GotoKnow

การวิเคราะห์ขีดสมรรถนะ (Competency)

ธวัช มข.
เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2549 10:16 น. ()
แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2555 10:48 น. ()

               สถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกและของประเทศที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและ รุนแรงทั้งในด้านการเมืองระหว่างประเทศ การแข่งขันทางการค้า เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ สถานการณ์ทางการเมืองและสังคมไทย นอกจากจะส่งผลกระทบทำให้ สนพ. ต้องมีการปรับเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ บทบาท และมีการกำหนดโครงสร้างส่วนราชการและอัตรากำลังของ สนพ. เสียใหม่ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่บทบาทที่เปลี่ยนไป

               สำหรับในด้านทรัพยากรบุคคลนั้น ควรจะต้องมีการพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรบุคคลให้สามารถปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์และใช้ประโยชน์จากกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามโครงสร้างส่วนราชการและอัตรากำลังใหม่ โดยในการนี้ ควรกำหนดนโยบายและมาตรการการบริหารงานบุคคลโดยมุ่งเน้นการใช้สมรรถนะหลัก (Competency) ซึ่งเป็นหลักการ แนวทางการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ตอบสนองและเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาระบบแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริหารการ เปลี่ยนแปลงมาเป็นกรอบการดำเนินงาน

Competency ของบุคลากรนั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ

1. Core Competency หมายถึง Competency ชุดที่บุคลากรทุกคนใน หน่วยงาน ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานใดต้องมี Competency ชุดนี้เหมือนกัน หรือเรียกได้ว่าเป็นขีดสมรรถนะหลักของบุคลากร

2. Functional Competency หมายถึง Competency ที่เป็นความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ จำเป็นในแต่ละสายงาน ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ในสายงานใดหรือตำแหน่งใดจะต้องมี Functional Competency ของตนเอง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย