1.สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้(สัตว์น้ำ)
มีดังนี้
- ปลาตะพัด
หรือปลาอโรวาน่า (Scleropages
formosus)
- ปลาเสือตอ (Coius
microlepis)
- จระเข้น้ำจืด (Crocodylus
siamensis)
- จระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus)
- เขียดแลว (Rana blythii)
สัตว์ป่าคุ้มครอง 5
ชนิดดังกล่าวที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ สามารถขออนุญาต ครอบครอง
และค้าได้ โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนด
2.”ค้า”
หมายความว่า “ซื้อ ขาย
แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่าย แจก หรือโอนกรรมสิทธิ์
เพื่อประโยชน์ทางการค้า รวมถึงมีหรือแสดงไว้เพื่อขายด้วย
3. ผู้ประสงค์จะขออนุญาตค้าสัตว์ป่า
5 ชนิดดังกล่าว ซาก
หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า 5 ชนิด
ดังกล่าว
ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
(สป.11) ได้ ณ สถานที่
ดังต่อไปนี้
3.1
เขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร ติดต่อที่ ส่วนอนุญาตและจัดการประมง
กรมประมง
3.2
เขตต่างจังหวัด ติดต่อที่ สำนักงานประมงจังหวัด ณ ท้องที่
4.ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงหลักฐานการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายของสัตว์ป่า
ซาก หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ดังนี้
4.1 ใบอนุญาตนำเข้า
(สป.5) หรือ
4.2
หนังสือกำกับการจำหน่าย ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
4.3
ใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า (สป.13)
5.ใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
(สป.11) มีอายุ 1 ปี
และต้องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนวันหมดอายุ
6. ใบอนุญาต สป.11
อนุญาตให้ค้าได้เฉพาะสัตว์ป่า ซาก ผลิตภัณฑ์
ตามชนิดและรายการที่ระบุไว้ในบัญชี แนบท้ายเท่านั้น
การค้าหรือครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนอกเหนือจากบัญชีแนบท้าย
หรือนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต
มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี
หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
7.ผู้ได้รับใบอนุญาต สป.11 ต้องดำเนินการค้าสัตว์ป่า ซาก หรือผลิตภัณฑ์ ณ
สถานที่ทำการค้าที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น
การจำหน่าย
1
.เมื่อจำหน่ายสัตว์ป่า ซาก หรือผลิตภัณฑ์ ให้แก่บุคคลใด
ให้ผู้ขายออกหนังสือกำกับการจำหน่ายให้กับบุคคลนั้น
ทุกครั้งที่มีการจำหน่าย
2.
การกรอกข้อความในหนังสือกำกับการจำหน่ายฯ
ให้เขียนครั้งเดียวและให้ตรงกันทั้งต้นฉบับและสำเนา
3.
หนังสือกำกับการจำหน่ายตามข้อ 1
กรมประมงจัดพิมพ์เป็นเล่ม จำนวนเล่มละ 50 ฉบับ โดยมีหมายเลขกำกับเล่มและหมายเลขกำกับหนังสือ
เรียงกันไปตามลำดับ มีสำเนา 2 ฉบับ
ต้นฉบับ
มอบให้แก่ผู้ซื้อ
สำเนา
ฉบับที่ 2
รวบรวมส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออกอนุญาตให้ค้า ภายในวัน15 ของเดือนถัดไป ทุกเดือน
สำเนา
ฉบับที่ 3 ติดต้นขั้วไว้
และให้เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ในสถานที่ทำการค้า
4
กรณีผู้ค้านำสัตว์ป่า
หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าวเคลื่อนที่เพื่อการค้า
ต้องขอรับใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า (สป.13) ด้วย
หลังการจำหน่าย
ผู้ซื้อ
1.กรณีนำไปเลี้ยงดู (ครอบครอง)
ต้องนำหนังสือกำกับการจำหน่ายที่ได้รับจากผู้ขาย
ไปขอรับใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
(สป.15) ณ กรมประมง หรือ
สำนักงานประมงจังหวัดท้องที่ปลายทาง
2.กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้า หรือ สป.11 (ซื้อเพื่อนำไปจำหน่าย)
ต้องนำหนังสือกำกับการจำหน่ายที่ได้รับจากผู้ขาย ไปขออนุญาตค้า
(สป.11) หรือ
เพิ่มเติมรายการในบัญชีแนบท้ายใบอนุญาตให้ค้าเดิม ณ
หน่วยงานท้องที่ปลายทาง
3.
ต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขรายการในบัญชีแนบท้ายใบอนุญาตให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง
ผู้ขาย
1 .กรณีนำไปเลี้ยงดู (ครอบครอง)
ต้องนำหนังสือกำกับการจำหน่ายที่ได้รับจากผู้ขาย
ไปขอรับใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
(สป.15) ณ กรมประมง หรือ
สำนักงานประมงจังหวัดท้องที่ปลายทาง
2
กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ค้า หรือ สป.11
(ซื้อเพื่อนำไปจำหน่าย)
ต้องนำหนังสือกำกับการจำหน่ายที่ได้รับจากผู้ขาย ไปขออนุญาตค้า
(สป.11) หรือ
เพิ่มเติมรายการในบัญชีแนบท้ายใบอนุญาตให้ค้าเดิม ณ
หน่วยงานท้องที่ปลายทาง
3 การนำหลักฐานไปแจ้งขอครอบครอง
หรือขอค้า นั้น ให้ดำเนินการโดยเร่งด่วนทันที
กรณีหากเป็นการดำเนินการในวันหยุดราชการ
ให้นำหลักฐานดังกล่าวแจ้งท้องที่ปลายทางในวันเปิดทำการวันแรก
ขั้นตอนการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้
1
ผู้ประสงค์จะขออนุญาตครอบครองสัตว์ป่า 5
ชนิดดังกล่าว หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
(สป.15) ได้ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
1.1
เขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร ติดต่อที่ ส่วนอนุญาตและจัดการประมง
1.2 เขตต่างจังหวัด
ติดต่อที่ สำนักงานประมงจังหวัด ณ ท้องที่
2
ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงหลักฐานการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายของสัตว์ป่า
ซาก หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ดังนี้
2.1 ใบอนุญาตนำเข้า
(สป.5) หรือ
2.2
หนังสือกำกับการจำหน่าย ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
2.3
ใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า (สป.13)
3.ใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์
(สป.15) มีอายุ 3 ปี
และต้องขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนวันหมดอายุ
4.ใบอนุญาต สป.15 อนุญาตให้ครอบครองได้เฉพาะสัตว์ป่า ซาก
ตามชนิดและรายการที่ระบุไว้ในบัญชีแนบท้ายเท่านั้นการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนอกเหนือจากบัญชีแนบท้าย
หรือนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5.ผู้ได้รับใบอนุญาต สป.15 ต้องครอบครองสัตว์ป่า ซาก ณ
สถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น
6.กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนของสัตว์ป่า
หรือซากของสัตว์ป่าที่อยู่ในความครอบครอง
ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30
วันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง เพื่อจดแจ้งไว้ในใบอนุญาต
ที่มา http://www.fisheries.go.th/management/care.htm
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย กฤษณศักดิ์ พวงแก้ว ใน กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมง G.703
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก