแล้ว 1,000,000 บาท

 

   

 

 

ดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะ

ส่ง ศ.ดร. พจนารถ ซีบังเกิด

ข้อ1        การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กรองค์กรที่บริหารงานอยู่คือ องค์กรมัสยิด ซึ่งตามกฎหมายจะขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น อิหม่ามมัสยิดต้นสน ซึ่งหมายถึงผู้นำสูงสุดทางด้านจิตวิญญาณของชาวมุสลิมในตำบลหรือหมู่บ้านนั้นๆตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และ พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลามปีพ.ศ.2540 มาตรา 4 โดยทั่วไปมัสยิดหมายถึงสถานที่ซึ่งชาวมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจ และเป็นสถานที่สอนอบรมคุณธรรมจริยธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำพิธีกรรมในทุกๆวันศุกร์ซึ่งเป็นข้อบัญญัติให้อิสลามมิกชนทุกคนจะต้องไปมัสยิดอย่างสม่ำเสมอหากขาดการไปทำพิธีกรรมและฟังคำเทศนาสั่งสอน 3 ศุกร์ติดๆกันก็จะมีบทลงโทษอย่างรุนแรงในหลักการของศาสนาอิสลาม ดังนั้นสถานะภาพของมัสยิดก็คือศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณของชาวมุสลิมนั่นเอง ดังนั้นด้วยภารกิจหน้าที่ตลอดจนวัตถุประสงค์ดังกล่าวในฐานะอิหม่ามผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ จึงต้องทำทุกวิถีทางให้ชาวมุสลิมในสังกัดซึ่งเรียกว่าสัปบุรุษมามัสยิดให้มากที่สุด โดยคาดหวังว่าผลลัพท์ของการมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็จะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการดำเนินชีวิตให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมและประชาชนที่ดีของประเทศชาติบ้านเมือง หน้าที่ของ อิหม่าม หรือเปรียบเสมือนเจ้าอาวาสก็คือจะต้องไม่คำนึงว่าทำไมผู้คนจึงมามัสยิดน้อย แต่จะต้องแก้ปัญหาโดยถามตัวเองว่าทำอย่างไรจะให้ผู้คนมามัสยิดมากขึ้นซึ่งปัจจุบันก็นับว่าได้รับความสำเร็จอย่างมากมาย ในการบริหารงานตามพ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม มาตรา4   มัสยิดในฐานะศูนย์รวมทางด้านจิตวิญญาณประกอบด้วยการเป็นสถานที่สอนอบรมคุณธรรม จริยธรรม มัสยิดที่บริหารงานอยู่จึงจัดตั้งศูนย์อบรมจริยธรรมสอนศาสนาอิสลามขึ้น ซึ่งมีการเรียนการสอนเป็นประจำ นอกจากในวันศุกร์ที่ทุกคนต้องมายังมัสยิดแล้วยังเปิดให้มีการเรียนการสอนขึ้นที่ศูนย์อบรมจริยธรรมศาสนาอิสลามของมัสยิดต้นสนอีกด้วย โดยผู้เข้าอบรมเป็นประจำในแต่ละวันไม่น้อยกว่า 300-400 คน โดยแบ่งชั้นเรียนตามเกณฑ์อายุและความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานโดยมีผู้เข้าอบรมตั้งแต่ 6 ขวบ ถึง 75 ปีขึ้นไปโดยได้ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติเอาไว้โดยรวมๆด้วยการบริหารงานดังกล่าว ปัจจุบันมัสยิดต้นสนจึงถือเป็นมัสยิดตัวอย่างมัสยิดหนึ่ง โดยที่ในแต่ละปีนอกจากจะวัดผลจากการเผยแพร่คุณธรรม จริยธรรมจากคนในละแวกหมู่บ้านตำบล ซึ่งมัสยิดนี้มีสัปบุรุษในสังกัดเกือบ 2000 คนแล้วยังมีองค์กรต่างๆมาเยี่ยมเยียนดูงานศึกษางานรับฟังบรรยายในแต่ละปีมากมาย อาทิ มูลนิธิสานใจไทยสู่ใจใต้ หน่วยงานของรัฐ คณะแพทย์พยาบาล คณะนายทหาร หน่วยบัญชาการรบพิเศษ ทั้งกองทัพเรือ และกองทัพบก โรงเรียน และหน่วยงานองค์กรมากมาย โดยในปีพ.ศ.2550 ที่ผ่านมามีจำนวนถึง 60 องค์กรด้วยกัน ซึ่งนับเป็นความสำเร็จเกินความคาดหมายระดับหนึ่งทีเดียว นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นสถานที่ ที่ช่วยปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงอันจะเป็นภัยต่อสังคมให้กับประเทศชาติบ้านเมืองได้อีกด้วย ข้อ 2       การผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน                สำหรับในฐานะอิหม่ามผู้นำองค์กรมัสยิดซึ่งเป็นมัสยิดเก่าแก่ที่สุดคืออายุประมาณ 400 ปี จะเป็นมัสยิดตัวอย่างแห่งหนึ่งซึ่งมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานมากมาย จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่และผู้บริหารที่เข้มแข็งมีความรู้ความสามารถ                ผู้ที่อยู่ในสังกัดของมัสยิดนอกจากจะมีมากมายและเป็นที่ภูมิใจของมวลสัปบุรุษในสังกัดของมัสยิดต้นสนแล้ว ปัจจุบันจะเห็นว่ามีประชาชนในละแวกใกล้เคียงต้องการที่จะมาสมัครเป็นสัปบุรุษในสังกัดอีกมากมายแต่ทางมัสยิดก็มิอาจจะรับได้ ทางมัสยิดได้ให้การช่วยเหลือพนักงานตลอดจนทุกคนในสังกัดทั้งด้านความมั่นคง ความศรัทธา ซื่อสัตย์ และเปิดโอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานและความภูมิใจในองค์กรมัสยิดที่ตนเองสังกัดอยู่ กล่าวคือทั้งเจ้าหน้าที่และพนักงานตลอดจนผู้ที่มาปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ นอกจากจะมีความสบายอกสบายใจกลับไปพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมแล้ว เรียกได้ว่ามัสยิดต้นสนยังเป็นที่พักพิงทั้งในยามสุขสบาย เจ็บไข้ได้ป่วย ดีใจ ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ทุกคนจะหันกลับมาที่มัสยิด เนื่องจากผู้ที่มามัสยิดเป็นประจำจะจัดให้มีการดูแลตรวจสุขภาพ ดูแลความเป็นอยู่ตัวของเขาเอง และครอบครัว  ในทุกวันเสาร์ อาทิตย์จัดให้มีการอบรมสอนภาษาต่างประเทศ โดยมิต้องเสียค่าเล่าเรียนหรือบริจาคให้แก่มัสยิดแต่ประการใด ในด้านการศึกษาสายสามัญในแต่ละเทอม บิดามารดาสามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตรในภาคสามัญได้ไม่เกิน 3 คน คนละไม่เกิน 1,500 บาทเป็นต้น ในยามเจ็บไข้ได้ป่วยเมื่อมีคำร้องขอเงินช่วยเหลือมัสยิดจะพิจารณาเป็นรายๆไปตามใบเสร็จของโรงพยาบาลที่ไปรักษา บุตรหลานที่สามารถสอบชิงทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ นอกจากจะได้รับทุนแล้วมัสยิดจะช่วยเหลืออีกทุกปีๆละ 30,000 บาททุกคนจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา มีคณะกรรมการคอยตรวจเยี่ยมเยียนสัปบุรุษในสังกัดให้คำแนะนำพร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะ และแม้กระทั้งวาระสุดท้ายเมื่อสิ้นชีวิตทายาทต้องนำศพมาทำพิธีทางศาสนา มัสยิดก็มีหน้าที่ดูแลให้ความช่วยเหลือทุกด้านโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นหรือในทุกปี ปีละ 2 ครั้งมัสยิดจะเปิดรับเงินบริจาคพร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือก้อนหนึ่งจากมัสยิดเองเพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้าที่บิดาหรือมารดาสิ้นชีวิต โดยมอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่พวกเขาตลอดมาด้วยการบริหารงานดังกล่าวแต่เดิมเป็นเพียงความฝันที่หลายๆคนคาดว่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะมัสยิดเป็นเพียงองค์กรนิติบุคคลเล็กๆที่ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากหน่วยราชการใดๆ แต่สามารถทำงานสาธารณะกุศลอันเป็นประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองได้อย่างมากมาย ซึ่งดังกล่าวได้สร้างศรัทธาและความภูมิใจให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ที่อยู่ร่วมในสังกัดตลอดมา                โดยอิหม่ามในฐานะผู้นำองค์กร และคณะกรรมการวบริหารตลอดจนพนักงานทุกคนได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ว่า มือบนแห่งการเป็นผู้ให้ย่อมประเสริฐกว่ามือล่าง มือแห่งการเป็นผู้รับ

 

เสนออาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

เลือกข้อที่ 1 คือ การสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์

การสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ให้เกิดกับพนักงานหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในองค์กรซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็น และสำคัญมาก ที่จะทำให้ลูกน้องอยู่กับองค์กรได้นานและทำงานให้กับองค์กรด้วยความเต็มใจและทำด้วยความสามารถ ดังนั้นการที่เป็นผู้นำที่ดีได้นั้นเราต้องทำให้ลูกน้องเห็นความเป็นตัวตนของเราก่อนและสร้างความเป็นกันเองต่อพนักงาน เป็นมิตรกับคนในองค์กร ต้องทำให้พวกเขาอยากอยู่กับองค์กรอยากที่จะร่วมงานกับเรา เราต้องมีความรักและความปรารถณาดีต่อลูกน้อง อยากให้ลูกน้องได้รับประโยชน์และอยากให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ต้องประพฤติแต่สิ่งดีงานอยู่ในศิลธรรม มีความประพฤติที่ดีเพื่อให้ลูกน้องเอาเป็นแบบอย่าง ทำให้ลูกน้องเกิดความเกรงใจต่อผู้บังคับบัญชาและมีความซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ มีใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งภายในองค์กร มีความเป็นกันเองต่อพนักงาน มีความอ่อนโยน ไม่ทำให้พนักงานรู้สึกกดดัน  อึดอัด ไม่อยากที่จะมาทำงาน ดังนั้นการที่ผู้บังคับบัญชาสามารถเป็นมิตรกับพนักงานจึงทำให้พนักงานอยากทำงานกับองค์กรด้วยความเต็มใจ ด้วยความสามารถ ต้องทำให้พนักงานรู้สึกว่าการที่พวกเขาทำงานได้ดีเขาก็จะมีโอกาสเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ตำแหน่งที่ดีตามความสามารถจึงทำให้พนักงานตั้งใจในการทำงานให้งานออกมาได้ดีอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อที่พนักงานจะได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นทุกคนในองค์กรจึงต้องรู้จักพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีความรู้ มีศีลธรรม จริยธรรม ทำแต่สิ่งที่ดีงามและผู้นำจะต้องทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับต่อสังคม และจะทำให้พนักงานมีความศรัทธาต่อองค์กรมากขึ้น เกิดความรักและความผูกพันธ์ต่อองค์กร

การหา Vision และ  Mission

ของบริษัท MSIG

VISION เบี้ยถูก คุ้มครองดี บริการเยี่ยม โอนประวัติได้ ลดได้ ผ่อนได้ คุ้มครองก่อนจ่ายที่หลัง ส่วนลดสูงสุด เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทั่วโลก

MISSION

- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัท

- ทำให้ลูกค้ามีความไว้วางใจ เชื่อใจ และศรัทธาต่อบริษัท MSIG

- บริการให้เป็นที่ยอมรับต่อลูกค้าทั่วโลก

- สร้งความมั่นใจให้กับลูกค้าเรื่องการบริการหลังการขายประกันทุกชนิด

- สร้างความมั่นคงต่อบริษัท MSIG ความน่าเชื่อถือ และการบริการ

รายงานเสนอ อ. พจนารถ  ซีบังเกิด(ข้อ๑)ภารกิจ / พันธกิจกรมการขนส่งทหารบก  แบ่งส่วนราชการออกเป็น    ๑๗   หน่วยดังนี้ 

กรมการขนส่งทหารบก

 
แผนกธุรการ
 
กองกำลังพล
 
กองยุทธการและการข่าว
 
กองส่งกำลังบำรุง
 
กองงบประมาณ
 
กองการเงิน
 
กองวิทยาการ
 
กองจัดการเคลื่อนย้าย
 
กองจัดหา
 
กองบริการ
 
กองซ่อม
 
กองคลัง
 
กองยานพาหนะ
 
กองการบิน
 
โรงเรียนทหารขนส่ง
 
กรมทหารขนส่ง รักษาพระองค์
 
กองพันทหารขนส่งซ่อมบำรุงเครื่องบินทหารบก
 
            
                                                                                                กรมการขนส่งทหารบก  มีขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่สำคัญ  ดังนี้-      วางแผน  อำนวยการ  ประสานงาน  แนะนำ  กำกับการ  และดำเนินการเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุงสายขนส่ง  ตามแผนและนโยบายของกองทัพบก-       ค้นคว้า  วิจัย  พัฒนา  และให้คำแนะนำทางวิชาการสายขนส่งเกี่ยวกับการผลิต  การจัดหา  การส่งกำลัง  การซ่อมบำรุง  และการบริการ-      กำหนดมาตรฐานและคุณลักษณะ  เฉพาะของสิ่งอุปกรณ์สายขนส่ง-      รวบรวมความต้องการ และพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณด้านส่งกำลังบำรุงสายขนส่งและการเคลื่อนย้าย  สนับสนุนหน่วยต่าง ๆ  ของกองทัพบก-      ดำเนินการขนส่งกำลังพล  สิ่งอุปกรณ์  และสัตว์  ให้แก่หน่วยต่าง ๆ  ของกองทัพบก  และหน่วยอื่นที่ได้รับมอบหมาย  ด้วยการขนส่งทางบก  การขนส่งทางน้ำเฉพาะในลำน้ำ  และการขนส่งทางอากาศอย่างจำกัด-      ให้การฝึกศึกษา และอบรมกำลังพล เหล่าทหารขนส่ง และเหล่าทหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ตามนโยบายของกองทัพบก-      กำหนดหลักนิยม  จัดทำหลักสูตร  ตำรา  แบบฝึกวิชาเหล่าทหารขนส่ง  และประสานการศึกษา วิชาการเหล่าทหารขนส่ง  กับเหล่าทหารอื่น ๆ-      ทำการทดสอบ และออกใบอนุญาตขับรถยนต์ทหาร ให้แก่กำลังพลของหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพบก-      จัดทำและออกแบบเครื่องช่วยฝึก  ที่เกี่ยวกับวิชาการเหล่าทหารขนส่งกรมการขนส่งทหารบก  สามารถแยกออกเป็นงานในด้านต่าง ๆ  ได้ดังนี้                 ในด้านเกี่ยวกับการขนส่ง  มีหน่วยที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  คือ            กองจัดการเคลื่อนย้าย  มีหน้าที่  อำนวยการ  ประสานงาน  และดำเนินการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและบริการขนส่งของกองทัพบก การรับส่งสิ่งอุปกรณ์ต่างประเทศ การคลังสินค้าทหารไทย   รวมทั้งการประสานงานกับส่วนราชการ  องค์การรัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและใช้บริการขนส่ง             กองยานพาหนะ  มีหน้าที่  ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งกำลังพล สิ่งอุปกรณ์ และสัตว์ให้แก่หน่วยต่างๆ ของกองทัพบก และหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย ด้วยการขนส่งทางบกการขนส่งทางน้ำ เฉพาะในลำน้ำ  การปรนนิบัติบำรุงและการซ่อมบำรุงขั้นหน่วย              กองการบิน มีหน้าที่ ให้ข้อเสนอแนะ  วางแผน  อำนวยการ  ประสานงาน  กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งกำลังพล  และสิ่งอุปกรณ์ทางอากาศอย่างจำกัดให้แก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก  และหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งการส่งกำลังอากาศยานและชิ้นส่วนซ่อม  การซ่อมบำรุงอากาศยาน  ส่งกำลังและซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์  ระดับโรงงานแบบรวมการ                 กรมทหารขนส่ง รักษาพระองค์   มีหน้าที่ อำนวยการ และดำเนินงานเกี่ยวกับการขนส่งทางถนน และทางน้ำในแผ่นดิน  ประสานงาน และกำกับดูแลเกี่ยวกับการฝึกการขนส่งทางถนน และทางน้ำในแผ่นดิน  ให้กับหน่วยทหารขนส่งต่าง ๆ ในกองทัพบก                 ในด้านเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุง  มีหน่วยที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  คือ                กองส่งกำลังบำรุง  มีหน้าที่  วางแผน  อำนวยการ  ประสานงาน  กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับ  การส่งกำลังบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายขนส่งให้แก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก                กองคลัง  มีหน้าที่ ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุม การรับ เก็บรักษาแจกจ่าย และ จำหน่ายสิ่งอุปกรณ์สายขนส่ง  การปรนนิบัติและซ่อมบำรุงขณะเก็บรักษา การจดทะเบียนและทำประวัติยานพาหนะ                 กองซ่อม  มีหน้าที่  ประสานงาน  และดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงและการกู้ซ่อมสิ่งอุปกรณ์สายขนส่ง การดัดแปลงยานพาหนะ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ รวมทั้งการสนับสนุนการซ่อมบำรุงขั้นหน่วย และขั้นสนับสนุนโดยตรง เมื่อได้รับการร้องขอ                 กองพันทหารขนส่งซ่อมบำรุงเครื่องบินทหารบก  สนับสนุนการซ่อมบำรุง รวมทั้งการกู้ซ่อมด้วยยานพาหนะ หรืออากาศยาน ในอัตราของหน่วย  ให้แก่ อากาศยานของกองทัพบก และอากาศยาน ของ เหล่าทัพอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนดำเนินการตรวจสภาพอากาศยานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุง เพื่อให้อากาศยานอยู่ในสภาพใช้งานได้มากที่สุด                      ในด้านเกี่ยวกับการศึกษา  มีหน่วยรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  คือ  โรงเรียนทหารขนส่ง ซึ่งมีหน้าที่ อำนวยการ และดำเนินการฝึกศึกษาและอบรมกำลังพล เหล่าทหารขนส่งและเหล่าทหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามนโยบายของกองทัพบก ปกครองบังคับบัญชาผู้เข้ารับการฝึกศึกษา และอบรม  กำหนดหลักนิยม จัดทำหลักสูตรตำรา แบบฝึกวิชาการเหล่าทหารขนส่ง  ประสานการศึกษาวิชาการเหล่าทหารขนส่งกับเหล่าทหารอื่น ๆ ทำการทดสอบและออกใบอนุญาตขับรถยนต์ทหาร รวมทั้งการจัดทำและออกแบบเครื่องช่วยฝึก                 ส่วนสนับสนุนการรบ  ของกองทัพบก  มีหน่วยทหารขนส่ง  สนับสนุนหน่วยต่าง ๆ  ในส่วนสนับสนุนการช่วยรบ  รวม  ๒ หน่วย  ดังนี้-          กองพันทหารขนส่ง กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่  -          กองพันทหารขนส่ง กรมสนับสนุน กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร (จัดตั้งปีงบประมาณ ๕๑)                 ส่วนกำลังรบ  ของกองทัพบก  มีหน่วยทหารขนส่ง สนับสนุนหน่วยต่าง ๆ  ระดับกองทัพภาค รวม     หน่วย ดังนี้-          กองร้อยทหารขนส่งรถยนต์บรรทุกเบา กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑-          กองพันทหารขนส่งที่ ๒๒ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒-          กองพันทหารขนส่งที่ ๒๓ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๓-          กองพันทหารขนส่งที่ ๒๔ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๔ส่วนภูมิภาค  ของกองทัพบก มีหน่วยทหารขนส่ง สนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ระดับมณฑลทหารบก  จังหวัดทหารบก  รวม   ๓๖  หน่วย  ดังนี้-          สำนักงานขนส่ง ศูนย์การทหารราบ-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๑๑-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๑๒-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๑๓-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๑๔-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสระบุรี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกกาญจนบุรี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกราชบุรี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกเพชรบุรี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสระแก้ว-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๒๑-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๒๒-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๒๓-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๒๔-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกเลย-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกนครพนม-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสกลนคร-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสุรินทร์-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกบุรีรัมย์-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๓๑-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๓๒-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๓๓-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกตาก-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกพิษณุโลก-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกน่าน-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกพะเยา-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกเชียงราย-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๔๑-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๔๒-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกชุมพร      -     สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกทุ่งสง-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกปัตตานีภารกิจ ของ ศูนย์อำนวยการเตรียมพร้อมด้านการขนส่ง - ดำเนินการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้านการขนส่งให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา      - ประสานการปฏิบัติและขอความร่วมมือจากส่วนราชการ , รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง- เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ในสภาวะที่ไม่ปกติ- ประสานแผนการขนส่งยุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์กันอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้มีการส่งอุปกรณ์ตกค้าง- ปรับปรุงแก้ไขระเบียบคำสั่งเกี่ยวกับการรับส่งสิ่งอุปกรณ์และการขอใช้ยานพาหนะให้สอดคล้องกับสถานการณ์            ปัจจุบัน- วางแผนระดมเครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น โดยเฉพาะยานพาหนะประเภทลากจูง กึ่งพ่วง ชานต่ำ- เพื่อให้กองทัพบกสามารถสนับสนุนการเคลื่อนย้ายหน่วยเข้าพื้นที่ปฏฺบัติการได้อย่างทันเวลา วิสัยทัศน์และปณิธาน ของ ศูนย์อำนวยการเตรียมพร้อมด้านการขนส่งมุ่งมั่นสนับสนุนด้านการขนส่ง สนองตอบภารกิจกองทัพบกถูกต้อง ฉับพลัน ทันสมัย ประสานการปฏิบัติที่ดี มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศ   (ข้อ๒)ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงานเกียรติประวัติทหารขนส่ง
          เหล่าทหารขนส่ง ได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการ ในกองทัพบกไทย เป็นครั้งแรกในนามของ " กรมพาหนะ "
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2448 จนกระทั่งถึงวันนี้ รวมเวลาทั้งสิ้นกว่า 90 ปีแล้ว
           ทหารขนส่ง จัดว่าเป็นหน่วยทหาร เพียงหน่วยแรก และหน่วยเดียว ที่ได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า สงครามโลกในครั้งนั้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2457 โดยมีฝ่ายสัมพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง และกลุ่มประเทศเยอรมัน , ออสเตรีย , ฮังการี รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในยุโรปภาคกลางอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นสงครามซึ่งอยู่ไกลจากประเทศ และ เนื่องจากประเทศไทย เป็นประเทศเล็ก ดังนั้น พระองค์จึงทรงยึดถือ นโยบายความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
           อย่างไรก็ดี พระองค์ได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหว ระหว่างทั้งสองฝ่ายโดยตลอด พระองค์ได้ทรงพบว่า ฝ่ายเยอรมันได้กระทำการอันเป็นการทารุณโหดร้าย ต่อมนุษยชาติเป็นอย่างยิ่ง จนพระองค์ทนไม่ได้ จึงได้ทำการประท้วง ไปยังชาติเยอรมันให้ยุติการกระทำนั้นเสีย แต่เยอรมันไม่ตอบ และไม่แยแสต่อคำประท้วงใดๆ ของรัฐบาลไทย
           ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตัดสินพระทัย
ประกาศสงครามกับเยอรมันนี เมื่อปีพุทธศักราช 2460
ทั้งๆ ที่ขณะนั้น ฝ่ายเยอรมัน เป็นฝ่ายมีชัยในการรบ แทบทุกสมรภูมิ หลังจากการประกาศสงคราม กับฝ่ายเยอรมันนีแล้ว พระองค์มีพระราชประสงค ์จะส่งกองอาสาไปร่วมในสงครามด้วย โดยแบ่งเป็น 2 กอง คือ กองบิน และ กองรถยนต์ทหารบก ทั้งนี้โดยเหตุผลที่ว่า เพื่อที่จะได้ไปเรียนรู้วิธีการต่างๆ ตลอดจนเทคนิคสมัยใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่กองทัพไทยต่อไปในอนาคต
           กองทัพอาสา ออกเดินทางจากประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2460 เมื่อถึงประเทศฝรั่งเศลแล้ว ทหารในกองบินทหารบก ได้เข้าสู่ยุทธภูมิเป็นหน่วยลำเลียงพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และเครื่องสัมภาระทั้งปวงให้แก่ ทหารในแนวหน้า และมีการสู้รบเป็นครั้งคราว ยังผลให้ทหารไทยเกิดความชำนาญ และ ปฏิบัติภารกิจได้ดียิ่ง จนได้รับคำชมเชยจากทหารสั
สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น4
ตอบคำถาม ของอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิดตอบข้อที่ 1 ดิฉันช่วยงานที่บ้าน นั้นคือ การผลิตและจำหน่ายน้ำดื่ม ซึ่งหน้าที่ของ ดิฉัน คือ เป็นคนวางแผนงานและควบคุมคุณภาพของน้ำ ในแต่ละวัน และเกี่ยวข้องกับ vision mission โดยตรง เพราะเป็นคนกำหนดแผนงานหรือภารกิจให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้                 ที่โรงงาน วิสัยทัศน์ คือ การทำน้ำดื่มให้มีรสชาติเหมือนอย่างน้ำฝนตามธรรมชาติ   ดังนั้น หน้าที่ของดิฉัน ต้องคอยตรวจสอบค่าน้ำ ที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน เพื่อให้ค่าคงที่เหมือนกันทุกวัน นั้นคือภารกิจที่ต้องทำ เพราะการดูแลการผลิตอย่างใกล้ชิด เป็นการยืนยันคุณภาพ และสร้างความมั่นใจ ที่จะส่งต่อไปยังผู้บริโภคได้ ตอบข้อที่ 2 ธุรกิจส่วนตัวที่บ้านเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ผลิตและจำหน่ายน้ำดื่ม มีคนงาน 6 คน สิ่งที่ดีก็คือ พนักงานมีจำนวนน้อยทำให้ดูแลทั่วถึง แต่การจะรักษาพนักงานเอาไว้ให้อยู่กับเรา ก็ต้องใช้วิธีการไม่ต่างอะไรกับบริษัทใหญ่ ๆ หรือโรงงานใหญ่ ๆ                 จากการที่อาจารย์ให้เลือก จาก The 8 key Drivers of Engagement มา 1 ข้อ ดิฉันขอเลือก Trust and integrity คือการทำอย่างไรที่จะสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ให้กับองค์กร โดยธุรกิจของที่บ้านดิฉัน จะปฏิบัติกับพนักงาน เหมือนคนในครอบครัว ไม่ใช่ดูแลแค่พนักงานเท่านั้นยังดูแลไปถึงครอบครัวของพนักงาน เช่น การให้ลางานไปเรื่องการเรียนของลูกพนักงานได้ เป็นต้น    นอกจากนี้ หลังเลิกงานทุกวันศุกร์  พนักงานจะมาคุยปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานของหน้าที่บุคคลนั้น ๆ ว่าเกิดปัญหาเรื่องอะไรบ้าง  ซึ่งดิฉันเห็นว่า การให้พนักงานมีส่วนร่วมแสดงออกความคิดเห็น เปรียบเหมือนเขาเป็นเจ้าของคนหนึ่งของโรงงาน จะทำให้เขาเกิดความรัก ความศรัทธา ในงานที่ทำ รวมถึงการสร้างความซื่อสัตย์พนักงานก็จะดูแลผลประโยชน์ให้กับโรงงานอีกด้วย

การที่เราเชื่อว่า ถ้าเราปฏิบัติกับพนักงานด้วยความจริงใจ เชื่อมั่นในตัวพนักงาน ไม่ได้ใช้แต่อำนาจในฐานะนายจ้าง แต่ใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ จะทำให้พนักงานตอบกลับมาด้วยใจจริงเหมือนกัน

สุรภัทร ปานทอง รปม. รุ่นที่ 4
รายงานเสนอ อาจารย์ พจนารถ    ซีบังเกิดข้อ 1        Visison & Missionบริษัท ปูนซีเมนต์นครหวง จำกัด มหาชนสโลแกน  เราตอบสนองทุกความต้องการวิสัยทัศน์  Vision   เพื่อก้าวสู่ความเป็นที่หนึ่ง ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ สำหรับทุกความต้องการด้านปูนซีเมนต์โดยความร่วมมือร่วมใจอย่างมีประสิทธิภาพของทุกหน่วยธุรกิจภายในและภายนอกองค์กร สร้างคุณค่าขององค์กรและผลิตภัณฑ์ให้กับคู่ค้าและผู้บริโภคให้ได้ความเป็นเลิศของผู้ประกอบการที่เหนือกว่าในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป้าหมายองค์กร  Mission   1.ปูนซีเมนต์นครหลวงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญสำหรับทุกความต้องการด้านปูนซีเมนต์โดยนำเสนอปูนซีเมนต์คุณภาพสูงและตรงกับความต้องการเฉพาะในทุกด้าน 2. ร่วมมือและเกื้อกูลการทำงานของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาโอกาสทางธุรกิจและเติบโตไปพร้อมกัน 3. เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 4. เสริมสร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้าง และไว้วางใจ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพในการทำงานของพนักงานโดยให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่ไม่ด้อยกว่าใคร ข้อ 2       ความภาคภูมิใจในองค์กร                                องค์กรทุกองค์กรนั้นจะมีพนักงานภาคภูมิใจในองค์กรของตนเองนั้นเขาจะต้องมีความพึงพอใจและความตั้งใจในการทำงาน พนักงานที่มีกำลังใจในการทำงานนั้นย่อมจะมีความรัก ความพอใจในงานที่ตนทำอยู่  อยากทำงานด้วยใจสมัคร  มีความสุขกับงานโดยมิต้องให้มีผู้ใดมาบีบบังคับให้ทำงาน       สิ่งที่เป็นพื้นฐานในการทำให้เกิดความภาคภูมิใจในองค์กรหรือรักหน่วยงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะละเลยเสียไม่ได้คือ 1. รายได้  ต้องให้มีรายได้เพียงพอต่อค่าครองชีพ  ไม่มีหนี้สิน ถ้ารายได้ไม่พอก็ยากที่จะรักหน่วยงาน 2. สวัสดิการ ถ้ารายได้ไม่ดีแต่สวัสดิการดี ก็พอทดแทนกันได้ สวัสดิการนี้รวมไปถึงสภาพของที่ทำงานดี ตลอดจนการช่วยให้มีสิทธิพิเศษเล็กๆ น้อยๆ รวมถึงความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ เช่น มีโอกาสไปฝึกอบรม เป็นต้น 3. ความภาคภูมิใจในองค์กร ถ้าองค์กรมีชื่อเสียง พนักงานก็มีขวัญและกำลังใจที่จะงานต่อไป บทบาทขององค์กรที่มีต่อชุมชนมีส่วนร่วมในสังคม พนักงานก็พลอยมีคนรู้จักไปด้วย  
                นางสาวศศินี  โพธิ์ทองรปม. รุ่น 4วิสัยทัศน์และหน้าที่ที่ได้รับในหน่วยงานมีความสอดคล้องกันอย่างไรวิสัยทัศน์กระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทยจักยึดมั่นอุดมการณ์ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นให้ดำเนินไปด้วยความมั่นคงและราบรื่นตามระบอบประชาธิปไตย ประสานการพัฒนาระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นให้สามารถจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว เสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งความสุขสงบส่งเสริมเศรษฐกิจแบบพอเพียง และอำนวยบริการเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อที่ประชาชนจะสามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีพันธกิจ                 1. ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการมีศักยภาพในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนและให้บริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชน และเป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย                2. ส่งเสริมการบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้เป็นโครงข่ายที่เชื่อมโยง ไม่เฉพาะแต่หน่วยงานของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน วิสาหกิจเอกชน องค์กรชุมชน และองค์กรประชาชน ในจังหวัดเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด ภูมิภาคและประเทศโดยส่วนรวม เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาติ ทั้งนี้ โดยยึดถือและคำนึงถึงเอกลักษณ์ และความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นเป็นประการสำคัญ3. ให้หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน และการอำนวยความยุติธรรมในทุกท้องถิ่น และทุกภูมิภาคอย่างถ้วนทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสุขสงบของพื้นที่บริเวณชายแดน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ไม่เฉพาะแต่ภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์อันดี และความสมบูรณ์พูนสุขร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน
                ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย จะมีวัฒนธรรมการทำงานอย่างมืออาชีพ มีเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับองค์กรต่างๆ บนหลักของธรรมรัฐ การมีส่วนร่วม ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ โดยมีประเทศชาติและประชาชนเป็นเป้าหมาย
                หน้าที่ในของหน่วยงาน คือ การประสานการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและการกำหนดตัวชี้วัดฯ กับส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง และ กระทรวงมหาดไทย การจัดทำตัวชี้วัดเป็นการกระตุ้นการทำงานของส่วนราชการให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของแต่ละองค์กรให้เกิดผลดีต่อประเทศหรือประชาชน เนื่องจากมีเกณฑ์การให้คะแนนที่เป็นตัวชี้วัดให้หน่วยงานทราบว่าตนเองกำลังปฏิบัติงานอยู่ในระดับไหน ส่งผลให้หน่วยงานต้องปฏิบัติตามเป้าหมายหลักให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด เช่น  การรับฟังเรื่องราวร้องเรียนของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของรัฐจากบุคคลภายนอก ซึ่งตามตัวชี้วัดกำหนดให้เปิดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ทั้งหมด 5 ช่องทาง และให้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน  เพื่อรับฟังปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์  ถึงจะถือว่าปฏิบัติตามตัวชี้วัดที่กำหนดแล้วจะได้คะแนน 5 ผลการปฏิบัติตามตัวชี้วัดสำเร็จ เป็นต้น
จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4

เสนออาจารย์ พจนารถ   ชีบังเกิด 

                         วิสัยทัศน์  พันธกิจของหน่วยงาน                       

หน่วยงานของข้าพเจ้าที่สังกัดและทำงานอยู่ในปัจจุบันนี้คือ กองกำกับการ ๓ กองบังคับตำรวจปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึงเป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ซึ่งอยู่ในกลุ่มงานด้านกิจการพิเศษ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ในการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ พระราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล ตลอดจนรักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญซึ่งผู้บังคับบัญชามอบหมาย                       

                                  วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน                     

   กองกำกับการ ๓ กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษได้กำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานไว้คือ จะธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของประเทศ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข                  

                                พันธกิจของหน่วยงาน                  

      สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความมุ่งหวังที่จะให้หน่วยงานทุกหน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจหลักที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ                    

    ความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหาษัตริย์                         

   ความสงบสุขของสังคมและชุมชน            

            ประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

      ความสัมพันธ์และพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน            

    เนื่องจากหน่วยงานที่ ข้าพเจ้าที่ทำงานอยู่ เป็นหน่วยงานราชการตำรวจที่เป็นหน่วยกำลังพล ซึ่งไม่มีหน้าที่โดยตรงในการทำหน้าที่สืบสวนปราบปรามหรืองานสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมหรืองานจราจร ซึ่งสังคมส่วนใหญ่จะมองว่าข้าราชการตำรวจจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างๆ หรือใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่ผิด ซึ่งนำมาทำให้ภาพพจน์ของตำรวจโดยรวมเสียหาย  ตามที่เป็นข่าวในปัจจุบันนี้ แต่หน่วยงานที่ข้าพเจ้าทำงานอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือเกี่ยวข้องตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่จะมีหน้าที่มีหน้าที่ในการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ พระราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล ตลอดจนรักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญซึ่งผู้บังคับบัญชามอบหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมีข้าราชการตำรวจจำนวนมากในการปฏิบัติหน้าที่งานทุกอย่าง จะเป็นไปตามขั้นตอน ระบบ ของราชการทุกอย่าง ในการสั่งการ ต่างๆจะถูกสั่งจากข้างบนลงมาข้างล่าง ข้าพเจ้าเองซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติจะต้องรอฟังคำสั่งในการปฏิบัติตามแผนและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่วางหรือกำหนดไว้ พันธกิจหรือวิสัยทัศน์ต่างๆผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้กำหนด ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่นี้ถ้าผู้ปฏิบัติเองต้องมีความสำนึกรับผิดชอบ  ในหน้าที่ของตนเองแล้ว หน้าที่หรืองานผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ทำ หรือวางใจให้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ผลการปฏิบัติก็จะเกิดผลดี หรือความสงบเรียบร้อยเกิดขึ้น ไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆในหน่วยงาน หน่วยงานก็สามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      ความผูกพันหรือความรู้สึกดีต่อหน่วยงานหรือองค์กร                         อาชีพตำรวจก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งของงานในระบบราชการซึ่งมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ถึงแม้จะภาพจน์ของอาชีพนี้จะถูกมองไปในทางที่ไม่ดีหรือแต่ในความเป็นจริงแล้วตำรวจก็คือบุคคลธรรมดาสามัญทั่วไป แต่ได้ถูกกำหนดไว้ให้ทำหน้าที่ต้องรักษากฎหมายเพื่อให้สังคมอยู่รวมกันด้วยความสงบสุข และเรียบร้อย แต่ในการปฏิบัติหน้าที่นั้นในบางครั้งต้องเสี่ยงกับการเอาชีวิตเป็นเดิมพัน หรือเสี่ยงอันตราย แต่ตำรวจก็จะต้องปฏิบัติหน้าที่ หรือต้องทำจะหลีกเลี่ยงมิได้ ดังที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท สำหรับข้าราชการตำรวจไว้ความตอนหนึ่งว่า ....การจับผู้ร้ายนั้นไม่ถือเป็นความชอบธรรม เป็นแต่นับว่าผู้นั้นได้กระทำการครบถ้วนแก่หน้าที่เท่านั้น แต่จะถือเป็นความชอบธรรมต่อเมื่อได้ปกป้องกันเหตุร้ายให้ชีวิตและทรัพย์สินของข้าแผ่นดินในท้องที่นั้น อยู่เย็นเป็นสุขพอสมควร..... ในความคิดของข้าพเจ้าในการปฏิบัติหน้าที่และการดำรงชีวิตของตำรวจนั้น การที่ข้าราชการตำรวจทุกนายมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง  ครอบครัว  หน้าที่การงาน มีคุณธรรม  จริยธรรม และร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้ว เพียงแค่นี้หน่วยงานหรือองค์ก็จะสามารถทำหน้าที่ของตนเองไปได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ส่วนความผูกพันต่อหน่วยงานนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าสถานที่ทำงานนั้นเป็นบ้านหลังที่สองของชีวิตเรา ทำอย่างไรที่จะให้สถานที่ทำงานและหน่วยงานของเราให้ดีที่สุด  เราก็จะทำ                

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รปม. รุ่น 4 รหัส 50038010028 เสนอ อ.พจนารถ ซีบังเกิด
ข้อ 1 ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 วางหลักไว้ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นส่วนราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ กล่าวคือ รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และพระราชอาคันตุกะ ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานของตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อย ปลอดภัยของประชาชนหรือปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ช่วยเหลือพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย               จากการศึกษาของผู้เขียน...เห็นว่า เหตุวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อต้นปี พ.ศ. 2540 อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดจบขององค์กรที่มีการ "บริหารงานแบบราชการ" ดังที่ทราบ ลักษณะองค์กร จะมีโครงสร้างแบบสูง (Tall Organization) และมีการบริหารงานที่ยึดรายละเอียดแต่ละขึ้นตอนเป็นเป้าหมายของงาน ดังนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของระบบราชการ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง จึงได้จัดทำ "แผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ" พ.ศ.2550-2554 โดยมี "หลักการและเหตุผล" กล่าวคือ ได้ทำ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารและพัฒนาประเทศ ทั้งยังให้ความสำคัญในการพัฒนา "คน" ในสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และมีปรัชญาการพัฒนาที่สำคัญ คือ "จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนาการต้องเตรียมประชาชน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ จะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาตัวเราก่อน ผ่อนปรนสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม น้อมนำสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตคือ...เป้าหมายสูงสุด"สำหรับเป้าหมายของการพัฒนาคน ต้องพัฒนาทั้ง "ตำรวจและครอบครัว" เพื่อให้มีอุดมการณ์แห่งชีวิต และมีรูปแบบวิถีชีวิตที่ดีงาม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยมีเป้าประสงค์สูงสุด คือ ความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ความสงบสุขของสังคมและชุมชน และประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนข้อ 2                ปัจจัยที่ทำให้พนักงานอยู่กับองค์กร (The 8 key Drivers of Engagement) ผู้เขียน...ขอให้ความสำคัญกับหัวข้อ โอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงาน องค์กรทุกองค์กรจะประสบผลสำเร็จ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้นั้น การใช้ทรัพยากรทางการบริหาร ซึ่งประกอบด้วย คน เงิน วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กร จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะนำความสำเร็จมาสู่องค์กร                เพราะฉะนั้น...ในมุมมองของผู้เขียน...การให้ความสำคัญกับ ความก้าวหน้าของตำรวจชั้นประทวน น่าจะมีผลต่อการสร้างความผูกพันกับองค์กรและทำให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนมีความรู้สึกพอใจและอยากอยู่กับองค์กร กล่าวคือ การเลื่อนระดับของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่มีความรู้ความสามารถในปัจจุบันมีข้าราชการตำรวจชั้นประทวนจำนวนมากที่ศึกษาต่อจนมีคุณวุฒิสูงขึ้นในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี ประกอบกับข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่มีวุฒิดังกล่าวมีประสบการณ์ และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่สูง โดยมีคุณสมบัติทัดเทียมกับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร เนื่องจากได้มีการปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานาน แต่ระบบการเลื่อนระดับของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ดังกล่าวกระทำโดยการสอบแข่งขันที่มีปริมาณอัตราที่เปิดสอบน้อยและไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนทำให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน

 

 

สุภานุช   นุพงค์  รหัส  5003810022 เลขที่  22  รปม. ๔  สวนสุนันทาฯ

สวัสดีค่ะ  อ. พจนารถ  ซีบังเกิด (สุดสวย สดใส ไร้ที่ติ)

1.  การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กร

  

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)   เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2497 โดยแปลงสภาพมาจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ทีโอที นับเป็นองค์กรที่วางรากฐานระบบสื่อสารโทรคมนาคมไทยมาเป็นระยะเวลากว่า 53 ปี ด้วยประสบการณ์อันยาวนาน ทีโอทีพร้อมให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบครบวงจรตอบสนองความต้องการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด วิสัยทัศน์    มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่สนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าและสาธารณชนอย่างใกล้ชิดทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม         พันธกิจ   ให้บริการโทรคมนาคมด้วยนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ความมั่นใจด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อความมั่นคงของชาติ ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารรวมถึงบริการสาธารณะต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม จุดเด่นการดำ เนินงาน*     มีกำไรติดต่อกันเป็นปีที่ 49*     เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักในด้านระบบโทรศัพท์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการประชุม APEC 2003*     จัดตั้งร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ (Internet Cafe) เพื่อเป็นมาตรฐานของธุรกิจบริการร้านอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมสำ หรับเยาวชน*     เป็นผู้ให้บริการ Clean Net ราคาประหยัด*     เป็นผู้เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงราคาประหยัดสำ หรับผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ต*     ส่งมอบความสะดวกสบายแก่ลูกค้าด้วยบริการใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบ รวม 6 บริการ คือบริการเลขหมายเดียวทั่วไทย (One Number 1800) บริการทายผลกีฬาหรือเกมส์ต่างๆ (Vote Now) บริการเลขหมายพิเศษ (Follow Me) บริการรับฝากข้อความ (I-Box 1278)บริการแสดงเลขหมายเรียกเข้า (Caller ID) และบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (Wi-FiFlexinet) นอกจากนี้ยังดำ เนินการเพิ่มบริการเพื่อให้บริการช่วงต้นปี 2547 อีก 3 บริการ คือบริการสอบถามข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (1111) บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Certificate Authority) และบริการส่งข้อความสั้น (SMS) บนโครงข่ายโทรศัพท์ประจำที่*     ใช้วิธีการประมูลราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) เพื่อความโปร่งใส รวดเร็ว และประหยัดงบประมาณ*     ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยเน้นการแบ่งเป็นกลุ่มธุรกิจและการบริการแบบครบวงจรเพื่อประโยชน์ของลูกค้า (Customer Solution)*     กำหนดอุดมการณ์หลัก (Core Ideology) และวิถีปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศของบริษัท (TOT Way)รวมทั้งทำ ความเข้าใจกับพนักงานทุกคน เพื่อปรับแนวคิดและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง*     ทำความเข้าใจและเผยแพร่ จริยธรรมและจรรยาบรรณ แก่ผู้บริหารและพนักงานทุกคน เพื่อเป็นกรอบในการบริหารงานองค์กรให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และเป็นธรรม*     ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสภาวิจัยแห่งชาติ ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 โดยในปีนี้ได้รางวัลชมเชยในเรื่องอุปกรณ์ป้องกันโทรศัพท์และเครื่องปลายทางอื่นๆจากฟ้าผ่า ไฟฟ้าแรงสูงเหนี่ยวนำ/กระโชกเข้ามาทางคู่สายโทรศัพท์ กิจกรรมเพื่อสังคม*    สนับสนุนโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และได้รับรางวัลชนะเลิศแปลงปลูกป่าขนาด 3,000 ไร่ติดต่อกันเป็นปีที่ 2   *    สนับสนุนทุนการศึกษาและการวิจัยของนักเรียน นักศึกษา และประชาชน   *    สนับสนุนการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ *    สนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนในถิ่นทุรกันดาร   *    ส่งเสริมสนับสนุนการให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา โดยติดตั้งโทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 455 แห่งทั่วประเทศ      *    ฝึกอบรมการใช้อินเทอร์เน็ตแก่นักเรียน ครู และสมาชิก อบต.*    สนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนทั่วประเทศ*    พัฒนาและเปิดใช้งานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตรสำ หรับคนตาบอด*    สนับสนุนการกีฬาของเยาวชน คนพิการ และประชาชนทั่วไป*    สนับสนุนการรณรงค์ต้านความพิการในชนบท*    สนับสนุนการต้านภัยยาเสพติด*    สนับสนุนกิจการของสภากาชาดไทย*    สนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์แก่โรงพยาบาลของรัฐ*    สนับสนุนการศาสนา*    สนับสนุนกิจกรรมของหน่วยราชการ*    สนับสนุนการดูแลและคุ้มครองสัตว์ 2. การผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน   เมื่อใดที่ งาน ทำให้พนักงานได้ใช้จิตใจของพวกเขา ทำให้พวกเขาต้องขวนขวายหาทักษะความรู้ใหม่ ๆ และต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้พวกเขาได้เติบโตก้าวหน้า เหล่านี้จะทำให้พนักงานกระตือรือร้น องค์กรที่น่าอยู่จะมีการเตรียมความต้องการขั้นพื้นฐานของพนักงานไว้ด้วยการให้โอกาสในการเรียนรู้ แม้ว่าในส่วนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตซึ่งอาจจะไม่ได้ถือกันว่าเป็นงานใช้ความรู้ แต่องค์กรที่มีความสร้างสรรค์ก็จะออกแบบงานให้มีความสำคัญเพื่อให้พนักงานที่มีประสิทธิภาพได้ดึงเอากำลังสมองออกมาใช้พอ ๆ กับกำลังกาย ซึ่งองค์กรบางแห่งสามารถทำให้พนักงานในสายงานลักษณะนี้ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและร่วมในกระบวนการพัฒนาได้ แต่สำหรับฝ่ายบริหารขององค์กรที่ดึงดูดพนักงานเอาไว้ไม่ได้มักจะเห็นว่า การฝึกอบรมพนักงานเป็นเรื่องที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก และพวกเขาก็ไม่มีเงินและเวลาสำหรับสิ่งเหล่านั้น ขณะที่ฝ่ายบริหารขององค์กรที่น่าอยู่จะเห็นว่า การให้โอกาสในการเรียนรู้แก่พนักงานนั้นเป็นเรื่องของการลงทุนเพื่อดึงดูด รักษา และขยายกำลังการทำงานในองค์กรให้อยู่ในระดับสูงได้เป็นอย่างดีองค์กรไม่เพียงจะจัดเตรียมการฝึกอบรมพนักงานอย่างเป็นทางการไว้เท่านั้น แต่ยังมีการฝึกอบรมที่อยู่นอกเหนือนั้นอีก รวมไปถึงจะมอบหมายโปรเจ็กต์งานและหน้าที่รับผิดชอบที่จะช่วยสร้างความรู้ให้พนักงานมากขึ้น

นางสาวนงนุช บัวขำ รหัส 50038010012
เสนออาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

1.       Mission Vision ของหน่วยงานคืออะไร

ชื่อหน่วยงาน : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครVision วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรหลักด้านแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อชี้นำและผลักดันนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ

หน้าที่หลักของสำนัก : กำหนดนโยบาย เป้าหมายการจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผล การดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ พัฒนาและให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร

งานที่เกี่ยวข้องกับ Vision : การเสนอแนะนโยบายและกำหนดแผนการพัฒนาด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และระบบเครือข่าย การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน ตลอดจนติดตามและประเมินผลแผนการบริหารระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์ข้อมูลในการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานคร ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาใช้พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารและเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารในระบบเครือข่ายและเป็นศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร เพื่อให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในกรุงเทพมหานคร 2.       ให้เลือก The 8 Key Driver of Engagement ข้อ 7 Employee development : การพัฒนาศักยภาพของพนักงานคือ การจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งแบบป้องกันและแก้ไข มุ่งเน้นการฝึกอบรม พัฒนาทักษะที่สำคัญสำหรับงานในปัจจุบัน และอนาคต เน้นการเพิ่มพูน ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ปรับปรุงทักษะการเรียนรู้ การฝึกอบรม พัฒนา ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ เช่น ต้องให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิค เครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นในการลดต้นทุน และเพิ่ม Productivities เป็นต้น

จุดเด่นของการพัฒนาศักยภาพ คือ

(1)    มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ขององค์กรและการวางแผนการบริหารงานบุคคล เนื่องจากการพัฒนาศักยภาพเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปฏิบัติตามแผนขององค์กรที่วางไว้ให้บรรลุผล

(2)    การมุ่งไปสู่อนาคต โดยการพัฒนาศักยภาพเป็นเครื่องมือหรือแผนการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานในอนาคต

(3)    เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรจากการพัฒนาในเชิงรับมาเป็นเชิงรุก ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรทุ่มเทอย่างจริงจังให้กับการพัฒนาและสามารถเก็บรักษาคนที่มีคุณภาพไว้ได้

การพัฒนาศักยภาพมีความสำคัญและประโยชน์หลายประการ เพราะบุคลากรในองค์กรจะมีระบบความคิดมากขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาให้ตนเองประสบความสำเร็จในระยะยาว องค์กรสามารถสร้างสมรรถนะที่ต้องการเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จในอนาคตและสามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น

 

ดวงตา ม่วงเกตุยา รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

เรียนอาจารย์ พจนารถ  ซีบังเกิด

1.  การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กรวิสัยทัศน์  เป็นองค์กรที่มองการณ์ไกล  พนักงานมีความสามารถสูงและอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น พันธกิจ  มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง มีเสถียรภาพเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การพัฒนาตลาดการเงิน       ธปท. มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ตลาดการเงินมีมาตรฐานการดำเนินงานที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมตลาด ทั้งนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในตลาดการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันในตลาด ดังกล่าว ตลาดการเงินที่มีการพัฒนาเป็นอย่างดีมีส่วนช่วยให้การดำเนินการในตลาดการเงินของ ธปท. มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยจะช่วยส่งเสริมการใช้เครื่องมือทางการเงินของ ธปท. เพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน นอกจากนี้ ตลาดการเงินที่มีการพัฒนาและการแข่งขันสูงจะส่งผลให้กลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางอัตราดอกเบี้ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. การผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์                ผู้บริหารและหัวหน้างานจะรู้และตระหนักดีว่า การปฏิบัติตัว การตอบโต้ และการติดต่อสื่อสารในการบริหารงานนั้น เป็นสิ่งที่สื่อให้พนักงานเห็นว่า พวกเขามีความศรัทธาและความซื่อสัตย์ต่อพนักงานหรือไม่ และพวกเขาก็ยังทราบดีว่า สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แสดงออกให้เห็นถึงความศรัทธาและความซื่อสัตย์ต่อกัน อย่างการให้อำนาจแก่พนักงานเพื่อตัดสินใจเรื่องเล็กน้อยโดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง หรือการใช้คำพูดว่า "คุณช่วย..." แทนที่จะพูดว่า "คุณควร/ต้อง..." กรณีที่คุณต้องการมอบหมายงานให้พวกเขาทำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความแตกต่างในความรู้สึกที่พนักงานจะมีต่อผู้บริหารหรือหัวหน้างาน                     องค์กรบางแห่ง หัวหน้างานจะขอความเห็นจากพนักงานเมื่อมีปัญหาหรืออยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากว่า "พวกคุณคิดว่าเราควรจะทำอย่างไรดีในสถานการณ์เช่นนี้" ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้ความศรัทธาทั้งในแง่ส่วนตัวและการงาน และนี่ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัทว่าเป็นองค์กรที่น่าทำงาน นอกจากนี้คุณควรมีการตรวจสอบว่าพนักงานรู้สึกอย่างไรต่อองค์กรและการบริหารงาน จากนั้นก็ตอบโต้ข้อมูลเหล่านั้นด้วยการแสดงความเคารพกัน    

 

พระศุภสิน ศักศรีวัน
เสนอ..อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด
..
ถ้าจะบอกว่า ใจ (Heart ) คือบ่อเกิดแห่งพลังและนำมาซึ่งผลกระทบ (effect) ต่าง ๆ คุณจะเชื่อไหม..
     
สำหรับข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นความจริงทีเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งความสุขและทุกข์ การประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนเกิดจากใจเป็นตัวกำหนดทิศทาง เฉกเช่นวันนี้ (เสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551) การเรียนรู้ที่สนุกสนานกับอาจารย์ที่มีภาวะด้านอารมณ์ที่บ่มเพาะและฝึกหัดมาอย่างดี ทำให้เกิด ฉันทะและความศรัทธาต่อตัวอาจารย์ ทำให้อยากเรียนและเกิดความสนุกสนานกับการเรียน ภาพแรกที่เจอคือผู้หญิงคนหนึ่ง แต่งตัวสบาย ๆ เหมาะสมซึ่งไม่รู้หรอกว่าเป็นใครมาจากไหน รู้แต่ว่าเป็นอาจารย์ที่จะสอนในวันนี้ เพราะยังปรึกษากู (google) เข้ามาทักทายและถามสารทุกข์สุกดิบ คิดในใจ อืม..ดูดีนะ อายุคงไม่เกิน 35 ทำให้เกิดความอบอุ่นและเป็นกันเอง ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นก็จะอิงให้เห็นว่าสัมพันธ์กับใจ ทำให้เรามีพลังต่อการเรียนรู้ ทำใจและสมองให้เปรียบเสมือนแก้วเปล่าที่พร้อมจะรองรับน้ำ และเป็นประเด็นที่จะนำมาสู่การตอบคำถามในงานที่ได้รับมอบหมายของ กุญแจ 8 ดอก ที่เป็นตัวเปิดเข้าไปสู่การสร้างความผูกพันกับองค์กรเพื่อการเจริญเติบโตและยั่งยืน ซึ่งกุญแจที่ข้าพเจ้าเลือกก็คือ กุญแจดอกที่ 1 การสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ (Trust and integrity) ซึ่งข้าพเจ้ามองว่าการกระทำใด ๆ ให้สมบูรณ์และดีได้มันต้องเกิดออกมาจากใจ
     
การที่จะสร้างศรัทธาและความซื่อสัตย์ให้เกิดกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ต้องเข้าใจ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าขอยกเอาคุณสมบัติและหลักธรรมทางพุทธศาสนา แยกเป็นประเด็นข้อ ๆ ดังนี้
     
ก. ต้องเป็นผู้ใหญ่ หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาบางคนอาจมีอายุน้อยแต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่โดยตำแหน่ง ดังนั้นต้องมีคุณธรรมของผู้ใหญ่ 4 ประการ คือ
         1.
มีความรัก (เมตตา) ปรารถนาจะให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับประโยชน์และประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน
         2.
มีความสงสาร (กรุณา) ปรารถนาจะให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ใฝ่ใจในการกำจัดทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ผู้ใต้บังคับอยู่ตลอดเวลา
         3.
มีความเบิกบานยินดี (มุทิตา) เมื่อผู้ใกล้ชิดหรือลูกน้องอยู่ดีมีสุขหรือเจริญก้าวหน้า ก็พลอยยินดีเบิกบานใจ พร้อมที่จะส่งเสริมให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น
         4.
มีใจเป็นกลาง (อุเบกขา) มองเหตุการณ์และปรากฏการณ์ทุกอย่างตามความเป็นจริง มีจิตใจเที่ยงตรงมั่นคง เมื่อมีคดีที่จะต้องวินิจฉัยก็วินิจฉัยตามหลักการ เหตุผล และเที่ยงธรรม
     
ข. ปราศจากความลำเอียง เป็นคนซื่อตรง ไม่หวั่นไหว เอนเอียงด้วยการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความลำเอียง เรียกว่า อคติ มี 4 ประการดังนี้
         1.
ลำเอียงเพราะชอบ (ฉันทาคติ) เช่น คนที่ตอนชอบหรือรักกระทำผิด ก็ไม่ลงโทษตามโทษานุโทษ
         2.
ลำเอียงเพราะชัง (โทสาคติ) เช่น คนที่ตนเกลียดกระทำถูกก็ไม่พอใจ ถ้าทำผิดก็ซ้ำเติม
         3.
ลำเอียงเพราะเขลา (โมหาคติ) เช่น คนทำผิดมาฟ้องบอกว่าคนอื่นเป็นผู้กระทำผิด ยังไม่ทันสอบสวนก็เชื่อตามฟ้องอย่างไร้เหตุผล ลงโทษคนถูกฟ้อง คนผิดเลยกลายเป็นถูก คนถูกกลายเป็นคนผิด
         4.
ลำเอียงเพราะกลัว เช่น กลัวอิทธิพล กลัวถูกตำหนิ กลัวถูกย้าย กลัวไปเสียทุกอย่าง จนไม่กล้าทำอะไร
     
ค. มีราชธรรม คือมีคุณธรรมของพระราชา แต่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีหน้าที่ในการบริหาร เรียกว่า ราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรม มีอยู่ 10 ข้อคือ
         1.
ให้ปัน (ทานํ) คือให้ทั้งวัตถุและคำแนะนำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เอาใจใส่การบริการ อำนวยความสะดวกสบาย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนประสบภัยพิบัติต่างๆ
         2.
ประพฤติดีงาม (สีลํ) คือรักษากายวาจาให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมและกฎหมาย รักษาเกียรติภูมิของตน ไม่ประพฤติตนเป็นที่ดูถูกดูแคลนของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
         3.
เสียสละ (ปริจฺจาคํ) คือเสียสละความสุขสำราญตลอดจนกระทั่งชีวิตของตนเอง เพื่อประโยชน์ของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
         4.
ซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือปฏิบัติภาระหน้าที่ด้วยความซื่อตรง ไร้มายา จริงใจ ไม่หลอกลวงเล่นลิ้นกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
         5.
อ่อนโยน (มทฺทวํ) คือมีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่ง หยาบคาย มีความสง่างามที่เกิดจากท่วงทีสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ไม่ถือตัว
         6.
เพียรเผากิเลส (ตปํ) คือพยายามเผาผลาญตัณหามิให้เข้ามาครอบงำจิต ไม่หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญและการปรนเปรอ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มุ่งมั่นแต่จะทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์
         7.
ไม่วู่วามโกรธง่าย (อกฺโกธํ) คือไม่เกรี้ยวกราด เจ้าอารมณ์ ไม่กระทำการใด ๆ ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ แต่จะทำด้วยจิตอันสุขุม เยือกเย็น รอบคอบ
         8.
ไม่เบียดเบียน (อวิหึสา) คือไม่หลงอำนาจเที่ยวบีบคั้นเอารัดเอาเปรียบลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษ หรือยัดเยียดข้อหาให้แก่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความอาฆาตเกลียดชัง
         9.
มานะอดทน (ขนฺติ) คืออดทนต่อการงาน ถึงจะลำบากตรากตรำเพียงใดก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกเยาะเย้ยด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถางเพียงใดก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ละทิ้งหน้าที่ที่รับผิดชอบ
         10.
ไม่คลาดธรรม (อวิโรธนํ) คือประพฤติตนยึดมั่นในธรรมทั้งในด้านความยุติธรรมก็ดี และในด้านนิติธรรมคือระเบียบแบบแผนก็ดี ตลอดจนธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียงเพราะถ้อยคำของผู้อื่น หรือด้วยอามิสสินจ้างใด ๆ
     
ถ้าทำได้ดังนี้ ก็จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ ศรัทธา ให้เกิดขึ้นและจะเป็น กุญแจดอกหนึ่งจาก 8 ดอก ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนได้
-----------------------------------------

ค้นหา Vision และ Mission
     
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปรัชญามหาวิทยาลัย (Philosophy)
ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา
"Academic Excellence based on Buddhism"


ปณิธาน
(Aspiration)
     
มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม  ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ  วิสัยทัศน์ (Vision Statements)  
            (1)
เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ
            (2)
เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมวลชนที่ผลิตบัณฑิตตามแนวพระพุทธศาสนาและบุคลากรด้านต่าง ๆ ที่มีความรู้ความสามารถ มีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ
            (3)
เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนาของโลกที่สามารถชี้นำและยุติความขัดแย้งในสังคมโดยใช้หลักพุทธธรรม
            (4)
เป็นสถาบันที่เน้นทำวิจัยพัฒนาตามกรอบแห่งศีลธรรม ส่งเสริมงานวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาและนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 พันธกิจ (Mission Statements)   
             (1)
ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนา ให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย และกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น
             (2)
ให้บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา
             (3)
วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย
             (4)
รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม
 
วัตถุประสงค์หลัก (Objectives)  
          (1)
ผลิตบัณฑิตพระภิกษุ สามเณร ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ
          (2)
ผลิตบัณฑิตคฤหัสถ์ทุกคน ให้เป็นคนดี คือ คิดดี พูดดี และทำดี ตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา
          (3)
บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นประจักษ์ชัดเจน ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
          (4)
ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งทางสังคมศาสตร์ และมีคุณภาพทั้งด้านความรู้และความประพฤติ
          (5)
ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา การเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท
          (6)
ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งสมานฉันท์ ความเอื้ออาทรต่อกันและความสามัคคี โดยใช้หลักสาราณียธรรมและพรหมวิหารธรรม
          (7)
สร้างระบบการบริหารองค์การให้เป็นองค์การที่มีลักษณะของความเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนาและมีมาตรฐานระดับสากล 

นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
น.ส.วิวิตรา จุลกรานต์ รปม. รุ่น 4 เรียน อ. พจนารถ ซีบังเกิด สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ วิสัยทัศน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ปี 2550 – 2551)  สร้างความมั่นคงจากทรัพย์สินในความรับผิดชอบอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ  ช่วยเหลือสังคมอย่างเหมาะสม  พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในความรับผิดชอบ  ส่งเสริมให้ผู้เช่ามีความมั่นคงในชีวิตอย่างยั่งยืน  ส่งเสริมองค์กรที่ร่วมลงทุนให้บริหารกิจการแบบมีธรรมาภิบาล  ดูแลและส่งเสริมพนักงานให้มีประสิทธิภาพ มีความสุขในการทำงานและมีชีวิตที่มั่นคง พร้อมแบ่งปันช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส วิสัยทัศน์ด้านบุคลากร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เชื่อมั่นว่า บุคลากรควรตระหนักและมุ่งมั่นที่จะประพฤติและปฏิบัติตน ให้เป็น 1. ผู้รู้ เข้าใจ ถึงบทบาทภารกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หน่วยงานที่ตนสังกัด และหน้าที่ของตนเอง ได้อย่างถูกต้องสามารถเผยแพร่ให้ผู้อื่นทราบได้อย่างชัดเจน 2. ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรมในการครองชีวิตทั้งส่วนตัวและการทำงาน พร้อมช่วยเหลือ แบ่งปัน เอื้ออาทรแก่ผู้ด้อยโอกาส 3. ผู้ที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน มีความมั่นคงบนรากฐานของความพอเพียง โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะดูแล ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากร ได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและผลตอบแทนที่ดีอย่างเหมาะสมกับการครองชีพ 4. ผู้ใฝ่หาศาสตร์และความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของตนอยู่เสมอ “ บุคลากรเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน และองค์กรได้อย่างถูกต้อง ทั้งเป็นผู้มีจริยธรรม สามารถครองชีวิตได้อย่างพอเพียง และมั่นคง เอื้ออาทรแก่สังคมและผู้ด้อยโอกาส มีความใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ” ภารกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 , พ.ศ. 2484 และ พ.ศ. 2491 ซึ่งบัญญัติให้มีหน้าที่ดูแล รักษา และจัดหาผลประโยชน์ ในทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตลอดจนมีหน้าที่จัดงบประมาณเพื่อสนันสนุนพระราชกรณียกิจต่าง ๆ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้อ 2. Pride about the company “ความภูมิใจในหน่วยงานของตนเอง” “ความภูมิใจในหน่วยงานของตนเอง” นี้ ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นมาก เนื่องจากในการที่ทุกคนจะทำสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือการทำงาน ทุกคนมักจะทำในสิ่งที่ตนเองรัก มีความสุข หรือมีความภาคภูมิใจ ว่าสิ่งที่ท่านกระทำนั้น มีคุณค่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นั้น ถือว่า เป็นองค์กรนิติบุคคล ที่ดูแล รักษา และจัดประโยชน์ อันเนื่องจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยมีการดำเนินการมาอย่างยาวนาน กว่า 90 ปี และด้วยองค์กรที่ทำงานในลักษณะดังกล่าว ทำให้พนักงานและลูกจ้างในสำนักงานทรัพย์สินฯ มีความรักในองค์กร และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ในส่วนลึกในจิตใจของพนักงานและลูกจ้าง นั้นยังมองว่า การที่ได้ทำงาน ในสำนักงานทรัพย์สินฯ แห่งนี้ ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจแก่ตนเอง และวงศ์ตระกูล ที่ตนเองนั้น ได้ถวายงานแก่พระองค์ท่าน ถึงแม้ว่า งานที่พนักงานและลูกจ้างปฏิบัติอยู่ จะเป็นงานที่มิได้กระทำต่อพระพักตร์ก็ตาม จากที่กล่าวข้างต้นนี้ ผู้เขียนต้องการจะแสดงให้ท่านทั้งหลายทราบว่า “ความภูมิใจ ในหน่วยงานของตนเอง” มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจาก ตัว”ความภูมิใจ” นี้เอง ถือว่า เป็นพลังขับ ที่ทำให้พนักงานและลูกจ้างในองค์กร เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และจะปฏิบัติงานโดยเต็มความสามารถ เพื่อให้องค์กรอันเป็นที่รัก และศรัทธาของตนเอง เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อไป
นาย ธนิก กัมพูศิริพันธุ์ รหัส 50038010033
เสนออาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด 1.              Mission Vision ของหน่วยงานคืออะไร คนของเรา... รวมพลังสร้างอนาคต

วิสัยทัศน์ของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) คือ ภายในปี พ.ศ. 2558 SCG จะเป็นองค์กรที่ได้รับ การยกย่องในฐานะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่น่าร่วมงานด้วย และเป็นแบบอย่างด้านบรรษีทภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในปี พ.ศ. 2558 SCG จะเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคที่มุ่งดำเนินธุรกิจ ควบคู่กับการเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า อย่างยั่งยืนให้แก่อาเซียน และชุมชนที่เข้าไปดำเนินงาน มุ่งสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ภายใต้คุณภาพการบริหารงานระดับโลก สอดคล้องกับหลักบรรษัทภิบาล และมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน ด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ จากกระบวนการดำเนินงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความเป็นเลิศ

SCG เชื่อมั่นในคุณค่าและศักยภาพของพนักงาน ซึ่งจะทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ในบรรยากาศการทำงานที่เปิดเผยโปร่งใส เปี่ยมด้วยพลังแห่งความกระตือรือล้น โดยพนักงานของเราทุกคน จะยึดมั่นและปฏิบัติตามอุดมการณ์ 4 และจรรยาบรรณของ SCG ภายในปี พ.ศ. 2558 SCG จะพัฒนาพนักงานซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม และประสบการณ์ให้มีความมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล...

คนของเรา... สู้เป้าหมายเดียวกัน

คนของเราเป็นพลังขับเคลื่อนให้ SCG ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินงานตลอดมา แม้หลายครั้งจะต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติ แต่เพราะความร่วมมือร่วมใจ ของพนักงานทุกคน เราจึงสามารถผ่านพ้นมาได้ทุกครั้ง จากนี้ไปเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคง ตามทิศทางที่ได้กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ ท่ามกลางความท้าทาย จากการแข่งขันที่รุนแรงซับซ้อนมากขึ้น และสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับ แรงสนับสนุนจากทีมงานของเรามากขึ้น

SCG จึงเสริมสร้างค่านิยม และกำหนดนโยบายการพัฒนาคนของเรา ให้เป็นหนึ่งเดียว และมุ่งสู่จุดหมายร่วมกัน เพื่อรองรับสภาวะการณ์ดังกล่าว อาทิ พัฒนาความรู้ความสามารถ เพื่อเสริมศักยภาพคนของเรา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด หรือปฏิบัติงานอยู่ในประเทศใด ให้สอดคล้องกับทิศทางการเจริญเติบโตขององค์กร นอกจากนี้ ยังสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งนวัตกรรม ที่ส่งเสริมการกล้าเปิดใจรับฟัง กล้าคิดนอกกรอบ กล้าพูดกล้าทำ กล้าเสี่ยงกล้าริเริ่ม กล้าใฝ่เรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้คนของเรา มีความพร้อมในการหมุนเวียนไปปฏิบัติงานในประเทศอื่นๆ โดยถือว่าคนของเราทุกคน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ SCG ที่ต้องได้รับการดูแล พัฒนา และมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน อย่างเท่าเทียมกัน โดยเราสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยน ความรู้ระหว่างพนักงานในหน่วยงาน และประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และเครือข่ายความเชี่ยวชาญ ที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจต่อไป
คนของเรา... เก่งและดSCG เชื่อว่าความเก่งต้องอยู่คุ่กับความดีจึงจะสามารถสร้างความเจริญเติบโตร่วมกันระหว่างองค์กร พนักงาน และสังคมรอบข้างได้อย่างยั่งยืน เราจึงเลือกเฟ้นคนที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีมาร่วมงาน คนเก่งของ SCG คืน คนที่มีความรู้ความสามารถปฏิบัติภารกิจสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ และมุ่งมั่นพัมนาทุกองค์ประกอบ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลดีขึ้นเสมอ ส่วนเรื่องความดีนั้น SCG ถือว่าเป็นคุณลักษณะพื้นฐาน ประการหนึ่งของพวกเราทุกคน ทั้งยังส่งเสริมการใช้หลักจรรยาบรรณ และหลักบรรษัทภิบาล ในการทำงานอย่างสม่ำเสมอทุกกรณี นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้พนักงาน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่พลเมืองดีที่ทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม ได้อย่างเต็มภาคภูมิไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใด รวมทั้งส่งเสริมให้คนของเรามีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้พนักงานสร้างสรรค์ โครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม SCG ภูมิใจที่คนของเราเป็นทั้งคนเก่งและคนดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ เราเจริญก้าวหน้ามาจนเกือบ 100 ปี มีความมั่นคงเป็นที่ยกย่องเชื่อถือ ในวงการต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติคนของเรา... เติบโตไปพร้อมกันการพัฒนาคนของเราเป็นนโยบายที่ SCG ให้ความสำคัญมาตลอดโดยมุ่งเสริม ทั้งความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการทำงาน และความรู้ที่จำเป็น ต่อการเพิ่มมุมมองด้านต่างๆ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ SCG ยังเชื่อว่าคุณภาพชีวิตที่ดี จะนำมาซึ่งผลงานที่มีประสิทธิภาพ จึงให้ความสำคัญกับปัจจัย ที่ทำให้คนของเรามีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น อาทิ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะดวก สร้างความสุข และทันสมัย รณรงค์ความปลอดภัยในการทำงาน สนับสนุนกิจกรรมตามความสนใจเฉพาะด้าน และกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวของพนักงาน ดูแลสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยพัมนาสิ่งเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นเสมอ ในทุกประเทศให้อยู่ในระดับเดียวกับองค์กรชั้นนำ เพื่อจูงใจให้คนเก่งและคนดีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเราSCG เชื่อมั่นว่าการพัฒนาคนให้เข้มแข็ง ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถ ดูแลคุณภาพชีวิต และสร้างความรักผูกพันกับองค์กร จะส่งเสริมให้คนของเราเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา SCG ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งคนและองค์กรเติบโตไปพร้อมกันอย่างมั่นคง และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นและสังคมในระยะยาว  2.       ให้เลือก The 8 Key Driver of Engagement ข้อ 7 Employee development : การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน คือ การจัดให้มีการพัฒนาพนักงานละบุคลากรทั้งแบบป้องกันและแก้ไข มุ่งเน้นการพัฒนาฝึกอบรม พัฒนาทักษะที่สำคัญ ๆ สำหรับงานในปัจจุบัน และอนาคต เน้นการเพิ่มพูน ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ปรับปรุงทักษะการเรียนรู้ การฝึกอบรม พัฒนา ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และความรู้ เช่น ต้องให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิค เครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นในการลดต้นทุน และเพิ่ม Productivities เป็นต้น  ความหมายสำคัญของจุดเด่นของการพัฒนาศักยภาพ คือ  (1)    มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ขององค์กรและการวางแผนการบริหารงานบุคคล เนื่องจากการพัฒนาศักยภาพเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปฏิบัติตามแผนขององค์กรที่วางไว้ให้บรรลุผล(2)    การมุ่งไปสู่อนาคต โดยการพัฒนาศักยภาพเป็นเครื่องมือหรือแผนการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานในอนาคต(3)    เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรจากการพัฒนาในเชิงรับมาเป็นเชิงรุก ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรทุ่มเทอย่างจริงจังให้กับการพัฒนาและสามารถเก็บรักษาคนที่มีคุณภาพไว้ได้ การพัฒนาศักยภาพมีความสำคัญและประโยชน์หลายประการ เหตุเพราะบุคลากรในองค์กรจะมีระบบความคิดมากขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาให้ตนเองให้ประสบความสำเร็จในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงองค์กรสามารถสร้างสมรรถนะที่ต้องการเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จในอนาคตและสามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมของสังคม ทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นเพื่อเป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภายในองค์กรนั้นเอง
นางสาวสถิภรณ์ คำพานิช
1. Work force Aligmentโดย นางสาวสถิภรณ์  คำพานิช นักศึกษา รป.ม.รุ่นที่ 4                                สืบเนื่องจากกรมราชทัณฑ์เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีบุคลากรที่ปฏิบัติงาน มากกว่า 10,000 คน  มีผู้ต้องขัง จำนวนประมาณ 160,000 คน  และมีเรือนจำและทัณฑสถานสำหรับควบคุมผู้ต้องขัง มากกว่า 100 แห่ง   จากการที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่  จึงจำเป็นต้องมีทิศทางให้ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงาน มีความรู้ความเข้าใจเป็นไปในแนวทางปฏิบัติเดียวกัน  จึงได้กำหนดให้มี1. วิสัยทัศน์  (Vision)  เป็นองค์กรชั้นนำของอาเซียนในการควบคุม แก้ไข และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง  เพื่อคืนคนดี มีคุณค่าสู่สังคม2. พันธกิจ  (Mission)    2.1ควบคุมผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 บำบัด ฟื้นฟู และแก้ไขพฤตินิสัยของผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ3. ค่านิยมร่วม  ((Share Value) 3.1 มีความเสียสละและทุ่มเทในการทำงาน ( อุทิศตนให้กับงาน , ทำงานเพื่อส่วนรวม ) 3.2 มีวินัย ( ตรงต่อเวลา , อยู่ในกฎระเบียบ )3.3 ใฝ่หาความรู้ (ฝึกอบรมสม่ำเสมอ, ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น)3.4 มีความซื่อสัตย์ (ซื่อสัตย์ต่อประชาชน , ซื่อสัตย์ต่อองค์กร , ซื่อสัตย์ต่อตนเอง)3.5 รักองค์กร ( สร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร , มีความสามัคคี , ยอมรับกติกาการอยู่ร่วมกัน , สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน)3.6 เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างมีมนุษยธรรม , เครารพสิทธิขั้นพื้นฐาน , ให้ความเสมอภาค)3.7 มีคุณธรรม (มีความรักและเมตตาต่อเพื่อมนุษย์)                จากข้อความดังกล่าวข้างต้น ภารกิจของกรมราชทัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ภาคส่วนใหญ่ ๆ คือ ภาควิชาการ (ผู้ปฏิบัติงานสำนัก /กอง)  ภาควิชการและภาคปฏิบัติ (ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำและทัณฑสถาน)   ดังนั้น  เมื่อครั้งปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับแดน 1 เรือนจำกลางนครปฐม  และปัจจุบันหน้าที่หัวหน้าฝ่ายเงินเดือนและบำเหน็จความชอบ   ก็พบว่า  ตัวผู้ศึกษาและเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะทำงานอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ก็ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมร่วม  ทำให้งานมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลที่ดี อีกทั้งเมื่อผู้บริหารจะกำหนดทิศทางไปข้างหน้าต่อไป เพื่อพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และยังพัฒนาองค์กรในด้านอื่นๆ อีก  ทั้งนี้  ก็เพราะว่าโลกเราเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องบริหารงานให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง  มิฉะนั้นองค์กรจะไม่สามารถอยู่รอดได้  หรือถ้าหากอยู่รอดได้ก็ไม่มั่นคง  และเติบโตเป็นองค์กรที่สง่างามได้--------------------------------------2. Pride about the partment of correction                                  สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติลักษณะเรือนจำรัตนโกสินทร์ศก 120 เพื่อเป็นกฎหมายหลักในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ทรงมีพระราชดำริว่า การคุกการตะรางเป็นความสำคัญของประเทศ  สมควรจะได้ก่อสร้างสถานที่และให้มีระเบียบเป็นปึกแผ่น                                   ในความเก่าแก่ขององค์กรที่มีเข็มทิศในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง  ตลอดจนในยุคปัจจุบันก็ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และค่านิยมร่วม  เพื่อให้ข้าราชการในองค์กรได้ปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน                                  ในความรู้สึกของคนทำงานคุกงานตะราง  รู้สึกว่างานที่ทำเป็นงานที่มีคุณค่า  เพราะเป็นงานควบคุมผู้กระทำผิดออกจากสังคมชั่วคราว  หากไม่มีพวกเราคนส่วนใหญ่ในสังคมจะลำบาก  เพราะเกรงกลัวผู้กระทำผิดจะทำร้ายหรือขโมยทรัพย์เกิดความไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิตอีกทั้ง ผู้นำองค์กรก็ให้ความสำคัญกับข้าราชการทุกคนในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน โดยสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีต่างๆ ในการควบคุมผู้ต้องขัง  หรือ การสนับสนุนให้มีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ  ที่ได้รับนอกเหนือจากเงินเดือน ,  สนับสนุนให้เจริญเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  ทั้งนี้  การทำงานควบคุมและการแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง  เป็นงานที่ปฏิบัติแต่เพียงลำพังไม่ได้ ต้องมีการทำงานเป็นทีม                                 โดยสรุปแล้ว ก่อนที่จะมาทำงานที่นี่จะรู้สึกกลัว  แต่เมื่อมาสัมผัสกับงานอย่างแท้จริงแล้ว  ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดเป็นงานที่ท้าท้ายความสามารถอย่างมาก  และสามารถบอกกับใครๆ ได้ว่า  กรมราชทัณฑ์  เป็นหน่วยงานที่ทันสมัย มีการบริหารงานร่วมระหว่างประเทศ คือการประชุมการราชทัณฑ์ระหว่างประเทศ  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่แท้จริง  ในด้านวิชาการบริหารงานบุคคล ก็เข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่องกับสำนักงาน ก.พ.ในการทำ H .R.                                ดังนั้น พวกเราชาวราชทัณฑ์ทุกคน จึงรู้สึกและภาคภูมิใจในองค์กรเป็นอย่างมาก พวกเรารับรู้ได้จากผลการปฏิบัติงาน  หรือ พูดกันแบบเล่นๆ ว่า ใครว่ากรมราชทัณฑ์ไม่ดีเราจะสึกโกธร  เพราะถ้าเราโกธรแสดว่าเรารักและภาคภูมิใจองค์กรเรามาก------------------------------ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท