อิทธิพลของ ERP ต่อบุคลากรในบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย


ยุทธศาสตร์ในการบริหารงานด้าน ICT นั้นมีอยู่ทั้งในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งยุทธสาสตร์ทางด้าน ICT ของภาครัฐนั้นต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักทั้ง 5 ด้าน ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ 1. E-Government 2. E-Society 3. E-Education 4. E-Commerce 5. E-Industry โดยยุทธศาสตร์เหล่านี้มีผลกระทบต่อบุคลากรทั้งในและนอกองค์กร โดยเฉพาะ E-Government เป็นการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริหารงานของรัฐและให้บริการแก่ประชาชนเพื่อมุ่งไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งการติดต่อสื่อสารจะเป็นแบบ G2G, G2B, และG2C
                ในภาคเอกชนก็มีการนำยุทธศาสตร์ทางด้าน ICT มาใช้เพื่อการพัฒนาองค์กรของตนด้วยเช่นกัน โดยใช้ในการติดต่อกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร และเพื่อการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องมือที่องค์กรภาคเอกชนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้เพื่อพัฒนาองค์กรของตนเองก็คือ Enterprise Resource Planning (ERP)
                ระบบ ERP เป็นการตัดสินใจครั้งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาการร่วมมือในการใช้ข้อมูลสารสนเทศในยุค 1990 (Davenport อ้างใน Tadinen, 2005) ทุกวันนี้ระบบ ERP มีความสำคัญมากในธุรกิจสมัยใหม่ และตลาดของ ERP คาดหวังที่จะคืนสภาพจากความตกต่ำในปี 2000 และ 2001 และเติบโตไปจนถึง 9.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2006 จากการที่ได้ศึกษาโดย ARC Advisory Group ( Clouther อ้างใน Tadinen, 2005)
                องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ขับเคลื่อนโดยมีระบบ ERP เป็นเครื่องมือซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายประเภทเช่น การเงิน, การปฏิบัติงาน และยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นประโยชน์ของ ERP ทั้งสิ้น โดย บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันที่มีการนำระบบ ERP มาใช้ในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่ง Olaon (2004) ได้คิดว่า ประโยชน์ของระบบ ERP มีเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เร็วขึ้น, เพิ่มการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริษัท, ปรับปรุงวงจรการบริหารจัดการ, ลดการใช้จ่ายและค่าแรง, เพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับผู้จัดส่ง, ปรับปรุงเวลาการจัดส่งและการจัดการเงินสดฯลฯ
               ปัจจุบันนี้ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ได้กลับเข้ามามีบทบาทใหม่ในองค์กรและเป็นพื้นฐานของหน้าที่ในโครงการการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เปลี่ยนการปฏิสัมพันธ์กับบทบาทการแก้ปัญหาด้วยกลยุทธ์ มุ่งเน้นลงบนการรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีที่สุด ( Clemmons and simon, 2001) ผู้วิจัยส่วนมากมักจะมีความเห็นตรงกันว่าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมเป็นกุญแจที่จะประสบความสำเร็จในโครงการ ERP ถึงแม้การเริ่มใช้โครงการ ERP มีผลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ และสิ่งที่นำมาซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ ในการจัดการด้านบุคลากร เช่น แรงต้านจากผู้ใช้ แรงต้านการจัดการลูกจ้างขาดแรงจูงใจ , การขาดแคลนความชำนาญ , ความขาดแคลนบุคลากรที่มีประโยชน์ ขาดแคลนการฝึกอบรม ฯลฯ การปรากฏตัวของระบบ ERP มีผลกระทบที่สำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์หรือบุคคลภายในองค์กรทุกด้านซึ่งอาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ การศึกษาวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาอิทธิพลของ ERP ที่มีต่อบุคลากรในด้านต่าง ๆ โดยใช้บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทยเป็นกลุ่มตัวอย่างเพราะเป็นองค์กรที่มีการใช้ ERP เป็นเครื่องมือในการพัฒนาอยู่แล้ว และมีขนาดตัวอย่างที่มากพอที่จะเป็นตัวแทนของประชากรได้ ทั้งนี้ผลของการวิจัยสามารถที่จะนำไปเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารบริษัทได้ทราบเพื่อปรับปรุงแก้ไข หรือองค์กรอื่นที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

                          
อ้างอิง

                          


Clemmons, S.and Simon S. J. (2001). Control and coordination in global ERP
               configuration. Business Process Management Journal, Vol. 7, No. 3,
               pp. 205 – 215.
Olson, D. L. (2004). Managerial Issues of Enterprise Resource Planning System.
               McGraw-Hill/Irwin
Tadinen, Helena. (2005). Human resources management aspects of Enterprise 
               Resource Planning (ERP) System Projects. Swedish School of Economics
               and Business Administration.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15175เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2006 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท