ลองคิดดังๆ เรื่อง "ตัวชี้วัด" ใน GotoKnow


เกิดความคิดขึ้นมาว่า การใช้ตัวชี้วัดไม่ควรจะใช้แค่ตัวเดียว เหมือนในทางธุรกิจนั่นแหละครับ มองยอดขายอย่างเดียวไม่ได้ คงต้องมองตัวเลขกำไร หรื่อตัวชี้วัดอื่นๆ ประกอบอีก ภาพที่เห็นจึงจะชัด

     ผมเข้าใจว่าในขณะนี้ GotoKnow ใช้ "ตัวชี้วัด" ที่อิง "จำนวนบันทึก" เป็นหลัก ซึ่งสำหรับในระยะเริ่มต้นนั้น ผมคิดว่าเป็นตัวชี้วัดที่ "เหมาะสม" เพราะจะได้กระตุ้นให้คน "ขยันเขียน" บันทึกจนเกิดนิสัย "รักการเขียน" ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งของการจัดการความรู้

     แต่สิ่งที่ผมเห็นว่าเป็นปัญหา หรือน่าจะเรียกว่าเป็น "ข้อจำกัด" ของตัวชี้วัดประเภทนี้ก็มีบ้างเหมือนกัน ประการแรกก็คือ การนับจำนวนบันทึก (สะสม) ของผู้ที่เขียนช่วงระยะเวลาต่างกันนั้น ไม่สามารถจะนำมาเปรียบเทียบกันได้ดีนัก เช่นคนที่เขียน blog มาเป็นเวลา 12 เดือน กับคนที่เพิ่งเขียนแค่ 3 เดือน หากนับกันที่จำนวนบันทึก ก็ย่อมจะต่างกันค่อนข้างมาก

     ผมจึงคิดว่าตัวชี้วัดที่น่าจะ "เหมาะกว่า" น่าจะเป็น "จำนวนบันทึกต่อหน่วยเวลา (เช่นต่อเดือน)" ซึ่งก็คือ จำนวนบันทึกทั้งหมดหารด้วยจำนวนเดือนตั้งแต่ใช้บริการ blog มา ถ้าเป็นเช่นนี้คนที่เขียนมาเป็นปีกับคนที่เพิ่งเริ่มเขียนก็จะถูกปรับมาอยู่บนฐานเดียวกัน ... เป็นการเทียบเคียงที่ยุติธรรม และยังทำให้พวก "มือใหม่" (ที่เพิ่งเข้ามาใช้ GotoKnow) มีกำลังใจพอที่จะไปต่อกรกับพวกพี่ๆ "รุ่นใหญ่"ได้อีกด้วย

     แต่อย่างไรก็ตามการนับ "จำนวนบันทึก" ก็ยังมีข้อจำกัดอีกประการหนึ่งครับ เพราะเท่าที่ผมสังเกตดู พบว่ามีบ้างเหมือนกันที่บางท่านอาจจะต้องการเน้น "ปริมาณ" ต้องการจะทำ "จำนวนบันทึก" ให้มากๆ จึงขยันเขียนบ่อยๆ แต่บางบันทึกก็มีแค่ 2 บรรทัด ผมลองสังเกตดูบันทึกทำนองนี้พบว่ามีผู้อ่านค่อนข้างจะน้อยครับ จึงทำให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า การใช้ตัวชี้วัดไม่ควรจะใช้แค่ตัวเดียว เหมือนในทางธุรกิจนั่นแหละครับ มองยอดขายอย่างเดียวไม่ได้ คงต้องมองตัวเลขกำไร หรื่อตัวชี้วัดอื่นๆ ประกอบอีก ภาพที่เห็นจึงจะชัด

     ในกรณีของ GotoKnow ผมเห็นว่าตัวชี้วัดที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง น่าจะดูที่จำนวน "ลูกค้า" หรือ "จำนวนผู้ที่เข้ามาอ่าน" ด้วย ว่าบันทึกนั้นได้รับความสนใจ มีคนเข้ามาอ่านมากน้อยเพียงใด แต่ทั้งนี้ต้องระวังอย่าไปใช้ตัวเลข Counter ที่ Set กันขึ้นมาเองนะครับ คงต้องเป็น Counter "อ่านกี่ครั้ง" ของ GotoKnow จึงจะเชื่อถือได้ และควรจะใช้ตัวชี้วัดในลักษณะที่เป็น Ratio ด้วยเช่นกันเช่น "จำนวนผู้อ่านทั้งหมดหารด้วยจำนวนบันทึกทั้งหมด" เป็นต้น

     นอกจากนี้อาจจะมี Ratio ตัวอื่นๆ ประกอบอีก อาทิเช่น "จำนวน Comment ต่อบันทึก" (= จำนวน Comment ทั้งหมดหารด้วยจำนวนบันทึกทั้งหมด) เพื่อชี้ให้เห็นว่าบันทึกของใครน่าสนใจและสามารถดึงผู้อ่านให้เข้ามามีส่วนร่วมได้มาก เป็นต้น การเพิ่มตัวชี้วัดในทำนองนี้ เท่ากับเป็นการเน้น "คุณภาพ" ควบคู่ไปกับ "ปริมาณ" และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ blogger หน้าใหม่ได้มีโอกาส "แจ้งเกิด" (ติดอันดับ) กับเขาบ้างครับ...และการจัดอันดับก็สามารถทำได้หลายทาง เช่น การจัดอันดับสำหรับพวกที่ "ขยันเขียน" สำหรับพวกที่มีแฟนพันธุ์แท้ (มีผู้ตามอ่านเยอะ - Popular Blog?) หรือที่มี Comment เยอะๆ (Interactive Blog?)

     ลองคิดดังๆ ให้ฟังครับ ...ท่านอื่นจะช่วย "ต่อยอด" หรือจะ "ตัดแต่ง" ความคิดนี้ ก็เชิญได้เต็มที่เลยครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16163เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 05:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
นายรุ่งศักดิ์ ศิรินิยมชัย
เห็นด้วยครับ

ผมเพิ่งเข้ามาร่วมกิจกรรมกับ gotoknow ได้ไม่นานนัก สิ่งหนึ่งที่ผมพอบอกได้ก็คือ gotoknow เป็นความคิดริเริ่มที่ดีมาก ๆ ต้องขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่มีส่วนริเริ่ม และท่านที่เขียนบันทึกดี ๆ ให้อ่านเป็นประจำ อย่างอาจารย์ประพนธ์

แต่ไม่แน่ใจว่า เราต้องการตัวชี้วัดนี้ไปทำอะไร ... แน่นอน เชื่อว่าคงมีความตั้งใจบางอย่างอยู่แล้วใช่ไหมครับ ตัวผมเองก็อยากให้เกิดการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้นไปอีก ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และอยากเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณครับ ... (ถ้าต้องเลือก)

ถ้าตัวชี้วัดจะช่วยในการเพิ่มคุณภาพของชุมชนนี้ ผมอยากเสนอ (เช่นเดียวกับที่เคยมีท่านอื่นเสนอไว้แล้ว) คือให้มีระบบ rating โดยอาจจะเป็นการให้ ผู้ที่เข้ามาอ่านให้ดาวบันทึกนั้น ว่าเขาคิดว่าบันทึกได้ให้สาระแก่เขาเพียงไร (เหมือนกับระบบของ amazon.com) แยกจาก comment ส่วนผู้อ่านคนนั้นจะ comment หรือไม่ก็แล้วแต่ ลำัพังตัว counter ว่าอ่านกี่ครั้งอาจจะบอกไม่ได้ คือคงพอบอกได้ว่าชื่อของผู้เขียน ดึงดูดให้เข้ามาอ่าน แต่บอกไม่ได้ว่าอ่านแล้วได้เรียนรู้ หรือว่าผิดหวังกับการหลวมตัวอ่านบันทึกนั้น

การให้ rating แก่ข้อเขียนเป็นแรงจูงใจ ที่จะให้คนเขียนพยายามคุมเข้มกับคุณภาพของบันทึกของตัวเอง คนที่ rating ดีอยู่แล้วก็จะพยายามให้ดีขึ้นไปอีก 

ตรงนี้อยากเสนออีกว่า เมื่อมีการให้ดาวก็ควรมีความโปร่งใส คือผู้อ่านสามารถคลิกไปดูได้ว่าใครเป็นคนให้ดาว และให้กี่ดาว คนที่ให้ดาวคนอื่นดี ๆ (หรือแย่ ๆ) นั้นตัวเองมี rating เพียงไร ก็จะช่วย balance ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือระหว่างกันได้ อันนี้ไม่ได้คิดเองแต่เป็นระบบที่ ebay ใช้อยู่และได้ผลมาก ๆ (ถ้าไม่มีระบบนี้ ebay คงไม่เกิดเพราะจะไม่มีใครไว้ใจใคร)

ทั้งหมดนี้ลองเสนอดูเท่านั้น จะเหมาะสมเพียงไรฝากช่วยกันคิด อีกทีนะครับ ... 

อ่านแล้วเกิดคำถาม..และข้อสงสัย

เมื่อได้เข้ามาอ่าน"ลองคิดดังๆ เรื่องตัวชี้วัดใน Gotoknow" ความคิดแรกที่ผลุดขึ้นมาเมื่ออ่านจบ...คือ
"ตัวชี้วัด" ที่ว่าดังกล่าว คืออะไร  มีประโยชน์อย่างไร
และ..สะท้อนถึงอะไร...
เพราะในความเข้าใจส่วนตัว...คิดว่า...Blog Gotoknow
นั้น คือ เวที..ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
หาใช่...เวทีที่แสวงหารางวัลไม่
แต่หากรางวัลที่มีขึ้น..นั้นเป็นเพียงสิ่งสะท้อนที่แสดงออกถึงแรงจูงใจ...
กลุ่มบุคคลที่เข้ามาเจอกันใน ณ ที่นี้...ต่างน่าจะมี Commitment ร่วมกัน
นั่นคือ...การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
..แต่...
การจะเขียน..ดีหรือไม่..มีคนอ่านมากน้อยเพียงใด...
หรือจะมี comment หรือไม่มีก็ตาม
คิดว่า...ไม่น่าจะเป็นประเด็นหลักที่สำคัญ...สำหรับกลุ่มคนดังกล่าว
แต่หาก...สำคัญตรงที่...มีที่ว่าง...ที่ได้ให้สะท้อนสิ่งที่คิด...นี่สิ..น่าจะยิ่งใหญ่มากกว่า...การวัด..ว่าบันทึกนั้นสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนดไม่
เพราะ...Blog Gotoknow ไม่น่าจะเป็นเพียงแค่..
บริบทของการหาคุณภาพ..ของบันทึก...ของคนที่รักที่จะคิด...และถ่ายทอด..?

 


 

อ่านแล้วเกิดคำถาม..และข้อสงสัย

เมื่อได้เข้ามาอ่าน"ลองคิดดังๆ เรื่องตัวชี้วัดใน Gotoknow" ความคิดแรกที่ผลุดขึ้นมาเมื่ออ่านจบ...คือ
"ตัวชี้วัด" ที่ว่าดังกล่าว คืออะไร  มีประโยชน์อย่างไร
และ..สะท้อนถึงอะไร...
เพราะในความเข้าใจส่วนตัว...คิดว่า...Blog Gotoknow
นั้น คือ เวที..ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
หาใช่...เวทีที่แสวงหารางวัลไม่
แต่หากรางวัลที่มีขึ้น..นั้นเป็นเพียงสิ่งสะท้อนที่แสดงออกถึงแรงจูงใจ...
กลุ่มบุคคลที่เข้ามาเจอกันใน ณ ที่นี้...ต่างน่าจะมี Commitment ร่วมกัน
นั่นคือ...การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
..แต่...
การจะเขียน..ดีหรือไม่..มีคนอ่านมากน้อยเพียงใด...
หรือจะมี comment หรือไม่มีก็ตาม
คิดว่า...ไม่น่าจะเป็นประเด็นหลักที่สำคัญ...สำหรับกลุ่มคนดังกล่าว
แต่หาก...สำคัญตรงที่...มีที่ว่าง...ที่ได้ให้สะท้อนสิ่งที่คิด...นี่สิ..น่าจะยิ่งใหญ่มากกว่า...การวัด..ว่าบันทึกนั้นสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนดไม่
เพราะ...Blog Gotoknow ไม่น่าจะเป็นเพียงแค่..
บริบทของการหาคุณภาพ..ของบันทึก...ของคนที่รักที่จะคิด...และถ่ายทอด..?

 


 

อ่านจบคิดอุทานว่า ..น่าสนใจวิธีคิดของทั้งท่านเจ้าของบล็อกและผู้เข้ามาให้ความเห็นข้างต้น

และก็อยากรู้โดยพลันว่า นับสถิติไว้ทำอะไรได้บ้าง

นับแนวตั้งหรือแนวนอนจะได้ประโยชน์สูงสุด และประโยชน์ในแง่ใด

ถ้าแนวตั้งคือจำนวนนับการเขียน

แนวนอนคือจำนวนคลิกเข้าอ่าน

น่าสนใจดีค่ะ กำลังจะลองคิดดังๆ ต่อไปว่า

จำนวนการเขียนก็น่าสนใจดีค่ะ ยิ่งเขียนมาก ก็ยิ่งได้หัดเขียน เพิ่มทักษะการสื่อสาร ไม่ว่าจะเขียนประโยคเดียวที่คิดขึ้นได้ ผุดขึ้นมา หรือจะผ่านการทบทวนวรรณกรรมอย่างเข้มข้น ก็ตาม อย่างน้อยก็บอกให้รู้ว่าคนเขียนอยากสื่อสารผ่านการเขียนล่ะ จำนวนบันทึกก็ช่วยเตือนคนเขียนว่า เขียนไปกี่เรื่องแล้ว

จำนวนคลิกอ่านก็น่าสนใจ อย่างน้อยก็แสดงว่าบล็อกนั้นน่าจะมีอะไรดึงดูดใจอยู่บ้าง อาจเป็นหัวข้อ อาจเป็นคำหลัก หรืออื่นๆ

แต่แล้วก็เกิดอยากคิดดังๆ ต่ออีกว่า ซีเรียสกันแค่ไหนนะกับการให้เรตติ้ง จะกลายเป็นจูงใจหรือเป็นทรมานใจอย่างไรหรือเปล่าน่ะซิคะ

ถูกใจ Topic นี้มากคะ ลปรร.กันเยอะๆ ทีมงานจะได้นำมาใช้ในการจัดกลุ่ม Bloggers ให้ในเวอร์ชันที่สองคะ

ดิฉันมีไอเดียอยู่บ้างแล้ว ไว้จะเขียนบันทึกเล่าให้อ่านคะ

ขอบคุณคะ

จันทวรรณ

ดิฉันเขียนต่อยอดความรู้ในบันทึกนี้ไว้ที่ http://gotoknow.org/archive/2006/02/22/11/12/10/e16365

ขอบคุณบันทึกนี้ของดร.ประพนธ์มากคะ :)

น่าคิด  น่าคิด......

คนสร้างเวที ก็อยากทราบว่าเวทีนี้ ดีหรือยัง ต้องพัฒนาในจุดไหนอีก เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเยอะๆ และก่อให้เกิดขุมความรู้ที่มีสาระเพิ่มพูนขึ้น  จะได้บทสรุปที่งดงามตามที่คาดหวัง  จึงต้องหาตัวชี้วัดที่เหมาะสม

คนอยู่บนเวที ก็มีมากหลากหลาย มีฐานคิดของสิ่งที่ดีแตกต่างกัน บ้างก็คิดบนฐานของปริมาณ  บ้างก็คิดบนฐานของคุณภาพ บ้างก็ไม่อยากวัดบนฐานไหน เพียงให้มีอยู่ก็ดีเหลือหลายแล้ว ตัวชี้วัดที่เหมาะสมจึงติดตั้งแต่ด่านแรก คือ การไม่มีตัวชี้วัด คือความเหมาะสม

และดิฉันก็เอนเอียงไปในพวกสุดท้ายซะด้วย

ข้อคิดเห็นนี้ให้แต่ความรู้สึก......

 

gotoknow.org เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับสมาชิกขององค์กรที่เป็นและที่ต้องการเป็น LO  แต่ดิฉันเชื่อว่ามีสมาชิกในองค์กร ที่ยังไม่เข้าใจ LO อีกมากมาย  ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ แต่องค์กรที่สังกัดอยู่ไม่มีนโยบายให้นำข้อมูลภายในมาเปิดเผยเป็นบันทึกการทำงานใน Blog ได้

ดิฉันจึงเห็นว่าพื้นที่ comment ก็เป็นเวทีที่มีความสำคัญไม่น้อย เพราะเป็นพื้นที่อิสระ  ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องเขียนในฐานะของสมาชิกองค์กรใด แต่หากเข้ามาให้ความคิดเห็นเป็นประจำก็อาจมีแฟนคลับไม่ต่างไปจากแฟนคลับผู้เขียน Blog ก็ได้นะคะ

นึกถึงรายการอาคาเดมีแฟนตาเชียที่เหล่า commentator ทั้งหลายผลัดกันมาให้ความเห็น  นับเป็นดาราไม่แพ้ผู้แข่งขันบนเวที  ผู้ชมจดจ่อดูว่าใครจะให้ความเห็นอย่างไรเสียอีกด้วย

คงขอฝากทีมงานไว้เพียงเท่านี้ก่อนค่ะ  ขอขอบคุณที่สร้างเครื่องมืออันวิเศษนี้ขึ้นมาให้พวกเราใช้กันค่ะ

  • น่าสนใจมากค่ะ ทุกความคิด 
  • แต่สำหรับครูอ้อย  ไม่เคยคิดที่จะเขียนเพื่อ rating หรือ คนเข้ามาพูดคุย 
  • แต่ครูอ้อยเขียนด้วยใจรักการบันทึก 
  • ผู้อ่านจะเป็นผู้ตัดสินว่า  อยากจะเข้าร่วมสนทนาหรือเปล่า 
  • บางคนสนใจจะอ่านแต่ไม่เข้ามาสนทนาด้วยเพราะกลัวครูอ้อยมีrating สูง 
  • แต่บางคนครูอ้อยเข้าไปพูดคุยด้วยก็ลบทิ้งเสีย 
  • ดังนั้นรางวัลอะไร  ไม่ได้กังวลค่ะ 
  • หากสรรพคุณ  หรือคุณภาพของบันทึก  ถูกตาต้องใจกรรมการ  ถึงแม้จะไม่เห็นดี  แต่กรรมการเลือกแล้วก็ต้องเคารพกรรมการ  สังคมจึงอยู่ปกติสุข

ไม่ยึดติดหรอกค่ะ  อย่างไรก็ได้  บอกแล้วไงว่าขอให้ได้เขียนก็พอใจ

เว็บในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น blog หรือ webboard จะเน้นที่เทคโนโลยีเพื่อการ vote บทความเกือบทั้งหมดค่ะเพื่อดึงเอาบทความที่น่าสนใจออกมาให้เห็นค่ะ โดยได้ต้นแบบมาจาก http://digg.com ค่ะ แต่คนที่จะ vote ได้ต้องเป็นสมาชิกของระบบค่ะ และในทีสุดแล้ว GotoKnow ก็ต้องมีระบบ Vote ค่ะตาม trend ของโลกเทคโนโลยีค่ะ

สวัสดีค่ะ  อาจารย์จันทวรรณ

  • ทันสมัยนะคะ  แบบนี้รักใครชอบใครก็โหวดสนุกไปเลยค่ะ 
  • ดีค่ะ  แล้วจะรู้ไหมคะว่าใครโหวดให้เรา 
  • หรือเห็นคะแนนอย่างเดียวคะ  อย่างไรก็ขอขอบคุณค่ะ  ที่มีอะไรดีดีมาฝากเสมอค่ะ

รู้ค่ะ เพราะจะอนุญาตให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่ vote ได้ค่ะ

แบบนี้  เราก็จะรู้ว่าใครรู้คุณค่าของบันทึกเรา  ใช่ไหมคะ

เห็นด้วยค่ะ ตัวชี้วัดใน Gotoknow มีปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบอย่างที่อาจารย์นำเสนอ

หากแต่ตรงส่วนของ Comment การจะพิจารณาบันทึกที่มีการแสดงความเห็นมาก นั่นก็อาจจะปิดโอกาสให้กับบันทึกของหลายๆ ท่านที่นำเสนอเนื้อหาเชิงวิชาการ กิจกรรม การทำงาน เพราะผู้อ่านเข้าไปอ่านแต่อาจจะไม่ได้แสดงความเห็น ผิดกลับบันทึกในเชิงผ่อนคลายที่แสดงความเห็นได้ง่ายกว่าในเชิงโต้ตอบ...

ฮืม ...จะว่าไป วัดในเชิงปริมาณง่ายนะคะ แต่วัดในเชิงคุณภาพก็ยากอยู่

^___^

การทำratingตามปริมาณการclickอาจไม่ให้อะไรมาก

บางบันทึก ก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากคุย เจ๊าะแจ๊ะหยอกล้อกัน ไม่ค่อยได้อะไร แต่คนชอบอ่าน

เรียน ดร.ประพนธ์

ขอบคุณ ...ต้นความคิด "ลองคิดดังๆ เรื่อง "ตัวชี้วัด" ใน GotoKnow " 

ขอพื้นที่ความคิดเล็กๆ ของผมด้วยคนครับ...

...สูตรที่ท่านอาจารย์คิดนี้น่าจะมีความยุติธรรมและเป็นการกระตุ้น blogger หน้าใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีครับ รวมทั้งระบบ vote ที่ท่าน ดร.จันทวรรณ ได้เกริ่มนำไว้ด้วย ...ในมุมนี้ในด้านของเทคโนโลยีนั้นทำได้อยู่แล้ว

ในอีกด้านหนึ่งของบางกลุ่มคนที่รักการเขียน เพื่อแบ่งปัน ข้อมูล ความรู้ ที่เขามีอยู่นั้น โดยไม่ต้องมัวคิดเรื่อง สถิติ และ ตัวชี้วัด ใดๆ ...มองแล้วเป็นทุกข์ครับ (ผมเองก็ไม่ติด) เพราะการเขียนของแต่ละท่าน แต่ละคนนั้นขึ้นกับความสะดวกของตัวเขาเองเป็นหลัก

แต่ทั้งสองแนวคิดนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ดีอะไรน่ะครับ ใช้ทั้งสองแนวทางก็ดีครับ ...ใครที่ชอบสถิติ ตัวชี้วัด ก็ใส่กันเข้าไปให้ล้น Blog กันเลย และส่วนใครที่ไม่ชอบแนวทางนี้ ก็ไม่ต้องใส่อะไรให้วุ่นวาย ก็ย่อมทำได้ครับ

สวัสดีครับอาจารย์ประพนธ์

อาจารย์กระตุกต่อมคิดให้ได้คิดจริงๆ เพราะเมื่อเข้ามาเขียนบล๊อกจะรู้สึกว่าเราอยากถ่ายทอดสิ่งที่เรารู้ให้ผู้คนได้อ่าน  แต่พอโพสต์แล้วไม่มีคนอ่านเราก็รู้สึกว่าทำไมเขาไม่อ่านหรือเขาไม่ชอบสไตล์แบบเรา แทบจะไม่อยากเขียนต่อ แต่พอมีคนเข้ามาทักทายเราก็รู้สึกดีขึ้น เราก็ไปทักทายเขามั่งก็เริ่มมีคนเข้ามาทักทายมากขึ้น มันเป็นวัฏจักร จำนวนผู้เข้ามาอ่านมีความรู้สึกต่อผู้เขียนที่จะกระตุ้นให้เขียนต่อหรือไม่

จำนวนผู้มาแสดงความคิดเห็นจะมีผลทำให้บันทึกมีชีวิตชีวา และบางทีก็เป็นฐานให้เข้าไปอ่านบันทึกได้เช่นกัน เพราะถ้าจำนวนผู้แสดงความคิดเห็นมากก็แสดงว่าบันทึกนี้มีอะไรดีๆ

สถิติของ G2K เป็นตัวเลขที่สร้างความรู้สึกให้กับผู้เขียน สร้างความรู้สึกอยากอ่านกับผู้อ่าน สร้างข้อมูลให้กับการวิจัย ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

เรื่องตัวชี้วัดนี้ ตามความเห็นส่วนตัวจริงๆ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ มีทั้งข้อดี ข้อเสีย อย่างที่มีหลายท่านให้ความเห็น บางท่านอยากจะให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่บางท่านก็อยากให้คำนึงถึงเรื่องเนื้อหากันสักนิด

ดิฉันเองเข้ามาเขียนที่นี่  เพราะถูกใจว่าเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ค่อนข้างเด่นชัดกว่าที่อื่น และสุภาพค่ะ

ไม่ได้มีเป้าหมายว่าจะต้องเขียนเท่านั้น เท่านี้ คือแล้วแต่สะดวก แล้วแต่อารมณ์ แต่ก็ตามอ่านอยู่ตลอด และให้ความเห็นบ้างตามควร

มีเป้าหมายให้ตัวเองอยู่อย่างเดียว คือ ไม่เขียนเรื่องหนักๆเครียดๆ เพราะชีวิตวนเวียนกับเรื่องเป็นการเป็นงานมามากแล้ว  อยากหันไปมุมอื่นที่เบาๆกว่าบ้าง  แต่ก็ไม่ใช่จะเป็นวุ้นเสียทีเดียวค่ะ

ดังนั้น สำหรับตัวเอง ถ้าจะมีการชี้วัดที่อิงจำนวนบันทึก ดิฉันคงสอบตก เพราะแย่เต็มที แต่ไม่เป็นไรค่ะ ยอมรับโดยดุษณีค่ะ

เรื่องนี้เห็นพูดกันมานานแล้ว ตอนนี้ ตกลงว่า เรามีระบบการชี้วัดหรือยังคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท