ตอนที่ 34 เพาะเห็ดฟางด้วยต้นกล้วย(โดนอีกแล้ว)


ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง 5 กก. น้ำสะอาด 5 ลิตร แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งสาลี 3 กรัม หรือ 1 ช้อนชา เชื้อเห็ดฟางที่ดี 1 ถุง ผักตบชวาสดหั่น (อาหารเสริมที่ใช้ในขั้นตอนการเพาะ) 1 กก.

                   

            กริ๊ง กริ๊ง  ๆๆๆ เสียงโทรศัพท์ดังเรียกให้รับสายตั้งแต่เช้าตรู่ “สวัสดีน้องชัด ดีใจด้วยนะ” ด้วยความสงสัยจึงถามไปว่า “อะไรล่ะอาจารย์สำเนาว์”  คำตอบที่ได้รับ “ที่เธอยังหายใจอยู่”  ว่าแล้วเชียวจะต้องมีอะไรสักอย่างที่อาจารย์สำเนาว์ จะปล่อยคำให้ได้ยิ้มเมื่อพบกันก่อนที่จะมีเรื่องนำเสนอ  สำหรับครั้งนี้คือ ชักชวนไปดูของแปลกคือ คำถามที่ว่า “เคยเห็นกล้วยออก 2 เครือไหม ถ้าไม่เคยเห็นมาดูได้ที่วิทยาลัยฯ” เมื่อเข้าสำนักงานเร่งรีบรวบรวมข้อมูลการผลิตพืชตามที่หน่วยงานอื่นขอความอนุเคราะห์มาเพื่อจะได้ไปดูกล้วยออกพร้อมกัน 2 เครือ อีกทั้งหาเรื่องอ้างที่จะออกไปจากสำนักงานโดยที่ไม่มีเหตุผล(หนีงานอย่างมีเหตุผล) กำลังทำงานใกล้เสร็จ เกษตรจังหวัดชัยนาท (นายรังสรรค์ กองเงิน) ได้ถือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ได้เขียนบทความการเกษตรส่งให้ลงพิมพ์ และจะออกสู่สายตาผู้อ่านยามหวยออก เดินยิ้มเข้ามาหา และกล่าวขอบคุณที่ได้ช่วยส่งเรื่องราวต่างๆ เพื่องานส่งเสริมการเกษตรซึ่งเป็นผลงานส่งเสริมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล และให้กำลังใจว่าถึงแม้ทุกคนที่ซื้อหนังสือไปจะไม่อ่าน แต่ถ้ามีคนอ่านสัก 20 คน และอีก 3 คนปฏิบัติตามก็กล่าวได้ว่าคุ้มค่ากับงานเขียนของเรา อีกทั้งเขาจะได้นำไปเล่าต่อให้เพื่อนเกษตรกรอีกหลายคน  เพราะเราคือผู้จุดประกายความคิดให้กับเกษตรกร (ยิ้มซิครับ) เพราะอย่างน้อยก็มีคนอ่านแล้ว 1 คน คือเกษตรจังหวัด (คนเขียนหนังสือจะดีใจเมื่อมีผู้อ่าน) เหมือนเปิดโอกาสรีบขอทันทีว่า ขอออกไปหาเรื่อง(เขียนบทความ) และได้รับอนุญาตด้วยดี (ตรงตามหลักของการบริหารที่ว่า ติดตาม แนะนำ ให้กำลังใจ และให้โอกาส)

                เมื่อพบ อ.สำเนาว์  ฤทธิ์นุตร  อาจารย์  3  ระดับ  8  ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท หลังจากทักทายไหว้แบบงาม ก็รีบขอดู กล้วย 2 เครือทันที    กลับได้รับคำกล่าววิชาการว่า  การเพาะเห็ดฟางพบปัญหาด้านการหาซื้อเชื้อเห็ดที่ดีเพื่อเพาะได้ยาก เพราะผู้ผลิตมีข้อจำกัด อีกทั้งวัสดุเลี้ยงเชื้อเห็ดก็ยาก จึงคิดหาวัสดุที่มีมากในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์  โดยนำต้นกล้วยมาทดลองเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดฟาง และเพาะเห็ดฟาง ประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้  (ไม่ผิดหวังที่มาพบ อ.สำเนาว์)การทำเชื้อเห็ดฟางด้วยต้นกล้วยจากเนื้อเยื่อของดอกเห็ดสด เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย  มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากนัก แต่ต้องทำให้ถูกต้องจึงจะได้ผลดี เกษตรกรสามารถทำไว้ใช้เองได้  เพียงเตรียมวัสดุดังนี้  คือต้นกล้วยหั่นตากแห้งสนิท(สัก 3 แดด) (ใส่ให้เต็มตามจำนวนถุงที่เตรียมไว้) น้ำสะอาด  ดอกเห็ดฟาง เลือกดอกเห็ดฟางที่สมบูรณ์ ขนาดใหญ่ ยังไม่บาน สะอาด สดใหม่  นานไม่เกิน 5 ชั่วโมงหลังเด็ดหรือนำออกจากวัสดุเพาะ  อาจซื้อดอกเห็ดฟางนั้นจากตลาดเช้าก็ได้ สัก 4  ดอก  มีดคัตเตอร์  1  ด้าม ถุงพลาสติกขนาด 5 ´ 8 นิ้วหรือ ขนาด 5 ´ 9 นิ้ว  จำนวนตามต้องการ  ใบ  และแอลกอฮอล์ล้างแผล

         

                 วิธีทำ ตวงต้นกล้วยหั่นตากแห้ง และเทลงบนแผ่นพลาสติก ผสมน้ำกับต้นกล้วยหั่นตากแห้ง และตรวจสอบให้มีความชื้นประมาณ 60 – 65 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการใช้มือบีบต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ให้มีน้ำซึมออกมาตามง่ามนิ้วเพียงเล็กน้อยไม่มากหรือน้อยกว่านี้ นำใส่ถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ 3 ใน 4 ของถุง ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด และล้างมีดคัตเตอร์ และเขียงให้สะอาด  นำดอกเห็ดมาตัดแต่งส่วนที่มีวัสดุเพาะติดอยู่ออกให้หมด เช็ดดอกเห็ดและใบมีดคัตเตอร์ด้วยแอลกอฮอล์ ตัดดอกเห็ดจากบนดอกลงสู่โคนดอกเป็นชิ้นๆ ขนาดยาว 2 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร หนา ½ เซนติเมตร  โดยประมาณ นำเนื้อเยื่อเห็ดฟางสดมาวางไว้บนต้นกล้วยหั่นในถุงนั้น และพับปากถุง  นำถุงเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดฟางนั้นไปวางเรียงไว้ในที่ร่มในโรงเรือนหรือที่อุณหภูมิห้องประมาณ 30 องศา  เนื้อเยื่อสดจะกลายเป็นเส้นใย เพาะเลี้ยงไว้นาน 10 – 15 วัน เจริญจนเต็มถุงกล้วยหั่นนั้น   ก็สามารถนำมาใช้เพาะเห็ดฟางได้

               วิธีเพาะเห็ดด้วยต้นกล้วยหั่นตากแห้ง  เตรียมวัสดุเพาะ (จำนวนที่ใช้ต่อ 1 ถุง) คือ ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง 5  กก. น้ำสะอาด 5  ลิตร  แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งสาลี 3 กรัม หรือ 1 ช้อนชา เชื้อเห็ดฟางที่ดี  1  ถุง  ผักตบชวาสดหั่น (อาหารเสริมที่ใช้ในขั้นตอนการเพาะ)                1 กก.  นำต้นกล้วยมาหั่นให้มีขนาดยาว  1/2  นิ้ว เนื่องจากต้นกล้วยสดไม่สามารถที่จะนำมาเพาะเห็ดฟางได้ เนื่องจากมีสารแทนนิล ทำให้เส้นใย เห็ดฟางไม่เจริญ ต้องทำลายสารดังกล่าวโดยการตากแดดให้แห้ง 3-4  แดด  นำต้นกล้วยหั่นที่ตาดแดดแล้ว  อาหารเสริมหรือผักตบชวาสดหั่น และ เชื้อเห็ดฟาง นำมาส่วนผสมทั้ง 3 อย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากันผสมด้วยน้ำสะอาดให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์  ก่อนนำมากองลงพื้น เกลี่ยแผ่กองวัสดุเพาะเห็ดฟางออกหนาประมาณ 2 – 3 นิ้ว นำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้แล้ว ผสมคลุกเคล้าเข้ากับวัสดุเพาะเห็ดฟางให้ทั่วถึง  จึงใส่บรรจุลงในถุงๆ ละประมาณ 5 กิโลกรัม ยกถุงกระแทกกับพื้นหรือใช้มือกดให้วัสดุเพาะเห็ดฟางแน่นพอสมควร กดจากภายนอกถุงเพาะให้วัสดุเพาะเห็ดฟางมีความหนาประมาณ 20 เซนติเมตร . จับและรวบปากถุงเป็นจีบเข้าหากัน แล้วมัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น โดยมัดในจุดที่สูงสุดของปากถุง เพื่อให้ถุงมีลักษณะเป็นกระโจม ซึ่งเมื่อฝนตกลงมามาก ต้องพับปากถุงลงมา เพื่อป้องกันน้ำฝนเข้าภายในถุง พับตรงระดับที่ 50 – 70 เซนติเมตรจากก้นถุง ให้ปากถุงที่มัดห้อยลงด้านล่าง หรือด้านข้างของถุงนั้น และ. นำถุงบรรจุวัสดุเพาะเห็ดฟางไปตั้งไว้ในสถานที่เพาะหรือแขวนไว้ในที่ที่มีความชุ่มชื้น เช่น ในร่มเงาต่างๆ หรือใต้ร่มไม้ก็ได้ ตั้งไว้เช่นนั้นนานประมาณ 8 – 10 วัน ดอกเห็ดฟางจะเกิดขึ้นบนผิวของวัสดุเพาะเห็ดฟางภายในถุงนั้น  ผลผลิตเห็ดฟางที่ได้รับ 0.5-0.6 กก./ ถุง  เก็บเกี่ยวผลผลิตได้  3-5  ครั้งต่อรุ่นต่อถุงหลังจากเก็บรายละเอียดเรียบร้อยแล้วจึงขอตัวกลับ (เพราะอิ่มแล้วได้ทั้งความรู้และข้าวที่ อ.สำเนาว์เลี้ยง) แต่ไม่ลืมที่จะดูกล้วย 2 เครือ  อ.สำเนาว์พาไปดู เห็นกล้วย 1 กอ  แต่ไม่เห็นกล้วย 2 เครือออกพร้อมกัน จึงหันไปมอง เชิงถามหาเป้าหมาย ก็รับคำตอบด้วยการชี้ไปที่กล้วย 2 ต้นออกเครือพร้อมกัน จึงรู้ทันทีว่า โดนอีกแล้ว  แต่เป็นกล้วย 2 ออกเครือพร้อมกัน ฮืม! ฝากไว้ก่อนนะ อาจารย์

หมายเลขบันทึก: 161059เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2008 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ดีๆ
  • ว่าแต่ว่า เลิกขี่มอ'ไซต์ แล้วเหรอครับ คิคิ

ดี

เรื่องแบบนี้มีความรู้

เก็บเอาไว้

บทความนี้ แบ่งออกเป็น 4 ตอน

ในตอนที่ 4 บรรทัดที่ 7 "...นำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้แล้ว ผสมคลุกเคล้าเข้ากับวัสดุเพาะเห็ดฟางให้ทั่วถึง... "

ถามว่า

1. เชื้อเห็ดฟางที่เครียมไว้ คือเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมได้ในตอนยที่ 3 ใช่หรือไม่

2. จะต้องใช้ปริมาณเท่าไร 1 ถุง (ของเชื้อเห็ดฟาง) ต่อ 1 ถุง ของการเพาะ ใช่หรือไม่

3. ถุง ในตอนที่ 4 ใช้ถุงอะไรครับ ใช้ถุงชนิดที่เขาทำเป็นถุงปุ๋ย(แต่เป็นถุงใหม่ๆ)ได้หรือไม่

4. เมื่อปิดถุงมิดชิดแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีเห็ดเกิดขึ้นแล้ว

อยากทราบข้อมูลสักนิดคะ

ไม่ทราบว่าที่นี้มีเชื้อเห็ดฟางขายรึเปล่า คือว่าอยากปลูกแต่เพาะเชื้อไม่เป็นคะ

มือใหม่สมัครเล่น

ไม่เอาถุงไปนึ่งก่อนเอาเนื้อเยื่อเห็ดลงไปก่อนเหรอ......งงเดี๋ยวเชื้อโรคต่างๆก็เต็มุงหรอก

ผมก็เรียนที่นี้

อาจารย์ทำเหมือนมันง่ายเลยนะ เดี๋ยวจะลองทำดู

อาจารย์เขียนว่าแป้งข้าวเหนียว  แล้วใช้ตอนไหนล่ะ

ผมติดตามหาความรู้ในการทำเชื้อ มาพอสมควร   จากที่อาจารย์ให้มา ผมคงต้องรีบทำผม   ถ้าหากได้เรื่องอย่างไร ผมจะส่งให้อาจารย์ทราบต่อไป    อยู่แม่ฮ่องสอน  

ได้ความรู้ดีมาก  ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท