สรุปสาระสำคัญ พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535


1.       พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.  2535  ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 6

2.       สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น

3.     มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร        เถ้ามูลสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น

4.       ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถ      ใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้

5.     **ตลาด หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย              ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราว หรือตามวันที่กำหนด

6.     สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใดที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหาร หรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น  หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม

7.     สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใดๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสด หรือของแห้ง หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อ      ต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคภายหลัง

8.       ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

9.       ข้อกำหนดของท้องถิ่น หมายความว่า ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ หรือข้อบังคับ ซึ่งตราขึ้นโดย                       ราชการส่วนท้องถิ่น

10.    เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า

(4) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร

11.    ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

12.    คณะกรรมการสาธารณสุขมีทั้งหมด 18 คน  ประกอบด้วย

12.1  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข      เป็นประธานกรรมการ

12.2    อธิบดีกรมการแพทย์

12.3    อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

12.4    อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ

12.5    เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

12.6    อธิบดีกรมการปกครอง

12.7    อธิบดีกรมตำรวจ

12.8    อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

12.9    อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

12.10  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

12.11  เลขาคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

12.12    **ปลัดกรุงเทพมหานคร

12.13    ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรี

12.14    อธิบดีกรมอนามัย   เป็นกรรมการและเลขานุการ

13.    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับ       แต่งตั้งอีกได้

14.   **ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารซึ่งมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาด ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าว     มีพื้นที่ไม่เกิน 200  ตารางเมตร ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือการแจ้ง

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15985เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2006 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท