มือใหม่หัด(ขับ)เขียน


การฝึกให้เป็นวิทยากรกระบวนการ ซึ่งมีขั้นตอนในการเรียนรู้และการฝึกก่อนที่จะให้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ ก็คือ การฝึกให้เป็นคุณสังเกต และการฝึกให้เป็นคุณบันทึก (Note taker)

           ผมมีบันทึกการ ลปรร. ของนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ที่ทีมงานได้สอนงานโดยการนำลงฝึกการสังเกตและการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาคสนาม และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักส่งเสริมการเกษตรรุ่นพี่

           หัวปลาของเราก็คือ การฝึกให้เป็นวิทยากรกระบวนการ  ซึ่งมีขั้นตอนในการเรียนรู้และการฝึกก่อนที่จะให้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ ก็คือ การฝึกให้เป็นคุณสังเกต  และการฝึกให้เป็นคุณบันทึก (Note  taker) วันนี้ผมมีผลงานของการฝึกเขียนของมือใหม่ มาให้ท่านได้ลองอ่าน แต่ก่อนที่จะอ่านขอนำเสนอกระบวนการของทีมงานว่าได้ "ทำอย่างไร" ในการฝึก มีขั้นตอนอย่างย่อๆ ดังนี้ครับ

  • เริ่มด้วยการทำความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการบันทึก/การฝึกเขียน เพราะเป็นจุดอ่อนของนักส่งเสริมการเกษตร
  • ใช้งานบันทึกของผม และคุณสายัณห์ เป็นตัวอย่าง (ยังไม่ดีนัก) เพื่อให้เห็นแนวทางการเขียน
  • กำหนดให้ทุกคนจัดทำแฟ้มสะสมงาน โดยงานบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานของทุกคนได้
  • บันทึกผลการฝึก/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยไม่ต้่องคำนึงถึงความสวยงาม/ถูกหรือผิด
  • ในวันฝึกภาคสนามที่มือใหม่มาพบกัน ให้นำมาแลกเปลี่ยนกันอ่าน เพื่อให้ได้ ลปรรซึ่งกันและกัน
  • ส่งไฟล์มาให้ผม เพื่อ ปชส.ในวันประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือน / ทางเว็ปไซต์ เพื่อให้กำลังใจ
  • เก็บเป็นข้อมูลการบันทึกรายบุคคล เพื่อเป็นแฟ้มสะสมงานในเว็ปไซต์ (ที่จะนำเสนอนี้)
  • หัวปลาที่ซ้อน/เหลื่อมกันอีกหัวหนึ่งก็คือ "การเป็นนักวิจัยเชิงคุณภาพ" โดยใช้เครื่องมือการสังเกต ซึ่งเราจะพยายาม ลปรร.เพืื่่อยกระดับกันต่อไป 

         เชิญ (ลิงค์อ่านมือใหม่หัดเขียน) ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  20/02/49

หมายเลขบันทึก: 16177เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 07:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมสนใจเรื่องนี้มากครับ   หากคุณวีรยุทธเห็นผลอย่างไร  (ผมหมายถึงผลเล็ก ผลน้อยที่ค่อยโผล่มาในระหว่างที่ทำ)  อย่าลืมเล่าใน blog ด้วยนะครับ  จะขอบคุณมากเลยครับ

ตอนนี้ผมพยายามเก็บสิ่งผมอยากรู้เอาไว้ใน blog ก่อน  เพราะไม่รู้ว่าวันไหนเกิดต้องการขึ้นมา  ถ้าจะกลับไปค้นหาทำได้ง่ายมากครับ

ลืมไปอีกเรื่องหนึ่ง   รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในระหว่างที่ทำนะครับ   อะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้การบันทึกแย่ลงไปบ้าง

ผมว่ากุญแจดอกนี้ (ดอกที่ 4 ของหัวใจนักปราชญ์) น่าจะมีเอามาปัดฝุ่นทำกันแบบจริงๆจังเสียที่

ขอชื่นชมทีมงานและจะขอเรียนรู้ไปด้วยนะครับ

          ขอขอบพระคุณมากครับที่ให้กำลังใจครับ  มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ผุดบังเกิด หรือที่ ดร.ประพนธ์เรียกว่า "ปิ้งแว้ป" จากการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ ทั้งแนวทางใหม่ แนวทางแก้ไขปรับปรุง ฯลฯ ถ้าจะเรียกว่าแตกหน่อความคิดออกไปก็คงไม่ผิดนะครับ  เพราะทุกๆ ประเด็นมักจะมีตัวเชื่อมถึงกันอยู่เสมอ

          เห็นด้วยและก็จะพยายามบันทึกเข้าคลังไว้ก่อนเช่นกันครับ วันหลังเพียงทำผังหรือแผนที่ก็จะเชื่อมให้เห็นภาพใหญ่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ยินดีที่ได้ ลปรร.เช่นกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท