บัณฑิตเทคโนโลยีทางการศึกษา ผลิตกันมาอย่างไร และจะส่งพวกเขาไปไหน ?


ถ้าคุณ แขวนป้าย "คบ." หรือ "ศษบ." คุณต้องรู้เรื่อง ศาสตร์ทางการศึกษา และการเรียนการสอน เพื่อนำไปบูรณาการกับทักษะด้านการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ

  
    อาศัยว่าได้ทำหน้าที่ผู้สอนทางสาขาเทคโนโลยีการศึกษามาเกือบ 3 ทศวรรษ  ได้เห็นการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และการเปลี่ยนไป ของหลายๆอย่าง  มีความเห็นด้วย  ไม่เห็นด้วย  พอใจ  ขัดใจกับหลายเรื่องหลายราว  ตามที่เคยไปบ่นๆไว้ในที่ต่างๆ  เมื่อ 16 มค. 51 ได้ไปอ่านบันทึกหนึ่งของท่าน Wasawat Deemarn  เกิดความเห็นด้วย และเห็นเสริมในเรื่องที่ท่านเจ้าของบันทึกได้พูดถึง  จึงได้ไปแสดงทัศนะต่อท้ายไว้ดังนี้

    
5. Handy
เมื่อ พ. 16 ม.ค. 2551 @ 12:36
520027 [ลบ]

สวัสดีครับ
      ผมเคยหนักใจว่าบัณฑิตที่พวกเราผลิตออกไป  เขาแขวนป้าย "คบ." หรือ "ศษบ." แต่ตอนเรียนนั้นนักศึกษาน้อยคนนักที่สนใจใฝ่รู้เรื่อง การศึกษา และการเรียนการสอน เขามุ่งทักษะเชิงเทคนิคกันมาก  จนออกนอกลู่ไปไม่น้อย  ยิ่งได้ผู้สอนที่ขาดความเข้าใจหรือ ประสบการณ์ทางด้าน การศึกษาด้วยแล้ว ก็เลยไปกันใหญ่  ที่เคยฝึกประสบการณ์ในโรงเรียน หรือสถานศึกษา ก็ย้ายฐานไปสู่บริษัทโฆษณา หรือ Studio กันเป็นแถว  ผมเคยลุ้นว่า น่าจะไปทั้งสองแหล่ง  ให้มีความแตกต่างจากนิเทศศาสตร์  ให้สมกับความเป็น "คบ." หรือ "ศษบ." แต่ก็ไม่สำเร็จครับ  ปัจจุบันเขาไม่ไปโรงเรียนกันแล้ว  แต่ผมก็ยอมรับครับว่างานสายตรงหายาก  จึงเห็นใจทั้งคนเรียน และคนสอนครับ 
     อย่างไรก็ตามผมยังคิดเหมือนเดิมคือ ถ้าคุณ แขวนป้าย  "คบ." หรือ "ศษบ." คุณต้องรู้เรื่อง ศาสตร์ทางการศึกษา และการเรียนการสอน เพื่อนำไปบูรณาการกับทักษะด้านการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ  ให้สอดคล้องกับ ปริญญาบัตรที่ระบุเป็น  "คบ." และ "ศษบ." ที่ได้รับไป  ส่วนการงานนั้นก็ว่าไปตามเงื่อนไขครับ  เลือกมากนักก็ไม่ได้ ฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญ เชี่ยวชาญไป  แต่ถึงอย่างไรก็อย่าให้ถึงกับตัดเรื่องความรู้ด้านการศึกษาออกไปเลยครับ

    และในวันเดียวกันนั้นท่านเจ้าของ Blog ก็ได้มาตอบความไว้อีกว่า .....

  

P
6. Wasawat Deemarn
เมื่อ พ. 16 ม.ค. 2551 @ 13:13
520042 [ลบ]

สวัสดีครับ .... ท่านอาจารย์ Handy

  • ยินดีมากครับที่ท่านอาจารย์ได้เสียสละเวลาเข้ามาให้ข้อคิด
    ในเรื่องราวของวิชาชีพนี้ครับ
  • มันยังคงเป็นปัญหาที่น่าหนักใจ เหมือน "เหตุการณ์ด้านตะวันตกไม่เคยเปลี่ยนแปลง"
  • ผมขอแสดงความเห็นด้วยครับ ว่า ถ้าหากเรามีวุฒิ ค.บ., ศษ.บ, กศ.บ. เราควรต้องมีีความรู้ทางด้านการศึกษาไว้ด้วยให้สมกับวูติการศึกษานี้
  • และไม่ว่าหลักสูตรของสถาับันแห่งใดกำหนดไว้ในหลักสูตรว่า ก่อนจบเธอต้อง "ฝึกสอน" หรือ "ฝึกงาน"
  • ผมอยากเลือกทั้งสองอย่าง ... เพื่อให้ทางเลือกกับนักศึกษาเหล่านั้น และถือเป็นแนวทางที่จะเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทั้งสองลักษณะ อีกทั้งอาจจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจในการทำงานในอนาคตของพวกเขาก็เป็นไ้ด้
ขอบพระคุณ อาจารย์ Handy มาก ๆ จริง ๆ ครับ โอกาสคงจะได้แลกเปลี่ยนกันใหม่ครับผม 

        ยังมีทัศนะของอีกหลายท่านครับที่ไปให้ความเห็นไว้  สนใจเชิญติดตามได้ที่บันทึกชื่อ .....    เทคโนโลยีการศึกษา .. เรียนจบแล้วจะทำอะไรกิ๊น ?  

                                                                 สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 160063เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2008 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์

                เท่าที่ผมคลุกคลีกับหน่วยงานที่ใช้วิชาชีพที่อาจารย์สอน

                       ทุกคนมุ่งไปในทางเทคนิคมากจริง ๆ เพราะต้องการที่จะทำเองให้ได้ทุกอย่าง ซึ่งหมายถึงการที่จะสามารถสร้างงานให้กับตนเอง เพื่อการดำรงชีพในอนาคต ปัจจุบันนี้เครื่องมือราคาถูกลงมาก ทุกคนมีโอกาสเป็นเจ้าของ การใช้งานก็ง่ายขึ้น ตัวอย่างงานก็หาดูง่ายขึ้น

                      สำหรับในสถานศึกษา จะหาที่ไหนที่จะมีเครื่องมือทันสมัยเหมือนในสถานประกอบการมีน้อยมากครับ ยากที่จะต่อยอดทางเทคนิคได้ เขาก็เลยไปฝึกงานกันมากกว่าฝึกสอน เพราะน้อยคนที่จะอยากเป็นครู เขาอยากเป็นผู้ผลิตรายการมากกว่าครับ

                      ซึ่งความจริงแล้ววิชาชีพที่อาจารย์สอน เป็นการศึกษาแนวทางเพื่อการที่จะสามารถใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยี สนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

                      ส่วนทางเทคนิคก็มีวิชาชีพที่เขาสอนเฉพาะเรื่องการใช้งานและการบำรุงรักษาอยู่แล้ว ในหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนเลยสับสนกันไปหมด ทำผิดหน้าที่กันไปหมด ทำให้ไม่สนับสนุนกัน หรือไม่ก็รวมทีมกันออกทำมาหากิน ทำความเสียหายให้กับหน่วยงาน และผู้ที่ทำงานตามวิชาชีพจริง ๆ หมดกำลังใจ เพราะไม่มีคนตั้งใจทำงานให้ ก็เลยเรียนรู้ที่จะทำเองเป็นทั้งหมดมั่ง แล้วในที่สุดก็หลงออกสู่ยุทธภพเหมือนคนอื่น ๆ สร้างความเสียหายกับหน่วยงานยิ่งขึ้น...

                     ผมจึงขอสนับสนุนทั้งการฝึกงานในสถานศึกษา เพื่อประสบการณ์ตรงเรื่องการศึกษา และในสถานประกอบการ เพื่อประสบการณ์ตรงในเรื่องความรู้ทางด้านเทคนิค เผื่อว่าเป็นการกระตุกต่อมความคิดให้ตระหนักถึงวิชาชีพและหน้าที่ของตนเองต่อหน่วยงานในอนาคตบ้างสักนิดก็ยังดีครับ...

                                                   ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ .. ท่านอาจารย์ Handy

  • ขอบพระคุณครับที่เห็นคุณค่าของบันทึก  เทคโนโลยีการศึกษา .. เรียนจบแล้วจะทำอะไรกิ๊น ?  ที่ผมแอบ ๆ เขียนไว้ :)
  • ท่านอาจารย์ึจึงได้นำมาต่อยอดและเชื่อมโยงความคิด ... เพื่อให้แก่นสารแตกเข้ามาจากผู้อ่านทั้งหลาย
  • แนวทางของท่าน นายช่างใหญ่ ก็น่าสนใจครับ
  • การฝึกประสบการณ์วิชาชีพควรจะเปิดโอกาสให้เด็กได้ไปฝึกทั้งสถานศึกษา และสถานประกอบการภายนอก
  • ท่าน นายช่างใหญ่ ... ก่อนผมมาเป็นครูสอนหนังสือครับ ผมก็คิดเหมือนท่านในเรื่่องสาขานี้ "น้อยคนนักอยากเป็นครู"
  • ผมคิดผิดไปครับ เมื่อผมได้สัมผัสว่า ... มีเด็กเป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อเรียนจบ อยากกลับไปเป็นครูที่บ้าน ท่าน นายช่างใหญ่ เชื่อหรือไม่ครับ ... ผมยังรู้สึกทึ่งเลยครับ
  • แต่ก็เป็นไปได้ว่า เขาคือ เด็กต่างจังหวัดที่มาจากหมู่บ้านแร้นแค้นครับ โดยเฉพาะลูกศิษย์ของผมที่เป็นชาวเขาชาวดอย จะมีความมุ่งมั่นแบบนี้มากกว่าเด็กพื้นราบครับ
  • ขอแวะมาแสดงความเห็นเท่านี้ก่อนนะครับ รอท่านอื่นเข้ามาต่อ ๆ ครับ
ขอบคุณ ท่าน นายช่างใหญ่ และท่านอาจารย์ Handy ด้วยใจจริงครับ :)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท