ใน Patho Otop 1 ทีมงานจากหน่วยพันธุศาสตร์ นำทีมโดยคุณสมแข พวงเพ็ชร พี่ใหญ่ของห้อง ทำการศึกษาหา "ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาในการรายงานผลโครโมโซมจากการเพาะเลี้ยงเซลล์น้ำคร่ำ ที่มาของปัญหาและวัตถุประสงค์ |
|
วิธีการดำเนินงาน
ทีมจึงดำเนินการ เพื่อหาปัจจัยดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลต่างๆ ที่คาดว่าอาจจะมีผลต่อการเพาะตรวจไว้อย่างละเอียด ได้แก่ |
![]() |
การวิเคราะห์ผล
การวิเคราะห์ทางสถิติโดยวิธี logistic regression ดังตาราง พบว่าปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ปริมาณน้อยตัวอย่างน้อยกว่า 10 มล. และ น้ำคร่ำที่มีเลือดปนระดับ 5+ มีผลต่อการรายงานผลช้าถึง 5 และ 20 เท่าตามลำดับ
ปัจจัยที่มีผลต่อการรายงานผลช้า Odds Ratio P>| z |
อายุครรภ์น้อยกว่า 16 สัปดาห์ 0.89 0.918
อายุครรภ์มากกว่า 18 สัปดาห์ 0.54 0.099
โรงพยาบาล 1.26 0.450
ปริมาณน้อยกว่า10 มล. 5.26 0.030
ปนเปื้อนเลือด 1+,2+ 0.51 0.521
ปนเปื้อนเลือด 3+,4+ 2.50 0.074
ปนเปื้อนเลือด 5+ 20.55 0.000
ปนเปื้อนขี้เทา 1+,2+ 1.26 0.823
ปนเปื้อนขี้เทา 5+ 7.28 0.075
การนำผลไปใช้ประโยชน์
สำหรับแพทย์เจ้าของไข้และผู้รับบริการ
1. แพทย์เจ้าของไข้และผู้รับบริการสามารถทราบถึงระยะเวลาการได้รับรายงานผลที่แน่นอนมากขึ้น หากน้ำคร่ำที่ส่งตรวจมีปริมาณน้อยกว่า 10 มล. หรือมีการปนเปื้อนเลือดมากในระดับ 5+ คืออาจได้ผลตรวจช้ากว่า 21 วันตามที่กำหนดไว้ ดังนั้นถ้าแพทย์สามารถทำได้อาจใช้สิ่งส่งตรวจอื่นแทนน้ำคร่ำเช่น เลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์ เป็นต้น
2. หน่วยมนุษยพันธุศาสตร์จะนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จัดทำเป็นคู่มือแจ้งระยะเวลาการได้ผลตรวจโครโมโซมจากน้ำคร่ำในสภาพต่างๆ แจกให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งแพทย์เจ้าของไข้และผู้รับบริการทราบ
สำหรับทางห้องปฏิบัติการ
ทางหน่วยมนุษยพันธุศาสตร์จะนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้มาพัฒนาการเพาะเลี้ยงและดูแลเซลล์น้ำคร่ำ เพื่อให้ได้ผลเร็วขึ้น
มีอีก 1 โครงการที่เข้าข่าย R2R คือโครงการลดเวลาการทดสอบ reticulocyte count ของทีมงานเก็บตกใน hemato หรรษา ซึ่งจะขอหารือพี่เม่ยก่อน ในการเปิดเผยความลับหรือไม่