สวนสุนันทา MPA รุ่น 4


                 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้รับเชิญสอนวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์แก่นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตร ...
มีต่อ
นางสาวลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่น 4
รายงาน เสนออาจารย์ พจนารถ  ซีบังเกิดข้อ 1สถานที่ทำงาน ที่ปฏิบัติอยู่เป็นโรงพยาบาลของทางราชการบริหารงานตามนโยบายของทางรัฐบาลมาตามสายงานกระทรวงสาธารณสุขมีสถานภาพเป็นกองเป็นโรงพยาบาลรับผู้ป่วยยอด 500 เตียงมีแพทย์เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลแต่ละแผนกมีหัวหน้าแผนกตามลำดับชั้น Vision  ของโรงพยาบาล เป็นศูนย์กลางโรคเด็กแห่งประเทศไทย   Mission  เป็นสถานที่ผลิตถ่ายทอดทางวิชาการและให้บริการด้านโรคเด็กแบบองค์รวม  Value เน้นงานคุณภาพพัฒนาระบบ เคารพในสิทธิพิชิตเป้าหมายผสานความสุขข้อ 2จะทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่มีความผูกพันองค์กรของตนเอง   โดยสร้างความศรัทธา การจะมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาได้ต้องมาตามหลักความเชื่อมีความศรัทธาในสิ่งที่เราจะทำอย่างเรื่องเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีจุดหมายว่าเน้นงานคุณภาพพัฒนาระบบทำเพื่อให้ผู้รับบริการดีที่สุดถูกต้องและได้รับความพึงพอใจเจ้าหน้าที่ทุกระดับมีคุณภาพมีคุณธรรมมีความสามารถผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้ามีความศรัทธาผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเชื่อว่าสามารถรับผิดชอบงานที่ปฏิบัติได้ดีเช่นสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้พ้นภาวะวิกฤติได้    ต้องมีความซื่อสัตย์ทั้งผู้ปฏิบัติและผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีพยาบาลช่วยชีวิตผู้ป่วยต้องซื่อสัตย์ต่อการให้ยา  ผู้บังคับบัญชาต้องมอบหมายงานให้ตรและเหมาะสมกับพนักงานเช่นพยาบาลให้ดูแลผู้ป่วย  ผู้ที่จบการเงินก็ควรให้รับผิดชอบการเงินของโรงพยาบาลด้วยความสมัครใจของบุคลากรเอง  โอกาสในการเจริญเติบโตของเจ้าหน้าที่ผู้บริหารจะเปิดโอกาสให้ทุกคนไปศึกษาต่อได้สามารถนำมาปรับวุฒิในหน่วยงานได้เพื่อเลื่อนระดับสายงานเช่นพยาบาลระดับต้นสามารถลาศึกษาต่อในระดับสูงได้
พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด รปม.รุ่น 4
เรียน   อาจารย์ พจนารถ  ซีบังเกิด  และเพื่อนๆ รปม.รุ่นที่ 4  ทุกท่านวิสัยทัศน์,  พันธกิจ,  ค่านิยม   ในหน่วยงาน  มีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร?       ผู้ศึกษาทำงานอยู่ที่ ฝ่ายการเงิน กองคลังยุทโธปกรณ์สรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก  ลักษณะงานเกี่ยวกับการเงินการบัญชี มีหัวหน้าเหล่าสายวิทยาการของเหล่าทหารการเงิน คือ  กรมการเงินทหารบก  วิสัยทัศน์ กรมการเงินทหารบก  ได้กำหนดไว้ว่า  ระบบการบริหารและบริการที่มีมาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย  โปร่งใส  ตรวจสอบได้  เป็นที่พึงพอใจของผู้รับและผู้ให้บริการ  บุคลากรมีศักยภาพ  คุณธรรม  จริยธรรม  และมีชีวิตการทำงานที่เป็นสุข   พันธกิจของงาน :-  พันธกิจด้านการเบิกจ่ายเงิน, พันธกิจด้านการบัญชี, พันธกิจด้านการรับ-จ่ายเงิน     พันธกิจในงานที่รับผิดชอบคือ  พันธกิจด้านการบัญชี   ระบบการบริหารและบริการที่มีมาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย  : อนาคตการจัดทำบัญชีและรายงานการเงิน  หน่วยเบิกจ่ายจะบันทึกรายการเข้าสู่ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของกองทัพบก  ระบบจะบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องและจัดทำรายงานการเงิน รวมทั้งงบการเงิน ตามระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างโดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ลดภาระการบันทึกบัญชี ลดภาระการจัดทำรายงานการเงิน งบการเงินหรือรายงานการเบิกจ่ายอื่นๆ  โปร่งใส  ตรวจสอบได้ : เนื่องจากรมบัญชีกลาง  หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูหรือสั่งพิมพ์รายงานของทุกส่วนราชการได้จากระบบ  บุคลากรมีศักยภาพ  คุณธรรม  จริยธรรม : บุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถก้าวให้ทันเทคโนโลยี  และต้องมีวัฒนธรรมการทำงานแบบปรับตัวต่อเนื่อง มีค่านิยมที่ใฝ่เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้แล้วนำความรู้มาแบ่งปัน  มีความขยัน  ซื่อสัตย์ อดทน โดยทำสิ่งที่ถูกต้องเป็นหลัก  เป็นคนมุ่งมั่น ทุ่มเทกับการทำงานและทำงานอย่างมีความสุข     อย่างไรก็ตาม  การบันทึกบัญชีในปัจจุบันยังคงใช้โปรแกรม Excel ปฏิบัติงานคู่กับความรู้พื้นฐานทางบัญชีเกณฑ์คงค้างของหน่วยใน ทบ. Version 27.4   และ  Version 28   และใช้แบบฟอร์มของ ทบ. หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  บันทึกบัญชีด้วยมือมิใช่เครื่องโดยโปรแกรมสำเร็จรูปการผูกพันของพนักงานกับองค์กร ?                              จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้เคยปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีพึงปฏิบัติต่อกัน เช่น การช่วยเหลือกันทำงาน เอื้ออาธรต่อกัน นับถือความอาวุโส ฯลฯ การมีค่านิยมบุคคลกับค่านิยมองค์กรที่สอดคล้องกันในเรื่อง สร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์  ซึ่งเป็นความผูกพันทางความคิดที่มีความเห็นตรงกันภารกิจตามหน้าที่และความรับผิดชอบในด้านการงบประมาณ  การเงิน  การบัญชี  ต้องปฏิบัติงานด้วยความ ซื่อสัตย์  สุจริต  ยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม และชอบธรรม   มีกลไกการทำงานที่ชัดเจนตรวจสอบได้    งานทางด้านบัญชีถือว่าเป็นงานที่มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างหนึ่ง  การจัดทำรายงานการเงินเป็นการสรุปข้อมูลทางบัญชีเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายบริหารในการใช้เป็นข้อมูลเพื่อการวางแผน  ควบคุม  ติดตามประเมินผลตลอดจนการตัดสินใจ      ผลตอบแทนหรือเงินเดือนที่ได้รับจากการทำงานเป็นเงินภาษีที่เรียกเก็บจากประชาชน   ฉะนั้น ผู้ศึกษาจึงมีหลักในการทำงานเพื่อตอบแทนคุณของแผ่นดินดังนี้คือ  ยึดมั่นคุณธรรม   มีวินัย(ในการทำงาน)   ใฝ่เรียนรู้

 

สวัสดี ครับอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด  และแล้วก็ได้ส่งงานเสียที่ หลังจากนอนซมมานานอันเนื่องมาจาก หนอนรองกระดูกมันเคลื่อน อาจารย์อย่าลือดูแลสุขภาพนะครับสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการสาธารณภัยกรุงเทพมหานครให้เข้มแข็ง โดยมี  วิสัยทัศน์  ( Vission ) คือประสานเครือข่าย  เน้นการมีส่วนร่วม  มุ่งการป้องกัน  เชี่ยวชาญการบรรเทา
                                                               
 การทำงานให้เป็นในแนวทางเดียวกันกับวิสัยทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีประชากรอยู่กันหนาแน่น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวกรุงเทพมหานคร คือ สาธารณภัย ซึ่งภัยในที่นี้ขอเน้นลงไปที่ ภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์  ภัยพวกนี้เกิดขึ้นกับใครแล้วย่อมต้องได้รับความสูญเสีย ทั้งร่างกาย และทรัพย์สิน ซึ่งการทำงานของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เน้นสร้างบุคลากรของสำนักตระหนักถึงการลดความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ที่ได้รับภัยต่างๆและให้สาธารณภัยในกรุงเทพมหานครลดลง อีกทั้งดำเนินการระงับบรรเทาให้ความช่วยเหลือผู้ระสบภัยได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการสาธารณภัยและมีจิตสำนึกในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จากการที่หน่วยงานดับเพลิงในอดีต นั้นขึ้นตรงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการประสานเครือข่ายยังมีน้อยมาก ซึ่งแตกต่างปัจจุบัน การทำงานสะดวกมากขึ้นมีครือข่าย  มีการประสานหน่วยงานข้างเคียง ฝึกบุคลากรมีเกิดความชำนาญ ปฏิบัติการเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานครในการสร้างระบบบริหารจัดการสาธารณภัย ที่นำไปสู่วิสัยทัศน์ที่พึงปรารถนา มีหลักการดังนี้ 1. ในขณะเกิดเหตุใช้ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System) หรือ ICS                โดยมีผู้บัญชาการเหตุการณ์เพียงคนเดียว (Incident Commander หรือ IC)
2.  มีการดำเนินงานตั้งแต่การป้องกัน การบรรเทา และการฟื้นฟู โดยเน้นการป้องกันมิให้ภัยเกิดเป็นหลัก
3.  ปฏิบัติงาน เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และเป็นที่พึงพอใจของประชาชน
4.  ประสานงาน ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชน
5.  ผู้นำชุมชนต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
6.  ฝึกอบรมบุคลากร ให้มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการดับเพลิงและบรรเทาสา
      ธารณภัยต่าง ๆ                                                                                                                                                               พันธกิจ ( Mission )ลดความเสี่ยงและความเสียหายด้านอัคคีภัยและสาธารณภัยต่าง ๆ ที่มีต่อชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรการในการป้องกัน พัฒนาขีดความสามารถในการจัดการให้ภัยยุติลง โดยเร็ว ตลอดจนช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยให้กลับคืนสู่สภาพปกติ

   เป้าประสงค์
1. ให้สาธารณภัยในกรุงเทพมหานครลดลง
2. ดำเนินการระงับ บรรเทา ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
3. ให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร
4. ให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
       Coworkers / team  membersเพื่อนร่วมงาน                เพราะการทำงานใดงานหนึ่งต้องมีเพื่อนร่วมงานในการทำงานเพื่อที่จะได้เป็นที่ปรึกษาหรือแบ่งปันความคิดเห็นของแต่ละคนแล้วนำมาสรุปเป็นงานที่ได้รับมอบหมาย  เพราะในการทำงานจำเป็นที่จะต้องมองในมุมที่กว้างเข้าไว้ ดังนั้น  เพื่อนร่วมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง เพราะจะเป็นทั้งที่ปรึกษาและคนให้ความรู้ในเรื่องที่เราไม่ถนัดหรือไม่มีความชำนาญหรือความสามารถพอ ดังนั้น ข้อนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะได้รับจากเพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้าง เพราะถ้าเราไม่มีเพื่อนร่วมงานที่ดีหรือว่าถ้าเราทำงานคนเดียวสิ่งที่เราจะได้รับก็อาจจะออกมาไม่ตรงจุดหรือไม่บรรลุถึงสิ่งที่คาดไว้เพราะคนเราจะมองอะไรโดยมากเพียงด้านเดียว จึงทำให้งานที่ได้รับมอบหมายผิดพลาดหรือบกพร่องได้ เพราะฉะนั้นการมีเพื่อนร่วมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน เพราะเพื่อนร่วมงานจะให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะดี ๆ แก่งานของเราได้เป็นอย่างดี 
ภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035
เสนออาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ข้อ1 .การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กรองค์กรที่บริหารงานอยู่คือ องค์กร (Organization) กรมทางหลวงเป็นราชการบริหารส่วนกลาง สังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน่วยงานในสังกัดตั้งอยู่ในภูมิภาคทั่วประเทศ  ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2545 มีหน่วยงานในสังกัด 27 สำนัก (ส่วนกลาง 13 สำนัก ในภูมิภาค 15 สำนัก)  7 กอง (1 สำนักงาน ฐานะเทียบเท่ากอง) และมีหน่วยงานที่กรมจัดตั้งให้มีฐานะเทียบเท่าระดับกอง จำนวน 10 สำนักงาน นอกจากนี้มีกองบังคับการตำรวจทางหลวงซึ่งเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ใช้งบประมาณของกรมทางหลวง มีหน่วยงานในสังกัด 7 กองกำกับการ ซึ่งแต่ละกองกำกับการจะควบคุมสถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานี วิสัยทัศน์ขององค์กร (Vision)

มุ่งมั่นพัฒนาระบบทางหลวงตามมาตรฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ทาง  

พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนาโครงการข่ายทางหลวงในเชิงบูรณาการ เพื่อตอบสนองต่อวาระแห่งชาติ และยุทธศาสตร์รายพื้นที่ โดยการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 2. รักษาระดับมาตรฐาน ความสามารถในการให้บริการของโครงข่ายทางหลวง สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ทางหลวง  3. สร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการวิศวกรรมงานทาง การบริหารและกำกับดูแลการใช้ทางหลวง เพื่อให้เกิดระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม 4. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อพลวัตของการเปลี่ยนแปลง  ค่านิยมองค์กร (Core Values) อุทิศตนในการพัฒนาระบบทางหลวงที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน และความรุ่งเรืองของระบบเศรษฐกิจ ให้คำมั่นและพันธะต่อความต้องการของผู้ใช้ทาง มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมงานทาง ด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) การพัฒนาระบบทางหลวงเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ  การพัฒนาทางหลวงที่ปลอดภัย การรักษาและพัฒนาระบบทางหลวงที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและรักษาสิ่งแวดล้อม - การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการบ้านเมืองที่ดี กลยุทธ์ (Strategies) การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากระบบทางหลวง  การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงการขนส่งหลายรูปแบบ (Intermodal) การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน   การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์รายพื้นที่   การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว   การให้ความสำคัญต่องานอำนวยความปลอดภัยทางถนนเพื่อป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุบนโครงข่ายทางหลวง   การเพิ่มความคล่องตัวในการสัญจรบนระบบทางหลวง การบูรณะบำรุงทางหลวงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การพัฒนาและกวดขันน้ำหนักการบรรทุก สร้างความพร้อมในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและฉุกเฉินในเชิงบูรณาการกับหน่วยงานอื่น - การเพิ่มความสำคัญของการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตทัศนีย์ภาพและรักษาสิ่งแวดล้อมในเขตทาง - การเพิ่มความสำคัญของการลดผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมงานทางและการขนส่งทางถนน                 ปัจจุบันที่ปฏิบัติงานอยู่ฝ่ายสำนักงานแพทย์กรมทางหลวง ซึ่งให้การรักษาด้านร่างกาย,สุขภาพฟันเพื่อดูแลพนักงานในกรมทางหลวงให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพ
The 8 Key Drivers of Engagement                 ลักษณะงานที่เหมาะกับพนักงาน                พนักงานเข้ามาสมัครงานในตำแหน่งที่เลือกว่าสามารถปฏิบัติได้ ผลงานที่เกิดขึ้นจึงมีคุณภาพ  ได้ผลผลิตที่ตรงตามความต้องการขององค์กร มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ ภูมิใจในผลงานที่เกิดขึ้น พนักงานมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพของตนเองอย่างรวดเร็ว  หัวหน้างานให้ความสำคัญกับตัวงานที่ปฏิบัติอยู่ พนักงานมีความภูมิใจในงานที่ทำอยู่ทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพ เมื่อผลผลิตขององค์กรที่เกิดขึ้นมีคุณภาพดี องค์กรจะเป็นที่ยอมรับในสังคม พนักงานจะมีความศรัทธาในองค์กร และได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการปฏิบัติงานของตนเอง ทำให้พนักงานมีความรู้สึกที่ดีต่อองค์กรที่ตนเองอยู่  การทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสมกับความสามารถส่งผลดีทั้งตัวผู้ปฏิบัติเองและต่อองค์กร เป็นส่วนที่ทำให้พนักงานรักองค์กร รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและมีความผูกพันที่ต่อองค์กรที่ตนเองอยู่

 

ภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035

เสนออาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

ข้อ 2  The 8 Key Driver of Engagement เลือก ข้อ 1: สร้างความศรัทธาและซื่อสัตย์ (Trust and integrity)  คือ

ในการทำงานจะต้องมีจรรยาบรรณต่อตนเอง
  • 1. พึงเป็นผู้มีศีลธรรม
  • 2.พึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์
  • 3. พึงมีทัศนคติและพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ในการทำงานจะต้องมีจรรยาบรรณต่อหน่วยงาน 1. พึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาคและปราศจากอคติ2. พึงปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลัง ความสามารถ รอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้องสมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ 3. พึงประพฤติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลาและใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่ 4. พึงดูแลรักษา และใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า ในการทำงานจะต้องมีจรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชร ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน §   1. พึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน การให้ความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่มงานของตน ทั้งในด้านการให้ความคิดเห็นการช่วยทำงานและการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานในความรับผิดชอบด้วย
  • 2. ผู้บังคับบัญชา พึงดูแลเอาใจใส่ ผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในด้านการปฏิบัติงานขวัญกำลังใจ สวัสดิการ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
  • 3. พึงช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในทางที่ชอบรวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมในในบรรดาผู้ร่วมงาน ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนร่วม
  • 4. พึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานตลอดจนผู้เกี่ยวข้องด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ และมนุษยสัมพันธ์อันดี
  • 5. พึงละเว้นจากการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
o     ดังนั้นการสร้างความศรัทธาและซื่อสัตย์ต่อ ตนเอง,องค์กร และผู้บริหาร จะทำให้เกิดผลดีแก่ตัวเราเอง และทำงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย  
วิสัยทัศน์
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา สนองงานคณะสงฆ์ มุ่งบริการประชาชนให้เกิดความพึงพอใจ ประสานงานเครือข่าย เน้นหลักธรรมนำสังคมสู่ผลสัมฤทธิ์ของงาน

พันธกิจ

  1. ทำนุ บำรุง ดูแล ศาสนสถานและศาสนสมบัติ
  2. ส่งเสริมศาสนศึกษา เน้นความรู้คู่คุณธรรม
  3. ประสานองค์กรเครือข่าย
  4. ส่งเสริมพระสงฆ์ให้มีบทบาทผู้นำด้านจิตใจ.
ข้าราชการคือผู้ทำหน้าที่แทนองค์พระมหากษัตริย์และบริการประชาชน
ยุทธศาสตร์
  1. ส่งเสริมสนับสนุนการนำหลักพุทธธรรมมาพัฒนาสัมคม
  2. ให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  3. การจัดการศาสนสมบัติให้เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประชาชน
  4. ส่งเสริมบุคลากรด้านพระพุทธศาสนาให้สามารถปฏิบัติงานและสนองงานคณะสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อำนาจหน้าที่
 
    สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นหน่วยงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในส่วนภูมิภาคหน้าที่ในฐานะตัวแทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่ง มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และงานของรัฐ โดยทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2. รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการและการบริหารการปกครองคณะสงฆ์
  3. เสนอแนวทางกำหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  4. ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถานและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
  5. ดูแล รักษา และจัดการวัดร้าง และศาสนสมบัติกลาง
  6. พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา
  7. ทำนุบำรุงพุทธศาสนศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
  8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 

วิสัยทัศน์
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา สนองงานคณะสงฆ์ มุ่งบริการประชาชนให้เกิดความพึงพอใจ ประสานงานเครือข่าย เน้นหลักธรรมนำสังคมสู่ผลสัมฤทธิ์ของงาน

พันธกิจ

  1. ทำนุ บำรุง ดูแล ศาสนสถานและศาสนสมบัติ
  2. ส่งเสริมศาสนศึกษา เน้นความรู้คู่คุณธรรม
  3. ประสานองค์กรเครือข่าย
  4. ส่งเสริมพระสงฆ์ให้มีบทบาทผู้นำด้านจิตใจ.
ข้าราชการคือผู้ทำหน้าที่แทนองค์พระมหากษัตริย์และบริการประชาชน
ยุทธศาสตร์
  1. ส่งเสริมสนับสนุนการนำหลักพุทธธรรมมาพัฒนาสัมคม
  2. ให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  3. การจัดการศาสนสมบัติให้เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประชาชน
  4. ส่งเสริมบุคลากรด้านพระพุทธศาสนาให้สามารถปฏิบัติงานและสนองงานคณะสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อำนาจหน้าที่
 
    สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นหน่วยงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในส่วนภูมิภาคหน้าที่ในฐานะตัวแทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่ง มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และงานของรัฐ โดยทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2. รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการและการบริหารการปกครองคณะสงฆ์
  3. เสนอแนวทางกำหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  4. ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถานและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
  5. ดูแล รักษา และจัดการวัดร้าง และศาสนสมบัติกลาง
  6. พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา
  7. ทำนุบำรุงพุทธศาสนศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
  8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

***ข้อที่ 2  ที่ให้เลือกปัจจัยที่มีผลต่อการผูกใจและวิธีการผูกใจ

เลือกปัจจัยที่ 4 โอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานเพราะเมื่อจะไปสมัครทำงานก็ต้องดูเสียก่อนว่าบริษัทแห่งนี้มีพนักงานจำนวนเท่าไหร่บริษัทใหญ่หรือไม่ งานที่ทำถูกใจใช่ไหม มีโบนัสรางวัลให้สวัสดิการต่างไห้กับพนักงานอย่างไรบ้าง

วิธีการผูกใจโดยที่บริษัทจะต้องพยายามรักษาบรรยากาศของการทำงานที่สร้างสรรค์เปิดเผยจริงใจและเชื่อมั่นในการที่พนักงานจะสามารถฟันฝ่าเพื่อบรรลุความสำเร็จแห่งตนและความเจริญร่วมกันของบริษัท

พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4
 
วิสัยทัศน์
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา สนองงานคณะสงฆ์ มุ่งบริการประชาชนให้เกิดความพึงพอใจ ประสานงานเครือข่าย เน้นหลักธรรมนำสังคมสู่ผลสัมฤทธิ์ของงาน

พันธกิจ

  1. ทำนุ บำรุง ดูแล ศาสนสถานและศาสนสมบัติ
  2. ส่งเสริมศาสนศึกษา เน้นความรู้คู่คุณธรรม
  3. ประสานองค์กรเครือข่าย
  4. ส่งเสริมพระสงฆ์ให้มีบทบาทผู้นำด้านจิตใจ.
ข้าราชการคือผู้ทำหน้าที่แทนองค์พระมหากษัตริย์และบริการประชาชน
ยุทธศาสตร์
  1. ส่งเสริมสนับสนุนการนำหลักพุทธธรรมมาพัฒนาสัมคม
  2. ให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  3. การจัดการศาสนสมบัติให้เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประชาชน
  4. ส่งเสริมบุคลากรด้านพระพุทธศาสนาให้สามารถปฏิบัติงานและสนองงานคณะสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อำนาจหน้าที่
 
    สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นหน่วยงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในส่วนภูมิภาคหน้าที่ในฐานะตัวแทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่ง มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และงานของรัฐ โดยทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2. รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการและการบริหารการปกครองคณะสงฆ์
  3. เสนอแนวทางกำหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  4. ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถานและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
  5. ดูแล รักษา และจัดการวัดร้าง และศาสนสมบัติกลาง
  6. พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา
  7. ทำนุบำรุงพุทธศาสนศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
  8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

***ข้อที่ 2  ที่ให้เลือกปัจจัยที่มีผลต่อการผูกใจและวิธีการผูกใจ

เลือกปัจจัยที่ 4 โอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานเพราะเมื่อจะไปสมัครทำงานก็ต้องดูเสียก่อนว่าบริษัทแห่งนี้มีพนักงานจำนวนเท่าไหร่บริษัทใหญ่หรือไม่ งานที่ทำถูกใจใช่ไหม มีโบนัสรางวัลให้สวัสดิการต่างไห้กับพนักงานอย่างไรบ้าง

วิธีการผูกใจโดยที่บริษัทจะต้องพยายามรักษาบรรยากาศของการทำงานที่สร้างสรรค์เปิดเผยจริงใจและเชื่อมั่นในการที่พนักงานจะสามารถฟันฝ่าเพื่อบรรลุความสำเร็จแห่งตนและความเจริญร่วมกันของบริษัท

นายชัยรัตน์ พัดทอง 50038010045

      ....เสนอ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด.....      

 ข้าพเจ้าเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตปทุมวัน ฝ่ายทะเบียน 
วิสัยทัศน์สำนักงานเขตปทุมวัน
เศรษฐกิจรุ่งเรือง ศูนย์เมืองแฟชั่น สร้างสรรค์การท่องเที่ยว


ข้อ 1. หน้าที่มีความเกี่ยวข้องดังนี้
ด้านจราจร
      1. จัดให้มีทางจักรยานและที่จอดรถจักรยานในถนนทุกสายที่สภาพถนนเอื้ออำนวยเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานของประชาชนและเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่
      2. เพิ่มจำนวนอาสาจราจรและเทศกิจอาสาจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกและประสานงานการจราจรเพื่อให้เกิดความคล่องตัว
      3. รณรงค์และเสริมสร้างวินัยจราจร ส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย อบรม เผยแพร่ความรู้ทางการจราจรให้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป

ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน

      1. จัดการคุณภาพน้ำเสียในคูคลอง พร้อมทั้งฟื้นฟูสภาพแม่น้ำลำคลองให้สวยสะอาด
      2. สามารถแก้ไขปัญหาจุดอ่อนน้ำท่วมในพื้นที่เขตได้ทันท่วงที
      3. ควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะ โดยการเข้มงวดการตรวจจับรถยนต์ก่อมลพิษ
      4. เพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่โดยเปลี่ยนที่รกร้างเป็นสวนหย่อมหรือพื้นที่สีเขียว
      5. จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม ตลอดจนกำหนดมาตรการจูงใจให้ประชาชนร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียว
      6. กำหนดมาตรการและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชน เอกชน และหน่วยราชการ ร่วมกันอนุรักษ์พลังงาน
     7. บริการเก็บขยะมูลฝอยสม่ำเสมอ ให้ทุกที่สะอาด ไม่มีขยะตกค้าง
     8. ส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย ตลอดจนการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการลดและแยกมูลฝอย
     9. มีการกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างทั่วถึงและถูกวิธีในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ด้านความปลอดภัยและสาธารณภัย

      1. จัดให้มีการดูแล ตรวจตรา เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงอาชญากรรมโดยเจ้าหน้าที่อาสาสมัครเพื่อนชุมชน
      2. ลดพื้นที่เสี่ยงโดยจัดให้มีการสำรวจพื้นที่ติดตั้งไฟฟ้าให้ความสว่างในพื้นที่เสี่ยง ตรอก ซอยต่าง ๆ
      3. เพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำได้อย่างรวดเร็วและพัฒนาประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกระทำ
      4. เข้มงวดการขออนุญาตก่อสร้างและต่อเติมอาคาร ควบคุมการก่อสร้างอาคาร การใช้อาคาร รวมทั้งเร่งรัดการตรวจสอบฯ
      5. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยปรับบทบาทหน่วยดับเพลิง เทศกิจ อปพร. และอาสาสมัครของ กทม. เข้าร่วมงานช่วยเหลือชุมชนในการสอดส่องดูแลความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
      6. เตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุฉุกเฉินในชุมชน โดยให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับสาธารณภัย

ด้านการศึกษา

      1. จัดบริการทางการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาอย่างเพียงพอและสอดคล้องต่อความต้องการของชุมชน
      2. พัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อเพิ่มแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
      3. เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมจัดการและสนับสนุนการศึกษา

ด้านคุณภาพชีวิต

      1. จัดกิจกรรมกีฬานันทนาการ แหล่งเรียนรู้และกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างทางเลือกใหม่ของการใช้ชีวิต
      2. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีภูมิคุ้มกันต่อโรคติดต่อ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรค
      3. ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวโดยเสริมสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี เพื่อป้องกันและลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
      4. ส่งเสริมการป้องกันปัญหายาเสพติดและอบายมุขอื่นๆ พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจริยธรรมและความเอื้ออาทรในสังคม 
      5. ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากโรคติดต่อและเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเกิดจากสุนัขจรจัดและสัตว์เลี้ยง
      6. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการดูแลสุขลักษณะของอาคารสถานประกอบการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
     7. สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มหรือชุมชนผู้บริโภคของประชาชน ตลอดจนดำเนินการฝึกอบรมสัมมนา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิผู้บริโภค
    8. ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยตรวจอาหารที่วางขายไม่ให้ปนเปื้อนสารพิษ ควบคุมดูแลตลาดสด ให้สะอาดได้มาตรฐาน
      9. จัดสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์ที่จำเป็นแก่ผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง
     10. เสริมสร้างจิตสำนึกและการตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และประวัติศาสตร์

ด้านเศรษฐกิจ

       1. ส่งเสริมการสร้างอาชีพและการจ้างงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ด้านการท่องเที่ยว 
       2. ส่งเสริมและให้ความรู้ในการใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้องแก่ประชาชน
       3. พัฒนาชุมชนให้มีความสามารถในการบริหารเงินกองทุนที่ได้รับจากเขต อย่างมีประสิทธิภาพ
      4. ส่งเสริมกิจการขนาดย่อมโดยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในชุมชน และจัดหาตลาดรองรับสินค้าในชุมชน

ด้านผังเมือง

      1. ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์และสร้างทางเดินริมแม่น้ำลำคลอง เพื่อให้ประชาชนใช้ท่องเที่ยวและสัญจร
      2. ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของถนน เกาะกลางถนน และทางเดินเท้าให้มีความเป็นระเบียบ สวยงาม

ด้านบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

      1. พัฒนากลุ่มและเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์งานพัฒนาคุณภาพชีวิต และแก้ปัญหาตามความต้องการของพื้นที่
      2. ประชาสัมพันธ์และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ พร้อมพัฒนาระบบการประสานงานเพื่อพัฒนาชุมชน
      3. พัฒนาระบบงานเพื่อลดขั้นตอนและรอบเวลาของขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
      4. นำมาตรการราชการใสสะอาดมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
      5. เร่งรัดการใช้จ่ายให้กระจายสู่พื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปตามแผน
      6. ลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคและพลังงานเชื้อเพลิง
      7. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของเขตให้ครอบคลุมในพื้นที่
      8. พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน รวมทั้งรับปัญหาและติดตามแก้ไขปัญหาร้องเรียน เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ประชาชน
      9. พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านความรู้ ความสามารถ ทัศนคติอย่างเป็นระบบทั่วถึง และต่อเนื่อง

ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
    1.    พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชนที่มาใช้บริการในสำนักงานเขต

สรุป
      1. มีการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดและปลอดภัย
      2. มีสภาพแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษ
      3. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      4. ประชาชนได้รับบริการทางการศึกษาที่ได้มาตรฐานทั้งในและนอกระบบอย่างทั่วถึง
      5. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสำนึกด้านศิลปะวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ความเป็นไทย
      6. เสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจชุมชนตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” 
     7. มีการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามผังเมือง และมีสภาพภูมิทัศน์ที่เป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงาม
     8. การบริหารจัดการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม 
     9. ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านระบบสารสนเทศที่ทันสมัยและรวดเร็วอย่างทั่วถึง


            ข้อ 2. ความภาคภูมิใจในที่ทำงาน               
      ย้อนหลังไปประมาณสองร้อยปีก่อน  ท้องที่เขตปทุมวันมีลักษณะเป็นทุ่งนา มีสภาพเป็นชนบทชานเมือง การไปมาหาสู่ใช้เส้นทางคมนาคม เพียงทางเดียว คือ ทางเรือ โดยมีคลองแสนแสบเป็นเส้นทางคมนาคม เชื่อมกับคลองผดุงกรุงเกษม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณนี้ พระองค์ทรงเห็นว่าบริเวณคลองแสนแสบ ด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นเขตนาหลวง มีบัวพันธุ์ไทย ขึ้นตามหนองบึงอยู่มาก จึงมีพระราชประสงค์จัดทำเป็นสระบัวชานกรุงขึ้นไว้สำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อน  ได้ทรงนิมนต์พระสงฆ์มารับบิณฑบาตโดยสม่ำเสมอ ต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามหลวงขึ้น และพระราชทานพระอารามหลวงนั้นว่า  "วัดปทุมวนาราม"  ซึ่งมีความหมายว่า  "ป่าบัว" บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า "ตำบลปทุมวัน" ซึ่งได้แก่วัดปทุมวนารามและบริเวณใกล้เคียง  ส่วนที่ประทับยามเสด็จประภาสสวนสระบัวก็คือ "พระราชตำหนักวังสระปทุม" ครั้นใน พ.ศ.2457 กรมพระนครบาลได้ประกาศจัดตั้งอำเภอปทุมวันขึ้น  โดยในระยะแรกได้ใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ซึ่งตั้งอยู่มุมถนนทรงวาด) เป็นที่ทำการ เมื่อ พ.ศ.2459 จึงได้จัดตั้งที่ว่าการอำเภอปทุมวันขึ้น และมีที่ทำการอยู่มุมสี่แยกปทุมวัน เนื่องจากระดับชั้นของความเจริญเติบโตของอำเภอปทุมวันอยู่ในระดับสูง ประชาชนหลั่งไหลอพยพเข้ามาประกอบการค้า และทำมาหากินในท้องที่ปทุมวันมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านการจราจร ด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบกับอาคารของ  ที่ว่าการอำเภอปทุมวันเดิมนั้น อยู่ในภาพชำรุด ทรุดโทรมและคับแคบ ประชาชนติดต่อราชการไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2506 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันคือ สำนักงานเขตปทุมวัน ตั้งอยู่เลขที่216/1 ซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
      สำนักงานเขตแบ่งการบริหารออกเป็น 10 ฝ่าย ขอยกตัวอย่างฝ่ายทะเบียน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนทั่วไป ได้แก่ ทะเบียนครอบครัวและพินัยกรรม ทะเบียนชื่อ ชื่อสกุล ทะเบียนมูลนิธิ การทะเบียนมัสยิดอิสลาม และทะเบียนศาลเจ้าการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ตลอดจนการดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมประทับใจมากกับลูกศิษย์ MPA รุ่น 4

มีคนเข้ามาดูใน blog นี้แล้วมาก

ผมจะเข้ามาสอนวันอาทิตย์นี้ และจะได้มีเวลาอยู่ด้วยกันทั้งวัน

เช้าวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ เวลา 6-7โมง อยากให้นักศึกษาได้ฟังรายการวิทยุ Human Talk ของผมทางคลื่น 96.5 เมื่อฟังแล้ว ให้คิดว่าได้อะไร

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

รายงานเสนอ อ. พจนารถ ซีบังเกิด 

  • The 8 Key Driver of Engagement
  • ข้อ 1: การสร้างความศรัทธา (ทั้งในและนอกองค์กร)

  ในการสร้างศรัทธานั้น คือ กระบวนการสร้างความเชื่อถือและเชื่อมั่นให้เกิดกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งอาตมาคิดว่าเชื่อมโยงกับ คำว่า วิสัยทัศน์ ถึงแม้ว่าคำจะแตกต่างกันก็ตามที ซึ่งวิสัยทัศน์นี้ก็เกิดขึ้นภายในองค์กร เพื่อองค์กร โดยคณะกรรมการและผู้บริหารร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์องค์กร ซึ่งจะยึดถือความคิดเห็นของคนผู้ใดผู้หนึ่งก็หาไม่  ในเรื่องของการสร้างศรัทธานี้ก็เช่นกัน คนในองค์กรต้องร่วมกันสร้างร่วมกันรักษาศรัทธาที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และ พัฒนาการให้เกิดความศรัทธาและความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น 

  • โดยปกติแล้วคำว่า ศรัทธา คนเรามักคิดว่า เชื่อหรือศรัทธาในสิ่งศักสิทธ์ หรือสิ่งที่ลี้ลับ ที่ตนคิดว่า จะอำนวยความสุขความเจริญให้ หรือศรัทธาในคำสั่งสอนของศาสดาในแต่ละศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำที่สำคัญในแต่ละศาสนาที่ตนหรือเราท่านทั้งหลายนับถือนี้ก็เป็นอีกในแง่มุมหนึ่งที่เราคิดกัน
  • แต่ในที่นี้ มุ่งเน้นถึง ความศรัทธา ที่จะเกิดกับบุคคลภายในองค์กร และภายนอกองค์  ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคงหรือความยั่งยืนให้เกิดแก่องค์กร

ในเรื่องการสร้างศรัทธานี้ จะต้องสร้างให้เกิดทั้งภายในองค์กร และ ภายนอกองค์กร

  • การสร้างศรัทธาจากภายใน คือ การสร้างศรัทธาในระดับผู้นำและผู้บริหารทุกระดับตลอดจนพนักงานภายในองค์กร โดยผู้นำต้องต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในคุณค่าของตน ของคนทุกชั้นในองค์กรในด้านของความรู้ความสามารถ ไม่มีมีการแบ่งแยก ส่วนนี้ก็จะช่วยสร้างความศรัทธาให้เกิดกับผู้ร่วมงานภายในองค์กรได้เช่นกัน

ความศรัทธาและเชื่อมั่นในคุณค่าของคน 

  ในระดับชนชั้นผู้นำหรือผู้บริหารนั้นอาตมภาพเห็นพ้องต้องกันกับคำของคุณพารณที่ว่า "ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม  เราจะต้องมีความเชื่อในสิ่งนั้นเสียก่อน  ถ้าคุณมีความเชื่อ หรือมีความศรัทธาว่า สิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์  มันก็จะทำให้เราเกิดความมุ่งมั่น และกำลังใจจะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จ"  (ที่มาทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ หน้า 149 บรรทัดที่ 12-15)

และ....ถ้าจะมองให้ลึกลงไป คุณพารณกล่าวว่า "ผู้บริหารควรที่จะมองพนักงานเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวองค์กร ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ร่วมงานในระบบงานเท่านั้น" (ที่มา หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันแท้ ของ อ.จีระ  หน้าที่ 151 บรรทัดที่ 10-12)

  • ในส่วนของการสร้างศรัทธาให้เกิดกับบุคคลภายนอกองค์กร อาตมาภาพมีความเห็นว่า ต้องนำเสนอข้อมูลตามความเป็นจริงแบบตรงไปตรงมากับลูกค้า หรือแม้แต่คนภายในองค์กรเองก็เช่นกัน เพราะการนำเสนอข้อมูลตามความเป็นจริง ไม่เอาเปรียบลูกค้าหรือไม่นำเสนอข้อมูลเท็จ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น สร้างความไว้วางใจให้เกิดกับลูกค้าและผู้ร่วมงานภายในองค์กร แต่ในที่นี้มุ่งถึงคนภายนอกองค์กร ซื่งในส่วนนี้ จากการสนทนาระหว่างคุณพารณกับอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านทั้งสองก็ให้ความสำคัญกับคนทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ฯ และอีกประเด็นคือ องค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และ ต้องลงมือปฏิบัติจริงตามวิสัยทัศน์

          มิใช่ว่า วางวิสัยทัศน์ไว้สวยหรู แต่ในทางตรงกันข้ามกลับไม่เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ ลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นการทำให้ศรัทธายับเยินอย่างยืนยงและยั่งยืน ฯ

          เพราะฉะนั้น  การที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะสร้างความศรัทธาให้เกิดกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร นับว่าเป็นเรื่องยากยิ่งนักเพราะมิใช่เพียงแค่สร้างศรัทธาให้เกิดแล้วก็จบกันไม่ต้องทำอะไรอีก แต่ต้องรักษาความเชื่อมั่นหรือความศรัทธานั้นไว้ให้ได้ด้วย เพียรระวังมิให้ความเสื่อมเกิดขึ้น อันจะทำให้ความศรัทธาหรือความเชื่อมั่นเหล่านั้นสั่นคลอน จนถึงหมดศรัทธาลงในที่สุด

        ในทางตรงกันข้ามกับการสร้าง คือ การทำลาย หรือสร้างความเสื่อม การสร้างมิใช่เรื่องง่าย แต่การทำลายนี้สิ เพียงนิดเดียวก็อาจสร้างความเสื่อมเสียหรือความไม่เชื่อมั่นให้เกิดกับบุคคลทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรได้ ซึ่งความเสื่อมนี้ก็อาจเกิดได้ทั้ง ๒ ทาง คือ ทั้งจากคนในองค์กร ซึ่งไม่จงรักษ์ภักดีกับองค์กร หรือ อาจเกิดได้จากคนภายนอกองค์กร ซึ่งมุ่งความเสื่อม มุ่งร้ายกับองค์กรนั้น ๆ  เป็นต้น ฯ

        ไม่ว่าจะเกิดทางใดก็แล้วแต่ ที่สำคัญคือ องค์กร หรือ คนในองค์กรทุกระดับต้องมีความรักในองค์กร ศรัทธาเชื่อมั่นในองค์กรของตน สร้างความเชื่อมั่นให้เกิด รักษาความเชื่อมั่นที่ได้รับ และเพียรระวังมิให้ความเสื่อมศรัทธา หรือ ความไม่เชื่อมั่นเกิดกับบุคคลในองค์กรและนอกองค์กร ที่มีต่อองค์กรของตน ฯ

  • จงเพียรระวังรักษาความดีขององค์กรให้จงได้  เฉกเช่น เกลือรักษาความเค็ม ฯ
  • และ จงเพียรระวังรักษาความดีมิให้มีความเสื่อม(ศรัทธา)กับองค์กร เฉกเช่น นกยูง เพียรระวังรักษาขนแววหาง ฉะนั้น ฯ
  • เซื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ (สุภาษิตจาก บั้ง ไฟ พยานาค)
พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน รหัส 50038010009 เลขที่ 9
 ทำงานที่  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  จังหวัดนครปฐมQ :  VISION   MISSION   VALUE  ขององค์กรคืออะไร  หน้าที่ในการทำงานคืออะไร  แล้วอธิบายความเกี่ยวข้องระหว่างงานในหน้าที่  กับ  VISION   MISSION ?A :   VISION  ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์                1.  มุ่งมั่น                                                                            -  สร้างความมั่นคงจากทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดชอบภายใต้การบริหารจัดการอย่างมี                  ประสิทธิภาพและเป็นธรรม                -  การดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือสังคมอย่างเหมาะสม                  -  สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นการทำนุบำรุงศาสนา  และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตามกำลัง                  ความสามารถ                2.  จะดูแลและพัฒนา                -  อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ  ทั้งในเชิงพาณิชย์  เชิงอนุรักษ์  และเชิงสังคม                -  ส่งเสริมสนับสนุนผู้เช่าที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคง  พัฒนาชีวิตของตนเอง  ครอบครัวและ                  ชุมชนอย่างยั่งยืน                3.  จะมุ่งส่งเสริมองค์กรที่                -  ได้ลงทุนและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่  ให้บริหารกิจกรรมบนพื้นฐานของความพอประมาณ                    ความรู้  ตลอดจนมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอจากความเสี่ยงที่อาจมีขึ้น                4.  ปรารถนาให้บุคลากรทุกคน                -  มีประสิทธิภาพในการทำงานตามภารกิจและวิสัยทัศน์อย่างมีความสุข  ด้วยความมั่นคง                -  มีความก้าวหน้าในหน้าที่การทำงานและการครองชีวิตส่วนตัว  บนรากฐานของความ                 พอเพียง  พร้อมแบ่งปัน  ช่วยเหลือ  เอื้ออาทรแก่สังคมและผู้ด้อยโอกาส                                            MISSION  ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์                สำนักงานทรัพย์สินฯ  มีภารกิจหลัก  2  ด้าน  คือ                1.  การจัดประโยชน์อสังหาริมทรัพย์  โดยมีอสังหาริมทรัพย์ในความดูแลประมาณ  37,000                    สัญญา  กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ   ปริมณฑล  และส่วนภูมิภาค                  2.  การลงทุนในหลักทรัพย์  ซึ่งแบ่งเป็น  2  ส่วน                                2.1  การลงทุนระยะยาวในธุรกิจหลัก  (Core  Business)                                  2.2  การลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ  ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยยึดหลักการ  ดูแล  รักษา  อย่างเป็นธรรม  ในการบริหารจัดการ                                             VALUE   ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์                1.  ความเป็นธรรม   จุดมุ่งหมายในการดำเนินภารกิจด้านการจัดประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ  จะคำนึงถึงความถูกต้อง  เหมาะสม  ตามหลักเหตุ และผลและหลักมนุษยธรรมมากกว่าประโยชน์สูงสุดทางการเงิน เพื่อมุ่งให้การจัดประโยชน์เกิดความเป็นธรรมต่อสำนักงานทรัพย์สินฯ  ผู้เช่า  และสังคมรอบข้าง                2.  ความมั่นคง  สำนักงานทรัพย์สินฯ  จะไม่ทำอะไรแบบฉาบฉวยเฉพาะหน้า  แต่จะวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ  ระมัดระวัง  ไม่ประมาท  และมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่เสมอ  เพื่อให้เกิดความมั่นคงทั้งต่อสำนักงานทรัพย์สินฯ  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระยะยาว                3.  การพัฒนาในเชิงอนุรักษ์  ในการพัฒนาโครงการใด    สำนักงานทรัพย์สินฯ  ให้ความสำคัญทั้งในมิติของการพัฒนาและมิติของการอนุรักษ์ควบคู่กันไป  โดยยึดหลักทางสายกลาง  ยืดหยุ่น  ประนีประนอม   เพื่อการพัฒนาที่เกิดดุลยภาพทั้งในทางเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม  และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม                4.  การส่งเสริมประโยชน์ส่วนรวมตามรอยพระยุคลบาท  โดยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินโครงการใด    ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม  เพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมุ่งหวังให้พสกนิกรชาวไทยอยู่รวมกันอย่างผาสุกร่มเย็นหน้าที่ของ น.ส.พิมพ์ลดา  โต๊ะเพิ่มพูน                1.ควบคุมดูแลงานขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร (งานเช่าสร้าง)   พิจารณาแบบเบื้องต้นก่อนเจ้าหน้าที่จัดประโยชน์ เสนอกองช่าง    ติดตามขั้นตอนการดำเนินงานเช่าสร้าง  รวมทั้งระยะเวลาการเช่าสร้าง                                                                                  2. พิจารณาข้อร้องเรียนและข้อร้องทุกข์  เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย                                                                                    3. ตรวจสอบสภาพอาคารและแบบแปลนเบื้องต้น  กรณีมีการต่อเติมดัดแปลงอาคาร                4. ดูแลงานระวังชี้แนวเขตกรณีพิพาท และกรณีมีหนังสือแจ้งมาจากกรมที่ดิน                           5. ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่และควบคุมดูแลงานเก็บเงินค่าเช่าหาบเร่รายวันให้เป็นไปตามกฎระเบียบของสำนักงานฯ                 6. ทำกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เช่า ชุมชน  หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน                                         7. ดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์และงานมวลชน                                                                                                                           8. รับผิดชอบงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้สำนักงานฯ                                                                                     9. ควบคุมดูแลงานในความรับผิดชอบให้ปฏิบัติงานตามคำสั่ง ของผู้บังคับบัญชา    ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน                การปฏิบัติหน้าที่ของงานของข้าพเจ้า ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้เช่า  และทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์  ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ ข้าพเจ้าได้เตรียมความพร้อม  โดยมิได้คาดการณ์ในการทำงานว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถดำเนินไปได้โดยปราศจากปัญหา  และอุปสรรค ซึ่งในการแก้ปัญหาแต่ละครั้ง  ข้าพเจ้าได้วิเคราะห์สถานการณ์จากประสบการณ์การทำงาน  เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ดีไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร
                ในพื้นที่เช่าของสำนักงานทรัพย์สินฯ  มีความหลากหลาย เป็นเหตุให้ผู้เช่ามีความแตกต่าง  ดังนั้น  ข้าพเจ้าได้มีส่วนเข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เช่ามีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามวิสัยทัศน์ขององค์กร  ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้จัดโครงการในการเข้าไปดูแลพื้นที่เช่า เช่น  การช่วยสร้างที่อยู่อาศัย, การมอบทุนการศึกษาให้แก่ลูกหลานผู้เช่า  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาส่วนรวมที่เกิดขึ้นในสังคม
Q :  ให้เลือกปัจจัย จาก  8  ข้อ  เลือก  1  ข้อ   ว่าสนใจข้อไหน ถ้าให้สมมติเราเป็นองค์กรจะผูกใจพนักงานได้อย่างไร           A :  เลือกปัจจัยข้อ  5  Pride  about  the  company  - How  much  self- esteem   does  the            employee  feel  by  being  associated  with  their  company          ในการสร้างความรู้สึกให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงานอยู่ ต้องปลูกฝังตั้งแต่แรกเข้าปฏิบัติงาน  โดยการฝึกอบรมให้พนักงานทราบถึงวิสัยทัศน์   ภารกิจ  ขององค์กรสร้างแรงกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกรักองค์กร  โดยมีแผนกที่ดูแลพนักงานให้สวัสดิการที่ดี เช่น  เงินเดือน  ค่ารักษาพยาบาล  เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน            ระดับผู้บริหารให้ความสำคัญกับพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยให้ความเป็นมิตรกับพนักงานแต่มีความเกรงขาม        เมื่อ วิสัยทัศน์ ของผู้นำ กำลังก้าวไปในทิศทาง นอกจากทำงานตามหน้าที่แล้ว ผู้บริหารนั้น ต้องเป็น "ครู" ด้วย  ต้องสอนนักศึกษา ต้องถ่ายทอดประสบการณ์ได้  นั่นคือจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู  ครู มีคุณสมบัติ 3 ประการ ที่ผู้บริหารต้องมี คือ 1. การสื่อสาร  ถ้าสื่อสารไม่ได้ ก็สอนไม่ได้  2.  การขวนขวายหาความรู้ตลอดเวลา  เพราะโลกเปลี่ยนตลอดเวลา  ตำราที่มีอยู่ก็ต้องล้าหลังเป็นธรรมดา สุดท้าย คือ ครูที่ดีต้องสร้างศรัทธาก่อน                  จุดมุ่งหมายสูงสุดขององค์กรเราคือ อยากให้คนมองว่าเราเป็นธุรกิจแบบอย่างของคนไทย นั่นคือเรื่องของการเป็น " สถาบัน"  หมายความว่า องค์กรแห่งนี้ ย่อมไม่มุ่งจำเพาะไปที่ความมั่งคั่ง แต่เป้าหมาย คือ การสร้าง องค์ความรู้ และ ภูมิปัญญา  
นายบุญชู ทองฝาก รปม.รุ่น 4 สาขาการปกครองท้องถิ่น
                ปัจจุบันรับราชการตำแหน่งนักวิชาการศึกษา 7 ว. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  รับผิดชอบดูแลสนามกีฬาจังหวัดนนทบุรี           วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  "เมืองน่าอยู่  การศึกษาก้าวหน้า  สิ่งแวดล้อมดี  ประเพณีดั่งเดิม   เศรษฐกิจพัฒนา  ประชาร่วมใจ  มุ่งเน้นบริการ  สร้างงานโปร่งใส"ความสัมพันธ์และพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน                องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  จัดตั้งขึ้นมาตามพระราชบัญญัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัด  พ.ศ. 2540  ให้มีหน้าที่ดังนี้1.ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดแย้งต่อกฎหมาย2.ทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด3.สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนอื่นๆ พัฒนาท้องถิ่น4.ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นๆ5.แบ่งสรรเงินตามกฎหมายแกสภาตำบลและส่วนราชการท้องถิ่นอื่น6.คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  บำรุงรักษาศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น7.จัดทำกิจกรรมใดๆอันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น  ที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด  และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการ  หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ  ทั้งนี้ตามกำหนดในกฎกระทรวง8.จัดทำกิจกรรมใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด                  ความผูกพันธ์หรือความรู้สึกที่ดีต่อหน่วยงานหรือองค์กร                เดิมข้าพเจ้ารับราชการเป็นครูสังกัดเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต  2   สอนอยู่โรงเรียนประถมศึกษา  รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับทางด้านกีฬาของจังหวัดนนทบุรี  ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีได้  เปิดกองการศึกษาและได้รับโอนย้ายสนามกีฬาจังหวัดนนทบุรีเข้ามาอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  หลายๆฝ่ายเห็นสมควรว่าข้าพเจ้าเหมาะที่จะเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบทางด้านกีฬาของจังหวัดนนทบุรี  จึงได้โอนย้ายข้าพเจ้ามาดำรงตำแหน่ง  นักวิชาการศึกษา 7 ว.  เพื่อมาทำหน้าที่บริการประชาชนและพัฒนาด้านกีฬาต่อนักเรียนในจังหวัดนนทบุรี  นับว่าเป็นภาระกิจที่หน้าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง  ที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านผู้ใหญ่หลายๆท่านตั้งแต่  ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  นายกเทศมนตรีต่างๆ  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ตลอดจนผู้อำนวยการโรงเรียนต่างๆ  ที่ได้มอบภาระกิจอันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งให้                ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าข้าพเจ้าจะพยายามทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายนี้ให้เต็มความรู้และความสามารถของข้าพเจ้า  เพื่อก่อให้เกิดความสุขและความพึงพอใจแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการสนามกีฬาจังหวัดนนทบุรีอย่างเต็มความภาคภูมใจ

           

นางวีราวัลย์ จันทร์ปลา รหัส 50038010037
เรียนอาจาย์พจนารถ  ซีบังเกิด   และสวัสดีเพื่อน ๆ ชาวปรม. รุ่น4 ทุกคน  ข้อที่ 1  วิสัยทัศน์ (Vision)  พันธกิจ (Mission)  ค่านิยม (Values)  ในหน่วยงานมีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร?    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  วิสัยทัศน์(Vision)  มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อความเป็นไทของปวงชน พันธกิจ (Mission)    ผลิตบัณฑิตทุกสาขาตามความต้องการของสังคม ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ   สร้างองค์ความรู้เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสากล   บริการความรู้และวิทยาการเพื่อความสันติและยั่งยืนของสังคม  อนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้เอื้อต่อสังคมโลก  และอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน  
            ปัจจุบันผู้ศึกษาทำงานที่  งานทะเบียนและวัดผล  กองบริการการศึกษา    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมและบริการวิชาการ  เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีปัญญาและเป็นที่ต้องการขอสังคม   ส่งเสริมและการจัดการศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัย     บริการสารสนเทศทางวิชาการ  สนับสนุนการและบริการการเรียนการสอนและวัดผลให้มีคุณภาพ  และส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการให้มีคุณภาพ   นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายขององค์กรคือจะเป็นหน่วยงานบริการวิชาการที่มีระบบริหารจัดการที่เป็นสากลจนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ  ISO อย่างต่อเนื่อง   จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับวิสัยทัศน์  และพันธกิจของมหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ขององค์กร  
           ข้อที่ 2 จาก  The 8 Key Drivers of Engagement  ข้อ 7 การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน    (Employee development) จากการแข่งขันทางธุรกิจที่มากขึ้นในยุคปัจจุบัน ทำให้ทุกองค์กรจะต้องพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง และนำศักยภาพของพนักงานออกมาพัฒนางาน พัฒนาองค์กร เพื่อให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในธุรกิจ  องค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น การศึกษาหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ หรือการสัมมนาได้กลายมาเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ  กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กร ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารนั้นจะให้ความสำคัญกับบุคลากรในการพัฒนาและฝึกฝนอย่างเหมาะสมและดีเพียงใด ซึ่งต้องปฏิบัติงาน พัฒนางาน ให้มีประสิทธิภาพ ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น พนักงานซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้นจึงจำเป็นที่ต้องพัฒนาบุคลากรซึ่งถือว่ามีความสำคัญทีสุดเหนือกว่าทรัพยากรอื่นใด  เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์เป็นทั้งผู้สร้าง   ผู้พัฒนาและผู้ทำลายทรัพยากรอื่น ๆ   เมื่อทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญดังนั้นองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานนั่นเอง

 น.ส.ญานิสา   เวชโช   50038010013

ข้อที่ 1  วิสัยทัศน์ (Vision)  พันธกิจ (Mission)  ค่านิยม (Values)  ในหน่วยงานมีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร?

กรมการจัดหางาน   เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมการมีงานทำ  คุ้มครองคนหางานและเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานของประเทศ

---มีหน้าที่หลัก  คือ  มีหน้าที่ปฏิบัติการและประสานงานเกี่ยวกับการจัดหางานให้แก่บุคคลในวัยทำงาน ให้คำปรึกษาด้านอาชีพและแนะแนวอาชีพ บริการรับลงทะเบียนบุคคลที่มีความประสงค์จะทำงาน รับเรื่องราวร้องทุกข์ของคนหางาน และปฏิบัติงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข้อที่ 2 จาก  The 8 Key Drivers of Engagement 

ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน

            คนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งขององค์กร เพราะคนเป็นผู้ปฏิบัติงานทุกอย่างขององค์กร หากไม่มีคนหรือมีคนไม่มีคุณภาพ ก็จะทำให้การจัดการงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้ยาก

            ดังนั้น การที่จะทำให้พนักงานทุกคนเกิดความรัก ความผูกพัน และรู้สึกภาคภูมิใจกับองค์กร ก็คือ  การบำรุงขวัญหรือสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน การพัฒนาบุคคลให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มความสามารถ รวมถึงการบำรุงรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่า พวกเขามีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร

บังอร ภูมิวัฒน์ เลขที่ 31
ตอบคำถามข้อ 1     วิสัยทัศน์   ( สนง. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง)สร้างความมั่นคงในอาชีพการทำสวนยางให้เกษตรกร  นำไปสู่การมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น  สังคมและชุมชนเข้มแข็งพันธกิจ(1)  ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกยางพันธุ์ดีและไม้ยืนต้นเศรษฐกิจชนิดอื่นทดแทนยางเก่าและปลูกยางในพื้นที่ใหม่(2)  พัฒนาเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง/ตลาดยางพาราระดับท้องถิ่น(3)  ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต  และการพัฒนาคุณภาพผลผลิตงานที่เกี่ยวข้องงานที่ทำ  คือ  การจัดทำงบประมาณและการบริหารเงินขององค์กร รวมทั้งการจัดสรรเงินงบประมาณให้โครงการ/งาน/แผนปฏิบัติการ  เพื่อให้งานตามพันธกิจ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกังพันธกิจขององค์กรตอบคำถามข้อ 2     จาก 8 Key  Drivers of Engagement  มีความเห็นว่า ข้อที่จะผูกใจพนักงานในองค์กรได้มากที่สุด  คือ ข้อที่ 1 (Trust and integrity)  การสร้างความศรัทธา  ซื่อสัตย์ และความเชื่อมั่น  ให้พนักงานรู้สึกกับองค์กร  ว่าองค์กรมีความจริงใจ  ดูแลพนักงานด้วยความเสมอภาค   ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เข้าหลักการผูกพัน 3 ทาง คือ Think  Feel Act  สิ่งเหล่านี้  หากทำให้พนักงานมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์กรได้ ก็จะสามารถผูกใจพนักงานให้อยู่กับองค์กร  โดยไม่สนใจว่าบริษัทอื่นจะให้ค่าตอบแทนสูงกว่า  เพราะเขาจะไม่มั่นใจว่าบริษัทนั้นจะมีความจริงใจดูแลเขาและครอบครัวได้เท่าบริษัทเดิม
นางสาว อมเรศวร์ พฤฒปภพ รปม.รุ่น4
รายงาน เสนออาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ข้อ1 สถานที่ปฏิบัติงานอยู่นั้นคือ กรมบังคับคดี (Mission) ของกรมบังคับคดี คือ 1.ให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี และการวางทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เสมอภาคเป็นธรรมและรวดเร็ว 2. ศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชีและการวางทรัพย์ของประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม 3.พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้ทันสมัย รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงตามภาวการณ์เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานและบริการประชาชนโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมในสังคมและสิทธิมนุษยชน 4.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพคล่องตัวสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง 5.พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญด้านการบังคับคดี 6.เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและส่งเสริมความร่วมมือและส่วนร่วมการบังคับคดีของภาครัฐภาคเอกชน ประชาชนตลอดจนไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นการบังคับคดี (Vision) ของกรมบังคับคดีคือ กรมบังคับคดีเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการและกำกับดูแลบังคับคดีอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใสโดยประชาชนมีส่วนร่วม ข้อ2 ความซื่อสัตย์และความศรัทธา เนื่องจากในหน่วยงานของข้าพเจ้ามีบุคลากรอยู่น้อยทำให้หัวหน้าดูแลลูกน้องได้อย่างทั่วถึงมีความเป็นกันเองและจะถามไถ่อยู่ตลอดเวลาว่างานเป็นอย่างไรบ้างทำได้ไหม เนื่องจากต่างคนก็ต่างมาจากสาขาที่ไม่ได้สอดคล้องกับงานที่ทำโดยตรงหัวหน้าจึงมีความเป็นห่วงเป็นใย มีปัญหาอะไรก็จะคุยกับหัวหน้าได้ตลอดเวลา จึงทำให้ทุกคนในหน่วยงานมีความซื่อสัตย์และศรัทธา กับหัวหน้าเป็นอย่างมากหัวหน้าเป็นคนที่รักลูกน้องจะคอยปกป้องสิทธิของลูกน้องให้เสมอเพราะหัวหน้าจะเห็นลูกน้องเป็นเสมือนกับคนในครอบครัวเดียวกันเหมือนเป็นพ่อของทุกคนมีความเป็นห่วงเป็นใยตลอดเวลาหัวหน้าเป็นคนที่รักลูกน้องจะคอยปกป้องสิทธิของลูกน้องให้เสมอ
นางสาวมัลลิกา โสดวิลัย เลขที่ 18 รหัส 50038010018
เรียน  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด และเพื่อนๆ รปม. รุ่นที่ 4 ทุกคน                  ด้วยดิฉัน นางสาวมัลลิกา  โสดวิลัย   เป็นบุคลากรคนหนึ่งที่ทำงานภายใต้สังกัด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งบุคลากรทุกคนต้องถือปฏิบัติ  โดยมี ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ได้ระบุไว้ดังนี้ปรัชญา   การศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของมวลมนุษยชาติวิสัยทัศน์   สถาบันการศึกษาสาธารณสุขชั้นนำในภูมิภาคเอเชียพันธกิจ   1.  จัดการศึกษาทางการสาธารณสุขทุกระดับ                   2.  ส่งเสริมสนับสนุนดำเนินการวิจัยทางการสาธารณสุข                  3.  บริการวิชาการสาธารณสุขและบริการส่งเสริมสุขภาพ                  4.  ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย                จากปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ดังกล่าวข้างต้น ทำให้บุคลากรทั้งสายวิชาการ สายบริหาร และสายสนับสนุน ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คู่คุณธรรม เพื่อออกไปรับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แข็งแกร่ง เป็นศูนย์กลางวิชาการ สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างความองค์ความรู้ใหม่ ให้คำปรึกษาด้านวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนและการทำงานของบุคลากรด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีคุณภาพ รวมทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการดำเนินชีวิต                และสืบเนื่องมาจาก ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผูกโยงมาถึงความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน ซึ่งดิฉันมีความภาคภูมิใจในคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านการสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย ที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หรือพวกเราชาวมหาวิทยาลัยมหิดล จะเรียกพระนามของพระองค์ท่านว่า พระราชบิดา ผู้ซึ่งวางรากฐานด้านการ          สาธารณาสุขไว้เป็นอย่างดี พวกเราชาวมหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีรากฐานด้านการสาธารณาสุขที่ดีและอยู่ได้อย่างยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้                ปัจจุบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย 13 ภาควิชา ทั้ง 13 ภาควิชา จะผลิตบัณฑิตสาขาต่างๆ ทั้งในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ด้วยมาตรฐานการศึกษาเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ นอกจากนี้ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ยังได้รับความร่วมมือจากองค์การระหว่างประเทศ เช่น SEMEO-Trop.Med., WHO, UNICEF, World Bank ให้จัดหลักสูตรการศึกษานานาชาติในระดับปริญญาโทมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังมีบทบาทในการศึกษาเพื่อชี้นำการพัฒนาประเทศในด้านการจัดการศึกษา  การฝึกอบรม และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ด้านการวางแผนพัฒนาสาธารณสุข แก่มิตรประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยการสร้างเครือข่ายด้านสาธารณสุขร่วมกัน เช่น เครือข่าย APACPH (Asia Pacific Academic Consortium for Public Health) และเครือข่าย SEAPHEIN (South East Asia Public Health Education Institution Network) เป็นต้น สำหรับการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมนั้น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีสำนักงานบริการเทคโนโลยีสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในการให้บริการ การส่งเสริมสุขภาพทั่วไป ส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม  และสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยในการทำงาน โดยให้บริการวิชาการทั้งในเขตเมือง ชนบท และโรงงานอุตสาหกรรม และยังมีศูนย์ส่งเสริมสุขภาพที่ให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค สำหรับประชาชนทั่วไป และเป็นศูนย์สำหรับการฝึกปฏิบัติส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษา  และด้วยความภาคภูมิใจในสิ่งที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ให้บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนมาโดยตลอดนี้  ดิฉันยังมีเรื่องที่ประทับใจและภาคภูมิใจในเรื่องที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทของคณะสาธารณสุขศาสตร์ รวมทั้งนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยสมทบ คือ มหาวิทยาลัยประสานมิตร ซึ่งก่อนที่นักศึกษาจบหลักสูตรต้องมีการฝึกปฏิบัติภาคสนาม และในปีนี้ต้องฝึกปฏิบัติภาคสนามร่วมกัน ณ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  ในระหว่างวันที่ 28 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 9 มีนาคม 2551 (ขณะนี้ยังฝึกอยู่ในภาคสนาม)  ซึ่งในช่วงปลายเดือนมกราคม 2551 ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวอย่างครึกโครมว่า ได้เกิดไข้หวัดนกขึ้นที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักศึกษาจะต้องไปฝึกภาคสนาม  แต่สิ่งหนึ่งที่ดิฉันได้ยินและได้ฟังโดยไม่มีวันลืมคือ คณบดีและคณาจารย์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ให้โอวาทนักศึกษาในวันปฐมนิเทศก่อนออกฝึกภาคสนามว่า พวกเราชาวสาธารณสุขศาสตร์ทุกคน ได้เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทของพระราชบิดามาแล้วว่า พวกเราจะพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของมวลมนุษยชาติ เพื่อให้มีสุขภาพและจิตใจที่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงถือได้ว่าไข้หวัดนกที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ เป็นสิ่งที่จะทำให้พวกเราต้องนำทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง คือ การนำความรู้ที่ได้รับในชั้นเรียนและห้องทดลองไปสู่การฝึกปฏิบัติ โดยการไปให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพและจัดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะแก่สังคมและชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ดิฉันเห็นว่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ดำเนินการตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ อย่างมุ่งมั่น รวมทั้งการให้ความสำคัญกับสายสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ส่งเสริมสายสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ เพื่อให้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และนำมาพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ทำให้ดิฉันมีความภาคภูมิใจในองค์กรเป็นอย่างยิ่ง  
นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รหัส 50038010042
เรียนอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  และสวัสดีเพื่อน ๆ รปม. รุ่น  4  ทุกคน                ข้อ  1.  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ค่านิยม   ในหน่วยงาน  มีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร  เป้าหมาย  วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปรัชญา                                                                                                   ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม                   วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อความเป็นไทของปวงชนพันธกิจ1. ผลิตบัณฑิตทุกสาขาตามความต้องการของสังคม
2. ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. สร้างองค์ความรู้เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์
4. พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสากล
5. บริการความรู้และวิทยาการเพื่อความสันติและยั่งยืนของสังคม
6. อนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้เอื้อต่อสังคมโลก
7. อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน
ผู้ศึกษาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายกองทุนพัฒนาบุคลากร  กองบริหารงานบุคคล  มหาวิทยาลัย      ราชภัฏสวนสุนันทา  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นในการจัดหา จัดสรรเงินทุน เพื่อนำมาสนับสนุนการให้ทุนอุดหนุนการศึกษา และพัฒนาบุคลากรทุกสายงานให้มีศักยภาพการทำงานที่เหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่ ความรับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ สนองตอบความต้องการของสังคม  และเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป ข้อ  2.  The 8 Key Drivers of Engagement  เลือก ข้อ 7 การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน  (Employee development)   ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ  มีการปรับตัวหยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องเน้นเรื่องประสิทธิภาพการบริหารงานเป็นเป้าหมายหลัก ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าว แรงกดดันในการทำงานมีมากขึ้น ความคาดหวังของพนักงานในเรื่องต่าง ๆ  เพิ่มสูงขึ้น การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับองค์กรและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป รวมถึงการหาวิธีการเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานให้ยึดมั่นต่อความสำเร็จในเป้าหมายของหน่วยงาน และขององค์การ โดยที่ฝ่าย HR ต้องเน้นการประสานงานอย่างใกล้ชิดไม่เฉพาะกับฝ่ายบริหารเท่านั้นแต่ต้องจัดระบบการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานในทุกระดับให้มากขึ้นด้วย  การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เมื่อทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ ดังนั้นองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานนั่นเอง การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เป็นประเด็นที่องค์กรต่าง ๆ ต้องให้ความสนใจมากที่สุด ได้แก่ พัฒนาระบบสารสนเทศ  การฝึกอบรม  การประชุมสัมมนาวิชาการ  การลาศึกษาต่อ  การไปศึกษาดูงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  ทั้งนี้เพื่อยกคุณภาพและมาตรฐานของพนักงานให้มีศักยภาพมีความสามารถในการแข่งขันในยุคสังคมฐานความรู้ ทั้งนี้ความสำเร็จของการนำแผนพัฒนาศักยภาพของพนักงานไปปฏิบัติจะขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารที่จะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจั
น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001
เรียน อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด  ข้อ1. องค์กร คือ กรมทางหลวง (Department of Highway) มีภารกิจตามอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวงให้มีโครงข่ายสมบูรณ์ครอบคลุมทั่วประเทศและเชื่อมโยง กับต่างประเทศ เสนอนโยบายและแผนพัฒนาทางหลวง ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างบูรณะและบำรุงรักษาทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา จัดทำมาตรฐานและข้อกำหนดเกี่ยวกับงานทาง พัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในระดับสากล ตลอดจนกำกับตรวจตรา ควบคุมทางหลวงและงานทางในความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเทศวิสัยทัศน์ (Vision) คือ มุ่งมั่นพัฒนาระบบทางหลวงตามมาตรฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ทาง

พันธกิจ    (Mission)

1.พัฒนาโครงการข่ายทางหลวงในเชิงบูรณาการ เพื่อตอบสนองต่อวาระแห่งชาติ และยุทธศาสตร์รายพื้นที่ โดยการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

2. รักษาระดับมาตรฐาน ความสามารถในการให้บริการของโครงข่ายทางหลวง สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ทางหลวง 

3.สร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการวิศวกรรมงานทาง การบริหารและกำกับดูแลการใช้ทางหลวง เพื่อให้เกิดระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม

4.พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อพลวัตของการเปลี่ยนแปลง 

 

  ปัจจุบันปฏิบัติงานในกรมทางหลวง สำนักเลขานุการกรม ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ในงานสารบรรณ ความสำคัญ...งานสารบรรณ

1. เป็นเครื่องมือในการบริหารงานของข้าราชการทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน

2. ใช้เป็นสื่อในการติดต่อประสานงาน ทำความเข้าใจระหว่างหน่วยงาน 

3. เอกสารที่จัดทำขึ้น ใช้เป็นเครื่องเตือนความจำของผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง

4.เอกสารที่จัดทำขึ้น เป็นหลักฐานอ้างอิงในการติดต่อหรือในการทำความตกลง

5. เอกสารที่จัดทำขึ้นอาจเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต

กล่าวคือ เป็นส่วนสนับสนุนและประสานงานให้งานของกรมทางหลวงดำเนินไปตามภารกิจที่ที่มีประสิทธิภาพและอย่างสมบูรณ์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ขององค์กรข้อ2. จาก The 8 key Drivers of Engagement เลือกข้อ 8. Relationship with one’s manager (ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน)“มีคำกล่าวว่า คนเข้ามาเพราะองค์กร แต่ลาออกเพราหัวหน้างาน” เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของหัวหน้าและลูกน้องได้อย่างดี ดังนั้นการจะทำให้พนักงานเห็นค่าของความสัมพันธ์กับหัวหน้างานนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าหัวหน้างานนั้นปฏิบัติตนเช่นไร  หัวหน้างานที่มีเคารพในความเป็นมนุษย์ของพนักงาน และพร้อมจะช่วยเหลือพนักงานเสมอ ในทุกทางและทุกที่ที่ทำได้และสิ่งนั้นต้องไม่ขัดกับกฏและระเบียบ ที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการกรม หัวหน้าฝ่ายของเรา มักจะจัดงานวันเกิดให้กับพนักงานเสมอ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจ และมักจะรู้ข่าวเสมอเมื่อคนในครอบครัวพนักงานเจ็บป่วยและมักจะถามข่าวคราวของคนในครอบครัวอยู่เสมอ และยังแสดงเผื่อแผ่มาถึงครอบครัวเราด้วย อย่างวันที่ 12 สิงหา ซึ่งเป็นวันแม่ หัวหน้าจะมอบของขวัญให้แม่เราและเขียนคำขอบคุณเล็กๆแนบไว้ด้วย หากมีโอกาสหัวหน้าจะคอยถามเรื่องงานเสมอว่าเป็นอย่างไร  บางครั้งเราก็ไม่ค่อยชอบใจกับคนหลากหลายแบบแต่ฉันคิดว่างานที่นี้ถึงจะเหนื่อย  แต่ก็สบายใจที่ได้ร่วมงานกับทุกคนที่นี่และทุกวันที่มาทำงานก็กลายเป็นวันดีๆที่ไม่น่าเบื่อเลย  
ข้อ 1.  ปัจจุบันปฏิบัติงานอยู่ที่ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร  วิสัยทัศน์ขององค์กร  คือ  เป็นองค์กรหลักด้านแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อชี้นำและผลักดันนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ  มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย เป้าหมายการจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผน และเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ พัฒนาและให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง  ปัจจุบันข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งบุคลากร 5 ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนอัตรากำลัง การสรรหา การบรรจุและแต่งตั้ง การโอน การย้าย การลาออก การขอกลับเข้ารับราชการ การศึกษาต่อ ดูงานและการฝึกอบรม การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติงาน การประชุม         อ.ก.ก. สำนัก การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย การทะเบียนประวัติ การขอรับบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุราชการ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และประกาศเกียรติคุณ การจัดทำบัตรประจำตัวของข้าราชการและลูกจ้าง การดำเนินการตามกฎหมายประกันสังคม การตรวจพิจารณาจัดทำนิติกรรมและสัญญา  การให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติงานดังกล่าว เป็นการทำเพื่อบุคลากรในหน่วยงาน ให้ได้รับสิทธิ ได้รับความยุติธรรม เสมอภาค ในทุกๆ เรื่อง ที่ปฏิบัติอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภูมิใจมาก สามารถช่วยเหลือตอบข้อสงสัย ช่วยแก้ปัญหาทางด้านงานบุคคล ให้เพื่อนร่วมงานได้รู้ถึงสิทธิ สวัสดิการที่พึงได้รับข้อ2. จาก The 8 key Drivers of Engagement  เลือกตอบข้อ 8. ที่กล่าวว่า Relationship with one’s manager ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน หน่วยงานของข้าพเจ้า สำนักงานเลขานุการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร มีผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ เลขานุการสำนัก รองลงมาเป็น หัวหน้าฝ่าย 3 ฝ่าย ฝ่ายการคลัง ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป แต่ละฝ่าย มีผู้ใต้บังคับบัญชา ฝ่ายละ 8 คน รวมทั้งหน่วยงาน 28 คน ผู้บังคับบัญชา ทั้ง 4 คน ดังกล่าว เป็นผู้ที่มีน้ำใจดีมาก เห็นอกเห็นใจลูกน้อง คอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ สิ่งไหนดี ก็ชี้แนะ สนับสนุน ให้ความก้าวหน้าในทุกด้าน แม้บางครั้งจะตำหนิลูกน้องในบางครั้ง แต่ที่ท่านทำไปเพื่อให้เราได้ปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้น เมื่อมีคนย้าย โอน เลื่อนระดับ หรือวันสำคัญ เช่น ปีใหม่ ท่านก็จะมีการเลี้ยงต้อนรับ เลี้ยงส่ง เลี้ยงปีใหม่และมีของขวัญให้เสมอๆ ทุกๆ ปี จะได้รับของขวัญจากท่านตลอด ซึ่งสิ่งนี้ ทำให้ดิฉันประทับใจท่านมาก เพราะมองดูแล้วท่านก็เหมือนญาติเราคนหนึ่ง
เรียน    อ.พจนารถ  ซีบังเกิด   ข้อ  1   การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กร (Workforce  Alignment in an  Organization)องค์กรที่ผู้ศึกษาทำงานอยู่ เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ มีฐานะเป็นนิติบุคคล  ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเงินรับฝากและให้กู้ให้กับสมาชิก  จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  29 มีนาคม 2520  ปัจจุบันมีอายุ 30 ปี   เป็นสหกรณ์ที่ผ่านการประเมินจากกรมส่งเสริมสหกรณ์  การบริหารของคณะกรรมการดำเนินการ มีนโยบายให้สมาชิกทุกคน  มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสุขเพิ่มขึ้นตามอัตภาพยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จึงจัดกิจกรรมส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการออมเพิ่มขึ้น ฯลฯ  ผลจากการดำเนินงานทำให้มีการกำหนดวิสัยทัศน์  ภารกิจและค่านิยม ในการดำเนินงานช่วง  4  ปี  ระหว่างปี 2550-2553  เพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ มีรายละเอียด ดังนี้วิสัยทัศน์  (Vision)  เป็นศูนย์รวมการเงินและสมาชิก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้อยู่ดีมีสุข โดยการออมช่วยเหลือซึ่งกันละกันด้วยหลักธรรมาภิบาลภารกิจ (Mission)  ขององค์กรโดยกำหนดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก1.       พัฒนาศักยภาพด้านการเงินและการออม2.       ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายธุรกิจและกิจการของสหกรณ์3.       เสริมสร้างสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง4.       พัฒนาองค์กรให้มีการบริหารจัดการที่ดีค่านิยม (Values) ขององค์กร มีความซื่อสัตย์  สามัคคี  มีน้ำใจ  ยึดมั่นในองค์กรเป็นค่านิยมที่องค์กร พยามยามสร้างให้เจ้าหน้าที่ทุกมี  มีความรักในองค์กร               จากวิสัยทัศน์  ภารกิจ  และค่านิยมขององค์กร  ดังกล่าวเพื่อให้การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน พิจารณาเห็นว่าการดำเนินงานตามนโยบายให้สำเร็จลุล่วงต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดีมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้  ความพร้อมและความรับผิดชอบของกรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง  กรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่ต้องนำมาใช้ควบคู่กันไปอย่างเหมาะสมและชาญฉลาด จึงจะสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ   -2-ข้อ  2   การผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน(Employee  Engagement for sustainable  Growth)                ผู้ศึกษาเห็นว่าการที่จะให้พนักงานในองค์กรมีความผูกพันกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นั้น  ผู้บริหารควรคำนึงถึงปัจจัยเรื่องการสร้างความศรัทธาและซื่อสัตย์  เพราะเห็นว่าหากผู้บริหารไม่สร้างให้พนักงานมีความศรัทธาในองค์กรแล้วการที่พนักงานจะมีความจริงใจในการทำงานก็ไม่เกิดทำงานไปวัน ๆ ไม่มีแรงจูงใจ  ผู้บริหารงานต้องมีความโปร่งใส  เป็นธรรม และตรวจสอบได้  ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นต่อองค์กร  สร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพัฒนาทักษา  ความรู้  ความสามารถ  ความเชี่ยวชาญ  พัฒนาระบบการบริการให้สะดวกรวดเร็ว จัดหาอุปกรณ์สำนักงานและเทคโนโลยีให้เหมาะสมตามความจำเป็น  เมื่อพนักงานได้รับความไว้ใจจากผู้บริหารให้มีส่วนร่วมเสนอความคิดแล้วเขาก็จะเกิดความศรัทธา  ตามด้วยความซื่อสัตย์  โดยธรรมชาติคนเราเมื่อมีความสุขกับการทำงานแล้วก็ไม่แสวงหาที่จะไปทำงานที่อื่น                ดังนั้น   จึงเห็นว่าการที่ผู้บริหารสร้างความศรัทธาให้เกิดกับพนักงานเป็นแบบอย่างที่ดีและมีความซื่อสัตย์ ในการบริหารจัดการให้ผู้ร่วมงานได้ปรากฏแล้วการสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ต่อองค์กรให้กับพนักงานก็จะเกิดเองโดยไม่ต้องบังคับ “““““““““

แนวคิดนอกกรอบ

เจริญพร ท่านอาจารย์จีระ คณาจารย์ผู้ประสิทธิ์ความรู้ และชาว รปม. รุ่นสี่ทุก ๆ ท่าน

เนื่องจากวันนี้ อาตมภาพ ได้นั่งคิดและนึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ในช่วงการเรียนการสอนที่อาจารย์จีระเองก็ตาม หรืออาจารย์ท่านอื่นก็ตาม ดำเนินการสอนพวกเราชาว รปม. รุ่น 4 รวมถึงทีมงานของท่านอาจารย์ อาตมภาพคิดว่าเป็นเรื่องดีและดีในหลายส่วน ซึ่งบางครั้งบางคราวอาจตามทันบ้างไม่ทันบ้าง แต่ก็พอถู ๆ ไถ ๆ ไปได้ เนื่องจากอาตมภาพไม่ได้จบสายตรงทางโลกมาเลย นี้เป็นครั้งแรกในรั้วมหาลัย จะรั้วหรือว่ากำแพงก็ตามทีเถอะ แต่นี้เป็นครั้งแรกจริง ๆ ที่เข้ามาใช้ชีวิตหรือศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัย ฯ

  • เข้าประเด็นเลยก็คือวันนี้ จะมากล่าวถึงประโยชน์ของการส่งการบ้าน(การวัด) ทางบล๊อก ว่ามีประโยชน์อย่างไร

       ครั้นจะกล่าวถึงคำว่า ประโยชน์ นั้น ไม่ว่าใครก็ตามย่อมหวังย่อมปรารถนาด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นประโยชน์ในด้านไหนก็ตามแต่ก็เหมือนกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้จากการส่งการบ้านการวัดทางบล๊อก ซึ่งอาตมภาพคิดว่าเป็นประโยชน์หลักๆ สองด้านคือ แก่ตน และ แก่คนอื่น ๆ ที่สนใจใฝ่รู้

  • จะกล่าวถึงประโยชน์ในส่วนตนก่อน คือ การที่เราได้แนวคิด หรือการส่งการบ้านทางบล๊อกนี้ เป็นการกระตุ้นความคิดเรา สมองเราให้ได้ทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งหลาย ๆ คน อาจมีความรู้ความสามารถ แต่ได้แค่คิด ไม่ได้แสดงออกหรือไม่ได้นำมาปฏิบัติเลย ก็เปรียบเสมือนมีอาวุธแต่ไม่รู้วิธีใช้อาวุธ เช่นนี้อาวุธก็เปล่าประโยชน์ แต่ถ้ามีอาวุธด้วย รู้วิธีใช้ด้วย คนนั้นแหละดี ถ้าเขาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์นะ ถ้าใช้ในทางที่ผิดก็ยุ่งละโยมทั้งหลาย (ก็คงตัวใครตัวมันแหละ หลวงพ่อโกยช่วยได้)  การทีอาจารย์ให้เราทั้งหลายส่งงานทางบล๊อกนี้ อาตมภาพไม่ทราบนะว่าท่านมีแนวคิดยังไง แต่ประโยชน์ที่ได้นั้นแล้วแต่ว่าใครจะคิดได้ว่า ตัวเรา ๆ นั้น ได้อะไร เช่นคำถามของ อ. จีระ ที่ท่านถามว่า อ่านแล้วได้อะไรบ้าง และในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ก็จะถามว่า ฟังรายการวิทยุท่านแล้ว ได้อะไร ? นี้เป็นคำถามที่อาตมภาพสังเกต ซึ่งจากคำถามเช่นนี้ อาตมภาพคิดว่า ท่านกำลังสอนให้เราเป็นนักขบคิด นักวิเคราะห์ ใช้ความคิดความสามารถที่นักศักษาแต่ละท่านมีอยู่ในตัวเอง ได้ประยุกต์ใช้ให้ถูกกาลเวลา เหมือนกับว่าท่านกำลังดึงสมบัติที่เรามีส่วนนี้ออกมาจากตัวเราให้คนอื่น ๆ ได้ทราบได้รับรู้และถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้แก่กันและกัน ซึ่งอาตพภาพขอชื่นชมในส่วนนี้ ซึ่งตอนแรกก็งง ๆ กับการเรียนการสอน เนื่องจากเห็นว่าทำไมถึงจัดดอกไม้ ทำไมถึงจัดโต๊ะแบบนั้น ทำไมชั่วโมงแรกเครียดจัง และแล้วก็ได้มานั่งขบคิดที่วัด ก็มองในส่วนที่ดีและก็ได้เห็นความจริงหลายประการ ซึ่งหลาย ๆ ท่านอาจไม่เข้าใจตามที่อาตภาพคิดหรือไม่เห็นด้วยก็ตามที ส่วนนี้ก็ไม่ได้บังคับกันว่าต้องเข้าใจตามที่อาตภาพคิด ฯลฯ
  • ต่อมาในส่วนของประโยชน์ที่อาตมภาพคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น ๆ นั้น เนื่องจากการส่งงานทางบล๊อก ไม่ใช่เพียงแค่อาจารย์เท่านั้นที่ได้อ่าน แล้วก็จบกันไปในรายวิชานั้น ๆ แต่มันไม่ใช่เช่นนั้น ในทางกลับกันคือ คนอื่น ๆ ได้อ่าน ได้ดูแนวคิด หรือ การวิเคราะห์ หรือแม้แต่ข้อมูลขององค์กรที่แต่ละท่านใน รปม.รุ่น ๔ ได้ทำงานอยู่ เช่นในเรื่องของวิสัยทัศน์ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งหลายท่านอาจไม่เคยทราบมาก่อนก็ได้ทราบจากคน ๆ เดียวที่สืบค้นมาส่ง พร้อมที่จะนำเสนอสู่สายตาของอีกหลาย ๆ ท่าน ทั้งชาว รปม.รุ่น๔ เองก็ตามหรือไม่ใช่ชาว รปม.เองก็ตาม ที่เขาสนใจอยากอ่าน บางสิ่งบางอย่างเราอาจคิดว่า ไม่น่าจะเป็นประโยชน์ แต่ในทางกลับกัน อาจจะเป็นประโยชน์กับอีกหลาย ๆ คนก็เป็นได้ ซึ่งส่วนนี้เราไม่สามารถจะรู้ได้ ฯ ท่านทั้งหลายประโยชน์ส่วนที่อาตภาพกล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนเล็กส่วนน้อยที่ได้ยกมากล่าว ถ้าจะกล่าวให้มากมายกว่านี้ก็ได้ แต่เกรงคนอ่านจะฝั่นเฝือเสียก่อน  อีกอย่างคือ (เพราะอาตมภาพนึกได้แค่นี้มั้ง) ต้องการให้ท่านทั้งหลายมองเห็นถึงประโยชน์ในส่วนต่าง ๆ ของการส่งการบ้านทางบล๊อกว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง (คืออยากให้คิดเองและเห็นด้วยตัวของตัวเองบ้าง)  และนี้ก็เป็นเพียงแนวคิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อยากนำเสนอ หวังว่าท่านทั้งหลายคงไม่หมั่นใส้จนเกินควรนะ ฯ

         หมายเหตุ  การเขียนบทความครั้งนี้มิใช่การเขียนเพื่อสรรเสริญหรือเยินยออาจารย์ท่าน และไม่ใช่การเขียนเพื่อให้ใครผู้ใดผู้หนึ่งเกิดอกุศลจิตคิดไม่ดีกับบทความ คิดว่าผู้อ่านทั้งหลายมีความสามารถพอที่จะเลือกเก็บสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่ใส่ใจสิ่งที่มิใช่ประโยชน์จากบทความ       ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ขอความสุขในการเรียนบริหารทรัพยากร์มนุษย์จงมีแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่เป็นไร ก็ขอให้ท่านวางใจเป็นกลาง ถ้าหากผู้ใดมีอคติ ก็ขอให้นึกเอาเองจ๊ะ แต่ก็ขอให้ท่านทุกคนนั้นมีความสุขและประสบความสำเร็จกันถ้วนหน้า (รวมถึงอาตภาพด้วยนะ เพราะอาตมาก็เรียนกับโยมด้วยเช่นกันนี่นา อย่าทิ้งกันละ 555+)  ฯ

  • หนทางไกล     ใจอาจท้อ    ขอแค่หวัง
  • เติมพลัง          ต่อศรัทธา    ให้กล้าฝัน
  • อาจจะล้า         แต่จะกล้า    ฝ่าประจัญ
  • ไม่ถึงวัน           ไม่สิ้นสุด     ไม่หยุดเดิน(บิณฑบาตร)

  • ขอเจริญพร

จาก ชาว รปม.รุ่น ๔ ที่ปลื้มอาจารย์ ไม่น้อยกว่าที่อาจารย์ปลื้ม (เพราะไม่ยอมน้อยหน้าท่านอาจารย์)

นางสาวจุไรรัตน์ เปลี่ยนขำ
ชื่อ จุไรรัตน์ เปลี่ยนขำ   เลขทะเบียน 50038010048สวัสดีอาจารย์ เพื่อน ๆ พี่ ๆ MPA รุ่น 4  ทุกคนค่ะปัจจุบันทำงานที่ อู่ประทีปมีทรัพย์ เป็นธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมต่อรถBUS ดำรงตำแหน่ง ผู้จักการฝึกหัด อู่ประทีปมีทรัพย์เป็นกิจการของครอบครัวและในส่วนตัวนั้นได้มีโอกาสมาบริหารงานได้ไม่ถึงปี เพราะเพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นคุณพ่อผู้เป็นผู้ก่อตั้งอู่ประทีปขึ้นมาได้สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับของวงการอุตสาหกรรมต่อรถBUS และท่านได้เสียชีวิตเมื่อตอนที่ดิฉันศึกษาอยู่ชั้นปี1 ดังนั้นการบริหารงานธุรกิจปัจจุบันจึงยังอิงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ของคุณพ่ออยู่ ข้อ1.  วิสัยทัศน์ (Vision)  พันธกิจ (Mission)  ค่านิยม (Values)  ของหน่วยงานวิสัยทัศน์ (Vision)  : เป็นอู่ต่อรถBUS ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ในเรื่องการดีไซน์และเป็นผู้นำในเรื่องการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในอุตสาหกรรมรถBUSให้เทียบเท่ากับนานาชาติพันธกิจ (Mission)  : เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์แก่วงการอุตสาหกรรมการประกอบรถBUSไทย ตลอดจนสร้างความประทับใจ และความสุขให้เกิดแก่ประชาชนที่ใช้บริการรถบัสค่านิยม (Values)  : 1. เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมใหม่ ๆ                              2. การสร้างวัฒนธรรมองค์กร                              3. ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารงานและแสดงความคิดเห็น                              4. ส่งเสริมพนักงานที่มีความดี ความชอบ

ข้อ2. The 8 key Drivers of Engagement  (เลือกข้อ เพื่อนร่วมงาน)เคยมีคนกล่าวว่า ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน นั่นหมายความว่าผลงานเป็นตัวกำหนดค่าของบุคคล แต่ความเป็นจริงแล้วกว่าผลงานจะออกมาเป็นที่ยอมรับนั้น ต้องได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นหัวหน้างาน ทีมงาน หรือเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนร่วมงานที่เปรียบเสมือนผู้ที่สร้างบรรยากาศในการทำงาน ไม่ว่าบรรยากาศนั้นจะดีหรือไม่ดีก็มีส่วนในการปฏิบัติงานของบุคคล หากบรรยากาศที่ทำงานดีการปฏิบัติงานก็จะดีผลงานก็ดี แต่ถ้าบรรยากาศไม่ดีจะเกิดการกดดันในการปฏิบัติงานทำให้ผลงานที่ออกมาไม่ดี ดังนั้นวิธีง่าย ๆ ที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานที่ทำได้ไม่ยากมีดังนี้1. กล่าวคำ สวัสดี เสมอ2. ยิ้มแย้มแจ่มใส3. กล่าว ขอโทษ เมื่อทำผิด4. รู้จักให้อภัย5. มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น (ไม่ใช่ก้าวก่าย)6. ไม่อิจฉาว่าร้ายกัน7. ซื่อสัตย์8. จริงใจต่อกันและกัน9. ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ10.ปฏิบัติได้ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร........................................................................................................

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์จีระ  ของพวกเราชาว รปม.รุ่น 4   พวกเราขอขอบคุณอาจารย์มากๆ ที่อาจารย์ดำเนินการจัดการความรู้ KM ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์  และท่านได้เชิญอาจารย์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้พวกเราได้มองเห็นภาพกว้าง สิ่งที่พวกเราต้องทำต่อไปคือ Learner Learner and Learner

 

นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

ข้อ ๑. Vision & Mission
     กระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีภาระหน้าที่ในการ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เป็นไม้ผลัดแรกในการดำเนินงานด้านความมั่นคงและกิจการภายใน การเสริมสร้างโอกาสให้กับประชาชน การเป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการการบริหารจัดการในส่วนภูมิภาค รวมถึง ภารกิจหรืองานนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเฉพาะเรื่องเฉพาะกรณี เช่น การแก้ปัญหาความยากจน การประกาศสงครามเพื่อเอาชนะยาเสพติด การปราบปรามผู้มีอิทธิพล อาวุธสงคราม เพื่อส่งเสริมการบริหาร ประสานความร่วมมือร่วมใจกับทุกภาคส่วนในการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสรรค์สร้างประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะให้กับประชาชน ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้กับประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ  กระทรวงมหาดไทยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยใหม่ เพื่อให้กระบวนการบริหารงานมีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญและวาระแห่งชาติของรัฐบาลที่เปลี่ยนแปลงไปตามห้วงระยะเวลาต่างๆ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  โดยกระทรวงมหาดไทยยังคงยึดถือทิศทางและกรอบการดำเนินงานตามปรัชญาของการ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" จากการมีส่วนร่วมของ Stakeholders ทั้งภายในและภายนอก โดยเน้นเป้าหมายให้เป็นองค์กรหรือหน่วยงานหลักในการสร้างโอกาสให้ประชาชนมีความมั่นคง และมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามหลักของการบริหาร ราชการแนวใหม่ที่มุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Administration to Citizen Center)
วิสัยทัศน์กระทรวงมหาดไทย
     "เป็นองค์กรหลักในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อำนวยความเป็นธรรมของสังคม ด้วยการบูรณาการการบริหารจัดการในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างโอกาสให้ประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน"
พันธกิจกระทรวงมหาดไทย
     ๑. ประสาน สนับสนุนและเสริมสร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ความร่วมมือในการบริหารจัดการจังหวัดแบบบูรณาการกับ ทุกกระทรวงและทุกภาคส่วน
     ๒. เสริมสร้างการอำนวยความเป็นธรรม และส่งเสริมคุณธรรมของสังคม 
     ๓. ส่งเสริม และรักษาความมั่นคงภายใน ความสงบเรียบร้อย และให้บริการประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
     ๔. เสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง
     ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองและชนบทควบคู่ไปกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ข้อ ๒. The ๘ Key Drivers of Engagement ๒๐๐๘
Employee development
- Is the company making an effort to develop the employee's skills?
     พนักงาน ที่เข้าทำงานตามหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ส่วนมากจะพบกับปัญหาในการทำงาน โดยเฉพาะช่วงแรกของการทำงาน เพราะต้องปรับตัวให้เข้ากับงาน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของหน่วยงาน ดังนั้น หน่วยงาน จึงควร "พัฒนาศักยภาพของ พนักงาน" เช่น การอบรมเรียนรู้งานต่าง ๆ ของหน่วยงาน ก่อนที่จะมีการเริ่มทำงาน เพื่อลดปัญหาในการทำงาน จะส่งผลต่อ ความผูกพันและความรู้สึกดี ของพนักงานที่มีต่อหน่วยงาน

นางสาวดนิตา มูลละออง
นางสาวดนิตา  มูลละอองหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ 4มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ในหน่วยงานมี VISION และ MISSION ขององค์กรคืออะไร และงานของท่านเกี่ยวกับ VISION และ MISSION ขององค์กรอย่างไรวิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นVISION ของเทศบาลตำบลสระยายโสมพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจก้าวไกล ขจัดภัยยาเสพติดMISSION   ของเทศบาลตำบลสระยายโสมสะดวกปลอดภัย  ระบายน้ำสะดวก  สัญจรปลอดภัย  ห่วงใยทรัพย์สินใส่ใจสังคม  มีการศึกษาดี  ประเพณีงดงาม  คุณภาพชีวิตดีถ้วนหน้า  ขจัดสิ้นปัญหายาเสพติดชื่นชมบริการ  สร้างเสริมประสิทธิภาพบุคคล  หวังประสิทธิผลบริหารเงิน  มุ่งสู่ความสำเร็จวิธีการ                            บริหารจัดการพัสดุเป็นเลิศสร้างฐานเศรษฐการ  ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  ขยายโอกาสสาธารณูปการเพียบพร้อม  พัฒนาความสะอาด  ปราศจากมลพิษ  ประชิดบริการอาสา  งามตามภูมิทัศน์MISSION ในงานที่ปฏิบัติของข้าพเจ้างานทะเบียนราษฎร คือ บริการรับแจ้งการเกิด การตาย การออกเลขที่บ้านใหม่ แก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน แจ้งย้ายออก แจ้งย้ายเข้า  แจ้งเกิดเกินกำหนด  เพิ่มชื่อ  จัดพิมพ์บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น  ตรงกับ VISION ขององค์กร คือ ใส่ใจสังคม คุณภาพชีวิตดีถ้วนหน้า  MISSION งานทะเบียนราษฎร สามารถตรวจสอบได้ว่าในเขตเทศบาลตำบลสระยายโสมมีจำนวนประชากรเท่าใด เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ คนชรา จำนวนเท่าใด เมื่อเรามีข้อมูลประชากรและจำแนกกลุ่มบุคคลได้ก็สามารถวางแผนในการดูแลประชากรในเขตเทศบาลได้อย่างครบถ้วนและเพียงพอ และสามารถรู้ได้ว่า กลุ่มบุคคลแต่ละกลุ่มมีความต้องการอะไร และมีปัญหาใดให้ทางเทศบาลช่วยเหลือ เมื่อเทศบาลทราบปัญหาการสามารถจัดสรรให้ตรงกับความต้องการก็จะทำให้ประชากรมีคุณภาพที่ดี ตัวอย่างเช่น บางคนในเขตเทศบาลไม่มีชื่อปรากฏในทะเบียนบ้านเนื่องจากไม่ได้แจ้งการเกิด เราก็สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้ จากที่ตัวข้าพเจ้าได้ประสบมาคือมีเด็กในเขตเทศบาลหลายคนไม่ได้ดำเนินการแจ้งการเกิด ทำให้เด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ และสาเหตุที่ไม่ได้แจ้งการเกิดเพราะพ่อแม่มองว่าต้องทำมาหากินไม่มีเวลา  แต่ในทางกลับกันเด็กในปัจจุบันถ้าจะเข้ารับการศึกษาจะต้องมีสูติบัตรและชื่อในทะเบียนบ้าน ถ้าไม่มีหลักฐานดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ หรือถ้าได้สถานศึกษาของรัฐจะรับเฉพาะในระดับประถมศึกษา ไม่สามารถเรียนต่อในระดับมัธยมได้ ถ้าเด็กไม่มีความรู้ติดตัวถามว่าสามารถประกอบอาชีพได้ไหม ได้แต่อาชีพอะไรที่จะทำให้เขาสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี มีเงินพอใช้ และถ้าหากเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ก็จะทำให้เราเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าไปอย่างน้อยก็ 1 คน คนทุกคนมีค่า ถ้าหากบุคคลเหล่านี้ได้รับโอกาสในด้านการศึกษาและเมื่อได้รับการศึกษาแล้วทำให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้นทำให้เรามีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น และทรัพยากรที่ดีสามารถช่วยผลักดันให้สังคมดี ที่ประเทศชาติที่จะพัฒนาจะต้องเริ่มต้องจากระดับท้องถิ่นก่อนแล้วถึงจะพัฒนาต่อไปจนถึงระดับจังหวัด ต่อไปจะก็ไปถึงระดับประเทศ The 8 Key Drivers of Engagement  ปัจจัยใน 8 ปัจจัยนี้ ทำให้ท่านผูกพันกับงานที่ท่านทำมากที่สุด ลักษณะงาน   งานทะเบียนราษฎร เป็นงานที่จะต้องพบปะประชาชนในเขตเทศบาล คือ ให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎร ให้คำปรึกษา ซึ่งตัวข้าพเจ้าเองเป็นคนพื้นที่คือเกิดที่ตำบลสระยายโสม และทำงานในตำบลสระยายโสม ซึ่งมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง ซึ่งตัวข้าพเจ้าเองรู้จักกับคนในเขตเทศบาลตำบลสระยายโสมเกือบจะทั้งหมด ทำให้การทำงานนั้นง่ายขึ้นคือ เรารู้จักเขา เขารู้จักเรา ซึ่งเดิมนั้นการติดต่องานทะเบียนราษฎรนั้นจะต้องติดต่อกับที่ว่าการอำเภอเท่านั้น เมื่องานทะเบียนราษฎรถ่ายโอนมาสู่เทศบาลก็ทำให้คนในเขตเทศบาลสะดวกขึ้นเพราะเมื่อไม่ทราบข้อมูลข่าวสารก็สามารถสอบถามได้โดยตรงและประชาชนในเขตเทศบาลก็กล้าที่จะถามในสิ่งที่ไม่รู้ เพราะเจ้าหน้าที่ก็เป็นคนในตำบลสระยายโสม หรือที่เรียกว่าเจ้าหน้าที่ก็เป็นลูกเป็นหลานของคนในเขตเทศบาลตำบลสระยายโสม ข้าพเจ้าเองจึงรู้สึกผูกพันกับงานที่ทำในองค์กร เพราะมีความรู้สึกว่าเราได้ทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลได้รับรู้ข่าวสาร รวมทั้งเข้าใจในระเบียบการทะเบียนราษฎรมากขึ้น ได้อำนวยความสะดวกกับประชาชนในการติดต่องาน ณ ที่ว่าการอำเภอ เนื่องจากว่าปฏิบัติงานทะเบียนราษฎรอยู่ที่ว่าการอำเภอ และข้าพเจ้าเองมีความรู้สึกดีที่ได้ทำอะไรให้กับบ้านเกิดของข้าพเจ้า การทำงานนั้นก่อนที่เราจะไปทำงานในระดับที่สูงขึ้นนั้น ถ้าเรามีโอกาสที่จะทำให้ท้องถิ่นเราพัฒนาเราต้องเริ่มที่ท้องถิ่นตัวเองก่อน เพราะการที่ประชาชนในเขตได้รับบริการขั้นพื้นฐานที่ดี ก็จะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกดี และรู้จักรักถิ่นฐานบ้านเกิด และรู้สึกภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย
ประกาศ
นักศึกษาปริญญาโท MPA รุ่นที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทุกท่าน  คุณสุทัศน์แจ้งมาว่า เสาร์-อาทิตย์นี้ย้ายไปเรียนที่ห้องสมุดชั้น 5 ค่ะ
นางสาวมะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์

          ประวัติความเป็นมาของคณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

          คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  มีประวัติความเป็นมาในการบริหารการเรียนการสอนนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2480  จนถึงปีพุทธศักราช 2551  รวมเวลา 71 ปี  โดยเริ่มจากโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย  พัฒนามาเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา  และจนกระทั่งได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ในปี พ.ศ.2547 

          ปรัชญา  ทรงปัญญา  ศรัทธาธรรม  นำสังคม

          วิสัยทัศน์  เป็นองค์กรชั้นนำในการผลิตและพัฒนาครูมืออาชีพ และในการวิจัยทางการศึกษา

          พันธกิจ

  1. ผลิตครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพ
  2. วิจัยเพื่อพัฒนาและสร้างองค์ความรู้สู่ความเป็นครูมืออาชีพและตอบสนองต่อการปฏิรูปการศึกษา
  3. บริการวิชาการเพื่อพัฒนาครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนให้สอดคล้องกับแนวนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
  4. ทำนุบำรุงและบริการสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ การอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาของครู และภูมิปัญญาท้องถิ่น

          วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตสึกษาที่มีคุณภาพ
  2. เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต ครุ ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา
  3. เพื่อวิจัยและพัฒนา และสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้รวมทั้งคุณลักษณะที่พึงประสงค์สู่ความเป็นมืออาชีพและตอบสนองต่อการปฏิรูปการศึกษา
  4. เพื่อจัดอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติและจัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ
  5. เพื่อจัดกิจกรรมทางวิชาการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีความรู้ และมีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
  6. เพื่อรวบรวมและให้บริการข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ภูมิปัญญาครุและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  7. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ

          การเสริมสร้างความผูกพันธ์ต่อองค์กร องค์กรควรมีการปรับปรุงการรับรู้ของพนักงานที่มีต่อการปฏิบัติงาน โดยพยายามสร้างภาพลักษณ์ในด้านความเป็นที่พึ่งพาได้แก่พนักงาน และให้ความยุติธรรมแก่พนักงานทุกคน  ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ และพยายามให้สิ่งจูงใจที่สนองความต้องการหรือคาดหวังของพนักงาน ซึ่งจะนำไปสู่การมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ

          ลักษณะขององค์การต้องเอื้ออำนวยต่องานและบุคคล คือ ลักษณะองค์การแบบประชาธิปไตย (มีการกระจายอำนาจแก่พนักงาน มีกฎ ระเบียบ และขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน มีการเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของและในการบริหารงาน) และควรมีการปรับปรุงลักษณะงานให้สามารถจูงใจพนักงานได้ คือ ลักษณะงานที่มีความสำคัญและท้าทายความสามารถ เปิดโอกาสให้พนักงานได้ติดต่อกับผู้อื่น มีอิสระในการทำงานของตนโดยอาศัยทักษะที่หลากหลายในการทำงาน นอกจากนั้นองค์การควรมีการจัดประเมินผลพนักงานเพื่อจะได้รับข้อมูลย้อนกลับ รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้พนักงานได้ก้าวหน้าในสายอาชีพของตนอีกด้วย

โดย  นางวีรยาพร  อาลัยพร  รหัส  50038010036  เลขที่ 36  รปม. รุ่น 4                                                               เรียน   ท่านอาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด  และเพื่อน ๆ รปม.  รุ่น 4  ทุกคนการบ้านข้อที่  1. VISION   MISSION   VALUE  ขององค์กรคืออะไร  หน้าที่ในการทำงานคืออะไร  แล้วอธิบายความเกี่ยวข้องระหว่างงานในหน้าที่  กับ  VISION                                   ด้วย ดิฉัน นางวีรยาพร  อาลัยพร  เป็นบุคลากรหนึ่งที่ทำงานในองค์กร  คือ   กรมส่งเสริมสหกรณ์  ซึ่งปฏิบัติงานในส่วนของ บุคลากร  7ว  ฝ่ายสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง   กองการเจ้าหน้าที่  โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ นั้น  มีวิสัยทัศน์  พันธกิจ และกลยุทธดังนี้         วิสัยทัศน์  คือ  เป็นองค์กรที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข็มแข็ง และเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิก  

พันธกิจ

พันธกิจที่ 1   สร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม เผยแพร่เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์พันธกิจที่ 2   คุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งและเป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์พันธกิจที่ 3   พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและเทคโนโลยีให้แก่   สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพันธกิจที่ 4   เสริมสร้างโอกาสการเข้าหาแหล่งทุนให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพันธกิจที่ 5   ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพเป้าประสงค์1.       เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์2.       เพื่อพิทักษ์ รักษา สิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร3.       เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล4.       เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานได้5.       เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีสิทธิในที่ดินเป็นของตนเอง

กลยุทธ์

1.   สร้างจิตสำนึกในการดำเนินกิจกรรม  

2.  เสริมสร้างภูมิปัญญาและการเรียนรู้ระหว่างสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและ องค์กรชุมชน 

3.  เสริมสร้างบทบาทของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรต่อชุมชน  4.  พัฒนาการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร5. สร้างความเข็มแข็งให้กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร6. พัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์7. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาสหกรณ์8. พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร9. พัฒนาระบบการตลาดสินค้าสหกรณ์10. การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรเพื่อพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ 11. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร12. การส่งเสริมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรให้มีธรรมาภิบาล (Good Governance13 .การส่งเสริมผลิตภัณฑ์สหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐานสินค้า OTOP 14. สร้างโอกาสเข้าหาแหล่งทุนและแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร15. การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการจัดการกองทุนพัฒนาสหกรณ์  16. สร้างกลไกการเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ในการจัดที่ดินทำกินอำนาจหน้าที่ 

กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริม เผยแพร่ ให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง โดยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการบริหารการจัดการ การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการเชื่อมโยงธุรกิจ สหกรณ์สู่ระดับสากล เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยมีความเกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่กับวิสัยทัศน์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์  คือ กองการเจ้าหน้าที่เป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมส่งเสริมสหกรณ์  ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานบุคคลของกรมด้วยระบบยุติธรรม เสริมสร้างวินัย  โปร่งใส  รวดเร็วและตรวจสอบได้  เสริมสร้างสวัสดิการและบริการที่ดีให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างของกรมส่งเสริมสหกรณ์  รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เพื่อสรรหาบุคลาการที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสิทธิภาพเพื่อออกไปส่งเสริมงานให้ความรู้ด้านสหกรณ์ ให้แก่สหกรณ์  กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการ วิธีการ และอุดมการณ์สหกรณ์  เพื่อให้มีความเข็มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้

  การบ้าน ข้อ 2. The 8  Key Drivers of Engagement  2008  จากการวิสัยทัศน์  พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์  ทำให้ดิฉันเลือกความภาคภูมิใจในองค์กรของเรา เนื่องจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นองค์กรที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข็มแข็ง และเป็นที่พึ่งขอมวลสมาชิก โดยมีการส่งเสริมทางด้านความรู้ให้กับสมาชิกสหกรณ์  กลุ่มเกษตรกร  และประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการของสหกรณ์  ตลอดจนพิทักษ์  รักษา  สิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรโดยใช้การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล  ตลอดจนใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการที่ดี กองการเจ้าหน้าที่ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมส่งเสริมสหกรณ์  ที่ทำหน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลให้กับกรมฯ  ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สำคัญในการทำงาน  เพราะจะต้องสรรหาบุคลากรที่ดี มีความรู้  มีคุณธรรม  เพื่อออกไปส่งเสริมความรู้ด้านสหกรณ์ให้กับสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรและประชาชนทั่วไป  ดังนั้นในการสรรหาและบรรจุบุคคลเพื่อแต่งตั้งทั้งการย้าย และการเลื่อนในระดับที่สูงขึ้นนั้น จะต้องทำด้วยความยุติธรรม  โปร่งใส  ตรวจสอบได้  รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาดำเนินการเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและคล่องตัว  ดังนั้นในปี  พ.ศ. 2548  กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลระดับประเทศ ในด้านการบริหารงานบุคคลดีเด่น  จากสำนักงาน ก.พ.  ซึ่งทำให้ดิฉันภาคภูมิใจมากในกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ดิฉันรับราชการอยู่      

 

นางสมจิตร ส่องสว่าง รหัส 50038010038เรียน อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด          ดิฉันทำงานที่กรมส่งเสริมสหกรณ์  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานของหน่วยงานดังนี้ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทศาสตร์ วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง และเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิก พันธกิจ พันธกิจที่ 1 สร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม เผยแพร่เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ พันธกิจที่ 2 คุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งและเป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์ พันธกิจที่ 3 พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและเทคโนโลยีให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พันธกิจที่ 4 เสริมสร้างโอกาสการเข้าหาแหล่งทุนให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พันธกิจที่ 5 ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ เป้าประสงค์ เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ เพื่อพิทักษ์ รักษา สิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานได้ เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีสิทธิในที่ดินเป็นของตนเอง กลยุทธ์ สร้างจิตสำนึกในการดำเนินกิจกรรม เสริมสร้างภูมิปัญญาและการเรียนรู้ระหว่างสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและองค์กรชุมชน เสริมสร้างบทบาทของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรต่อชุมชน พัฒนาการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาสหกรณ์ พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร พัฒนาระบบการตลาดสินค้าสหกรณ์ การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรเพื่อพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร การส่งเสริมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรให้มีธรรมาภิบาล (Good Governance) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์สหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐานสินค้า OTOP สร้างโอกาสเข้าหาแหล่งทุนและแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการจัดการกองทุนพัฒนาสหกรณ์ สร้างกลไกการเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ในการจัดที่ดินทำกิน                 จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นองค์กรที่ส่งเสริมช่วยเหลือ สนับสนุนให้เกษตรกรให้รวมตัวกันเป็นกลุ่มและสหกรณ์ตามสมัครใจของเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเหมือนๆกันให้ผ่อนคลายลง  ผลลัพธ์สุดท้ายคือกลุ่มและสหกรณ์เป็นที่พึ่งของเกษตรกรได้                ผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องใช้วิธีการที่หลากหลายในการสร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจในการตัดสินใจ เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานเช่น การมอบอำนาจหน้าที่ให้บุคลากรปฏิบัติ ส่งเสริมให้บุคลากรเกิดการพัฒนาเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะในการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆที่หน่วยงานต้องการพัฒนา                ความภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน                ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่งที่ได้ทำงานช่วยเหลือเกษตรกรในท้องที่อำเภอต่างๆในจังหวัดภาคอีสานรวม 22 ปี ได้เห็นความยากลำบากของเกษตรกรในการทำมาหากินมีหนี้สินแต่หลังจากที่เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์แล้วเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยมีองค์กรของตนเองเป็นที่พึ่งและรัฐการสนับสนุนซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานภาครัฐแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีภารกิจในการส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีความกินดีอยู่ดีมีความสุข

วิสัยทัศน์

         วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี  เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อชุมชนและพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้  ภายในปี พ.ศ.  2544

ความเกี่ยวข้องของงานกับวิสัยทัศน์

          ตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ  มีความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์  เนื่องจากพัสดุมีหน้าที่ต้องสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก  รวมถึงวัสดุ  อุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้เป็นไปตามความต้องการของบุคลากร  เพื่อช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์กร

วิธีผูกใจพนักงานในองค์กร  (ภาวะผู้นำองค์กร)

           เนื่องจากเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ  จึงมีความเกี่ยวข้องกับผู้บังคับบัญชา  ผู้ให้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน  โดยมีหลักการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้ร่วมงาน  ดังนี้

             การปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา

                  1.  ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ

                  2.  เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรค  ปรึกษาผู้บังคับบัญชาเพื่อหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

                  3.  ทำงานมุ่งผลประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ  มีความเสียสละเพื่อองค์กร

                   4.  เมื่อเห็นข้อบกพร่อง  หรือมีข้อเสนอแนะ  กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

                   5.  มีความอ่อนน้อมต่อผู้บังคับบัญชา

                   6.  ดูแลในเรื่องส่วนตัวผู้บังคับบัญชาตามสมควร (เป็นเลขาส่วนตัวผู้อำนวยการ)

                    7.  ให้กำลังใจผู้บังคับบัญชาได้ตามโอกาสและกาลเทศะตามสมควร

การปฏิบัติตนต่อเพื่อนร่วมงาน

                    1.  ไม่แบ่งแยกข้าราชการลูกจ้าง  ทุกคนมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กรตามภาระหน้าที่ของตน

                     2.  การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างร่วมแรงร่วมใจแม้บางครั้งอาจไม่ใช้ภาระงานของเราโดยตรง

                    3.  ให้ความรู้สึกที่ดีและมีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงานไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

                    4.  รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน

การปฏิบัติตนต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

                     1.  ถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้มากที่สุด  เพราะถ้าผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถทำให้เราปฏิบัติงานน้อยลงและสามารถพัฒนางานส่วนอื่นต่อไปได้

                     2.  การสั่งงานมีการติดตามงานหรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานมิใช่เพียงสั่งอย่างเดียว

                     3.  สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้

                     4.  รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญหา

                     5.  ให้ความเอื้ออาทรเป็นกันเองด้วยความจริงใจ

                     2.

 

ข้าพเจ้าทำงานอยู่ที่โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี เป็นครูในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ สอนภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ ป.1 - ป.3

Vision ของโรงเรียน คือ โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ มุ่งเน้นคุณธรรมจริยธรรม สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ไทยและร่วมมือกับชุมชน

Mission คือ 1. จัดระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของนักเรียน

                     2. ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องทางศาสนา จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรมของชาติ

                     3. ให้นักเรียนรักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นพลเมืองดีและนำไปปฏิบัติได้

                     4. ส่งเสริมการแสวงหาพัฒนาด้านวิชาการ ประสบการณ์ ความสามารถและทักษะด้านต่างๆทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

                     5. ส่งเสริมสนับสนุนการผลิต และการใช้สื่ออุปกรณ์ในการเรียนการสอน

                     6. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของบุคคลากรทุกฝ่ายของโรงเรียน

                     7. ประสานความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาทุกๆด้าน

Values คือ ความสุภาพและความรู้ นำสู่ความรักและการพัฒนา เพื่อบรรลุความจริงของชีวิตมนุษย์

ข้อ2. จาก The 8 key Drivers of Engagement เลือกข้อ 8. Relationship with one’s manager (ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน) ในโรงเรียนผู่ที่มีอำนาจการตัดสินใจทั้งหมดคือผู้บริหาร(ครูใหญ่)ซึ่งจะคอยติดตามดูแลครูทุกๆคนและในการบริหารในแต่ละวันนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการของครูใหญ่เพียงคนเดียวในการตัดสินใจในกิจกรรมของโรงเรียนทั้งหมด ซึ่งหากครูใหญ่ไม่มีการเอาใจใส่บุคคลากรของโรงเรียนเอาแต่สนใจความต้องการของตนเองก็จะทำให้ครูซึ่งเป็นบุคคลากรที่สำคัญนั้นเกิดความคิดที่จะไปอยู่ที่อื่นหรือหางานใหม่เพราะในบางครั้งผู้บริหารไม่ได้ลงมาสัมผัสด้วยตัวเองทำให้ขาดความเข้าใจไม่ถูกต้องและไม่รับฟังเหตุผลของผู้ใต้บังคับบัญชาเอาเหตุผลของตนเองเป็นหลักและไม่มีความยืดหยุ่นทำให้ไม่มีความรักความผูกพันธ์ต่อองค์กร หากผู้บริหารให้ความเอาใจใส่ไนตัวของครูให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ตอบสนองความต้องการของครูทำให้ครูทำงานอย่างสะดวกสบาย ก็จะเกิความรักความผูกพันธ์และไม่อยากจะไปทำงานที่อื่น

 

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031 เลขที่ 31
รายงาน เสนออาจารย์พจนารถ ซีบังเกิดนางสาวจุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031 เลขที่ 31 รปม.รุ่น 4ข้อที่1 วิสัยทัศน์(Vision ) พันธกิจ (Mission )ในหน่วยงานมีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร?บริษัท สตาร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจสื่อสาร ประเภทงานโฆษณาทั่วไป และการสื่อสาร ในรูปแบบเกี่ยวกับการผลิตโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สินค้าและบริการมียอดขายสูงและเป็นผู้นำในท้องตลาดวิสัยทัศน์ (Vision ) To be an indispensable source of our clients’ competitive advantage,เป็นแหล่งรวมแหล่งกลยุทธ์และชั้นเชิงที่ลูกค้าต้องพึ่งพาและขาดไม่ได้ เพื่อให้เขาเป็นต่อเหนือคู่แข่งพันธกิจ (Mission ) We will work with our cients as a community of star – reachers whose ideas build leadership brands through imagination and a sensitive and deeper understanding of human behavior”ทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างชุมชนผู้ไขว่คว้าดวงดาวความคิดสร้างสรรค์ของเราจะต้องสร้าง Brandของลูกค้าให้นำหน้าเหนือคู่แข่งโดยผ่านจิตนาการและความเข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งในพฤติกรรมของผู้บริโภคมีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่ Account  Management แผนกบริหารงานลูกค้า ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับลูกค้าทางด้านการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อทำให้สินค้าของลูกค้าติดตลาดมียอดขายสูงและมีชื่อเสียง ซึ่งมีความสอดคล้องกัพันธกิจขององค์ก เนื่องจาก ธุรกิจขององค์การ คือ การผลิตงานและการให้บริการผลิตงานโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการต่างๆโดยผ่านสื่อทางสิ่งพิมพ์ ทางวิทยุและโทรทัศน์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การให้ข่าวสารข้อมูลและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการสินค้าต่างๆให้กับประชาชนและผู้รับบริการทั่วประเทศ เกิดความสนใจและมีภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอุปโภคบริโภคสินค้าทำให้สินค้าและบริการของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการขององค์การมีผลยอดขายและเป็นผู้นำในท้องตลาดของธุรกิจในแต่ละประเภทซึ่งถือเป็นเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจข้อที่2 ให้เลือก The 8 Key Driver of Engagement ให้เลือกปัจจัย จาก  8  ข้อ  เลือก  1  ข้อ   ว่าสนใจข้อไหน ที่องค์กรจะผูกใจพนักงานได้อย่างไร?เลือกที่ ข้อ 5  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน  องค์กรให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมขององค์การผ่านปัจจัยที่แสดงถึงวัฒนธรรม ประกอบด้วย ระเบียบแบบแผน เช่น การจัดกิจกรรมเป็นประเพณีขององค์การ เช่น งานแถลงผลประกอบการและนโยบายการดำเนินงาน งานวันเกิดองค์การและการประกาศเกียรติคุณของพนักงานผู้ที่ประสบความสำเร็จ  กีฬาสี  กิจกรรมเฉลิมฉลองหรือนันทนาการต่างๆ โดยจะขอกล่าวถึงกิจกรรมงานแถลงผลประกอบการและนโยบายการดำเนินงาน เป็นงานสำคัญประจำปีตามประเพณีขององค์การจะจัดในช่วงต้นปี งานนี้พนักงานทุกคนมารับประทานอาหารร่วมกันเพื่อฟังคณะกรรมการบริหารองค์การรายงานผลประกอบการที่ผ่านมาและแถลงเป้าหมายและทิศทางที่จะร่วมกันดำเนินต่อไปรวมถึงการแจกรางวัลให้กับพนักงานดีเด่นที่มีผลการปฏิบัติงานยอดเยี่ยมทั้งในด้านการทำงานและการช่วยเหลือกิจกรรมอื่นๆขององค์การซึ่งถือว่าเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ พนักงานในองค์การถือว่าเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศและร่วมยินดีและยอมรับผู้ที่ได้รางวัลว่าเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมและมีความสามารถการประกาศเกียรติคุณให้กับพนักงานดีเด่นที่มีผลการปฏิบัติงานนั้น พนักงานทุกคนจะรู้สึกชื่นชมร่วมยินดีและยกย่องผู้ที่ได้รับรางวัลว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถสูงและเป็นผู้ที่ทำงานเก่งกิจกรรมเป็นเลิศ กิจกรรมต่างๆขององค์การมีขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรกับองค์การซึ่งจะทำให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์การและมีความภาคภูมิใจในองค์การรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จขององค์การ               ประวัติศาสตร์ เรื่องราว และตำนานขององค์การ ซึ่งแสดงถึงความเป็นมาขององค์การประวัติของบุคคลสำคัญ ได้ถูกถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมงานกับองค์การด้วยการOrientation และการกล่าวถึงบุคคลสำคัญขององค์การในงานเฉลิมฉลองต่างๆขององค์การเพื่อให้พนักงานรุ่นใหม่ได้รับอย่างเคร่งครัด  
นายสุรัตน์ ชวนชื่น รหัส 50038010014

 นายสุรัตน์ ชวนชื่น รหัส 50038010014

1. งานที่ทำเกี่ยวกับอะไร และการทำงานเป็นไปตาม Alignment และ Vision หรือไม่ตอบ  ข้าพเจ้าปฏิบัติงานที่กองควบคุมอาคารสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร งานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติคือตรวจสอบและการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (พิเศษ)  ที่มีความสูงเกิน 5 ชั้น และอาคารสาธารณต่างๆ  (ส่วนอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างต่ำกว่า 5 ชั้น ประชาชนต้องขออนุญาตทีสำนักงานเขตนั้นๆ )  ซึ่งมีสถานภาพเทียบเท่ากรมในสำนักการโยธาเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ประกอบด้วยหลายๆกองงาน แต่ละกองยังแบ่งเป็นหน่วยงานย่อยเล็กลงไปเป็นฝ่ายเป็นกลุ่ม งานต่างๆอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มงานธุรการกอง กลุ่มงานรับเรื่องการขออนุญาต กลุ่มงานตรวจและควบคุม และกลุ่มงานอนุญาตใช้อาคารเป็นต้น ส่วนฝ่ายต่างๆก็แบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบตามขนาดของพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น ฝ่ายควบคุมอาคารที่หนึ่ง รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนใต้ ฝ่ายควบคุมอาคารที่สอง รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนเหนือ และฝ่ายควบคุมอาคารที่สาม รับผิดชอบดูแลพื้นที่ ฝั่งธนบุรีทั้งหมด                  ควาสำคัญของการประสานสอดคล้องภายในองค์กร (Organization Alignment      ก่อนที่ผู้บริหารจะนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติผู้บริหารจำเป็นต้องวิเคราะห์ ตรวจดูปัจจัยต่างๆภายในองค์กร โดยละเอียดก่อนว่ามีการประสานสอดคล้องกันหรือไม่ การที่ส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กรไม่ประสานสอดคล้องหรือไม่สนับสนุนการดำเนินการของส่วนอื่นๆ หรือมีความบกพร่อง ย่อมส่งผลให้การดำเนินการในส่วนอื่นๆสะดุดติดขัด  และไม่สามารถดำเนินการในส่วนต่างๆ ตามกลยุทธ์ที่กำหนด                หากผู้บริหาร พบความบกพร่องที่อาจนำไปสู่การไม่ประสานสอดคล้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการขององค์กรได้ตามที่ประสงค์ ปัจจัยต่างๆที่ผู้บริการจำเป็นต้องพิจารณาให้เกิดการประสานสอดคล้องกันประกอบด้วยเช่นกลยุทธ์ (Strategy) โครงสร้าง (Structure) ระบบต่างๆ (System) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ทักษะของบุคลากร (skills) สไตล์การทำงาน (Style) และคุณค่ารวมของสมาชิกในองค์การ (Shared Value)                 ส่วนวิสัยทัศน์ (Vision) ของผู้บริหาร จะต้องมีความฝันมีความคิดกว้างไกลและต้องเป็นผู้เข้มแข็ง มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก เช่น เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ทุกสถานการณ์ (Change) มีภาวะผู้นำ (Leadership) และสามารถสร้างแรงจูงใจ (Motivation) กับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ และมีความยุติธรรม จริยธรรม คุณธรรม (Merite) สูงคุณค่า (Value) ของการดำเนินการตามพันธกิจ ทำให้เกิดผลตอบแทนตามเป้าหมายหรือเป็นไปตามที่ตนเองหวังในตำแหน่งหน้าที่ยกระดับฐานะ เพื่อตนเองส่วนภาคเอกชนธุรกิจ ก็สามารถเพิ่มในการทำกำไรและมีอัตราส่วนความสามารถให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเพื่อเจ้าของกิจการเป็นต้น2. ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน (Relational command)                ในปัจจุบันการรักษาความสัมพันธ์กันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา มีบทบาทปละความสำคัญเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารที่รักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ได้ จะบริหารงานได้อย่างราบรื่น ได้รัความร่วมมือ  ผู้ใต้บังคับบัญชาและมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความทุ่มเทในการแก้ไขปัญหา และการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือพนักงาน มักไม่ก่อปัญหาหรือมีข้อเรียกร้องต่อรอง ท่นำไปสู่ภาระขององค์กรที่สูงเกินระดับที่เหมาะสม                การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดีได้นั้น หัวหน้างานหรือผู้บริหาร จำเป็นต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งนิยมใช้เป็นหลักในการรักษาความสะมพันธ์  ได้แก การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (Compensation) การติดต่อสื่อสาร (communication) ที่มีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอกับผู้ใต้บังคับบัญชา การสร้างความท้าทายให้เกิดขึ้นในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำอยู่ (Challenge) และการดูแลเอาใจใส่หากองค์กรดูแลเอาใจใส่ (Care) “ผู้ใต้บังคับบัญชา” ย่อมจะทำให้ความสัมพันธ์เป็นไปโดยราบรื่นอย่างแน่นอน                นอกจากประเด็นต่างๆข้างต้นแล้ว การรักษาความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ในปัจจุบัน ผู้บิหารหรือหะวหน้างาน ควรมให้ความสนใจเพิ่มเติมกับประเด็นร่วมสมัยอื่นๆ ที่ ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสนใจมากขึ้น เช่น การป้องกันมิให้เกิดการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) การคุ้มครองสิทธิส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา (Privacy Rights) เช่นกาไม่ดักฟังโทรศัพท์ การไม่เข้าไปก้าวกาอยเรื่องส่วนตัวจนเกินไป เป็นต้น  ตลอดจนการให้ความสำคัญกับประเด็นทางครอบครัว (Family Issues) เช่น องค์กรบางองค์กรในปัจจุบันสามารถเชิญให้สมาชิกในครอบครัวมาเข้าร่วมด้วย จึงทำให้เกิดความใกล้ชิดกันมากขึ้น ระหว่างองค์กรกับสมาชิกในครอบครัวของผู้ใต้บังคับบัญชา และช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้ใต้บังคับบัญชาแนบแน่นขึ้นเป็นต้น

 

นายสุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014
1. งานที่ทำเกี่ยวกับอะไร และการทำงานเป็นไปตาม Alignment และ Vision หรือไม่ตอบ  ข้าพเจ้าปฏิบัติงานที่กองควบคุมอาคารสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร งานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติคือตรวจสอบและการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (พิเศษ)  ที่มีความสูงเกิน 5 ชั้น และอาคารสาธารณต่างๆ  (ส่วนอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างต่ำกว่า 5 ชั้น ประชาชนต้องขออนุญาตทีสำนักงานเขตนั้นๆ )  ซึ่งมีสถานภาพเทียบเท่ากรมในสำนักการโยธาเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ประกอบด้วยหลายๆกองงาน แต่ละกองยังแบ่งเป็นหน่วยงานย่อยเล็กลงไปเป็นฝ่ายเป็นกลุ่ม งานต่างๆอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มงานธุรการกอง กลุ่มงานรับเรื่องการขออนุญาต กลุ่มงานตรวจและควบคุม และกลุ่มงานอนุญาตใช้อาคารเป็นต้น ส่วนฝ่ายต่างๆก็แบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบตามขนาดของพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น ฝ่ายควบคุมอาคารที่หนึ่ง รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนใต้ ฝ่ายควบคุมอาคารที่สอง รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนเหนือ และฝ่ายควบคุมอาคารที่สาม รับผิดชอบดูแลพื้นที่ ฝั่งธนบุรีทั้งหมด                  ควาสำคัญของการประสานสอดคล้องภายในองค์กร (Organization Alignment)                 ก่อนที่ผู้บริหารจะนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติผู้บริหารจำเป็นต้องวิเคราะห์ ตรวจดูปัจจัยต่างๆภายในองค์กร โดยละเอียดก่อนว่ามีการประสานสอดคล้องกันหรือไม่ การที่ส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กรไม่ประสานสอดคล้องหรือไม่สนับสนุนการดำเนินการของส่วนอื่นๆ หรือมีความบกพร่อง ย่อมส่งผลให้การดำเนินการในส่วนอื่นๆสะดุดติดขัด  และไม่สามารถดำเนินการในส่วนต่างๆ ตามกลยุทธ์ที่กำหนด                หากผู้บริหาร พบความบกพร่องที่อาจนำไปสู่การไม่ประสานสอดคล้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการขององค์กรได้ตามที่ประสงค์ ปัจจัยต่างๆที่ผู้บริการจำเป็นต้องพิจารณาให้เกิดการประสานสอดคล้องกันประกอบด้วยเช่นกลยุทธ์ (Strategy) โครงสร้าง (Structure) ระบบต่างๆ (System) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ทักษะของบุคลากร (skills) สไตล์การทำงาน (Style) และคุณค่ารวมของสมาชิกในองค์การ (Shared Value)                 ส่วนวิสัยทัศน์ (Vision) ของผู้บริหาร จะต้องมีความฝันมีความคิดกว้างไกลและต้องเป็นผู้เข้มแข็ง มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก เช่น เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ทุกสถานการณ์ (Change) มีภาวะผู้นำ (Leadership) และสามารถสร้างแรงจูงใจ (Motivation) กับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ และมีความยุติธรรม จริยธรรม คุณธรรม (Merite) สูงคุณค่า (Value) ของการดำเนินการตามพันธกิจ ทำให้เกิดผลตอบแทนตามเป้าหมายหรือเป็นไปตามที่ตนเองหวังในตำแหน่งหน้าที่ยกระดับฐานะ เพื่อตนเองส่วนภาคเอกชนธุรกิจ ก็สามารถเพิ่มในการทำกำไรและมีอัตราส่วนความสามารถให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเพื่อเจ้าของกิจการเป็นต้น2. ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน (Relational command)                ในปัจจุบันการรักษาความสัมพันธ์กันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา มีบทบาทปละความสำคัญเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารที่รักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ได้ จะบริหารงานได้อย่างราบรื่น ได้รัความร่วมมือ  ผู้ใต้บังคับบัญชาและมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความทุ่มเทในการแก้ไขปัญหา และการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือพนักงาน มักไม่ก่อปัญหาหรือมีข้อเรียกร้องต่อรอง ท่นำไปสู่ภาระขององค์กรที่สูงเกินระดับที่เหมาะสม                การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดีได้นั้น หัวหน้างานหรือผู้บริหาร จำเป็นต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งนิยมใช้เป็นหลักในการรักษาความสะมพันธ์  ได้แก การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (Compensation) การติดต่อสื่อสาร (communication) ที่มีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอกับผู้ใต้บังคับบัญชา การสร้างความท้าทายให้เกิดขึ้นในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำอยู่ (Challenge) และการดูแลเอาใจใส่หากองค์กรดูแลเอาใจใส่ (Care) “ผู้ใต้บังคับบัญชา” ย่อมจะทำให้ความสัมพันธ์เป็นไปโดยราบรื่นอย่างแน่นอน                นอกจากประเด็นต่างๆข้างต้นแล้ว การรักษาความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ในปัจจุบัน ผู้บิหารหรือหะวหน้างาน ควรมให้ความสนใจเพิ่มเติมกับประเด็นร่วมสมัยอื่นๆ ที่ ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสนใจมากขึ้น เช่น การป้องกันมิให้เกิดการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) การคุ้มครองสิทธิส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา (Privacy Rights) เช่นกาไม่ดักฟังโทรศัพท์ การไม่เข้าไปก้าวกาอยเรื่องส่วนตัวจนเกินไป เป็นต้น  ตลอดจนการให้ความสำคัญกับประเด็นทางครอบครัว (Family Issues) เช่น องค์กรบางองค์กรในปัจจุบันสามารถเชิญให้สมาชิกในครอบครัวมาเข้าร่วมด้วย จึงทำให้เกิดความใกล้ชิดกันมากขึ้น ระหว่างองค์กรกับสมาชิกในครอบครัวของผู้ใต้บังคับบัญชา และช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้ใต้บังคับบัญชาแนบแน่นขึ้นเป็นต้น

 

นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง รปม.รุ่น 4 รหัส 50038010043
เรียนอาจาย์พจนารถ  ซีบังเกิด   ข้าพเจ้านางสาววรางคณา   ศิริหงษ์ทอง  รปม.รุ่น 4  รหัส 50038010043  ข้อที่ 1. ปัจจุบันข้าพเจ้าปฎิบัติงานอยู่ที่กองนโยบายและแผน  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปณิธาน (Motto)ทรงปัญญา  ศรัทธาธรรม  นำสังคม วิสัยทัศน์ ( Vision )มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ  เพื่อปวงชน “A Leading Quality University for All”         พันธกิจ (Mission)1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับแนวหน้า ตรงกับความต้องการของ ชุมชน และสังคมยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ และเป็นประชากรโลก (global citizen) อย่างมีความสุข2. วิจัย สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ สู่การพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาภูมิปัญญาไทยสู่สากล3. ผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่ ที่สนองตอบการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกหัดครู   4. ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและสังคมอย่างมีคุณภาพ  เพื่อมาตรฐานชุมชน สังคมและผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMEs  สู่สากล5. อนุรักษ์  พัฒนาและบริการ  และเป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลสารสนเทศทางด้านศิลปวัฒนธรรม กรุงรัตนโกสินทร์ กองนโยบายและแผนมีหน้าที่-  วางแผนและจัดทำงบประมาณ  โดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายยุทธศาสตร์ของชาติกับเป้าหมายยุทธศานตร์ของกระทรวงและเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงาน  รวมทั้งการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นพื้นฐานในการวานแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน  การเชื่อมโยงผลผลิตกับงานงบประมาณการบริหารจัดการ  และการกำหนดตัวชี้วัดระดับผลผลิตและผลลัพธ์เพื่อการประเมินผลของหน่วยงาน-  บริหารงบประมาณ  ให้หน่วยงานมีความคล่องตัวในการใช้งบประมาณมากขึ้น-  ติดตามประเมินผลและรายงานงบประมาณ ให้มีการรายงานผลการดำเนินงานที่ชัดเจน  ติดตามและประเมินผลความสำเร็จของผลผลิตและเป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน วัตถุประสงค์จากปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจดังกล่าวของกองนโยบายและแผนจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานไว้ดังนี้ 1. เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร วางแผนและพัฒนา สนองความต้องการของสังคม2. เพื่อจัดทำกรอบนโยบาย และแผนพัฒนาสถาบันให้ตอบสนองพันธกิจและเป้าหมายของสถาบัน3. เพื่อให้มีการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาสถาบัน และแผนปฏิบัติการประจำปี4. ส่งเสริมและประสานงานกับหน่วยงานด้านการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ5. เพื่อจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถาบัน จากหน้าที่และวัตถุประสงค์ข้างต้น กองนโยบายและแผนเป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาด้านวางแผน บริหาร  ติดตามประเมินผลและรายงานงบประมาณ เพือให้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด 

ข้อที่ 2.  The 8 Key Driver of Engagement

เลือกข้อ 5  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน (Pride about the company)Organization Commitment (ทัศนคติผูกพันธ์ รักองค์การ)  เกิดจาก        1. Relation with organization  ความสัมพันธ์กับองค์การในด้านใดด้านหนึ่ง นำมาซึ่ง2. Decision to continued membership         ต้องการอยู่ในองค์การรูปแบบ·       Affective        อยู่ด้วยอารมณ์ความรู้สึก ไม่ต้องมีเหตุผล เป็นความผูกพันธ์ที่น่าจะดีที่สุด·       Continuance   เริ่มใช้เหตุผล ชั่งน้ำหนักผลดีผลเสีย ที่จะอยู่หรือออกจากองค์การtangible or tangible cost (มองไม่เห็น เช่น ต้องย้ายบ้าน ย้ายรร.) อยู่เพราะต้องอยู่ (need to)·       Normative      พันธะผูกพันธ์ทางใจ (feeling of obligation) (ought to) เช่น ทุนอานันทมหิดล ที่ไม่ต้องใช้ทุน ในปัจจุบันความผูกพันธ์กับองค์การควรจะมีมากขึ้น เพราะ1) การแข่งขันในปัจจุบัน ผู้จัดการต้องมีหลาย functions  มี multi-skills ต้องรับผิดชอบมากขึ้น ในอดีตแต่ละคนทำหน้าที่เดียวจะหาคนใหม่ได้ง่าย ปัจจุบันองค์การต้องการให้คนอยู่2) มี contract out มากขึ้น ต้องการลด cost มองคนเป็นต้นทุน เกิดความขัดแย้ง (paradox) กับแนวคิดที่มองว่าคนเป็นสิ่งสำคัญ  แต่การ outsourcing ยิ่งต้องการ commitment เพราะผลงานของคนเหล่านี้ก็คือชื่อเสียงขององค์การ  จึงต้องทำให้คนรักโดยเฉพาะรักงานและรักองค์การ (หรือรักนาย รักกลุ่ม) เพื่อรักษาคนให้อยู่กับองค์การแต่ในความเป็นจริงความผูกพันธ์กับองค์การกลับมีน้อยลง เพราะ องค์การก็ไม่ได้รักคน มีการปรับคนออก จากที่อดีต ให้ความมั่นคง (job security) แลกกับความจงรักภักดี (loyalty) รวมทั้งค่านิยมของคนในปัจจุบัน 
                        สิ่งที่มีผลต่อความผูกพันธ์
1. Organizational CharacteristicsFlat , empowerment , decentralization , fairness , open communicationองค์การเล็กจะรู้สึกเป็นคนสำคัญ แต่ถ้าองค์การใหญ่จะกลายเป็น nobody2. Person Characteristicsสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ Person competencies ถ้าตรงกับ Core competencies ขององค์การ จะรู้สึกว่าตนเองสำคัญ3. Work ExperienceRole conflict    ลักษณะงานขัดแย้งกับบุคลิก จะทำให้ไม่รู้สึกผูกพันธ์Role ambiguity  ไม่สามารถอ้างเป็นความรับผิดชอบของตนเองได้ วิธีทำให้คนรักองค์การ (High Commitment)

1. Employment guarantees   

(job security)
2. Egalitarianism in word & deed ความเสมอภาค ลด hierarchy
3. Self-managing team  
4. Job enlargement & Job enrichment  
5. Premium compensation              จ่ายค่าตอบแทนดี
6. Incentive compensation              จ่ายค่าตอบแทนในลักษณะสร้างแรงจูงใจ (motivation) นอกเหนือเงินเดือน
7. Extensive socialization & training   ปลูกฝังกล่อมเกลา
8. Extensive Job rotations              จะได้ share ความเห็นอกเห็นใจของคนในองค์การ
9. Open Information            ให้ข้อมูลสม่ำเสมอ บอกล่วงหน้าแล้วช่วยกันจะดีกว่า
10. Strong culture       มีวัฒนธรรมเข้มแข็งให้คนยึดเหนี่ยวกันมากขึ้น
11. Extensive screening        กรรมการคัดเลือกควรเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมองค์การ และไม่เปลี่ยนบ่อย
12. Strong emphasis on ownership   สร้างความเป็นเจ้าของ ให้มีส่วนร่วมตัดสินใจ ให้มี flexible hour เป็นต้น
          Strategy of Downsizing

1. Work force reduction

(top-down approach) เพื่อลด cost  นิยมทำมากที่สุด
2. Work re-design (re-engineering)         เพื่อเพิ่ม efficiency
3. Systemic approach (learning organization , TQM)  
ทางเลือกอื่น (alternative approach) เช่น สื่อสารให้พนักงานรับรู้และร่วมกันหาทางออก (contribution approach)
 ความผูกพันจากมุมมองนักวิชาการ ชวัลณัฐ เหล่าพูนพัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความผูกพันต่อองค์กร หากจะตีความ Employee Engagement พัฒนามาจากหลักคิดความพึงพอใจในงานของคนทำงาน ประกอบด้วย หัวหน้างาน เนื้องาน และสถานที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม การนิยามความหมายการใช้ขึ้นอยู่กับองค์กรตามความเหมาะสม และตามลักษณะกิจการ  หากจะเจาะจง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพนักงานกับองค์กร มี 3 ลักษณะ คือ 1.ความเชื่อมั่น 2.ยอมรับเป้าหมายร่วมกัน ตั้งใจ ทุ่มเทความสามารถให้องค์กร และ3.ปรารถนาที่จะอยู่ในองค์กร  ตัวอย่างเช่น"โออิชิ" ยึดทำ 4 ได้ 1  ตัน ภาสกรนที ประธานกรรมการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าประสบการณ์จากการทำงานที่ควบคู่กับการสร้างและพัฒนาความผูกพันกับองค์กรและหัวหน้าว่า ลักษณะของคนที่มีความผูกพันกับองค์กร หน้าที่งาน หรือสำหรับหัวหน้า ถ้าไม่เคยมาสาย ไม่เคยลา หรือไม่เคยไม่รับผิดชอบ จะไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่หากปล่อยให้เกิดขึ้นแล้วหนึ่งครั้งก็จะมีครั้งต่อมาเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้ความผูกพันหายไป  "สิ่งที่บอกลูกน้องเสมอ ก็คือ ต้องทำงานให้หนัก เพื่อจะสบาย"  ทฤษฎีส่วนตัวที่เขาสร้างขึ้นด้วยความเชื่อตั้งแต่อยู่ในฐานะลูกน้องจนกระทั่งเป็นเถ้าแก่เลื่องชื่อก็คือ "หลักคิดทำ 4 ได้ 1" เพื่อก้าวสู่ขั้น "ทำ 1 ได้ 4" ความหมายก็คือ พยายามทำงานให้มากแม้จะได้เงินน้อย เพื่ออนาคตที่จะได้ทำงานน้อยๆ แต่ได้ผลตอบแทนมาก  ตันกล่าวว่า วิธีการบริหารองค์กรหรือบุคคลมีหลายทฤษฎี หลายวิธีที่ใช้อาจประสบความสำเร็จ วิธีที่เขาใช้ก็คือการให้ ไม่ว่าให้โอกาส ให้อภัย และให้ความช่วยเหลือ พนักงานจะรู้สึกว่าเถ้าแก่เป็นเสมือนพ่อแม่ที่ไม่ทอดทิ้งลูก และให้ความเป็นเจ้าของบริษัทกับพนักงาน ให้พวกเขารู้สึกเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินธุรกิจ  พนักงานที่รักองค์กรจะคิดเสมอว่าจะช่วยบริษัทอย่างไร? ความสำเร็จของโออิชิวันนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากคำถามนี้ และเมื่อบริษัทเติบโตขึ้นก็ถึงเวลาที่ผู้บริหารจะตั้งคำถามกลับว่าจากนี้ไปจะตอบแทนความสุขกลับมาที่พนักงาน  

ตันทิ้งท้ายว่า วิธีสร้างความผูกพันกับองค์กร ก็คือ ให้พนักงานมีส่วนร่วม ให้งานที่ท้าทาย ผู้จัดการหรือผู้บริหารจะต้องทำให้พนักงานที่เข้ามาใหม่รู้สึกอยากทำงานนานๆ เพราะคนที่มาเพื่อเอาผลประโยชน์จะอยู่ได้ไม่นานแล้วก็ไป เมื่อเห็นบ่อน้ำที่ใหญ่กว่า เพราะฉะนั้น ตั้งแต่แรก การรับพนักงานจะต้องทำให้พนักงานลำบากมากๆ แค่สมัครลำบากก็อยากเข้าแล้ว อะไรที่ได้มาง่ายๆ จะไม่เห็นคุณค่า

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4
เรียน  อาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด ข้อ 1.   องค์กรที่ทำงานอยู่คือ สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาปรัชญา  :  ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคมวิสัยทัศน์  :  ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้พันธกิจ :1. ดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย
2. ดำเนินการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย
4. เผยแพร่ผลงานการวิจัย
เป้าประสงค์  :1. เพื่อดำเนินการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของมหาวิทยาลัยและสังคม
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
3. เพื่อยกมาตรฐานงานวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ อ้างอิงบนฐานข้อมูลและจดสิทธิบัตรได้นโยบายการปฏิบัติงาน  :1. เร่งรัดให้มีการพัฒนาสมรรถภาพ และประสิทธิภาพขององค์กร บุคลากร และระบบประสานงานวิจัยในมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมต่อการทำวิจัยในทุกรูปแบบ2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานและชุมชนดำเนินการวิจัยเป็นเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน  ประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยไปสู่การพัฒนาภารกิจของมหาวิทยาลัยพัฒนาชุมชน  ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานวิจัยให้แพร่หลายในระดับชาติและนานาชาติ3. ดำเนินการวิจัยสถาบันและวิจัยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในการจัดข้อมูลสนับสนุนการวางแผนและการตัดสินใจในการทำงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน ตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อดำเนินงานให้การทำวิจัยมีคุณภาพ        สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัยและบริการการศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ร่วมมือประสานงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย  สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินงานภายใต้พันธกิจและปรัชญาของมหาวิทยาลัย ในส่วนที่เน้นงานวิจัยเป็นหลัก  มีภารกิจด้านการดำเนินงานวิจัยตามนโยบายของมหาวิทยาลัย  และเป็นหน่วยงานบริหารจัดการด้านการวิจัยให้แก่คณาจารย์  บุคลากร นักศึกษา  และประสานงานการวิจัยกับหน่วยงานภายนอก เพื่อแสวงหาแหล่งทุนให้แก่คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย  โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์มีการทำวิจัย ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ให้บังเกิดผลทั้งด้านคุณภาพและมีปริมาณมากยิ่งขึ้น  โดยที่สถาบันวิจัยและพัฒนาได้กำหนดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัย ข้อ 2.  ปัจจัย 8 Key Drivers of Engagement  ที่เลือกคือข้อ 5.  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน (Pride about the company)    การทำงานในองค์กร  ทุกคนย่อมมีความต้องการและความคาดหวังให้งานในหน้าที่ของตนดำเนินไปได้ด้วยดี  และประสบกับความสำเร็จ  โดยมีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์เดียวกัน   เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กร  ก็คือ บุคลากรภายในองค์กรนั่นเอง  คนเราใช้เวลาโดยส่วนใหญ่ทำงาน และงานก็เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของคนเช่นกัน  สังเกตว่าทุกหน่วยงานจะต้องเกี่ยวพันระหว่างคนกับงานเป็นหลัก โดยนำเอาการบริหารจัดการมาเป็นตัวควบคุมดำเนินการให้คนทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์  ผู้บริหารจึงไม่ควรมองข้ามความสำคัญของบุคลากรเหล่านี้ ด้วยการทำตัวเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีให้ความรักความอบอุ่นกับบุคลากร และคิดว่าบุคลากรทุกคนเป็นสมาชิกของครอบครัวใหญ่ ปฏิบัติต่อเขาเสมือนเป็นลูกหลานและลูกค้าคนหนึ่งของเรา ที่สำคัญต้องมีระบบสวัสดิการ เงินเดือนที่เหมาะสม และจับอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพพนักงานอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้แม้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น แต่ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว เพราะนอกจากช่วยสร้างความสุขกายสบายใจให้บุคลากรแล้ว ยังทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในองค์กรด้วย   ความภาคภูมิใจในองค์กร คือ การได้ทำงานที่ใจรักกับงานทุกชิ้นที่ทำ  มีหัวหน้างานที่เป็นแบบอย่าง ที่ดี  เพื่อนร่วมงานหารือกันได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจกัน  งานจะออกมาดีได้ บุคลากรต้องรักที่จะทำงาน  มีความภาคภูมิใจในองค์กร  การได้ทำงานที่เรารักก็จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุข  เราสามารถที่จะเลือกรักงานที่เราทำอยู่ได้  เมื่อเราทำงานที่รับผิดชอบงานนั้น ๆ  เราจะต้องให้ใจกับงานนั้น ๆ ด้วยการพยายามศึกษาและพิจารณาในส่วนที่ดี ๆ ของเนื้องาน  เพื่อจะเป็นแรงเสริมให้เรารักในงานนั้น ๆ ได้    ดังนั้น คนเป็นพลังขับเคลื่อนให้องค์กรพัฒนาและเติบโต และเมื่อคนได้ก้าวเข้าสู่องค์กรแล้ว  ทุกคนจะต้องมีความรัก  ความศรัทธา  พร้อมจะทุ่มเททำงานให้องค์กรที่เขารักอย่างเต็มความสามารถ  และเกิดความภาคภูมิใจในองค์กรที่ได้เลือกตนเข้าร่วมทำงานด้วย
นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ รหัส 50038010041
เรียน  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด     จากงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้หาข้อมูลและแสดงความคิดเห็น  2 ประเด็น   ประเด็นที่ 1  :   Vision  Mission  ค่านิยมขององค์กรคืออะไร  และงานที่ทำอยู่ตอบสิ่งดังกล่าวอย่างไรบ้าง ?             ข้าพเจ้าทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ซึ่งมหาวิทยาลัยได้กำหนดปณิธาน (Motto)  วิสัยทัศน์ (Vision)  พันธกิจ (Mission)  ดังนี้ ปณิธาน (Motto)              ทรงปัญญา  ศรัทธาธรรม  นำสังคม
วิสัยทัศน์ (Vision) 
            มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ  เพื่อปวงชน               “A Leading Quality University for All”  
พันธกิจ (Mission)             

            1.  ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับแนวหน้า ตรงกับความต้องการของ ชุมชน และสังคมยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ และเป็นประชากรโลก (global citizen) อย่างมีความสุข


            2.  วิจัย สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ สู่การพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาภูมิปัญญาไทยสู่สากล


            3.  ผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่ ที่สนองตอบการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกหัดครู 
            4.  ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและสังคมอย่างมีคุณภาพ  เพื่อมาตรฐานชุมชน สังคมและผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMEs สู่สากล


            5. อนุรักษ์  พัฒนาและบริการ  และเป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลสารสนเทศทางด้าน
ศิลปวัฒนธรรม กรุงรัตนโกสินทร์ 

            หน่วยงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติงานนั้น คือ สถาบันวิจัยและพัฒนา หากพิจารณาจากพันธกิจของมหาวิทยาลัยแล้ว วิจัย ถือเป็นพันธกิจหลักข้อหนึ่งของมหาวิทยาลัย  ดังนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้ดำเนินงานให้สอดคล้องกับพันธกิจและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นหลัก และกำหนดวัตถุประสงค์ของหน่วยงานไว้ 3 ประการ  คือ 1) เพื่อดำเนินการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของมหาวิทยาลัยและสังคม 2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และ 3) เพื่อยกมาตรฐานงานวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ อ้างอิงบนฐานข้อมูลและจดสิทธิบัตรได้

            สถาบันวิจัยและพัฒนา มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการทำวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย  ให้เกิดผลผลิตทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ โดยในแต่ละปีสถาบันวิจัยฯได้กำหนดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน  เพื่อตอบสนองตามพันธกิจ วิสัยทัศน์และปณิธานของมหาวิทยาลัย   

ประเด็นที่ 2  :   เลือกปัจจัย 8 Key Divers of Engagement  มา 1 ข้อ  พร้อมอธิบายว่ามีผลกับการผูกใจพนักงานอย่างไรและหากเป็นองค์กรจะใช้วิธีการอย่างไร?

 

            ปัจจัยทั้ง 8  ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทั้งสิ้น  ในที่นี้ข้าพเจ้าขอเลือก การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน  เป็นสิ่งที่จะทำให้พนักงานผูกใจกับองค์กรได้  เนื่องจากพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้  องค์กรจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  ที่จะส่งผลต่อองค์กรและตัวพนักงานได้

            การพัฒนาศักยภาพของพนักงานนั้น ถือได้ว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานอีกประการหนึ่ง เนื่องจากพนักงานได้ดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด เกิดความตระหนักและมุ่งมั่นในคุณภาพงานของตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญงาน และมีความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม  รวมทั้งสร้างองค์กรให้เป็นสถานที่ทำงานที่ดีที่สุด  ซึ่งอาจเป็นเส้นทางในการเจริญเติบโตทางหน้าที่การงานของพนักงานได้  ดังนั้นหลายองค์กรจึงได้ระบุการพัฒนาศักยภาพของพนักงานลงในแผนการดำเนินงานหรือยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาองค์กร  โดยใช้วิธีการพัฒนาต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น การมุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยกระบวนการฝึกอบรม  สร้างโอกาสในการเรียนรู้ในหน้าที่การงานทั้งในห้องเรียนและการปฏิบัติงานจริง  การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์  การหมุนเวียนงานเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลายในการทำงาน  การมอบหมายงานที่มีความท้าทาย หรือมีขอบเขตงานที่กว้างขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนางาน

 

  
นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส 50038010019

เรียน  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด 

     ดิฉัน นางอนงค์  มะลิวรรณ์ ปัจจุบันปฏิบัติงานที่งานพัสดุ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ก่อนหน้านี้เคยปฏิบัติงานที่งานธุรการ ต่อมาเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ๒๕๕๐ อาจารย์ที่ปฏิบัติงานที่งานพัสดุได้ขอย้ายไปทำหน้าที่สอนซึ่งตรงกับสายงานของอาจารย์ จึงทำให้งานพัสดุขาดบุคลลากร จะด้วยความบังเอิญหรือว่าเป็นเพราะบุญหรือบาปก็ไม่รู้(ไม่มีใครแล้ว)  มหาวิทยาลัยจึงสั่งให้ดิฉันไปปฏิบัติงานที่งานพัสดุ  ซึ่งงานพัสดุของมหาวิทยาล้ยราชภัฏสวนสุนันทาก็จะมี ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ นโยบาย ดังนี้

ปรัชญา ปฏิบัติงานฉับไว ให้ความร่วมมือ ยึดถือระเบียบ

วิสัยทัศน์  มุ่งมั่นรักษาระเบียบปฏิบัติ พัฒนาระบบและสนับสนุนทุกหน่วยงานเพื่อความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย

พันธกิจ   สนับสนุนทุกหน่วยงานให้ได้มาและบำรุงรักษาซึ่งวัสดุและครุภัณฑ์เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นเลิศทางวิชาการและมาตรฐานสากล

วัตถุประสงค์ 1. ให้บริการหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย 2. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกในการจัดซื้อและจัดจ้าง 3. ควบคุมดูแลงานพัสดุให้เป็นไปตามระเบียบราชการ 4. สนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัย

นโยบาย  1.  สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้สามารถบริหารงานพัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระเบียบราชการ 2. จัดระบบงานพัสดุให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย 3. พัฒนาบุคลากรของงานพัสดุให้สามารถทำงานอย่างมีความสุข มีจิตสำนึกและรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง

นโยบายประกันคุณภาพ  1. ให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในระบบคุณภาพ 2. ให้บริการที่ตรงความต้องการ ถูกต้องตามระเบียบและเป็นที่พึงพอใจ 3. พัฒนาบุคลากรและการบริการอย่างต่อเนื่อง

แผนกลยุทธ์  ดำเนินการให้งานพัสดุถูกต้องตามระเบียบ

         จากปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ตามที่กล่าวมาแล้วจะเป็นเพียงในส่วนของงานพัสดุเท่านั้น  แต่วิสัยทัศน์ ปรัชญา พันธกิจของมหาวิทยาลัยนั้นมีเพื่อน ๆ ในรุ่นเดียวกันหลายท่านได้เรียนให้อาจารย์ทราบไปแล้ว  และจากปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจของงานพัสดุ  ดิฉันซึ่งปฏิบัติงานในส่วนนี้ได้ถือเป็นแนวปฏิบัติตลอดมา เนื่องจากงานพัสดุถือเป็นงานบริการและสนับสนุนให้แก่อาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัยที่ต้องการวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการเรียนการสอน  เพื่อพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยให้เป็นเลิศทางวิชาการ  จึงถือได้ว่าดิฉันได้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของหน่วยงาน....พัสดุ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาแล้ว  และจากข้อคำถามของอาจารย์ข้อที่ 2. อาจารย์ถามว่าลักษณะใน 8 ข้อ ให้เลือกเอาข้อใดข้อหนึ่งมาตอบนั้นดิฉันขอเลือกเอาหัวข้อ การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เนื่องจากผู้บริหารมักจะพูดว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อองค์กรมาก องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการจัดการทรัพยากรมนุษย์  แต่ในขณะเดียวกันทรัพยากรมนุษย์อาจจะถูกมองข้าม และละเลยเอาใจใส่เท่านที่ควร  เช่น ขาดการอบรม  ขาดการพัฒนาศักยภาพการฝึกอบรมเป็นการพัฒนาหาความรู้ ความชำนาญให้แก่บุคลากรโดยการอบรมอาจจะให้ลงมือปฏิบัติงานจริง หรืออบรมจากภายนอกที่มีการกำหนดหลักสูตร  เช่น มหาวิทยาลัยต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้กับุคลากร โดยให้ทุนการศึกษาส่งไปเรียนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกทั้งภายใน และนอกประเทศ  ให้โอกาสพนักงานได้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ เพื่อจะได้นำเอาส่วนที่ดีของหน่วยงานอื่นเขามาพัฒนาและปรับปรุงมหาวิทยาลัยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

 

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

เพื่อน ๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านโปรดทราบ

               เสาร์-อาทิตย์นี้ พวกเราต้องอพยพไปเรียนที่สำนักวิทยบริการ (ห้องสมุด) ชั้น 4  ดังนั้นจึงขอแจ้งให้เพื่อน ๆ ทราบระเบียบในการเข้าไปในห้องสมุดว่า  1.  นักศึกษาหญิงห้ามใส่กระโปรงสั้น  2. ทั้งชายและหญิงห้ามใส่รองเท้าแตะ  นี้คือระเบียบของห้องสมุด เน้น  ต้องแต่งกายสุภาพแล้ว พรุ่งนี้พบกันอย่าลืมฟังวิทยุรายการของ ศ.ดร.จิระ น๊ะจ๊ะ

น.ส.อรทัย บุญยรัตพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4
น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์  เลขที่  50038010005   อ.พจนารถ  ซีบังเกิดปัจจุบันรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท  ในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์ข้อ 1 สำนักพระราชวัง  เป็นหน่วยงานของทางราชการ  มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับพระราชวัง  ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สิน  และผลประโยชน์ในองค์พระมหากษัตริย์  อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา  และการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี  โดยมีเลขาธิการพระราชวัง  เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชกิจราชการ                                วิสัยทัศน์ (Vision)  ของสำนักพระราชวัง                การถวายงานตามพระราชประสงค์ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และพระบรมวงศานุวงศ์                                  พันธกิจ (Mission)  ของสำนักพระคลังข้างที่                คือรับผิดชอบด้านพระราชทรัพย์ของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์  บัญชีรายรับและรายจ่ายของเขตพระราชฐาน  ดูแลรักษาเครื่องใช้และอาคารสถานที่ภายในเขตพระราชฐาน  รับผิดชอบการจัดแสดงเครื่องราชภัณฑ์  และงานศิลปาชีพในพิพิธภัณฑ์                Mission  ของข้าพเจ้าคือ การดูแลรับผิดชอบการจัดแสดงเครื่องราชภัณฑ์  เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ  ประชาชนทั่วไป  นักเรียนและนักศึกษา  ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจในเครื่องราชภัณฑ์ ข้อ 2  Pride  about  the  company  :  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน                                  การปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละองค์กร  จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไปตามภารกิจขององค์กร  สิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์กรคือ ทรัพยากรมนุษย์  ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงหลายๆ องค์กรได้ให้ความสำคัญในด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นพิเศษ  ดังนั้นผู้บริหารแต่ละองค์กรควรจะสร้างให้พนักงานมีความภาคภูมิใจในองค์กร  เนื่องจากเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มใจและภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  ผลงานหรือผลลัพธ์  (out  come) ที่ออกมาอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ  เพราะพนักงานทำงานด้วยความเต็มใจ                                ปัจจุบันมีหลายองค์กรที่มีคนอยากเข้าทำงาน  เช่น  การบินไทย  ปูนซิเมนต์ไทย  ธนาคารแห่งประเทศไทย  สำนักพระราชวัง  สำนักราชเลขาธิการฯ  กระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ  เนื่องจากองค์กรเหล่านี้เป็นองค์กรที่สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงาน  ส่งผลให้พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร  มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อองค์กร  ทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ  โดยพนักงานมีความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงานอยู่   
น.ส.จารุวรรณ ตันไชย นักศึกษา รปม.รุ่น 4
น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  เลขที่ 50038010015  อ.พจนารถ  ซีบังเกิด  (Perfect  and  high  technology)  ขวัญใจชาว รปม.รุ่น 4ข้อ 1       วิสัยทัศน์  (Vision) กองแพทย์หลวง  สำนักพระราชวัง                                เป็นหน่วยงานให้บริการด้านสุขภาพทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ  มีคุณภาพ  ได้มาตรฐาน  สะดวก  รวดเร็ว  เป็นที่ยอมรับและประทับใจของผู้ใช้บริการ                พันธกิจ  (Mission)  กองแพทย์หลวง  สำนักพระราชวัง                                                                           ปฏิบัติงานด้านสุขภาพทางการแพทย์ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระบรมวงศานุวงศ์  และให้บริการแก่ข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป                                ปัจจุบันข้าพเจ้าทำงานในด้านงานธุรการของกองแพทย์หลวง  สำนักพระราชวัง  งานที่ทำนั้นมีความเกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรคือ  เป็นงานด้านเอกสาร                                งานด้านเอกสารนั้นถือได้ว่า  เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งขององค์กรโดยอาศัยทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อน  เพื่อให้งานขององค์กรนั้นดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง  บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ตั้งไว้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นองค์กรของทางสำนักพระราชวังด้วยแล้ว  จึงมิควรมีสิ่งใดผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายได้ ข้อ 2  Nature  of  the  job  :  ลักษณะงานที่เหมาะสมกับพนักงาน                                โดยพื้นฐานของมนุษย์นั้นถ้าได้ทำในสิ่งที่ตนถนัด  และเชี่ยวชาญจะได้ผลงานที่ดีตามมา  เช่นเดียวกับการทำงานในหน่วยงาน  ถ้าพนักงานได้ทำงานที่ตนถนัดและเหมาะสม  จะทำให้ลดขั้นตอนในการทำงาน  และผลงานออกมาดี  นอกจากนี้ยังทำให้พนักงานได้แสดงศักยภาพในการทำงาน  รักองค์กร  และทุ่มเทแรงกายแรงใจให้แก่องค์กรได้อย่างเต็มที่  ส่งผลดีต่อองค์กรดังคำกล่าวที่ว่า  วางคนให้ตรงกับงาน  (Put  the  right  man  in  the  right  job)  ในทางกลับกันถ้าให้พนักงานทำงานที่ตนไม่ถนัด  จะทำให้กดดัน  และไม่อยากทำงาน  ทำให้งานล่าช้า  ส่งผลเสียต่อองค์กรในที่สุด
น.ส.ภัทรจิตรา เขียวมีส่วน นักศึกษา รปม.รุ่น 4
น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  เลขที่  50038010010  อ.พจนารถ  ซีบังเกิดข้อ 1       วิสัยทัศน์  (Vision)  ของฝ่ายเขตพระราชฐานชั้นใน  วิทยาลัยในวังหญิง                                การส่งเสริมเผยแพร่เกี่ยวกับงานช่างประดิษฐ์ของสตรีอันเป็นประณีตศิลป์  ซึ่งมีอยู่ในพระบรมมหาราชวัง  และช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป                พันธกิจ  (Mission)  ของฝ่ายเขตพระราชฐานชั้นใน  วิทยาลัยในวังหญิง                                การอบรมนักศึกษาที่มีความสนใจในวิชาชีพทางด้านการประดิษฐ์ดอกไม้  เช่น  การร้อยมาลัย   การปักสะดึง  การประกอบอาหารชาววัง  และการประดิษฐ์อาหาร  เช่น  การแกะสลัก  การทำเครื่องคาวเครื่องหวาน                                ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลนักศึกษาให้อยู่ในความเรียบร้อย  และปฏิบัติหน้าที่ตามกฎระเบียบที่ได้วางไว้  เพื่อให้สามารถผลิตนักศึกษาได้ตรงกับหลักสูตรที่กำหนดไว้ ข้อ 2  Coworkers/team  members  :  เพื่อนร่วมงาน                                การทำงานทุกหน่วยงานนั้น  จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน  ซึ่งการทำงานร่วมกันนั้นจะต้องมีทีมงานที่จะประสานงานกันได้อย่างถูกต้อง  และเข้าใจในเนื้องานเดียวกัน  เพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล                                  ในทางตรงกันข้ามถ้าเพื่อนร่วมงานไม่ให้ความร่วมมือ  หรือประสานงานในการทำงาน  ผลที่ได้ก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนตามนโยบายขององค์กรได้
นายโสภณ สังข์แป้น รหัส 50038010007รปม.รุ่น4

ข้อที่ 1 ในหน่วยงานมี VISION และ MISSION ขององค์กรคืออะไร และงานของท่านเกี่ยวกับ VISION และ MISSION ขององค์กรอย่างไร

    ปัจจุบันข้าพเจ้ารับราชการในตำแหน่งนายช่างโยธา 6  ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหมวดการทางนนทบุรี สังกัดกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

    กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการสำรวจ ออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางหลวง เชื่อมต่อทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ให้มีความสะดวกและปลอดภัย ใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ช่วยให้ประเทศชาติพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีวิสัยทัศน์ (VISION) และพันธกิจ (MISSION) ดังนี้

     วิสัยทัศน์
" มุ่งมั่นพัฒนาระบบทางหลวงตามมาตรฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ทาง" 

     พันธกิจ

1. พัฒนาโครงข่ายทางหลวงในเชิงบูรณาการ เพื่อตอบสนองต่อวาระแห่งชาติ และยุทธศาสตร์รายพื้นที่ โดยการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
       2. รักษาระดับมาตรฐาน ความสามารถในการให้บริการของโครงข่ายทางหลวงสร้างความพึงพอใจให้กับ ผู้ใช้ทางหลวง
       3. สร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการวิศวกรรมงานทางการบริหารและกำกับดูแลการใช้ทางหลวงเพื่อให้เกิดระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม
       4. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อพลวัตของการเปลี่ยนแปลง

      การปฏิบัติงานในหน้าที่หัวหน้าหมวดการทางนนทบุรี มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของกรมทางหลวง คือการทำให้เส้นทางหลวงที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มีความพร้อมในการใช้เป็นเส้นทางในการติดต่อเดินทางระหว่างพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง และใช้เป็นเส้นทางผ่านไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ให้มีความสะดวกและปลอดภัยแก่ประชาชนผู้ใช้ทางหลวง การดำเนินการบำรุงรักษาทางหลวงให้มีพร้อมในการใช้งาน ต้องมีความเข้าใจและมีความชำนาญงาน การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งอุปกรณ์หรือวัสดุที่ใช้ในการบำรุงรักษาทาง ต้องคัดเลือกให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ที่จะเข้าบำรุงรักษา ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำกับหน่วยงานท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาลต่าง ๆ  ที่ต้องการความรู้ในด้านบำรุงรักษาทางไปใช้งาน การแก้ไขปัญหาการจราจร ซึ่งปัจจุบันในจังหวัดนนทบุรี มีปริมาณผู้ใช้รถจำนวนมาก  ทำให้พื้นที่ผิวจราจรไม่สามารถรองรับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นได้ จึงเป็นปัญหาทำให้รถติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน สร้างความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน การเข้าไปแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก คือการเสนอแผนงานก่อสร้าง ขยายผิวจราจร ในพื้นที่เส้นทางหลวงในจังหวัดนนทบุรีให้กว้างยิ่งขึ้นเพื่อรองรับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะนี้เส้นทางหลวง ได้รับการพัฒนา ขยาย และปรับปรุง เพื่อรองรับปริมาณการจราจร และสามารถแก้ไขปัญหา ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางมากขึ้นกว่าเดิม

ข้อ 2.  ปัจจัย 8 Key Drivers of Engagement  ที่เลือกคือข้อ 5.  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน (Pride about the company) 

    ข้าพเจ้าฯถึงแม้ว่าจะรับราชการในตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่สูงนักในองค์กรของกรมทางหลวง แต่ก็รู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของบุคคลากรที่มีหน้าที่ในการสร้างความสะดวกปลอดภัยให้กับประชาชนในการเดินทางไปสู่ในภูมิภาคต่างๆ กรมทางหลวงมีการบริหารจัดการแบบราชการส่วนกลางโดยมีหน่วยงานที่สังกัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ มีบุคคลากรประมาณ 7,000 คน  สายทางหลวงที่รับผิดชอบประมาณ 50,000 กิโลเมตรเป็นองค์กรใหญ่ เป็นต้นแบบในการคิดค้นพัฒนาระบบงานทางในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเซียซึ่งในหลายประเทศได้เข้ามาศึกษาดูงาน ในด้านการพัฒนาบุคคลากรของกรมทางหลวงมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงานเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อนำไปพัฒนางานทาง ในด้านขวัญและกำลังลังใจในการปฏิบัติงาน กรมทางหลวงมีสวัสดิการครอบคลุมทุกๆด้านเช่นมีสหกรณ์ออมทรัพย์ บ้านพักอาศัยให้กับเจ้าหน้าที่  ตามความจำเป็นที่ไปอยู่ปฏิบัติงานในภูมิภาคต่างๆ การดำเนินงานของกรมทางหลวงในการบริหารราชการยุคใหม่ มีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัด(KPI)รับรองผลของการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของงบประมาณฯที่ได้รับสู่ประชาชน

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ 50038010046 รุ่น4
ข้อที่ 1.วิสัยทัศน์ศูนย์สวัสดิ์ภาพเด็กเยาวชนและสตรี     *      ปฎิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจราณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่กระทำผิดต่อเด็กเยาวชนและสตรี     *      ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กและและเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อรวมทั้งเด็กเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด ได้แก่- ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ-การชักชวนพนันเด็กและเยาวชนเข้าเล่นการพนันต่างๆ-การจำหน่ายและเผยแพร่วัสดุหรือสิ่งพิมพ์ลามกอนาจาร-เหตุนักเรียน-นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย พกพาอาวุธ-การปล่อยใหเด็กและเยาวชนเข้าไปในสถานบริการ-สถานที่ที่นักเรียน-นักศึกษารวมถึงเด็กและเยาวชนเข้ามั่วสุมและประพฤติตนไม่สมควร ได้แก่ร้านเกมส์                                                                                                ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น                                            ปกป้อง คุ้มครอง เด็กเยาวชนและสตรี เน้นคนเป็นศุนย์กลางภาระกิจ ศดส. ปฎิบัติหน้าที่ดังนี้งานอำนวยการ   -งานด้านธุรการ และงานสารบรรณ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้าออกของศูนย์สวัสดิภาพเด็กเยาวชนและสตรี -ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านคดีและวินัย-ดำเนินงานการเงินและพัสดุ-ดำเนินงานการเกี่ยวกับงานด้านยุทธศาสตร์และแผนงานดำเนินงานเกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการ-ดำเนินการเกี่ยวกับงานสถิติและประวัติของเด็กเยาวชนและสตรีที่กระทำผิด-งานอื่นๆที่ผู้บังครับบัญชามอบหมายงานสืบสวนตรวจตราและควบคุม ปฎิบัติหน้าที่ดังนี้   -ตรวจตรา จับกุม เด็กเยาวชนและสตรีผู้กระทำผิดกฎหมาย-สืบสวน สอดส่อง และควบความประพฤติของเด็กเยาวชนและสตรี ที่กระทำผิดกฎหมาย-ควบคุมตรวจตราสิ่งที่เป็นภัยต่อสวัสดิภาพของเด็กเยาวชนและสตรี-การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหรือว่าด้วยการค้ามนุษย์-งานอื่นๆที่ผู้บังคับัญชามอบหมายงานกิจกรรมเด็กเยาวชนและสตรี ปฎิบัติหน้าที่ดังนี้การทัศนศึษาและการสโมสรสำหรับเด็ก เยาวชนและสตรี-งานตรวจชุมชนสัมพันธ์และเยาวชนสัมพันธ์-งานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานสงเคราะห์และคุ้มครองปฎิบัติหน้าที่ ดังนี้ -ให้การสงเคราะห์ เยาวชนและสตรีโดยทำหน้าที่ประสารงานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเด็กเยาวชนและสตรี ทั้งในภาครัฐและเอกชน-ติดต่อพบปะ ให้คำแนะนำกับสตรีรวมทั้งผู้ปกครอง บิดามารดาของเด็กนักเรียนและเยาวชนที่มีปัณหาด้านความประพฤติ เพื่อหาแนวทางแก้ไข-ดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยบุคลคลเร่ร่อนและขอทาน-งานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายข้อที่2.The 8 key Drivers of Engagementเลือกข้อ5.ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงานเนื่องจากผู้เขียนเป็นส่วนหนึ่งขอหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือสังคมด้านงานป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายผู้เขียนเองเข้าไปให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้ถูกกระทำอยู่หลายครั้งส่วนมากเกิดจากสถาบันครอบครับเป็นหลักรองลงมาเกิดจากสภาพแวดล้อมและก็เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นหรืออยากลองของเด็กเองจึงทำให้เกิดปํญหาตามมาทางผู้เขียนเองทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าหากหน่วยงานของรัฐไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปแก้ไขได้ เช่น ปัญหายาเสพติดเป็นต้น รัฐเองต้องเข้าไปแก้ปัญหาอย่างจริงจังจริงตั้งหน่วยงานขึ้นมาให้ความช่วยเหลือเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดของขบวนการค้ายาเสพติดผู้เขียนเองเคยร่วมเข้าจับกุมยาเสพติดอยู่หลายครั้งซึ่งบางครั้งเกิดความสูญเสิย มีการใช้อาวุธปืนเข้าทำร้ายกันจะเห็นได้ว่าเริ่มเข้าสุ่ความรุนแรงมากขึ้นเจ้าหน้าที่ของรัฐเองต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ผู้เขียนเองเคยผ่านเห็นการอย่างนี้มาหลายครั้งผู้เขียนเองเคยร่วมกับเพื่อนรว่มงานวิสามัญคดีเกี่ยวกับยาเสพติดมาแล้วจึงทราบดีว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่สามารถเอากับคืนมาได้เลย ผู้เขียนเองจึงมีความภาคภูมิใจที่ผู้เขียนได้เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าไปแก้ไขปัญหาของสังคมคอยให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้ถูกกระทำ
ณรงค์  พึ่งพานิชภาวะผู้นำกับองค์กรในยุคของการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะที่กระผมต้องการ เนื่องจากหน่วยงานที่กระผมปฏิบัติหน้าที่เป็นกองกำลังของข้าราชการตำรวจอารักขาและรักษาความปลอดภัย(กก.3)ที่มีข้าราชการจำนวนมากอยู่รวมกันหลายแผนก ในส่วนของงานที่กระผมรับผิดชอบ คือ รถยนต์ปิดท้ายขบวนเสด็จ ตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ งานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากกระผมเป็นหัวหน้าชุด ในเวลาปฎิบัติหน้าที่ ก็ต้องมีทีมงานที่ปฏิบัติงานรวมกัน คือ พลขับ,พลอาวุธ ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ ก็จะมีการตรวจความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น รถยนต์,อาวุธปืน,อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ต้องให้พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากงานที่กระผมรับผิดชอบเป็นงานเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ และเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศเพราะฉะนั้นความบกพร่องหรือผิดพลาดต่าง ๆ ต้องไม่ให้มีเด็ดขาดเนื่องจากตัวกระผมเป็นข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย การบังคับบัญชาจึงต้องรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง ในเรื่องของความเจริญก้าวหน้าในชีวิตข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่ต้องพึ่งพา งบของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ทำให้ความก้าวหน้าเป็นไปได้ช้า และในบางโอกาส ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นความสำคัญ พวกกระผมก็จะมีกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่และมีความตั้งใจมากขึ้นยอมรับว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในยุคข้าวยากน้ำมันแพง โจรผู้ร้ายก็มีมากขึ้นบางหน่วยงานก็จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อตอบรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างเช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีการสับเปลี่ยนกำลังกัน ทุก 6 เดือน ในเรื่องของการมีVision  นั้น เนื่องจากกระผมเป็นข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย บทบาทในการแสดงความคิดเห็น ในเรื่องนโยบาย หรือเรื่องอื่น ๆ จะไม่ค่อยมีบทบาทมากหนักในส่วนของTrust นั้น เนื่องจากงานที่ปฏิบัติเป็นกองกำลังตำรวจมีเจ้าหน้าที่รวมหลายแผนก ก็จะมีรุ่นพี่,รุ่นน้อง  เรียงอาวุโสตามรุ่นกันไปเนื่องจากในระบบงานที่กระผมปฏิบัติเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทำให้ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ใน กก.3(อป.) ต้องมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และมีความภูมใจในการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้สโลแกนหัวจรดเท้า ผมสั้น ฟันขาว รองเท้ามัน 
ณรงค์  พึ่งพานิช2         พลังความคิดชีวิตและงานแนวคิดชีวิตและงาน                2 ผู้นำนักบริหารสร้างทฤษฎีการบริหารที่เกิดจากประสบการณ์ทำงานจริงให้เข้าใจได้ง่าย ๆ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ แต่ลุมลึกและสร้างความยั่งยืนในทุนมนุษย์ของไทยได้จริง ด้วยเน้น การพึ่งพาตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องบนรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิสังคมที่แข็งแกร่ง กรอบด้วยคุณธรรมและจริยธรรมที่เข็มแข็ง เพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับแต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญได้อย่างไร้ขีดจำกัดความคิดเห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้ทุนในทรัพยากรมนุษย์กลายเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนระบบต่าง ๆ ในประเทศ สังคม องค์การต่างต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถมากขึ้นปีเตอร์ ดรักเกอร์ ได้กล่าวว่า ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไปองค์การต้องการบุคลากรที่เป็นผู้มีความรู้ (Knowledge Worker) ฉะนั้นการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน ศตวรรษที่ 21 จะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมดังกล่าวคือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human   Resource management) กำลังกลายเป็นการบริหารทุนทรัพย์ (Human Capital Management) ทุน ในทรัพยากรมนุษย์ เริ่มต้นในบริษัทธุรกิจชั้นแนวหนาของโลกก่อนผลการวิจัยในบริษัทที่พัฒนาตัวเองได้เร็วที่สุด 200 แห่งทั่วโลก พบว่า สิ่งที่ผู้บริหาร (ซีอีโอ) ของแต่ละบริษัทให้ความสนใจมากที่สุด มีอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน คือ 1.ทำอย่างไรจึงจะได้คนดีคนเก่งมาร่วมงาน2.ทำอย่างไรจึงจะให้คนดีคนเก่งอยู่ทำงานกับบริษัทไปนาน ๆ 3.ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาความรู้ความสามารถ (ทุนมนุษย์)ของบุคลากรที่มีอยู่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

Q1. ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

    และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน

โดยนางสาวสถิภรณ์ คำพานิช  ผู้เรียบเรียง

                                จากการที่ได้อ่านและได้รับชมวีดีทัศน์  ทำให้ทราบว่า กว่าจะเป็นผู้นำระดับนี้ได้ไม่ง่ายเลย ต้องมีการสั่งสมความรู้  และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้ทันต่อกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป  พร้อมทั้งให้โอกาสแก่ผู้อื่นในสังคม จวบจนกระทั่งมีทฤษฎีเป็นของตนเอง  ถือว่าสุดยอดจริงๆ  

                                ทั้งสองท่าน มีอะไรๆ ที่มีความเหมือนในความแตกต่าง 

                                1. ความเหมือน  

1.1           เห็นว่าคนมีความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด1.2           เป็นผู้รู้จริง ทำจริง1.3           มีทฤษฎีเป็นของตนเอง1.4           มีเป้าหมายในการพัฒนาคนเหมือนกัน1.5           เป็นคนทันสมัยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้1.6           เป็นคนให้เกียรติในความคิดของผู้อื่น1.7           เป็นผู้นำในปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน  และนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาใช้1.8           คนเราจะทำอะไรต้องศึกษาที่มาของเรื่อง1.9           ครอบครัวคือ ต้นแบบชีวิต  นับตั้งแต่ การอบรมเลี้ยงดู  และการฝึกระเบียบวินัย   ตลอดจนการให้รับการศึกษา1.10     คนเราต้องมีความรู้ดี มีปัญญา จะทำให้คนคนนั้นมีจิตใจที่ดีมีคุณธรรม      จริยธรรม1.11     การเป็นผู้นำต้องรู้มาก รู้กว้าง และรู้ให้ลึกกว่าคนอื่น รวมทั้งมีวิสัยทัศน์1.12     คนเราต้องรู้จักเพิ่มพูนค่าให้กับตัวเอง โดยการเพิ่มพูนความรู้1.13     คนเราต้องมีความมั่นใจในความรู้ มีปัญญา และมีจริยธรรม และมีการวางตัวที่เหมาะสม  ก็จะเป็นที่ยอมรับของสังคม1.14     เป็นคนกล้าคิด กล้าทำ  กล้าเสี่ยง  กล้าตัดสินใจ ที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง1.15     เป็นคนรักงาน ใส่ใจในงานที่ทำ  เน้นคุณภาพของงาน1.16     คนเราทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องสร้างเครือข่าย1.17     เห็นความสำคัญกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต1.18     มีการประเมินศักยภาพตนเองก่อนจะลงมือทำ1.19     มีการติดตามผลงานตลอดเวลา  เพื่อพัฒนางาน พัฒนาคน  พัฒนาองค์กร1.20     ให้ความสำคัญต่อสังคมโดยรวม  2. ความแตกต่าง

                                2.1  มีพื้นฐานทางการศึกษาที่แตกต่างกัน  ย่อมส่งผลต่อแนวคิดในการดำเนินชีวิต และแนวคิดในการทำงานแตกต่างกัน

                                2.2  สภาพแวดล้อมทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกแตกต่างกัน  ย่อมมีวิธีการคิด และการศึกษา หารู้ความที่แตกต่างกัน

                                2.3  ท่านอาจารย์จีระ ไม่สนใจตำแหน่งทางการเมือง    แต่คุณหญิงทิพาวดี สนใจตำแหน่งทางการเมือง                                2.4  ท่านอาจารย์จีระ สนใจในการพัฒนาคนกลุ่มใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ส่วนคุณหญิงทิพาวดี   สนใจและพัฒนาคนได้เพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น (ในองค์กร)                                2.5  ความเป็นมืออาชีพในการพัฒนาคนท่านอาจารย์จีระมีมากกว่า  อันมีสาเหตุมาจากประสบการณ์ทั้งในประเทศ  และต่างประเทศ                                2.6  การยอมรับและความศรัทธาในความเป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของสังคม      มีมากกว่า

                               

Q2.  ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ  ความเป็นผู้นำ  พร้อมทั้งให้บอกจุดแข็ง และจุดอ่อน ของตัวนักศึกษา                                เมื่อนำคุณสมบัติและทักษะความเป็นผู้นำที่มี  มาทำการประเมินแบบ 360 องศา จากความเห็นของผู้บังคับบัญชา  ผู้ร่วมงานในระดับเดียวกัน  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และความคิดเห็นของตนเอง   สรุปได้ ดังนี้

1. จุดแข็ง 

            เป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง และยึดมั่นในหลักการความถูกต้อง จึงได้รับเชิญไปเป็นคณะทำงานความพร้อมรับผิด , คณะทำงานควบคุมภายในเรือนจำ และคณะกรรมการสัมภาษณ์ผู้เข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ            เป็นคนกล้าคิดกล้าทำ  กล้าตัดสินใจ  กล้าเสี่ยง  (หัวหน้าบอกว่า เป็นพวกมวยบุก)            เป็นคนชอบทำงานเป็นทีม ชอบให้ระดมสมอง โดยเฉพาะเรื่องที่มีกระทบต่อองค์กร  เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการเรียนรู้วิธีการทำงาน  และการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น            เป็นคนยึดถือในเรื่องของความยุติธรรม  ความซื่อสัตย์ ความมีคุณธรรม จริยธรรม ทั้งใน   เรื่องงานและเรื่องส่วนตัว   ทั้งนี้เพื่อศักดิ์ศรีของตนเอง  และการเป็นแบบอย่างที่ดี      ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา            เมื่อได้เข้าร่วมการประชุมจากผู้บริหาร   จะกลับมาแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทราบ   เพื่อวางแผนการทำงาน พร้อมทั้งมอบหมายให้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล            มอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ และประสบการณ์การทำงาน            โดยไม่ดูระดับตำแหน่ง             เมื่อมีข้าราชการบรรจุใหม่ หรือมีนักศึกษามาฝึกงาน จะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่งเป็นพี่เลี้ยง  พร้อมทั้งฝึกการประเมินผลการปฏิบัติ  ทั้งนี้ เพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกของ      ผู้ประเมิน                                          1.8  จะเป็นผู้สอนงาน ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา  แต่จะดูว่าคนไหนมีจุดแข็ง จุดอ่อนตรงไหน   เพื่อแก้ไขจุดอ่อน  และเสริมจุดที่แข็ง1.9    ถ้าหากมีโครงการอบรมที่ดี จะสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมทั้งผลักดัน   ตนเองให้เข้าร่วมโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร1.10เป็นคนชอบวางแผนการทำงาน  ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน  และติดตามผลการทำงานเป็นระยะ  1.11เมื่อทำงานเรือนจำต้องกล้าตัดสินใจ มีการเจราจาต่อรอง  มีการทำงานเป็นทีม  เพราะงานเรือนจำทำคนเดียวไม่ได้     แต่ถ้าเป็นงานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับข้าราชการเป็น 10,000  ก็ต้องใช้ทีมทำงานเหมือนกัน  โดยการระดมคนจากกองเดียวกัน1.12การทำงานที่ดีต้องมี Vision ขององค์กร และ Vision ของตนเอง จะบอกกับตัวเองเสมอว่าวันนี้เราทำงานแบบนี้  วันหน้าเราจะต้องทำงานที่ยากและท้าทายกว่านี้ได้ โดยการเติมความรู้ให้กับตัวเอง1.10โดยส่วนตัวแล้วชอบไว้พระ อย่างน้อยต้องสวดนะโมทุกเช้าและแผ่เมตตา   โดยยึดคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบในการทำงานและการวางตัว  บอกตัวเองว่าต้องทำงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด  และอย่าทะเยอทยานโดยไม่ดูศักยภาพตัวเอง  ต้องรู้จักเจียมตัว ยิ่งอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ยิ่งต้องอ่อนน้อมถ่อมตน                                2. จุดอ่อน  เป็นคนใจร้อนโผงผาง   ไม่ชอบสนทนากับคนอื่น  บางครั้งอ่านข้อกฎหมายไม่เข้าใจ  บางครั้งก็จับประเด็นไม่ถูก   มีบางครั้งโลเลตัดสินใจไม่ได้

                                3. โอกาส    เมื่อมีโอกาส จะเข้ารับการอบรมเชิงวิชาการ เช่น PMQA  , ACCOUNTABILITY    หรือ  การเสนอข้อเท็จจริงพร้อมความคิดเห็นให้ผู้บริหารระดับสูงได้เห็นถึงความรู้ความสามารถ   แต่ถ้ามีโอกาสน้อย จะอดทนรอ และจะต่อสู้ด้วยความรู้ความสามารถ

                                4. ข้อจำกัด   เป็นผู้หญิงที่ทำงานในองค์กรที่เป็นผู้ชาย   เพราะว่ามีเรือนจำหญิงไม่ถึง 10 แห่ง จากเรือนจำ 130  กว่าแห่ง   ความเป็นผู้หญิงจึงเป็นข้อจำกัดเล็กๆ  ตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479

                                สำหรับในเรื่องภาวะผู้นำที่ท่านอาจารย์จีระ ให้พวกเราสำรวจตัวเอง นั้น นับว่าดีมาก เพราะว่า ถ้าเราไม่รู้ว่าตอนนี้เรามีศักยภาพในตัวเองมากน้อยเพียงใด  ก็จะทำให้เราแก้ไขในจุดบกพร่องนั้นยาก  ดังนั้น นับว่าเอกสารชุดนี้ที่ท่านอาจารย์ให้ไปในเบื้องต้นก็สำรวจตัวเองเป็นข้อๆ  แล้วถามตัวเองว่ามี     ข้อไหนมีข้อไหนเรายังไม่มี  พร้อมทั้ง ได้ใช้เอกสารฉบับนี้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อ่านและสอบถามตัวเองด้วย เหมือนกัน
น.ส.มัลลิกา โสดวิลัย ตัวแทน รปม. รุ่นที่ 4
เรียน  อาจารย์บุญรอด  สิงห์วัฒนศิริ ที่เคารพ               พวกเราชาว รปม. รุ่นที่ 4 รู้สึกภาคภูมิใจมากค่ะ ที่ได้อาจารย์ซึ่งเป็น Guru ทางด้านข้าราชการมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่พวกเรา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา และอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างยอดเยี่ยมจริงๆ  พวกเราต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์ เป็นอย่างยิ่ง ที่อาจารย์ได้เรียนเชิญท่านผู้มากด้วยความรู้มาถ่ายทอดให้แก่พวกเรา อาจารย์คะ อาจารย์อยู่ในวงราชการมานานอาจารย์จึงมองข้าราชการได้ทุลุปรุโปร่ง จึงทำให้อาจารย์สอนตรงใจกับพวกเราเป็นอย่างยิ่ง เสมือนพวกเรานั่งอยู่ในที่ทำงานกันเลยทีเดียว ไม่เหมือนอยู่ในห้องเรียนเลยค่ะ เพราะอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ในแต่ละเรื่อง อาจารย์ถ่ายทอดออกมาจากข้อเท็จจริง ซึ่งพวกเราเจอะเจอเรื่องดังกล่าวนี้ทุกๆ วัน อย่างเช่น ข้าราชการหรือพนักงานเอกชนสิ่งที่เจอะเจอเหมือนกันก็คือ การประเมินผลงานในการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือการให้รางวัล ซึ่งอาจารย์กล่าวว่า ข้าราชการไม่กลัวการประเมิน แต่กลัวการประเมินไม่เป็นธรรม คำพูดดังกล่าวนี้ โป๊ะเชะเลยค่ะ (ขออนุญาตใช้คำพูดของท่านอาจารย์จีระที่ใช้บ่อยๆ มาใช้นะคะ) และอาจารย์ก็คล้ายจะเตือนสติผู้ที่ถูกประเมินผลงานและเห็นว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมว่า อย่าร้องทุกข์เลย เพราะการร้องทุกข์ คนที่เป็นทุกข์ ก็คือผู้ที่ร้องทุกข์นั่นเอง นี่คือคำพูดของผู้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานานแล้วจริงๆ ซึ่งการเรียนการสอนของอาจารย์แม้จะเพียงแค่วันเดียว แต่พวกเราคล้ายกับรู้จักอาจารย์มานานเหลือเกินค่ะ อาจารย์สอนสนุกมาก เพราะถ่ายทอดความรู้ให้ทุกอย่างที่พวกเราอยากรู้และอยากทราบ ขอขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งที่พวกเราได้รับความรู้จาก Guru แต่ละด้าน ถ้าพวกเราไม่พูดคำว่า โป๊ะเชะ ก็ไม่ทราบว่าจะพูดอะไรดี ขอขอบพระคุณค่ะ
นางสาวลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่นที่ 4
รายการคิดเป็น ก้าวเป็น  บทสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ & คุณหญิงทิพาวดี2 ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8 H’S ”  8 K’S “                หลังจากฟังจบวินาทีแรกอยากเป็นผู้หญิงเก่ง เกิดความกระตือรือร้น กระตุ้นให้อยากทำงาน สู่ความเป็นเลิศ เกิดความหวังว่าสักวันจะเป็นผู้นำที่ดี                จะเห็นว่า ท่าน คุณหญิงทำงานหนักมาก เป็นผู้นำ นักบริหารที่เกิดจากประสบการณ์ทำงาน สามารถ สร้างทฤษฎีให้คนเข้าใจง่าย ๆ สอดคล้องกับวิถีชีวิต และการดำรงอยู่ของคนไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่ลุ่มลึกและสร้างความยั่งยืนให้ทุนมนุษย์ของไทยได้จริง ด้วยเน้น การพึ่งพาตนเอง การเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง บนรากฐานทางวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับ แต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด                บทสนทนานี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับภาวะผู้นำ ในเรื่องการทำงานเป็นทีม นำมาใช้บริหารความขัดแย้ง จะเห็นว่า คนที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น มักจะประสบความสำเร็จในการทำงาน ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข สามารถประคับประคอง ผู้ที่มีปัญหาได้ ให้งานลุล่วงไปได้ด้วยดี                ยึดหลักในการทำให้ประสบความสำเร็จ1.       มั่นใจในตัวเอง2.       ทำงานให้สำเร็จ3.       รู้จักตนเองตลอดเวลา ด้วยความพอเพียงเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี มีความรู้ มีศักดิ์ศรี เป้าหมายเพื่อประชาชน และ ประเทศชาติมั่นคง ทักษะในการเป็นภาวะผู้นำ  (Leadership)ในยุคการแข่งขันจากโลกาภิวัฒน์ หรือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ระบบราชการในประเทศไทย ผู้นำจำนวนไม่น้อย ที่เป็นแม่แบบ ตัวอย่างไม่ดียึดติดกับการเมือง คอรัปชั่น ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม บริหารงานโดยระบบพรรคพวก ไม่สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในฐานะที่ทำงานในโรงพยาบาลซึ่งเป็น สถานพยาบาลของทางราชการ โรงพยาบาลเด็ก บริหารงานโดยมี แพทย์เป็นผู้อำนวยการ และ พยาบาลเป็นสายงานใต้บังคับบัญชา โดยรับนโยบาย มาจาก กระทรวงสาธารณะสุข พยาบาลเป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องบริหารทีมงาน เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จ พอใจทั้งผู้ให้บริการ และ ผู้รับบริการ ข้าพเจ้าเป็นพยาบาลผู้หนึ่งที่ต้องดูแลผู้ป่วยนอกที่มารับบริการวันละอย่างน้อย 400 คน ให้ได้รับการพยาบาลที่ดี และ ผู้ร่วมงานทำงานอย่างมีความสุข โดยทักษะ ภาวะผู้นำ ที่ต้องใช้ตลอดเวลา คือ1.       ทำงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์2.       ทำงานเป็นทีม โดยดึงความเป็นเลิศของผู้อื่นให้ร่วมงาน พัฒนาจุดแข็งของคนอื่น กระจายอำนาจให้ผู้อื่น3.       การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการค้นหารายชื่อผู้ป่วย ซึ่งแต่เดิมใช้จดลงในสมุดเล่มใหญ่4.       มีความกระตือรือร้น ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา5.       มีจุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร6.       สร้าง แรงจูงใจให้ตัวเอง7.       มีความมั่นใจในตนเอง8.       ความยืดหยุ่น9.       อดทนต่อความไม่ชัดเจน และ ไม่แน่นอน10.   มีทัศนคติเชิงบวก ทักษะภาวะผู้นำที่ขาดไปในตัว1.       ความสามารถด้านเทคนิค เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ซับซ้อนไม่สามารถทำได้2.       ความสามารถด้านบริหาร จัดการบางเรื่องไม่ประสบความสำเร็จ เช่น เมื่อมีผู้ป่วย ร้องเรียน ต้องให้หน่วยงานอื่นประสานงานผู้ใต้บังคับบัญชาขาดความกระตือรือร้น ขาดแรงจูงใจ ไม่สามารถ บริหารได้3.       ขาดการเจรจาต่อรอง เพราะกฎระเบียบของราชการมีมาก4.       พูด ภาษา English ได้ไม่ดีอนาคตภาวะผู้นำของข้าพเจ้า1.       มีความหวังว่า อยากไปเรียน พยาบาลเฉพาะทางที่สหรัฐอเมริกา2.       ต้องการความเป็นเลิศ ในตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ ฝ่ายพยาบาล3.       บริหารงานให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ เรียนของ อาจารย์ บุญรอด   สิงห์วัฒนศิริ  วันที่ 10 ก.พ. 2551-          ได้เห็นความแตกต่าง ของการบริหารจัดการภาครัฐ ในอดีตกับปัจจุบัน-          สมรรถนะ ความเฉลียวฉลาดในการทำงานให้สำเร็จ ทราบถึง พฤติกรรม การทำงาน แตกต่างกัน-          หลักคิดวิธีการทำงานและพฤติกรรม การปฏิบัติงานในภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานสามารถนำมาใช้บริหารจัดการต่อทีมงานได้-          การพัฒนาของการบริหารบุคคลในราชการไทยทำให้การทำงานอย่างเข้าใจและมีความสุขกับการทำงาน เพราะในระบบราชการการแก้ต้องใช้เวลานาน-          หลักการ รูปแบบ วิธีการ และ HR Tools ที่ได้พัฒนาและปรับใช้ไปแล้ว-          หลักสากลที่นำมาปรับใช้ในการบริหารทรัพยากร บุคคล ภาครัฐของไทยไม่ว่าทฤษฎีใดก็ยังแก้ระบบราชการไทยได้ยาก เพราะระบบราชการไทย บุคคลากรยังยึดติดกับ กฎระเบียบ วัฒนธรรมเดิม ๆ ที่ปฏิบัติกันอยู่แต่ในรูปแบบของการบริหารงานภาคเอกชน จะใช้ทุกหน่วยงาน เพื่อความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายขององค์กร
บังอร ภูมิวัฒน์ เลขที่ 31 รหัส 5577 5519 1005 1352
คำถาม1.  ได้ความรู้อะไร จากการสนทนา ระหว่าง ดร.จีระ  และคุณหญิงทิพาวดี2.   ให้บอกลักษณะผู้นำ มีอะไร  ที่ตัวเรามี และมีข้อด้อยอะไรบ้างคำตอบข้อ 1     จากบทสนทนาของทั้ง  2 ท่าน ได้เข้าใจถึง คำว่า 2 พลังความคิด ชีวิตและงาน  คืออะไรพลังที่เกิดจากความคิดจากประสบการณ์ชีวิตการทำงานของ 2 ท่าน ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างสรรค์พัฒนา คน ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติอย่างมาก  กล่าวคือ  จะเน้นทฤษฎี  8 H ‘s  ของคุณหญิง และ  8 K ‘s  ของ ศ.ดร.จีระ  ซึ่งโดยสรุปแล้ว มีความเหมือนเกือบทุกข้อ ยกเว้น ข้อที่ ดร.จีระ เห็นความสำคัญของ ทุนทางเทคโนโลยี เพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง   ส่วนคุณหญิงเน้นเรื่อง สุขภาพที่สมบูรณ์  ถือว่า สำคัญต่อมนุษย์  เพราะคนที่หมกมุ่นกับ IT  มากเกินไปจะไม่ดูแลลุขภาพเท่าที่ควร  แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง  2 ท่าน  ก็ไม่ละเลยที่จะเอาใจใส่ทั้ง  IT  และสุขภาพข้อ 2    ลักษณะผู้นำที่ดิฉันคิดว่าตัวเองมี  ดังนี้1. กล้าตัดสินใจ ยอมรับความล้มเหลว  กล้ารับผิดชอบ ทั้งดีและร้าย2. การมีวิสัยทัศน์3. สุจริต ซื่อตรง  จริงใจ4. ความยุติธรรม5. สร้างทีมงานที่มีคุณภาพ6. สุภาพ มีเมตตา7. แก้ปัญหาต่าง ๆ  ได้ลักษณะผู้นำที่ดีตามที่อาจารย์สอน จำแนกได้ เป็น 4 บทบาท คือ 1. หาทางชี้ให้ลูกน้องเดินตาม2. ต้องให้ผู้ตามเดินไปในทิศทางเดียวกัน3. มอบหมายความรับผิดชอบให้ผู้ตามทำ4. เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกน้องดิฉันคิดว่า ตัวเองมีทุกข้อ แต่การที่จะทำได้ดีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ว่ายากหรือง่ายข้อด้อยที่ดิฉันคิดว่าตัวเองควรปรับปรุง คือ เรื่องทัศนคติ และรสนิยมการอยู่ร่วมกับผู้อื่น หรือการเข้าร่วมประชุม มีความอดทนต่ำที่จะเสียเวลากับคนที่ไม่เอาไหน  ซึ่งถือเป็นข้อด้อย (กำลังปรับปรุง) 
ดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะ
ส่ง ศ.ดร. จิระดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะข้อ1        จากการรับชม และฟังรายการระหว่างศ.ดร.จิระกับคุณหญิงทิพาวดีทำให้เห็นภาพชัดเจนในความคล้ายคลึงของทั้งสองท่านคือมีพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่นและมีจุดเริ่มต้นจากบุพการีย์ที่น่าเคารพยกย่องเป็นปฐมบรมครูที่เป็นเลิศในการชี้นำวิถีการดำเนินชีวิตของท่านทั้งสองสู่เป้าหมายแห่งความเป็นเลิศซึ่งจากจุดเล็กๆที่สำคัญนี้เองที่สังคมในยุคปัจจุบันมิได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรดังนั้นย่อมไม่ต้องสงสัยเลยไม่ว่าท่านทั้งสองจะคิดในกรอบหรือนอกกรอบสักปานใดก็ตามย่อมไม่มีวันที่จะละทิ้งคุณธรรม จริยธรรม ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กได้อย่างแน่นอน ท่านทั้งสองเป็นผู้นำทฤษฎีโอบามามาใช้เป็นรูปธรรมก่อนที่สังคมจะรู้จักชื่อนี้เสียอีก นั่นคือการให้ความหวังพร้อมกระตุ้นให้ทุกคนทะเยอทะยานและเกิดความบ้าคลั่งในการที่จะเอาความรู้ความสามารถที่ถูกซ่อนเร้นและฝังตัวอยู่ลึกจากระบบวัฒนธรรมเดิมๆที่ต่างคนต่างไม่กล้าที่จะแสดงพรสวรรค์เหล่านี้ออกมาให้ปรากฏหากจะดูด้านทฤษฎี 8K หรือ 8H เมื่อศึกษาลึกๆอย่างละเอียดแล้วซึ่งเป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุดองค์กรจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการคนนั่นเอง ท่านทั้งสองแม้จะมุ่งเน้นแสวงหาความเก่งจากคนแล้วก็ไม่ทิ้งที่จะปลูกฝังความเป็นเลิศในความเก่งนั้นต้องควบคู่กับความเป็นคนดีที่ถูกตีกรอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นรากเหง้าของพื้นฐานความเป็นมาของท่านทั้งสองจึงโดดเด่น และเป็นที่ภูมิใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ในวัฒนธรรมแห่งความเป็นไทยได้อย่างสง่างามโดยไม่ละอายในรากเหง้าของตนเอง                ส่วนในมุมที่แตกต่างสำหรับท่านทั้งสองน่าจะเห็นได้จากเอกลักษณ์ของท่านอาจารย์จิระนั่นเองซึ่งในแวดวงสังคมผู้นำในปัจจุบันนี้แทบจะไม่พบท่านจะวางแผนนโยบายโดยใช้ทางสายกลางโดยการสร้างมิตรผูกมิตรและไม่จำเป็นต้องปะทะดังนั้นอาจารย์จิระแตกต่างกับคุณหญิงทิพาวดีตรงที่ไม่ว่าการเมืองจะแปรผันไปตกอยู่ในกลุ่มใดก็ตามอาจารย์จิระก็ยังคมเป็นที่หมายปองและต้องการของชนทุกกลุ่มตลอดไปโดยไม่ต้องมาแรงเพราะพรรคการเมืองใด และหายเงียบไปกับพรรคนั้นๆ องค์ความรู้ของอาจารย์จิระน่าจะฝังรากลุ่มลึกกว่าคุณหญิงทิพาวดีเพราะเป็นการเรียนรู้ทั้งจากตำราและนอกตำรามาโดยตลอด กอร์ปกับวิธีการให้ข้อมูลอาจารย์จิระพร้อมจะเป็นผู้นำเพียงแต่บุคคลผู้นั้นต้องมีศักยภาพเพียงพอที่จะรับไปปฏิบัติและตัดสินด้วยตนเองในชีวิตของท่านอาจารย์จิระจะไม่ยอมให้อิทธิพลของพรรคการเมืองหรือผลประโยชน์ใดๆผูกมัดหรือครอบงำท่านได้เป็นอันขาด ดังนั้นทุกช่วงทุกตอนที่ได้รับฟังและศึกษาเรียนรู้ เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้แทบทั้งสิ้น ไม่จำเป็นว่าเราจะอยู่ในองค์กรหรือหน่วยงานใดไม่ว่าจะเรื่องการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้LIFE LONG LEARNING การสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้น ข้อ2        ในส่วนที่มีโอกาสได้เรียนรู้และศึกษาจากท่านอาจารย์จิระแม้จะเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ก็ทำให้ตนเองและแทบทุกคนมีแรงกระตุ้นต่อมแห่งความทะเยอทะยานที่เคยอับเฉามานานพองโตขึ้นอีกครั้ง แม้คำว่า TRUST ที่มีอยู่ในตัวเองจะถูกวัฒนธรรมประเพณีที่ถูกอบรมกันมากดข่มอยู่ตลอดเวลาจนไม่กล้าที่จะแสดงสิ่งใดๆให้ปรากฏออกมาเพื่อเป็นประโยชน์กับองค์กรที่ได้บริหารงานอยู่ทำให้เรากล้า และมั่นใจขึ้นว่าสิ่งที่เราคิดและเราจะทำต่อไปหากเรามั่นใจว่าเราได้ศึกษามันอย่างละเอียดถี่ถ้วนพร้อมทั้งเตรียมรับสถานการณ์กับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นและเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือที่จะเผชิญอย่างยิ่งหากเรามี Authority อยู่ด้วยแล้ว หากเราไม่กล้าคิดไม่กล้าทำหรือกลัวไปเสียทุกเรื่องเราก็ควรที่จะลงจากตำแหน่งนั้นๆและให้ผู้อื่นที่เหมาะสมกว่า กล้ากว่าและมีความพร้อมกว่า แม้กระทั่งคำถามสั้นๆที่เรียกเสียงหัวเราะจากอาจารย์จิระหากนำไปขบคิดดีๆก็จะได้แง่คิดและเกิดงานใหม่ๆขึ้นอีกมากมาย  ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์จะถามว่าถ้าไม่มาเรียนที่นี่จะมีใครเปิดฟังรายงานวันอาทิตย์เช้าหรือไม่? ทำให้กลับไปคิดถึงการบริหารองค์กรที่กำลังทำอยู่ อันได้แก่ องค์กรของภาคศาสนสถานมัสยิด วัด โบสถ์ ทำไมคนถึงไม่อยากเข้าวัด? ก็เพราะเขายังไม่รู้จักไม่ซาบซึ้งว่า วัด มัสยิด โบสถ์หรือสถานศึกษามีอะไรดีเข้าไปแล้วได้อะไร ในยุคปัจจุบันอิหม่ามในฐานะผู้นำด้านจิตวิญญาณ หลวงพ่อ บาทหลวง  เจ้าอาวาส น่าจะตั้งคำถามใหม่ว่าจะทำอย่างไรหรือหาวิธีอย่างไรใช้แรงจูงใจอะไรเพื่อให้คนเข้าวัด เข้ามัสยิด หรือโบสถ์ ทำไมคนถึงบ้าคลั่ง โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และเมินโรงเรียนวัด เราจะบริหารจัดการอย่างไรให้ต่อไปอนาคตคนมาเข้าแถวขอซื้อใบสมัครและจ่ายเงินเป็นแสนเพื่อขอสมัครเข้าโรงเรียนวัด หรือของมัสยิดไม่น้อยไปกว่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียลผู้บริหารองค์กรศาสนาของเราในปัจจุบันได้ปฏิบัติไปตาม 5E ครบถ้วนสมบูรณ์หรือขาดตกบกพร้อง ข้อไหนที่จะต้องเร่งปรับปรุง สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มทำและเริ่มสร้างซึ่งเชื่อมั่นว่ามีกับทุกคนเพียงแต่บางข้ออาจมีน้อย หรือบางข้ออาจมีมาก หรือบางข้อแทบจะยังไม่มี แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้มีไม่ได้ไม่กี่ชั่วโมงกับอาจารย์นำมาประยุกต์ใช้กับงานในองค์กรที่รับผิดชอบได้จริงสัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงนำมา APPLY กับงานได้จริงเพียงแต่หากอาจารย์จิระเปรียบเสมือนประทีปอันร้อนแรงและเร่าร้อน ต้องการที่จะทำตัวเป็นไม้ที่ยิ่งใกล้ตัวอาจารย์ก็จะมีแต่จะถูกเผาไหม้ มอดไหม้ แต่ถ้าหากเราถูกกระตุ้นจนเกิดสำนึกว่าเราคือทองแท้เหมือนอย่างที่อาจารย์พยายามชี้นำเราก็จะพร้อมที่จะถูกหล่อหลอมจนอ่อนตัวลงเป็นไปตามบล๊อคที่งดงามและล้ำค่าเป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่ประเทศชาติบ้านเมือง

 

สุภานุช   นุพงค์  รหัส  5003810022 เลขที่  22  รปม. ๔  สวนสุนันทาฯ

เรียน    ศ.ดร.จีระ    หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ   และ  รปม.รุ่น  ๔  ทุกท่าน

บทที่  1  Heritage (มรดก)รากฐานของชีวิต  &  Sustainable  Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

“H”  Heritage (มรดก)รากฐานของชีวิต 

Sustainable  Capital ทุนแห่งความยั่งยืน
Heritage  ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เรียกว่า โลก ITหรือโลกไร้พรมแดน ทำให้เกิดความไหลบ่าของวัฒนธรรมข้ามพรมแดนระหว่างประเทศที่รวดเร็วมาก  ประชาชนคนไทย มีทุนทางวัฒนธรรมที่แข้งแกร่ง ได้ช่วยเพิ่มคุณค่าทั้งทางสังคม และยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมที่สำคัญเป็นเสาหลักและเอกลักษณ์สำคัญของคนในชาติ อีกทั้งมีความสามารถที่จะต้านกระแสโลกาภิวัตน์อย่างผู้ที่รู้จักพึ่งตัวเอง Sustainability  Capital หรือทุนแห่งความยั่งยืน เป็นทุนที่สำคัญของทรัพย์ยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ หากคนเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้ว เราจะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน 
 บทที่ 2 Head สมอง (คิดเป็นคิดดี) &  Intellectual  Capital  ทุนทางปัญญา

“H”  Head  สมอง (คิดเป็นคิดดี)

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
การใช้สมอง การมีความคิด มีความรู้แล้วยังต้องมีสติเมื่อคิดเป็นแล้วต้องคิดดีอีกด้วย เรียกว่ามีสมองที่รู้จักวิเคราะห์ใช้เหตุผล  ทำให้เกิดปัญญา ทรัพยากรมนุษย์นั้นสามารถเพิ่มมูลค่าและพัฒนาไปได้ตลอดเวลาไม่มีจบสิ้นเพราะเป็นเรื่องของความรู้ ความคิด ทักษะ และความสามารถ  ความรู้และปัญญาคืออำนาจ  ทุนทางปัญญา คือความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม  คนที่มีการศึกษาไม่สูงก็สามารถมีทุนปัญญาได้ ถ้ารู้จักการแสวงความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค้าเพิ่มได้
บทที่  3  Hand  ทำงานด้วยฝีมือตนเอง  & Talent  Capital ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ

“H”  Hand  ทำงานด้วยฝีมือตนเอง 

Talent  Capital ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ
มืออาชีพ ในการทำงานทุกประเภท โดยเน้นที่การลงมือทำด้วยตนเอง ความเป็นมืออาชีพนั้น  คือคุณสามารถ ทำงานที่คุณทำได้  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร ก็เท่ากับว่าคุณประสบความสำเร็จในส่วนนั้นแล้ว  ยุคนี้เป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้  ซึ่งการพัฒนาสังคมประเทศชาติและองค์การต่างๆ  ต้องอาศัยผลการศึกษา การวิจัย และองค์ความรู้ของทรัพยากรมนุษย์ ข้อมูลที่ได้มาจากการศึกษาวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะ ยุทธศาสตร์ธุรกิจ
บทที่  4  Heart  จิตใจที่ดี  & Ethical  Capital ทุนทางจริยธรรม

“H”  Heart  จิตใจที่ดี 

Ethical  Capital ทุนทางจริยธรรม
การบริหารคน ผู้นำต้องมีความยุติธรรม และมีความหนักแน่นนั่นก็ต้องใช้ใจ เมื่อดำรงตำแหน่งสูงขึ้น จิตใจ ยิ่งต้องพัฒนาขึ้น ซึ่งนอกจากความใจกว้าง ใจดี มีเมตตา รู้จักเสียสละแล้ว ยังต้องมีใจที่สุจริต ซื่อตรง จริงใจกับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา  บุคลากรที่มีความรู้ดี  สติปัญญาดี  จะสร้างให้เกิดทุนทางจริยธรรมได้ หากทรัพยากรมนุษย์ที่มีทั้งทุนมนุษย์ คือ พื้นฐานดี มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรมก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้เท่าที่ควร  ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง
บทที่  5 Health  สุขภาพพลานามัย & Digital  Capital ทุนทางเทคโนโลยี สารสนเทศ

5 “H”  Health  สุขภาพพลานามัย

Digital  Capital ทุนทางเทคโนโลยี สารสนเทศ
สุขภายพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์นี้มีความสำคัญมาก สำหรับมนุษย์แล้ว สุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างเลย ถ้าเรามีความตั้งใจ มีความปรารถนาที่จะทำหลายๆ อย่างในชีวิต แต่ถ้าหมดสิ้นลมหายใจหรือไม่มีชีวิตเราจะทำอะไรได้ องค์ประกอบของสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์นั้น ต้องประกอบด้วย  2 สิ่ง คือสุขภาพกายและสุขภายจิต โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ เราจึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 
บทที่  6  Home บ้านและครอบครัว & Human  Capital ทุนมนุษย์

“H” Home บ้านและครอบครัว

Human  Capital ทุนมนุษย์
เน้นที่บ้านและการมีครอบครัวที่อบอุ่น เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของทุกๆ คน สถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่นสามารถช่วยลดปัญหาทุกอย่างลงไปได้ วัฒนธรรมไทยนั้นชีวิตเป็นพหูพจน์ไม่ใช่เอกพจน์ คือเป็นครอบครัวใหญ่ ไม่ใช้ครอบครัวเดี่ยว  ซึ่งถ้าพึ่งพากันได้ในครอบครัวก็จะไม่เป็นภาระกับสังคมประเทศชาติโดยรวม  ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษา ทุนที่ได้มาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดา มารดาทุนมนุษย์มาดี  เมื่อเข้าสู่ระบบการเรียนการสอน  เข้าสู่สังคมหรือองค์กร  ก็จะสามารถต่อยอดทุนมนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง สังคม องค์กรและประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ทุนมนุษย์จึงเป็นรากฐานที่สำคัญ ที่จะมีผลต่อการพัฒนาทุนด้านอื่นของมนุษย์
บทที่  7  Happiness  การดำเนินชีวิตอย่างมีชีวิต & Happiness  Capital  ทุนแห่งความสุข

“H”  Happiness  การดำเนินชีวิตอย่างมีชีวิต

Happiness  Capital  ทุนแห่งความสุข
การดำเนินชีวิตอย่างมีสุขโดยต้องไม่เบียดเบียน ภารกิจใดๆ  ก็ตามถ้าเรามีความสุข  มีความสนุกสนานเพลิดกับงานที่ทำ  และมีความเข้าอกเข้าใจว่าเกิดเป็นคนก็ต้องทำงาน ส่วนงานที่จำเป็นต้องทำให้สำเร็จ  ก็ต้องใส่ใจ เอาสติเป็นตัวตั้งเราจึงจะทำได้เร็ว แล้วจะมีความสุขที่งานสำเร็จ หากมนุษย์มีทุนทางความรู้ มีทุนทางปัญญาและมีทุนทางจริยธรรมแล้ว  ย่อมเป็นพื้นฐานที่จะมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์  เพราะมีความรู้ความสามารถ  มีสติปัญญาที่จะประสบความสำเร็จแล้วยังมีความดีงามที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือทรัพยากรส่วนกลาง
บทที่  8  Harmony   ความปรองดองสมานฉันท์  &   Social    Capital   ทุนทางสังคม

“H”  Harmony   ความปรองดองสมานฉันท์ 

Social    Capital   ทุนทางสังคม
ความปรองดอง  ความสมานฉันท์  ความสอดคล้อง  กลมเกลียว  และความประนีประนอม  ใฝ่สันติ ผู้นำที่ต้องบริหารประเทศหรือคนหมู่มาก  ควรต้องใช้หลัก  Harmony นี้ให้มาก สังคมประเทศชาติ  หรือสังคมโลกจึงจะอยู่เป็นสุข  การทำงานที่สามารถดึงความเก่งหรือทักษะของคนแต่ละคนร่วมกัน และปฏิบัติภารกิจนั้นๆ ให้ลุล่วงไป สิ่งสำคัญคือต้องแบ่งปันความสำเร็จให้พึงพอใจกันทุกฝ่ายอาจไม่ใช่เงินทอง แต่เป็นความภาคภูมิใจ เป็นเกียรติ  หรือแม้แต่เพียงความปีติที่ได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
1.  สองพลังความคิดชีวิตและงาน   คุณหญิงทิพาวดี  กับ ศ.ดร. จีระ  จะเห็นว่า ทั้ง 2 ท่าน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ  คน  และความสำคัญในการพัฒนาของคน ซึ่ง ทั้งสองท่านได้กล่าวตรงกันที่ว่า  คน เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคน  โดยท่านคุณหญิงจะเน้นไปที่ รากฐานชีวิต,  สุขภาพ, จิตใจ, สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว,  การลงมือทำด้วยตัวเองไม่ว่าจะทำอาชีพไหนก็ตาม,  ความปองดองสมานฉันท์ฯ  หลักในการใช้ชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่คุณหญิงได้กล่าวนั้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตได้และยังทำให้มีความสุขในการทำงานให้เข้ากับยุคของการแข่งขันในปัจจุบัน   ส่วนท่านอาจารย์ จีระ  จะเน้นไปที่ การมีทุนมนุษย์และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยถ้ามีสิ่งที่ท่านกล่าวไว้แล้วนั้นถือว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าของชีวิต และทำให้ก้าวไปเป็นคนมีคุณภาพอย่างสมบูรณ์   ท่านได้เน้นการพัฒนาตัวเราเอง  คนไทยจะยังต้องพัฒนาในอีกหลายๆ  ด้าน เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดไกล  มีวิสัยทัศน์  คิดแสวงหาความสุขในระยะยาว  และการตัดสินใจใดๆ  จะได้คำนึงถึงความยั่งยืนทำให้เกิดเป็นทุนแห่งความยั่งยืนขึ้นมาได้  แต่ทั้งสองทฤษฎีนั้นมีความที่คล้ายกันและสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้  เป็นแนวในการใช้ชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงานได้นับว่าเป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2.  ตัวเราเองเป็นอย่างไร ในภาวะผู้นำ  เนื่องจากที่ตัวของดิฉันเองยังไม่ได้ทำงานจึงไม่ทราบว่าตัวเองมีคุณสมบัติการเป็นผู้นำอย่างไร แต่ความเป็นจริงแล้วดิฉันคิดว่าตัวของดิฉันเป็นผู้นำของตัวเองและคิดว่าตัวเองเป็นผู้นำที่ มี  Vision   มีเป้าหมายในชีวิต  มีทิศทางการดำเนินชีวิต  นั้นคือ ตัวของดิฉันเองนั้นมีความตั้งใจว่าจะเรียน ปริญญาโท ในจบภายในปีการศึกษา  2552  จากนั้นจะกลับไปอยู่บ้านเกิดที่เชียงใหม่ และมีอาชีพเป็นอาจารย์สอนระดับมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ ในการเป็นผู้นำตัวเองนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการเอาชนะใจตัวเอง มีความซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่นในสังคม  ตั้งใจทำในสิ่งที่เราคาดหวังไว้โดยที่ต้องบังคับตัวเองไม่ให้เลิกล้มความตั้งใจถึงแม้ว่าจะมีปัญหาในการเรียนหรือการใช้ชีวิตบ้างเป็นบางครั้งและให้กำลังใจตัวเองเสมอ  พยายามพัฒนาตัวเองเสมอเพราะว่าตัวดิฉันเองไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจึงต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งรอบข้างต้องเพิ่มความขยันเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับพวกพี่ๆ ที่ทำงานกันแล้วบางครั้งการได้รับความรู้มาจากอาจารย์แต่ละท่านก็ยังดูไม่ออกว่าสิ่งที่อาจารย์พูดสอนเรานั้นเราจะเอาไปปรับใช้ในการทำงานอย่างไร 

นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ หนังสือ “2 พลังความคิดชีวิตและงาน 2 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ฯ” นับเป็นหนังสือที่สามารถถ่ายทอดแนวทางและแนวคิดทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไว้ทางแท้จริง เนื่องจากบุคลากรที่ถ่ายทอดความรู้ และความคิดที่ประกอบเข้าเป็นหนังสือนั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ และผ่านประสบการณ์ ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาอย่างโชกโชน หลักคิดที่เฉียบแหลมของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ชี้ให้เห็นว่า สำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความสุขไปพร้อมกัน ด้วยการใช้หลักคิด คือ 8 H’s อีกหลักคิดหนึ่ง ที่ทำให้เราท่านเกิดปัญญาในการบริหารทรัพยากร คือ หลัก 8 K’s ของท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมย์ นั้นเอง หลักการทั้งสอง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กร หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน ได้ในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งนี้ เราสามารถจำแนกเป็นส่วน ๆ เพื่อใช้ง่ายและชัดเจนแก่การเข้าใจคือ หลัก heritage รากฐานของชีวิต และ Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน ในส่วนนี้ ทำให้เราตระหนักว่า มนุษย์เรานั้น ต้องระลึกและมีความภาคภูมิใจในการเป็นตัวเอง และต้องเข้าใจในรากเหง้าของตนเอง ที่กล่าวเช่นนั้น เนื่องจาก การเข้าใจที่มาของตนเอง และรู้จักตนเองนั้น จะทำให้เราเข้าใจ สิ่งที่เรามี และเราเป็น ฉะนั้น การจะทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมใด ๆ ในองค์กร หรือชีวิตประจำวัน ย่อมทำให้เราไม่ประมาท และทำอะไรอยู่ด้วยความพอเพียง มีความสมดุล หลัก Head สมอง และ Intellectual Capital ทุนทางปัญญา นั้น แสดงให้เราเห็นว่า ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากที่ต้องบริหารมนุษย์ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในศาสตร์หรือเรื่องนั้น ๆ เราต้องฝึกฝนให้บุคลากรเหล่านั้น เกิดทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ นั้นหมายถึง นอกจากมีความรู้แล้ว ยังต้องคิดเป็น และตกผลึกกับความคิดเหล่านั้น (คิดได้ วิเคราะห์ได้ ต้องมีคุณธรรมด้วย) Hand มืออาชีพ และ Talent Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ในการทำงานนั้น เราทุกคนมักต้องการความสำเร็จในงานนั้น ๆ แต่หลักการนี้ ทำให้เราต้องตระหนักว่า การทำงานนั้น ต้องอาศัยตนเองเป็นที่ตั้งในการทำงาน การใช้ประโยชน์จากความสะดวก ง่ายดายของเพื่อนร่วมงาน หรือเทคโนโลยีนั้น บางครั้ง ทำให้เราขาดความละเอียดอ่อน และความใส่ใจในเนื้องาน อีกทั้ง การที่เราสามารถทำงานในขั้นที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และฝึกฝนจนกระทั่งเป็นขั้นที่ยุ่งยาก สิ่งเหล่านั้น จะเป็นประสบการณ์และสร้างความเป็นมืออาชีพในงานที่ท่านปฏิบัติ เกิดความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ ซึ่งในส่วนนี้มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ และที่สำคัญมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรที่ทุกวันนี้กำลังถูกท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน Heart จิตใจที่ดี และ Ethical Capital ในสังคมปัจจุบัน การคิดหรือมีทัศนคติในเชิงบวก เป็นสิ่งสำคัญยิ่งทั้งการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวัน ที่กล่าวเช่นนี้ ในปัจจุบันมีความรู้ แต่ปราศจากความคิดหรือทัศนคติในเชิง ดังนั้น การมองอะไรจึงไม่มีความสุข ฉะนั้น การมองในเชิงบวก ที่ควบคู่กับความมีคุณธรรมและจริยธรรม ประกอบกันจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ “ประเทศชาติ จะพัฒนาได้อย่างไร หากปราศจากผู้มีความรู้ และคุณธรรม” Health การมีสุขภาพที่ดี คนเราแม้มีสมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ แต่หากร่างกาย หรือสุขภาพไม่ดี มีความบกพร่อง สิ่งต่างๆ ทั้งสมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ ย่อมไม่มีความหมายใด ๆ หลักคิดข้อนี้ ของคุณหญิงทิพาวดี แสดงให้เราเห็นว่า สุขภาพ มีความสำคัญมาก เนื่องจากสุขภาพเป็นสิ่งที่ทำให้ “ยังมี และมีความสามารถ” ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ หากสุขภาพไม่ดี หรือไม่มีลมหายใจ สิ่งต่าง ๆ ย่อมไม่มีความหมาย ทั้งนี้ หลักการข้อนี้ เป็นหลักการข้อเดียวที่อาจารย์ทั้งสองท่านมีความคิดแตกต่างกัน สำหรับท่านอาจารย์จีระนั้น มองว่า Digital Capital มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ในปัจจุบันมาก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบันนั้น ล้วนสนับสนุนการทำงานในระบบดิจิตอล ฉะนั้นการเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีนั้น เป็นทักษะหนึ่งที่ทรัพยากรมนุษย์ ยุคปัจจุบันมีความจำเป็น Home บ้านและครอบครัว และ Human Capital ทุนมนุษย์ มนุษย์จะมีคุณภาพย่อมมาจากครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมที่ดี และเหมาะสม นอกจากนี้ ยังต้องกระบวนการให้เขาเหล่านั้น ได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาอย่างมีระบบเป็นขั้นตอน อีกทั้ง บ้านและครอบครัว ยังเป็นเสมือนแหล่งเพาะบ่มความคิด และทัศนคติ ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการ Happiness ความสุข และ Happiness Capital แสดงให้เห็นว่า คนเราทุกคน ย่อมต้องทำงานและดำรงชีวิตในประจำวัน ทำในสิ่งที่ตนเองรัก และปฏิบัติงานโดยมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบ ฉะนั้น ความสุขนั้น จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และความสุขนั้น ต้องเป็นความสุขที่ไม่เบียดเบียนใคร คือ เป็นความสุขที่เกิดจากทั้งกายและใจของตนเอง Harmony ความปรองดองสมานฉันท์ และ Social Capital มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่ จึงมีประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมาย เป็นตัวกำกับเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีความปรองดอง สามัคคี ฉะนั้น ในการทำงานเช่นเดียวกัน เราทุกคนต้องการมิตรในการทำงานมากกว่าศัตรู และร่วมกันทำงาน โดยมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังต้องรู้จักวัฒนธรรมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสามารถรักษาความเป็นอัตลักษณ์ของตนในสังคมได้
นาย.ธนิก กัมพูศิริพันธุ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4 รหัส.50038010033
ข้อ1        จากการชม และฟังพูดคุยกันระหว่าง ศ.ดร.จิระกับคุณหญิงทิพาวดี ทำให้เห็นภาพชัดเจนในความคล้ายคลึงกันคือ การได้รับความรักความอบอุ่นและมีจุดเริ่มต้นจากผู้มีพระคุณ (พ่อ,แม่) ที่ชี้นำวิถีการดำเนินชีวิตของท่านทั้งสองสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จในชีวิตทั้งเรื่องการงานและครอบครัวที่สำคัญนี้เองที่สังคมในยุคปัจจุบันมิได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรมากนักดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยไม่ว่าท่านทั้งสองจะคิดอยู่ในกรอบของ คุณธรรม จริยธรรม ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กได้อย่างแน่นอน ท่านทั้งสองเป็นผู้นำทฤษฎี 8K หรือ 8H มาดำเนินชีวิตนั้นเอง หลังจากการได้ศึกษาลึกๆอย่างละเอียดแล้ว การบริหารจัดการคนนั่นเองคือตัวการสำคัญที่ทำให้องค์กรประสพความสำเร็จ และเป็นที่ภูมิใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ในวัฒนธรรมแห่งความเป็นไทยได้อย่างดี  ส่วนในมุมที่แตกต่างท่าน อาจารย์ จิระ ท่านจะวางแผนนโยบายโดยใช้ทางสายกลางโดยการสร้างความรู้ความสามารถ ของท่านโดยไม่จำเป็นต้องปะทะดังนั้น อาจารย์ จิระ แตกต่างกับ คุณหญิงทิพาวดีตรงที่ไม่ว่าการเมืองจะแปรผันไปตกอยู่ในกลุ่มใดก็ตามอาจารย์จิระก็ยังคมเป็นบคคลสำคัญและเป็นที่ ต้องการของบุคคลในสังคมมาโดยตลอด ส่วน คุณหญิงทิพาวดี เพราะเป็นการเรียนรู้ทั้งจากตำราและนอกตำรามาโดยตลอดคุณหญิงทิพาวดี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้แทบทั้งสิ้น ไม่จำเป็นว่าเราจะอยู่ในองค์กรหรือหน่วยงานใดไม่ว่าจะเรื่องการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้LIFE LONG LEARNING การสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้น ข้อ 2 ลักษณะผู้นำที่คิดว่าตัวเองมี ดังนี้ 1.กล้าตัดสินใจ ยอมรับความล้มเหลว  กล้ารับผิดชอบ ในหลายๆเรื่อง ทั้งดีและร้าย 2. การมีวิสัยทัศน์ 3. ความยุติธรรม 4. สร้างทีมงานที่มีคุณภาพ 5. สุภาพ มีเมตตา 6. แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ลักษณะ 7.ซื่อสัตว์ ตรงต่อเวลาที่ได้รับ ผู้นำที่ดีตามที่ อาจารย์ จิระ สอนได้เป็นอย่างดี……….
น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009
Character ที่เป็นจุดแข็งของตัวเอง  ทักษะ  บุคลิกภาพที่มีอยู่คืออะไร  ทักษะ  บุคลิกภาพที่ไม่มีแต่ควรจะมีคืออะไร                ตามความคิดเห็นที่ประเมินตัวเอง ที่คิดว่ามีดีอยู่ในตัว                เป็นคนที่มีแนวคิดในการทำงาน หรือการแสดงความคิดเห็นไม่ค่อยเหมือนคนอื่น ๆ  อาจจะคิดนอกกรอบ บุคลิกภาพมั่นใจในตัวเอง และมีจุดยืนในการทำงาน  มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย                ทักษะ  บุคลิกภาพที่ไม่มีแต่ควรจะมี คือ                การพูดเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  ในสถานการณ์ที่จะต้องคิดและตัดสินใจ เช่น  พิธีกร  การเจรจาโต้ตอบ  จะค่อนข้างรู้สึกตื่นเต้นหากไม่ได้เตรียมการ  อยากจะฝึกความมั่นใจ และกล้าแสดงออกในการพูด การโต้ตอบคำถาม  อยากให้ไม่มีความประหม่าในตัวเอง  ฝึกการพูดในที่สาธารณะชน การเรียบเรียงข้อมูลในการพูด  พูดอย่างไรให้คนสนใจและคล้อยตาม  สรุปข้อมูลจากการฟัง VTR  โดยเทียบความเป็นผู้นำ  ของคุณหญิงทิพาวดี   เมฆสวรรค์และ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ความเป็นผู้นำ ของคุณหญิงทิพาวดี                เป็นผู้นำที่มี Character  ที่เป็นคนชอบเรียนรู้  มีคุณธรรม  จริยธรรม ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา  ให้ความสำคัญในการมุ่งพัฒนาระดับผู้บริหารในการนำไปพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ในหน่วยงานภาครัฐ และเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง  ซึ่งสามารถแสวงหาทฤษฏี  8  H’S  ได้แก่  Heritage    Happiness   Head   Hand   Heart   Health  Home   Harmony  เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ทำงานเป็นกรอบ ความเป็นผู้นำ  ดร.จิระ                   เป็นผู้นำแสวงหาความรู้  มี Vision  ในการมองอนาคต และจุดประกายการสร้าง Vision  ร่วมกันโดยเป็นผู้นำที่กระตุ้นความเป็นเลิศเพื่อให้พัฒนาจุดแข็งของตนเองขึ้นมา  โดยมีการทำงานเป็นทีม  โดยมีความตั้งใจในการพัฒนาคน  สอนให้รู้จักคิดเป็น  วิเคราะห์เป็น  ค้นหาในสิ่งที่ตัวตนมีความสามารถ    ซึ่งหมายถึงคนในทุก ๆ ส่วน ไม่ว่าเป็นภาครัฐ หรือเอกชน มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในส่วนรวม  ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาประเทศชาติ
นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

ข้อ ๑. ลักษณะที่ดีและไม่ดีของตนเอง
ลักษณะที่ดี
     ๑. ไม่เอาเปรียบใคร
     ๒. กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ
     ๓. แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
     ๔. ขยัน และจริงจังกับงาน
ลักษณะที่ไม่ดี
     ๑. ไม่ชอบให้ใครเอาเปรียบ
     ๒. ถ้าไม่ใช่เรื่องงาน จะไม่มีความ Active

ข้อ ๒. บทสนทนาระหว่าง ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
    
ทั้ง ๒ ท่านมี Vision และภาวะความเป็นผู้นำ โดย ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ จะเน้นการพัฒนาสู่ความสมบูรณ์ของงาน และเป็นที่รู้จักของคนหมู่มากโดยการ สอน หรือบรรยาย และด้วยวิธีการสอนของท่านทำให้ นักเรียน หรือผู้เข้ารับการอบรมประทับใจ ส่วน คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ประสบกับความสำเร็จในชีวิตข้าราชการ โดยเฉพาะที่สำนักงาน กพ.

นางวีราวัลย์ จันทร์ปลา รหัสนักศึกษา 50038010037

1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน
            จากการที่ได้อ่านและได้รับชมวีดีทัศน์  ทำให้ทราบถึงความมุ่งมั่นในการทำงานความจริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   การพัฒนาตนเองให้ทันกับกระแสโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต    ทั้งสองท่านถือว่าเป็นแบบอย่างของผู้บริหารที่ดีต่อพวกเราชาวรปม. รุ่นที่ 4 ซึ่งมีอาชีพเป็นข้าราชการเสียส่วนใหญ่ถือว่าเป็นวัยกำลังทำงานเป็นทรัพยากรมีคุณค่าต่อองค์กรและประเทศชาติในอนาคต
ทั้งสองท่านมีความเหมือนในความแตกต่าง ดังนี้
ความเหมือน  ทั้งสองท่านมีความเชื่อที่เหมือนกันคือ “คน “ เป็นทรัพยากรที่มีต่อองค์กร   มีเป้าหมายและเป็นแบบอย่างในการพัฒนาบุคลากรที่เหมือนกัน    เป็นผู้คิดจริงทำจริงมีความมุ่งมั่นในการทำงาน   ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ทันยุคทันสมัยนำเทคโนโลยีมาใช้  มีทฤษฎีพัฒนาคนคือ “8 H’s”  และ "8 K’s”    เน้นการทำงานเป็นทีม  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเปิดโอกสาให้แสดงความคิดเห็น    กระตุ้นให้คนให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา   มีครอบครัวเป็นต้นแบบในการการศึกษา   การทำงาน   การดำเนินชีวิต   เน้นการพึ่งพาตนเอง  มีข้อมูลที่เป็นจริงและพิสูจน์ได้  ไม่สนใจงานด้านการเมือง  เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน   มีทักษะในความเป็นผู้นำ ( Leadership)  อย่างแท้จริง  ไม่ลืมความเป็นตัวตน  มีความเชื่อที่ถูกต้องและมีเหตุผล  มีความภาคภูมิใจงานที่ทำไม่ยึดติดกับตำแหน่งและอำนาจใดๆ
ความต่าง  มีเป้าหมายในการทำงานที่แตกต่างกัน  ท่านอาจารย์จีระ ได้รับการยอมอย่างแพร่หลายว่ารับเป็น Guru  ในเรื่องทรัพยาการมนุษย์อย่างแท้จริง  มีความเป็นมืออาชีพในการพัฒนาบุคลากรมากกว่าอันจะเกิดจากประสบประการณ์ที่แตกต่างกัน ท่านอาจารย์จีระจะเน้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และสื่อต่าง ๆ ในการให้ความรู้กับบุคคลทุกกลุ่มทุกวัยที่สนใจ   แต่คุณหญิงทิพาวดีจะเน้นการให้ความรู้เฉพาะในองค์กรที่ปฏิบัติงาน   และมีการหาความรู้และถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบที่แตกต่าง
2.  Character ที่เป็นจุดแข็งของตัวเอง  ทักษะ  บุคลิกภาพที่มีอยู่คืออะไร  ทักษะ  บุคลิกภาพที่ไม่มีแต่ควรจะมีคืออะไร     
  จากการที่ได้รับความรู้จากท่านอาจารย์จีระในครั้งที่สองที่มีหัวข้อในการเรียนที่ว่า “ภาวะผู้นำในยุคโลกที่เปลี่ยนแปลง” ท่านอาจารย์ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้หลักของท่านอาจารย์ทำให้สมองของพวกเราคิดอยู่ตลอดเวลา  และเกิด Trust ในตัวท่านเองว่าเราก็คิดเป็นและกล้าแสดงออกจุดแข็งเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานชอบทำงานที่ท้าท้ายอยู่เสมอ ชอบการเรียนรู้  ปรับตัวเองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงขององค์กรและของโลก  มีการตัดสินใจแก้ปัญญาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานและการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุและผล  
เน้นการทำงานเป็นทีมเนื่องจากเราไม่สามารถจะทำงานหรือประสบความสำเร็จได้เพียงลำพังยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกคนในที่ทำงาน  แต่สิ่งที่ยังขาดคือทักษะการเจรจาต่อรองซึ่งจำเป็นมากในการทำงานเนื่องจากจะมีกลุ่มบุคคลมาติดต่อที่หน่วยงานเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลายของทางด้านอาชีพ

     ข้อ 1. สิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกันคือความอบอุ่นของครอบครัว และการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล การไฝ่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ไม่หยุดนิ่งและพยายาม update แนวคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ

         ข้อ 2. ข้อดี 1. ขยัน ตรงเวลา 2. มุ่งมั่นในสิ่งที่กระทำ 3. ร่าเริง แจ่มใส              ข้อเสีย 1. ขี้หงุดหงิด รำคาญ 2. ใจร้อน

 

น.ส.สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น 4
จากการฟังเทป เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้ข้อคิดและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หลายอย่าง  คือ ทั้งสองท่าน อาจารย์จีระและคุณหญิงทิพาวดี ต่างก็ให้ความสำคัญกับมนุษย์ โดยมองว่าการที่จะพัฒนามนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ว่าจะทำอะไร เช่น การสร้างองค์กรก็ต้องใช้คน การสร้างครอบครัวก็ต้องใช้คน หรือจะพัฒนาประเทศก็ต้องเริ่มจากคน ทั้งนั้น ซึ่งการจะพัฒนาคนแต่ละคนไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้นำยุคใหม่จึงไม่ควรละเลยหรือมองข้ามเรื่องบุคลากร ควรหันกลับมาดูพนักงานของหน่วยงานของตน ซึ่งการจะดูแลบุคลากรให้อยู่กับองค์และจงรักภักดีกับองค์กรทำได้ยากซึ่งทั้งสองท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มาก ทั้งจากการศึกษาอย่างต่อเนื่องและการลงมือปฎิบัติจริง จนทำให้ท่านทั้งสองเข้าใจ ถึงคุณค่า และความสำคัญของบุคลากรและได้คิดแนวทางการพัฒนาบุคลากรออกมาเป็นทฤษฎี 8 H’s และ 8 k’s  ซึ่งถือว่าใครได้ฟังและได้อ่านหนังสือของท่านทั้งสอง จะสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้กับตัวเองได้ ทั้งเรื่องชีวิตส่วนตัวและอาชีพการงานเรา รปม.รุ่น 4  ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้ทำให้พวกเรา ได้เปิดโลกอีกโลกหนึ่ง เปิดความคิดที่แตกต่างไปจากเดิม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทันที  ในการเป็นผู้นำ นั้นต้องมีคุณลักษณะที่โดดเด่น มีแนวคิดที่กว้างไกลแต่สำหรับCharacter หรือ คุณลักษณะ ของตัวเองที่มีอยู่ และถือเป็นข้อดี เป็นจุดแข็งของตัวเองคือ1.       เป็นคนยิ้มง่าย อารมณ์ดีตลอดเวลา2.       เป็นคนไม่ชอบอยู่นิ่ง ต้องหากิจกรรมทำตลอด3.       เป็นคนมองโลกในแง่ดี 4.       เป็นคนชอบความยุติธรรมไม่ชอบการเอาเปรียบ ทั้งกับตัวเองและกับผู้อื่น5.       ชอบหาความรู้ใส่ตัว และเป็นคนชอบอ่านหนังสือ เกือบทุกประเภท

6.       เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าทำในสิ่งที่คิดและรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง

 

ญานิสา   เวชโช  50038010013

“2 พลังความคิดชีวิตและงาน 2 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ฯ ทฤษฎี  8 H ‘s  ของคุณหญิง และ  8 K ‘s  ของ ศ.ดร.จีระ ”  มองที่คน เพราะคนเป็นทุนที่สำคัญขององค์การ  ผู้นำยุคใหม่จึงไม่ควรละเลยเรื่องทุนมนุษย์  "มนุษย์"  เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดขององค์การ องค์การจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับมนุษย์ ไม่ใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี เพราะสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่ให้ความสำคัญแก่ความรู้  ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรมของทรัพยากรมนุษย์ และถือว่าทรัพยากรมนุษย์ คือ ทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด

ข้อดีของตัวเอง  คือ เป็นคนมองโลกในแง่ดี  มีเหตุผล  มีความเป็นผู้ใหญ่  ใจเย็น ยิ้มง่าย เข้ากับคนอื่นได้เก่ง ไม่เห็นแก่ตัว

ขอส่งข่าวประชาสัมพันธ์
สวัสดีค่ะเพื่อน รปม.รุ่น ๔ ทุกท่าน ตามกำหนดการ Study Tour ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ณ จังหวัดชลบุรี นั้น คณะผู้จัดงานขอเปลี่ยนแปลงกำหนดการและขอแจ้งให้ทุกท่านทราบกำหนดการใหม่ ดังนี้ ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางจากมหาว่ิทยาล่ัยราชภัฏสวนสุนันทา ๐๙.๐๐ น. เดินทางถึงบริเวณศูนย์การต้า รอยัลการ์เด็น ๑๑.๐๐ น. เดินทางถึงท่าเรือแหลมบาลีไฮด์ (สุดถนน Walk Street) เพื่อลงเรือข้ามไปเกาะล้าน ๑๒.๐๐ น. เดินทางถึงเกาะล้าน * รับประทานอาหารกลางวัน * พักผ่อนตามอัธยาศัย * ช่วงแลกเปลี่ยนความรู้กับ อาจารย์ ศ.ดร.จีระ ๑๕.๓๐ น. ข้ามเรือจากเกาะล้านกลับมาที่พัทยา ๑๖.๑๐ น. เดินทางกลับ ๑๘.๓๐ น เดินทางถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หากเพื่อน ๆ สงสัยมีปัญหาอะไรให้โทรถามคุณสุทัศน์ หรือพี่อนงค์ ค่ะ
นางสาวภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035

ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน

ซึ่งทั้งสองท่านจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ คน เป็นสำคัญที่สุดขององค์กร ท่านเชื่อว่า การที่จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี โดยคุณหญิงจะเน้นทฤษฎี  8 H ‘s และ ศ.ดร.จีระ จะเน้นทฤษฏี  8 K ‘s   ซึ่งมีความแตกต่างกันทางด้านที่ ศ.ดร. จีระ เห็นความสำคัญของ ทุนทางเทคโนโลยี เพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง   ส่วนคุณหญิงเน้นเรื่อง สุขภาพที่สมบูรณ์  ถือว่า สำคัญต่อมนุษย์ 

 

ข้อ 2 ลักษณะความเป็นผู้นำของตนเอง

จุดแข็ง

1.มีความยุติธรรม ถูกคือถูก ผิดคือผิด ไม่โอนเอียง

2.การทำงานเป็นทีม

3.การตัดสินใจกับปัญหาต่างๆ

4.มีความมั่นใจในตนเอง

5.ร่างเริงเป็นมิตรกับทุกคน

6.ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา

จุดอ่อน

เป็นคนอารมณ์ร้อนถ้าเกิดงานผิดพลาดหรืองานออกมาล่าช้า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขในตัวเอง

เรียน ท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมย์  พี่น้อง ผองเพื่อน ชาว รปม.รุ่น 4  

 

จากการสนทนา กัน ระหว่าง ศ.ดร.จีระ กับ คุณหญิงทิพาวดี ทำให้ฉุกคิดได้ว่า บุคลากรทั้ง 2 เป็นผู้ที่มี Vission  และเป็นคนที่มี TRUST ของคนในสังคมที่ได้พบ เป็นผู้ที่ได้รับยกย่องในเรื่องนักต่อสู้ด้านวิชาการ ชอบที่จะคิด ชอบที่จะเขียน อันเนื่องมาจากการที่ท่านทั้งเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มองกาลไกล และเป็นผู้ที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น เป็นที่รักของคนในครอบครัว รวมไปถึงเพื่อนรวมงาน และลูกน้อง  ชอบที่จะนำเอาเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้  มีคุณธรรม จริยธรรม

 

สิ่งที่เป็นจุดแข็งจุดอ่อน

จุดแข็ง   เป็นคนที่ทุนทางความรู้ในเนื้อหาของการทำงานด้านอัคคีภัย  ทำงานจริงจัง  เป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง

จุดอ่อน  ค่อนข้างปากไว ตัดสินใจเร็ว   

นงนุช บัวขำ รหัส 50038010012

1. Character หรือคุณลักษณะที่พึงปรารถนา

คือ เป็นคนมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและหน้าที่ของตน  ตรงต่อเวลา มีคุณธรรมในการทำงาน ไม่คิดร้ายกับใคร ให้เกียรติผู้ร่วมงาน

2. บทสมภาษร์ระหว่าง ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ศ.ดร.จีระฯ จะให้ความสำคัญที่ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นอันดับแรก เพราะเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ได้รับมาตั้งแต่เยาว์วัย ถ้าคนเราได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาดีก็จะทำให้ทุนมนุษย์ดี แล้วทุนด้านอื่นๆก็ดีไปด้วย

คุณหญิงทิพาวดีฯ ให้ความสำคัญกับ Heritage รากฐานของชีวิต หรือ ทุนทางวัฒนธรรม เป็นอันดับแรก ให้รู้ว่าเราเป็นใครมาจากไหนและภาคภูมิใจในรากฐานของชีวิตตัวเอง และพัฒนาตนเองให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อเป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง

ทั้งสองท่านเป็นผู้นำที่เห็นความสำคัญของมนุษย์หรือทรัพยากรในองค์กรเป็นอันดับแรก ศ.ดร.จีระฯ มีความรู้ความสามารถมากทางด้านทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารคนในองค์กร ซึ่งถ้าเรามีผู้นำประเทศแบบ ศ.ดร.จีระฯ แล้วประเทศชาติของเราคงพัฒนาและเจริญรุ่งเรืองทันประเทศอื่นๆ

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ 50038010046 รุ่น4

คุณลัษณะที่พึงปรารถนาตัวผู้เขียนเองมีความรู้สึกและสำนึกในหน้าที่ตลอดเวลาที่ได้มาทำงานที่ในหน่วยงานนี้คือศูนย์สัวสดิภาพเด็กเยาวชนและสตรีที่ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญอย่างมากที่มีต่อสังคมและสถาบัญครอบครัวโดยตรงจะเห็นได้ว่าการให้การช่วยเหลือหรือการเข้าไปแก้ไขปัญหาของเด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรหรือการเข้าไปมั่วสุมเสพยาเสพติดของเด็กเยาวชนที่เป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้ภาครัฐเองก็พยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาโดยการพัฒนาศักย์ภาพของบุคคลาการตลอดเวลาเพื่อให้รู้จริงรู้ทันต่อพฤติกรรมของเด็กผู้กระทำผิด  ตัวผู้เขียนและเจ้าหน้าที่ ศดส.ทุกนายเข้าใจถึงจิตรใจและพฤติกรรมของเด็กดีว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นช่วงหนึ่งของวงจรชีวิตนึกถึงสภาพเมืองตัวผู้เขียนเองเมื่ออายุประมาณนี้ก็เคยมีพฤติกรรมสร้างปัญหาให้กับผู้ปกครองไม่น้อยเช่นกันเมื่อตัวผู้เขียนไปมาทำงานให้กับในหน่วยงานนี้ที่มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผู้และให้การสงเคราะห์หรือคอยให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางที่ผิดหรือพยามที่จะก่อปัญหาให้สังคมนี้ตัวผู้เขียนจึงทราบดีว่าจะเข้าไปแก้ไขและให้ความช่วยเหลืออย่างไรจะไม่เป็นการสร้างปัญหาขึ้นมาอีกคือมองว่าหลังจากการให้การช่วยเหลือหรือแก้ไขแล้วและจะไม่กับไปสร้างปัญหาให้สังคมขึ้นมาอีกการให้การช่วยเหลือหรือเข้าไปแก้ไขปัญหาก็จะใช้หลักคุณธรรมและความเป็นไปได้เป็นหลักสำคัญ        โดยฉะเพราะการตัดสินใจเข้าไปใหการช่วยเหลือหรือเข้าไปแก้ไขปัญหาทุกครั้งจะมีการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเพื่อเข้าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งว่าเพราะเหตุใดเป็นสาเหตุของการกระทำผิดบ่อยๆของเด็กเยาวชนและสตรีการทำงานทุกครั้งและจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกส่วนสำคัญที่สุดคือผู้นำองค์จะต้องกล้าแสดงกล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่ๆเพื่อพัฒนาองค์กรให้ทันสถานการเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นแต่ไม่ใช่เกิดแล้วมาแก้ปัญหาภายหลังผู้นำจะต้องรู้จริงต้องเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาและเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานอย่างเดียวไม่พอต้องเป็นที่พึงและศรัทธาของกลุ่มคนทั่วไปทำให้หน่วยงานเป็นที่รู้จักรของคนทั่วไปได้สร้วงองค์กรให้เข้มแข็ง

นางสาวดนิตา มูลละออง

ข้อ 1

ลักษณะผู้นำที่มีของตนเอง

-  Character  ชอบเรียนรู้ (คนเก่งงานอยู่ที่ไหนก็ได้)  มีคุณธรรม จริยธรรม

-  Leadership skill ตัดสินใจโดยใช้ประสบการณ์ และฟังความคิดเห็นจากลูกน้อง ทำงานเป็นทีมแบ่งหน้าที่ให้

    แต่ละคนรับผิดชอบ

-  Leadership process  การวางแผนล่วงหน้า เป็นตัวอย่างที่ดี

-  Leadership value ความศรัทธาในตัวของผู้นำ สั่งงานแล้วผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตาม และสามารถควบคุม

   บุคลากรที่ทำงานร่วมกันโดยไม่ได้สังกัดสำนักงานเดียวกัน

ลักษณะผู้นำที่ไม่มีของตนเอง

-  มีทัศนคติที่เป็นลบกับบุคลากรบางคน (ในเรื่องความรับผิดชอบต่องาน)

-  การเจรจาต่อรองจะเป็นคนตรงไปตรงมายึดกฎ ระเบียบ

-  ไม่ศรัทธาผู้บังคับบัญชาที่ไม่มีความสามารถในการทำงานใช้วาทศิลป์เพียงอย่างเดียว

ข้อ 2

จากการชมวีดีทัศน์การสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์                                            คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

-  เป็นผู้นำแบบ Trust                                                -  เป็นผู้นำแบบ Authority

-  ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์(Human Capital)  -  Home บ้านและครอบครัว

-  ทำงานเป็นทีมใช้สื่อเป็นตัวกลาง                        -  ทำงานผ่านองค์กรโดย 

  ในการทำงาน                                                                ท่านเป็นผู้กำหนดนโยบาย

                                                                                            ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้

                                                                                            ปฏิบัติ

-  ชอบการเรียนแบบ OBAMA ต้องให้กำลังใจ    -  ชอบการเรียนแบบ

                                                                                            OBAMA ต้องให้กำลังใจ

                                                                                            ให้ความหวัง ให้ความหวัง

 

การที่ได้ชมวีดีทัศน์การสนทนาแล้วได้แนวความคิดเพื่อมาประยุกต์ใช้กับงาน คือ ต้องปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นก่อน แล้วให้ความสำคัญกับงานทุกงาน ที่สำคัญที่สุดคือ คนในหน่วยงานเพราะถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดในหน่วยงานเพราะคนสามารถทำอะไรได้หลายอย่างหากเราสามารถดึงความสามารถของคนแต่ละคนออกมาและมอบหมายงานที่ตรงกับความสามารถ และจะต้องให้โอกาส ให้ความหวัง ให้รางวัล

สุรภัทร ปานทอง รปม.รุ่นที่ 4

ข้อ1 วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จีระ   และคุณหญิงทิพาวดี   หลังจากที่ได้ชมการสนทนากันในวีดีทัศน์ที่อาจารย์นำมาให้ชมนั้น

ความเหมือน        ทั้งสองท่านเป็นผู้ที่มี Trust   คือการสะสมความดี สะสมผลงานที่สามารถมองเป็นรูปธรรมได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนมาโดยตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองท่านได้ทำงาน   มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็น : พันธุ์แท้ :    และสู่ความเป็นเลิศ   โดยการวิเคราะห์และคิดหลักทฤษฏี 8k’s และ 8H’s มาเป็นหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ  จะเห็นได้ว่าทั้งสองท่านทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการทำงานมุ่งมั่นที่จะพัฒนางาน  พัฒนาคนและองค์กรต่างๆได้การยอมรับจากสังคมมากขึ้นเช่นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ความแตกต่าง    ศ.ดร.จีระ  มีทีมงานที่จะพัฒนางาน  พัฒนาคนและองค์กรและมีเครือข่ายมาก  สามารถพัฒนาคนโดยใช้เทคโนโลยีการสือสารทันสมัยและทีมงานเข้มแข็ง รวดเร็ว มีไหวพริบดี สมกับเป็นมืออาชีพ  ส่วนคุณหญิงทิพาวดี ท่านยังขาดทีมประสานงานและเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทันสมัย และคุณหญิงท่านมุ่งพัฒนาบุคคลากรในองค์กรเฉพาะกลุ่มและท่านมีความสนใจตำแหน่งทางการเมือง

ข้อ 2 คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ได้สำรวจตนเองมาเป็นระยะเวลาหลายปีคือการบริหารจัดการการดำเนินชีวิต   การทำงานในหน้าที่ประจำแม้จะมีอุปสรรคบ้างแต่ก็น้อยมาก  ข้าพเจ้ายึดหลักความซื่อสัตย์   มีคุณธรรม  จริยธรรมและนำหลักธรรมะของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์กับความเป็นผู้นำ  ผลที่ได้จากการนำมาประยุกต์ใช้คือการยอมรับและเคารพนับถือจากเพื่อนร่วมงานต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  จุดแข็งคือ การเผชิญปัญหาและการแก้ปัญหา(ในบางเรื่อง)โดยใช้หลักธรรมะของภาวะผู้นำและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างดี  จุดอ่อน คือยังมีความรู้และความสามารถไม่เพียงพอ  กำลังแสวงหาความรู้เพื่อที่นำมาบริหารจัดการกับงานในหน้าที่ประจำและงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 

ข้อ 1. ท่านมีลักษณะผู้นำแบบใดและยังขาดความเป็นผู้นำแบบใด

-          ชอบเรียนรู้ แสวงหาข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับงานและข่าวสารอื่น ๆ เพื่อให้ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์ มีคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนเท่าเทียมกัน เห็นประโยชน์ขององค์กรสำคัญ การตัดสินใจเด็ดขาด การเจรจาต่อรองสามารถทำได้ดีเพราะจะเอาใจเขามาใส่ใจเรา มองว่างานที่เราทำประสบความสำเร็จ หน่วยงานก็จะประสบความสำเร็จ องค์กรอยู่ได้ เราอยู่ได้และสามารถก้าวไปสู่ตำแหน่งผู้บริหารในระดับที่เหนือขึ้นไป ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความเคารพและเชื่อมั่นในการตัดสินใจและมองตัวเราเป็นแบบอย่างที่ดี

-          บางครั้งก็เป็นผู้นำที่กึ่งเผด็จการ เช่น ในบางเรื่องที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็น แต่ก็ใช้ความคิดเห็นของตนเองกับบอร์ดผู้บริหาร แต่ก็จะให้กำลังใจลูกน้องว่าเป็นความคิดที่ดีแล้วแต่ยังไม่ตรงตามความต้องการทั้งหมด คราวหน้าหากมีการประชุมขอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่คล้ายกัน ก็ให้มองจุดที่เรายังมองข้ามไป เพื่อเราจะได้นำความคิดที่ท่านเสนอมาใช้กับงาน หรือบางครั้งสามารถทำงานอะไรเองได้ก็จะทำเองไม่ต้องให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำเสมอไป หรือหากนอกเหนือความสามารถของตนเองก็จะหาข้อมูลมาให้ได้

ข้อ 2.

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์                                                           

-  เป็นผู้นำที่ไม่มีตำแหน่งที่ได้รับมากับกฎหมาย  แต่เป็นผู้นำที่ได้รับการศรัทธา การทำงานเป็นทีม การทำงาน 

   ผ่านสื่อ การทำงานจะมีข้อมูล เน้นความถูกต้อง ความเป็นจริง  เน้นการเรียนรู้แบบ OBAMA  ให้ความสำคัญ

   กับ Human capital คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กร

คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

-  เป็นผู้นำที่ได้รับมากับกฎหมาย การทำงานผ่านองค์กร เป็นผู้กำหนดนโยบาย เน้นการเรียนรู้แบบ OBAMA ให้

   ความสำคัญกับงานทุกงาน เป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสำคัญกับ Home คนเป็นทรัพยากรที่

   สำคัญที่สุดในองค์กร

 

นำมาใช้กับองค์กรได้ ในการทำงานจะต้องให้ความสำคัญกับคนทุกๆคนในองค์กร ซึ่งจะทำให้คนในองค์กรรู้สึกว่ามีคุณค่า รักองค์กร รักงาน รักผู้บังคับบัญชา การทำงานที่มีข้อมูล ทำให้สามารถก้าวทันยุคโลกาภิวัฒน์

ชื่อ จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ รหัส 50538020001 รปม.รุ่น 4

เสนอ ศ.ดร. จีระ  หงษ์ลดารมภ์

พี่ เพื่อน น้อง นักศึกษาชาว รปม.รุ่น 4  ทุกท่าน  ครับ

            จากการได้ชมวีดีทัศน์และได้อ่าหนังสือ เรื่อง 2พลังความคิดชีวิตและงานทั้งสองท่านแล้ว ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่าง ศ.ดร. จีระ   หงษ์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ แล้วข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า ข้าพเจ้าโชคดีมากที่ได้เป็นศิษย์กับ ศ.ดร.จีระฯ เพราะ ศ.ดร.ท่านนี้เป็นบูชนียบุคคลที่วงการทางการศึกษาของประเทศไทยต้องจารึกไว้ การสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ ความเป็นผู้นำ และการสรรหาบุคคลที่จะมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่บรรดาศิษย์ทุกคนแล้ว     ข้าพเจ้าคิดว่าไม่เป็นสองรองใครในระดับภูมิภาคนี้ เหมือนกับที่ข้าพเจ้าจักได้เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของบุคคลทั้งสองท่านที่กล่าวมาข้างต้นนี้

        ความเหมือน

-        บุคคลทั้งสองท่านนี้ล้วนแต่เป็นผู้นำระดับแนวหน้าของประเทศ

-        บุคคลทั้งสองท่านมีจุดประสงค์เหมือนกันคือ การพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในสถาบันของการศึกษา ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ หรือการบริหาร การจัดการ การพัฒนามนุษย์ในหน่วยงานขององค์กรต่างๆ เพื่อที่จะให้มีบุคลากรที่มีความพร้อมและสมบูรณ์ที่สุดในการปฏิบัติหน้าที่

-        การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การสั่งสมประสบการณ์ ความคิดที่เป็นเลิศ แนวทาง หลักการในการทำงาน จนเกิดทฤษฎีของตนเองขึ้น ทั้งสองท่านสามารถทำได้และประสบผลความสำเร็จ เป็นตัวอย่างให้แก่บุคคลรุ่นหลังสามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่จะดำเนินรอยตามได้เป็นอย่างดี

-        การใช้ชีวิต ของบุคคลทั้งสองท่าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว หรือเรื่องงาน และทางสังคมจะเห็นได้ว่าไม่มีมลทิน มัวหมอง แต่ในทางกลับกันจะมีชื่อเสียงและคุณงามความดีตลอด ดังเป็นปรากฏตามสื่อต่างๆ

 

ความแตกต่าง

-        บุคคลทั้งสองท่านในการทำงาน ศ.ดร. จีระ จะเน้นการทำงานแบบเชิงวิชาการมุ่งเน้นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำงานกันเป็นทีม ถ่ายทอดความรู้ที่ได้สั่งสมมาให้แก่บรรดาลูกศิษย์ ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ หรือมีตำแหน่งที่เป็นระดับผู้นำขององค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นสากลกว่าในองค์กรในประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากตำแหน่งของท่านปัจจุบันนี้ คือ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ   ส่วนคุณหญิง ทิพาวดี  เมฆสวรรค์ นั้น ทำงานลักษณะตัวบุคคล จะเน้นการทำงานตาม กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ตามที่รัฐบาลต้องการ และความรู้ความสามารถ ภาวะผู้นำ ของตัวท่านก็สามารถไปบริหารการจัดการ ในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆที่ท่านบริหารได้มีคุณภาพเป็นอย่างดี

-        ศ.ดร. จีระ ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง และไม่อิงทางการเมือง สามารถที่จะวิจารณ์นักการเมืองหรือพรรคการเมืองอย่างตรงไปตรงมา ส่วนคุณหญิง ทิพาวดีฯ จะต้องอิงทางการเมืองอยู่บ้าง เพราะตำแหน่งต่างๆที่ได้มานั้นจะต้องอิงทางการเมืองซึ่งแต่ละยุคสมัยรัฐบาลจะแตกต่างกัน

 

 

คุณลักษณะความเป็นผู้นำ และจุดอ่อนจุดแข็งของนักศึกษา

            ตัวข้าพเจ้า ปัจจุบันทำงานรับราชการเป็นตำรวจ ในระดับชั้นประทวน ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับผู้ปฏิบัติการ ในการปฏิบัติหน้าที่นั้นต้องรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาตามสายงานระบบราชการ ซึ่งจะไม่ค่อยได้ออกความคิดเห็น ส่วนในความเป็นผู้นำนั้น ข้าพเจ้าได้เรียนรู้และจดจำทฤษฎีทางวิชาการจากเมื่อวันเสาร์ที่ 16 ก.พ. 51ที่ผ่านมา มีเนื้อหาดังนี้ ......ถึงไม่มีตำแหน่ง แต่ได้สั่งสมความดีไว้และแสดงผลงานอย่างต่อเนื่องก็สามารถจะเป็นผู้นำได้.....  ซึ่งทฤษฎีนี้จะตรงกับหน้าที่การงานและการปฏิบัติหน้าที่ของข้าพเจ้าอย่างแท้จริง และจะปฏิบัติตัวดังนี้.-

-        ไม่เอาเปรียบสังคม และเพื่อนร่วมงาน ไม่ว่าจะอยู่ในเวลางานหรืออยู่ในสังคมต่างๆ

-        ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นเสมอ

-        เอาใจเขามาใส่ใจเรา

-        กระทำในสิ่งที่ถูกต้องและกล้าตัดสินใจ

-        ยอมรับในสิ่งที่ตนเองกระทำลงไปไม่ว่าจะผิดหรือถูก

-        จะไม่เป็นภาระแก่สังคม

-        มีคุณธรรมและจริยธรรม

 

จุดด้อย

- รู้สึกผิดหวังเมื่อเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชาไม่ให้ความเป็นธรรมแล้วแสดงอาการภายนอกออกมา ทำให้ควบคุมสติของตนเองไม่ได้ ทำให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรง

           

                       

นางสาว อมเรศวร์ พฤฒปภพ รปม.รุ่น4

ข้อที่ 1    วิเคราะห์จากหนังสือเรื่องสองพลังความคิดชีวิตและงาน จากที่ศึกษามาทำให้เห็นถึงความคล้ายคลึงของทั้งสองท่าน นั้นคือมีการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่นไม่ว่าท่านทั้งสองจะคิดในกรอบหรือนอกกรอบมากน้อยเพียงใดก็ตามย่อมไม่มีวันที่จะละทิ้งคุณธรรม จริยธรรม ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจากทฤษฎี 8k หรือ 8H เมื่อศึกษาแล้วเป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุดขององค์กรจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการคนนั้นเองทั้งสองจึงมุ่งเน้นแสวงหาความเก่งจากคนปลูกฝังความเป็นเลิศในคนเก่งนั้นต้องควบคู่กับการเป็นคนดี มีคุณธรรมและจริยธรรม

ข้อที่ 2    ลักษณะความเป็นผู้นำของตนเอง

จุดแข็ง

1.       ทำงานเป็นทีม

2.       ตรงต่อเวลา

3.       ให้เกียรติผู้ร่วมงาน

4.       สนุกสนานเป็นมิตรกับทุกคน

5.       ละเอียด รอบคอบ

6.       ซื่อสัตย์

7.       มีความรับผิดชอบสูง

จุดด้อย

1.       เป็นคนอารมณ์ร้อนในบางครั้ง

2.       เป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออกต่อหน้าสาธารณชน

น.ส.หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001

เรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ข้อ1.จาการสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จากเรื่อง 2พลังความคิดชีวิตและงาน ทั้งสองท่านเป็นความเหมือนที่แตกต่างแต่มีความลงตัวกันอย่างไม่น่าเชื่อ หากจะมองเพียงผิวเผินทฤษฎีของทั้งสองท่านมีความคล้ายกันมาก ทั้งยังมีการเปรียบเทียบกันโดยศ.ดร.จีระ ยิ่งทำให้มองเห็นความแตกต่างไม่ออก  จะเห็นความแตกต่างก็เพียงบางข้อที่ ศ.ดร.จีระได้พูดไว้เท่านั้น คือข้อ สุขภาพดี /ทุนด้านสารสนเทศ แต่เมื่อกลับมาอ่านทบทวนกลับพบว่าถึงแม้ทฤษฎีจะคล้ายกันแต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ยกตัวอย่างเช่น การได้มาซึ่งทฤษฎี คุณหญิงทิพาวดี ได้ทฤษฎีมากจากการอ่านหนังสือเรื่อง 7 Habit แล้วก็นำเอาความรู้และประสบการณ์ที่สะสมมานำมาพัฒนากลายเป็นทฤษฎีใหม่  ส่วนศ. ดร.จีระ สร้างทฤษฎีขึ้นมาจากความเข้าใจ จึงทำให้สามารถถ่ายทอดทฤษฎีให้ผู้อื่นได้เข้าใจง่าย และสามารถเปรียบเทียบและวิเคราะห์ทฤษฎีของผู้อื่นให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่เห็นความแตกต่างได้ชัดอีกข้อหนึ่งคือวิธีคิดของท่านทั้งสองไม่เหมือนกัน เปรียบเทียบจากการอธิบายถึงลักษณะผู้นำ ที่ทั้งสองท่าได้อธิบายไว้ คุณหญิงทิพาวดี ได้อธิบายว่าผู้นำ คือผู้ที่รอบรู้ในทุกเรื่อง มีความสามารถ และฉลาด ส่วนศ.ดร.จีระ ได้อธิบายถึงความหมายของคำว่าผู้นำอีกแบบว่า ผู้นำคือคนที่สามารถทำให้คนมาทำงานร่วมกันและสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งเหมือนกับที่ ศ.ดร.จีระ สอนพวกเรานั้นก็คือ ผู้นำคือนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มิใช่พหูสูตร ดังที่ ศ.ดร.จีระ ได้ยกคำกล่าวของท่านผู้รู้ท่านอื่นมาอธิบายให้เราเข้าใจ ซึ่งท่านไม่ได้บอกว่าท่านเก่งเสียทุกเรื่อง ศ. ดร.จีระ ทำให้เรารู้ว่าเราสามารถเป็นผู้นำได้ทุกคนโดยไม่ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ดังปราช์ญ หากแต่เราสามารถเข้าใจและนำทฤษฎีของท่านมาปรับใช้ และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเราก็สามารถเป็นผู้นำได้ ข้อ 2. คุณลักษณะ หรือ จุดแข็งในตัวเรา คือ เป็นคนมีความรับผิดชอบ จริงใจต่อผู้ร่วมงานทุกคน มีอารมณ์ขัน มีทัศนคติที่ดีกับผู้ร่วมงาน และกับคนทั่วไป เป็นคนค่อนข้างรักษาคำพูด มีน้ำใจ จุดอ่อนคือ ไม่กล้าตัดสินใจและไม่แน่ใจในการตัดสินใจไปแล้ว  ใจอ่อน

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

เจริญพรท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พร้อมทั้งคณะ (พี่เอ้ พี่นะ พี่เอ๋) และชาว รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทาทุกท่าน  

จากการรับชมรับฟังการสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ แล้ว ทำให้ได้เกิดแนวคิดที่หลากหลาย จากการรับฟังครั้ง จะเห็นได้ว่า ท่านทั้งสองได้มองและก็เน้นถึงคุณค่าของคนเป็นหลักด้วยกันทั้งสองท่าน และต่างก็คิดทฤษฏีต่าง ๆ ผ่านกระบวนการคิดและทดลองมาก็มากจนกลายมาเป็น ทฤษฏีของตนเอง คือ  ทฤษฏี 8 K's  ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และก็ ทฤษฏี 8 H's ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ซึ่งเป็นความเหมือนในความต่างที่ปฏิเสธไม่ได้เลย เพราะว่าท่านทั้งสองสามารถคิดค้นทฤษฏีขึ้นมาใช้เองและประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนบ้าง และองค์กรอื่น  ๆ บ้าง ฯ

         ในความเหมือนกัน คือ ท่านทั้งสองได้รับการอบรมบ่มเพาะมาอย่างดี และมีสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น เป็นจุดเริ่มที่ทำให้ท่านทั้งสองมีแนวคิดที่อยู่ในกรอบของคุณธรรมและจริยธรรม และที่สำคัญคือในขณะที่ได้รับตำแหน่งทางการบริหารท่านทั้งสองก็มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร และมองทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่สุด มนุษย์เป็นสิ่งมีค่าในองค์กร ซึ่งต้องได้รับการเอาใจใส่อย่างจริงจัง ทั้งในระดับองค์กรหรือหน่วยงานใหญ่น้อยก็ตามที เพราะความเจริญก็เกิดจากคน คนเป็นผู้สร้าง และในขณะเดียวกันเอง ความเสื่อมก็เกิดจากคนได้เช่นเดียวกัน รวมความว่า คนเป็นทั้งผู้สร้างและทำลาย ฯ ท่านทั้งสองก็เคยบริหารงานมาหลายระดับ และ ก็ผลักดันคนภายในองค์กรให้เป็นผู้ขวนขวายในการแสวงหาความรู้อยู่ทุกเมื่อ ทุกขณะ โดยเริ่มต้นก่อนอันดับแรกคือสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในระดับครอบครัว และระดับองค์กร ฯ

       ในความแตกต่างของทั้งสองท่านแน่นอนว่า ที่อาตมาจะมองและบอกกล่าวโดยท่านทั้งหลายที่ได้อ่านจะปฏิเสธไม่ได้เลยแม้แต่คำเดียว ก็คือ เรื่องเพศ  ท่านทั้งหลายว่าจริงไหม หรือว่า จะค้านก็ได้นะ เพราะว่าอะไรคงไม่ต้องอธิบายมาก หรือจะอธิบายก็ได้เผื่อไม่มีใครทราบ คือ ศ.ดร.จีระ เป็นสุภาพบุรุษ (เพศชาย) ส่วนคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เป็นสุภาพสตรี (เพศหญิง) จ๊ะ ฯ แต่ในความต่างนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไรเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นผู้บริหารในระดับต่าง ๆ เพราะว่าปัจจุบันนี้ ความทัดเทียมกันระหว่างเพศชายกับเพศหญิง มีความเสมอภาคกันมากในสมัยปัจจุบัน จริงอยู่แต่ก่อนเก่า เราท่านทั้งหลายอาจมองว่าเพศหญิงอ่อนแอ หรือ เป็นได้แค่แม่ศรีเรือน แต่ในปัจจุบัน ไม่ใช่เช่นนั้น ทุกคนมีความเท่าเทียมกันหมด และท่านทั้งสองก็มองเช่นนั้นหมือนกัน (2 พลังความคิดชีวิตและงานหน้า 27) ฯ และในความต่างอีกหลายประเด็นเช่น ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์โดยตรงและผ่านงานด้านนี้มามากกว่า คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และเป็นผู้ถือธงนำหน้า เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันแท้ อย่างจริงจังโดยเฉพาะงานชิ้นหนึ่งที่ถือว่าเป็นบทบาทที่นับว่าเป็นเกียรติแก่ท่านด้วยและแก่ประเทศชาติของเราด้วย คือ ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปก(Lead Shepherd of APEC HRD) และได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เป็นผู้ก่อตั้งและอยู่ในตำแหน่งนานถึง 16 ปี)ท่านได้ต่อสู้มามากถึงสามสิบกว่าปี กับการได้สั่งสมอบรมความรู้มา ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน อยากถามเองตอบเองว่า ทำไมท่านถึงได้ต่อสู้ถึงเพียงนี้ ก็คงจะตอบแทนท่าน ว่า เพราะความสุขไง ความสุขที่ได้ทำ ความสุขที่เกิดจากการทำงานและทำงานที่ท่านรักที่ท่านชอบ ความสุขเกิดจากการเป็นผู้ให้ ให้ในสิ่งที่คนหลาย ๆ คนไม่มีโอกาส เช่นให้ความรู้ ให้ทุนทางปัญญา เหมือนกับที่ท่านให้เราทั้งหลาย ชาว รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทานี้แหละ ซึ่งท่านกำลังให้  หลังจากท่านให้และปลูกฝังทุนทางปัญญานี้แล้ว ความรู้หรือทักษะต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมา ในเมื่อเกิดทักษะต่าง ๆ ขึ้นมา ก็นับว่า ทัศนคติที่ดี ที่งามย่อมเกิดเป็นผลตามมาเรื่อย ๆ และมิใช่ว่าเฉพาะเพียงเท่านี้นะ ที่เราทั้งหลายจะได้ แต่จะได้อะไรบ้างนั้น อาตมาไม่ทราบ แต่อาตมาคิดว่าตัวอาตมาได้และตัวอาตมาเองที่รู้ ส่วนท่านทั้งหลายก็ได้ในส่วนของท่านเอง และตัวท่านเองเท่านั้นที่รู้ ไม่มีใครบอกท่านได้ว่าท่านได้อะไรบ้าง เหมือนกับที่ท่านอาจารย์จีระ ถามเราว่า ท่านได้อะไร จากการฟัง จากการอ่าน จากการชมวีดิทัศน์นี้บ้าง เหล่านี้ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ชัดอยู่แล้วฯ  ในส่วนของคุณหญิงทิพาวดีนั้น ท่านจะให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยปลูกฝังจากสถาบันครอบครัว เป็นหลัก ประยุกต์มาใช้กับองค์กร โดยหลังจากการเข้ามาทำงานในกระทรวงวัฒนธรรมท่านก็มุ่งเน้น ทำงานที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์กับกระทรวงอย่างมาก ในจุด ๆ นี้เป็นจุดเริ่มของบทบาทผู้บริหารในอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งท่านก็ทำหน้าที่ได้ดี เช่นกัน ฯ

       แต่บนเส้นทางของความต่าง สุดท้ายปลายทางก็มาบรรจบพบกัน คือ เส้นทางสายมนุษย์ (มิใช่เส้นทางสายแฟน)ซึ่งท่านทั้งสองก็มุ่งเน้นและจริงจังกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพที่ทัดเทียมกันในเรื่องของความรู้สึกนึกคิด หรือพฤติกรรมการกระทำต่าง ๆ เพื่อให้เป็นคนเก่ง เป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเรียนรู้มิได้อยู่ที่ว่าเขาเป็นใครหรือว่ามาจากไหน ถ้าเขาทำได้ ถ้าเขาคนนั้นมีความสามารถพอ ท่านทั้งสองก็พร้อมที่จะให้โอกาศเสมอ การให้วัตถุสิ่งของเป็นอามิสทานก็เป็นการให้อีกอย่างหนึ่งที่เราพบเห็นกันบ่อยนักต่อนัก แต่การที่จะให้โอกาศคนนี้สิ ช่างเป็นเรื่องที่ยากเย็นกว่า แต่ท่านทั้งสองก็มุ่งที่จะให้และให้จริง ฯ

ขอเจริญพร ฯ

      ในความเป็นผู้นำของอาตมาที่อาตมานั่งแต่งเรื่องได้นั้น มีดังต่อไปนี้

(เรื่องจริงผ่านบล๊อก)

เนื่องจากอาตมภาพรับหน้าที่สอนสามเณรในสำนักเรียนก็มีบทบาทหน้าที่ในการร่วมบริหารส่วนหนึ่งคอยดูแลสามเณรที่อยู่ในสำนักเรียนก็อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งในขณะที่ดูแลสามเณรนั้น ก็ต้องมีพระเดช และก็พระคุณด้วยทั้งสองอย่าง ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งนับว่าไม่ดีแน่ เนื่องจากสามเณรแต่ละคนความประพฤติไม่เหมือนกัน ดีบ้างไม่ดีบ้างปนเปกันไป ซึ่งในลักษณะต่าง ๆ ที่พบเห็น ก็ต้องคิดหามาตรการมารับมือกับเรื่องเหล่านี้ เนื่องจากอาตภาพเองก็เคยเป็นสามเณรมาก่อน เพราะจบ ป.6 ก็บวชเรียน และก็มาบวชพระต่อโดยไม่สึก จนถึงปัจจุบันนี้ จากประสบการณ์ที่ได้พบมาตั้งแต่บวช ก็ย่อมรู้ว่าภาวะสามเณรในแต่ละรุ่นแต่ละวัยนั้นเป็นอย่างไร ส่วนนี้ก็เป็นประโยชน์อย่างมากในการปกครองสามเณร  เหมือนกับรู้เขารู้เรา 

       และวกมาในส่วนของรูปแบบภาวะผู้นำที่มีในตัวอาตมาก็คือ กับปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้น อาตมาภาพทนได้กับทุกสภาพที่ได้ภพ เช่น เมื่อทราบว่าสามเณรทำผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะร้ายหรือว่าจะเบาก็ตามแต่ ความนิ่งต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก จะไม่เดือดดาล จนทำให้เกิดอารมณ์โกรธ และเรียกมาทำโทษในทันที ก็จะอาศัยความนิ่ง และพิจารณาโดยถี่ถ้วน โดยการเรียกสามเณรมาถาม ว่า ทำอะไรมา ที่ไหน เมื่อไร กับใคร แล้วที่ทำนั้น ผิดหรือว่าถูก แล้วรู้ไหมว่าผิดหรือว่าถูก แล้วถ้าผิดอย่างนี้แล้ว ยอมรับไหมว่าตัวเองผิด เป็นต้น ในเมื่อเขารับผิดถึงจะลงโทษ นี้คือรูปแบบของการปกครองที่อาตมภาพยึดถือ เพราะคิดว่า การจะเป็นผุ้นำไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม ต้องไม่หูเบา เชื่อคำกล่าวขานง่าย ๆ ตัองหนักแน่นพอ และต้องมีหลักของเหตุและผล พิจารณาร่วมกัน ฯ และในเวลาที่อาตมาสอนหนังสือ ก็จะถามสามเณรเสมอว่า ที่อาจารย์กำหนดให้ดูมากไปไหน ไหวไหม ถ้าไม่ไหว แล้วสามเณรจะดูได้สักเท่าไร บอกอาจารย์มานะ เช่นนี้ ด้วยการทำเช่นนี้เอง อาตมามองว่าสามเณรนั้นยังเด็กและความนึกคิดยังไม่มากพอ ก็จะกำหนดให้ดูหนังสือตามความสามารถที่เขาจะทำได้ จะไม่บังคับ ในการทำการสอนนั้น ก็จะอาศัยหลักการมีส่วนร่วม และความสามัคคืในหมู่ โดยที่อาตมาก็จะกำหนดกลุ่มให้สามเณรขึ้นเรียนพร้อมกัน เลิกพร้อมกัน ขณะที่เขาจะมาท่องหนังสือให้อาตมาฟังนั้น ก็จะมาพร้อมเพรียงกัน จะหายคนหนึ่งคนใด ไม่ได้ เขาก็จะเกิดความพร้อมเพรียงกัน เพราะถ้าหาว่าคนใดคนหนึ่งหาย ที่เหลือในกลุ่มต้องถูกทำโทษด้วย แล้วแต่กรณีว่าจะลงโทษอย่างไร ถ้าหากคนในกลุ่มทำผิด ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเรียนก็เช่นกัน คนที่เหลือในกลุ่มก็ต้องลำบากด้วย ใครขึ้นเรียนสาย คนในกลุ่มต้องตามทันที ฯ นี้เป็นมาตรการที่รับมือกับสามเณร ผลที่ได้รับหลังจากได้วางกฏนี้ไว้ก็เป็นที่ประทับใจมาก และ อาตมาถือว่า การลงโทษหรือการวางมาตรการแบบนี้ เป็นการฝึกสามเณรให้มีระเบียบต่อตัวเองและต่อกลุ่มของตน สิ่งเหล่านี้เขาจะขื่นขมในตอนต้นแต่ต่อไปในอนาคตเขาจะมองเห็นคุณค่าด้วยตัวเขาเอง ซึ่งอาตมาก็ทำด้วยความหวังดีต่อเขาทั้งนั้น ฯ

ภาวะผู้นำหลัก  ๆ  ของข้าพเจ้า คือ

  • สภาพกายเยือกเย็น สุขุม ลุ่มลึก (น่าค้นหา)
  • ค้นหาเหตุและผลที่จะตามมาก่อนทำ (ไม่ได้ป๊อด? แต่รอบคอบ)
  • ยามมีเรื่องชอบถามหาเหตุผลว่า ทำไม ทำ ๆ ไม เพราะอะไร ฯ
  • ให้โอกาศทุกคนที่มีคำอธิบาย ฯ
  • รับฟังความคิดเห็นคนอื่นเสมอ ถ้าเขาแสดงออกมา (ไม่แสดงออกมาถามเองก็ได้)
  • คิดก่อนทำ ทำหลังคิด ย่อมพิชิตชัย
  • ฯ ล ฯ อื่น ๆ...................

        ในส่วนที่ขาดหรืออาตมภาพไม่มีนั้นคือ อำนาจการตัดสินใจในบางเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนรวมถึงการพิจารณาคุณสมบัติบางประการของสามเณร เช่นเวลาเรียนของสามเณรรูปใดไม่เพียงพอก็รายงานอาจารย์ใหญ่ รายงานไปก็หายเงียบ หรือมีการเรียกไปตักเตือนแล้วก็หายกัน เดือนต่อมาก็ทำอีก ซ้ำๆ ซากๆ อยู่เช่นนี้  เพราะในการสอนนั้นก็เพียงแต่สอนเท่านั้น และ อำนาจการพิจารณาส่วนนี้เราไม่มี เพราะเหตุนี้ที่ทำให้สามเณรได้ใจ หรือไม่เกรงกลัว (แต่อาตมาก็แอบแนะนำให้ออกจากวัดหลายรูปแล้วโดยสันติวิธี่ คือฝ่ายสามเณรเองก็ยินยอม เราก็ยินดีกับเขาด้วย) เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ (อ่านต่อฉบับหน้า) จ๊ะ 

หมายเหตุ.....นี้เป็นสำนวนสด ๆ ไม่ได้ผ่านการดัดแปลงสำนวนแต่อย่างใด หากผิดพลาดประการใด ก็เจริญพรขออภัยท่านอาจารย์ และ พี่ ๆ เพื่อน ๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย ฯ เจริญพร

ข้อที่ 1 ได้ความรู้อะไรจากการสนทนาระหว่าง  ดร. จีระ และ คุณหญิงทิพาวดี

เนื่องจากทฤษฎีของทั้ง 2 ท่าน และจากประสบการณ์ของทั้ง 2 ท่าน คิดว่าได้ให้ความสำคัญมากต่อการพัฒนา คน  พัฒนาให้องค์กร ได้มีคนที่มีประสิทธิภาพ ให้มีบุคลากรที่ดีมาพัฒนาองค์กร สังคม และประเทศชาติ การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับคน แนวทางของคุณหญิงทิพาวดี จะเน้นการปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จในชีวิต ทำงานอย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ ส่วนท่าน ดร. จีระ จะเน้นเรื่องการที่มีทุนมนุษย์ จะต้องทันต่อเทคโนโลยี ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดกระบวนการคิด คิดเป็น  คิดให้ไว กล้าที่ตัดสินใจ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 ทฤษฎี ของคุณหญิงทิพาวดี และ ดร. จีระ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน องค์กร และชีวิตประจำวัน ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างไม่ประมาท มีความคิดเชิงบวก

ข้อที่ 2 บอกลักษณะผู้นำ มีอะไร ที่ตัวเรามี มีข้อด้อยอะไรบ้าง

1.      มีความรับผิดชอบ

2.      กล้ายอมรับความล้มเหลว

3.      มีวิสัยทัศน์

4.      ยุติธรรม

5.      มีจิตใจเมตตา

6.      ซื่อสัตย์

7.      ตรงต่อเวลา

8.      มีความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ

 

 

1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน
            จากการที่ได้อ่านและได้รับชมวีดีทัศน์  ทำให้ทราบถึงความมุ่งมั่นในการทำงานความจริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   การพัฒนาตนเองให้ทันกับกระแสโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต    ซึ่งมีอาชีพเป็นข้าราชการเสียส่วนใหญ่ถือว่าเป็นวัยกำลังทำงานเป็นทรัพยากรมีคุณค่าต่อองค์กรและประเทศชาติในอนาคต
ทั้งสองท่านมีความเหมือนในความแตกต่าง ดังนี้
ความเหมือน  ทั้งสองท่านมีความเชื่อที่เหมือนกันคือคน เป็นทรัพยากรที่มีต่อองค์กร   มีเป้าหมายและเป็นแบบอย่างในการพัฒนาบุคลากรที่เหมือนกัน    เป็นผู้คิดจริงทำจริงมีความมุ่งมั่นในการทำงาน   ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ทันยุคทันสมัยนำเทคโนโลยีมาใช้  มีทฤษฎีพัฒนาคนคือ “8 H’s”  และ "8 K’s”    เน้นการทำงานเป็นทีม  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเปิดโอกสาให้แสดงความคิดเห็น    กระตุ้นให้คนให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา   มีครอบครัวเป็นต้นแบบในการการศึกษา   การทำงาน   การดำเนินชีวิต   เน้นการพึ่งพาตนเอง  มีข้อมูลที่เป็นจริงและพิสูจน์ได้  ไม่สนใจงานด้านการเมือง  เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน   มีทักษะในความเป็นผู้นำ ( Leadership)  อย่างแท้จริง  ไม่ลืมความเป็นตัวตน  มีความเชื่อที่ถูกต้องและมีเหตุผล  มีความภาคภูมิใจงานที่ทำไม่ยึดติดกับตำแหน่งและอำนาจใดๆ
ความต่าง  มีเป้าหมายในการทำงานที่แตกต่างกัน  ท่านอาจารย์จีระ ได้รับการยอมอย่างแพร่หลายว่ารับเป็น Guru  ในเรื่องทรัพยาการมนุษย์อย่างแท้จริง  มีความเป็นมืออาชีพในการพัฒนาบุคลากรมากกว่าอันจะเกิดจากประสบประการณ์ที่แตกต่างกัน ท่านอาจารย์จีระจะเน้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และสื่อต่าง ๆ ในการให้ความรู้กับบุคคลทุกกลุ่มทุกวัยที่สนใจ   แต่คุณหญิงทิพาวดีจะเน้นการให้ความรู้เฉพาะในองค์กรที่ปฏิบัติงาน   และมีการหาความรู้และถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบที่แตกต่าง
2.  Character ที่เป็นจุดแข็งของตัวเอง  ทักษะ  บุคลิกภาพที่มีอยู่คืออะไร  ทักษะ  บุคลิกภาพที่ไม่มีแต่ควรจะมีคืออะไร     
  จากการที่ได้รับความรู้จากท่านอาจารย์จีระในครั้งที่สองที่มีหัวข้อในการเรียนที่ว่าภาวะผู้นำในยุคโลกที่เปลี่ยนแปลงท่านอาจารย์ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้หลักของท่านอาจารย์ทำให้สมองของพวกเราคิดอยู่ตลอดเวลา  และเกิด Trust ในตัวท่านเองว่าเราก็คิดเป็นและกล้าแสดงออกจุดแข็งเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานชอบทำงานที่ท้าท้ายอยู่เสมอ ชอบการเรียนรู้  ปรับตัวเองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงขององค์กรและของโลก  มีการตัดสินใจแก้ปัญญาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานและการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุและผล  
เน้นการทำงานเป็นทีมเนื่องจากเราไม่สามารถจะทำงานหรือประสบความสำเร็จได้เพียงลำพังยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกคนในที่ทำงาน  แต่สิ่งที่ยังขาดคือทักษะการเจรจาต่อรองซึ่งจำเป็นมากในการทำงานเนื่องจากจะมีกลุ่มบุคคลมาติดต่อที่หน่วยงานเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลายของทางด้านอาชีพ

 

นายสุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014

อะไรเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง

ตอบ  การเปลี่ยนแปลง (change) เป็นกิจกรรมที่ท้าทายการบริหารงานมากที่สุดประการหนึ่ง คือ การเปลี่ยนแปลง (change) ให้ปัจจัยต่างๆเหล่านั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ปัจจัยที่มีความละเอียดอ่อนสูงจะเปลี่ยนแปลงได้ยากที่สุด ส่วนปัจจัยที่มีความชัดเจนสูงกลับเปลี่ยนแปลงได้ง่ายที่สุด เช่น กลยุทธ์ (strategy) โครงสร้างระบบต่างๆ (systems), การจัดคนเข้าทำงาน (staffing), ทักษะของบุคลากร (skills), สไตล์การทำงาน (style), และคุณค่าร่วมกัน (shared value) ของสมาชิกในองค์กร

            นอกจากนี้ ผู้บริหารมักพบว่าองค์กรที่มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสูง (Highly Adaptive Organization) มักมีลักษณะร่วมกันบางประการ ได้แก่ค่านิยมในการปรับตัวเพื่อให้มีผลงานดีที่สุดอยู่เสมอ เน้นการทำงานเป็นทีม ให้ความสำคัญกับบุคคล 3 กลุ่ม (บุคคลภายนอก) เช่น ลูกค้า, คู่แข่ง, และผู้ที่อาจเข้ามาเป็นคู่แข่งขององค์กร

            องค์กรที่ไม่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (Non Adaptive Organization) มักให้ความสำคัญและค่านิยมกับประเพณีและแนวทางที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ให้ความสำคัญเป็นอย่างสูงกับบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ระหว่างลูกค้า, พนักงาน, หรือผู้ถือหุ้น เพียงกลุ่มเดียว

            อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากขึ้นอยู่กับประเภทของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และลักษณะขององค์กรแว ยังมีปัจจัยอีก 2 ประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง หากผู้บริหารสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเหมาะสมแล้ว ย่อมทำให้การเปลี่ยนแปลง และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติปะสบผลสำเร็จตามที่ประสงค์ ได้แก่ ภาวะผู้นำ (Leadership) และการจูงใจ (motivation)

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (Leadership)

            ภาวะผู้นำ มีบทบาทสำคัฯเป็นอย่างยิ่ง ในการเปลี่ยนแปลง (change) ให้ปัจจัยทั้ง 7 ประการ ข้างต้นมีการประสานสอดคล้องกัน ผู้นำ จำเปนต้องทราบว่าตนมีอำนาจอะไร และควรใช้อำนาจด้วยใดในการเปลี่ยนแปลงตามที่กำหนด

2. การจูงใจ(Motivation)

            การจูงใจ หมายถึง การทำให้บุคคลยินดีปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินี้การจูงใจมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากกรณีที่องค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ใหม่และนำไปปฏิบัติ ย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจสร้างความไม่พอใจให้กับบุคลากรในองค์กรไม่พอใจและไม่สอดคล้องกบความคาดหวังของหลายคนในองค์กร ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการจูงใจ ให้ผู้ให้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนด

อ. ประกาย  ชลหาญ

 

บทความ “ 2 พลังความคิด ชีวิตและงาน”  ระหว่างคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ผู้นำสตรี ผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตราชการ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทยให้ก้าวไกลบนเวทีโลก

ตอบ  คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ มีทฤษฎีนักบริหาร 8 H’s ซึ่งเป็นรากฐาน พฤติกรรมมนุษย์ของชีวิต เช่น

-          Heritage คือ มรดก อันมีความหมายถึงมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตคน ที่มีการสะสมความรู้ภูมิปัญญาของเผ่าพันธุ์ มีจารีตประเพณี สืบทอดกับมาอย่างยาวนาน

-          Head สมอง (คิดเป็น คิดดี) ทุนทางปัญญา เป็นการเพิ่มคุณค่าในตัวเองให้รู้จักใช้สมองคิด ใช้สมองวิเคราะห์ใช้เหตุผล ในการเปลี่ยนแปลงให้ทันตามสภาพแวดล้อมของโลก

-          Hand ทำงานด้วยฝีมือของตนเอง คือ เราทำได้ด้วยความรู้ความสามารถของตนเอง จะเป็นอาชีพใดก็ได้

-          Heart จิตใจที่ดี ภาวะผู้นำ จะต้องกระบวนการทัศน์ นอกจากแรงกายแล้ว แรงใจจิตใจภายในกายจะต้องดีก้วย เป็นคนจิตใจดี โอบอ้อม อารีย์ กว้างขวาง เผือ่แผ่แก่ผู้ที่ด้วยโอกาสกว่างตนและเป็นที่รักของผู้ใต้บังคับบัญชา

-          Home บ้านและครอบครัว เป็นพื้นฐานทางสังคม สังคมจะดีมักจะมาจากคนในครอบครัวมีรักความอบอุ่น มีการฝึกอบรมสั่งสอนจากบ้านที่อบอุ่น สังคมรอบข้างดี พบแต่คนดี และอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอกดี หล่อหลอมให้ดีตลอด

-          Health สุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์ เป็นพลังทางกายที่สมบูรณ์สามารถทำงานครั้งละนานๆ โดยที่ไม่เหน็ดเหนื่อยและไม่แสดงให้เห็นถึงความทุกข์ยากของตน และสามารถ สู้งานหนักเบาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-          Happiness การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข แบบไม่ต้องไปเบียดเบียนใครมีความพึงพอใจที่ตนเองมี ทำมาหาได้แบบพอเพียง มองโลกในแง่ดี ทางศาสนาพระพุทธเจ้าสอนว่า “อพฺ พชา บชฺ สุข เลโถ” การไม่เบียดเบียนมาซึ่งความสุข

-          Harmony ความสมานฉันท์ การอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก ความคิดเห็นต่างๆ มักจะไม่ตรงกัน ต่างคนต่างมา ความขัดแย้งและความไม่พึงพอใจริษยากันในการกระทำต่างๆ ที่ไม่ก่อประโยชน์รวมกันมีทุกหนทุกแห่งบนโลกในบี้การอยู่ร่วมกันอย่างสงบต้องมีกติกาสังคม มีวินัยเป็นตัวขะงเคลื่อน

ในส่วนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีทฤษฎีของการเพิ่มค่าในเรื่องทุนมนุษย์ Human capital หลักกร 8 K’s เป็นหลักการทางสากลชาติตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางการบริหารพฤติกรรมศาสตร์ของมนุษบ์ทั่วไปคือ H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เช่น

-          ทุนมนุษย์ (Human capital)

-          ทุนทางปัญญา (Intellectual capital)

-          ทุนทางวัฒนธรรม (Ethical capital)

-          ทุนแห่งความสุข (Happiness capital)

-          ทุนทางสังคม (Social capital )

-          ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability capital)

-          ทุนทางเทคโนโลยี (Digital capital)

-          ทุนทางความรู้ (Talent capital)

ไม่ว่าจะทฤษฎีพัฒนามนุษย์ 8K’s หรือทฤษฎีนักบริหาร 8H’s ที่สำคัญที่สุดคือ “คน”

อ. จีระ หงส์ลดารมณ์

 

2. คุณลักษณะเฉพาะภาวะผู้นำ ของข้าพเจ้า (Trust)

            คุณลักษณะพาะของผู้นำแต่ละคนจะแตกกันออกไป จากการคิดและถามตัวเองอยู่เสมอ คนอื่นไว้วางใจในตัวเองมากน้อยเพียงใด (Strange) ทำให้แง่คิดได้หลายแนวว่าจุดแข็งและจุดอ่อน (strange and weak) ในตัวเกิดจากอะไรและจะต้องปรับปรุงคุณลักษณะ เฉพาะของตนในด้านต่างๆคือ

-          คุณลักษณะทางความคิดและสติปัญญา (conceptual) คือสามารถคิด วิเคราะห์และคาดการณ์ได้อย่างเป็นระบบบ้าง ไม่ได้บ้าง

-          คุณลักษณะทางความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (interpersonal characteristics) มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

-          คุณลักษณะทางด้านการทำงาน (Technical characteristics) เป็นผู้ใส่ใจศึกษางาน ให้สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหางานที่เกิดขึ้นได้ และถ่ายทอดสอนงานผู้อื่นได้

-          คุณลักษระทางส่วนตัว (Personal characteristics) โดยทั่วไปเป็นผู้ถ่อมตน เกรงใจผู้อื่นเสมอ ที่เป็นจุดอ่อนของตัวเอง มีความมั่นคงทางอารมณ์เก็บความรู้สึกในโอการอันสมควร รักษาความลับ มีความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยาน มีความรอบคอบ มีความกระตือรือร้น และมีความมุ่งมั่นตั้งใจไม่ย่อท้อ และมีความเสมอต้นเสมอปลาย รักใครรักจริง เป็นจุดแข็ง (strange) ของข้าพเจ้า เป็นต้น

-          คุณลักษณะทางกายภาพ (Physical characteristics) เช่น อายุจะสูงไปนิด ผิวดำไปหน่อย พูดจาตรงๆ ไม่อ่อนหวาน แต่จิตใจดี ส่วนสูง (169)  พละกำลัง น้ำหนัก พอดี และโหงวเฮ้ง ลักษณะทางกายภาพ คิ้ว ตา หู จมูก ปาก โดยรวม ถ้ามองแบบผ่านๆก็พอใช้ได้ แต่ถ้ามองชนิดแพ่งเริง “ขี้เหร่” (เหมือน ครม.ชุดนี้)

-          คุณลักษณะทางพื้นฐานทางสังคม (Social characteristics) คือฐานะทางครอบครัว ชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล ประวัติการศึกษา ดีพร้อมทุกประการ และเชื่อสนิทว่า ถ้าข้าพเจ้ามีโอกาสทำงานการเมือง สามารถเป็นผู้นำทางการเมืองที่มีฐานะดี จะเปนประโยชน์กับบ้านเมือง แก้ปัญหาคอรัปชั่น (corruption ) มีฐานะแล้ว ไม่โกรธ

 

 

น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  รหัส  500380100015

ข้อ1.  เปรียบเทียบความเป็นผู้นำของ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

1. ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์  เป็นผู้นำแบบ  TRUST  เนื่องจากมีผลงานอย่างต่อเนื่อง  ส่วน

คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  เป็นผู้นำแบบ  AUTHORITY  เนื่องจากมีตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายรองรับ 

2. ทั้ง 2 ท่าน  มีทฤษฎีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานจริง 

ทำให้เข้าใจง่าย

3. ทั้ง 2 ท่าน  มีความตั้งใจจริงในการที่จะพัฒนาคน  ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ  และ

ทำเพื่อสังคมอย่างแท้จริง

4. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  เพื่อที่จะได้เข้าถึงบุคคลทุกระดับ

5. ทั้ง 2 ท่านเป็นผู้นำที่มีการพัฒนาตลอดเวลา  เพราะถือว่าในขณะที่พัฒนานั้นเป็นการ

เรียนรู้ร่วมกัน  อย่างคำกล่าวของอาจารย์ที่ว่า  life  long  learning  การเรียนรู้ตลอดชีวิต

6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของทั้ง 2 ท่านนั้น  เป็นการพัฒนา STYTLE  OBAMA

เพราะทำคนรู้จักคิด  และดึงความสามารถของตนเองออกมา

สรุปได้ว่า  บุคคลทั้ง 2 ท่าน  เป็นผู้นำ  และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ที่น่ายึดถือเป็น

แบบอย่างอย่างยิ่ง

 

ข้อ 2. Character  และทักษะ  ของข้าพเจ้า

Character

1. มีทัศนคติในเชิงบวก  รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

2. ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ  เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองตลอดเวลา

3. มีความรับผิดชอบ  เมื่อได้รับมอบหมายงาน  จะรีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว

4. ทำงานตามลำดับ  เมื่อได้รับมอบหมายงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน  จะมีการวางแผน

ก่อนว่า  สิ่งใดควรทำก่อนและหลัง  ตามลำดับความสำคัญ  เวลาที่กำหนด

                                5. เป็นคนมีเหตุผล  ชอบความถูกต้อง  ตรงไปตรงมา

ทักษะ  (SKILL)

1. มีการทำงานเป็นทีมในหน่วยงาน  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  เพื่อให้งานต่างๆ

บรรลุตามวัตถุประสงค์

2. ศึกษางานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้เกิดความชำนาญ

3. การตัดสินใจยังไม่เด็ดขาด  อาจเนื่องมาจากประสบการณ์ยังมีน้อย  และข้าพเจ้าทำงาน

เกี่ยวกับด้านการเงิน  ไม่ควรเกิดความผิดพลาด  จึงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบ้าง

 

 

น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์  รหัส  500380100005

ข้อ1.  เปรียบเทียบความเป็นผู้นำของ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

1. ศักยภาพความเป็นผู้นำในฝ่ายวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์  ทั้ง 2 ท่าน  สามารถ

ถ่ายทอดองค์ความรู้จากประสบการณ์  และความเชี่ยวชาญการสื่อสารเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นนำเอาความรู้ด้านทรัพยากรมนุษย์  ไปปรับใช้กับองค์กรได้อย่างสมบูรณ์ 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านจะทำงานเป็นทีม  ซึ่งทีมของท่านต้องยอมรับว่า  มีศักยภาพสูง

เนื่องจากทีมงานมีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป  เช่น  ภาครัฐ  และภาคเอกชน  คุณหญิง

ทิพาวดี  เมฆสวรรค์  ท่านจะทำงานโดยบังคับบัญชาตามสายงาน

2. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  เป็นผู้นำที่สามารถต่อยอด

ให้กับองค์กร  เนื่องจากท่านทั้ง 2  พยายามส่งเสริมให้บุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถ  แสดงถึงความสามารถของแต่ละบุคคลออกมา  เพื่อจะจะได้กระตุ้นให้บุคคลนั้นได้ทำงานตามที่ตนเองถนัด  เมื่อบุคคลากรทำงานที่ตนเองถนัด  ก็จะสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  องค์กรก็จะอยู่รอด  ประเทศชาติก็จะพัฒนาต่อไป  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านได้มีโอกาสมากกว่าคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  เนื่องจากท่านได้จัดสัมมนาอบรมผู้นำระดับสูงทั่วประเทศ  หลายองค์กรเห็นความสำคัญของท่าน  เนื่องจากท่านเป็นบุคคลที่ขับเคลื่อนให้องค์กรต่างๆ  และผู้นำระดับสูง  เห็นถึงความสำคัญของบุคลากรภายในองค์กร  โดยบางครั้งจะประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์  สื่อวิทยุ  สื่อโทรทัศน์  ซึ่งท่านจะได้สมาชิกและเครือข่ายอย่างกว้างขวาง   ทำให้เป็นที่รู้จักในสังคมการสื่อสาร

สุดท้ายถ้าข้าพเจ้ามีโอกาสเลือกได้  ข้าพเจ้าอยากเลือก  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิง

ทิพาวดี  เมฆสวรรค์  เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าพเจ้า  เนื่องจากท่านทั้ง 2  ต่างให้ความสำคัญ  และสนับสนุนด้านทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาศักยภาพ  และท่านทั้ง 2  อาจจะเปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าได้แสดงความรู้  ความสามารถด้านผู้นำ  เพื่อขับเคลื่อนองค์กรในการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง

 

ข้อ 2. Character  และทักษะ  ของข้าพเจ้า

Character

เป็นบุคคลที่มีความมั่นใจในตนเอง  เมื่อกระทำสิ่งใดก็จะต้องรับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ  เป็น

คนตรงไปตรงมา  ไม่ชอบคนหน้าไหว้หลังหลอก  การเจรจาชอบว่าด้วยเหตุและผล  คิดจะทำสิ่งใดก็จะต้องทำให้สำเร็จ  ไม่ว่าจะระยะสั้นหรือระยะยาว  เป็นคนที่ชอบเรียนหนังสือหรือฟังบุคคลที่มีความรู้มาถ่ายทอดให้ฟัง  จะมีความสุข  เพราะจะได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ  เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต  ไม่ชอบการทุจริต  เพราะการทุจริตเป็นสิ่งที่มนุษย์ผู้มีสติ  และปัญญาไม่พึงกระทำ

ups) หรือกลุ่มผลประโยชน์ (Interest  groups) และสื่อมวลชน (Mass  media) ซึ่งถ้าจะเขียนเป็นผังจะเห็นความสัมพันธ์ดังนี้คือ

 

 

ทักษะ  (SKILL)

                                ทักษะที่ข้าพเจ้ามีได้แก่  การบรรยายนำชมเครื่องราชภัณฑ์ต่างๆ  ภายในพระบรมมหาราชวัง  ภาคภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ  สามารถถ่ายทอดด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระที่นั่งต่างๆ  รวมถึงพระราชประวัติ  พระประวัติของเจ้านายหลายพระองค์

อีกประการหนึ่งข้าพเจ้าสามารถตัดสินใจในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ  โดยได้รับการยอมรับ

จากหัวหน้า  และเพื่อนร่วมงานทุกคน  ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิใจมาก  ทำให้ข้าพเจ้าอยากปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง 

ทักษะที่ข้าพเจ้าควรจะมีเพิ่มเติมคือ  ทักษะด้าน IT  เนื่องจากปัจจุบันการสื่อสารได้

เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  และต่อเนื่อง  ข้าพเจ้าอยากมีทักษะด้านการแก้ปัญหาด้านต่างๆ  จะได้นำมาใช้เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  และอีกหนึ่งทักษะที่ข้าพเจ้าอยากมีคือ  ทักษะการพัฒนาบุคลากร  เพราะข้าพเจ้าต้องการกระตุ้น  และพัฒนาคนในองค์กรของข้าพเจ้า  ในการปฏิบัติงานให้ไปสู่วิสัยทัศน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  รหัส  500380100010

ข้อ1.  เปรียบเทียบความเป็นผู้นำของ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  

1. อาจารย์สามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของ

หน่วยงาน  เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเป็นเรื่องของการแข่งขันในเรื่องเวลา  ประสิทธิภาพของการทำงาน  และความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสาร

2. ให้ความสำคัญของงานที่ทำ  และมีความตั้งใจที่จะเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่อไป  ไม่

ย่อท้อกับปัญหาที่จะต้องเผชิญ

3. ให้ข้อเท็จจริงในงานที่ทำ  เมื่อทีมงานไม่เข้าใจในเนื้องาน  ก็จะมีการโต้แย้งกันด้วย

เหตุผล

4. การรับรู้ในงาน  ตระหนักถึงความรู้สึกของทีมงาน  มีความรู้สึกที่ดีกับงานที่ทำ  และมี

ความสามารถที่จะต่อสู้กับปัญหาของงาน

5. อาจารย์จะส่งเสริม  และสนับสนุนทีมงาน  เมื่อมีโอกาสอย่างสม่ำเสมอ

6. มีการประนีประนอมเมื่อมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้นในงาน  และมีการลดความตึงเครียดด้วย

บรรยากาศภายในห้องทำงาน  โดยใช้ธรรมชาติเข้าช่วย

7. มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแก้ไขงานให้ถูกต้อง

คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์                          

1. มีการวางตัวที่เหมาะสม  และมีการตอบแทนหรือการให้รางวัล  เป็นไปอย่างยุติธรรมและ

จริงใจ  เป็นการให้กำลังใจด้วยคำชมในเวลาที่เหมาะสม

2. มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา  ค้นหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข  พร้อมทั้ง

ตัดสินใจแก้ปัญหา  โดยเลือกแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุด

3. มีความคิดริเริ่มอะไรใหม่ๆ  อยู่เสมอ  ไม่อยู่นิ่งอยู่กับที่  และมีการจัดระเบียบของงานได้

เป็นอย่างดี

4. มีการสั่งการที่ดี  มีการควบคุมการทำงานที่ถูกต้อง  และมีการให้รางวัลเป็นผลตอบแทน

5. มีการสนับสนุนให้คนในองค์กรแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี

6. สามารถรับรู้ถึงงาน  และสามารถแก้ไขงานได้ถูกต้องเหมาะสม

 

ข้อ 2. Character  และทักษะ  ของข้าพเจ้า

Character

                                1. สนใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ  เป็นประสบการณ์  และเป็นการฝึกตนเองได้เป็นอย่างดี

2. เป็นคนเอาจริงเอาจัง  ถ้าเชื่อว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง  จะพยายามทำสิ่งนั้นให้ได้  แม้ว่าจะ

มีอุปสรรคมากน้อยเพียงใดก็ตาม

 

3. ชอบใฝ่รู้  เนื่องจากเป็นคนชอบอ่านหนังสือหลายประเภทด้วยกัน  ประโยชน์ของการ

อ่านหนังสือมีอยู่มากมาย  และทำให้เรามีความรู้เพิ่มมากขึ้นด้วย

 ทักษะ  (SKILL)

1.การสื่อสารระหว่างบุคคลจะทำได้ดี  เพื่อให้บุคคลอื่นสามารถเข้าใจเรื่องนั้นได้ง่ายขึ้น

2.วางแผนและจัดระเบียบ  เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3.สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้เป็นอย่างดี

นางสาวมัลลิกา โสดวิลัย เลขที่ 18 รหัส 50038010018

เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และเพื่อน รปม. รุ่น 4 ทุกคน

ข้อ 1  ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน และการชมวีดีทัศน์ (คิดเพื่อก้าว)   โดย นางสาวมัลลิกา  โสดวิลัย

 

                จากการที่ได้อ่านหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน และได้ชมวีดีทัศน์แล้ว เห็นด้วยอย่างยิ่งกับอาจารย์ทั้งสองท่านที่กล่าวไว้ว่า  คนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร เพราะองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี  และจากคำกล่าวนี้ ทำให้ดิฉันเห็นได้ว่า เครื่องเทคโนโลยีนั้นจะฉลาดกว่าคนเป็นไปไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีเกิดขึ้นมาได้จากความคิดของคน  เพราะเครื่องเทคโนโลยีเป็นเพียงส่วนประกอบของการทำงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่เครื่องเทคโนโลยีจะทำงานไม่ได้ ถ้าคนไม่ใส่โปรแกรมการทำงานลงไป ดังนั้น คนจึงต้องพัฒนาตนเองให้ทันสมัยหรือให้ทันต่อกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้วยการเรียนรู้เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปตลอดชีวิต และจากหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน รวมทั้งการชมวีดีทัศน์ ทำให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างของอาจารย์ทั้งสองท่านดังนี้

ความเหมือน  1. ทั้งสองท่านเป็นคนชอบอ่านหนังสือและเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง   2.  เป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบที่ดี มีความอบอุ่นเหมือนกัน โดยได้รับการอบรมและเลี้ยงดูจากบิดา มารดา และมีพื้นฐานการศึกษามาอย่างดี   3.  เป็นคนมั่นใจในตนเอง เพราะมั่นใจในการสะสมความรู้มาโดยตลอดเหมือนกัน  4. เป็นคนมีคุณธรรมและจริยธรรมเหมือนกัน  5. เป็นคนที่ให้โอกาสคนอื่นเสมอ

สำหรับความแตกต่างนั้น  1. ท่าน ศ.ดร. จีระ  เป็นคนที่มั่นใจสูงกว่าคุณหญิงทิพาวดี เพราะมั่นในทุนทางปัญญาที่สั่งสมมานาน  2.  ท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นคนชอบให้ความรู้แก่คน เพราะมีทุนทางปัญญาสูง แต่คุณหญิงทิพาวดีชอบพัฒนาคน คือให้คนมีโอกาสพัฒนาเพื่อให้ตำแหน่งสูงขึ้น เช่น พัฒนาผู้บริหารเพื่อให้เป็นผู้นำ  3.  ท่าน ศ.ดร.จีระ มีการทำงานเป็นทีมเวิร์ค และการทำงานแบบขยายเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่คุณหญิงทิพาวดีจะทำงานอยู่ในวงแคบกว่า เพราะส่วนมากจะอยู่ในวงราชการเท่านั้น

ข้อ 2  ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ ความเป็นผู้นำของนักศึกษา รวมทั้งจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา

1.       ด้านบุคลิกลักษณะของดิฉัน

1.1     เป็นคนที่ชอบการเรียนรู้ เช่น ชอบไปฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสายงานใน หน้าที่ และงานอื่นๆ ที่ต้องการเรียนรู้อยู่เสมอ

1.2    เป็นคนชอบความเป็นธรรม และมีคุณธรรม

1.3    ชอบให้โอกาสคนอื่นเสมอ แต่อย่ามากครั้งจนเกินไป

2.       ด้านทักษะของดิฉัน

2.1    เป็นคนชอบทำงานให้สำเร็จลุล่วง

2.2    ชอบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนางาน

2.3    ชอบการเจรจาต่อรอง

3.       จุดอ่อน

3.1    เป็นคนอารมณ์ร้อน

3.2    ชอบการตัดสินใจที่รวดเร็ว

3.3    ไม่ชอบคนที่ทำตัวเป็นปัญหาบ่อยๆ

4.       จุดที่ต้องพัฒนา

4.1    การปรับอารมณ์ตนเอง

4.2    พิจารณาการตัดสินใจให้ถี่ถ้วน

4.3    ทำใจให้ปล่อยวางในบางเรื่อง

สรุปภาพรวมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกลักษณะ ทักษะ และวิสัยทัศน์ แบบไหน แต่ทุกคนต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่ควรย่ำอยู่กับที่ เพราะต้องตามกระแสโลกให้ทันการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นั่นคือ การเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นเอง

 

ขอส่งข่าวประชาสัมพันธ์
สวัสดีค่ะเพื่อน รปม.รุ่น ๔ ทุกท่าน ตามกำหนดการ Study Tour ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ณ จังหวัดชลบุรี นั้น คณะผู้จัดงานขอเปลี่ยนแปลงกำหนดการและขอแจ้งให้ทุกท่านทราบกำหนดการใหม่ ดังนี้ ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางจากมหาว่ิทยาล่ัยราชภัฏสวนสุนันทา ๐๙.๐๐ น. เดินทางถึงบริเวณศูนย์การต้า รอยัลการ์เด็น ๑๑.๐๐ น. เดินทางถึงท่าเรือแหลมบาลีไฮด์ (สุดถนน Walk Street) เพื่อลงเรือข้ามไปเกาะล้าน ๑๒.๐๐ น. เดินทางถึงเกาะล้าน * รับประทานอาหารกลางวัน * พักผ่อนตามอัธยาศัย * ช่วงแลกเปลี่ยนความรู้กับ อาจารย์ ศ.ดร.จีระ ๑๕.๓๐ น. ข้ามเรือจากเกาะล้านกลับมาที่พัทยา ๑๖.๑๐ น. เดินทางกลับ ๑๘.๓๐ น เดินทางถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หากเพื่อน ๆ สงสัยมีปัญหาอะไรให้โทรถามคุณสุทัศน์ หรือพี่อนงค์ ค่ะ
นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รหัส 50038010042
ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จากหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน จากการที่ได้ชมวีดีทัศน์ ทั้งสองท่านมีทั้งความเหมือนและความต่างดังต่อไปนี้ ความเหมือน : ทั้งสองท่านมีความเห็นตรงกันว่า “คน” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับคน เป็นต้นแบบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน มีทฤษฏีการพัฒนาคน เน้นการทำงานเป็นทีม ให้โอกาสในการการแสดงความคิดเห็น การได้รับความอบอุ่นและมีจุดเริ่มต้นจากครอบครัวที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม และเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ความต่าง : คุณหญิงทิพาวดี จะเน้นเรื่อง สุขภาพที่สมบูรณ์ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อมนุษย์ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หากสุขภาพไม่ดี สิ่งต่าง ๆ ย่อมไม่มีความหมาย ส่วน ศ.ดร.จีระ เห็นความสำคัญของทุนทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งทั้งความเหมือนและความต่าง ทฤษฏี 8 H’s และทฤษฏี 8 K’s ผู้ศึกษาจะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติงาน ในการเป็นผู้นำให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน เนื่องจาก คน เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด ข้อ 2. ให้บอก Character ของตนเอง พร้อมทั้งให้บอกจุดแข็ง และจุดอ่อน ทักษะที่ไม่มี และควรจะมี โดยพอสรุปได้ดังนี้ Character เป็นคนที่มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย มีความละเอียดถี่ถ้วนต่อชิ้นงานเนื่องจากทำงานเกี่ยวกับด้านเงิน, เป็นคนที่ไม่ชอบเอาเปรียบผู้อื่น, ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น, ยอมรับการทำงานเป็นทีม, ยึดถือในเรื่องความซื่อสัตย์ ความมีคุณธรรม และจริยธรรม, ให้ความเคารพนับถือผู้บังคับบัญชา, มีการวางแผนในการปฏิบัติงาน, ส่วนทักษะภาวะผู้นำจะเป็นผู้ฝึกสอนงานให้กับผู้ร่วมงานเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี รวมทั้งเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับงานเนื่องจากเป็นหัวหน้างานซึ่งเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง รวมทั้งมี Vision ในการทำงาน ส่วนจุดอ่อน เป็นคนที่ใจร้อน ส่วนทักษะ ที่ไม่มี และควรจะมี คือทักษะการพูด ในสถานการณ์ที่ต้องพูดต่อที่สาธารณะชน และการพูดในที่ประชุมต่าง ๆ จะค่อนข้างตื่นเต้นเป็นอย่างมาก ต้องใช้เวลาเตรียมตัวอยู่นาน สิ่งที่ควรจะมี คือ ต้องมีความมั่นใจในการพูดให้มากขึ้น และการกล้าแสดงออก
นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง 50038010043
ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จากหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน จากบทสนทนาของทั้ง 2 ท่าน ได้เข้าใจถึง คำว่า “ 2 พลังความคิด ชีวิตและงาน” โดยทั้ง 2 ท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างสรรค์พัฒนา “คน” ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติอย่างมาก กล่าวคือ จะเน้นทฤษฎี 8 H ‘s ของคุณหญิงทิพาวดี และ 8 K ‘s ของ ศ.ดร.จีระ ซึ่งโดยสรุปแล้ว มีความเหมือนเกือบทุกข้อ ยกเว้น ข้อที่ ศ.ดร.จีระ เห็นความสำคัญของ ทุนทางเทคโนโลยี เพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง และจะเน้นการทำงานเป็นทีม โดยใช้ IT เป็นสื่อกลาง ส่วนคุณหญิงทิพาวดี เน้นเรื่อง สุขภาพ ที่สมบูรณ์ ถือว่า สำคัญต่อมนุษย์ และเน้นการพัฒนาคนผ่านองค์กร ข้อ 2. ให้บอก Character ของตนเอง พร้อมทั้งให้บอกจุดแข็ง และจุดอ่อน ทักษะที่ไม่มี และควรจะมี โดยสรุปได้ดังนี้ จุดแข็ง เป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีการทำงานเป็นทีม ให้เกียรติผู้ร่วมงาน ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา มีทัศนคติในเชิงบวก สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับงาน จุดอ่อน ไม่ตรงต่อเวลา ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ทักษะที่ข้าพเจ้าคิดว่าตัวเองควรปรับปรุง คือ เรื่องของการพูดในที่สาธาณะชน การกล่าวรายงานในที่ประชุม จะประหม่า ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการพูด และพูดเสียงเบา สิ่งที่ควรจะมีคือ การกล้าแสดงออก และต้องมีความมั่นใจในการพูด
พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4

1.  Character หรือ  คุณลักษณะที่พึงปรารถนา

                - การยึดถือหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ตามหลักของธรรมาภิบาลเพื่อสร้างสรรค์การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี นับเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้แก่สังคม ทั้งในส่วนของภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยครอบคลุมไปถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนเป็นส่วนเสริมความเข็มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประเทศเพื่อบรรเทาแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติที่ประเทศประสบอยู่ในปัจจุบันรวมทั้งเพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สังคมที่มีธรรมาภิบาลจะเป็นสังคมที่มีความยุติธรรม ความโปร่งใส ไม่เปิดโอกาสให้ความทุจริตฉ้อฉลเกิดขึ้นได้สะดวกเป็นต้น

                - การมีความมั่นใจในตนเองซึ่งเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ติดตามข่าวสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์อยู่ทุกวันจะได้ชื่อว่าไม่เป็นคนตกข่าวหรือสอบถามเรื่องที่ไม่เข้าใจกับท่านผู้รู้ในเรื่องนั้น

                - สร้างแรงจูงใจให้ตนเองทำงานให้เสร็จตามที่ได้วางแผนเอาไว้และงานจะต้องถูกต้องรวดเร็วเรียบร้อย

          - ชอบเรียนรู้ ใฝ่หาความรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ทำอยู่เพราะคนที่รู้มากย่อมได้เปรียบกว่าคนอื่นโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งเป็นยุคแห่งการแข่งขันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

                

                 2. มี Leadership skill ที่สำคัญคือ

                - มีวิสัยทัศน์ มุมมองกว้างคือการมองภาพตลอดแนวของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ทั้งนี้ เพราะว่า วิสัยทัศน์เป็นผลผลิตของจินตกรรม (Imgineering) หรือความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นญาณหยั่งรู้ เห็นความเป็นไปข้างหน้า จับกระแสความเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคตได้ เป็นส่วนหนึ่งของการคิดหน้า (foresight) คิดหลัง (backsight) และมองไปเข้าไปข้างในตน (insight) โดยศึกษาข้อมูลจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่และเปลี่ยนไป ทำให้รู้เท่าทันแนวโน้มของวิวัฒนาการที่จะเกิดขึ้น แล้วใช้วิจารณญาณตัดสินใจปฏิบัติการล่วงหน้า (Proaction) หรือชิงลงมือก่อนที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ทำให้อยู่ในสถานการณ์ที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น เพราะได้พบคำตอบที่ถูกต้อง

                ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ เปรียบได้กับแม่ทัพที่มีกล้องส่องทางไกล เพื่อใช้ส่องดูความเป็นไปในสมรภูมิรบเบื้องหน้าว่าเป็นอย่างไร ควรใช้กลยุทธ์ใด ในการทำศึก จึงจะประสบชัยชนะ ดังนั้น ผู้บริหารองค์กรที่ดี จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ เพื่อกำหนดทิศทางวางนโยบายและกลยุทธ์ของการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย หากแม่ทัพไม่มีกล้องส่องทางไกล หรือผู้บริหารองค์กรขาดวิสัยทัศน์ การเคลื่อนพล หรือการขับเคลื่อนขององค์กร อาจจะเดินหลงทาง วกไปวนมา จนเกิดความระส่ำระสาย ไม่อาจบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ วิสัยทัศน์จึงเป็น Roadmap ให้ทุกคนในองค์กรได้เดินตาม แรงผลักดันที่ทำให้เกิดกลยุทธ์การบริหารโดยวิสัยทัศน์ (Strategic Management By Vision) เป็นผลมาจากความต้องการควบคุมชะตากรรมขององค์กรให้เป็นแบบมนุษย์บัญชา ไม่ใช่ฟ้าลิขิต การประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน มิได้เป็นหลักประกันว่า จะต้องประสบความสำเร็จในอนาคต ดังนั้น ความสำคัญของวิสัยทัศน์ คือ ต้องทำให้อนาคต ดีกว่าวันนี้ มิใช่ปล่อยไปตามยถากรรม

                - การตัดสินใจตามหลักในทางพระพุทธศาสนาไม่อคติ ไม่ลำเอียงมีความยุติธรรม   เสมอภาค ซึ่งในปัจจุบันนี้สังคมต้องการความเสมอภาคมากขึ้น เป็นการจัดการที่ใช้หลักความเท่าเทียมกันในการใช้ชีวิตอย่างสงบสุขไม่เบียดเบียนกันถูกว่าไปตามถูกผิดก็ว่าไปตามผิด

          - การทำงานเป็นทีม เพราะผลประโยชน์ขององค์การจะถือว่าเป็นผลประโยชน์ของทุกๆ คนหรือของทุกกลุ่มภายในองค์การในขณะที่องค์การยังดำเนินกิจการอยู่จะต้องมีการกำหนดผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความยุติธรรมระหว่างองค์การและสมาชิกภายในองค์การ โดยมีการให้รางวัลสำหรับผลการปฏิบัติงานและเพื่อรักษาความสัมพันธ์ภายในองค์การไว้ ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ  และทักษะสิ่งที่ยังขาดไม่มีคือการเจรจาต่อรองเพราะพูดไม่ค่อยเก่ง(คงเป็นเพราะว่าไม่ได้ดูหนังอิมซังอ๊กกะมัง?)

3.วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน
เริ่มจากความเหมือน 2 ผู้นำนักบริหารสร้างทฤษฎีการบริหารที่เกิดจากประสบการณ์ทำงานให้เข้าใจได้ง่ายๆ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่ลุ่มลึกและสร้างความยั่งยืนให้ทุนมนุษย์ของไทยได้จริง ด้วยเน้นการพึ่งพาตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องบนรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิสังคมที่แข็งแกร่ง กรอบด้วยคุณธรรมและจริยธรรมที่เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับแต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญได้อย่างไร้ขีดจำกัด

ส่วนที่มีความไม่เหมือนกันคืออยู่ต่างแวดวงหมายถึงคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อดีตปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้เสนอทฤษฎี พัฒนาคน  " 8 H's "

ส่วนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย ทั้งบุกเบิกให้กว้างไกลบนเวทีโลกจนได้รับการยอมรับในระดับสากลให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะทำงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปก (APEC HRD.) คณะกรรมการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (2549) และเป็นผู้เสนอทฤษฎีด้านความคิด ชีวิต และงาน " 8 K's "

และความต่างอีกประการหนึ่งคือคุณหญิงจะมีลักษณะระบบความคิดการทำงานแบบถ่อมตนดังคำสนทนาตอนหนึ่งกล่าวว่า"ดิฉันมีความเจียมตัวอยู่เสมอว่าเป็นเหมือนหิ่งห้อยน้อยแสง คืนเดือนมืดจึงจะเห็นแสงสว่างชัด แต่พอเดือนหงาย หิ่งห้อยก็จะถูกแสงเดือนขับให้อับแสง

ส่วนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ การแสดงระบบของอาจารย์นั้นเปรียบเสมือนพลุไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจบนฟ้ามืด อาจารย์จะเป็นผู้จุดประกายความคิดใหม่ๆ แบบสากลให้กับคนไทยมาอย่างยาวนาน และมีลักษณะ "ชูธงนำ" ตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นการทำงานจะลงลึกเอาจริงเอาจัง โดยใช้วิธีบูรณาการความคิดและความสามารถของผู้ร่วมงานอย่างได้ผล

 

 

 

 

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

นางสาวจุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

ข้อ1.  ข้อมูลจากการฟัง VTR  โดยเทียบความเป็นผู้นำ  ของคุณหญิงทิพาวดี   เมฆสวรรค์และ

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

 ความเหมือน 

1. มีทฤษฎีทุนมนุษย์ คือ “8 H’s”  และ "8 K’s”  ในการพัฒนาคนเป็นของตนเอง

2. มีความเชื่อว่าคือ คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญที่สุดในองค์กร 

3. เน้นการพัฒนาคนสร้างให้คนเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ มีทักษะในความเป็นผู้นำ

4. เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองและบุคคลอื่นๆ

5. เน้นให้คนมีความรู้มีปัญญาจะมีอำนาจรู้จักการคิดจะต้องคิดดี คิดเป็นและ วิเคราะห์เป็น

6. การบริหารคนผู้นำจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี

7. เน้นการมีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งซึ่งจะเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนสุขภาพ    ร่างกายและจิตใจ การดำเนินชีวิต  การทำงาน   

8. เมื่อเรามีความรู้และมีปัญญามีจริยธรรมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ย่อมเป็นพื้นฐานที่เราจะดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

9. การทำงานร่วมกับคนจำนวนมากจะต้องดึงความเก่งและทักษะของแต่ละคนมารวมกัน และจะต้องใช้ความปรองดอง ความสมานฉันท์ ความประนีประนอม สังคมและประเทศชาติจะอยู่อย่างเป็นสุข

ความต่าง 

1. ศ.ดร.จีระจะเน้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่แท้จริงสนใจที่จะพัฒนาคนทุกระดับทุกกลุ่มทุกวัย

ส่วนคุณหญิงทิพาวดีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ท่านจะเน้นภายในองค์กร ตามรูปแบบระบบราชการ

เป็นถ่ายทอดความรู้ที่แตกต่างกัน

2. คุณหญิงทิพาวดี   เมฆสวรรค์ และ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ มีภูมิหลังการดำเนินชีวิต และประสบการณ์การทำงานต่างๆอาจจะไม่เหมือนกัน

3. ศ.ดร.จีระ ในการพัฒนาคนสนใจเทคโนโลยีต่างๆที่จะเข้าถึงบุคคลต่างๆเช่น บทความในหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ในการพัฒนาคนโดยเข้าถึงบุคคลต่างๆได้มากขึ้นส่วนคุณหญิงทิพาวดีจะมุ่งพัฒนาคนในองค์กรโดยไม่สนใจเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์   

4. ศ.ดร.จีระไม่ยึดติดกับตำแหน่งและอำนาจทางการเมืองใดๆส่วนคุณหญิงทิพาวดีสนใจตำแหน่งและอำนาจทางการเมือง

 

 

ข้อ 2. Character  และทักษะ  ของข้าพเจ้า

Character

1. ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์  สิ่งแวดล้อม  รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

2. มีทัศนคติในเชิงบวก คิดและมองโลกในแง่ดีก่อนเสมอ

3. ความสามารถในการพิจารณาตัดสนใจได้รวดเร็ว 

4. มีความตั้งอกตั้งใจในการปฏิบัติงาน

5. เป็นผู้มีความรับผิดชอบทั้งในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง

6. เป็นผู้มีความนุ่มนวล ผ่อนปรน  เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความเข้าใจอันดีต่อกันในหมู่ผู้ร่วมงาน  อาจรวมถึงการถ่อมตัว (Humble)  ตามกาลเทศะอันควร ประนีประนอมได้ทุกๆเรื่อง

7. เป็นผู้มีศิลปในการจูงใจคน  ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้หลักจิตวิทยา (Psychology)

ทักษะ 

1.ใช้เทคโนโลยีได้ เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ

2. ประสานงานกับผู้อื่นได้ดี

 

 

 

 

 

นางสมจิตร ส่องสว่าง เลขที่ 38 รหัส 50038010038

 เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และเพื่อน รปม. รุ่นที่ 4 ทุกคน

                                ข้อ 1. ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน การชมวีดีทัศน์

(คิดเพื่อก้าว) โดยนางสมจิตร ส่องสว่าง

                                ความเหมือนของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

คือ การให้ความสำคัญกับคน การพัฒนาคน นำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

มีความเชื่อมั่นตัวเอง มีความมุ่งมั่น ใฝ่รู้ มุ่งสู่ความสำเร็จ

                                ความแตกต่างของทั้งสองท่าน คือ มีประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน

ระบบการทำงานที่แตกต่างกัน  ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ถ่ายทอดความรู้โดยใช้เทดโนโลยีที่

ทันสมัยก้าวทันโลก  สร้างเครือข่ายการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาไม่ได้คำนึงถึงว่าทำไปแล้วตนเอง

จะได้รับอะไรกลับมา ทำแล้วมีความสุขใจ

                                ข้อ 2. ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ ความเป็นผู้นำของนักศึกษา รวมทั้งจุดอ่อนที่

ต้องพัฒนา

1.       ด้านบุคลิกลักษณะ  ชอบเรียนรู้   มีซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและจริยธรรม ชอบช่วยเหลือ

ผู้อื่น ให้โอกาสผู้อื่นเสมอ

2.       ด้านทักษะ  ขยันทำงานให้สำเร็จ  ชอบการติดต่อประสานงาน  ชอบแก้ไขปัญหา

3.       จุดอ่อน  เป็นคนขี้สงสาร ตัดสินใจเร็ว 

4.       สิ่งที่ต้องพัฒนา   ฝึกความมีเหตุผล  รับฟังความดิดเห็น  และต้องใช้ข้อมูลในการ

ตัดสินใจ

                สรุป คือ คนเราจะต้องพัฒนาตนเองและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ของโลก เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน นั่นคือ การพัฒนาการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลานั่นเอง

นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จุดเด่น และจุดด้อย ของดิฉันมีดังนี้ จุดเด่น 1. มีความตั้งใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า 2. มีมนุษย์สัมพันธ์ดีและช่วยเหลือผู้ร่วมงานในการทำงาน 3. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น จุดด้อย 1. เป็นคนใจร้อน 2. บางครั้งจะทำงานไม่ค่อยรอบคอบ ต้องคอยตรวจสอบความผิดพลาด 3. เชื่อมั่นในตัวเองจนทำให้บางครั้งไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น 4. ใช้เงินเก่ง และไม่ค่อยจะประหยัด สรุป ดิฉันเป็นคนธรรมดา ๆ ค่ะ ยังอยู่ในโลกของความเป็นจริง คือ มีโกรธ มีเกลียด มียินดี ยินร้าย อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะนิสัยอันนำมาซึ่งจุดเด่นและด้อย เช่นนี้เอง กลับทำให้ดิฉันมีความสุขในการทำงาน และมีเพื่อนร่วมงานที่ดี ทั้งหัวหน้า รุ่นพี่ รุ่นน้อง ซึ่งบุคคลเหล่านี้ที่เป็นผู้ที่ส่วนสำคัญในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของดิฉัน
นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ รหัส 50038010041
เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ผู้จุดประกายความคิด เพิ่มรอยหยักสมองให้แก่บรรดาลูกศิษย์ รวมทั้งท่านอาจารย์พจนารถ ท่านอาจารย์บุญรอด ท่านอาจารย์ปิยะ และท่านอาจารย์ประกาย ทุกท่านเปี่ยมไปด้วยความรู้ความสามารถและประสบการณ์อย่างมากล้น สังเกตได้จาก “ความเจ๋ง” ในการสอนที่ทำให้เราสนใจใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา และทีมงานเข้มแข็งของท่านอาจารย์ (คุณนะ คุณเอ๋ และคุณเอ้) จากการชมการสัมภาษณ์ ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ทำให้มองเห็นแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาคน ในแง่มุมต่าง ๆ เห็นความเหมือนในตัวทั้งสองท่านในเรื่องการให้ความสำคัญกับ “คน” เป็นประการแรก และมีความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งท่านทั้งสองได้คิดค้นทฤษฎีในการบริหารคนที่มีความสอดคล้องกัน คือ ทฤษฎี 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และทฤษฎี 8 K’s ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจเนื่องมาจากการที่ทั้งสองท่านมีพื้นฐานครอบครัวที่ดี นั่นคือการมีครอบครัวที่อบอุ่น มีแบบอย่างที่ดี และได้รับการอบรมสั่งสอนที่ดีในทุก ๆ ด้าน อาทิ อุปนิสัยรักการอ่าน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ท่านทั้งสองเป็นผู้ที่เรียนรู้ตลอดชีวิต Live Long Learning สะสมความรู้จากตำราและประสบการณ์จริง และนำมาปรับประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตและการบริหารงานได้เป็นอย่างดี สิ่งที่แสดงถึงความต่างของทั้งสองท่านคือ คุณหญิงทิพาวดีท่านเป็นผู้นำ ผู้บริหาร ที่เป็นผู้หญิงเก่งและแกร่งที่มีความละเอียดอ่อนในแบบฉบับของสตรีไทย บริหารโดยใช้ความรู้และประสบการณ์ ผนวกกับความคิดที่จะพัฒนาคนอย่างยั่งยืน ส่วนท่าน ศ.ดร.จีระ นั้น ท่านเป็นผู้นำและนักบริหารที่มี Style เป็นของตัวเอง มีความมั่นใจ ตรงประเด็น มีความกล้า...กล้าที่จะเป็นผู้นำระดับแนวหน้าในเรื่องการบริหารคน เห็นได้จากความตั้งใจจริง ทำงานอย่างจริงจังในเรื่องนี้มานานหลายสิบปี เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ มีการนำผู้รู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาแชร์ความคิดร่วมกัน ดังเช่นที่ท่านเชิญท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ มาแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านตัวหนังสือและการสนทนาในรายการโทรทัศน์ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่หลากหลายและทันสมัย อาทิ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และบล๊อก (BLOG) ถ้าอย่างนั้น ขอลองหันมามอง Character ของตัวเองบ้างนะคะ ในความคิดของตัวเองนั้นก็คิดว่า เป็นคนที่ใฝ่รู้อยู่พอสมควร อาจจะยังไม่มากพอแต่ก็สามารถพัฒนาต่อไปได้ เคารพในความคิดของผู้อื่นและสามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ ยึดมั่นคุณธรรม (ไม่ใช่ “คุณน่ะทำ” นะคะ) เป็นหลักประจำใจ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เบียดเบียนและไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น มองโลกในแง่ดี (เกือบเหมือนนางงามแล้วค่ะ) มีความยืดหยุ่น IQ ต่ำ แต่ EQ สูง ทนได้ทุกสถานการณ์ (เหมือนกระเบื้องตราช้างอย่างไงอย่างงั้นเลยค่ะ) และต้องการให้เกิดความสมานฉันท์ในหมู่คณะ แต่ก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่ยังขาดและทำไม่ได้ และต้องพัฒนาทักษะ (Skill) อีกมาก คือ ความกล้า กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออกและความเชื่อมั่นในตนเอง อยากที่จะเป็นคนที่เรียนรู้ตลอดชีวิต ดั่งคำสอนของศาสนาอิสลามที่ว่า “มนุษย์เราต้องเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในเปล จวบจนถึงหลุมฝังศพ” เห็นได้ชัดว่าศาสนาก็ยังสอนให้คนเห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ และที่สำคัญคือต้องการสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ตัวเอง เนื่องจากการอ่านหนังสือมาก ๆ จะก่อให้เกิดปัญญาและพัฒนา IQ ที่มีอยู่น้อยให้เพิ่มมากขึ้นกว่า EQ ที่มีอยู่ค่ะ นอกจากนี้ ตัวเองยังขาดความกระตือรือร้น ให้ความสนใจกับสิ่งรอบข้างที่จะเป็นประโยชน์และนำมาปรับประยุกต์ใช้กับตัวเองได้ การมองและวิเคราะห์ตัวเอง เปรียบเสมือนการที่เราส่องกระจกเงาที่มองเห็นแต่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว เราอาจจะมองไม่เห็นด้านหลังหรือด้านอื่น ๆ ถนัดนัก ดังนั้นการที่มีคนอื่นมามองเราและวิเคราะห์ให้ บางครั้งก็เป็นสิ่งที่ดี และเราก็ควรที่จะยอมรับมันให้ได้ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว ในตัวหรือยังขาดอยู่ ล้วนแล้วแต่ต้องพัฒนาให้มีเพิ่มมากขึ้นอยู่เสมอด้วยวิธีการต่าง ๆ คนเรามักกลัวการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงควรพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการอ่าน การศึกษา ใฝ่หาความรู้ เพื่อที่จะสามารถพาตัวเองและองค์กรให้ก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งของโลกในปัจจุบันได้ ขอบคุณค่ะ...
นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4
เรียน ท่านอาจารย์จีระ ท่านอาจารย์พจนารถ ท่านอาจารย์บุญรอด ท่านอาจารย์ปิยะ และท่านอาจารย์ประกาย และทีมงาน (คุณนะ คุณเอ๋ และคุณเอ้) และเพื่อน ๆ พี่ ๆ ชาว รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน ข้อที่ 1 ความเหมือนกับความต่างของ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ ความเหมือน คือ ทั้งสองท่านจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน คนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร คุณค่าของคนต้องมีคุณภาพ มีคุณธรรม ความจงรักภักดี และมีความสามรถ จึงจะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยคุณหญิงทิพาวดี ใช้ทฤษฎี 8H’s ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่วนศาสตราจารย์ ดร.จีระ ใช้ทฤษฎี 8K’s ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ ความต่าง คือ ต่างในเรื่องการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ซึ่งคุณหญิงทิพาวดี จะเป็นนักบริหารในหน่วยงานโดยนำความรู้และประสบการณ์ที่สะสมมาพัฒนาคนในองค์กร ส่วน ศาสตราจารย์ ดร.จีระ จะทำงานเป็นทีม มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติ และถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ผ่านตัวหนังสือและสื่อที่หลากหลาย ถึงแม้ท่านทั้งสองจะมีความเหมือนและความต่างแต่ท่านก็เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ มีคุณธรรม จริยธรรม เหมาะสำหรับที่ทุกคนควรจะยึดหลักและนำแนวทางมาใช้ในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานได้ ข้อที่ 2 Character ของตัวเอง คือ มีความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา เป็นคนใส่ใจในรายละเอียด ชอบใช้เทคโนโลยีในการหาข้อมูลใหม่ๆ มีความรับผิดชอบต่องาน มีทัศนคติที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและจริยธรรม จุดด้อยคือ ไม่กล้าตัดสินใจ เป็นคนใจร้อน เป็นคนตึงเกินไป (ควรจะยืดหยุ่นบ้างในบางครั้ง) ทักษะที่ควรจะพัฒนาคือ การพูดหรือแสดงออกต่อที่สาธารณะชน

ข้อ 1.  ความเหมือนและความแตกต่างของ ศ.ดร. จีระฯ และคุณหญิงทิพาวดี ฯ จากการที่ได้รับฟังการสนทนากันนั้น สามารถสรุปได้ว่า ความเหมือน คือ ท่านทั้งสองให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรก เพราะว่าการพัฒนาคน นำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ท่านทั้งสองมีความมุ่งมั่นในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ในส่วนของความแตกต่างของทั้งสองท่าน คือ ท่านทั้งสองคนมีการสะสมการเรียนรู้ของงาน และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน ศ. ดร. จีระ มุ่งมั่นตามเทดโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง

      ข้อ 2. ข้าพเจ้ามองตัวเองว่า เป็นคนมีบุคลิกลักษณะที่คล่องแคล่วว่องไวในทุกๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการทำงาน จะรับผิดชอบงานที่ตนเองได้รับเป็นอย่างดี มีความกระตือรือร้น จะต้องพยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด อย่างเต็มกำลังความสามารถ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ก็มองตนเองว่าตนเป็นผู้มีน้ำใจ คอยช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน หากสงสัย หรือต้องการให้เราแสดงความคิดเห็น ข้าพเจ้าก็จะช่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถของตน เพราะถือว่าเราทำงานให้หลวงเหมือนกัน งานควรจะต้องออกมาดี ถูกต้องครบถ้วน หากแม้นบางครั้งจะเหนื่อยล้าจากการทำงานบ้าง ก็จะพยายามคิดว่า สิ่งที่เราทำอยู่นี้มันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน  และประเทศชาติ

เรียน    ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

      การเป็นผู้นำไม่ได้ขึ้นกับตำแหน่งหน้าที่การงานเสมอไป  การเป็นผู้นำของบุคคลบางคนขึ้นอยู่ศรัทธา ที่ได้กับจากบุคคลทั่วไป   ผู้นำในทัศนคติคือผู้ที่ได้รับการยอมรับและความเชื่อถือจากคนในองค์กร หรือเกิดขึ้นในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง  จากตัวอย่างการสนทนาระหว่างท่านกับคุณหญิงทิพาวดี   นั้น จะเห็นได้ว่าทั้ง  2  ท่านเป็นผู้นำนักบริหารที่เป็นนักวิชาการ  มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีคุณธรรมจริยธรรมให้โอกาสผู้อื่นในการแสวงหาความรู้จากตนให้ความเมตตากับเพื่อนร่วมงานให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงานทุกระดับชั้น เอาใจใส่ลูกศิษย์  ซึ่งในเรียนมีความรู้สึกว่าอาจารย์เป็นคนเข้มงวดมากแต่เมื่อได้รับการสั่งสอนจึงเข้าใจได้ว่าเพราะอาจารย์ต้องการให้ลูกศิษย์ได้รับความรู้ประสบการณ์จากท่านให้มากที่สุด  จึงความเกิดศรัทธาในตัวท่าน  สำหรับความแตกต่างความเป็นผู้นำจะเห็นได้ว่าภาวะผู้นำของ ดร.จีระ  เกิดจากความศรัทธา ความเชื่อถือ  การยอมรับ ของสังคมไม่ได้เกิดจากกฎหมาย  ส่วนคุณหญิงทิพาวดี  นั้นภาวะผู้นำน่าจะเกิดจากกฎหมาย มากกว่า

    สำหรับการจะพัฒนาการเป็นผู้นำตามทฤษฎี   5 E’s   นั้นผู้ศึกษาคิดว่ามีลักษณะการเป็นผู้นำได้  เพราะทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนทำงานที่ได้รับมอบให้สำเร็จกล้ารับผิดชอบในการกระทำของตนเอง   กล้าตัดสินใจ  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา   มีคุณธรรม จริยธรรมในระดับหนึ่ง มองคนในแง่ดีมีน้ำใจ ให้เกียรติคนอื่น    แต่ยังขาดประสบการณ์  ขาดทักษะการพูดในที่สาธารณะ  ต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ   ซึ่งได้อ่านพบบทความเรื่องสร้างทุนมนุษย์

    จากรายงานพิเศษ เรื่องเปิดวิสัยทัศน์  ดีพัก ซี .เจน  คณบดี Kellogg   สร้างทุนมนุษย์ดันเอเชียสู่ยุดทอง  จากหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ฉบับประจำวันที่  15-21  กุมภาพันธ์  2551  กล่าวไว้ว่าการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตจึงต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยหลายอย่าง

ประการแรก  การสร้างแรงจูงใจ(Inspiration) ประการที่สอง การสร้างแรงกระตุ้น (Motivation) โดยการให้รางวัลทั้งในรูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ซึ่งอาจหมายถึงการเลื่อนตำแหน่งหรือการให้รางวัลอื่น ๆ  ประการที่สาม  ต้องพัฒนาให้บุคคลเหล่านี้มีวิสัยทัศน์(Vision) ที่จะนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ (Action) ที่เกิดประสิทธิภาพได้ในที่สุดซึ่งต้องควบคู่ไปกับการปลูกฝังสิ่งที่เป็น Soft side  ได้แก่ความเฉลียวฉลาดทางปัญญา (IQ) ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และการมีคุณธรรมจริยธรรม (MQ : Morality) เพราะทั้ง  3 ส่วนนี้จะเป็นภาคเสริมที่ทำให้บุคคลที่เป็นผู้นำนั้นมีความสมดุลรอบด้าน เป็นผู้นำที่มีทั้งความรู้  คุณธรรม  สามารถเอาชนะใจคน  และทำให้ผู้อื่นเคารพที่ตัวตนของบุคคลนั้นอย่างแท้จริง

ดีพัก  ซี.เจน  ได้สรุปโมเดลใหม่ในการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไว้  2  โมเดล

โมเดลแรก  “5P” ประกอบด้วย คน(People) เป็นศูนย์กลาง โดยนำความรู้  ความสามารถและศักยภาพที่ซ่อนเร้น(Potentiality) ของแต่ละคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มที่  ซึ่งจะเป็นปัจจัยไปสู่การเพิ่มผลิตภาพการผลิต(Productivity) ให้สามารถเจริญเติบโตอย่างสร้างผลกำไร (Profitability) และนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่ง (Prosperity) และความผาสุกของคนในประเทศ

โมเดลที่สอง  “5 H” เป็นเรื่องของการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของมนุษย์ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ประกอบไปด้วยความสมดุล (Harmony) ของความพร้อมในด้านต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย หัว (Head) หมายถึง ความรู้ความสามารถที่ร่ำเรียนและสะสมมา  มือ (Hand) หมายถึง ความเป็นไทยและความโอบอ้อมอารี ที่ส่งผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและการบริการ   และสุขภาพ (Health) ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่จะเอื้อต่อการทำงานโดยในการพัฒนามนุษย์ต้องทำความเข้าใจถึงเรื่องการทำงานของสมองด้วย

ดีพัก  ซี.เจน ยังบอกอีกว่าวันนี้ประเทศไทยมีจุดแข็งในหลายเรื่องที่สามารถแข่งขันบนเวทีโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมด้านสุขภาพอนามัย(Customer  Well-Being) ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาลและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยต่าง ๆ เช่น สปา  อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้า เป็นการผสมผสานมุมมอง  วิสัทัศน์  ด้านการตลาดผนวกเข้ากับการพัฒนาทุนมนุษย์ของ ดีพัก  ซี.เจน  นับเป็นแสงสว่างบนวิกฤตที่น่าสนใจทีเดียว

   

                               2 พลังความคิดชีวิตและงาน
                                   "อโรคยา ปรมา ลาภา" 

                          ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

 
      ท่านผู้อ่านอาจจะงง เอ๊ะ!! มันเกี่ยวอะไรกับงานที่ได้รับมอบหมาย  ที่ขึ้นต้นเช่นนั้น เพื่อจะบอกว่า หลังจากที่เรียนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (17 กุมภาพันธ์   2551) กลับมาก็เป็นไข้หวัด ปวดหัวตัวร้อน นอนซม อยู่ห้อง ไม่ได้ไปทำงานเลย   จะลุกมาทำงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์มันก็ตื้อไปหมด   เมื่อร่างกายหรือสุขภาพ(Health)ไม่สมบูรณ์ สมอง Head/Intellectual Capital)   ก็ไม่เกิด  เป็นตัวบั่นทอนความคิด และเกิดทุกข์บั่นทอนความสุข (Happiness) อีก เริ่มเกี่ยวพันกันแล้วไหมล่ะ                      อย่างน้อยก็ 3 ข้อล่ะ เข้าเรื่องงานที่จะทำสักที   ถ้าจะมองถึงความแตกต่างระหว่างท่านทั้ง 2   สิ่งที่มองเห็นเป็นรูปธรรม   อย่างเห็นได้ชัดวัดด้วยสายตาเห็น ๆ ก็คือ  สิ่งที่ธรรมชาติให้มาทางกายภาพ นั่นคือ ความต่างเรื่องเพศนั่นเอง แต่ถามว่า  เป็นอุปสรรคในการพัฒนา การเรียนรู้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ไม่เป็นอุปสรรคแต่ประการใด เพราะทั้ง 2 ท่าคือผู้ที่ใฝ่ความเป็นเลิศและสร้างคุณค่าให้คนและองค์กร มีการเรียนรู้อยู่ตลอด ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่อาจารย์จีระที่มีด้านสภาวะผู้นำ ที่ข้าพเจ้ามองเห็นก็คงเป็นเรื่องของประสบการณ์ (Experience) และเครือข่าย (Network) ที่มากกว่า นั่นอาจจะเป็นเพราะวัยวุฒิ หรือการที่ได้พบปะผู้รู้ และเก็บรวบรวมสั่งสมเป็นประสบการณ์ที่หลากหลาย จากการที่ได้พบปะ การอบรมทั้งในฐานะที่เป็นผู้ที่สั่งสอนอบรมคนอื่น แต่ในขณะเดียวกัน อาจารย์จีระก็พลิกผันบทบาทของการเป็นคุณครู ผู้อบรม มาสู่สภาพของนักศึกษา หรือนักเรียนที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งรอบข้างจากผู้ที่เรียนหรือผู้ที่อบรมด้วย ความแตกต่างอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านแนวความคิดทฤษฎี ระหว่าง Health กับ Digital Capital คุณหญิงทิพาวดี จะให้ความสำคัญกับสุขภาพ ซึ่งอาจารย์จีระในข้อนี้ ได้เหมารวมหรือผนึกรวมไว้กับข้อ Human Capital แล้ว และหันมาให้ความสำคัญในเรื่องเทคโนโลยีแทน  อย่างไรก็ตามในความคิดของข้าพเจ้ามองว่า แม้ทฤษฎีทั้งสองจะแตกต่างกัน แต่ใช่ว่ามันแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีสามารถนำมาประยุกต์ในการช่วยสนับสนุน (Support) ในเรื่องของสุขภาพมากมาย เช่นในด้านการแพทย์ และเครื่องเสริมสุขภาพ เช่นเครื่องออกกำลังกาย ที่เพิ่มประสิทธิภาพให้การออกกำลังสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย เป็นต้น

     ในหัวข้อที่ 2 ที่อาจารย์ให้ค้นหา ลักษณะเฉพาะตัว นั้น ข้าพเจ้ากลับมืดแปดด้าน ไข้แตกเพิ่มขึ้นอีก อย่างที่มีคนกล่าวไว้ว่า ค้นหาคนอื่น จุดดีจุดด้อยของคนอื่นน่ะค้นหาง่าย แต่พอจะมาค้นหาตัวเอง มันช่างยากเสียนี่กระไร!!

      จุดเด่น
      • ยึดหลักคุณธรรม ซื่อสัตย์ ซึ่งคุณธรรมอย่างหนึ่งที่ข้าพเจ้าภูมิใจและถือปฏิบัติมาโดยตลอดก็คือ ความกตัญญู แต่ก็ใช่ว่าจะกตัญญูแบบขาดปัญญากำกับ เช่นไม่ใช่ว่าเขาให้เงินมาเพื่อขอให้ลงคะแนน เราก็ยึดถือความกตัญญู ถือว่าเขาให้เงินมาต้องตอบแทนด้วยการลงคะแนนให้เขา อันนี้ก็ไม่ใช่กตัญญูที่แท้จริง
     • การสร้างแรงจูงใจ บางครั้งการจะทำอะไร แรงจูงใจก็เป็นสิ่งจำเป็นในเมื่อเรารู้ว่าเราจะทำอะไร เพื่อใครแรงใจมันก็เกิด เฉกเช่นการเรียน อาจารย์ก็ได้สร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชานี้ จากวาทะชวนคิด"ไม่มีใครโง่กว่าใคร มีแต่คนไหนฉลาดกว่ากัน"  ทำให้ข้าพเจ้าเกิดแรงจูงใจขึ้นมามิใช่น้อย..
      • การรักษาสัญญา แม้รู้ว่าการสัญญานั้นบางครั้งเราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่เมื่อสัญญาแล้วต้องทำให้ได้
      • การฟังและเรียนรู้โดยใช้ความคิด ซึ่งจะนำมาซึ่งปัญญา ประเด็นนี้ก็ โป๊ะเชะ!! กับวาทะอาจารย์จีระ ที่ว่า "
ใบปริญญาแค่ติดข้างฝา แต่ปัญญาติดตัวไปจนตาย" 

     
จุดด้อย
      การตัดสินใจ บางครั้งบางทีไม่เด็ดขาด ยังเก้อ ๆ กัง ๆ ห่วงหน้าพะวงหลัง คิดว่าจะกระทบใครหรือเปล่า เขาจะคิดอย่างไร อาจจะคิดมากด้วย จนบางทีนำมาซึ่งผลเสียมากกว่าผลดี
      • ความสามารถในการบริหารจัดการ ยังมีน้อย อาจจะเนื่องจากหน้าที่การรับผิดชอบ ประสบการณ์ในการบริหาร ต้องคอยฝึกตัวเองไปเรื่อย ๆ สั่งสมประสบการณ์ จากผู้รู้ ตามรอยสโลแกนของอาจารย์ที่ว่า การเรียนรู้ไม่มีสิ้นสุด..
      อันที่จริงแล้ว จุดเด่นจุดด้อยในตัว อาจจะมีมากกว่านี้ แต่เรามองไม่เห็น ในความคิดของข้าพเจ้า บางทีถ้าเรารู้จักประยุกต์ จุดเด่นอาจจะไม่ดีเสมอไป และจุดด้อยก็ใช่ว่าจะเลวร้ายเกินไป บางกรณีบางสถานการณ์ คุณสมบัติบางอย่างอาจใช้ไม่ได้ นั่นก็ต้องใช้ดุลพินิจการวิเคราะห์ อิงหลักเหตุผลและใช้ปัญญามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ก็จะเป็นผู้นำที่ไร้จุดตำหนิ หรือเป็นผู้นำที่ดีเลิศได้ แต่ว่า เมื่อไรล่ะ? อันนี้ก็เป็นเรื่องของเวลา..

 

           

นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๓๘๐๑๐๐๑๙

เรียน  อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

         ๑. จากคำถามของอาจารย์ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จีระ กับคุณหญิงทิพาวดี  หลังจากที่ได้ชมวีดิทัศน์การสนทนาที่อาจารย์นำมาให้ชมแล้ว มีข้อวิเคราะห์ ดังนี้

ความเหมือน  ประการแรกคือทั้งสองท่านมีพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่อบอุ่นมีพร้อมทุกอย่าง และพัฒนาพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา และถือว่าท่านทั้งสองเป็นผู้มีบุญ วาสนา เกิดมามีพร้อมทุกอย่าง และต่างก็เป็นคนขยัน อดทน รักในการเรียนรู้ และรักที่จะอบรมสั่งสอนให้บุคคลอื่นได้มีความรู้ด้วย  ประการที่สอง  เป็นผู้นำทางด้านทรัพยากรมนุษย์ คือทั้งสองท่านต่างมีแนวความคิดเหมือนกันคือให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างสรรค์พัฒนา "คน"  ซึ่งถือว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับคน จะเน้นทฤษฏี ๘ H's โดยคุณหญิงทิพาวดี และทฤษฏี ๘ K's ของ ศ.ดร.จีระ  ซึ่งประกอบไปด้วยทุนรากฐานของชีวิต (Heritage)  เพราะทุนมรดกวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมให้ถูกต้อง ซึ่งไปตรงกับทฤษฏีทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนสมอง (Head) การมีความคิด มีความรู้แล้วต้องมีสติเพราะคนเราทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองซึ่งตรงกับทฤษฎีทุนทางปัญญา ทุนมืออาชีพ (Hand) ความเป็นมืออาชีพนั้น เป็นความสามารถในงานที่เราทำได้ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร  ทุนเป็นคนจิตใจที่ดี (Heart)  เป็นทุนที่มีทัศนคติในเชิงบวก คือมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งตรงกับทฤษฎีทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมของ ศ.ดร.จีระ  ทุนสุขภาพ (Health) ตรงกับทฤษฎี ๘ K's  คือทุนพื้นฐานทางสุขภาพที่ดี  คนเรานั้นถือว่าสุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ทุนบ้านและครอบครัว (Home) การที่คนเรามีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทุนมนุษย์ เพราะทุนมนุษย์ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียน  ทุนการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข (Happiness)  โดยการแบ่งปันเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ทุกคนมีความสุข และสอดคล้องกับทฤษฎี ๘ K's คือทุนแห่งความสุข  ทุนความปรองดอง สมานฉันท์ (Harmony)  คือทุุกคนทุกระดับใช้หลักสัปปุริสธรรม คือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชมชน สอดคล้องกับทฤษฎี ๘ K's  คือทุนทางสังคม ดังนั้น  จากการได้รับฟังบทสนทนาระหว่างทั้งสองท่าน แล้วสามาราถนำไปปรับใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันด้วย นอกจากนี้แล้ว ความเหมือนของศ.ดร.จีระและคุณหญิงทิพาวดี คือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การสั่งสมประสบการณ์ความคิดที่เป็นเลิศที่สามารถหาวิธีคิดจนเกิดทฤษฎี ๘ H's และทฤษฏี ๘ K's  ซึ่งอ่านแล้วสามารถนำใช้ประโยชน์ให้กับองค์กร และสามารถพัฒนาองค์กรให้มีความเป็นเลิศในทุกด้าน

ความแตกต่าง  ศ.ดร.จีระ จะเน้นความสำคัญของทุนทางเทคโนโลยีเพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลก  ท่านจะมีทีมงานที่เข้มแข็งในการบรรยายให้ความรู้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน  ส่วนคุณหญิงทิพาวดียังขาดทีมงานและการสื่อสารด้านเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาบุคลากรในองค์กรเฉพาะกลุ่มที่ท่านดูแลและรับผิดชอบ

        ๒.  ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ ความเป็นผู้นำในองค์กรของตัวเองรวมทั้งจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา

         คุณลักษณะเฉพาะตัวของดิฉันคือ

         ๑.  ยึดหลักคุณธรรม และความซื่อสัตย์

         ๒. มีความมั่นใจในตัวเอง

         ๓. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

        ๔. มีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่ดี

      ด้านทักษะ

         ๑. คิดใหม่ทำใหม่อยู่เสมอ

         ๒. พัฒนาตัวเองโดยเข้าอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่หน่วยงานเปิดอบรม

       จุดอ่อน

        เป็นคนที่เกรงใจและชอบช่วยเหลือผู้อื่นมากเกินไปบางครั้งก็เป็นจุดอ่อนให้

กับตัวเอง

 

โดย  นางวีรยาพร  อาลัยพร  รหัส  50038010036  เลขที่ 36  รปม. รุ่น 4

 

ข้อ 1  ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ จากการฟังเทปสัมภาษณ์  (ช่วงคิดเพื่อก้าว)

                                จากการฟังเทปสัมภาษณ์  ดิฉันเห็นด้วยกับทั้งสองท่านที่ว่า คนคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับคน หรือทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรมีอยู่นั่นเอง  คนจึงต้องมีการพัฒนาตนเองได้ทันต่อกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือโลกาภิวัฒน์อยู่เสมอ ด้วยการเรียนรู้เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา  และจากการฟังเทปและจากการอ่านหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ทำให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างของทั้งสองท่านคือ     ความเหมือน   1.  ทั้งสองท่านมีพื้นฐานครอบครัวที่เหมือนกัน คือ มีความอบอุ่นทางครอบครัวและได้รับองค์ความรู้อยู่เสมอจากคุณพ่อและครอบครัวที่คอยดูแลเอาใจใส่    2. ทั้งสองท่านพัฒนาองค์ความรู้อยู่เสมอ และนำไปถ่ายทอดและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีโอกาสมีความรู้อยู่ตลอดเวลา  3. มีความมั่นใจในตนเอง  4. รักการอ่านหนังสือเพื่อใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา 5. ทำงานด้วยความสุขและรักในงานที่ทำ

ความแตกต่าง  1. ท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษนย์อย่างแท้จริง  โดยมุ่งเน้นให้ความรู้แก่บุคคลทุกกลุ่มทุกวัย โดยจะเห็นได้จากเวลามีคนกล่าวถึงท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์   คนที่อยู่ในองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะทางด้านเอกชน หรือภาคราชการ  จะรู้จักท่านดี  แต่ท่านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จะมุ่งเน้นให้ความรู้และพัฒนาในรูปขององค์กร และเมื่อกล่าวถึงท่านจะมีคนส่วนใหญ่ในภาคราชการจะรู้จักท่าน ส่วนเอกชนมีน้อย

2.  การมีเพศที่แตกต่างกัน  ท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  เป็นเพศชาย  แต่ท่านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  เป็นเพศหญิง  3. ในด้านประสบการณ์ ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ มีมากกว่า ท่านคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ เพราะท่าน ศ.ดร. จิระ  หงส์ลดารมภ์  อยู่ในแวดวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาโดยตลอดไม่ว่าจะทางด้านภาคเอกชน หรือภาคราชการ  3. ท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  จะทำงานเป็นทีมโดยมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว  ส่วนคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  จะทำงานในหน่วยงานราชการ  ซึ่งไม่เป็นทีมแต่จะใช้บุคลากรในองค์กรเป็นกลุ่ม ๆ ไป  โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยน้อย

ข้อ 2  ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ ความเป็นผู้นำของนักศึกษา รวมทั้งจุดดีและจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา    1.       ด้านบุคลิกลักษณะ  (Character) เป็นคนชอบเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เอาใจใส่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  มีน้ำใจ  มีคุณธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการที่ดี  ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น  ไม่ชอบเอาเปรียบใคร    2.       ด้านทักษะ  มุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้   ชอบได้รับการฝึกฝนอบรมและพัฒนาเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ  ชอบทำงานเป็นทีม   3.       จุดอ่อน  บางครั้งเป็นคนที่มีอารมณ์ร้อนและโมโหง่ายถ้าใครทำงานไม่ถูกใจและผิดอยู่บ่อย ๆ   บางครั้งเป็นคนที่ตัดสินใจอะไรที่รวดเร็วเกินไป  และค่อนข้างใจอ่อน  เชื่อคนง่าย   บางครั้งไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น   4.       สิ่งที่ต้องพัฒนาตัวเรา  คือ ฝึกการมีเหตุมีผลให้มากขึ้น  ทำใจให้เยือกเย็นพร้อมที่จะรับกับทุกสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ  รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และเปิดใจให้กว้าง  โดยหาข้อมูลในการตัดสินใจก่อนที่จะทำการสรุป

ดังนั้น  สรุปได้ว่า  คนเราต้องมีการพัฒนาตนเองและฝึกฝนใฝ่หาความรู้ อยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้

                               

 

 

นายชัยรัตน์ พัดทอง นักศึกษารปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

2พลังความคิดชีวิตและงาน
                ทั้งสองท่านคือบุคคลที่เรียกว่า ชายเก่งหญิงกล้า ที่เป็นแนวหน้าของสังคม ในด้านความเหมือนทั้งสองท่านมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนเพื่อให้ประเทศชาติมีการพัฒนาที่ยั่งยืน มิใช่พัฒนาแต่ด้านวัตถุ แต่ต้องเน้นการพัฒนาด้านปัญญาและจริยธรรมด้วย และมีพื้นฐานทางครอบครัวที่อบอุ่น มีการศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลาและศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวนำมาพัฒนาคนและตนอยู่เสมอ เป็นนักเรียนนอกที่ไปศึกษาวัฒนธรรมแนวคิดจากประเทศที่เจริญว่าเขาคิดอ่านประการใด แบบคำคมของซุนวูที่กล่าวไว้ว่า
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสังคมไทย ส่วนในเรื่องความแตกต่างนั้น อาจจะแตกต่างด้านเพศ วัยวุฒิ และประสบการณ์ ตัวกระผมมองว่า ท่านอาจารย์จีระจะได้เปรียบเพราะว่า มีประสบการณ์ในการพัฒนาคนที่เป็นวงจรที่กว้างกว่ากล่าวคือ ด้านเครือข่าย สายการศึกษา เพราะได้อบรมลูกศิษย์ลูกหาหลายสาขาอาชีพ สั่งสมความรู้ประสบการณ์ และกระโดดออกนอกกรอบมากกว่า แม้ในด้านทฤษฎีก็จะมีทฤษฎีที่ครอบคลุมและกว้างกว่า ในบางประเด็น ซึ่งจะเห็นได้จาก ทฤษฎีที่แตกต่าง ข้อที่ว่า Health และ Digital Capital จะเห็นได้ว่าคุณหญิงทิพาวดี จะให้ความสำคัญกับสุขภาพ แต่อาจารย์จีระจะเน้นไอที เพราะว่าในเรื่องสุขภาพนั้น อาจารย์จีระได้มองเห็น และรวบยอดไว้กับ ทุนมนุษย์แล้ว ซึ่งเห็นจากบทความในหนังสือตอนหนึ่งที่กล่าวว่า ถ้าคุณหญิงจะเพิ่มทฤษฎีเข้าไป อีกทฤษฎีหนึ่ง ก็คงเป็นทุนของ High Technology ซึ่งจะสอดคล้องกับของท่านอาจารย์จีระ นั่นแสดงถึงการครอบคลุมและรอบคอบในด้านความคิด อาจจะเป็นเพราะการเป็นผู้นำข้อหนึ่งตามหลัก 5 E’s  ของภาวะผู้นำ ที่เกี่ยวกับ ประสบการณ์ (Experience) และ การศึกษาอบรม (Education) จะพูดให้ตรงประเด็นก็คือ มีชั่วโมงบินที่มากว่า นั่นเอง..
-------------------------------------------------------------

                2. จุดเด่นจุดด้อย ของภาวะผู้นำ ตัวกระผมนั้นรู้ถึงความมีจุดเด่นจุดด้อยของตัวเองดังนี้

 จุดเด่น  

- เป็นคนที่กล้าตัดสินใจ มีความมั่นใจในตัวเอง

- เป็นคนเป็นกันเอง และเป็นมิตรกับทุกคน

- อดทนต่อสภาพกดดัน มีขันติ

- ยึดหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์

จุดด้อย

                - เป็นคนขาดความรอบคอบ อันเนื่องมาจากความมั่นใจในตัวเองเกินไป

                - ขาดแรงจูงใจที่จะทำอะไรให้สำเร็จ บางทีทำเพื่อให้ผ่านไป

                - บางทีมีมุมมองที่แคบ

                อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้หลังจากที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์ตัวกระผม ก็ได้มีมุมมองที่กว้างขึ้น และเกิดแรงจูงใจมากขึ้น ในอันที่จะพัฒนาตัวเองให้ดี และให้มีศักยภาพเพื่อที่จะเป็นบุคคลหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ประเทศชาติต่อไป ขอบคุณครับ

นายบุญชู ทองฝาก รปม.รุ่น 4 สาขาการปกครองท้องถิ่น

  จากที่ให้ชมวีดีทัศน์สนทนาระหว่าท่านอาจารย์ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  แล้วมาวิจารณ์ถึงความเหมือนและความแตดต่างของบุคคลทั้ง 2 ท่านว่าเป็นอย่างไร

  ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าผู้เขียนเองขอเขียนในเรื่องของความเหมือนก่อนซึ่งเป็นลักษณะที่จะเห็นได้ชัดเจนจากการได้ฟังท่านสนทนากันซึ่งเป็นความเหมือนที่อยู่บนความแตกต่างกัน ที่ว่าแตกต่างนั้นก็คือท่านมีความแตกต่างกันทางด้านเพศนั่นเองคือท่านอาจารย์ดร.จิระ เป็นผู้ชาย คุณหญิงทิพาวดี เป็นผูหญิงนั่นเอง

  ส่วนความเหมือนที่ว่านั้นก็คือบุคคลทั้งสองเกิดในครอบครัวที่พ่อแม่มีความรักและความเอาใจใส่ทั้งคู่มีการอบรมสั่งสอนให้ท่านเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ กตัญญู กล้าแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาเป็นคนที่ไม่อ้อมค้อมมีความรู้สึกอย่างไรก็แสดงออกไปอย่างจริงจังจริงใจ เป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลาหรือจะเรียกได้ว่าใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตก็ว่าได้ เป็นอาจารย์ผู้ที่สมควรเป็นแบบอย่างที่มีต่อสังคม เห็นสิ่งใดดีก็ชมว่าดี สิ่งใดที่ไม่ดีก็บอกว่าไม่ดีไม่เป็นบุคคลที่หน้าไหว้หลังหลอก คือ กล้าวิจารณ์แบบตรงไปตรงมาไม่ได้ชมคนอื่นเพื่อเอาตัวรอด

  อาจารย์ ดร.จิระ และ คุณหญิงทิพาวดี ทั้งสองท่านนี้น่าที่จะได้เป็นครูอาจารย์ที่สอนลูกศิษย์ให้มากกว่านี้เพราะสังคมไทยเราจะได้ดีขึ้นเนื่องจากว่าท่านเป็นแบบอย่างที่ดีหรือแม่พิมพ์ที่ดีนั่นเอง ไม่ต้องตามท่านถึงร้อยเปอร์เซนต์ แค่ปฎิบัติแบบอย่างท่านสัก ห้าสิบเปอร์เซนต์ สังคมก็อยู่ดีมีสุขแล้ว

  ส่วนข้อแตกต่างอื่นๆนั้นผู้เขียนไม่กล้าวิจารณ์เนื่องจากไม่ได้สัมผัสเป็นการส่วนตัวกับคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ เพียงแต่ได้พบทางวีดีทัศน์จึงไม่กล้าวิจารณ์ใดๆลงไปอันเป็นการนั่งเขียนหนังสืออันจะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ผิดวิสัยเกินไป

  ส่วนในเรื่องทักษะและบุคลิก ลักษณะของข้าพเจ้านั้นข้าพเจ้าเป็นคนทำงานไม่ชอบการประจบสอพลอเห็นสิ่งใดถูกผิดก็จะว่าไปตามตรงไม่ชอบให้ใครคอยมาเอาใจและเกลียดการเอาเปรียบคนอื่นอย่างมากๆในเรื่องของจิตใจก็มีคนเคยมาบอกว่าข้าพเจ้าเป็นคนใจร้อน ซึ่งก็อาจเป็นบ้างเพราะเป็นคนที่ชอบตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ชอบการศึกษาหาความรู้ตลอดเวลาและรักการอ่านเสมอ

 

นายโสภณ สังข์แป้น รหัส 50038010007 รปม.4

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          การวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมถ์ กับคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ หลังจากที่ได้ชมวีดิทัศน์การสนทนาที่อาจารย์นำมาให้ชมแล้ว มีข้อวิเคราะห์ ดังนี้

            จากการได้อ่านหนังสือและชมเทปรายการสองพลังความคิดชีวิตและงานของท่านอาจารย์ทั้งสองยากที่จะวิจารณ์เพราะบทสรุปแนวความคิดของท่านทั้งสองมีประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยาการมนุษย์ของเมืองไทยเป็นอย่างมาก  ประสบการณ์ของท่านทั้งสองอาจแตกต่างกันเพราะอยู่คนละมุมของหน้าที่ภาระการงาน

ท่านอาจารย์จีระฯ มีประสบการณ์เคยทำงานในภาคราชการและภาคเอกชนความหลากหลายของท่าล้นเหลือในเชิงวิชาการ  ท่านอาจารย์เป็นผู้นำแบบ “TRUST” เพราะมีผลงานต่อเนื่องเป็นศาสตราจารย์ทางด้านการบริหารด้าทรัพยากรมนุษย์หรือผู้รู้จริงสามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ  ท่านเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา

เหมือนว่าจะแข่งกับโลกที่ไม่เคยหยุดหมุน ทฤษฎีทุน 8 ประเภทของท่าน “ 8K’S ”  ครอบคลุมครบถ้วนของการจะพัฒนาทรัพยากรมนุษ์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

                ท่านอาจารย์คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ ท่านมีประสบการณ์การดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่างของสังคมไทย ความรู้เริ่มต้นที่บ้านความรักความอบอุ่นของคนภายในครบครัว  เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างคนดีในสังคม  ท่านมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาทฤษฎี “ 8H’S ” ของท่านสามารถอธิบายความหมายและความสำคัญได้อย่างลึกซึ้ง มีความเหมือนที่แตกต่างกับทฤษฎี “ 8K’S ” ของท่านอาจาร์จีระ  ท่านอาจารย์คุณหญิงทิพาวดีมีลักษณะผู้นำแบบ Authority คือมีความรู้ความสามารถมีตำแหน่งทางกฎหมาย ท่านมีความมั่นใจมีความคิดเป็นของตนเองไม่แพ้ผู้ชายอกสามศอก  ท่านสอนให้รู้ว่าความสำเรจจะเกิดขึ้นได้ตัวเราเองต้องรู้จักหน้าที่ที่ทำ  ทำอะไรก็ต้องตั้งใจทำ ต้องมีเป้าหมายของอาชีพ จึงจะประสบความสำเร็จ

โดยสรุปแนวความคิดของท่านอาจารย์ทั้งสองต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

1.คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา

2.การเป็นคนดีมีคุณภาพเริ่มต้นที่ความรักความอบอุนของครอบครัว

3.สังคมแห่งการเรียนรู้เริ่มต้นจากการคิด การฝัน ความมั่นใจและทำบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้เต็มความสามารถ

4.ต้องมีความมั่นใจภูมิใจรักต่ออาชีพและรู้กติกาของสังคม

                ข้อที่ 2 Character และทักษะ ( Skill ) ที่มีอยู่และยังต้องหามาเติมเต็มในตัวของข้าพเจ้า

Character  ส่วนตัวไม่เชื่ออะไรง่ายๆโดยที่ยังไม่มีการพิสูจน์หาความจริงให้ปรากฏ และเชื่อว่าสังคมจะดีได้เริ่มต้นที่ตัวเราก่อน ครอบครัวและต่อยอดไปสู่คนอื่น

 

ทักษะ(skill) ชอบคิดงานใหม่ๆชอบนอกกรอบเดิมๆที่ช้าล้าสมัย กล้านำเสนอความคิด ยอมรับการเปรี่ยนแปลง มีความรู้และเป็นนายช่างที่ดีของกรมทางหลวง

 สิ่งที่ต้องแก้ไขโดยด่วน (นิสัยเดิม)ส่งงานของอาจารย์ช้ากว่าคนอื่น

วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จีระ กับคุณหญิงทิพาวดี

ความเหมือน  1.ทั้งสองท่านมีพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่อบอุ่นมีพร้อมทุกอย่าง และพัฒนาพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา  รักในการเรียนรู้   

                  2.  เป็นผู้นำทางด้านทรัพยากรมนุษย์ คือทั้งสองท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนา "คน"  ซึ่งถือว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับคน จะเน้นทฤษฏี ๘ H's โดยคุณหญิงทิพาวดี และทฤษฏี ๘ K's ของ ศ.ดร.จีระ  ซึ่งประกอบไปด้วย

ทุนรากฐานของชีวิต (Heritage)  เพราะทุนมรดกวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมให้ถูกต้อง ซึ่งไปตรงกับทฤษฏีทุนแห่งความยั่งยืน 

ทุนสมอง (Head) การมีความคิด มีความรู้และต้องมีสติเพราะคนเราทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองซึ่งตรงกับทฤษฎีทุนทางปัญญา

ทุนมืออาชีพ (Hand) ความเป็นมืออาชีพนั้น เป็นความสามารถในงานที่เราทำได้ในทุกๆอาชีพ 

ทุนเป็นคนจิตใจที่ดี (Heart)  เป็นทุนที่มีทัศนคติในเชิงบวก คือมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งตรงกับทฤษฎีทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมของ ศ.ดร.จีระ 

ทุนสุขภาพ (Health) ตรงกับทฤษฎี ๘ K's  คือทุนพื้นฐานทางสุขภาพที่ดี  คนเรานั้นถือว่าสุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

ทุนบ้านและครอบครัว (Home) การที่คนเรามีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทุนมนุษย์ เพราะทุนมนุษย์ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียน 

ทุนการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข (Happiness)  โดยการแบ่งปันเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ทุกคนมีความสุข และสอดคล้องกับทฤษฎี ๘ K's คือทุนแห่งความสุข 

ทุนความปรองดอง สมานฉันท์ (Harmony)  คือทุุกคนทุกระดับใช้หลักสัปปุริสธรรม คือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชมชน สอดคล้องกับทฤษฎี ๘ K's  คือทุนทางสังคม

จากทฤษฎีดังกล่าวสามาราถนำไปปรับใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตทุกๆวัน เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศ

ความเหมือนที่แตกต่าง  ศ.ดร.จีระ จะเน้นความสำคัญของทุนทางเทคโนโลยีเพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลก  ท่านจะมีทีมงานที่เข้มแข็งในการบรรยายให้ความรู้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน  ส่วนคุณหญิงทิพาวดียังขาดทีมงานและการสื่อสารด้านเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาบุคลากรในองค์กรเฉพาะกลุ่มที่ท่านดูแลและรับผิดชอบ

        ข้อที่ 2 ลักษะเด่น และจุดอ่นที่ต้องพัฒนา 

     
   จุดเด่น  1.  ยึดหลักคุณธรรม ซื่อสัตย์ 
              2.  เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา
              3.  ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่และต้องทำให้ดีที่สุด
              4.  ทำงานอย่างมีสมอง


      

   จุดอ่อน  1.ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ
               2.ในการทำงานยังมีข้อผิดพลาดอยู่บ้างและยังไม่มีความเป็นผู้นำเท่าที่ควร                                      

 

   

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028 รปม. รุ่น 4

ข้อ 1 จากการศึกษาหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงานเพื่อวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ผู้เขียนเห็นว่าทั้ง 2 ท่าน ได้ให้ความสำคัญกับ "คน" เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดองค์กรจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคน มิใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี ในที่นี้ผู้เขียนขอให้ความสำคัญกับการพัฒนาและบริหารคือผู้นำเพราะองค์กรต้องขับเคลื่อนด้วยผู้นำ ซึ่งทั้งท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์กับคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ส่วนความแตกต่างที่ผู้เขียนมองและถือเป็นจุดเด่นคือท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์มีการทำงานเป็นทีมส่วนคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จะทำงานอยู่ในวงราชการเสียเป็นส่วนใหญ๋

ข้อ 2 ให้บอกคุณลักษณะทักษะความเป็นผู้นำของตนเองรวมทั้งจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา 1 ด้านบุคลิกลักษณะ เป็นคนรักความยุติธรรม ไม่ชอบเอาเปรียบใคร อ่อนน้อมถ่อมตน สามารถควบคุมความหุนหันพลันแล่นและความรู้สึกเฉพาะหน้ารวมทั้งแรงกระตุ้นอารมณ์จากภายนอก 2 ด้านทักษะ มีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ไม่หยุดนิ่ง มีทิศทางทางความคิดเป็นของตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่ทำ 3 จุดอ่อน จริงจังกับงานบางอย่างที่ตนเองให้ความสำคัญมากเกินไปจนบางครั้งเกิดผลเสียหรือผลกระทบต่องานด้านอื่นๆ รวมถึงสุขภาพของตนเองด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท