โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ความขัดแย้งในองค์กร


ใจผมก็อยากจะเดินออกเพราะอึดอัด แต่ กลัวจะถูกมองว่าอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เข้าประชุมองค์กรตามปกติ และมีวาระหนึ่งเรื่อง "money talk "

ประเด็นคือ มีฝ่ายที่ต้องการขอปรับค่าตอบแทนตนโดยที่ มีอีกฝ่ายคิดว่า ตนเองก็ทำงานหนักแต่ยังได้ค่าตอบแทนน้อย

ฝ่ายเสียงข้างมากได้นำตัวเลขมาแสดงว่า "ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา เทียบกัน ยอดการทำงาน แสดงแก่ผู้บริหารเห็นว่า ฝ่ายตนทำงานหนักกว่ามาก (ซึ่งก็จริง)"

มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือด โดยช่วงแรกทุกคนพูดว่าตนเองทำงานหนักอย่างไร ผู้บริหารพยายามไกล่เกลี่ย แต่หลังๆ เริ่มโจนตีพฤติกรรมการทำงานของฝ่ายตรงข้าง-แบบไม่มีใครฟังใคร เริ่มมีคน walk out ไปทีละคน (ใจผมก็อยากจะเดินออกเพราะอึดอัด แต่ กลัวจะถูกมองว่าอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)

ประโยคที่เป็นฟางเส้นสุดท้ายจากฝ่ายเสียงข้างมากคือ "ใครเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ส่วนรวม ก็เห็นกันอยู่"

ฝ่ายเสียงส่วนน้อยบอกว่า "เหมือนถูกรุมตี"

ถึงขั้นมีการเสียน้ำตา "ตอนแรกก็ไม่ได้คิดอะไร แต่พอฟังๆไป ทำไมต้องว่ากันถึงขนาดว่าไม่ทำงาน จริงอยู่ในองค์กรทุกคนก็มีความสำคัญ"

ผมเองแสดงความรู้สึกตอนท้ายว่า "ผมก็มีความรู้สึกเหมือนกัน เป็นความรู้สึกที่อธิบายยาก ผมเองอยู่ที่นี้ก็เพราะงาน ทุกคนประสานงานดีมาก ลูกน้องผมก็ดี หัวหน้าก็ดี แต่ผมเองบ้านก็ไม่อยู่นี่ ผมวางแผนจะทำงานให้สำเร็จภายใน 5 ปี และพิจารณาอีกทีว่าจะอยู่หรือไป และสุดท้าย ผมไม่ชอบให้เราทะเลาะกันด้วยเรื่องนี้เลย"

ถามว่าผมอยู่ฝ่ายไหน?

ทางลักษณะงาน ผมอยู่ฝ่ายเสียส่วนน้อย

ทางความสัมพันธ์ เพื่อนสนิทและพี่ที่เคารพ อยู่เสียงส่วนมาก

ทางจิตใจ ผมอยู่กลางๆ เพราะ ผมไม่ได้ขอขึ้นเงินตัวเอง

แต่ความรู้สึกลึกๆ ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องเงินจะทำให้คนทะเลาะกันมากขนาดนี้

ผมเองขนาดตัวเองยังอดน้อยใจไม่ได้ว่า การแบ่งฝักฝ่ายมันลุกลามอย่างนัก จนทำให้กระทบไปทั้งองค์กร

ผมกลับมานั่งที่ห้องแล้วประเมินตัวเองว่า "เราเป็นอย่างที่เขาว่าหรือไม่"

คำตอบคือ "งานของเราสามารถพิสูจน์ได้ว่าเราไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่า"

ความเห็น

1.ประเด็นที่ทะเลาะมิใช่ตัวเงินหากแต่เป็นการเปรียบเทียบคุณค่า

2.ประเด็นที่เข้าประชุมมิใช่หาทางแก้ปัญหา แต่กลับเป็นการโจนตี

ทำให้ผมนึกถึงเพลงๆหนึ่งขึ้นมานั่นคือ "เย้ยฟ้าท้าดิน"

"เย้ยฟ้าท้าดิน"

"ฟ้าหัวเราะเยาะข้า ชะตาหรือ
ดินนั้นถืออภิสิทธิ์ ชีวิตข้า
พรหมลิขิตขีดเส้น เกณชะตา
ฟ้า อิน พรหม ยม พญา ข้าหรือเกรง

ขอหัวเราะเยาะเย้ย เหวย เหวย ฟ้า
พสุธาอย่าครวญว่า ข้าข่มเหง
เย้ยทั้งฟ้า ท้าทั้งดิน สิ้นหย่ำเกรง
หรือใครเก่ง เกินข้าฟ้าดินพรหม

ข้าขอลิขิต ชีวิตข้าเอง ไม่เกรงดินฟ้า
อีกพื้นพสุธา พญายม พรหมอินทั่ว
ข้ากระทำแต่กรรมดี มีหรือจะกลัว
มิใช่ใจชั่วลืมตัว หลงลำพอง

อันสวรรค์อยู่ในอก นรกนั้นหรือ
ข้าก็ถือ อยู่ทีใจ ไม่หมนหมอง
รักการทำชั่ว คนหรือจะกลัวนรกนั้นปอง
หากทำดีฟ้าดินต้องคุ้มครองเอย

หากทำดีฟ้าดินต้องคุ้มครองเอย"

แล้วผมได้เรียนรู้อะไรจากความแตกแยก?

ผมเรียนรู้ว่า "เราต้องมองเห็นคุณค่าของคนอื่น เข้าใจคุณค่าและพิสูจน์คุณค่าของตัวเอง การเรียกร้องผลประโยชน์ที่ไม่สอดคล้องกับผลงานมัน เป็นการลดศักดิ์ศรี "

หมายเลขบันทึก: 161512เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2008 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค่ะ เรื่องความอยากได้ มีอยู่ในตัว "มนุษย์" ทุกคน แต่ ใน "มนุษย์" แต่ละคนต่างหากที่จะทำให้รู้ว่า การได้มาซึ่งไม่ยุติธรรมแก่ตนเองและผู้อื่น นั้น ยังไง ก็ไม่มีอะไรเข้าข้าง

ในบทเพลง "เย้ยฟ้าท้าดิน" ก็บอกไว้แล้วค่ะ

ฉะนั้น ตัวเอง คิดว่า แม้ทุกวันจะทำดีหรือไม่ดี เพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็อุทิศเวลาเต็มร้อย ส่วนผลตอบแทนจะได้แบบไหน ไม่เคยหวัง ขอแค่ มีคำว่า เป็น "กำลังใจ" ให้เรา  ก็เป็นพลังมหาศาลแล้วล่ะค่ะ

ขอบคุณครับ

P คุณบัวปริ่มน้ำ

 

 

เรื่องเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน   ผู้นำและทีมควรค่อยๆหาข้อมูลและตัดสินใจ    บางเรื่องเราให้วิจารณ์มากไม่ได้เพราะจะทะเลาะกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท