สื่อเพื่อเด็ก กับวิธีคิดเชิงเดี่ยว


สื่อเด็กทุกรูปแบบ มันจึงมีข้อจำกัดในตัวเอง ดังนั้น หากจะพัฒนาเด็กแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนแบบนี้ น่าจะใช้สื่อผสม คือมีสื่อหลายๆแบบ ถึงแม้ว่าเราจะทำโครงการสื่อรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ตาม ก็ต้องมองทะลุปรุโปร่งถึงจุดนี้ และพยายามเชื่อมโยงกับสื่อแบบอื่นๆให้มาก

 ของดีปางมะผ้า  เป็นชื่องานฤดูหนาวประจำปีของอำเภอปางมะผ้า จะว่าไปงานนี้จัดเป็นสีสันสำคัญที่ชาวบ้านชาวช่อง รวมทั้งส่วนราชการให้ความสำคัญ เพราะทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอเล็กๆแห่งนี้ได้มาร่วมชมงาน และมีส่วนร่วมในการแสดงต่างๆ ที่ผสมผสานระหว่างจารีตประเพณีกับอารยธรรมสมัยใหม่

 

ผมไม่เคยพลาดงานนี้สักปี เพราะในฐานะนักเรียนสังคม งานประจำปีอย่างนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญยิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้  ไม่ว่าจะเป็นเวทีการประกวดนางงาม การละเล่นต่างๆของเด็กและผู้ใหญ่ การแข่งกีฬา ล้วนแสดงออกถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจในรูปแบบต่างๆที่นำไปคิดต่อได้อีกมาก

 

 

ปี 2550 ที่เพิ่งผ่านไปนี้ งาน ของดีปางมะผ้า เป็นสิ่งพิเศษสำหรับผมกว่าทุกปี และน่าจะพิเศษสำหรับเด็กๆใน สยชช. ทุกคน ที่ได้มีส่วนร่วมในการออกร้านและจัดนิทรรศการเล็กๆอยู่ข้างๆเวที

 

5 วัน 5 คืนที่เด็กๆรวมถึงนักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม ม. นเรศวรที่เข้ามาฝึกงานเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมใจดูแลงาน กว่าจะเสร็จสิ้น ก็เล่นเอาลิ้นห้อย แต่หัวใจก็มีความสุข แบบว่านี่กระมัง สุขภาวะในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน

 

พวกเราทำ AAR : After Action Review กันก็ยังพบข้อบกพร่องหลายอย่าง โดยเฉพาะสื่อที่นำเสนอยังไม่ดึงดูดใจพอ แม้จะเป็นหนังสือทำมือที่เด็กๆบรรจงทำ แต่เด็กๆและชาวบ้านส่วนใหญ่อ่านหนังสือไม่ออกและไม่สู้สนใจการขีดเขียนเท่าไรนัก  จะหนักไปทางเล่นเกมชิงรางวัลมากกว่า ก็เลยได้ข้อคิดว่า หนังสือทำมือ เป็นสื่อในการเรียนรู้แบบ ใครทำ คนนั้นก็ได้แต่หากจะสื่อประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง ลำพังหนังสือคงจะสื่อได้ไม่เพียงพอ

  

สื่อเด็กทุกรูปแบบ มันจึงมีข้อจำกัดในตัวเอง  ดังนั้น หากจะพัฒนาเด็กแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนแบบนี้ น่าจะใช้สื่อผสม คือมีสื่อหลายๆแบบ ถึงแม้ว่าเราจะทำโครงการสื่อรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ตาม ก็ต้องมองทะลุปรุโปร่งถึงจุดนี้ และพยายามเชื่อมโยงกับสื่อแบบอื่นๆให้มาก 

เพราะสำคัญตนว่า โครงการต่างๆทีทำ เป็นสื่อเชิงเดี่ยว เอ้อ เฮ้อ ผมก็เลยโง่อยู่นาน ต่อนี้ไปก็จะพยายามข้ามพ้นปมเขื่องนี้ให้ได้ 

<p style="margin: 0pt" class="MsoNormal">ขอบคุณ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่กรุณาสนับสนุนกิจกรรมเหล่านี้ ทำให้ผมและครอบครัวมีรายได้ประทังชีวิต และช่วยให้ผมฉลาดขึ้น (แต่ก็ยังต้องขัดเกลาไปตลอดชีวิต)</p><p style="margin: 0pt" class="MsoNormal"> </p> บางที ความรู้อย่างนี้ มันก็ โพล่งขึ้นมาจากรากหญ้า ก็เลยนำมาเล่าสู่กันในแวดวงพัฒนาชุมชนครับ 

หมายเลขบันทึก: 161021เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2008 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท