15. จากเจนไนสู่ปูเน เมืองการศึกษาของรัฐมหารัชตะ


ปูเน/ปูนา เมืองที่คนไทยนิยมไปเรียนต่อ

จากเจนไนสู่ปูเน (Pune):

เมืองการศึกษาของรัฐมหารัชตะ

        ปูเนเป็นเมืองหนึ่งของอินเดียที่มีคนไทยจำนวนไม่น้อยสำเร็จการ

ศึกษาจากที่นี่ และกำลังศึกษาอยู่ที่นี่ด้วย      ปูเนเป็นอำเภอหนึ่งของรัฐ

มหารัชตะที่มีเมืองหลวงชื่อมุมไบหรือบอมเบย์ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตก

ของอินเดีย ปูเนเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของอินเดีย มีประชากรราว

4.5 ล้านคน และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐนี้ ปูเนตั้งอยู่ทาง

ทิศตะวันออกของมุมไบห่างจากมุมไบราว 150 กิโลเมตรและอยู่บน

ที่ราบสูงเดคแคน (Deccan)

            เมื่อมองลงมาจากเครื่องบิน จะเห็นว่าเครื่องบินผ่านที่ราบสูงที่มี

สีน้ำตาลเข้มเป็นแนวกว้างใหญ่มากคิดว่าคงเป็นที่ราบสูงเดคแคนนั่นเอง

ฉันได้ยินชื่อเมืองนี้มานานเพราะอาจารย์ฉันท่านหนึ่งสำเร็จการศึกษา

มาจากเมือง ปูนา (เมืองนี้เรียกได้สองอย่าง) ทำให้จำง่ายเพราะทำ

ให้คิดว่าเมืองนี้คงมีปูนาเยอะ (สมัยนั้นคิดตลกๆ เช่นนั้นจริงๆ) ไม่เคยคิด

เลยว่าวันหนึ่งฉันจะมีโอกาสได้มาเมืองนี้เพื่อเข้าประชุมนานาชาติ    

ฉันใช้บริการเครื่องบินต้นทุนต่ำของอินเดียที่มีหลายสายการบิน แต่เพื่อน

ช่วยซื้อตั๋ว Spicejet ให้ใช้บริการแล้วไม่ผิดหวังไป-กลับเจนไน-ปูเน-เจนไน

ราวหกพันบาทเศษ แพงเหมือนกันเพราะเราซื้อตั๋วกระชั้น ไม่มีเวลาเตรียม

การล่วงหน้านานนัก ก่อนออกจากบ้าน คุณ K และ Dr. V สามีภรรยาขี่รถ

คู่ชีพมาส่งฉันที่บ้าน ฉันก็ย้ำคุณ K ว่าช่วยเชิญเพื่อนๆ ทุกคนให้มาทาน

อาหารเย็นร่วมกันวันที่ 28 พ.ย. วันที่ฉันกลับจากปูเน ให้แกหาร้านด้วย

เพราะฉันไม่มีข้อมูลใดๆ เสร็จแล้วลากัน พี่สาวนั่งแท็กซีไปส่งที่สนามบิน

ด้วย ความที่แกเป็นห่วงหรืออย่างไรไม่ทราบว่าฉันอยู่ในความดูแลของแกๆ

ไม่ยอมให้ไปคนเดียว เราออกเช้ารถไม่ติดเป็นวันอาทิตย์ด้วย มาถึง

ล่วงหน้ากว่าสองชั่วโมง รถวิ่งราวครึ่งชั่วโมง ค่าแท็กซีจากบ้านมา

สนามบินเที่ยวเดียวสองร้อยรูปี ก็แพงเหมือนกัน แกไม่ยอมให้ฉัน

จ่ายเงินอีก แกจะพาฉันไปหาร้านกินอาหารเช้า ฉันบอกไม่เป็นไร

เดี๋ยวไปหาซื้อข้างในได้ ข้างนอกไม่มีที่นั่งรอ สนามบินอินเดีย

ทุกแห่งไม่ให้ผู้โดยสารเข้าไปในอาคารเลย ดังนั้นจึงต้องลากัน

ที่ประตู ฉันไหว้ขอบคุณ จับมือและหอมแก้มแก รู้สึกขอบคุณ

จริงๆ ในความเอื้ออาทรของพี่สาวคนนี้ ถามแกว่าแกจะกลับอย่างไร

แกบอกขึ้นรถไฟกลับ โถ! อุตส่าห์เสียเงินให้เรา แต่ตัวเองกลับประหยัด

นั่งรถไฟกลับบ้าน นี่แหละน้ำใจชาวเจนไน

            ฉันผ่านเจ้าหน้าที่ แสดงตั๋วและพาสปอร์ตเข็นกระเป๋าใบเดียวเข้าไป

 ดุ่ยๆ ไปหาเคาน์เตอร์ Spicejet เห็นแล้วสีแดงๆ แต่เป็นเวลาที่กำลัง

 check in ไปเมืองอื่น ไม่ใช่ปูเน เตร่ๆ ไปอีกเห็นริมสุดก็มีเคาน์เตอร์เล็กๆ

 เหมือนตามห้างที่แจกสินค้าให้ชิม ติดป้ายว่า Spicejet ฉันไปเข้าคิว

สักพักเห็นผู้โดยสารคนหนึ่งที่กระเป๋าเขาติดสติกเกอร์ของ Spicejet

ฉันก็เหลียวไปเหลียวมา ถามผู้โดยสารคนหนึ่งว่าต้องตรวจกระเป๋าผ่าน

X-ray ก่อนหรือ เขาบอกใช่ ฉันก็ต้องออกจากแถวไปเข้าคิวเพื่อตรวจ

กระเป๋า คือการเรียงอุปกรณ์ไม่เป็นไปตามลำดับที่เดินเข้ามา ถ้าไม่

ถามจะไม่ทราบเลยว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง พอตรวจกระเป๋าของ

Spicejet โดยเฉพาะเขาจะติด sticker ที่กุญแจกระเป๋าว่าผ่านการตรวจ

แล้ว จากนั้นก็มาเข้าแถวใหม่ รอจนถึงคิวปรากฏว่าเจ้าหน้าที่บอกให้

ไปเคาน์เตอร์อีกที่ (ที่เห็นตอนแรก) ฉันก็ต้องเดินหาตามเลขที่เขาบอก

เสร็จแล้ว check in ไม่มีอะไร เขาให้ตั๋วพร้อมที่นั่งมาเลย (ต่างจาก

สายการบินต้นทุนต่ำบางสายที่บินในบ้านเราดูเหมือนรถเมล์

ต่างจังหวัดยังไงไม่ทราบ ไม่ระบุที่นั่งแย่งกันขึ้นไปหาที่นั่งตามความเร็ว

และตามใจผู้โดยสาร) กระเป๋าทุกใบต้องแขวนป้าย (tag) ของ

สายการบินที่บริการในถาดวางไว้ที่เคาน์เตอร์ทุกครั้งด้วย เสร็จแล้ว

ฉันก็ออกไปรอที่ gate ตั๋วไม่บอก gate ก็ถามๆ เขาๆ ก็ชี้ๆ ไป

ตรวจกระเป๋าที่สะพายไปผ่านเครื่อง Xray ผู้หญิงแยกไปทางหนึ่ง

ผู้ชายแยกไปอีกทาง เขามีม่านกั้นเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด

เจ้าหน้าที่ผู้หญิงตรวจผู้หญิง กระเป๋าที่ผ่านการตรวจ Xray จะได้รับ

การstamp บนป้าย (tag) ของสายการบินที่ผูกมาตั้งแต่ check in แล้ว

ตรงนี้ต้องเตือนๆ กันให้ทำอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้น ท่านจะไม่ได้รับ

อนุญาตให้ขึ้นเครื่องเลยต้องไปเริ่มต้นมาใหม่ซึ่งไม่รู้ว่าจะทัน

เครื่องออกหรือเปล่า ผู้โดยสารชาวไทยจะไม่คุ้นเคยกับ

เรื่องถี่ถ้วนพวกนี้เพราะเราไม่มีการทำเช่นนี้ที่สนามบิน  เจ้าหน้าที่

ตรวจตามร่างกายเสร็จจะ stamp บัตรโดยสารให้ด้วย จนไปถึงห้องรอ

โอโห! คนเยอะจริงๆ ห้องแคบไปเลย เสื้อกันหนาวที่ใส่มาด้วย

ต้องถอดออกเพราะร้อน ฉันเดินไปหาซื้อเค้กกล้วยหอม 2 ชิ้น

(ตุนไว้กินกลางวันบนเครื่องและเผื่อมื้ออื่น) กลับมาอีกร้านหนึ่งเพื่อ

ซื้อน้ำปรากฏว่าน้ำแร่ขวดใหญ่ 200 รูปี (พระเจ้า) ก็เลยส่ายหน้าบอก

ไม่เอา (เชิญขึ้นไว้บนหิ้งของคุณตามเดิมเถอะ) หาซื้อน้ำไม่ได้ รู้สึก

คอแห้งมาก ทนเอา ยืนแกร่วรอ ดูผู้คนเดินไปมา ฉันอยู่ไม่ห่างหน้าจอ

ที่แจ้งเรื่องสายการบิน เวลา และ gate และด้วยความที่ไม่ได้เปลี่ยนเวลานาฬิกา

ให้เป็นเวลาอินเดีย (ต่างกัน 1ชั่วโมงครึ่ง) ทำให้ฉันต้องบวกลบว่าอีกนานเท่าไร

จะถึงเวลาเดินทางของฉัน อ้อ! โชคดีมีคนลุกไปใกล้ๆ ที่ฉันยืนจึงได้

ที่นั่งใกล้ๆ นั้นเลยได้พักขา พอนั่งลงผู้ชายที่นั่งข้างๆ ก็ชวนคุยว่าไปไหน

มาจากไหน... แกก็ดูเป็นมิตร เคยมาเมืองไทยแล้ว แกเป็นนักธุรกิจเพิ่งกลับ

จากจีนจะบินกลับมุมไบแต่เครื่องออกช้าหรือมาช้าไปหน่อยจึงรอนาน

กว่าฉัน เราคุยกันสักพักฉันได้ยินประกาศปูเนๆ จึงขอตัวลาและลุก

ไปเข้าแถวเพื่อรอตรวจ เจ้าหน้าที่ตรวจบัตรโดยสาร ผ่านให้ไปขึ้นรถ

เพื่อไปขึ้นเครื่อง ก่อนขึ้นเครื่อง เจ้าหน้าที่ยืนตรวจที่เชิงบันไดเครื่องบิน

อีกดูว่ามี stamp ที่ tag ของกระเป๋าไหม ดูตั๋วเพื่อฉีก boarding pass 

แล้วให้ขึ้นเครื่อง ถ้าไม่มี stamp ก็เชิญกลับไปตั้งต้นใหม่อีกกระมัง

ดูเหมือนเป็นความละเอียดที่น่ารำคาญ แต่เป็นความรอบคอบและ

สร้างความมั่นใจให้ผู้โดยสารรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ฉันว่าสนามบิน

ที่อินเดียเข้มงวดกว่าสนามบินเมืองไทยเยอะ พึงตั้งอยู่ในความ

ไม่ประมาทจะปลอดภัย ฉันได้ที่นั่งแถวที่ห้า ด้านใน เครื่องใหม่มากสะอาด

ใหม่กว่าสายการบินต้นทุนต่ำของบ้านเรามากๆ  ไม่ผิดหวัง พอได้เวลา

เครื่องออก ประตูปิดไม่ได้ เอ้า!ไหนว่าใหม่ไง! ใจเย็นๆ ค่ะ แอร์อาจจะ

ไม่มีแรงก็ได้ (คิดเชิงบวก) พวกเจ้าหน้าที่ชายต้องเลื่อนบันได

ที่ใช้ขึ้นลงเข้ามาช่วยแอร์โฮสเตสให้ปิดประตู สุดท้ายปิดได้

เสียเวลาไปนิดหน่อย  บินไปสักพัก แอร์เดินแจกท้อฟฟี  สักพักเริ่ม

เข็นรถขายของ ฉันซื้อน้ำขวดเล็กได้ถั่วอีกหนึ่งถุง แกมบังคับแถมเพื่อให้

ราคาถึง 50 รูปี คู่สามีภรรยาที่นั่งกับฉันก็ซื้อน้ำ ภรรยาแบ่งมะม่วง-

หิมพานต์ให้ฉันทานด้วย ฉันปฏิเสธแกก็คะยั้นคะยอจึงรับมาหนึ่งเม็ด

และขอบคุณ ฉันชวนแกทานเค้กที่ฉันซื้อมาเพื่อตอบแทนน้ำใจแกๆ ไม่ทาน

เราคุยกันบ้าง เงียบงีบบ้าง ข้างนอกแดดจัด อากาศดีเ
หมายเลขบันทึก: 162799เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2008 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์โสภนาครับ

ขอบคุณครับ ทำให้ผมพลอยได้ไปเที่ยวด้วย อยู่อินเดียประเทศนี้กว้างใหญ่มาก คิดจะไปไหนที พอดูระยะทางแล้ว อึ้งไปเลยครับเพราะไกลกันมาก ด้วยสภาพการคมนาคมที่ยังมีให้เลือกไม่มาก ทำให้ลำบากพอสมควรที่จะไปตามที่ต่างๆ อย่างอิสระ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท