R2R: เก็บงานประจำให้เป็นงานวิจัย


Routine to Research ทบทวนการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย

วันนี้..ฉันได้รับเชิญจากน้องจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)

ให้ไปร่วมประชุมเพื่อระดมสมอง เพื่อถอดบทเรียนแนวคิดจากประสบการณ์เกี่ยวกับ R2R ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551

ที่สถาบัน สวรส จัด...เพื่อสนับสนุนให้มีการแลกเปลียนเรียนรู้ประสบการณ์ R2R ของคนแวดวงสาธารณสุข ให้เห็นคุณค่าของงานประจำที่ทำอยู่ทุกวี่ทุกวัน และส่งเสริมให้มีนักวิจัยหน้าใหม่เกิดขึ้นด้วย

เราเริ่มมาทบทวนตัวเองว่า เอ!! เรามีอะไรอยู่ในตัวเราบ้าง  ที่จะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้

จุดเริ่มต้นของ R2R

ตั้งแต่ ปี 2547  เรามีโครงการ R2R ที่คณะกรรมการพัฒนางานวิจัยจัดขึ้น หัวหน้าพยาบาลของเราสนับสนุนให้นำเรื่องที่ทำมาแลกเปลี่ยนกัน

ตอนหลัง...ดิฉันเคยมีโอกาสไปเป็นวิทยากร R2R หลายครั้ง ทั้งในโรงพยาบาลตัวเองและนอกโรงพยาบาล

ในปี พ.ศ. 2548...  เรื่อง การประยุกต์แนวคิด Routine to research สู่การปฏิบัติ ให้กับแกนนำการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลทั่วประเทศ  ณ. โรงแรมมารวย กรุงเทพฯ

ตอนนั้นอาจเป็นเพราะ...เราทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย โดยเฉพาะการพัฒนา...การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด เพราะตอนแรก..เรามีแผนให้ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด เพราะผู้ป่วยกังวลมากเวลามารับยาเคมี อารมณ์ไม่ดี อยากกลับบ้าน เราก็คิดว่าถ้าเรามีการเตรียมความพร้อมให้เขาน่าจะดี  เราก็วางแผนการให้ข้อมูล  พอทำไปสักพัก  เราก็ต้องพิสูจน์การเตรียมพร้อมผู้ป่วยดีจริงไหม  ด้วยการทำวิจัยว่า จนรู้ว่า...วิธีการเตรียมผู้ป่วยที่เราถูกต้อง ใช้ได้

เมื่อได้ผลการวิจัย.... เราก็นำผลวิจัยมาใช้   โดยการจัดทำเป็นโครงการพัฒนาระบบการให้ข้อมูลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด 
หน่วย RU ของคณะแพทยศาสตร์   ได้นำคู่มือฯ  ที่ได้จากการทำวิจัยไปเผยแพร่ต่อ ไปทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ต่อมา....เราก็ทำงานประจำอื่นๆ  ให้เป็นงานวิจัย ดูผลงานได้ที่นี่ค่ะ   และนำผลวิจัยมาใช้สลับกันไป
ตอนนี้....เราก็กำลังทำวิจัยเรื่อง   การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด เพราะนโยบายของหน่วยงาน   อยากให้นำการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมาใช้  ผู้ป่วยจะได้ดูแลตนเองที่บ้านได้ต่อเนื่อง
การจะทำงานประจำให้ได้ เราก็ต้องวางแผนการทำงาน โดยวิจัยไปด้วย    แผนการจำหน่ายที่จัดใช้โปรแกรมนี้จะดีไหม เราก็ต้องวิจัยไปด้วยเลย ขอทุนทำวิจัยจากคณะแพทย์ มข ได้ เราทำมา 1 ปี  เสร็จเรียบร้อยแล้ว กำลังเขียนรายงานวิจัยค่ะ
ตอนหลังมามี...การทบทวนงานวิจัยหลายๆเรื่อง  มาประกอบในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล   โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based muring practice) เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice)
อะไร..ที่ทำให้เราเดินทางมาได้ในวันนี้
เมื่อเราทำงานประจำให้เป็นงานวิจัยแล้ว  เราก็มีโอกาสหลายอย่าง จากการที่คณะแพทยศาสตร์ มอบให้ทั้ง
ทั้งจัดอบรมให้   ให้ทุนในการทำวิจัย  มีหน่วยระบาดคอยดูแลเรื่องการวิเคราะข้อมูล มีห้องสมุดที่มีหนังสือมากมาย  มี Website ที่เราสามารถหาข้อมูลได้ง่าย  มีผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนที่โรงพยาบาลต่างๆส่งต่อมาให้ รพ ดูแลรักษา
ทำวิจัยเสร็จ ยังมีสอนให้เราเขียนรายงานการวิจัย มีพี่เลี้ยงคอยแนะนำ นอกจากนี้ เรายังสามารถขอทุนไปนำเสนอทั้งในและต่างประเทศได้ 
จากการที่เราได้รับการดูแลจาก....พี่ๆที่เก่งแล้ว มีปัจจัยที่เอื้อให้เราทำวิจัยได้  มาถึงวันนี้เราก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ เราก็หาทีมคอยดูแลน้องๆต่อไป ให้เขาเติบโตได้เช่นกัน
ในตอนหลังดิฉันได้มีโอกาส    เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนางานวิจัย ของฝ่ายการพยาบาล รพ ศรีนครินทร์ มข
คลุกคลีกับวงการวิจัยมาหลายปี เรารู้สึกว่าทำงานไปได้พอสมควร เพราะเรามีน้องพยาบาลในทีมเราเก่งและดี ตั้งใจทำงาน ทำงานให้อย่างรวดเร็ว
ต่อมา...ทีมเรามีโอกาส  พิจารณาโครงร่างงานวิจัย  เพื่อพิจารณาให้ทุน Invitation Research ของบุคลากรพยาบาล
นอกจากนี้  เราก็มีโอกาสเป็นคณะกรรมการพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัย (R2R) ของคณะแพทยศาสตร์ มข มาประมาณ 3 ปี
มีโอกาสเรียนรู้จากอาจารย์แพทย์  ทั้งการวิเคราะห์เจาะลึกงานวิจัยที่มีฐานมาจากงานประจำ  ที่ทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ประกอบด้วย แพทย์  พยาบาล เภสัชฯ  โภชนาการ ขอทุนมา  จากการทำงานตรงนี้ ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น
หลายโรงพยาบาล เคยเชิญทีมเรา จาก รพ ศรีนครินทร์ไปสอน R2R ให้
R2R จากการทำงานประจำ...จนเป็นงานวิจัย  จากงานวิจัย...นำไปใช้ในการปฏิบัติ
R2R.....เป็นเรื่องเดียว...ที่ดิฉันไม่เคยเขียนลงใน blog
แต่มาวันนี้....เป็นโอกาสได้ทบทวนตัวเองสักครั้ง
 

 

หมายเลขบันทึก: 162761เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2008 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ต้องรีบเข้ามาอ่านเลยแหละบันทึกแบบนี้เพราะสนใจมากๆ และที่ทำลิ้งไว้ให้ก็ตามอ่านและบันทึกไว้แล้วเป็นการส่วนตัว

ขอบคุณและคิดถึงครับ

  • อ่านแล้วรู้สึกว่ากระทรวงสาธารณสุข.....นี่เขาขยันกันจริงๆนะ
  • ผมอยู่กระทรวงศึกษา......ก็มีภารกิจวุ่นวาย...พอๆกัน
  • พวกเราล้วนมีหน้าที่....พัฒนาคุณภาพของประชาชน...เนอะๆ

P

สวัสดีค่ะอาจารย์นง

ขอบคุณค่ะ   ที่ติดตามอ่านและเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

ยังระลึกถึงอาจารย์เช่นกันค่ะ

P

การพัฒนาการบริการ เป็นงานของเรา

เราพยายามทำงานทุกอย่างให้ง่ายค่ะ

โดยเฉพาะงานประจำ....ที่ทำอยู่ให้เป็นงานวิจัย เพื่อให้ประชาชนที่มารับบริการได้รับการดูแลให้ดีที่สุดค่ะ

ขอบคุณอาจารย์พิสูจน์ที่มาเยี่ยมชมค่ะ

  • สวัสดีค่ะ...พี่อุบล
  • แวะตามมาขอบคุณค่ะพี่
  • สบายดีนะค่ะ
  • โรคมะเร็งนี่ร้ายกาจจริง ๆ นะค่ะ
  • เห็นแล้วน่ากลัวจริง ๆ
  • ขอบคุณค่ะ...สำหรับสาระดี ๆ

P

สวัสดีค่ะน้องอ้อย

ตัวไกลกัน แต่เพราะ G2K ทำให้เราคุยกันได้ง่าย

เพราะสังคม ลปรร ใน blog นี้ ทำให้เราเรียนรู้ในเรื่องงานได้ด้วยค่ะ

โรคมะเร็งร้ายก็จริง แต่เราสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่กับเขาได้

สบายดีนะคะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ...พี่แก้ว..

...

มาอีกรอบค่ะพี่แก้ว...มาเพื่อ "ชื่นชม"

ตกลงพี่แก้วไปร่วมด้วยหรือเปล่าคะ...

(^____^) 

 

P

สวัสดีค่ะน้อง ดร กระปุ๋ม

ขอบคุณค่ะ

พี่คอยชื่นชมน้องกระปุ๋มเสมอ ทั้งวิถีการดำรงชีวิต การทำงาน

การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย  ทำเรื่องง่ายๆ  ให้ง่ายยิ่งๆขึ้น

คิดว่า ถ้ามีคนอย่างนี้มาเป็นแกน น่าจะทำให้ R2R ไม่ยากอีกต่อไป

น่าจะได้พบกันค่ะ เพราะพี่มีธุระจะต้องไป กทม พอดีค่ะ

สวัสดีตอนเช้าค่ะ พี่อุบลและน้องกะปุ๋ม

ขอบคุณพี่อุบลมากๆเลยค่ะ ที่กรุณาเขียนองค์ความรู้ R2R ให้ใน blog นี้ ของบางอย่างเป็น Tacit knowledge อยู่ในตัว ถ้าไม่เขียนออกมา คนอื่นก็ไม่รู้ แต่ทำตามแบบอย่างไม่ได้ ขอชื่นชมผลงานร่วมด้วยอีกคนนะคะ ทุกวันนี้เราต้องพยายามทำงานให้ไม่เครียด เพราะความเครียดเป็นตัวก่อการร้ายทำให้เกิดโรคมะเร็ง ในร่างกายเราอาจมี initiator อยู่แล้ว หากความเครียดเป็น promotor เราก็จะเป็นมะเร็งเร็วยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องส่งเสริม NK cell ในร่างกายของเราให้ทำหน้าที่ surveillance เป็นยามคอยจับตาด้วยการเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับการทำงาน เพราะชีวิต ณ ปัจจุบันนี้อยู่กับการทำงานมากกว่า 10 ชม./วัน

แต้มส่งเอกสารแนวคำถามให้ทุกท่านที่จะมาประชุมที่สวรส.ในวันพุธนี้แล้วนะคะ ตัองขอบคุณน้องกะปุ๋มอีกครั้งที่กรุณาเป็น Facilitator ให้ค่ะ

แล้วเจอกันวันที่ 6 นี้นะคะ

 

สวัีสดีค่ะอาจารย์

- แวะมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะอาจารย์

 

สวัสดีค่ะ jaruayporn-R2R

พี่ทำงานประจำมาทำเป็นงานวิจัย ตั้งแต่ยังไม่รู้ว่าเขามี R2R เพราะสมัยก่อน คำนี้ยังไม่ค่อยพูดกัน

แต่เพราะเวลาทำงาน เราเกิดคำถามในใจ แล้วเราก็ต้องพยายามหาคำตอบ โดยศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่มี  ถามผู้รู้ แล้วลองมาวางแผนการทำงาน พิสูจน์ด้วยการทำวิจัย

เมื่อได้ผลวิจัย แล้วเราก็ต้องนำผลไปลองปฏิบัติดู ถ้าทำได้ดีเราก็นำไปใช้ในการทำงานจริง ระหว่างทำก็พยายามพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆเป็น CQI

การทำวิจัยในที่ทำงานไม่ยาก เพราะเรามีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยของเรา แต่ต้องบริหารจัดการให้ดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่มาทักทาย

การเก็บข้อมูลในที่ทำงานก็ไม่ยาก เพราะเรามีทีมวิจัย ช่วยกันทำ 

P

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมกันประจำ

ถ้ากลับจาก ลปรร แล้วจะมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ

เข้ามาให้กำลังใจค่ะ เป็นพยาบาลเหมือนกันแต่ห่างคลินิกไปหน่อย เพราะมีภารกิจด้านบริหารการศึกษามากกว่า

P

ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มอบให้ค่ะ

ปาริชาต คเชนทร์ชาติ

ชื่นชมผลงานของพี่แก้วมากค่ะ ตอนนี้กำลังคิดจะทำ R2R เลยเข้ามาดูเผื่อจะได้มีidea จากจิ๋วโคราช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี