ทีมพัทลุงเตรียมลงพื้นที่(โครงการวิจัยนำร่องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมเชิงพื้นที่)


หารือเตรียมงานทีมวิจัยจังหวัดพัทลุง

 

วันที่ 30 มกราคม 2551 ณ ห้องประชุมพมจ.พัทลุง

  

รายชื่อผู้เข้าร่วม

 

นายไพโรจน์ ราชเทพ

ประธานคณะกรรมการ
น.ส.ศรอนงค์ สงสมพันธ์ เลขานุการเหล่ากาชาดจังหวัดพัทลุง
นางจิระพา หนูชัย สวท.สตูล
เบญจวรรณ เพ็งหนู สมาคมรักษ์ทะเลไทย
นายสอ เสมือนใจ นักพัฒนา อ.บางแก้ว
นายเพียร หนูลาย นักพัฒนา ต.ทะเลน้อย
น.ส.ธิดา คงอาสา นักพัฒนา อ.บางแก้ว
นางอุบล ทองสลับล้วน นักพัฒนาสังคม สำนักงานพมจ.พัทลุง
นายวินิจ เจ้าพนักงาน สำนักงานพมจ.พัทลุง
นางวนิดา พงษ์เพชร เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ สำนักงานพมจ.พัทลุง
น.ส.อุบล สิริวัฒนา เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักงานพมจ.พัทลุง
นางนิศาชล เชน  
นายเทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้ประสานงานวิจัย
น.ส.โสรยา คงแก้ว ผู้ช่วยประสานงานวิจัย
น.ส.รัชนี สุขศรีวรรณ ผู้ช่วยประสานงานวิจัย ม.วลัยลักษณ์

 1.พิจารณาเรื่องทีมวิจัย 12 คน  จากครั้งก่อนได้คัดเลือกทีมวิจัยได้จำนวน 12 คน แต่เนื่องจาก คุณคล่องพล และคุณสารภี ไม่สะดวกในการลงพื้นที่  การทำงานต้องเน้นขบวนด้วย  และควรเอาพื้นที่เป็นที่ตั้ง  ที่ประชุมจึงเสนอนักวิจัยใหม่แทน 2 คนคือ  ผู้ใหญ่วิรุฬ  และผู้ใหญ่สมชาย หนูแป้น และเมื่อคัดสรรนักวิจัยและเลือกพื้นที่รับผิดชอบได้ดังนี้

1.        บางแก้ว-   ธิดา  คงอาสา ,  อ.สอ  เสมือนใจ

2.        กงหรา- ไพโรจน์ ราชเทพ , สมชาย  หนูแป้น

3.        ศรีนครินทร์- ไพโรจน์ ราชเทพ , สมชาย  หนูแป้น

4.        ป่าพะยอม -  เพียร หนูลาย ,  ผญ.วิรุฬ  ปลัดศรอนงค์

5.        ควนขนุน เพียร หนูลาย,  ผญ.วิรุฬ ปลัดศรอนงค์

6.        ศรีบรรพต -  เพียร  หนูลาย , ผญ.วิรุฬ ปลัดศรอนงค์

7.        ตะโหมด-    ธิดา  คงอาสา,  อ.สอ  เสมือนใจ

8.        ปากพะยูน สุภาพร , เบญจวรรณ  เพ็งหนู , วิเชียร

9.        ป่าบอน จิระพา , วิเชียร

10.     เขาชัยสน ธิดา  คงอาสา ,  อ.สอ  เสมือนใจ

11.     เมือง อุบล ,  เบญจวรรณ เพ็งหนู 

2.       การประชุมรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัย  วันที่  27-28 กุมภาพันธ์ 2551 นัดประชุมรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย 4 พื้นที่ ให้ สกว. และพม. ทราบ  ที่ประชุมอยากให้ทีมวิจัยทั้งหมดจำนวน 12 คนได้เข้าร่วม เพื่อเรียนรู้งานและเป็นประโยชน์ในการทำงานต่อไป กำหนดการเดินทางวันที่ 26 – 29 กุมภาพันธ์ 2551 และนัดหารือเตรียมรูปแบบการนำเสนอที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 

3         ภาระหน้าที่ของทีมวิจัย 12 คน

3.1     Mapping พื้นที่ทั้งหมดใน จ.พัทลุง ลงเก็บข้อมูล ให้เห็นภาพรวมของสวัสดิการในจังหวัดพัทลุง  นำข้อมูลเอกสารที่รวบรวมได้มาแยกเป็นเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นและรายงานในวันที่ 27-28 

 3.2   มอบหมายให้ทีมเลขาแยกแผนที่โดยแบ่งขอบเขตอำเภอ 3.3    ฟอร์มการเก็บข้อมูลต้องมาออกแบบร่วมกัน

3.4    ข้อมูลสุขภาพตำบล สามารถประสานงานเพื่อขอข้อมูลได้ที่คุณสำเริง สุดสวาท  คุณกาจ ดิษฐาอภิชัย   คุณสุนทร สมพงษ์  มอบหมายให้คุณอุบลประสาน แล้วนำข้อมูลแยกให้นักวิจัยแต่ละอำเภอ

3.5    หารูปแบบและวิธีการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการทั้งหมด ที่มาที่ไปของแต่ละกลุ่ม บทเรียน ความสำเร็จ โดยเฉพาะเรื่องที่แตกต่างจากแต่ละพื้นที่

3.6    หารูปแบบการสนับสนุน การหนุนเสริมขององค์กรต่างๆ

3.7    ในจังหวัดมีกลุ่มอะไรบ้าง

3.8    แต่ละกลุ่มมีเนื้อหาอะไรบ้าง

3.9    แผนชุมชน

3.10       แหล่งข้อมูลที่สำคัญและครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด  สามารถหาได้ จาก พอช. สสจ. กลุ่มออมทรัพย์  

ประเด็นของการจัดสวัสดิการที่จำแนกไว้  ได้แก่-          ทรัพยากร-          ออมทรัพย์-          ศาสนา-          เมือง (บ้านมั่นคง)-          วิสาหกิจคุณเทพรัตน์รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลและกำหนดนำข้อมูลมานำเสนอต่อนักวิจัยทั้ง 12 ท่านในวันที่ 8 กุมภาพันธ์  เวลา 09.00  น. 

4.   ทบทวนคำถามการวิจัย

. รูปแบบและวิธีการในการจัดสวัสดิการโดยภาคชุมชนในระดับตำบล/เทศบาล และจังหวัดที่มีประสิทธิภาพที่สะท้อนการพึ่งตนเองของกลุ่มและขบวนการเป็นอย่างไร ?

.รูปแบบและวิธีการในการสนับสนุนและจัดสวัสดิการสังคม/ชุมชนของภาครัฐและภาคประชาสังคมในระดับจังหวัดเป็นอย่างไร?

.รูปแบบและวิธีการในการขยาย/เชื่อมโยง/บูรณาการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมกับกองทุนอื่นๆในจังหวัดเพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร? เช่น      

.๑ วัตถุประสงค์ร่วม

.๒ โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการ

.๓ บทบาทหน้าที่/ระบบสนับสนุนการจัดการของชุมชน-หน่วยจัดการเชิงพื้นที่และประเด็น-กระบวนการกลั่นกรอง อนุมัติ ติดตามสนับสนุนและประเมินผล-ฐานข้อมูลระดับตำบล/เทศบาลและจังหวัด

.๔ แหล่งเงินทุนและการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น

.๕ สถานะภาพทางกฎหมาย

เป้าหมายของจังหวัดพัทลุง

1.        ได้คนที่มีใจอาสามาทำงานในจังหวัด  2.       งานได้หนุนเสริมกลุ่มต่อไป  3.       เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน 

คำถามของพื้นที่จังหวัดพัทลุง

1. กลุ่มได้เรียนรู้อย่างไร และเกิดการพัฒนาอย่างไรจากการวิจัยครั้งนี้

2. นักวิจัย 40 คน เพียงพอหรือไม่ในการหนุนเสริม มีส่วนร่วม ควรมองหาผู้ที่ต้องเข้ามาร่วมเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?

3. นักวิจัยต้องการเครื่องมืออะไรบ้าง เพื่อทำให้การวิจัยประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพ ?

          การเตรียมความพร้อมด้านความรู้ให้แก่นักวิจัย *    การอบรม ทบทวนความรู้ สร้างความเข้าใจแก่นักวิจัย

            กำหนดวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2551 ณ ศูนย์วิจัยข้าว (สำรองที่ วิทยาลัยภูมิปัญญา ต.ทะเลน้อย)  วิทยากรอบรม  1) อาจารย์สมเจตนา มุณีโมนัย  2)สินธุ แก้วสินธุ์   3)อาจารย์ประภาส สุวรรณรัตน์ 

5.   กรอบการเก็บข้อมูล

5.1     บริบทพื้นที่ (ภาพเชิงสภาพแวดล้อม บุคคล พื้นที่ อาชีพ ทรัพยากร ประวัติศาสตร์ชุมชน )

5.2   แนวคิดของกองทุน (ที่มาของการก่อตั้ง)

5.3    เป้าหมาย  วัตถุประสงค์ ในการจัดตั้งกลุ่ม

5.4    โครงสร้างการบริหาร

5.5    ขนาดกองทุน จำนวนคน จำนวนเงิน

5.6    รูปแบบและวิธีการดำเนินงานของกลุ่ม (ประเภทสวัสดิการ)

5.7    การหนุนเสริม (องค์กร  บุคคล) 

5.8    ทิศทาง แผนงาน

5.9    ผลการดำเนินงาน

5.10 ปัญหา และอุปสรรค 

ปัญหาของการทำงาน  ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของนักวิจัย  ควรมีหนังสือเพื่อแนะนำตัวแก่พื้นที่ คุณอุบล นักพัฒนาสังคม สนง.พมจ.พัทลุง จะหารือกับจังหวัดเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ออกหนังสือ/คำสั่ง? 

6. หารือกำหนดการประชุมชี้แจงทีมวิจัยจำนวน 40 คน  

กำหนดการประชุมชี้แจงทีมวิจัยโครงการวิจัยฯ

วันที่ 13 กพ 51 ณ ห้องประชุมอิรวดี ศาลากลางจังหวัดพัทลุง 

09.00-09.30           ลงทะเบียน โดย คุณโสรยา  และคุณธิดา

09.30-10.00   กล่าวเปิดงาน โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง 

             กล่าวรายงานการจัดประชุม โดย คุณสุธีรา นุ้ยจันทร์ พมจ.พัทลุง 

             ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ  โดย คุณภีม ภคเมธาวี 

10.00-10.20                 สรุปภาพรวม โดย คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์

10.20-11.30               แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและสวัสดิการชุมชนของจังหวัดพัทลุง โดยคุณสิทธิชัย 

              แพทย์พงศ์  และคุณเบญจวรรณ เพ็งหนู

11.30-12.00    ทิศทางการขับเคลื่อนงาน โดย คุณไพโรจน์  

             วิทยากรดำเนินรายการ  โดยคุณจิระพา หนูชัย 

 ....................................................................................... 

 



ความเห็น (2)
ประชุมชี้แจงทีมวิจัย40คนวันที่13ก.พ.ดูกำหนดการครึ่งวันแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไรสักเท่าไร?
นักวิจัย40คนมีบทบาทอย่างไรครับ?

สวัสดีค่ะหนูรัช

รออ่านเรื่องราวของเวทีเตรียมความพร้อมนักวิจัยเมื่อวันที่ 8-9 กพ.อยู่นะคะ และเห็นว่าเลื่อนประชุมจากวันที่ 13 กพ. มาเป็นวันที่ 18 กพ.แล้วใช่ไหมคะ เมื่อวานอาจารย์ได้คุยกับพี่โตและน้องโส...

กิจกรรมของการประชุมนักวิจัยทีมใหญ่ของพัทลุงในวันที่ 18 เป็นอย่างไรบ้างคะ โจทย์การพูดคุยมุ่งประเด็นไหนเป็นหลัก? หนูรัชปรึกษากับพี่โต/น้องโส/พี่ภีมตลอดจนทีมงานของพมจ.ด้วยนะคะ

 เสียดายว่าอาจารย์ตุ้มติดสอนวันที่ 18 กพ. มิเช่นนั้นจะลงไปช่วยทำเวทีให้...แล้วค่อยส่งข่าวกันใหม่ค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท