โครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" จากนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล ในวันที่ 30 เมษายน 2544 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้วยกระบวนการการพัฒนาท้องถิ่นสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์และโดดเด่นให้เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ทำให้เกิดโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง เป็นการสร้างงานทำให้เกิดรายได้ให้แก่ตนเองและพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนของตนเองดีขึ้น ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศชาติได้ในระดับหนึ่ง
ดังนั้นการจัดระบบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการตลาดในโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ชุมชน และลักษณะของผลิตภัณฑ์ชุมชนที่นำระบบการจัดการพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์การตลาดการทำการค้าในรูปแบบใหม่โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผลิกภัณฑ์ชุมชนในโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" หรือ OTOP นั้น ศึกษาข้อมูลในเขตจังหวัดนครสวรรค์ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ชุมชนนั้น จำเป็นต้องอาศัยหลักการจัดการในเรื่องของการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคน การอำนวย การควบคุม การประสานงาน การจัดงบประมาณ และการรายงานผลมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานของระบบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนในโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ดังนั้น รัฐบาลจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนดำเนินกิจกรรมทางการค้าในระบบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนของไทยมีโอกาสไปแสดงและจำหน่ายให้กับตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมากขึ้น ตามแนวคิดของรัฐบาลที่ต้องการให้ระบบบริหารระดับจังหวัดเชื่อมจังหวัดต่อจังหวัด จากจังหวัดสู่ภาค และจากภาคสู่ระดับประเทศ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงจากจังหวัดสู่สากล
References
กองบรรณาธิการ. (2003).
“ผ่านนโยบาย ปลุก 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์
(โอท็อป) ระวัง ! ปลาตาย
น้ำตื้น !” Customer Magazine.
ประจำเดือนสิงหาคม.
ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล,
นิทัศน์ คณะวรรณ. (2545).
ช่องทางการต่อยอดและพัฒนาสินค้า 1
ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ สู่ธุรกิจ
SMES. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปกรณ์ จาตุรันต์,
บรรณาธิการ. (2546). “WHO”S WHO
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ One Tambon One
Product – OTOP”. นักธุรกิจ. ปีที่ 11
ฉบับที่ 123.
Bovee, Courtand L.,
Michael J. Houston and John V.
Thill. 1993. Marketing, 2 th
ed. New York : McGraw-Hill, Inc.
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย พระมหา พระมหาสวธร เทียมเพชร ใน หัวข้อการวิจัย
คำสำคัญ (Tags)#uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15994, เขียน: 18 Feb 2006 @ 15:01 (), แก้ไข: 19 Jun 2012 @ 09:40 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 1, อ่าน: คลิก