ประสบการณ์ "การศึกษาพิเศษ"


"อัญชลี" เปลี่ยนไป

     ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2545  ครูย้ายมาใหม่ ..พี่ ๆ..เด็กคนนั้น....ท่าทางแปลก ๆ นะ. อ๋อ..เด็กเค้า..ไม่ปกติ หรอก..เรียนก็ไม่รู้เรื่อง..ตอนนี้ อยู่ชั้น ป.4 แล้ว..แต่อย่าไปพูดว่า เขาเป็นเด็กผิดปกติเชียวนะ..พ่อแม่เค้า...โกรธมาก ..ตั้งแต่นั้นมา...ครู ก็ไม่ได้สนใจเด็กท่าทางแปลก ๆ คนนั้นอีกเลย....เพราะครู ก็ มัวยุ่งกับ ภารกิจ ที่สุดแสน....จะวุ่นวาย..แต่ น่ารัก..กับน้องนักเรียน ชั้น ป.1 ที่ มักจะมา วนเวียนใกล้ ๆ ตัวครู..เสมอ..จนทำให้ครูลืมเด็กผู้หญิงตัวอวบๆ หน้ากลม ๆ คนนั้นไปเลย...ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546  เป็นช่วงเปิดเทอมใหม่..หลังจากที่ ครู..จัดการกับภารกิจ กับน้อง ป.1 รุ่นใหม่ จนเข้าที่ เข้าทางแล้ว...ครูก็ถือโอกาส ออกมายืนระบายความเหนื่อยที่ระเบียงหน้าห้องเรียน พร้อมกับ สูด อากาศที่ครู..คิดว่า มันน่าจะ สดชื่น กว่าอากาศข้างในห้องเรียน..เป็นการเติมพลังภายใน เพื่อรับ กับพลัง..ไร้เดียงสา..ที่รอครูอยู่ในห้อง.. ครู มองไปเห็น เด็กหญิงคนหนึ่งกำลังเดิน ก้มหน้า..ในมือมีหนังสือและสมุดพร้อมกับกล่องใส่ดินสอลายน่ารัก..เดินตามกลุ่มเพื่อน ไปห่าง ๆ ท่าทาง เหงา ๆ..มุ่งหน้าไป ห้องวิทยาศาสตร์  ครู ถามว่าอัญชลี..ไปเรียนกับครู จินดา เหรอ อัญชลี   เงยหน้า มองครู..แล้วทำท่า อาย ๆ และเดินต่อไป......ครูได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณครูในโรงเรียนถึงเรื่องผลการเรียนของอัญชลี ทราบว่า อัญชลี มีผลการเรียนอ่อนมากในทุก วิชา อ่าน เขียนไม่ได้  เขียนได้แต่ชื่อของตนเองเท่านั้น ครูที่สอน เล่าว่าไม่รู้จะสอนอย่างไร เพราะไม่เคยสอนเด็กที่มีลักษณะแบบนี้มาก่อน และ เด็กลักษณะนี้จะต้องไปเรียนในโรงเรียนเฉพาะทางที่สอนเด็กปัญญาอ่อนเท่านั้น ทราบมาว่าเพื่อนบ้านเคยแนะนำให้พ่อ แม่ พาอัญชลีไปเรียนที่โรงเรียนสอนเด็กปัญญาอ่อน แต่พ่อแม่มีอาการเครียดมาก จนไม่มีใครกล้าที่จะแนะนำ ได้อีก...เพียงแต่รอเวลา ให้อัญชลีเรียนผ่าน ชั้น ป. 6 ไป เท่านั้น ครูเอง ก็ช่วยอะไรไม่ได้เลย... เพราะ ครูก็รู้สึก เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ว่า ที่นี้ไม่เหมาะ กับอัญชลี..ทำได้แค่เพียงเมื่อเรา พบกัน ครูจะเรียกชื่อ อัญชลี พร้อมกับยิ้มให้ทุกครั้ง  และอัญชลีเองก็ไม่เคยพูดกับครู  ส่งแค่รอยยิ้มเป็นคำตอบให้เท่านั้น แต่ระยะหลังครูรู้สึกได้ว่ารอยยิ้มของอัญชลีที่ส่งตอบครูนั้น มีความคุ้นเคยแฝงมาด้วย..เสมอ..ปีการศึกษา 2547 อัญชลี กำลังเรียน ชั้น ป. 6 ครูมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมเรื่อง การศึกษาพิเศษ  กับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศท่านหนึ่ง  ท่านได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ และบอกว่า  การศึกษาพิเศษ  เป็นเรื่องที่ครูทุกคนต้องรู้และเป็นหน้าที่ ที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษ...และเด็กพิเศษ นั้นสามารถเรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไป ในโรงเรียนได้  ครูรู้สึก ตกใจ..งุนงง..กับ เรื่องราวที่ได้รับรู้มา  รู้สึกค้านในใจว่าเป็นไปได้หรือ ที่ครูในโรงเรียนทั่วไป จะสอนเด็กพิเศษได้  และในความรู้สึกขณะนั้น มีหน้ากลม ๆ ของอัญชลีปรากฏขึ้น..และครูถามตัวเองว่า เราสอนอัญชลีได้หรือ..จากวันนั้นเป็นต้นมา ครูได้พยายาม หาความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ  และมีโอกาสได้เข้าไปเป็นลูกศิษย์ของวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ ที่เคยไปให้ความรู้เรื่องการศึกษาพิเศษกับครู ขณะที่ครูกำลังศึกษาหาความรู้เรื่องการศึกษาพิเศษอยู่ อัญชลี ก็กำลังจะจบ ชั้น ป. 6 ซึ่งการจบชั้น ป. 6  ของอัญชลี นั้น ต้องเรียกว่าเป็นการผ่านชั้น ป.6  จึงจะถูกเพราะอัญชลี ไม่สามารถอ่าน เขียนหนังสือได้เลย ครูเอง..รู้สึกผิดเพราะ ที่ผ่านมา ไม่ได้ช่วยเหลือ อัญชลีเลย...และอีกไม่กี่วันอัญชลี ก็จะออกจากโรงเรียนไปอยู่ที่บ้านก่อนปิดภาคเรียน 1 สัปดาห์ ครูเดินไปหา อัญชลี  อัญชลี อยากอ่านหนังสือได้ไหม..ถ้าอยาก อ่าน เขียนหนังสือได้ เปิดเทอมหน้า มาเรียนกับครู นะ ครูจะสอนให้  ครูพูดชวนให้อัญชลี มาเรียนกับครูทุกวัน..จนวันสุดท้ายของภาคเรียน อัญชลี ยิ้ม แล้วตอบครู  หนูถามแม่ก่อนนะ ถ้าแม่ให้เรียน หนูจะมาเรียน ค่ะ..ปีการศึกษา 2548  เปิดเทอม วันแรก..ครูมาถึง โรงเรียน  ครูเห็นอัญชลี นั่งอยู่ในห้องเรียน ชั้น ป.1 ของครู  ครูรู้สึกดีใจ มาก เพราะคาดไม่ถึง ว่าหนูจะมาเรียนกับครูจริง ๆ...เราทักทายกัน  ยิ้มให้กัน..  ครูแนะนำ กับน้องๆ  ว่า พี่อัญจบป.6 แล้ว  จะมาช่วยครูสอน น้อง ป.1 ทุกคน ยิ้มดีใจ มองพี่อัญ อย่างเป็นมิตร..เราเริ่มกิจกรรมการเรียนการสอนกันได้ไม่นานนัก   คุณแม่ของอัญชลี ก็ตามมาที่ห้องเรียนด้วยสีหน้า กังวล..เล่าให้ฟังว่า อัญชลี ขอมาเรียนกับคุณครู..ตอนแรกแม่ไม่อนุญาต แต่อัญชลี ร้องไห้ จะมาเรียนกับคุณครูให้ได้.. คุณแม่เกรงว่า จะมาทำให้คุณครู      เดือดร้อน..เราพูดคุยกัน จนกระทั่งคุณแม่ เข้าใจ และยิ้มอย่างมีความหวัง..    ตั้งแต่นั้นมา ห้องเรียนของเรา ก็มี พี่อัญ นั่งเด่นเป็นสง่า อยู่แถวหลัง  น้อง ๆ เรียนอะไร พี่ อัญ ก็เรียนด้วย เราร่วมกันทำกิจกรรมการเรียน กันอย่างสนุกสนาน  เราเปลี่ยนห้องไปเรียนวิชา ดนตรี นาฎศิลป์ กับคุณครูโรงเรียนไกลกังวล (เรียนทางไกลผ่านดาวเทียม) ที่ห้องดนตรี  พี่อัญ ก็ไปด้วย..ยกเว้นวิชา พละ พี่อัญ ไม่เล่นด้วยได้แต่นั่งมอง  เพราะพี่อัญ ตัวอ้วนกลม  ครูสังเกตว่าคงทำกิจกรรมไม่คล่องตัว..เลยขอนั่งยิ้มน้อย ยิ้มใหญ่  ดูน้อง ๆ เล่นกัน.. เราอยู่ด้วยกัน จนจบปีการศึกษา  พี่อัญ เริ่มอ่าน ออก เขียนได้ มากขึ้น..คำไหน อ่าน เขียน ไม่ได้  พี่อัญ ก็ถามน้อง   น้องเขียนไม่ได้ก็แอบถามพี่อัญ  แต่ถ้าพี่อัญแอบถามน้อง ๆ เมื่อไร ....มักจะมีเสียงแซวจากน้องให้ครูได้ยินเสมอ ว่า พี่อัญ เขียนไม่ได้แล้วถามน้อง  พอสิ้นเสียงแซว ก็มักมีเสียงหัวเราะ ตามมา..พี่อัญ  ก็นั่งยิ้มเหมือนเคย  ทำให้บรรยากาศ ในห้องเรียนของเราเต็มไปด้วยรอยยิ้ม...  พอใกล้จบปีการศึกษา ครูถามอัญชลี ว่า อยากเรียนชั้น ป. 2 กับคุณครู ทัศนีย์ ไหม อัญชลี ยิ้ม พยักหน้าแทนคำตอบ ปีการศึกษา 2549   อัญชลีก็เปลี่ยนมานั่งเรียน ชั้น ป. 2  คุณครู ป. 2 ท่านเป็นครูที่เอาใจใส่นักเรียน และหมั่นคิดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกตลอดเวลา  อัญชลีก็ได้รับการดูแลเอาใจใส่เหมือนกับเด็กทุกคนในห้องเรียนเช่นกัน..ปัจจุบันอัญชลี มีผลการเรียนอยู่ในระดับ ดี  สามารถ อ่าน  เขียนคำตามคำบอกได้  และที่สำคัญทำให้ครูรู้สึกมีความสุขกับการได้เห็นการพัฒนาของอัญชลี อีกอย่าง คือ  สามารถเขียนบรรยายภาพได้สอดคล้องกับภาพ  อ่านได้ใจความ ใช้คำเชื่อมประโยคได้เหมาะสม  แสดงถึงการพัฒนาทางการเรียนรู้ที่สูงขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน...... "..งานช่วยคนพิการนี้ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะว่าผู้พิการ ไม่ได้เป็นผู้อยากพิการ และอยากช่วยตนเอง ถ้าเราไม่ช่วยเขาให้สามารถที่จะปฏิบัติงานอะไรเพื่อชีวิต และมีเศรษฐกิจของครอบครัวจะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัว หนักแก่ส่วนรวม ฉะนั้น นโยบายที่จะทำ ก็คือช่วยเขาให้ช่วยตนเองได้ เพื่อให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม...
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่
คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ 22 มีนาคม 2517

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาพิเศษ
หมายเลขบันทึก: 161994เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2008 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ ไม่ว่า จะเป็น ปัญหาที่พบอยู่  ประสบการณ์การแก้ปัญหาต่างๆที่ผ่านมา ความภาคภูมิใจ หรือ การแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ทั้งทางด้านนโยบาย  การปฏิบัติ  ล้วนแต่เป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ การจัดการศึกษาพิเศษของประเทศเรา ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายอย่างแน่นอน

สวัสดีค่ะ ครูส้ม เจ้าขา...

ตามที่ขอวิธีการใส่เพลงใน Blog ไว้ครูตุ๊กแกจัดให้แล้วค่ะ แต่ไม่ทราบว่าครูส้มชอบเพลงประเภทไหนวันนี้เลยนำเพลง ศาลาพักใจ มาฝากค่ะ

copy โค้ดด้านล่างนี้ไปวางใน แก้ไขบันทึก ในกรอบ ข้อความด้านข้างค่ะ อย่าให้ตกหล่นแม้แต่ตัวเดียวนะคะ

<center><object id="mediaplayer" height="60" width="200" classid="CLSID:6BF52A52-394A-11d3-B153-00C04F79FAA6"standby="Loading Microsoft Windows Media Player components..." viewastext><param name="url"value="http://www.geocities.com/ornusa7/salapukjai.wma  "><param name="autostart" value="true"></object></center> 

ถ้าครูส้มมีโค้ดเพลงอื่นนำมาวางแทนตรงตัวหนังสือสีน้ำเงินได้เลยค่ะ

หากต้องการเพลงอื่นบอกได้นะคะถ้าครูตุ๊กแกมีโค้ดจะนำมาฝากค่ะ

ลองทำดูนะคะได้ผลอย่างไรเล่าให้ฟังบ้างนะคะ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ ^_^

ครูส้มเจ้าขา...ครูส้มวางเพลงผิดที่ค่ะ

ครูส้มต้องเข้าไปที่ เมนูของchansongsing ด้านบนค่ะ แล้วเข้าไปที่ ชื่อบล็อกที่ครูส้มต้องการใส่เพลง เช่น บอกเล่าเก้าสิบ แล้วเลือก แก้ไขบล็อก เสร็จแล้ว coppy โค้ท ไปวางตรงข้อความด้านล่าง ลองดูนะคะ ครูตุ๊กแกลองนำไปเล่นที่บันทึกครูตุ๊กแกแล้ว ใช้ได้ค่ะ ลองดูใหม่นะคะ ให้กำลังใจค่ะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท